วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เมื่อตัวเก็บประจุเสื่อม

เมื่อตัวเก็บประจุเสื่อม
สิ่งที่สังเกตได้จากการรั่วของสาร Electrolyte คือตะกั่วบัดกรีบริเวณตัวเก็บประจุ SMD มีสีคล้ำและสึกกร่อน

       เครื่องมืออันทันสมัยในปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุม หนึ่งในอุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่า
Surface Mount Device (SMD) การใช้อุปกรณ์พวก SMD จะบัดกรีบน Printed Circuit Board (PCB) ด้านเดียวกับลายทองแดง แตกต่างจากอุปกรณ์แบบดั้งเดิมที่มีขาและจะถูกบัดกรีในด้านตรงกันข้ามกับอุปกรณ์ เมื่อตัวเก็บประจุ
(Electrolytic Capacitor)
ทำงานในสภาวะของอุณหภูมิที่ร้อนมากเกินไปตัวกลางของเหลวนำไฟฟ้า (Electrolyte) เริ่มกลายเป็นไอ ความดันเพิ่มขึ้น และรั่วซึมออกมาจากตัวกระป๋องกักเก็บ ทำให้ค่าประจุลดลง และเนื่องจากของเหลว Electrolyte เป็นสารกัดกร่อนทำให้อุปกรณ์รอบข้างเกิดความเสียหายได้ สิ่งที่สังเกตได้จากการรั่วของสาร
Electrolyte คือตะกั่วบัดกรีบริเวณตัวเก็บประจุ SMD มีสีคล้ำและสึกกร่อนแตกต่างจากรอยบัดกรีปกติในบริเวณอื่นซึ่งจะเรียบเป็นมันวาว ข้อสังเกตุนี้ก็จะนำไปสู่การพิจารณาว่าสมควรจะตรวจวัดตัวเก็บประจุนั้นหรือไม่

เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับผ่านไดโอดแล้วจะได้ไฟฟ้ากระแสตรงที่มีแรงดันกระเพื่อม และเมื่อถูกกรองด้วยตัวเก็บประจุก็จะได้ไฟฟ้าที่เรียบ ถ้าตัวเก็บประจุเสื่อมจะทำให้เกิดแรงดันกระเพื่อม (ripple) มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเราสามารถใช้ AC volt meter วัดเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ ถ้าแรงดันที่วัดได้อยู่ระดับเป็น 1-100 millivolt ถือว่าปกติ แต่ถ้าค่าแรงดันที่วัดได้อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เช่น 1-2 volt ถือว่าตัวเก็บประจุอาจจะเสื่อม แต่อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ อีกก็ได้นะครับ เช่น มีการลัดวงจรที่ load ไดโอดบางตัวผิดปกติ

     สรุปว่าใช AC volt meter วัดค่าแรงดันและไม่ควรจะมีค่าสูงมากนัก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น