วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Legend Marking, Stencil Method

|0 ความคิดเห็น
Legend Marking, Stencil Method

Baking and Preheating

|0 ความคิดเห็น
Baking and Preheating

Outline
This procedure covers baking and preheating of printed boards and printed board assemblies to prepare the product for the subsequent operations. Included are steps for:
  1. Baking
    Baking is used to eliminate absorbed moisture. Whenever possible circuit boards and circuit board assemblies should be baked prior to soldering, unsoldering and coating operation to prevent blistering, measling or other laminate degradation.
  2. Preheating
    Preheating is used to promote the adhesion of subsequent materials to the board surfaces and to raise the temperature of the circuit board to allow soldering and unsoldering operations to be completed more quickly.
  3. Auxiliary Heating
    Auxiliary heating is the addition of a second source of heat. This can be from a hot air tool, or from a second
    soldering station. A common application is to provide additional heat when removing through hole components that may have connections to internal power or ground planes.
  4. Thermal Profiles
    Ball Grid Array, Chip Scale Packages, and Flip Chip Packages may require the development of "Time Temperature Profiles" to remove or install these devices.
Caution
Baking and preheating procedures must be carefully selected to ensure that temperature and time cycles used do not degrade the product. Environmental conditions must also be carefully considered to ensure that vapors, gases, etc., generated during the heating process do not contaminate the product's surfaces.

Caution
Some manufacturers of ceramic chip capacitors recommend that the Preheat Ramp Rate not exceed 2-4 �C/Sec.

Caution
To prevent fluxes or other contaminates from being baked onto the board surface, thoroughly clean the board or assembly prior to baking or preheating.

Epoxy Mixing and Handling - Prepackaged Two Part Epoxy

|0 ความคิดเห็น
Epoxy Mixing and Handling - Prepackaged Two Part Epoxy
For prepackaged epoxy, remove divider clip and mix resin and hardener inside package.

Figure 1: For prepackaged epoxy, remove divider clip and mix resin and hardener inside package.



1.
Remove the clip separating the resin and hardener. Mix by squeezing both halves together with your fingers. Mix for at least one minute to ensure a complete mix of the resin and activator. (See Figure 1).
 
2.
Cut open one end of the epoxy tube and squeeze the contents into a mixing cup. Mix again with a mixing stick to ensure a thorough mixture of the resin and hardener.
Apply epoxy as needed.

Figure 2: Apply epoxy as needed. Foam swabs may be used to add texture for soldermask repair.

Note
For bubble free epoxy, remove the clip separating the resin and hardener. Cut open one end of the Epoxy tube and squeeze the contents into a mixing cup. Slowly stir the mixture with the mixing stick. Be sure to stir the mixture for at least 2 minutes to ensure that all the resin and hardener have completely mixed.
3.
If needed, add color agent to the mixed epoxy. Stir slowly to prevent bubbles.
 
4.
Apply or use as needed. (See Figure 2
 
5.
Cure the epoxy for 24 hours at room temperature or 1 hour @ 165�F (74�C)
 
Evaluation
 
1.
Visual examination of epoxy for texture and color match.
 
2.
Testing of epoxy surface for complete cure.
 
3.
Electrical tests as applicable.

Coating Replacement, Solder Mask

|0 ความคิดเห็น
Coating Replacement, Solder Mask
For large surfaces, apply the replacement coating with a foam swab to create a texture.


 

1.
Clean the area.

Caution
Surfaces to be coated must be thoroughly cleaned prior to coating to ensure adequate adhesion, minimized corrosion, and optimized electrical properties.
 
2.
If needed, apply Kapton tape to outline the area where the soldermask will be applied.
3.
Mix the epoxy or replacement coating. If desired, add color agent to the mixed epoxy to match the circuit board color.
 
4.
Apply the replacement coating to the board surface as required. A brush or foam swab may be used to apply and spread the epoxy or replacement coating. (See Figure 1).
 
5.
Cure the epoxy per Procedure 2.7 Epoxy Mixing and Handling.

Caution
Some components may be sensitive to high temperature.
 
Evaluation
 
1.
Visual examination for texture, color match, adhesion and coverage.
 
2.
Electrical tests to conductors around the repaired area as applicable.
 

Solid Capacitor คืออะไร

|0 ความคิดเห็น
Solid Capacitor คืออะไร

Solid Capacitor เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่งที่พูดถึงกันมากในวงการคอมพิวเตอร์
ที่เห็นกันมากที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำไปใช้งานบนเมนบอร์ด, กราฟฟิคการ์ด รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ

ตัวอย่างเมนบอร์ดที่ใช้ solid capacitor (เฉพาะภาคจ่ายไฟ)



และด้วยความสงสัยส่วนตัวว่า Solid Capacitor มีดีอะไร? ทำไมถึงถูกนำมาใช้กันอย่างมากมาย?
หรือแค่เป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอย่างนึง ? ด้วยความสงสัยแบบนี้ผมก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ
solid capacitor ซึ่งก็พบคำตอบของคำถามหลายๆ ข้อ ... ก็ขอนำมาแชร์กันในบอร์ดครับ

Solid Capacitor หรือ Solid Polymer Aluminum Capacitor หรืออาจจะเีรียกเต็มๆ ยศก็คือ
Conductive Polymer Aluminum Solid Capacitor ซึ่ง solid capacitor ก็คือตัวเก็บประจุชนิดหนึ่ง
ที่มีหน้าตาแบบข้างล่างนี้ ...



หลายต่อหลายคนก็อาจจะยังงงๆ อยู่ว่า " แล้วก่อนที่จะเป็น solid capacitor เค้าใช้อะไรกัน? "

ตอบ : ก่อนที่จะเป็น solid capacitor ก็คือ electrolytic capacitor ครับ (หน้าตาตามรูปข่างล่าง)




Electrolytic Capacitor

เอาหละ .. ก่อนจะไปถึงรายละเอียดของ solid capacitor ขอยกคำโฆษณาของเมนบอร์ดรายหนึ่ง
ที่บอกว่า " solid capacitor มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า electrolytic capacitor "

ทำไมคำโฆษณานี้ถึงถูกนำมาใช้? .... แสดงว่าของแบบนี้มันมีประวัตศาสตร์!!!



ประวัตศาสตร์ที่ว่าก็คือ ...

เมื่อก่อนนั้นตัวเก็บประจุ หรือ capacitor บนเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ electrolytic capacitor
ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่พบว่า electrolytic capacitor บนเมนบอร์ดหลายรุ่นจากหลายยี่ห้อเกิด " บวม "
หรือ " ระเบิด " ก็มีให้เห็นกันมาแล้ว โดยอาการเสียของตัวเก็บประจุบนแบ่งได้ 3 รูปแบบดังนี้



เมนบอร์ดที่โด่งดัง หรือจะพูดว่าขึ้นชื่อในเรื่องตัวเก็บประจุบวมก็คือ ABIT แต่จากการหาข้อมูล
พบว่าแ้ม้แต่ Asus, Gigabyte, MSI ก็พบอาการตัวเก็บประจุบวมทั้งนั้น

แล้วสาเหตุอะไรหละที่ทำให้ Electrolytic capacitor เกิดอาการบวมหรือระเบิด?

ก่อนอื่นต้องมาดูโครงสร้างของ Electrolytic capacitor กันก่อน ... จากรูปข้างล่างคือ
basic capacitor ซึ่งประกอบด้วยแผ่นตัวนำ 2 แผ่น ที่ถูกคั่นกลางด้วยไดอิเล็กทริค
ซึ่งผมจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียด ที่มาที่ไป และการคำนวนค่าความจุครับ .... ^_^
แค่จะบอกว่า electrolytic capacitor มีโครงคล้ายกับ basic capacitor มาก



ทีนี้มาดูโครงสร้างของ Electrolytic Capacitor ของจริงกัน ...



นี่แหละหน้าตาของ Electrolytic Capacitor .. ดูแบบนี้อาจจะงงว่าอะไรม้วนๆ ????????
จริงแล้วก็ไม่มีอะไร ก็แค่จับ basic capacitor ม้วนก็จะได้เป็น electrolytic capacitor แล้ว
เพียงแต่ไดอิเล็กทริคจะต่างไปคือใช้กระดาษบางๆ(tissue)ชุบสารอิเล็กโตรไลท์แทนที่จะเป็นอากาศ
สาเหตุที่ทำให้ Electrolytic Capacitor บวมและระเบิด!!
ง่ายๆได้ใจความ...

" ผู้ผลิตเมนบอร์ดหรือกราฟฟิคการ์ดเลือกใช้ Electrolytic Capacitor ที่มีคุณภาพไม่ดี(ห่วย) "

Electrolytic Capacitor ที่มีคุณภาพไม่ดีก็คือมีน้ำเป็นส่วนผสมอยู่ในสารอิเล็กโตรไลท์ เมื่อน้ำปะปน
อยู่ในสารอิเล็กโตรไลท์จะทำให้ตัวเก็บประจุไม่เสถียร ทำให้ตัวเก็บประจุ leak และ brake down
ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้นในตัวถังของตัวเก็บประจุ และเกิดแรงดันทำให้ตัวเก็บประจุบวมและระเบิด

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Electrolytic Capacitor เสียหายก็คือความร้อน ซึ่งเกิดจากรอบข้าง
โดยตัวไปของการจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดตัวเก็บประจุ ขดลวด และมอสเฟตมักจะวงอยู่ใกล้กัน
ตัวเก็บประจุคุณภาพไม่ดีเมื่อใช้ไปสักระยะค่าความจุจะลดลงและ ESR* จะมีค่ามากขึ้น

( ESR หรือ equivalent series resistance คือ ค่าความต้านทานอนุกรมภายในของตัวเก็บประจุ)

เมื่อค่าความจุลดลงและ ESR มีค่ามากขึ้นทำให้ภาคควบคุมของวงจรสวิชชิ่งเพิ่มความถี่ในการสวิตช์
เพื่อชดเชยไฟขาออกให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ส่งผลให้มอสเฟตมีความร้อนสูงขึ้นเนื่องจากต้องสวิตช์
ความถี่มากขึ้น ความร้อนจากมอสเฟตมีส่วนทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของตัวเก็บประจุผิดเพี้ยนไป เช่น
ค่า ESR เพิ่มมากขึ้น, ค่า EPR ลดลง ส่งผลให้ภายในตัวเก็บประจุ leak มากขึ้นแก๊สไฮโดรเจนเกิด
มากขึ้นและความร้อนทำให้แก๊สขยายตัวมากขึ้น

... ท้ายที่สุดคือระเบิด!!

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ยุคหลังๆ ผู้ผลิตเมนบอร์ดหันมาใส่ใจกับคุณภาพของ electrolytic capacitor มากขึ้น


Solid Capacitor

มาถึงคราว Solid Capacitor กันบ้าง

โครงสร้างของ Solid Capacitor อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนโครงสร้างภายในของ Electrolytic capacitor
ที่เป็นกระดาษบางๆชุบสารอิเล็กโตรไลท์เป็นโพลิเมอร์ (highly conductive polymer)

ข้อดีของ Solid Capacitor ...

ESR ต่ำ : อย่างที่อธิบายไปก็คือค่าความต้านทานอนุกรมภายในของตัวเก็บประจุ ซึ่งยิ่งมีค่าน้อย
จะยิ่งดี (ESR มีผลต่อค่าการตอบสนองของตัวเก็บประจุ) ซึ่งค่า ESR จะมีผลอย่างมากต่อวงจร
DC to DC convertor ซึ่งมีอยู่บนเมนบอร์ดทุกตัว ยิ่ง ESR น้อยจะยิ่งทำให้ภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ด
มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ค่า Time Constant ลดลง : ข้อดีข้อนี้เป็นผลพวงจากค่า ESR ที่น้อยลง ทำให้ค่า Time Constant
มีค่าน้อยตามลงไปด้วย ผลคือทำให้ัตัวเก็บประจุตอบสนองได้ไวขึ้น หรือชาร์จและึคายประจุได้เร็วขึ้นนั่นเอง

ไม่ระเบิด : อันนี้เป็นข้อดีแบบสุดๆ ของ solid capacitor ไม่ว่าจะด้วยการช๊อต ไฟเกิน ความร้อน
เนื่องจากคุณสมบัติของ polymer ที่เมื่อเกิดความร้อน(จากการช๊อตหรืออะไรก็ตาม)ความร้อนจะ
ทำให้สารประกอบของ polymer มีความต้านทานสูงขึ้นทำให้กระแสไหนน้อยลง (คล้ายกับการลด
กระแสเมื่อความร้อนสูงของมอสเฟต)




สรุป
>> Solid Capacitor มีข้อดี ESR ต่ำ, ไม่ระเบิด

>>
Solid Capacitor จำเป็นกับการใช้งานที่มีความถี่สูงโดยเฉพาะภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ดและกราฟฟิคการ์ด
>> เมนบอร์ดที่ดีไม่จำเป็นต้อง All Solid Capacitor
>> Solid Capacitor ห่วยๆ ก็มี

>> เมนบอร์ดไม่จำเป็นต้องใช้
Solid Capacitor เสมอไปแต่สามารถใช้ Electrolytic Capacitor คุณภาพสูงแทนได้

>>
Solid Capacitor มีผลต่อการ overclock แต่ไม่ทั้งหมด

>>
Solid Capacitor อายุการใช้งานนานจริง แต่คุณจะใช้เมนบอร์ดนานขนาดนั้นเหรอ(10ปี)?

>> ซื้อเมนบอร์ดไม่ต้องสนใจว่า
Solid Capacitor หรือไม่ ให้ดูผู้ผลิต
ปล. หากผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

ตัวเก็บประจุ,คาปาซิเตอร์ (Capacitor)

|0 ความคิดเห็น
ตัวเก็บประจุ,คาปาซิเตอร์ (Capacitor)
ตัวเก็บประจุ , คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ ตัว C ที่เรานิยมเรียกกัน ตัวเก็บประจุจะทําหน้าที่เก็บ
ประจุไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า โดยจะว่าไปแล้วตัวเก็บประจุทําหน้าที่คล้ายกับแบตเตอรี่ แต่จะเก็บ
กระแสไฟฟ้า ได้น้อยกว่าและจะจ่ายกระแสไฟฟ้าไฟฟ้าได้เร็ว กว่า
โดยตามโครงสร้างแล้วตัวเก็บประจุจะประกอบด้วยแผ่นตัวนําวางประกบกันโดยเว้น ระยะห่างของ
แผ่นตัวนําโดยภายในจะมีสารไดอิเล็กตริกอยู่ เราจึงนิยมมักเห็นตัวเก็บประจุอยู่ในวงจร
อิเล็กทรอนิกส์เสมอ นอกจากเราจะใช้ตัวเก็บประจุ เก็บและคายประจุให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แล้วเรา
ยังใช้ตัวเก็บประจุ ในวงจรกรองความถี่ได้อีกด้วย หน่วยของตัวเก็บประจุเรียก ว่า F (ฟารัส)
10uF(10ไมโครฟารัส) 0.01uF (0.01ไมโครฟารัส) เป็นต้น ซึ่งการอ่านค่าและ การแปลงหน่วยจะ
กล่าวถึงในส่วนต่อไป

ชนิดของตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุเองนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดเช่น แบ่งตามการใช้งานตามขั้วไฟฟ้าจะมีตัวเก็บ
ประจุแบบมีขั้ว ( คือต้องต่อให้ถูกขั้วจึงจะทํางาน) และตัวเก็บประจุไม่มีขั้ว(จะต่อแบบใดก็ได้)
หรือจะแบ่งตามชนิดโครงสร้างก็สามารถแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลท์ ตัว
เก็บประจุเซรามิค ตัวเก็บประจุแทนทาลั่ม ตัวเก็บประจุโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น
หรือแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงค่า สามารถแบ่งเป็นตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ ตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่า
ได้(พบมากในเครื่องรับวิทยุ) และตัวเก็บประจุที่เลือกค่าได้(มีหลายตัวอยู่ในตัวเดียวกัน นอกจากนี้
ยังมีอีกมากมายแต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปร่างและการใช้งานพื้นฐานของตัว เก็บประจุที่เรามักจะ
พบเห็นเสมอในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลท์

ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะมีค่าความจุ อยู่ในช่วง1 uF -
30,000 uFขึ้นไป และมีการใช้งานที่ แรงดัน ตามที่ระอยู่บนตัวมันอยู่แล้วเช่น 10V , 16V , 25V
,50V 100V เรานิยมใช้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ในวงจรทั่วไป ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้มีใช้ทั้งแบบมีขั้ว และ
ไม่มีขั้วค่าความจุ และแรงดันใช้งาน จะพิมพ์ตัวเก็บประจุเลย และจะมีแถบสีขาวด้านข้างซึ่งจะ
แสดง ตําแหน่งขาลบ(-) ของตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุเซรามิค

ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก ไม่มีขั้ว ค่าความจุต่ํา อยู่ในช่วง พิโก - นาโน (pF - nF ) การระบุค่าของตัว เก็บประจุจะเขียนเป็น code (ศึกษาการอ่านค่าใน
ส่วนล่าง) และไม่ค่อยระบุการใช้ แรงดัน แต่ปกติจะ ใช้แรงดันที่ 50V 100V 1000V ขึ้นอยู่กับขนาด
ของมันหรือสอบถามจาก พนักงานขายได้ ปกติแล้ว ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะใช้ในงานกรองความถี่
พบมากในพวกเครื่องรับ-ส่ง และวงจรทั่วไป

ตัวเก็บประจุโพลีเอสเตอร์ (ไมล่า)


ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ชึ้นมา เป็นตัว
เก็บประจุแบบไม่มีขั้ว ค่าความจุจะสูงกว่าแบบ เซรามิคขึ้นมา อาจจะอยู่ในช่วง นาโน -10 ไมโคร
(nF - 10uF ) และการใช้งานจะอยู่ที่ 50V , 100V หรือมากกว่า การอ่านค่าจะเขียนอยู่ในรูปแแบบ
code การใช้งานจะคล้ายกับตัวเก็บประจุแบบเซรามิค

ตัวเก็บประจุโพลี

ตัวเก็บประจุชนิดนี้อาจแบ่งได้หลายแบบ เช่น โพลีเอสเตอร์ โพลี
คาร์บอนเนต โพลีโพไฟลีน ซึ่งรายละเอียดจะหามาลงในบทความต่อไป ค่าความจุจะอยู่ในช่วง นา
โน - ไมโคร เช่นเดียวกับ ตัวเก็บประจุไมล่าการใช้งานแรงดัน อยู่ในช่วง 50V - 100 V หรือมากกว่า
ซึ่ง จะเขียนติดไว้ที่ตัวเก็บประจุอยู่แล้วและค่าตัวเก็บประจุ จะพิมพ์อยู่บนตัวเก็บประจุเลย โดย
อาจจะเป็นค่า pF หรือ uF ขึ้นอยู่กับค่าความจุในการใช้งานส่วนมากจะใช้งานในระบบเสียง เสียง
เครื่องเสียง ระบบความคุม เป็นต้น

ตัวเก็บประจุแทนทาลั่ม


ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะมีทั้งแบบมีขั้ว และไม่มีขั้วมีขนาดเล็ก
ความความจะอยู่ในช่วง 1-100uF ราคาสูงใช้แทนตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลท์

—————————————————————————————–

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ และการแปลงค่าของตัวเก็บประจุ
ดังที่กว่าไปแล้วว่าหน่วยของตัวเก็บประจุคือ F (ฟารัส) แต่ตัวเก็บประจุที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนใหญ่ จะมีค่าต่ําๆเป็น u(ไมโคร) n(นาโน) p(พิโก) ซึ่งหน่วยดังกล่าวสามารถแปลงกลับไป
กลับมาได้ เช่น หากไปซื้อตัวเก็บประจุแล้วทาง ร้านบอกค่ามาเป็น n(นาโน) เราก็สามารถแปลงเป็น
p(พิโก) ได้ หรือ การอ่านค่าตัวเก็บประจุบางชนิดซึ่งอาจจะอ่านเป็นค่า n(นาโน) เราก็สามารถแปลง
มาเป็น p(พิโก) หรือ u(ไมโคร) ได้การเทียบหน่วยของตัวเก็บประจุ
1 ฟารัส (1F) = 1,000,000 ไมโครฟารัส (1,000,000uF)
1 ไมโครฟารัส(1uF) = 1,000 นาโนฟารัส(1,000nF)
1 นาโนฟารัส (1nF) = 1,000 พิโกฟารัส(1,000pF)
การอ่านค่าตัวเก็บประจุแบบต่างๆ โดยทั่วไปแล้วตัวเก็บประจุชนิด เซรามิก หรือ ไมล่า จะเขียน
โคด(code) รหัสแสดงการบอกค่าความจุของตัวเก็บประจุ โดยจะแสดงในรูปของจํานวนตัวเลข 3
ตัว เช่น 103 ในการแปลงค่า2หลักแรก(10) จะเป็นค่าคงที่ ส่วนหลักที่ 3(3) จะแทนจํานวนเลข ศูนย์(0)

เท่ากับจํานวนนั้น และหน่วยที่ทําการ อ่านจากรหัสเหล่านี้จะเป็น พิโก (p) เสมอ เช่น
103 จะเขียนเป็น 10,000pF
221 จะเขียนเป็น 220pF
253 จะเขียนเป็น 25,000pF เป็นต้น
จากนั้นเราก็จะเแปลงเป็นหน่วยอื่นได้ตามที่ต้องการ
แต่จะมีวีแปลงจากรหัสเหล่านี้ไปอยู่ในรูปของ ไมโคร (uF) ได้โดยเราจะมองที่หลักสุดท้ายคือ
ลงท้ายด้วย 1 จะเป็น 0.000 เช่น 231 จะเป็น 0.00023uF (230pF)
ลงท้ายด้วย 2 จะเป็น 0.00 เช่น 232 จะเป็น 0.0023uF (2300pF)
ลงท้ายด้วย 3 จะเป็น 0.0 เช่น 233 จะเป็น 0.023uF (23000pF)
ลงท้ายด้วย 4 จะเป็น 0. เช่น 234 จะเป็น 0.23uF(230000pF)
** แต่ในตัวเก็บประจุเซรามิคอาจจะเป็นตัวเลขตัวเดียว เช่น 1 2 แสดงถึงค่า 1pF 2PF ได้เลย

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค

|0 ความคิดเห็น

ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า

  • ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ?ซี? (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ? ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ

โครงสร้างของตัวเก็บประจุ

  • ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง
  • ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)
c1

คุณสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ

  • การทำงานของตัวเก็บประจุกับไฟดีซี ตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุและคายประจุเมื่อทำงานกับไฟดีซี การเก็บประจุ (Charge) และ การคายประจุ (Discharge)
  • การทำงานของคาปาซิเตอร์กับไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อนำคาปาซิเตอร์ไปต่อเข้ากับไฟไฟ้ากระแสสลับ จะมีการทำงานดังนี้ในครึ่งไซเกิลแรกตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุ ทำให้มีกระแสไหลจากเฟสบวกไปยังแผ่นโลหะ A ทำการเก็บประจุ ผ่านโลหะแผ่น B ไปครบวงจรที่แหล่งจ่าย ?ในครึ่งไซเกิลหลัง เมื่อไฟเอซีสลับเฟส ตัวเก็บประจุที่เก็บประจุไว้ก็จะคายประจุออก แล้ว เก็บประจุใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม การทำงานจะสลับกันไปมาตลอดเวลาตามไซเกิลของไฟเอซี ลักษณะของหลอดไฟจะสว่างตลอดทั้งในครึ่งไซเกิลแรก และ ครึ่งไซเกิลหลัง ไฟเอซีจะไหลผ่านคาปาซิเตอร์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟเอซีและ ค่าของตัวเก็บประจุ
  • ถ้าความถี่ของไฟเอซี สูง จะไหลผ่านได้มาก ความถี่ต่ำจะไหลได้น้อย
  • ถ้าคาปาซิเตอร์ค่ามากการเก็บประจุและคายประจุได้มาก ไฟเอซีก็ผ่านได้มาก
  • ถ้าคาปาซิเตอร์ค่าน้อยการเก็บประจุและคายประจุน้อย ไฟเอซีก็ผ่านได้น้อย

การนำไปใช้ประโยชน์ของคาปาซิเตอร์

  • จากการเก็บและคายประจุของคาปาซิเตอร์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมายเช่น การ กรองไฟดีซีให้เรียบ (Filter) การถ่ายทอดสัญญาณ และเชื่อมโยงระหว่างวงจร (Coupling) การกรองความถี่ (Bypass) การกั้นการไหลของกระแสไฟดีซี (Blocking) เป็นต้น

ชนิดของตัวเก็บประจุ

  • ตัว เก็บประจุมีมากมายหลายชนิด มีชื่อเรียกต่าง กันออกไปตามลักษณะของโครงสร้าง และชนิดของสารที่นำมาทำเป็นไดอิเล็กตริก หรือ แบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
* ชนิดค่าคงที่ (Fixed Capacitor)
* ชนิดปรับค่าได้ (Variable Capacitor)

อาการเสียของตัวเก็บประจุ

  • เท่าที่ตรวจพบเจอ? อาการเสียของตัวเก็บประจุจะมีอยู่หลักๆ คือ
  • ค่าความจุลด? จากเดิมอาจมี 2200 ไมโครฟารัด อาจลดลงมาต่ำกว่ามาก? ซึ่งทำให้การเก็บและคายประจุ ไม่ได้ผลดีสำหรับวงจรนั้นๆ
  • ตัวเก็บประจุช้อต ขั้วบวกและ ลบ ช้อตถึงกัน? ซึ่งพบเจอได้มากในวงจรของโน๊ตบุ๊ค
  • ตัวเก็บประจุ เสื่อมค่า เก็บความจุไม่อยู่
  • ตัวเก็บประจุบวม? เน่า?? อันเนื่องจาก การทำงานที่หนักเกินไป? อาจเป็นคุณสมบัติของตัวเก็บประจุนั้นไม่เหมาะสมกับวงจรที่ใช้? จึงทำให้ตัวเก็บประจุทำงานหนักเกินไป เช่นค่าความจุ และโวลท์ ที่ไม่ได้ตามค่าที่ระบุไว้ที่ตัวของอุปกรณ์
  • ตัวเก็บประจุช้อต? จะมีผลทำให้มีการดึงกระแสไฟลงกราวด์ของวงจร? ทำให้การจ่ายไฟไม่สามารถไปเลี้ยงวงจรส่วนต่างๆ ได้

  • ตัวเก็บประจุเสื่อมค่า เน่า บวม แตก? มีผลทำให้การเก็บและคายประจุไม่มีประสิทธิภาพ? อาจพบเห็นในคอมพิวเตอร์ พีซี ที่จะมีอาการ เช่น การ Restart ตัวเอง , การแฮี้งค์ , การติด และดับ เองโดยไม่มีการสั่งงาน ฯลฯ



เมื่อตัวเก็บประจุเสื่อม

|0 ความคิดเห็น
เมื่อตัวเก็บประจุเสื่อม
สิ่งที่สังเกตได้จากการรั่วของสาร Electrolyte คือตะกั่วบัดกรีบริเวณตัวเก็บประจุ SMD มีสีคล้ำและสึกกร่อน

       เครื่องมืออันทันสมัยในปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุม หนึ่งในอุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่า
Surface Mount Device (SMD) การใช้อุปกรณ์พวก SMD จะบัดกรีบน Printed Circuit Board (PCB) ด้านเดียวกับลายทองแดง แตกต่างจากอุปกรณ์แบบดั้งเดิมที่มีขาและจะถูกบัดกรีในด้านตรงกันข้ามกับอุปกรณ์ เมื่อตัวเก็บประจุ
(Electrolytic Capacitor)
ทำงานในสภาวะของอุณหภูมิที่ร้อนมากเกินไปตัวกลางของเหลวนำไฟฟ้า (Electrolyte) เริ่มกลายเป็นไอ ความดันเพิ่มขึ้น และรั่วซึมออกมาจากตัวกระป๋องกักเก็บ ทำให้ค่าประจุลดลง และเนื่องจากของเหลว Electrolyte เป็นสารกัดกร่อนทำให้อุปกรณ์รอบข้างเกิดความเสียหายได้ สิ่งที่สังเกตได้จากการรั่วของสาร
Electrolyte คือตะกั่วบัดกรีบริเวณตัวเก็บประจุ SMD มีสีคล้ำและสึกกร่อนแตกต่างจากรอยบัดกรีปกติในบริเวณอื่นซึ่งจะเรียบเป็นมันวาว ข้อสังเกตุนี้ก็จะนำไปสู่การพิจารณาว่าสมควรจะตรวจวัดตัวเก็บประจุนั้นหรือไม่

เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับผ่านไดโอดแล้วจะได้ไฟฟ้ากระแสตรงที่มีแรงดันกระเพื่อม และเมื่อถูกกรองด้วยตัวเก็บประจุก็จะได้ไฟฟ้าที่เรียบ ถ้าตัวเก็บประจุเสื่อมจะทำให้เกิดแรงดันกระเพื่อม (ripple) มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเราสามารถใช้ AC volt meter วัดเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ ถ้าแรงดันที่วัดได้อยู่ระดับเป็น 1-100 millivolt ถือว่าปกติ แต่ถ้าค่าแรงดันที่วัดได้อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เช่น 1-2 volt ถือว่าตัวเก็บประจุอาจจะเสื่อม แต่อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ อีกก็ได้นะครับ เช่น มีการลัดวงจรที่ load ไดโอดบางตัวผิดปกติ

     สรุปว่าใช AC volt meter วัดค่าแรงดันและไม่ควรจะมีค่าสูงมากนัก