วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การวัด เพาเวอร์มอสเฟท

|0 ความคิดเห็น
การวัด เพาเวอร์มอสเฟท
จับเจ้าตัวนอนหงายหันหน้ามาตรง ๆ ห้อยขาลงข้างล่าง ส่วนใหญ่ ขาจะเรียง G - S - D ตามลำดับ
(การวัดนี้ เป็นตัวอย่างการวัดเฟทแบบ N)
1. วัด G - S โดยตั้งมีเตอร์ x10k วัดสลับสายไป มา ต้องได้อินฟินิตี้ทั้งสองครั้ง
2. วัด D - S โดยตั้งมีเตอร์ x1
2.1 ต่อสาย + เข้า ขา S , สาย - เข้าขา G
2.2 ย้ายสาย - ไปที่ขา D ทันที ผล เข็มมิเตอร์ จะขึ้นเกือบสุด แล้วค่อย ๆ ลดลงจนสุด
3. วัดสลับสาย
3.1 ต่อสาย - เข้า S, ต่อสาย + เข้า G
3.2 ย้ายสาย - ไป D, ย้ายสาย + ไป S เข็มไม่กระดิกเลย
3.3 ย้ายสลับสายระหว่าง D - S เข็มจะขึ้น ชี้ที่ความต้านทานต่ำ ๆ
ถ้าการวัดขั้นตอนใดไม่เป็นไปตามที่บอก แสดงว่าเฟทเสียแล้วครับ........
การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
การวัดหาขาเกต
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. ให้ทำการวัดขาของเฟททีละคู่จนครบ 6 ครั้ง จะพบว่ามีขาอยู่ 1 คู่ ที่ไม่ว่าจะวัดอย่างไรก็จะมีค่าความต้าน
ทานขึ้น นั่นหมายความว่าขาคู่นั้นคือขา D กับขา S
3. ส่วนขาที่เหลือคือขา G เพราะมอสเฟทถูกสร้างให้ G เป็นขาลอย คือไม่มีการต่อขาเกตเข้ากับเนื้อสารใดๆ
เลย ดังนั้นเมื่อวัดเทียบกับขาอื่นๆ เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น
การวัดหาขาเดรนและซอร์ส
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. วัดคร่อมไปที่ขา D และขา S เข็มมิเตอร์จะขึ้น จากนั้นให้ย้ายสายวัดสายใดสายหนึ่งไปแตะที่ขา G
3. จากนั้นให้นำสายวัดที่ไปแตะที่ขา G นำกลับมาจับที่ขาเดิม แล้วสังเกตุเข็มของมิเตอร์
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าลดลงจากเดิมจนเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่าขานั้นคือขา D
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม แสดงว่าขานั้นคือขา S
การหาชนิดของมอสเฟท
เมื่อทราบขาของมอสเฟตแล้วว่าขาใดคือขา D และขา S ให้สังเกตุสายของมิเตอร์ที่วัด
1. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด เอ็น-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา D ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา S
2. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด พี-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา S ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา D
การวัดมอสเฟทว่าดีหรือเสีย
1. โครงสร้างภายในชอร์ทถึงกัน
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะมีมากกว่า 1 คู่ที่เข็มของความต้านทานแสดงค่าออกมา (เข็มของมิเตอร์ขึ้นมากกว่า 1 คู่ )
2. โครงสร้างภายในขาด
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะไม่มีคู่ใดเลยที่มีค่าความต้านทานแสดงให้เห็น (เข็มมิเตอร์ไม่แสดงค่าความต้านทานขึ้นเลย)
3. โครงสร้างภายใน(Bias)บกพร่อง
- ให้วัดคร่อมที่ขา D และขา S 1 ครั้ง จนเข็มมิเตอร์ชี้ค่าความต้านทานขึ้น
- จากนั้นนำสายวัดที่ขา D มาแตะที่ขา G แล้วนำกลับไปแตะที่ขา D อีกครั้ง
- ให้สังเกตุเข็มมิเตอร์ ถ้าค่าความต้านทานมีค่าลดลงจากเดิมจนมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จากนั้นเข็มมิเตอร์ค่อยชี้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ค่าเดิม แสดงว่ามอสเฟทนั้นดี แต่ถ้าแตะที่ขา G แล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามอสเฟทตัวนั้นโครงสร้างการไบอัสภายในเสีย
การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
การวัดหาขาเกต
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. ให้ทำการวัดขาของเฟททีละคู่จนครบ 6 ครั้ง จะพบว่ามีขาอยู่ 1 คู่ ที่ไม่ว่าจะวัดอย่างไรก็จะมีค่าความต้าน
ทานขึ้น นั่นหมายความว่าขาคู่นั้นคือขา D กับขา S
3. ส่วนขาที่เหลือคือขา G เพราะมอสเฟทถูกสร้างให้ G เป็นขาลอย คือไม่มีการต่อขาเกตเข้ากับเนื้อสารใดๆ
เลย ดังนั้นเมื่อวัดเทียบกับขาอื่นๆ เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น
การวัดหาขาเดรนและซอร์ส
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. วัดคร่อมไปที่ขา D และขา S เข็มมิเตอร์จะขึ้น จากนั้นให้ย้ายสายวัดสายใดสายหนึ่งไปแตะที่ขา G
3. จากนั้นให้นำสายวัดที่ไปแตะที่ขา G นำกลับมาจับที่ขาเดิม แล้วสังเกตุเข็มของมิเตอร์
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าลดลงจากเดิมจนเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่าขานั้นคือขา D
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม แสดงว่าขานั้นคือขา S
การหาชนิดของมอสเฟท
เมื่อทราบขาของมอสเฟตแล้วว่าขาใดคือขา D และขา S ให้สังเกตุสายของมิเตอร์ที่วัด
1. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด เอ็น-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา D ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา S
2. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด พี-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา S ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา D
การวัดมอสเฟทว่าดีหรือเสีย
ลักษณะอาการเสียของมอสเฟทมีอยู่ 3 แบบ
1. โครงสร้างภายในชอร์ทถึงกัน
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะมีมากกว่า 1 คู่ที่เข็มของความต้านทานแสดงค่าออกมา (เข็มของมิเตอร์ขึ้นมากกว่า 1 คู่ )
2. โครงสร้าภายในขาด
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะไม่มีคู่ใดเลยที่มีค่าความต้านทานแสดงให้เห็น (เข็มมิเตอร์ไม่แสดงค่าความต้านทานขึ้นเลย)
3. โครงสร้างภายใน(Bias)บกพร่อง
- ให้วัดคร่อมที่ขา D และขา S 1 ครั้ง จนเข็มมิเตอร์ชี้ค่าความต้านทานขึ้น
- จากนั้นนำสายวัดที่ขา D มาแตะที่ขา G แล้วนำกลับไปแตะที่ขา D อีกครั้ง
- ให้สังเกตุเข็มมิเตอร์ ถ้าค่าความต้านทานมีค่าลดลงจากเดิมจนมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จากนั้นเข็มมิเตอร์ค่อยชี้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ค่าเดิม แสดงว่ามอสเฟทนั้นดี แต่ถ้าแตะที่ขา G แล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามอสเฟทตัวนั้นโครงสร้างการไบอัสภายในเสีย

ลำดับความสำคัญเพื่อให้การปฐมพยาบาล

|0 ความคิดเห็น
ลำดับความสำคัญเพื่อให้การปฐมพยาบาล

ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องลำดับความสำคัญในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามความรุนแรง ซึ่งอาจแบ่งได้หลายแบบ ได้ดังนี้     แบบที่ 1 ลำดับแรก จะต้องให้การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกรณีที่ทางเดินลมหายใจอุดตัน (obstructed airway) โดยมีอาการหายใจลำบาก หรือ หยุดหายใจ และ มักจะมีการหยุดเต้นของหัวใจตามมา ขั้นต่อไปคือ การเสียเลือดอย่างรุนแรง ศีรษะได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง แผลทะลุที่ช่องอกและท้อง ได้รับสารพิษ หัวใจวาย และช็อคขั้นรุนแรง
     ลำดับที่สอง ให้การปฐมพยาบาลแผลไหม้ทุกชนิด กระดูกหัก และการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
     ลำดับที่สาม ให้การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ เช่น กระดูกนิ้วหักมีเลือดซึม
     อย่างไรก็ตามการเรียงความสำคัญก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ ณ ขณะนั้นด้วย

      แบบที่ 2
                            ลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ
                                                 ภาพที่ 1 ลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ

การเคลื่อนย้ายโดยปราศจากเครื่องมือ

|0 ความคิดเห็น
การเคลื่อนย้ายโดยปราศจากเครื่องมือ
            การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยด้วยเจ้าหน้าที่หนึ่งคนต่อผู้ประสบภัยคนเดียวโดยไม่ใช้เครื่องมือแต่อาจจะมีอุปกรณ์ประกอบบ้างเล็กน้อยนั้นย่อมกระทำได้หลายวิธีสำหรับวิธีการที่เหมาะสมโดยปราศจากเครื่องมือนั้นมีดังนี้
(ก) การแบกบนบ่า (Fireman’s Carry)
(ข) การช่วยพยุงให้เดินไป (Supporting Carry)
(ค) การให้ขี่หลัง (Saddle back Carry)
(ง) การอุ้ม (Arms Carry)
(จ) การให้เกาะหลัง (Packstrap Carry)
(ฉ) การแบกด้วยสะโพก (Nurse Crawl)
(ช) การคลานลาก (Fireman’s Crawl)
(ซ) การอุ้มลากหรือการอุ้มเคลื่อนลงบันได (Fireman’s drag of Removal Down Stairs Methood)
(ฌ)  การแบกให้หลังชนกัน (Backlife and Carry)
(ญ)  การคลานราบ(Postol-belt Drag)
(ฎ)  การแบกไว้บนหลัง (Pistol-Carry
วิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการอุ้ม-แบก ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่จะนำมากล่าวถึงต่อไปนี้ซึ่งเป็นการอุ้มแบก โดยใช้เจ้าหน้าที่คนเดียวนี้ย่อมเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเหมาะสำหรับสถานการณ์นั้นๆ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการอย่าพยายามแบกหามผู้ประสบภัยที่กระดูกสันหลังหักหรือคอพัก

การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและข้อต่อ

|0 ความคิดเห็น
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและข้อต่อ

อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและข้อต่อที่มักพบบ่อยๆ ประกอบด้วย
          
1. การฟกช้ำ (Contusion)            การฟกช้ำ (Contusion) เป็นการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน จนเกิดการฟกช้ำ เนื่องจากหลอดเลือดฝอยของบริเวณนั้นฉีกขาด เลือดจึงออกมาคั่งอยู่ภายในกล้ามเนื้อ โดยที่ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด

สาเหตุ
     เกิดจากแรงกระแทกของวัตถุที่ไม่มีคมกระทบร่างกายโดยตรง

อาการและอาการแสดง
     กล้ามเนื้อที่ฟกช้ำ จะมีอาการปวด บวม และเขียวคล้ำเป็นจ้ำ กล้ามเนื้อเกร็ง

การปฐมพยาบาล
     1. หยุดพักการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทันที
     2. ยกบริเวณที่ฟกช้ำให้สูงและประคบด้วยความเย็น ในระยะ 24 ชม.แรก จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และทำให้เส้นเลือดตีบ เลือดออกน้อยลง ไม่บวมมาก หรืออาจใช้ผ้าพันให้แน่น ช่วยให้เลือดหยุดและจำกัดการเคลื่อนไหวด้วย
     3. ประคบความร้อนหลัง 24 ชม. ให้ใช้ร่วมกับการนวดเบาๆ เพื่อให้มีการดูดซึมของเลือดดีขึ้น


          2. ข้อเคล็ด (Sprains)   
          ข้อเคล็ด (Sprains) เป็นการฉีกขาดของเอ็นที่อยู่รอบๆ ข้อและเยื่อหุ้มข้อ พบบ่อยบริเวณ ข้อเท้า ข้อมือ และข้อเข่า

สาเหตุ
     เกิดจากการมีเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วหรือมีการบิด การเหวี่ยงอย่างแรงตรงบริเวณข้อต่อเกินกว่าข้อนั้นจะสามารถทำได้ เช่น เดินสะดุด หรือก้าวพลาดจากการลงจากที่สูง

อาการและอาการแสดง
     ปวดมาก กดเจ็บ บวม อาจมีอาการชาและเคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้เลย

การปฐมพยาบาล
     1. งดการใช้ข้อหรืออวัยวะนั้นเพื่อให้ให้ข้อที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ หรือเคลื่อนไหวน้อยที่สุด และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย โดยใช้ผ้าพันรอบข้อนั้นให้แน่นพอควร โดยใช้ผ้าพันที่ยืดได้
     2. ประคบด้วยความเย็น ใน 24 ชม. แรก หลังจากนั้นให้ประคบด้วยความร้อน
     3. พยายามยกข้อนั้นให้สูงขึ้น ถ้าเป็นข้อมือ ข้อไหล่ ควรห้อยแขนไว้ด้วยผ้าสามเหลี่ยม
     4. นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจให้แน่ใจว่า เอ็นยึดข้อฉีกขาด อย่างเดียวหรือมีกระดูกหักร่วมด้วย



          
3. ข้อเคลื่อน (Dislocation)           ข้อเคลื่อน (Dislocation) เป็นภาวะที่ปลายกระดูกหรือหัวกระดูกสองอันที่มาชนกันประกอบกันขึ้นเป็นข้อ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ทำให้เยื่อหุ้มข้อนั้นมีการฉีกขาดหรือมีการยืดของเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และเส้นประสาร บริเวณนั้นมีการฉีกขาดหรือชอดช้ำไป บริเวณที่พบได้บ่อยได้แก่ ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อสะโพก กระดูกสะบ้า และขากรรไกร

สาเหตุ
     ถูกตี หกล้ม หรือการเหวี่ยง การบิด หรือกระชากอย่างแรงที่ข้อนั้น หรือเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน

อาการและอาการแสดง
     ปวดมาก บวมรอบๆ ข้อ กดเจ็บ มีอาการฟกช้ำ รูปร่างของข้อที่ได้รับอันตรายเปลี่ยนรูปไปจากเดิมและความยาวของแขนหรือขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บอาจสั้นหรือยาวกว่าปกติ เคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้ตามปกติ

การปฐมพยาบาล
     1. ให้พักข้ออยู่นิ่งๆ อย่าพยายามดึงข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่
     2. ประคบด้วยความเย็น
     3. ใช้ผ้าพยุง/ดาม หรือเข้าเฝือกส่วนนั้นให้อยู่ในท่าพัก
     4. นำส่งโรงพยาบาล เพราะการทิ้งไว้นานจะทำให้การดึงเข้าที่ลำบาก และถ้านานเกินไปอาจต้องทำการผ่าตัด

ความหมายและวัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล

|0 ความคิดเห็น
ความหมายและวัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
          การปฐมพยาบาล  หมายถึง “การให้ความช่วยเหลือขั้นต้นแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือผู้เจ็บป่วยโดยทันทีทันใดก่อนที่จะส่งต่อบุคคลนั้นไปพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลเพื่อ ให้การรักษาในขั้นต่อไป”

วัตถุประสงค์ ของการปฐมพยาบาล
         1. เพื่อช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ หรือผู้ป่วย
         2. เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีสภาพเลวลง
         3. เพื่อช่วยให้ฟื้นคืนสภาพปกติโดยเร็ว

การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย (CASUALTY HANDING)

|0 ความคิดเห็น
การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย (CASUALTY HANDING)
ความหมาย :-               คำว่า “ผู้ประสบภัย หมายถึง  บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุสาธารณภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย  ภัยธรรมชาติ  ภัยอันเกิดจากสงคราม  ภัยจากความไม่สงบภายใน  หรือภัยจากการจลาจลภายในประเทศ  ภัยจากการถูกสิ่งปรักหักพังทับ  และภัยอันเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเหล่านี้เป็นต้น
   ส่วน “การเคลื่อนย้าย นั้นหมายถึงการช่วยผู้ประสบภัยออกจากที่ที่ได้เกิดภัยนั้นๆ ทั้งที่กำลังได้รับภัยนั้นอยู่ หรือหลังจากเหตุภัยนั้นๆ ได้สงบแล้ว
               ดังนั้นการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย  หรือ อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยที่ได้รับฝึกอบรมทางวิชาการนี้มาอย่างถูกต้อง  และมีความชำนาญพอแล้ว
วัตถุประสงค์ :-
               วัตถุประสงค์ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยก็เพื่อจะช่วยชีวิต  โดยเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุ ด้วยความรวดเร็วที่สุด  และพยายามไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับอันตราย  หรือ ได้รับความกระทบกระเทือนจากการเคลื่อนย้ายเท่าที่จะทำได้
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย :-
               เจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาสาธารณภัยหรืออาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยผู้ช่วยเหลือ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยในที่เกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น
2. ปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว มีสติ  และไหวพริบดี
3. หาสาเหตุว่าภัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภัยชนิดใด(ในกรณีที่เหตุการณ์ได้สงบลงแล้ว)
4. จากข้อ 3 ก็เพื่อที่จะนำมาวินิจฉัยว่า  บุคคลผู้ได้รับภัยนั้นบาดเจ็บด้วยเหตุใด
5. เมื่อเข้าถึงตัวผู้ป่วยต้องวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยโดยฉับไว  เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาว่าจะใช้วิธีใดเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย  จึงจะเหมาะสมและได้ผลดี
6. ควรพิจารณาว่าผู้ประสบภัยมีขนาดรูปร่างเล็กใหญ่ เพียงใด เพื่อที่จะทำการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยโดยนำวิธีต่างๆ มาเลือกใช้ให้เหมาะสมได้ผลดี
7. ทิศทางแนวทางในการเคลื่อนย้ายนั้นจะต้องพิจารณาถึงการเข้าออกโดยฉับไว อันเป็นทางเข้าออกที่จะนำไปสู่ความปลอดภัย
8. คำนึงถึงกำลังของเจ้าหน้าที่  ที่เข้าการช่วยเหลือว่ามีมากน้อยเพียงใด  เพื่อจะพิจารณาได้ว่า จะเข้าทำการช่วยผู้ประสบภัยคนหนึ่ง ต่อเจ้าหน้าที่หนึ่งคน  หรือ คนหนึ่งต่อเจ้าหน้าที่สองคน สามคน หรือ  สี่คน  แล้วแต่กรณี
9. เมื่อผู้ป่วยไปสู่ที่ปลอดภัยแล้วควรนำผู้ป่วยนอนเปลพยาบาล  หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่นปลอดภัยมากที่สุด
10. ควรทำการปฐมพยาบาลเท่าที่จำเป็นด้วยการให้ความช่วยเหลือขั้นต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยปัจจุบันเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจถึงแก่ชีวิต  เช่น  ในการห้ามเลือด  และ การช่วยหายใจเป็นต้น
11. นำผู้ประสบภัยหรือผู้บาดเจ็บส่งถึงมือแพทย์  พยาบาล  หรือ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในช่วงเวลาอันสั้นที่สุด
การจำแนกวิธีการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย :-
             การจำแนกวิธีการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายเพื่อช่วยผู้ป่วยที่ประสบภัยนั้นอาจจำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 วิธีคือ
         1. การเคลื่อนย้ายโดยปราศจากเครื่องมือ
         2. การเคลื่อนย้ายโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
              การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยโดยไม่ใช้เครื่องมือหรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์นั้นอาจใช้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตั้งแต่หนึ่งคน  สองคน  สามคน หรือ สี่ห้าคน ต่อผู้ประสบภัยคนเดียว ทั้งนี้ย่อยขึ้นกับแล้วแต่กรณี

              อนึ่งควรเข้าใจว่าการใช้เทคนิคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินเท่านั้น และในกรณีผู้ป่วยหนักควรจะใช้เปลหาม  แต่อย่างไรก็ตามในภาวะต่างๆ เช่นไฟไหม้  หรือการพังทลายในขณะเหตุการณ์กำลังเกิดขึ้นนั้นจะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกก่อนโดยเร็ว

VGA to SCART converter

|0 ความคิดเห็น
Cable pinout for: VGA to SCART converter cable scheme

video cable wiring


15 pin highdensity D-SUB male connector


21 pin SCART male connector

SCART to S-Video Cable Pinout

|0 ความคิดเห็น

SCART to S-Video Cable Pinout

Cable pinout for: SCART to S-Video
video cable wiring




21 pin SCART male connector


4 pin mini-DIN male connector


SCART => S-Video
Composite Video Ground 17 1 Ground (Y)
RGB Red Ground 13 2 Ground (C)
Composite Video Out 19 3 Y - Intensity (Luminance)
RGB Red In / Chrominance 15 4 C - Color (Chrominance

HDMI to DVI cable scheme Cable Pinout

|0 ความคิดเห็น

HDMI to DVI cable scheme Cable Pinout

Cable pinout for: HDMI to DVI cable scheme
video cable wiring

19 pin HDMI type A connector


24 pin DVI-D female connector

HDMI supports standard, enhanced, or high-definition video, plus multi-channel digital audio on a single cable. This video data is then encoded into TMDS for transmission digitally over HDMI. HDMI also includes support for 8-channel uncompressed digital audio. Beginning with version 1.2, HDMI now supports up to 8 channels of one-bit audio. One-bit audio is what is used on Super Audio CDs.The standard Type A HDMI connector has 19 pins, and a higher resolution version called Type B, has been defined, although it is not yet in common use. Type B has 29 pins, allowing it to carry an expanded video channel for use with high-resolution displays. Type-B is designed to support resolutions higher than 1080p.


Type A HDMI to DVI-D interface cable


HDMI Pin Signal Wire DVI-D Pin
1 TMDS Data2+ A 2
2 TMDS Data2 Shield B 3
3 TMDS Data2- A 1
4 TMDS Data1+ A 10
5 TMDS Data1 Shield B 11
6 TMDS Data1- A 9
7 TMDS Data0+ A 18
8 TMDS Data0 Shield B 19
9 TMDS Data0- A 17
10 TMDS Clock+ A 23
11 TMDS Clock Shield B 22
12 TMDS Clock- A 24
13 CEC N.C. N.C.
14 Reserved N.C. N.C.
15 SCL C 6
16 DDC C 7
17 DDC/CEC Ground D 15
18 +5V 5V 14
19 Hot Plug Detect C 16

  • Other pins are not connected

Type B HDMI to DVI-D interface cable


HDMI Pin Signal Wire DVI-D Pin
1 TMDS Data2+ A 2
2 TMDS Data2 Shield B 3
3 TMDS Data2- A 1
4 TMDS Data1+ A 10
5 TMDS Data1 Shield B 11
6 TMDS Data1- A 9
7 TMDS Data0+ A 18
8 TMDS Data0 Shield B 19
9 TMDS Data0- A 17
10 TMDS Clock+ A 23
11 TMDS Clock Shield B 22
12 TMDS Clock- A 24
13 TMDS Data5+ A 21
14 TMDS Data5 Shield B 19
15 TMDS Data5- A 20
16 TMDS Data4+ A 5
17 TMDS Data4 Shield B 3
18 TMDS Data4- A 4
19 TMDS Data3+ A 13
20 TMDS Data3 Shield B 11
21 TMDS Data3- A 12
25 SCL C 6
26 DDC C 7
27 DDC/CEC Ground D 15
28 +5V 5V 14
29 Hot Plug Detect C 16