วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นบาดแผลไฟลวก

|0 ความคิดเห็น
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นบาดแผลไฟลวก

หยุดยั้งความร้อนจากไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ก่อนทำลายชั้นผิว

บาดแผลไฟลวก ปัญหาจากบาดแผลไฟลวกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากอุบัติเหตุ การดูแลรักษาประกอบด้วยหลักการที่สำคัญหลายประการ ในการประเมินความรุนแรงของบาดแผลไฟลวก จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ระดับความลึกของแผลไฟลวก (Burn depth) แบ่งออกได้เป็น

ระดับที่หนึ่ง First-degree burns
ถือเป็นบาดแผลที่น้อยที่สุด ตรวจพบความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ผิวหนังมีลักษณะแดง เจ็บปวด กดเจ็บ ไม่เห็นลักษณะผิวพอง และการตรวจประสาทรับสัมผัสระหว่างสองจุดบนผิวหนังไม่พบว่าผิดปกติแต่อย่างใด บาดแผลในระดับที่หนึ่งนี้จะหายภายในเวลา 3-5 วันโดยไม่เกิดแผลเป็น
ระดับที่สอง Second-degree burns
แบ่งย่อยออกเป็นสองชนิด superficial partial-thickness และ deep partial-thickness burns จะพบว่าโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนังบางอย่างยังไม่ได้รับความเสียหาย และร่างกายสามารถซ่อมแซมได้ โดยมากไม่ต้องทำการผ่าตัดปลูกย้ายผิวหนังแต่อย่างใด

            บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น หรือที่เรียกว่า superficial partial-thickness burn จะเกิดขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าและส่วนบนของหนังแท้ ทำให้ผิวหนังพอง เกิดเป็น blisters ลักษณะเป็นสีแดงเรื่อๆ ชื้น อ่อนนุ่ม เจ็บ การหายของแผลใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไม่เกิดแผลเป็น

            ส่วนบาดแผลระดับที่สองชนิดลึก หรือที่เรียกว่า deep partial-thickness burns จะลึกถึงชั้น reticular dermis ของหนังแท้ ผิวพองมีลักษณะหนาและแตกง่าย เซลล์ต่างๆ จะเริ่มแบ่งตัวภายใน 7-10 วัน บาดแผลชนิดนี้มีโอกาสเกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มาก ถ้าไม่มีการติดเชื้อซ้ำเติม แผลมักจะหายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์ การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่จะช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ

ระดับที่สาม Third-degree burns
เป็นแผลชนิดที่เรียกว่า full-thickness burns หมายถึง มีการทำลายทั้งส่วนของหนังกำพร้าและหนังแท้ ที่สำคัญคือเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นหนังแท้ถูกทำลายจนหมด ลักษณะแผลมีสีขาวมองเห็นเส้นเลือดที่มีก้อนเลือดอุดตัน และผิวหนังส่วนที่เป็นบาดแผลนั้นจะมีอาการชา ปราศจากความรู้สึก ส่วนใหญ่ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดปลูกย้ายผิวหนัง ยกเว้นแผลเล็กมากขนาดน้อยกว่า 1 เซ็นติเมตร

ระดับที่สี่ Fourth-degree burns
แผลลึกตลอดไปจนถึงชั้นใต้ผิวหนัง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ กระดูกที่อยู่ใต้ผิวหนัง แผลระดับนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยการล้างแผล ตัดแต่งซ่อมแซมบาดแผล และแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อในชั้นใต้ผิวหนัง

ขนาดของแผล (Burn size)
คำนวณโดยใช้หลัก "rule of nines" เพื่อประมาณพื้นที่ผิวหนังที่ได้รับความเสียหาย ในผู้ใหญ่คิดเป็น 9% สำหรับบริเวณศีรษะและคอ 18% สำหรับแขนแต่ละข้าง 18% สำหรับด้านหน้าและด้านหลังของลำตัว 18% สำหรับขาแต่ละข้าง และ 1% สำหรับบริเวณฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์

อายุของผู้ป่วย Age and burn size

ผู้ป่วยที่มีอายุมากจะเกิดปัญหาจากแผลไฟลวกมากกว่าเด็ก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอายุ 20 ปี ขนาดแผล 40% อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 8 ในขณะที่ถ้าเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอายุ 70 ปี อัตราเสียชีวิตเพิ่มเป็นร้อยละ 94 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคตับ เป็นต้น
การตรวจพิเศษเพิ่มเติมสำหรับบาดแผลไฟลวก

ความลึกของบาดแผลอาจตรวจเพิ่มเติมได้จากเทคนิกต่างๆ เช่น การตรวจชิ้นเนื้อทางจุลชีววิทยา การใช้สาร vital dyes การตรวจอัลตราซาวน์ การตรวจ fluorescein fluorometry การตรวจ thermography การตรวจ light reflectance การตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า MRI และ laser Doppler flowmetry การตรวจดังกล่าวไม่ใช้ในเวชปฏิบัติทั่วไป ยกเว้น laser Doppler และ light reflectance ที่อาจพิจารณาใช้ในกรณีพิเศษ และผลการตรวจค่อนช้างแม่นยำ

 
ข้อมูลเพิ่มเติม

แผลไหม้

            ผิวหนังที่ปกคลุมร่างกายมีหน้าที่ป้องกันอันตราย และเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย  เมื่อผิวหนังถูกทำร้ายด้วยความร้อนเกิดเป็นแผลไหม้จะทำให้เกิดอันตรายตั้งแต่น้อยจนถึงเสียชีวิตได้

            หลักการปฐมพยาบาลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก

            1.  หยุดยั้งความร้อนโดยปฏิบัติดังนี้
            -  ดับไฟด้วยน้ำราด  หรือใช้ผ้าหนา ๆ คลุมตัว
            -  ถอดเสื้อผ้าที่ไฟไหม้  หรือถูกน้ำร้อนพร้อมเครื่องประดับที่อมความร้อนออกให้หมด

            2.  ตรวจร่างกายดังนี้
            -  การหายใจถ้าพบสิ่งผิดปกติ  เช่น  เสียงแหบ  หายใจผิดปกติ  ต้องรีบช่วยหายใจโดยเร็ว
            -  ชีพจรถ้าเบามากหรือไม่เต้นต้องรีบช่วยนวดหัวใจ
            -  ถ้าบาดเจ็บมีเลือดออกต้องรีบห้ามเลือดก่อน

การปฐมพยาบาลแผลไหม้

            1. เฉพาะชั้นผิวหนัง
            - ระบายความร้อนออกจากแผล  โดยใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล แช่ลงในน้ำหรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลานานประมาณ    10  นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยได้
            -  ทาด้วยยาทาแผลไหม้
            -  ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่ผองออก
            -  ปิดด้วยผ้าสะอาด  เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
            -  ถ้าแผลไหม้บริเวณกว้าง  หรืออวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

            2. ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
            - ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล  เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น
            - ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
            - ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ หรือ เด็กโต

|0 ความคิดเห็น
ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ หรือ เด็กโต


ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ หรือเด็กโต
1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่า เคลื่อนไหวหรือหายใจหรือไม่ ถามครับว่า “เป็นอะไรไหม ?”
2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
3. ถ้ามีโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด

                                       

4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

                                         

5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของผู้ป่วย สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม

                                        

6. ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจ
ใช้ปากประกบกับปาก บีบจมูกให้แน่น
พยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

                                         

7. กดหน้าอก
วางสันฝ่ามือบนหน้าอก ระดับราวนม
ให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนมืออีกข้าง
กดหน้าอกให้กดลงไปให้ลึก 2 นิ้ว
กดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาที
หลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับ
ทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น

         ห้ระวังเสมอ กรณีผู้ประสบภัยจมน้ำ และ เวลาที่ขนย้ายผู้จมน้ำ ให้คำนึงไว้ว่าอาจได้รับอันตรายส่วนลำคอ และกระดูกสันหลัง อย่าหมุนคอ อย่าหงายหรือก้มคอโดยไม่จำเป็น ให้ศีรษะและคออยู่นิ่งให้มากที่สุดระหว่างขนย้ายผู้ป่วย คุณสามารถใช้ผ้าเช็ดตัวม้วนวางทั้ง2 ข้างของศีรษะ แล้วใช้เทปพันศีรษะเข้ากับกระดาน

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี

|0 ความคิดเห็น
ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี
ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยเด็กระหว่าง 1-8 ปี1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือหายใจหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ ถามครับว่า “เป็นอะไรไหม ?”
2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
3. ถ้ามีโอกาสที่เด็กจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด
4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

                                         

5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของเด็ก สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม

                                         


6. ถ้าเด็กยังไม่หายใจ
ใช้ปากประกบกับปาก บีบจมูกให้แน่น
พยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

                                        

7. กดหน้าอก
วางสันฝ่ามือบนหน้าอก ระดับราวนม
ให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากเด็ก พยายามให้เด็กหงายหน้าขึ้น
กดหน้าอกให้กดลงไปให้ลึก 2 นิ้ว
กดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาที
หลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับ
ทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น

         ให้ระวังเสมอในกรณีผู้ป่วยจมน้ำและ เวลาที่ขนย้ายผู้จมน้ำ ให้คำนึงไว้ว่าอาจได้รับอันตรายส่วนลำคอ และกระดูกสันหลัง อย่าหมุนคอ อย่าหงายหรือก้มคอโดยไม่จำเป็น ให้ศีรษะและคออยู่นิ่งให้มากที่สุดระหว่างขนย้ายผู้ป่วย คุณสามารถใช้ผ้าเช็ดตัวม้วนวางทั้ง2 ข้างของศีรษะ แล้วใช้เทปพันศีรษะเข้ากับกระดาน

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี

|0 ความคิดเห็น
ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี
ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยเด็กเล็กไม่เกิน 1 ปี
1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือ เคลื่อนไหวหรือไม่
2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
3. ถ้ามีโอกาสที่เด็กจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด
4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

                                               

5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของเด็ก สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม

                                                

6. ถ้าเด็กยังไม่หายใจ
ใช้ปากประกบกับปากของเด็ก หรือปากประกบกับจมูกแต่ต้องให้ปากของเด็กปิดสนิท
พยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

                                                   

7. กดหน้าอก
วางนิ้ว 2 นิ้วบนหน้าอก ระดับใต้ราวนม
ให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากของเด็ก พยายามให้เด็กหงายหน้าขึ้น
กดหน้าอกให้กดลงไประหว่าง 1/3-1/2 ของความลึกของหน้าอก
กดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาที
หลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับ
ทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น


ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)

|0 ความคิดเห็น
ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)
ตอนที่ 3
 การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
1. เมื่อพบคนนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและเขย่าตัว เขย่าหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบ หรือมีเสียงคราง หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย
                                     ตรวจสอบการหมดสติ
                                                     ภาพที่ 10 ตรวจสอบการหมดสติ

2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel
   - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจหรือไม่
   - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
   - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก

                                     แสดงการทำ  look  listen and feel
                                          ภาพที่ 11 แสดงการทำ look listen and feel



3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

        ขั้นตอนที่ 1 Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ) - ดูภาพที่ 3 และ 4 ในหัวข้อ Airway

4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ        
        ขั้นตอนที่ 2 Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง - ดูภาพที่ 5 และ 6 ในหัวข้อ Breathing

5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 30 ครั้ง - ดูภาพที่ 9 ในหัวข้อ Circulation

6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที

7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
                                    การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน
                                            ภาพที่ 12 การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน
8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

                                      -----------------------------------------------

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
      หลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ จนกระทั่งผู้ป่วยมีชีพจรและหายใจได้เองแล้ว แต่ยังหมดสติอยู่ หรือพบผู้ป่วยหมดสติ แต่ยังมีชีพจรและหายใจอยู่ ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น (recovery position) ซึ่งท่านี้จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลัก การจัดท่าทำได้ดังนี้
       1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้นดังภาพ

                                  การจับแขนด้านใกล้ตัว
                                                     ภาพที่ 18 การจับแขนด้านใกล้ตัว


       2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง

                                   การจับแขนด้านไกลตัว
                                                  ภาพที่ 19 การจับแขนด้านไกลตัว


       3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง

                                     การจับดึงให้พลิกตัว
                                                        ภาพที่ 20 การจับดึงให้พลิกตัว


       4. จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย

อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี
         1. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้
         2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
         3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
         4. การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
         5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)

|0 ความคิดเห็น
ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)
ตอนที่ 2


ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ 
  1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
  2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
  3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
หลักการ A B C ของการช่วยชีวิต
1. A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift"
                                           ทางเดินหายใจที่เปิดและปิด
                                               ภาพที่ 2 ทางเดินหายใจที่เปิดและปิด

                                           head tilt chin lift
                                                  ภาพที่ 3 head tilt chin lift

         ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบน ผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
                                              jaw thrust maneuver
                                                 ภาพที่ 4 jaw thrust maneuver



2. B : Breathing คือ การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method) ทำได้ดังนี้

        2.1 กรณีเป่าปาก บีบจมูกของผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วย แล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่


                                            Mouth to Mouth
                                       ภาพที่ 5 การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Mouth


        2.2 กรณีเป่าจมูก ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือในเด็กเล็ก ต้องปิดปากของผู้ป่วยก่อน และเป่าลมหายใจเข้าทางจมูกแทน
                                           Mouth to Nose
                                      ภาพที่ 6 การผายปอดด้วยวิธี Mouth to Nose

          ขณะที่เป่าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือจมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ 1-1.5 วินาที (แต่ละครั้งได้ออกซิเจน 16 %) อัตราเร็วในการเป่า คือ 12 -15 ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจปกติ



3. C : Circulation คือการนวดหัวใจภายนอก ทำในรายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการจับชีพที่ carotid artery แล้วไม่พบว่ามีการเต้นของชีพจร ก็จะช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดโดยการกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage) โดยมีหลักการคือ กดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอัน ถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ

วิธีนวดหัวใจ
1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว
2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสองและลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วยในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก
4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล


                               แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก
                               แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก
                                      ภาพที่ 9 แสดงการวัดตำแหน่ง และการกดนวดหัวใจภายนอก

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) ตอนที่ 1

|0 ความคิดเห็น

องค์ประกอบของไฟ

|0 ความคิดเห็น
องค์ประกอบของไฟ

                                               
                  1. เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดการลุกไหม้มาจากสารเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์เคมี และอินทรีย์เคมี
                      ** สารอนินทรีย์เคมี เป็นสารที่เป็นพวกแร่ธาตุที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งมีชีวิต และไม่มีส่วนประกอบของคาร์บอน เช่น โปรตัสเซียมไนเตรท โซเดียม กรดต่าง ๆ เป็นต้น
                      ** สารอินทรีย์เคมี เป็นสารที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน กาซธรรมชาติ เป็นต้น

                  2. ความร้อน เป็นสิ่งที่ทำให้อุณหภูมิของเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง จุดติดไฟทำให้องค์ประกอบของการเกิดไฟ หรือเรียกว่า ปฏิกิริยาการสันดาป เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมจะมีจุดติดไฟไม่เหมือนกัน

                  3. ออกซิเจน บรรยากาศทั่ว ๆ ไปมีไนโตรเจน 79.04 % ออกซิเจน 20.93 % และคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03 % โดยออกซิเจนจะเป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้ การเผาไหม้แต่ละครั้งต้องการออกซิเจนประมาณ 16 % เท่านั้น ถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 16 % ก็จะไม่ช่วยให้เกิดการเผาไหม้ต่อไป ไฟจึงจะมอดดับลงได้ ดังนั้น จะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดถูกล้อมรอบไปด้วยออกซิเจนอย่างเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ ยิ่งมีออกซิเจนมากเชื้อเพลิงก็ยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองลุกไหม้ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนที่อยู่โดยรอบ

เพิ่มช่องเสียบ DSC ให้ FUTABA 2PL

|0 ความคิดเห็น
เพิ่มช่องเสียบ DSC ให้ FUTABA 2PL   

DSC ย่อมาจาก Direct  Servo Control แปลอย่างง่ายว่า ควบคุมเซอร์โวโดยตรง
วิทยุบังคับที่มีช่อง DSC ถ้าใช้ร่วมกับสาย DSC และรีซีฟเวอร์ที่มีช่องรับ DSC จะสามารถส่งสัญญาณจากวิทยุบังคับไปยังรีซีฟเวอร์ ผ่านทางสาย DSC เพื่อควบคุมเซอร์โว เพื่อการปรับตั้งหรือทดสอบเซอร์โว/สปีดคอนโทรล โดยที่วิทยุบังคับไม่ต้องส่งคลื่นออกอากาศ
เนื่องจากไม่ได้ส่งคลื่นออกอากาศ จึงไม่รบกวนคลื่นวิทยุของเพื่อนๆ ที่กำลังใช้ความถี่ในขณะนั้น
ช่อง DSC นี้ถ้าใช้ร่วมกับกล่องแปลงสัญญาณ RC เช่น กล่อง 9TURBO RC-USB V2.0 จะสามารถใช้วิทยุบังคับในการเล่นเกมขับรถต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้อีกด้วย โดยที่วิทยุบังคับไม่ต้องส่งคลื่นออกอากาศ เป็นการประหยัดพลังงานแบ็ตตารี่ของวิทยุบังคับเป็นอย่างมากด้วย ทำให้เล่นเกมส์ได้อย่างต่อเนื่อง ได้นานกว่าเดิมหลายเท่าตัว ไม่ต้องชาร์จแบ็ตตารี่บ่อยๆ
ตัวอย่างเกมขับรถแข่ง เช่น เกมจำลองแข่งรถน้ำมันทางเรียบ Virtual RC, เกมแข่งรถทางฝุ่น RealRace G2 , เกมแข่งรถ Need For Speed Most wanted เป็นต้น

ช่อง DSC นี้ จะมีอยู่ในวิทยุบังคับระดับโปร เช่น Futaba 3PK, Sanwa M8, Sanwa M11 เป็นต้น
ส่วน  Futaba 2PL เป็นวิทยุบังคับระดับเริ่มต้น จึงไม่มีช่องเสียบ  DSC
ผมทราบว่า เพื่อนหลายๆ ท่าน ที่เข้าสู่วงการรถไฟฟ้า RC ใหม่ๆ มักจะมีวิทยุบังคับ Futaba 2PL นี้  หรือแม้แต่มือเก่าที่เปลี่ยนวิทยุบังคับเป็นระดับโปรกันแล้ว ก็ยังมีเจ้า 2PL นี้เก็บไว้

ตอนนี้ถึงเวลาเพิ่มประสิทธิภาพให้ Futaba 2PL กันแล้วโดยการเพิ่มช่องเสียบ DSC ให้กับเจ้า 2PL
โดยระบบ DSC ที่ผมออกแบบ มีคุณสมบัติดังนี้
-         ส่งสัญญาณ PPM ออกจากทางช่องเสียบ DSC
-         เมื่อมีการเสียบใช้งานช่อง DSC จะตัดไฟเลี้ยงภาคส่งคลื่นวิทยุโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ภาคส่งคลื่นวิทยุหยุดทำงาน
-         เมื่อใช้ DSC สามารถหดเสาอากาศลงหมดได้ เพราะภาคส่งคลื่นวิทยุหยุดทำงานแล้ว จึงหดเสาอากาศลงหมดได้อย่างปลอดภัย
-         เมื่อใช้ DSC  ไม่ต้องถอดแร่ความถี่ เพราะภาคส่งคลื่นวิทยุหยุดทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องถอดแร่ความถี่
อุปกรณ์ ที่ใช้ ก็มีเพียง แจ็คไมค์เล็กสเตอริโอแบบมีสวิทช์ในตัว (ตัวเมีย), และปลั๊กไมค์เล็กสเตอร์โอ 3.5mm (ตัวผู้),
ในภาพแจ็คตัวเมีย ผมถ่ายให้ดูทั้งด้านบนและด้านล่างเลย ที่จริงใช้แค่แจ็คตัวเมียเพียงตัวเดียว ที่ติดตั้งลงใน Futaba 2PL
ส่วนปลั๊กตัวผู้ จะใช้เป็นปลั๊ก DSC ในการต่อใช้งาน หรือเสียบเพื่อทดสอบช่อง DSC ที่ผมจะทำขึ้นใหม่นี้
หน้าที่ของขาต่างๆ ของปลั๊กตัวผู้ 3.5mm  และแจ็คตัวเมียแบบมีสวิทช์ในตัว
S1 คือ สัญญาณช่องที่หนึ่ง ในที่นี่ใช้ส่งสัญญาณ PPM
S2 คือ สัญญาณช่องที่สอง ในที่นี้ไม่ได้ใช้งาน
GND คือ กราวด์
SW.NO ย่อมาจาก Switch Normal-Open คือสวิทช์ขาปกติวงจรเปิด (ปกติกระแสไฟไม่เดิน)
SW.COM ย่อมาจาก Switch Common คือสวิทช์ขาร่วม
SW.NC ย่อมาจาก Switch Normal-Close คือสวิทช์ขาปกติวงจรปิด (ปกติกระแสไฟเดิน)
มาดูกันว่า ผมทำช่องเสียบ DSC ให้เจ้า 2PL ของผมได้อย่างไร  เริ่มจากการเปิดฝาหลังเลยนะ
ก่อนเปิดฝาหลัง ก็ต้องถอดแร่ความถี่ออก ถอดแบ็ตตารี่ออก แล้วไขน็อตทั้ง 7 ตัว ที่ยึดฝาหลังออก
เปิดฝาหลังจะเห็นแผ่นวงจร 2 แผ่นของเจ้า 2PL
แผ่นบนเป็นแผ่นเล็กคือแผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ  แผ่นล่างเป็นแผ่นใหญ่ คือแผ่นสมองกลวงจรหลัก
ไขน็อต 2 ตัวที่ยึดแผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ ออกไป แล้วดึงแผ่นวงจรออกมาตรงๆ ตัวจับเสาอากาศจะปลดออกเอง แล้วพลิกแผ่นวงจร
จะเห็นสายสัญญาณ 3 เส้น สีขาว-แดง-ดำ เชื่อมอยู่ระหว่างแผ่นวงจรบนและแผ่นวงจรล่าง
ผมต้องเล็งหาที่วางแจ็คตัวเมียให้ได้ก่อนนะครับ มองไปมองมา  ด้านหน้าของวิทยุนี่เหมาะสุด เพราะวิทยุบังคับระดับโปร อย่างเจ้า 3PK ก็วางช่องเสียบ DSC ไว้ตรงด้านหน้า
ผมนำแผงวงจรบนใส่กลับเข้าที่ก่อน แต่ไม่ยึดน็อต  แล้วนำฝาหลังมาทาบ เพื่อหาตำแหน่งการวางแจ็คตัวเมีย ที่ไม่ติดเสาค้ำฝาหลัง
ถ้าเสาค้ำฝาหลังชนแจ็คตัวเมีย จะปิดฝาหลังไม่ได้ จึงต้องเล็งๆ ทาบๆ กับฝาหลัง ให้ดีก่อน เมื่อเล็งได้ที่เหมาะๆ แล้ว
ผมก็มาร์คตำแหน่งรูเสียบแจ็คไว้ ทั้งที่สันของฝาหน้าและฝาหลัง ผมใช้ตะไบกลม เพื่อตะไบสันของฝาหน้าและฝาหลังออกให้ได้ตามส่วนโค้งของรูแจ็ค  ตามภาพนี้จะเห็นว่าผมตะไบได้ส่วนโค้งตามรูแจ็คพอดีเลย  ระหว่างตะไบต้องระวังอย่าให้ตะไบไปโดนอุปกรณ์ใดๆ ในแผ่นวงจร
การยึดแจ็คตัวเมีย ผมยึดเข้ากับแผ่นวงจรแผ่นล่าง โดยใช้การตราช้าง (หรือกาวอัศจรรย์แห้งเร็ว) เพื่อแปะแจ็คตัวเมียกับแผ่นวงจร

ภาพแสดงสายทั้งสามเส้น ที่เชื่อมระหว่างแผ่นวงจรบนและล่าง (ของเดิมก่อนดัดแปลง)
สายขาวคือสายไฟบวก (V), สายแดงคือสายสัญญาณ PPM , สายดำคือกราวด์ (G)
ตามเดิม Futaba 2PL จะส่งไฟบวกผ่านสายสีขาวไปเลี้ยงแผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ
และส่งสัญญาณ PPM ผ่านสายสีแดง ไปที่แผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ เพื่อผสมสัญญาณ (Modulation) กับคลื่นวิทยุ  แบบ AM
หลักการดัดแปลง เพิ่มช่องเสียบ DSC
การควบคุมการเปิดปิดภาคส่งคลื่นวิทยุแบบอัตโนมัติ เมื่อมีการเสียบใช้ช่อง DSC จะอาศัยสวิทช์ภายในตัวของแจ็คตัวเมียเป็นหลัก
โดยสวิทช์จะควบคุมการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับแผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ ในขณะที่มีการถอดปลั๊ก DSC สวิทช์จะต่อเชื่อมขา SW.COM เข้ากับ SW.NC และเมื่อมีการเสียบปลั๊ก DSC สวิทช์จะต่อเชื่อมขา SW.COM กับ SW.NO
ผมจึงย้ายสายไฟขาว (ไฟบวก) จากเดิมที่ต่อจากแผ่นวงจรล่างมาที่แผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุโดยตรง เป็นให้สายไฟขาวมาต่อผ่านสวิทช์ภายในตัวของแจ็คตัวเมียก่อน ที่ขา SW.COM กับ SW.NC ในขณะที่ถอดปลั๊ก DSC ออก แผ่นวงจรภาคส่งคลื่นวิทยุ จึงมีไฟเลี้ยงตามปกติ และเมื่อเสียบปลั๊ก DSC ไฟเลี้ยงภาคส่งคลื่นวิทยุ ก็จะถูกตัดออกโดยอัตโนมัติจากการทำงานของสวิทช์ภายในตัวของแจ็คตัวเมียนี้

ส่วนสัญญาณ PPM ก็เพียงต่อสายสีแดงเพิ่มจากจุดเดิมที่สายสีแดงต่อมาอยู่แล้ว มาที่ขา S1 ของแจ็คตัวเมีย และต่อขา GND ของแจ็คตัวเมียลงกราวด์ของแผ่นวงจรด้วย เพียงเท่านี้ สัญญาณ PPM ก็จะปรากฎที่ช่องเสียบของแจ็คตัวเมียแล้ว
แจ็คตัวเมียแบบมีสวิทช์ในตัว ที่เราเพิ่มเข้าไป จึงกลายเป็นช่องเสียบ DSC ไปแล้วนะ

ภาพแสดง การต่อสายสีขาวใหม่ โดยต่อผ่านสวิทช์ของแจ็คตัวเมีย  ที่ขา SW.COM และ SW.NC เพื่อควบคุมไฟเลี้ยงภาคส่งคลื่น
การต่อสายสีแดง มาที่ขา S1 ของแจ็คตัวเมีย  ทำให้ช่องเสียบ DSC มีสัญญาณ PPM
การต่อสายสีดำ จากขา GND ของแจ็คตัวเมียลงกราวด์วงจร ตามภาพ ทำให้ช่องเสียบ DSC มีกราวด์

เมื่อตัดต่อสายต่างๆ เสร็จแล้ว ก็นำแผ่นวงจรบน ใส่กลับเข้าที่เดิม ต้องสังเกตดูให้ตัวจับเสาอากาศให้ลงล็อคให้ดีด้วย
แล้วขันน็อต 2 ตัวยึดแผ่นวงจรบนให้แน่นพอดี จากนั้นนำฝาหลังมาใส่ ขันน็อตยึดทั้ง 7 ตัว แล้วใส่แร่ความถี่ และแบ็ตตารี่ ให้เรียบร้อย
ในภาพนี้ จะเห็นช่องเสียบเล็กๆ ที่ด้านหน้าของวิทยุ นี่แหละครับ ช่องเสียบ DSC สำหรับ Futaba 2PL ของผม
โดยมีวิธีใช้งานตามนี้เลยครับ
กรณีใช้งานตามปกติ 
ชักเสาอากาศขึ้นจนสุด, เปิดสวิทช์ใหญ่ที่ด้านหลังวิทยุ (ช่อง DSC ต้องไม่มีปลั๊กเสียบนะ), วิทยุจะส่งคลื่นออกอากาศ
กรณีใช้งาน DSC
หดเสาอากาศลงสุด, เสียบปลั๊ก DSC, เปิดสวิทช์ใหญ่ที่ด้านหลังวิทยุ, วิทยุจะส่งสัญญาณ PPM ออกทางช่องเสียบ DSC โดยที่วิทยุจะไม่ส่งคลื่นออกอากาศ
คำเตือน
เพื่อนๆ ที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว ไม่เข้าใจในวิธีการ ก็อย่าได้เสี่ยงทำการดัดแปลงโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้วิทยุบังคับเสียหายได้
ส่วนเพื่อนๆ ที่อ่านแล้วเข้าใจ และมีทักษะทางอิเล็คทรอนิคส์พอสมควร ก็ทำตามได้เลย 
วิทยุบังคับในภาพเป็น Futaba 2PL รีโมทคู่ใจของลูกชายผมเอง ผมดัดแปลงเรียบร้อยแล้ว ใช้เป็นวิทยุบังคับเล่นรถตามปกติ และใช้ ช่อง DSC ร่วมกับกล่องแปลงสัญญาณ 9TURBO RC-USB V2.0 เพื่อเล่นเกมส์  RC บนคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
การนำวิธีการมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น ผมไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่จะเกิดกับวิทยุบังคับของท่านในทุกกรณี ...