วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

ฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

ฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ ขณะทำงานจะมีแรงดันตกคร่อมขดไพรมาี่เท่ากับแรงดันอินพุต แต่แรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์มีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของแรงดันอินพุตเท่านั้น และค่ากระแสสูงสุดที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวนั้น มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของค่ากระแสสูงสุดในÎาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ที่กำลังขาออกเท่ากัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ลดน้อยลงไป กำลังงานสูงสุดที่ได้จากฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์จึงมีค่าสูง ตั้งแต่ 500 - 1000 วัตต์

รูป CNV-6 วงจรพื้นฐานของฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

วงจรพื้นฐานของฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์แสดงในรูป CNV-6 เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ทั้ง  4 ตัวจะทำงานโดยนำกระแสและหยุดนำกระแสสลับกันเป็นคู่ๆ ในแต่ละครึ่งคาบเวลา Q1 และ Q4 จะนำกระแสพร้อมกันในครึ่งคาบเวลา และเมื่อหยุดนำกระแส Q2 และ Q3 จะนำกระแสพร้อมกันในครึ่งคาบเวลาที่เหลือ สลับกันเช่นนี้เรื่อยไป ลักษณะการทำงานของวงจรที่ได้จึงเป็นเช่นเดียวกับÎาลฟ์บริดจ์คอนเวอร์เตอร์ ยกเว้นแรงดันตกคร่อมขดไพรมารี่จะมีค่าเท่ากับ Vin - 2Vce(sat) ดังนั้นผลของการทำงานของวงจรจึงเหมือนกับผลที่ได้จากพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์นั้นเอง ส่วนตัวเก็บประจุบล็อกกิ้ง Cb จะมีผลเช่นเดียวกับวงจรÎาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ จะเห็นได้ว่าแรงดันที่ตกคร่อม Q1 และ Q4 ขณะหยุดนำกระแสจะมีค่าเท่ากับ Vin-Vceq2(sat) และ Vin-Vceq3(sat) ตามลำดับ ส่วแรงดันที่ตกคร่อม Q2 และ Q3 ขณะหยุดนำกระแสก็จะมีค่า Vin-Vceq1(sat) และ Vin-Vceq4(sat) ตามลำดับเช่นเดียวกัน ส่วนไดโอด D3-D6 ทำหน้าที่เป็นคอมมิวเตติ้งไดโอดให้กับวงจร เพื่อป้องกัน Q1-Q4 เช่นเดียวกับฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

ฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

ฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

ฮาลฟ์บริดจ์คอนเวอร์เตอร์จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับพุชพูลคอนเวอร์เตอร์ แต่ลักษณะการจัดวงจรจะทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในวงจรมีแรงดันตกคร่อมขณะหยุดนำกระแสเพียงค่าแรงดันอินพุตเท่านั้น ทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ที่ใช้มีราคาถูก และหาได้ง่ายกว่า และลดข้อจำกัดเมื่อใช้กับระบบแรงดันไฟสูงได้มาก รวมทั้งยังไม่มีปัญหาการไม่สมมาตรของฟลักซ์ในแกนเฟอร์ไรต์ของหม้อแปลงได้ด้วย

รูป CNV-4 วงจรพื้นฐานของÎาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์

วงจรพื้นฐานของÎาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์แสดงไว้ในรูป CNV-4 การทำงานเป็นดังต่อไปนี้ ตัวเก็บประจุ C1 และ C2 ถูกกำหนดให้มีค่าเท่ากัน ต่ออนุกรมกันอยู่ทางด้านอินพุตเพื่อแบ่งครึ่งแรงดัน แรงดันตกคร่อม C1 และ C2 จึงมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของแรงดันที่อินพุต เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ Q1 และ Q2 จะสลับกันทำงานคนละครึ่งคาบเวลาเช่นเดียวกับพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาวงจร จะพิจารณาในกรณีที่ไม่มีตัวเก็บประจุ Cb ต่อยู่ในวงจร โดยให้ปลายของขดไพรมารี่ Np ที่ต่ออยู่กับ Cb นั้นต่อโดยตรงเข้ากับจุดต่อระหว่างตัวเก็บประจุ C1 และ C2 ดังแสดงในรูป CNV-5

รูป CNV-6 (บน) ขณะ Q1 นำกระแส (ล่าง) ขณะ Q2 นำกระแส

เมื่อ Q1 เริ่มนำกระแส และ Q2 ไม่นำกระแส แรงดันตกค่อม Q2 จะมีค่าเท่ากับ Vin-Vce(sat) ส่วนแรงดันตกคร่อมของไพรมารี่ Np จะมีค่าเท่ากับ Vc1 - Vce(sat) หรือมีค่าเท่ากับ Vin/2 - Vce(sat) นั่นเอง ในทำนองเดียวกัน เมื่อ Q2 นำกระแส และ Q1 ไม่นำกระแส แรงดันตกคร่อม Q1 จะมีค่าเท่ากับ Vin-Vce(sat) เช่นเดียวกัน แรงดันตกคร่อมที่ขดไพรมารี่ Np ก็ยังคงมีค่าเท่ากับ Vin/2 - Vce(sat) เนื่องจาก Vce(sat) มีค่าประมาณ 0.5-1 โวลต์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแรงดันตกคร่อม Q1 และ Q2 ขณะหยุดนำกระแสจะมีค่าเพียงแรงดันอินพุตเท่านั้น ผลของการทำงานของ Q1 และ Q2 ที่ด้านเซคันดารี่จะมีลักษณะเดียวกันกับพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์

พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์

พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์เป็นคอนเวอร์เตอร์ที่จ่ายกำลังได้สูง ในช่วง 200 - 1000 วัตต์ แต่มีข้อเสียคือมักเกิดการไม่สมมาตรของฟลักศ์แม่เหล็กของแกนหม้อแปลง ซึ่งจะมีผลต่อการพังเสียหายของเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ได้ง่าย ในปัจจุบันเทคนิคการควบคุมแบบควบคุมกระแสช่วยลดปัญหานี้ลงได้ ดังนั้นพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์จึงเป็นคอนเวอร์เตอร์ที่น่าสนใจสำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่ต้องการกำลังสูง
การทำงานของพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์ เปรียบเสมือนการนำฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์สองชุดมาทำงานร่วมกัน โดยผลัดกันทำงานในแต่ละครึ่งคาบเวลาในลักษณะกลับเฟส ทำให้จ่ายกำลังได้สูง เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในวงจรยังคงมีแรงดันตกคร่อมในขณะหยุดนำกระแสค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับฟลายแบคและฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ รวมทั้งปัญหาการเกิดฟลักซ์ไม่สมมาตรในแกนเฟอร์ไรต็ของวงจรทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์พังเสียหายง่าย พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์เป็นพื้นฐานของÎาล์ฟบริดจ์ และฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ซึ่งมีการทำงานคล้ายกัน แต่มีข้อบกพร่องน้อยกว่า

รูป CNV-3 วงจรพื้นฐานของพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์

วงจรพื้นฐานของพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์ แสดงไว้ในรูป CNV-3
จากรูป Q1 และ Q2 จะสลับกันทำงานโดยผลัดกันนำกระแสในแต่ละครึ่งคาบเวลา T ในขณะที่ Q1 นำกระแสจะมีกระแส Ip ไหลผ่านขดไพรมารี่ Np1 และไดโอด D1 จะถูกไบแอสกลับ ส่วนไดโอด D2 จะถูกไบแอสตรง ทำให้มีกระแสไหลที่ขดไพรมารี่ Ns2 ผ่านไดโอด D2 และ Lo ไปยังตัวเก็บประจุ Co และโหลด
ในจังหวะนี้แรงดันตกคร่อม Q2 จะมีค่าเป็น 2Vin (จำนวนรอบ Np1 = Np2 และ Ns1 = Ns2) ในทำนองเดียวกันขณะที่ Q2 นำกระแส Q1 และ D2 จะไม่นำกระแสเนื่องจากถูกไบแอสกลับ D1 ซึ่งถูกไบแอสตรงจะนำกระแสจากขดเซคันดารี่ Ns1 ผ่าน Lo ไปยังตัวเก็บประจุ Co และโหลด จะเห็นได้ว่าในหนึ่งคาบเวลาการทำงาน ขดเซคันดารี่จะให้กระแสไหลผ่าน Lo ได้ถึงสองครั้ง พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์จึงสามารถจ่ายกำลังงานได้มากเป็นสองเท่าของฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ที่ค่ากระแสสูงสุดด้านไพรมารี่มีค่าเท่ากัน
และโหลดมีกระแสไหลต่อเนื่องตลอดเวลา กระแสที่ได้ทางเอาต์พุตจึงค่อนข้างเรียบ

ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์


รูป CNV-2 วงจรพื้นฐานของฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์

วงจรพื้นฐานของฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์แสดงไว้ในรูป CNV-2 จะเห็นได้ว่าฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์มีลักษณะใกล้เคียงกับฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ แต่พื้นฐานการทำงานจะแตกต่างกัน คือ หม้อแปลงในฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์จะทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานในช่วงที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแส ต่างจากฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ซึ่งหม้อแปลงจะสะสมพลังงานในช่วงที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแส แล้วจึงถ่ายเทพลังงานออกไปขณะที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์หยุดนำกระแส การทำงานของวงจรจะเป็นดังนี้
เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ Q1 จะทำงานโดยนำกระแสและหยุดนำกระแสสลับกันไป เมื่อ Q1 นำกระแส จะมีกระแส Ip ไหลผ่านขดไพรมารี่ Np และตัวมัน เนื่องจากหม้อแปลง T1 ในฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์จำกำหนดขดไพรมารี่และเซคันดารี่ให้มีเฟสตรงกัน ดังนั้นไดโอด D1 จึงถูกไบแอสตรง ทำให้มีกระแสไหลที่เซคันดารี่ Ns ผ่านตัวเหนี่ยวนำ Lo ไปยังตัวเก็บประจุเอาต์พุต Co และโหลดได้ ขณะที่มีกระแสไหลผ่าน Lo จะมีการสะสมพลังงานไว้ในตัวมันด้วย ส่วนโดโอด D2 จะอยู่ในลักษณะไบแอสกลับ จึงไม่มีการนำกระแส เช่นเดียวกันไดโอด D3 เนื่องจากขดดีเมกเนไตซิ่ง Nr ถูกพันไว้ในทิศตรงข้ามกับขดไพรมารี่ Np ไดโอด D3 จึงอยู่ในลักษณะไบแอสกลับ และไมีมีประแสไหล เมื่อ Q1 หยุดนำกระแส ไดโอด D1 จะถุกไบแอสกลับและไม่มีกระแสไหลจากขอเซคันดารี่ Ns แต่ในขณะเดียวกันสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นใน Lo ยุบตัว ทำให้มีการกลับขั้วแรงดันที่ Lo ไดโอด D2 จึงถูกไบแอสตรง พลังงานที่ถูกสะสมไว้ใน Lo จะถุกถ่ายเทออกมาทำให้มีกระแสไหลผ่าไดโอด D2 ไปยังตัวเก็บประจุ Co และโหลดได้ กระแสที่ไหลผ่านโหลดจึงมีลักษณะต่อเนื่อง ทั้งในช่วงที่ Q1 นำกระแสและหยุดนำกระแส ทำให้มีการกระเพื่อมของแรงดันที่เอาต์พุตต่ำกว่าฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์
ในขณะที่ Q1 หยุดนำกระแส สนามแม่เหล็กที่ตกค้างภายในหม้อแปลงจะมีการยุบตัวและกลับขั้วแรงดันที่ขด Np, Ns และ Nr ไดโอด D3 จะอยู่ในลักษณะถูกไบแอสตรง ทำให้มีการถ่ายเทพลังงานที่เหลือค้างนี้ออกไปได้ ขดลวดดีแมกเนไตซิ่ง Nr และไดโอด D3 นี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าไม่มีการถ่ายเทพลังงานที่ตกค้างออกไปจากขดไพรมารี่ในขณะที่ Q1 หยุดนำกระแส เมื่อ Q1 เริ่มนำกระแสอีกครั้ง สนามแม่เหล็กที่หลงเหลืออยู่จะทำให้ Q1 เป็นอัตรายได้

กราฟแสดงลักษณะกระแสและแรงดันในวงจรขณะทำงาน

สำหรับฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ เมื่อวงจรทำงานอยู่ในสภาวะคงที่ ค่าแรงดันเอาต์พุตที่ได้จากคอนเวอร์เตอร์จะเป็นไปตามสมการ
Vout = (Np/Ns)(Vin-Vce(sat))tON / T - Vd
ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ให้กำลังงานได้ในช่วงเดียวกับฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ (ในช่วง 100 - 200 วัตต์) แต่กระแสที่ได้จะมีการกระเพื่อมต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาจะให้มีราคาสูงกว่า

ฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

ฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์

[Flyback Circuit diagram]
รูป CNV-1 วงจรพื้นฐานของฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์

จากรูป CNV-1 เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ Q1 ในฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์จะทำงานในลักษณะเป็นสวิตช์ และจะนำกระแสตามคำสั่งของพัลส์สี่เหลี่ยมที่ป้อนให้ทางขาเบส เนื่องจากหม้อแปลง T1 จะกำหนดขดไพรมารี่และขดเซคันดารี่ให้มีลักษณะกลับเฟสกันอยู่ ดังนั้นเมื่อ Q1 นำกระแส ไดโอด D1 จึงอยู่ในลักษณะถูกไบแอสกลับและไม่นำกระแส จึงมีการสะสมพลังงานที่ขดไพรมารี่ของหม้อแปลง T1 แทน เมื่อ Q1 หยุดนำกระแส สนามแม่เหล็ก T1 ยุบตัวทำให้เกิดการกลับขั้วแรงดันที่ขดไพรมารี่และเซคันดารี่ D1 ก็จะอยู่ในลักษณะถูกไบแอสตรง พลังงานที่สะสมในขดไพรมารี่ของหม้อแปลงก็จะถูกถ่ายเทออกไปยังขดเซคันดารี่ และมีกระแสไหลผ่านไดโอด D1 ไปยังตัวเก็บประจุเอาต์พุต Co และโหลดได้ ค่าของแรงดันทีเอาต์พุตของคอนเวอร์เตอร์จะขึ้นอยู่กับค่าความถี่การทำงานของ Q1 ช่วงเวลานำกระแสของ Q1 อัตราส่วนจำนวนรอบของหม้อแปลง และค่าของแรงดันที่อินพุต
เมื่อวงจรทำงานอยู่ในสภาวะคงที่ ค่าแรงดันเอาต์พุตที่ได้จากคอนเวอร์เตอร์จะเป็นไปตามสมการ
Vout = [tON x (Ns/Np)(Vin-Vce(sat)] / (T-tON) - Vd
 

Tคือคาบเวลาการทำงานของ Q1 เป็นวินาที
tONคือช่วงเวลา
Npคือจำนวนรอบของขดไพรมารี่ 
Nsคือจำนวนรอบของขดเซคันดารี่
Voutคือแรงดันที่เอาต์พุตของคอนเวอร์เตอร์ เป็นโวลต์
Vinคือแรงดันที่อินพุตของคอนเวอร์เตอร์ เป็นโวลต์
Vce(sat)คือแรงดันตกคร่อม Q1 ขณะนำกระแสที่จุดอิ่มตัว เป็นโวลต์
VDคือแรงดันคกคร่อมไดโอด D1 ขณะนำกระแส เป็นโวลต์

กราฟแสดงลักษณะกระแสและแรงดันในวงจรขณะทำงาน

ฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์เป็นคอนเวอร์เตอร์ที่ให้กำลังงานได้ไม่สูงนัก โดยอยู่ในช่วงไม่เกิน 150 วัตตุ และให้ค่าสัญญาณรบกวน RFI/EMI ค่อนข้างสูง แต่ใช้อุปกรณ์น้อยและมีราคาถูก
 

คอนเวอร์เตอร์

|0 ความคิดเห็น

คอนเวอร์เตอร์

คอนเวอร์เตอร์นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย มีหน่าที่ลดทอนแรงดันไฟตรงค่าสูงลงมาเป็นแรงดันไฟตรงค่าต่ำ และสามารถคงค่าแรงดันได้ คอนเวอร์เตอร์มีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการจัดวงจรภายใน โดยคอนเวอร์เตอร์แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป การจะเลือกใช้คอนเวอร์เตอร์แบบใดสำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายนั้นมีข้อควรพิจารณาจากลักษณะพื้นฐานของคอนเวอร์เตอร์แต่ละแบบดังนี้คือ
  • ลักษณะการแยกกันทางไฟฟ้าระหว่างอินพุตกับเอาต์พุตของคอนเวอร์เตอร์
  • ค่าแรงดันอินพุตที่จะนำมาใช้กับคอนเวอร์เตอร์
  • ค่ากระแสสูงสุดที่ไหลผ่านเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในคอนเวอร์เตอร์ขณะทำงาน
  • ค่าแรงดันสูงสุดที่ตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเคอร์ในคอนเวอร์เตอร์ขณะทำงาน
  • การรักษาระดับแรงดันในกรณีที่คอนเวอร์เตอร์มีเอาต์พุตหลายค่าแรงดัน
  • การกำเนิดสัญญาณรบกวน RFI/EMI ของคอนเวอร์เตอร์
จากข้อพิจารณาดังกล่าว จะทำให้ผู้ออกแบบทราบขีดจำกัดของคอนเวอร์เตอร์และตัดสินใจเลือกใช้คอนเวอร์เตอร์แบบใดได้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาคอนเวอร์เตอร์ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมามากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะคอนเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้เป็นในอุตสาหกรรมของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

หลักการทำงานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

|0 ความคิดเห็น

หลักการทำงานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายโดยทั่วไปมีองค์ประกอบพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และไม่ซับซ้อนมากนัก ดังแสดงในรูปที่ 1 หัวใจสำคัญของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะอยู่ที่คอนเวอร์เตอร์ เนื่องจากทำหน้าที่ทั้งลดทอนแรงดันและคงค่าแรงดันเอาต์พุตด้วย องค์ประกอบต่างๆ ทำงานตามลำดับดังนี้

รูป 1 องค์ประกอบพื้นฐานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย

แรงดันไฟสลับค่าสูงจะผ่านเข้ามาทางวงจร RFI ฟิลเตอร์ เพื่อกรองสํญญาณรบกวนและแปลงเป็นไฟตรงค่าสูงด้วยวงจรเรกติไฟเออร์ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์จะทำงานเป็นเพาเวอร์คอนเวอร์เตอร์โดยการตัดต่อแรงดันเป็นช่วงๆ ที่ความถี่ประมาณ 20-200 KHz จากนั้นจะผ่านไปยังหม้อแปลงสวิตชิ่งเพื่อลดแรงดันลง เอาต์พุตของหม้อแปลงจะต่อกับวงจรเรียงกระแส และกรองแรงดันให้เรียบ การคงค่าแรงดันจะทำได้โดยการป้อนกลับคาแรงดันที่เอาต์พุตกลับมายังวงจรควบคุม เพื่อควบคุมให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแสมากขึ้นหรือน้อยลงตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันที่เอาต์พุต ซึ่งจะมีผลทำให้แรงดันเอาต์พุตคงที่ได้

วิธีทำกล้อง webcam ให้เป็นกล้องวงจรปิด

|0 ความคิดเห็น
วิธีทำกล้อง webcam ให้เป็นกล้องวงจรปิด

สิ่งที่ต้องเตรียมในการทำ
1. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน๊ตบุ๊ค สเปคของเครื่องที่นำมาทำ
    Intel Pentium 4 ขึ้นไป และแรม 512 เมกขึ้นไป ควรใช้ ADSL 512 เมกขึ้นไป
2. กล้องเวบแคม และ ไดเวอร์ของกล้องเวบแคม (ต่อสายเข้าคอมและลงไดเวอร์ให้เรียบร้อย)
3. ไมค์บันทึกเสียง กรณีต้องการบันทึกเสียงด้วย (ต่อสายเข้าคอมและลงไดเวอร์ให้เรียบร้อย)
4. ดาวน์โหลดโปรแกรม Windows Media Encoder 9 ไปไว้ที่คอมพิวเตอร์ แล้วให้
    ติดตั้งโปรแกรมให้เรียบร้อย (สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จากท้ายบทความนี้)


ขัอดีของการทำ

1. เวลาบันทึกภาพไฟล์จะไม่ใหญ่มากเหมือนระบบกล้องวงจรปิดของจริง
2. สามารถดูภาพจากกล้องเวบแคม Online ผ่านทางระบบ LAN และ Internet ได้
3. การติดตั้งและการใช้งานจะง่ายกว่าระบบกล้องวงจรปิด
4. เหมาะกับผู้มีงบน้อย เพราะราคาในการทำระบบจะถูกกว่าระบบกล้องวงจรปิด

ขั้นตอนในการโปรแกรมการบันทึกภาพ




1. ให้ท่านเปิดโปแกรม Windows Media Encoder 9 ขึ้นมา  เลือกไปที่ Broadcast alive event เสร็จแล้ว คลิ๊ก OK



2. จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราเลือกกล้องและไมค์ที่ใช้ในการบันทึกภาพและเสียง มาเก็บไว้ครับ ก็เลือกเป็นชื่อกล้องของเราแล้วคลิ๊ก Next



3. เลือก Full from the encode แล้วคลิ๊ก Next ครับ



4. หากเครื่องเรา Set Network ไว้เรียบร้อยแล้วโปรแกรมก็จะทำการสร้าง URL  ในการทำ Streeming
ภาพเข้าอินเตอร์เน็ตให้เราเลยครับ  หาก Port ไปซ้ำกับเจ้าอื่นก็ให้โปรแกรม Find Port ให้ใหม่ก็ได้ครับ



5. สามารถ Set คุณภาพของภาพและเสียงได้ตามต้องการครับ ถ้า Set คุณภาพไว้สูงคุณภาพของภาพก็จะชัดมากแต่ไฟล์ที่ได้ออกมาก็จะใหญ่ตาม
    ไปด้วยครับ  ตัวอย่างการ Set ตามภาพ จะได้ขนาดนาทีละ 1 MB เองครับ บันทึก  ตามเวลางาน 8 ชั่วโมง เท่ากับจะใช้พื้นที่ Harddisk
    แค่ 400 กว่า MB เองครับ   ตั้งค่าเรียบร้อยแล้วก็คลิ๊ก Finish ครับ






6. เลือกไปที่ Popperties  >  Output  >  Archive to file  >  Browse
    สามารถเลือก Output ไฟล์ (ตำแหน่งเก็บไฟล์จากการบันทึภาพ) ได้จากที่นี่ครับ  ตั้งชื่อตามวันที่ก็ดีครับจะได้ง่ายต่อการตรวจสอบทีหลัง 
    การบันทึกใหม่ในแต่ละวันก็ต้องมาตั้งชื่อไฟล์ใหม่ที่นี่ทุกครั้งนะครับ



7. คลิ๊กที่ Start Encoding โปรแกรมก็จะทำการบันทึกภาพเก็บไว้ให้เลยครับ และ ทำการ Streeming ภาพให้เลยครับ

วิธีดูภาพ Online ผ่านอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย




1. ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เปิดโปรแกรม Windows Media Play ขึ้นมาครับ ที่เมนูบาร์เลือกที่ File เลื่อนลงมาเลือกที่ Open URL..
   ตามภาพครับ  (หากไม่มีโปรแกรม Windows Media Play ดาวน์โหลดได้ที่ท้ายบทความ)



2. พิมพ์ URL ตามที่โปแกรม Windows Media Encode 9 สร้างให้มาใส่ลงไป
         (URL ขั้นตอนในข้อ 4. ของขั้นตอนในการโปรแกรมการบันทึกภาพ)



3. รอโปรแกรมทำการโหลดภาพสักครู่ โปรแกรมก็จะโหลดภาพจากกล้องเวบแคมที่เรา ทำไว้มาให้เราดูได้ หากดูไม่ได้หรือภาพไม่ขึ้นให้เช็ค URL ที่ใส่


วิธีดูภาพ Online ผ่านทาง Pocket PC




1. ในเครื่อง Pocket PC ให้เปิดโปรแกรม Windows Media Play ขึ้นมาครับ  ไปที่ Menu เลื่อนไปเลือกที่ Open URLตามภาพครับ



2. พิมพ์ URL ตามที่โปแกรม Windows Media Encode 9 สร้างให้มาใส่ลงไป 
    (URL ขั้นตอนในข้อ 4. ของขั้นตอนในการโปรแกรมการบันทึกภาพ)



     

3. รอโปรแกรมทำการโหลดภาพสักครู่ โปรแกรมก็จะโหลดภาพจากกล้องเวบแคมที่เราทำไว้มาให้เราดูได้

ดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เน็ต

|0 ความคิดเห็น

ดูกล้องวงจรปิดผ่านอินเตอร์เน็ต

วิธีการทำงานของกล้อง IP Network Camera ควบคู่กับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ ADSL ซึ่งผู้ใช้สามารถเฝ้าดู รับฟังเสียงและบันทึกภาพพร้อมเสียงจากระยะไกลโดยผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงADSL จะบ้าน ห้างร้าน โกดังสินค้า ที่ทำงาน สำนักงานต่าง ๆ ฯลฯ ดูได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือ ตราบเท่าที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงการรับมือกับ Dynamic IP ซึ่งทาง ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นผู้จัดสรรให้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบ Home Use หรือ อินเตอร์เน็ตตามบ้านนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของ Public IP ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
                  เรามาดู วิธีการติดตั้งและการจัดการกับเจ้า Dynamic IP ว่าทำกันอย่างไร
                            อย่างแรกเราต้องมีคู่สายโทรศัพท์ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญในการรับชมรับฟัง ภาพสดจากกล้อง IP Network Camera ส่วนท่านจะสนใจผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รายไหนก็ขึ้นอยู่ กับดุลพินิจของท่านและพื้นที่ที่มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใดรองรับอยู่บ้าง อีกประการที่ท่านต้องตัดสินใจ ก็คือการเลือกความเร็วในการรับส่งข้อมูลของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ถ้าความเร็วยิ่งสูงก็จะทำให้คุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงจากกล้อง IP Network Camera มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ในที่นี้กล้องต้นแบบของเราใช้ความเร็วอยู่ที่ 256 Kb/s ในส่วนของการ Up Load (ส่งข้อมูล)  สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็คือ การเลือกใช้ อุปกรณ์ ADSL Modem Router ซึ่งใช้เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แน่นอน ADSL Modem Router มีคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ดีกว่า ADSL Modem ธรรมดา เพราะมีคุณสมบัติในการจัดการ ด้านเน็ตเวิร์กที่หลากหลาย อาทิเช่น NAT , DMZ , Firewall , Virtual Server , DDNS และ Remote Management บางรุ่นมี Port 10/100 Ethernet port  และ Wireless พร้อมใช้งานทำให้สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน๊คบุ๊ค หรือกล้อง IP Network Camera มาต่อได้ทันที่โดยไม่ต้องมี อุปกรณ์อย่างอื่นเสริม        
                    ทั้งนี้ ADSL Modem Router แบบไหนที่จะเหมาะสมและมีการทำงานร่วมกันได้ดีกับ IP Network Camera ? จากบทความนี้ขอยกตัวอย่าง ADSL Modem Routerรุ่น Bipac 5102 ซึ่งมี 10/100 Ethernet Switch อยู่ 4 Port พร้อมกับ feature & function การใช้งานที่หลากหลายและยัง มีฟังก์ชั่นที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ Dynamic IP ทำให้เราสามารถควบคุมกล้อง IP Network Camera (access) จากที่ต่างๆทั่วทุกมุมโลก เพื่อเข้ามาควบคุมกล้องและบันทึกภาพผ่าน อินเตอร์เน็ตจากระยะไกลๆได้โดยไม่ต้องกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆของ IP Address อีกต่อไป
                       การติดตั้งเริ่มจากนำคู่สายโทรศัพท์ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงต่อ เข้ากับช่อง RJ11 ของ ADSL Modem Router และเชื่อมต่อสายแลนด้านหนึ่งเข้ากับช่อง RJ45 ช่องใดก็ได้ ของเราเตอร์ และอีกด้านหนึ่งเข้ากับช่อง RJ45 ของกล้อง IP Network Camera ขั้นตอนต่อไปคือ การนำสายแลนอีกสายหนึ่งมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และช่อง RJ45 ที่เหลืออยู่ของเราเตอร์ เพื่อ ใช้สำหรับการตั้งค่าต่างๆให้กับตัวเราเตอร์และตัวกล้องเพื่อเชื่อมต่อออกสู่ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 
                ค่า IP Address ที่ใช้งานครั้งแรกของเราเตอร์รุ่นนี้ก็คือ 192.168.1.254 (สมมติ)ส่วนกล้องและ คอมพิวเตอร์จะได้รับแจกค่า IP Address โดยอัตโนมัติจากเราเตอร์ ในที่นี้สมมุติให้เป็น 192.168.1.2 สำหรับไอพีของกล้อง และ 192.168.1.3 สำหรับคอมพิวเตอร์
                 การเชื่อมต่อ Modem Router สู่โลกอินเตอร์เน็ต เปิดคอมพิวเตอร์แล้วเข้าไปที่ Web Browser ที่ Address พิมพ์ http://192.168.1.254 เราเตอร์ จะถาม User name ให้พิมพ์ Admin ส่วน Password ให้พิมพ์ Admin เช่นกัน
                  จากนั้นไปที่ Wizard Setup เพื่อตั้งค่าโหมดของเราเตอร์ ในที่นี้เลือกเป็นโหมด Routing ส่วน Encapsulation เลือกเป็น PPPoE ต่อมา Multiplex เลือกเป็น LLC และ virtual Circuit ID เลือก VCI และ VPI ตามที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายนั้นใช้อยู่ในที่นี้เลือกเป็น 0 กับ 32
                 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next เพื่อใส่ค่าของ User name และ Password ก็คือตามที่ผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ตได้ให้มานั้นเอง เลือกใส่ค่าตามภาพและกดปุ่ม Next อีกครั้งเพื่อแสดงค่าต่างๆที่เรา Configure ในข้างต้น
                  สุดท้ายก็ Save Setting เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านก็สามารถท่องสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้อย่าง รวดเร็ว

         การตั้งค่า Configuration ให้กับกล้อง เมื่อเชื่อมต่อสายแลนจากเราเตอร์เข้าที่ตัวกล้อง แล้วเราเตอร์จะแจกค่าไอพีแอดเดส (IP Address) ให้กับกล้องแต่เราจะทราบได้อย่างไรว่ากล้องได้ อะไร โดยใช้โปรแกรม Installation Wizard ที่ติดมากับกล้องเพื่อสแกนหา IP ที่เราเตอร์แจก ให้กับกล้อง
เมื่อเจอค่า IP ของกล้องเราก็เข้าไปที่ Web Browser ของคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าไปกำหนด ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ต่างๆของตัวกล้อง เราควรกำหนดค่า IP ของกล้องให้เป็นแบบ Static IP นั้นคือการ Fix IP ซึ่งจะเป็นค่าที่แน่นอนและไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการ Restart ของกล้อง เกิดขึ้น ในที่นี้ยกตัวอย่างเป็นค่าไอพี http://192.168.1.3
หลังจากนั้นใส่ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ต่างๆ อาทิเช่น IP addressใส่ 192.168.1.3 , Subnet mask ใส่ 255.255.255.0 , Default router ใส่ 192.168.1.254 นั้นคือ IP ของเราเตอร์นั้นเอง , HTTP port ใส่พอร์ท 80 สำหรับการเชื่อมต่อ (access) เว็บเซิร์ฟเวอร์ และ Streaming port ที่ทำให้ ควบคุมกล้องและได้ยินเสียงและอนุญาตให้ส่งภาพสู่อินเตอร์เน็ตส่งให้ผู้ที่ ใช้งานทำการเชื่อมต่อ (access) เข้ามาดูได้
ภาพที่ปรากฏออกมาทางหน้า Web Browser จะมีลักษณะภาพดังรูปและสามารถตั้งชื่อ สถานที่ๆกล้องอยู่ได้อีกด้วยทำให้ง่ายต่อการจดจำจากนั้นจึงทำการเปิดพอร์ ทที่ตัวเราเตอร์ให้ตรงกับพอร์ทของกล้องและ IP ของกล้องเพื่อใช้ในเวลา ที่ต้องการเชื่อมต่อ (access) กล้องผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้ามายังพอร์ทของกล้อง รวมทั้งเปิดพอร์ท 5002-5003 เพื่อรับฟังเสียงที่ชัดเจน นั่นคือเข้าฟังก์ชัน NAT และเข้าไปที่ Many to One และ คลิกที่ Edit Detailจากนั้นใส่ Start Port เป็นพอร์ท 80 และ End Port เป็นพอร์ท 80 เช่นกัน ส่วน IP Address ใส่ เป็นไอพีของกล้อง และ เปิดพอร์ท 5002 และ 5003 ตามด้วยไอพีของกล้องเหมือนเดิม
จัดการกับ Dynamic IP Address เน็ตเวิร์กขององค์กรขนาดใหญ่มีการใช้งาน Database ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่โดยมักจะใช้ Leased Line ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทาง ถ้าระยะทางยิ่งไกลก็จะทำ ให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รวมถึงค่าอุปกรณ์เช่น เราเตอร์ก็มีราคาสูง การเชื่อมต่อด้วย Leased Line ผู้ ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะมี Static IP จำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำ
         Static IP ดังกล่าวไปใช้สำหรับการติดตั้งเราเตอร์ เว็บเซิร์ฟเวอร์ แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ หรือ อุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ รวมถึงกล้อง IP Network Camera ที่ต้องอาศัยความสะดวกและมี IP Address ใช้ในการอ้างอิงและเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก ADSL แบบ Home Used อย่างมาก โดยรวมแล้วผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้จ่าย IP Address ลักษณะสุ่ม IP เนื่องจากมีการแบ่งสัดส่วนในการใช้ IP มากกว่า Static IP และจะเกิดการ เปลี่ยนแปลงของ IP ได้ง่ายหากจะนำกล้อง IP Network Camera มาติดตั้งหลัง ADSL Modem Router ทำให้เกิดผลกระทบจนไม่สามารถดูภาพจากกล้องได้ เพราะ IP ที่ใช้ในการอ้างอิงมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
 แก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออินเตร์เน็ตโดยใช้ Static Address
        เราสามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยอาศัยการเชื่อมต่อ (access) เซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เน็ต เวิร์กต่างๆด้วย Static Address แทนการเชื่อมต่อ (access) ด้วย IP Address เช่นเดิม หลักการของ Static Address อาศัยการอัปเดตค่า IP Address ของอุปกรณ์เราเตอร์หรือ เซิร์ฟเวอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยอ้างอิงไว้ที่ Address อาทิเช่น http://camera.dyndns.org เพื่อที่จะควบคุม ฟังเสียง บันทึกภาพได้ตลอดเวลา
การตั้งค่า Host Name
        ต้องทำการตั้งชื่อให้กับตัวกล้องเสมือนว่ากล้องเป็นเวปไซท์เวปหนึ่ง โดยทำการสมัครเป็น สมาชิกที่ Web site
www.dyndns.org เพื่อทำการตั้งชื่อให้กับกล้องของ IP Network Camera เสียก่อน เมื่อตั้งชื่อเสร็จแล้วทางเวปจะปรากฏ IP จริงของอินเตอร์เน็ต ในเครือข่ายเรา ณ ขณะนั้น แต่อีกไม่ นาน IP จริงเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนั้นก็นำค่าที่เราไป Configure ที่www.dyndns.org ไปใส่ไว้ในเราเตอร์ใช้งานกล้องผ่านอินเตอร์เน็ตระยะไกล เมื่อท่านติดตั้งกล้องไว้ที่สำนักงานหรือที่ทำงาน โดยติดตั้งกล้อง IP Network Camera เชื่อมต่อกับ ADSL Modem Router และมีการ Online ตลอดเวลา ส่วนตัวท่านอยู่ที่สำนักงาน สาขาอื่นหรือที่ต่างประเทศ ท่านสามารถเลือกใช้งานกล้อง IP Network Camera ผ่านอินเตอร์เน็ต จากระยะไกล โดยที่ท่านเปิดคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ต แล้วเข้า Web Browser โดยเปิดไปที่ http://camera.dyndns.org เมื่อเข้าไปแล้วท่านก็สามารถควบคุมกล้อง ให้หมุนในแนวตั้งและแนวนอนได้ พร้อมกับบันทึกภาพและเสียงในมุมต่างๆ ภายในสำนักงาน ของท่านที่อยู่ห่างไกลออกไปได้

สิ่งที่ต้องรู้

1.เครื่องบันทึกกล้องของเรา ใช้portหมายเลขอะไรในการติดต่อบ้าง
- โดยปกติจะมีการใช้ พอรท์ 80 เกือบทุกเครื่อง เพราะสามารถเปิดดูได้โดยตรงจากพวกbrowserได้เลย อาจจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเสริมactiveXบ้าง
- พอรท์ที่ใช้โปรแกรมของเครื่องบันทึกดูภาพ อันนี้แล้วแต่เครื่องแต่ละยี่ห้อ ดูได้จากคู่มือ หรือ จากตัวเครื่องในโหมดnetworkของเครื่องบันทึกส่วนมากจะระบุไว้ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนไปใช้หมายเลขพอรท์อื่นภายหลังก็ได้
- หมายเลขไอพีของเครื่องบันทึก (ปรับให้เป็นไอพีตายตัว อย่าใช้โหมดDHCP )

2.เราเตอร์ ADSL ต้องมี fuction ddns
(dns = domain name server = เซอร์เวอร์ที่ทำหน้าที่ แปลง ip ให้เป็นตัวหนังสือเพื่อที่จะให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น หมายเลข 209.85.175.147 = google.com ลองพิมพ์เลขดูก็จะไปที่หน้าเวป googleเหมือนกัน )
- ddnsเอาไว้ทำอะไร? อธิบายแบบง่ายๆว่า ทุกครั้งที่เราต่อเน็ทจะได้หมายเลข ip แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน หากเรารู้ว่าเราได้หมายเลขอะไร เราก็สามารถพิมพ์หมายเลขนั้นจากภายนอกมาที่เครื่องบันทึกได้เลย แต่ความเป็นจริงแล้ว เราจะได้ไอพีเปลี่ยนไปเรื่อยๆหากเราทำการต่อเน็ทใหม่แต่ละครั้ง ดังนั้นเราก็เลยต้องมีฟังก์ชั่นนี้เอาไว้ติดต่อกับผู้ให้บริการฟรีddnsเจ้าหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะเมื่อสมัครเสร็จจะได้โดเมนของเรามาหนึ่งชื่อ
- เวลาต่อเน็ทครั้งใหม่ การทำงานของ router จะส่งข้อมูลไปหาเซอร์เวอร์ddns ว่าเราได้หมายเลขนี้มานะ เวลาใครพิมพ์ชื่อโดเมนเรา ก็ส่งมาที่หมายเลขนี้
- ถ้าเราเตอร์ไม่มีฟังก์ชั่นddns สามารถเพิ่มคอมอีกตัวแล้วลงโปรแกรม update client ddns ของเค้าได้เลย ทำงานเหมือนกัน แต่จะต้องกำหนดเวลาอัพเดทไอพีให้กับทางเซอร์เวอร์ด้วย

3.กำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล nat dmz firewall
- nat (เราเตอร์บางตัวจะเป็นหมวดvirtual server) คือการกำหนดเส้นทางข้อมูล สมมุติว่าเรามี pc1ตัวและเครื่องบันทึก1ตัว pc ใช้ไอพี 192.168.0.2 เครื่องบันทึกใช้ไอพี 192.168.0.3 เวลาเราเรียกดูกล้องโดยbrowserจากข้างนอกมา(พอรท์80) เราจะต้องกำหนดตัวเราท์เตอร์ ว่าเมื่อมีการเรียกพอรท์80เมื่อไหร่ ให้ส่งต่อไปที่ไอพี  192.168.0.3 หากไม่กำหนดข้อมูลที่ร้องขอมาก็จะไม่ถูกส่งผ่านไปยังปลาย ผู้ร้องขอดูภาพก็จะเห็นที่browserเป็นข้อความ page not found! แบบว่า จะให้หนูไปไหน หนูงง
-firewall กำหนดความปลอดภัยของระบบ ขอผ่านไปนะครับ เดี๋ยวเรื่องจะยาว ในตัวเราท์เตอร์ปิดการทำงานระบบนี้เลยก็ได้
-DMZ ฟังก์ชั่นนี้ เป็นการระบุให้ตัวเราท์เตอร์ส่งข้อมูลที่ร้องขอมาทุกพอรท์ให้ไปยังหมายไอพีหมายเลขปลายทางที่กำหนดไว้ ไม่ต้องไปกำหนดที่ละพอรท์ นอกจากมีเครื่องอัดหลายเครื่อง