วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รหัสสีของสายไฟ

|0 ความคิดเห็น
รหัสสีของสายไฟ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า 2545 ได้กำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำไว้ดังนี้คือ

ตัวนำนิวทรัล ให้ใช้สีเทาอ่อนหรือสีขาว
สายเส้นไฟ ต้องมีสีต่างไปจากสายนิวทรัลและตัวนำสำหรับต่อลงดิน
สายไฟฟ้าในระบบ 3 เฟส ให้ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็นสีดำ แดง น้ำเงิน สำหรับเฟส 1 2 3 ตามลำดับ
สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้ใช้สีเขียว หรือเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย
ข้อยกเว้นที่ 1 สายไฟฟ้าที่มีขนาดโตกว่า 16 ตร.มม ให้ทำครื่องหมายแทนการกำหนดสีที่ปลายสาย
ข้อยกเว้นที่ 2 สายออกจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์ไฟฟ้า) ถึงบริภัณฑ์ประธาน (แผงคัทเอ้าท์หรือแผงควบคุมไฟฟ้า) ไม่ต้องกำหนดสี

การต่อแอมป์บลิด

|0 ความคิดเห็น
เรื่องต่อลำโพงกี่ดอกแล้วได้กี่โอห์มบ้าง
วันนี้นั่งว่างๆเลยนึกทำรูปขึ้นมาให้ดูครับ
เชิญชมครับ


เรื่องมอนิเตอร์

|0 ความคิดเห็น
การทำมอร์นิเตอร์นั้นจุดสงค์หลักก็เพื่อต้องการฟังเสียงของดนตรีอื่นๆ หรือแม้กระทั้งเสียงของเราเอง
เพื่อที่จะได้บรรเลงขับกล่อมให้พร้อมเพียงกันและถูกต้องเป๊ะๆ เหมือนกับเปิดแผ่นยังไงยังงั้นให้มากที่สุด
อ่านไปเรื่อยๆนะครับมีสาระไม่มีสาระบ้าง อย่าถือสากัน
นายพี ("พี"อีกหละ 555 ตัวละครนี้มาบ่อยจัง)
นายพี ได้ตะเวนดู ฟังงานเครื่องต่างๆ มากมาย จนพบและเจอระบบการจัดมอนิเตอร์ซึ่งสามารถก็จำแนกออกได้ ดังนี้ คือ
1.การใช้มิคเซอร์เพียงตัวเดียว (ขอโทษหากภาษาที่เขียนมันบ้านๆนะครับ เอาหลักการมากคงไม่ได้)


ออกนอกเรื่องมอนอเตอร์มามากแล้ว555 บอกแล้วมีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง 555(อีกที)
เพราะฉนั้นวงใหญ่ๆเขาจึงมีซาวด์ประจำตัวเพื่อมาทำเสียงในจุดนี้
กระนั้นก็เถอะ ถึงระบบนี้จะมีซาวด์มาด้วยก็ตาม แต่ส่วนมากแล้วมิคเฮาท์มักจะอยู่หลังๆ  ซาวด์ก็ไม่ได้ยินเสียงบนเวทีอยู่ดี เขาจึงมีระบบนี้ขึ้นมา(ถูกผิดอย่าว่ากันนะแต่ผมเข้าใจอย่างนี้)



แบบนี้สัญญาณจะถูกแยกออกเป็น2ทางคือ
1.ส่งไปมิคบนเวที(มิคมอนิเตอร์)
    การมิคมอนิเตอร์คือมิคแค่เพียงเสียงมอนิเตอร์บนเวทีเท่านั้น จะเพิ่มจะลดอะไรก็ไม่มีผลต่อพีเอ ส่วนมากในจุดนี้เขาจะให้ซาวด์ศิลปินเป็นคนไปทำ คือวงของคุณอยากฟังเสียงยังไงพวกคุณก็ทำให้กันฟังอยากงั้นหละ 5555++(ล้อเล่นนะครับ อันที่จริงคือเขาจะได้รู้ว่าจุดต่างๆบนเวทีควรเพิ่มควรลดอะไร และเมื่อนักดนตรีต้องการอะไรจะได้สื่อสารกันง่ายขึ้น)
2.ส่งไปมิคที่มิคเฮาท์(มิคพีเอ)
คงพอแค่นี้นะครับสำหรับเรื่องมอนิเตอร์
ขอแถมนิ๊ดหนึ่งครับ อันนี้มิคกัน3ที่เลย
คือ
1.มอนิเตอร์
2.พีเอ
3.มิเพื่อการบันทึกเสียง หรือเพื่อการส่งถ่ายทอดสดครับ
บ๊าย ๆ

การต่อ สปีกค่อนตามแบบของ"ผมเอง"

|0 ความคิดเห็น
วันนี้เป็นวันที่มีเวลาว่าง ก็เลยเอาสปีกค่อนตัวผู้ที่ได้รับการอนุเคราะห์จาก "พี่ละอ่อน" เป็นธุระในการจัดซื้อที่บ้านหม้อแล้วส่งไปให้ถึงบันไดบ้าน และสาย 4X2.5 จากท่าน kamen ในราคามิตรภาพ มาดำเนินการต่อเพื่อรองรับงานในฤดูหนาว นั่งพิจารณาอยู่พอสมควรก็เลยได้แนวทางการต่อ เพราะโดยปกติที่เห็น จะใช้สายไฟ 2 เส้นต่อกันแล้วโยงระหว่าง 1+ กับ 2+ และ 1- กับ 2- นั่นจะทำให้การขันน๊อตลำบากและเสี่ยงต่อการช๊อต แต่ถ้าใครจะต่อเป็น 2 ทางก็ไม่ว่ากัน โดยการเอา 1+คู่กับ 1- หรือ 2+ คู่กับ 2- แต่ดูขั้วตรงตูดแอมป์แต่ละยี่ห้อให้ดีๆนะครับ เมื่อเสร็จถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วจะอุดด้วย ซิลิโคนเพื่อกันน้ำ เหมือนของพี่ K-ONE MUSIC ก็ตามสบายครับ
ดังจะอธิบายให้เข้าใจ ตามขั้นตอนตามลำดับ ต่อไป

(ไม่ได้เอามะพร้าวมาขายสวน หรือสอนวัวให้กินหญ้า )

ผู้รู้แล้วก็ไม่เป็นไร สำหรับผู้ไม่รู้เชิญทัศนา ณ บัดนี้


ใช้คัตเตอร์กรีด(บาก)ระหว่างขั้ว 1+ กับ 2+ ให้ลึกตามภาพ



ตัดสายไฟให้ ขั้วบวกสั้นกว่าขั้วลบ ประมาณ 1 นิ้ว เพื่ออะไรนั้น ดูต่อไป



ปลอกสายไฟขั้วบวก แล้วแบ่งเป็นสองง่าม เหมือนตัว Y เพื่อที่จะสอดลงรู ขั้ว 1+ กับ 2+ ทั้งสองข้างบัดกรีเพื่อความแข็ง ตามภาพ

ปลอกสายที่จะทำขั้วลบให้ได้ประมาณ 1 นิ้วแล้วแบ่งเป็นสองง่าม เหมือนตัว Y จากนั้นตัดข้างหนึ่งให้สั้นเท่ากับ
ขั้วบวกที่ทำเสร็จแล้ว อีกข้างก็เอาปลอกสายไฟที่ลอกออกสวมเข้าที่เดิมกันช๊อต บัดกรีปลายสายเพื่อความแข็ง




เมื่อสายทั้งสองข้างเสร็จตามขั้นตอน ก็จะได้ดั่งภาพ พร้อมประกอบเข้ากับตัวสปีกค่อน



นำขั้วบวกประกอบเข้าก่อน โดยต่อที่ขั้ว 1+ กับ 2+



จากนั้นนำขั้วสั้นของสายที่จะทำขั้วลบต่อเข้ากับขั้ว 1- หรือ 2- ตามแต่ถนัด



ที่เหลืออีกขั้วคงไม่ต้องบอกว่าจะไปต่อที่ไหน?


หลังจากต่อเสร็จเรียบร้อยความสวยงาม และความสะดวกก็จะได้ดั่งรูป
แต่มันก็เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เมื่อขั้นตอนทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
แต่ดั่น..ลืม "ใส่ปลอก" นี้สิ




สิ่งที่ทำมาทั้งหมดต้องรื้อออกแล้วประกอบใหม่ เพราะความไม่สังเกตุก่อนประกอบ นี่คือขั้นตอนทั้งหมด

ลำโพงนีโอไดเมี่ยม เป็นอย่างไร ???

|0 ความคิดเห็น
ลำโพงนีโอไดเมี่ยม เป็นอย่างไร ???
แม่เหล็กลำโพง จากเฟอร์ไรต์ถึงนีโอไดเมี่ยมปฎิบัติการทางเสียงประสิทธิภาพสูง

เมื่อเสียงเพลงคือมนต์เสน่ห์ที่ขับขานจากภายนอกสู่ภายใน เสียงเพลงและดนตรี มิใช่อาหารที่ต้องรับประทานครบทั้ง 3 มื้อ มิใช่สิ่งจำเป็น แต่..ทำไมมนุษย์ต้องมีเพลงในหัวใจ ทำไมหัวใจต้องขับขานบทกวีอยู่ภายใน ทำไมไม่ใช้ชีวิตแบบเดียวกับเดรัจฉาน ที่กินเพื่ออยู่ไม่ต้องสะสมทรัพย์ ไม่ต้องสร้างบ้าน ไม่ต้องลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ
และเพลงที่ฟังนั้นต้องดี ไพเราะ บ่งบอกได้ถึงภาวะอารมณ์ต่าง ๆ เครื่องเสียงที่เป็นตัวถ่ายทอดเสียง จึงถูกออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน แม้บางเวลา มันถูกกระชากให้ลดความหนาของเสียงไปบ้าง ให้อึกทึกเกินไปบ้าง ให้บางไปบ้าง ด้วยมายาจริตและมายาพาณิชย์ แต่ไม่กี่วันมันก็เดินทางไปสู่ความชัดเจน มันเหมือนขุมทรัพย์ทางจิตวิญญาณที่มนุษย์มีลายแทงอยู่ใน DNA ที่วันหนึ่งเขาต้องถูกกระแสจิตภายในเรียกร้องให้แสวงหา การคิดค้นให้การถ่ายทอดเสียงดนตรีมาดีมีประสิทธิภาพ จึงเป็นศาสตร์และศิลปะอันเสมือนขุมทรัพย์ที่ปลายฟ้า..

ย้อนรอยที่มาของลำโพง
นี่มิใช่การพูดถึงเนื้อหาของลำโพงในเชิงประวัติศาสตร์ แต่จะเป็นการพูดบริบทของมันว่าเริ่มต้นมาจากการที่ อะเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ คิดเรื่องตัวถ่ายทอดเสียง(Transducer)ได้เมื่อปี ค.ศ.1876 เขาคิดเรื่องตัวถ่ายทอดเสียงเพื่อมาใช้ในการติดต่อโทรศัพท์


ตัวถ่ายทอดเสียงในโทรศัพท์อันดับแรกสุดแสดงไว้ในรูปที่ 1 โดยเมื่อสัญญาณถูกจ่ายเข้าขดลวดโซลินอยด์ มันทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น เกิดเป็นคลื่นเสียงอะนาล็อก เสียงที่เกิดขึ้นมาจากการสั่นของแผ่นเหล็กบางๆ ที่เป็นไดอะแฟรม(ไดอะแฟรมในยุคแรกจึงหมายถึงแผ่นสั่นของหูโทรศัพท์) ในตอนแรกนั้นสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นไปในลักษณะของสัญญาณเร็กติฟาย เพราะมีการสั่นในด้านเดียว หรือแบบยูนิโพล่าร์
การใช้แผ่นเหล็กเป็นตัวสั่นเพื่อกำเนิดเสียงหรือตัวถ่ายทอดสัญญาณแบบมูฟวิ่ง-ไอรอน เป็นการยากที่จะทำให้เสียงออกมามีความชัดเจน การทำให้เสียงออกมากว้าง ดัง ต้องทำตัวถ่ายทอดเสียงให้มีขนาดใหญ่ ท่านคงเคยเห็นภาพของโทรศัพท์โบราณแบบที่มีหูฟังขนาดใหญ่นี้จากภาพเก่า ๆ หรือในภาพยนตร์ย้อนยุค ตัวถ่ายทอดเสียงของโทรศัพท์ขนาดใหญ่นี้เองที่ถูกเรียกว่า "ลาวด์สปีคเกอร์" (Loudspeaking)(อ้างจากข้อเขียนของ จอห์น วิตคินสัน จากหนังสือ Loudspeaker and Headphone Handbook ฉบับพิมพ์ครั้งที่3 หน้า44, ค.ศ.2001)

เสียงของลำโพงแบบนี้มาจากมาตรฐานของกลไกให้เสียงแหลมๆ มันจึงถูกแทนที่ด้วยขดลวดที่เรียกว่า "มูฟวิ่งคอยล์มอเตอร์" (Moving-coil motor)
คำว่า "มอเตอร์" หมายถึงอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวขยับได้ มอเตอร์ของลำโพงในปัจจุบันจึงหมายถึง ชุดวอยซ์คอยส์นั่นเอง
ปี ค.ศ.1898 ตัวถ่ายทอดเสียงแบบมูฟวิ่งคอยล์ ถูกคิดค้นโดย เซอร์ โอลิเวอร์ลอร์ด แต่ข้อด้อยของตัวถ่ายทอดเสียงแบบนี้คือ ต้องมีภาคขยายสัญญาณเข้ามาร่วมด้วยจึงจะขับเสียงออกมาได้ ลำโพงแบบมูฟวิ่งคอยล์ จึงถูกนำไปใช้ควบคู่กับการพัฒนาหลอดสุญญากาศหรือหลอดเทอร์มิโอนิค มันจึงไปมีบทบาทในวงการวิทยุ(Wireless)
ลำโพงแบบมูฟวิ่งคอยล์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเมื่อ 'ไรซ์' และ 'เคลล็อก' สร้างลำโพง Radola104 ขึ้นในทศวรรษ 1920 เป็นลำโพงแบบ แอ็กตีฟ คือมีเครื่องขยายคลาส A กำลังขับ 10 วัตต์ บรรจุอยู่ภายในตัวตู้ขนาดหน้าตัด 610ตารางมิลลิเมตร ขับลำโพงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 152 มิลลิเมตร ภาคขยายทำให้เกิดสนามไฟฟ้าผลักขดลวดให้เคลื่อนที่ แม่เหล็กถาวรที่จะขับเสียงออกมาได้นั้นต้องมีความเข้มพอ จึงใช้ขดลวดฟิลด์คอยล์เหนี่ยวนำเพิ่มเพื่อทำให้การเคลื่อนที่ของมูฟวิ่งคอยล์เคลื่อนที่ได้ 2 ทางและกำลังเสียงออกมามากขึ้นเหมือนโช้คที่มีความนิ่มนวล เมื่อนำมาใช้กับวงจรขยายเสียงที่มีไฟเลี้ยงสูงๆ

หลายท่านอาจจะเคยเห็น ลำโพงบางยี่ห้อที่นำมาโชว์ในงานเครื่องเสียงมีการเสียบไฟเข้าตัวลำโพงแล้วทำให้เสียงดังเพิ่มขึ้นและถือว่าเป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงจากเทริ์นเทเบิ้ล ทั้งที่ความจริงแล้ว ลำโพงดังกล่าวเป็นของโบราณที่สุด แต่มีการนำเอาความโบราณมาบอกขายว่านี่คือ สุดยอดลำโพงแมกเนติกฟิลด์
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีของแม่เหล็กขึ้นมาใช้เพื่องานเสียงในทศวรรษ 1930 ฟิลด์คอยล์ จึงถูกแทนที่ด้วยแม่เหล็กรุ่นใหม่ที่ทำมาจากเฟอร์ไรต์ ดังนั้นลำโพงในรุ่นต่อมาจึงมีรูปร่างที่คล้ายกับลำโพงในยุคปัจจุบัน โดยเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของลำโพงราคาถูกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สุด สามารถดูได้จากรูปที่ 2 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบการทำงานในลักษณะตีปะทะเพื่อให้เกิดเสียง แต่ลำโพงในยุคใหม่ใช้การกระพือเสียงจากกรวยลำโพง โดยแม่เหล็กแผ่กระจายออก ส่งสนามแม่เหล็กไปยังขดลวด(คอยล์) คอยล์เป็นตัวรับสัญญาณกระแสไฟฟ้าของเสียงจากภาคขยายสัญญาณเสียง จึงเรียกคอยล์ในเลาต่อมาว่า "วอยซ์คอยล์"


ปัญหาของลำโพงแบบเฟอร์ไรต์ ก็คือการรั่วไหลของสนามแม่เหล็ก ดังแสดงภาพเอาไว้ใน รูปที่ 10 เมื่อดูรูปที่ 10ก ลำโพงเป็นชนิดที่ใช้วอยซ์คอยล์กลมในทางปฎิบัติมันจะให้สนามแม่เหล็กออกมาเป็นรูปวงกลมทอรอยด์ มีแม่เหล็กถาวรอยู่กลาง สังเกตว่าสนามของทอรอยด์ไม่ได้วิ่งเข้าจุดตรงกลาง ต้องขยับฟลักซ์แม่เข้าใกล้กัน ในขณะที่ลำโพงเฟอร์ไรต์เดิมๆนั้นมีฟลักซ์เหมือนอย่าง รูปที่10 ข. ทำให้ฟลักซ์จำนวนมากไหลหนีออกจากจุดกลางกลายเป็นการรั่วของสนามแม่เหล็ก(Leakage) การแก้ปัญหาคือเพิ่มขนาดของวอยซ์คอยล์ให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ดังวิธีการในรูปที่ 10ค. ใส่วอยซ์คอยล์ เอาไว้ด้านนอกตัวแม่เหล็ก สร้างขั้วโพลพีซนำฟลักซ์ให้มีทิศทางกระทำโดยตรงต่อสนามไฟฟ้าของวอยซ์คอยล์ เพื่อลดการรั่วของสนามแม่เหล็กลงไปจำนวนหนึ่ง
แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับนีโอไดเมี่ยม ความแตกต่างในเรื่องพลังงานแม่เหล็กมีความเด่นชัดมาก แม่เหล็กพลังสูง (High-energy magnetic materials) ของ Neodymium iron boron ทำให้แม่เหล็กแบบนี้มีขนาดเล็กกว่าทำให้ใช้กับวอยซ์คอยล์ขนาดเล็กได้ ให้ค่าการรั่วไหลของแม่เหล็กน้อยกว่า เพียงแต่ราคาแพงกว่าเท่านั้น
รูปที่ 11 เป็นการแสดงวงจร แม่เหล็กที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซิมมูเลตออกมา เมื่อนำเอาแม่เหล็กนีโอไดเมี่ยมมาสอดเข้าไปในวอยซ์คอยล์ อ้างอิงจากการทดสอบของจอห์น บอร์วิกค์ ที่ทำการทดสอบกับลำโพงวูฟเฟอร์ขนาด200มิลลิเมตร(ลำโพง 8 นิ้ว) แสดงให้เห็นถึงการรั่วไหลของสนามแม่เหล็กน้อยมากในขณะที่พลังงานสูงมากไม่น้อยกว่า 20 เท่าของเฟอร์ไรต์

เตรียบพบกับลำโพงนีโอดีเมี่ยมพันธุ์ไทย
เมื่อฐานการผลิต ลำโพงนีโอดีเมี่ยมที่ส่งขายประเทศสหรัฐอเมริกา ขยายฐานมาอยู่ในประเทศไทย จึงเป็นโชคดีของคนไทยที่จะได้ทดสอบ ทดลอง ลำโพงนวัตกรรมใหม่นี้ ในราคาถูกลง เป็นราคาที่คุณสามารถเป็นเจ้าของได้
อย่างน้อยตอนนี้มีวางตลาดอยู่ 2 เจ้า คือ P.Audio กับ GIP แน่นอน ตลาดเสียงกลางแจ้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ฝุ่นตลบแน่นอนคอยดูความสะใจครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้.....

POWER AMPLIFIER TAFN D-TECH series

|0 ความคิดเห็น
d-tech คือ อะไร
D-TECH คือเทคโนโลยีชั้นนำที่ใข้ในเพาเวอร์แอมป์ของ TAFN ทุกรุ่น ที่ทำให้มีกำลังขับมาก โดยสูญเสียพลังงานน้อยที่สุด D-TECH คือ เพาเวอร์แอมป์ ที่มีภาคขยาย และภาคจ่ายไฟเป็นแบบ ดิจิตอล สวิทซ์-โหมด เทคโนโลยีชั้นนำที่ไม่เคยมีมาก่อน สามารถส่งกำลังขับได้สูงๆ โดยที่คุณภาพเสียง ใส สะอาด ไม่ผิดเพี้ยน กำลังไม่ตก มีระบบการป้องกัน ที่สมบูรณ์แบบ น้ำหนักเบา และขนาดเล็ก
 
คุณสมบัติของดิจิตอลเพาเวอร์แอป์ใหม่ของทาฟน์ (TaFn)
D-TECH ใข้ภาคจ่ายไฟ (power supply) เป็นแบบเทคโนโลยีสวิทซ์-โหมดชั้นนำ ในกรณีที่ไฟตก ไฟเกิน ไฟฟ้าไม่เสถียร กำลังขับที่ออกมายังเสถียรเหมือนปกติ เพราะว่า D-TECH ใช้ระบบการฟีดแบล็คเร็ว (fast-feedback system) ในกรณีที่ไฟดับหรือเกิดการกระขากของไฟที่รุนแรงจนเครื่องดับ ระบบซอฟท์สตาร์ท (soft-start) จะเริ่มทำงานทันทีเมื่อเครื่องเริ่มทำงานใหม่ เสียงจะค่อยๆดัง จะไม่เกิดเสียงดังทันทีทันใดเป็นระบบการป้องกันภายในเครื่อง และ ลำโพงไม่ให้เกิดการเสียหาย
 
เนื่องจาก D-TECH ใช้วงจรพิเศษ ที่ทำให้เอ้าพุทอิมพีแดนซ์ (output impedence) ต่ำมาก เพราะฉะนั้นแดมปิ้งแฟ็กเตอร์จะสูงมาก (high damping factor) จึงบังคับดอกลำโพงได้ดีกว่า เสียงเบส ที่ออกมาเหมือนจริงและแน่น แม้ว่าเพาเวอร์แอมป์ถึงจุดคลิป (clip) แดมปิ้งแฟกเตอร์ (damping factor) ยังสูงอยู่ เสียงที่ออกมายังแน่น และไม่เบลอ
ในกรณี ที่เกิดการ โอเวอร์โหลด (overload) หรือ เกิดการช็อต (short circuit) ระบบ AGC (Automatic gain control) ของ D-TECH จะจำกัดกระแสเอ้าท์พุท โดยอัตโนมัติ ทำให้เพาเวอร์แอมป์สามารถป้องกันระบบภายใน ไม่ให้เกิดการเสียหายอย่างสมบูรณ์ โอกาสที่เสียหายมีน้อยมาก ระบบ AGC (Automatic gain control) จะทำการวัดกระแสที่ออกมาตลอดเวลา และถ้ากระแสเกินจุดที่เครื่องกำหนด ระบบจะทำการลดสัญญาณเอ้าท์พุทโดยอัตโนมัติ เพื่อกระแสจะไม่เกินจุดที่กำหนด แม้ว่า จะเกิดการโอเวอร์ โหลด (overload) หรือช็อต (short circuit) แค่ไหนก็ตาม

เพาเวอร์แอมป์ D-TECH ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสวิทซ์-โหมด ที่สูญเสียพลังงานไปเป็นความร้อนน้อยมาก และสามารถนำพลังงานที่ส่งกลับมาจากลำโพง เอาไปใช้ใหม่ โดยที่ D-TECH สร้างความร้อนน้อยมาก ทำให้ไม่ต้องใช้ฮีทซิ้งค์ขนาดใหญ่ และระบบ ระบายความร้อนขนาดใหญ่ จึงทำให้เครื่องขยายเสียงมีขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน และเครื่องทนทาน
การเปรียบเทียบเทคโนโลยีต่างๆในการสูญเสียพลังงานเป็นความร้อน

Class-AB สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 50%

Class-H สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 30%

Class-TD สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 10-15%

 D-TECH สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 5%
พาเวอร์แอมป์ D-TECH สูญเสียพลังงาน เป็นความร้อนแค่ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับ Class AB สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 50% , Class-H สูญเสียพลังงานเป็นความร้อนประมาณ 30% และ Class-TD สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน 10 - 15%

เนื่องจากการสูญเสียพลังงานเป็นความร้อนน้อย จึงทำให้เพาเวอร์แอมป์ดิจิตอล D-TECH ใช้ไฟประมาณ 50% ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าและยังประหยัดค่าติดตั้งในส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สายไฟ เบรคเกอร์ เป็นต้น

D-TECH ทำได้ อย่างไร? เราออกแบบดิจิตอลเพาเวอร์แอมป์ชั้นนำ และออกแบบภาคจ่ายไฟ ดิจิตอล สวิทซ์-โหมด เป็นพิเศษ เมื่อรวมการออกแบบทั้ง 2 อย่างนี้แล้วทำให้เครื่องขยายเสียงมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และประสิทธิภาพสูง

บริษัท TAFN ผลิตเพาเวอร์แอมป์ ดิจิตอล 2 ซีรีย์ ได้แก่ D-TECH SERIES และ I-POWER SERIES ซึ่งใช้เทคโนโลยี D-TECH เป็นหัวใจสำคัญ ของเครื่อง

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ MOVING AVERAGE ENVELOPES

|0 ความคิดเห็น
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ MOVING AVERAGE ENVELOPES

เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โดยการหาช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) เพื่อนำมาเป็นกรอบบน (UPPER BAND) และกรอบล่าง (LOWER BAND) สำหรับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น โดยวิธีการเคลื่อนเส้นค่าเฉลี่ย (เส้นใดเส้นหนึ่งตามแต่เราจะเลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน 25 วัน หรือ 75 วัน) ขึ้นและลง ในลักษณะเป็นแนวตั้งฉากเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นจุดศูนย์กลาง และลากเส้นขนานไปกับเส้นค่าเฉลี่ยที่โดยมีระยะห่างที่คงที่ กรอบบนและกรอบล่างดังกล่าวนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวกลั่นกรอง (FILTER) สัญญาณซื้อหรือขาย จากการที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง ทั้งนี้เนื่องจากการที่นักลงทุนใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์ โดยการหาสัญญาณซื้อขายเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง ทำให้นักลงทุนต้องพบกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่น เมื่อเส้นราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไปตามทฤษฎีซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกให้นักลงทุนซื้อหุ้น และเมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นนั้นแล้ว บางครั้งราคากลับไม่ยอมขึ้นไปต่อตามสัญญาณที่บอก แต่กลับดีดตัวลงทำให้นักลงทุนต้องสูญเสียการทำกำไรไป ดังนั้นเครื่องมือวิเคราะห์ตัวนี้จึงเป็นตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนได้
 ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น โดยมีเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อยู่ตรงกลาง และมีเส้นขนานทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยเส้นขนานด้านบนเรียกว่า กรอบบน (UPPER BAND) ส่วนเส้นขนานด้านล่างเรียกว่า กรอบล่าง (LOWER BAND)

และสามารถหาได้จากสูตร
 BU = Mat + cMAt

 BL = Mat - cMAt
โดยที่

BU = เส้นกรอบบน
BL  = เส้นกรอบล่าง
c  = เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
MAt  = เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10, 25, 75, 200, .
 ช่องว่างระหว่างกรอบบนและกรอบล่าง จะเรียกว่า ช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) ที่เกิดขึ้นจากช่องว่างระหว่างกรอบบนกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และกรอบล่างกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่จะมีขนาดกว้างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่ที่เราจะเป็นผู้กำหนด แต่โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 และช่องระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และเส้นกรอบบน เรียกว่า ความเสี่ยงในการซื้อ (BUYING RISK) ส่วนช่องว่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับเส้นกรอบล่าง เรียกว่า ความเสี่ยงในการขาย (SELLING RISK) กรอบบนจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน เมื่อราคาหุ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นมาพบกับเส้นกรอบบน ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะดีดตัวกลับลงมาได้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งขึ้นมาถึงเส้นกรอบบน ในทางกลับกันกรอบล่างจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ เมื่อราคาหุ้นผ่านแล้วค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมาพบกับเส้นกรอบล่างราคาหุ้นก็มีโอกาสที่จะเด้งกลับขึ้นมาได้ ณ จุดดังกล่าว นักลงทุนจึงควรจะซื้อหุ้น

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)

|0 ความคิดเห็น
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)

เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) ที่มีความไม่แน่นอนสูง
 หลักการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
 สำหรับการหาค่าเฉลี่ยในวันถัดไป ทำได้โดยนำราคาของวันใหม่ (วันที่ 11) เข้ามาและตัดวันที่ย้อนหลังไป 11 วัน (คือวันแรกสุดที่ใช้คำนวณ) ก็จะได้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันสำหรับวันถัดมาซึ่งการหาค่าเฉลี่ย ส่วนใหญ่จะใช้ราคาปิดมาคำนวณ แต่บางครั้งมีการใช้ราคาสูงสุด หรือต่ำสุด หรือราคากลาง หรือราคาเฉลี่ย มาคำนวณหาเส้นค่าเฉลี่ยเช่นกัน เนื่องจากมีนักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าการใช้ราคาสูง และราคาต่ำ จะสะท้อนให้เห็นถึงราคาที่แท้จริงที่ทำการซื้อขายในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะช่วยบอกนักลงทุนที่ซื้อหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ว่ามีต้นทุน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับราคาประมาณเท่าไร และเรายังสามารถนำเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาช่วยในการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัว โดยการหาสัญญาณซื้อ และขายหรือพยากรณ์แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น และนี่คือเหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระยะสั้น และระยะกลาง
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถคำนวณได้ใน 5 รูปแบบ คือ
1. SIMPLE MOVING AVERAGE

2. WEIGHTED MOVING AVERAGE
3. MODIFIED MOVING AVERAGE
4. EXPONENTIAL MOVING AVERAGE
5. HAMMING MOVING AVERAGE
ช่วงเวลาที่ใช้

 ปัจจุบันช่วงเวลาที่นิยมใช้ในการแบ่งกลุ่มของผู้ลงทุน คือ
 10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
 25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
 75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
 200 วัน (40 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว
 โดยช่วงเวลาทั้ง 4 ได้ผ่านการทดสอบแล้วและเหมาะสมสำหรับตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี ช่วงระยะเวลานี้อาจจะแตกต่างออกไปตามความนิยมใช้ของผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม เช่น ระยะสั้นอาจเป็น 12 วัน ระยะยาวอาจมีช่วงสั้นลงเป็น 150 วัน หรือ 30 สัปดาห์ แต่สำหรับระยะปานกลางมักจะใช้ 75 วันหรือ 15 สัปดาห์เป็นหลัก และเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่ใช้จำนวนวันน้อย ๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยฯ 5 วันหรือ 10 วันจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคามากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เช่น 40 วัน
 สำหรับในสภาพตลาดที่มีลักษณะที่เด่นชัด (BULL OR BEAR MARKET) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ ระยะสั้นจะได้ผลมากกว่า แต่ในภาวะที่ตลาดมีลักษณะไม่ชัดเจน (SIDEWAYS) เราควรใช้เส้นค่าเฉลี่ย ระยะยาว ในการหาสัญญาณซื้อหรือขาย
การหาสัญญาณซื้อ-ขายโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
 จากการที่เส้นราคาหุ้นย่อมนำหน้าเส้นราคาเฉลี่ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้น 2 เส้น จึงมีความสำคัญในการบอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น และจะนำมาช่วยในการบอกถึงสัญญาณซื้อและขายได้ โดยเส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้ง 5 แบบจะมีหลักในการหาสัญญาณซื้อหรือขายคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถบอกความสัมพันธ์ได้ดังนี้

1.  เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนขึ้นตาม จะถือเป็นสัญญาณซื้อ
2.  เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุขึ้น ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ลงเป็นขึ้น และสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ ได้นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
3.  เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนลงตาม จะถือเป็นสัญญาณขาย
4.  เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ขึ้นเป็นลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณขาย
5.  ในแนวโน้มขึ้น เมื่อราคาหุ้นขึ้นเร็ว และสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาก อาจมีการปรับตัวลงในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณขาย และหลังจากราคาได้ปรับตัวลงมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยฯ และเริ่มวกกลับขึ้นไป ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
6.  ในแนวโน้มลง เมื่อราคาหุ้นลงเร็ว และต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มากอาจมีการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณซื้อและหลังจากราคาได้ปรับตัวขึ้นมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ย ๆ และเริ่มวกกลับลงไปให้ถือเป็นสัญญาณขาย
ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกับระยะยาว
 ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยฯ ด้วยกันเองนั้น มีความสำคัญยิ่งในการนำมาใช้ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของราคากับเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เกิดมาก่อนหน้านี้ ว่ามีแนวทางที่เป็นไปถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของเส้นค่าเฉลี่ยฯระยะปานกลางกับระยะยาว เช่น ถ้าดัชนีราคาซึ่งเคยมีแนวโน้มลงมาตลอดกลับเปลี่ยนเป็นเคลื่อนขึ้นและตัดทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ (200 วัน) ขึ้นไปได้ โดยมาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ นี้เป็นระยะเวลาหนึ่งจนทำให้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ (75 วัน) โค้งขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ ได้เช่นนี้ เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการขึ้นของดัชนีราคาหุ้นนั้นเป็นไปอย่างถูกทิศทาง และจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปได้ในระยะยาว ดังรูป

 ในกรณีที่เริ่มเห็นชัดว่า ตลาดได้เปลี่ยนสภาพเป็นแนวโน้มลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบตัดสินใจขายหุ้นทันทีเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ 2 สัปดาห์ (10 วัน) เคลื่อนลงมาตัดเส้น 5 สัปดาห์ (25 วัน) โดยไม่ต้องรอการยืนยันจากการที่เส้น 15 สัปดาห์ (75 วัน) ตกทะลุเส้น 40 สัปดาห์ (200 วัน) ก่อนและผู้ลงทุนควรหยุดพักการลงทุนและรอคอย จังหวะใหม่ของหุ้น นอกจากนี้ เราสามารถนำความสัมพันธ์ระหว่าง เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับดัชนีราคา มาช่วยในการตัดสินใจลงทุน นอกเหนือจากการหาสัญญาณซื้อ-ขาย โดยสามารถใช้บอกแนวโน้มได้ดีอีกด้วย กล่าวคือ
 ถ้าดัชนีมีแนวโน้มลดลงตลอด กลับเปลี่ยนทิศเป็นเคลื่อนขึ้น และตัดทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 40 สัปดาห์ (200 วัน) ขึ้นไปอยู่ระยะเวลาหนึ่งจนสามารถทำให้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ (75 วัน) โค้งขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ได้ก็เป็นการยืนยันได้ว่า การขึ้นของดัชนีราคาเป็นไปถูกทิศทางและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปในระยะยาว
 ตรงจุดตัดที่เส้นค่าเฉลี่ย 75 วันตัดเส้น 200 วันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ตัดขึ้น) ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งตลาดบูล หรือ GOLDEN CROSS ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยฯ 75 วันเป็นตัวสำคัญในการบอกความยาวนานของตลาดบูล (BULL MARKET) เพราะถ้าเส้นค่าเฉลี่ย 75 วันเริ่มเปลี่ยนทาง (โค้งลง) จนมาตัดเส้น 200 วันแล้ว แสดงว่า BULL ถึงจุดสิ้นสุดหรือเกิด DEAD CROSS
 การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯกับหุ้นเป็นรายตัว ควรเลือกหุ้นที่มีการขึ้นหรือลงอย่างเร็ว แม้ความเสี่ยงจะสูง แต่การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ จะช่วยแสดงสัญญาณซื้อขายได้
 และการที่ราคาหุ้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ ขึ้นหรือลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าหุ้นนั้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง แต่จะบอกได้แน่นอนขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ เปลี่ยนทิศทางไปในทางเดียวกันด้วย เส้นค่าเฉลี่ยฯ จะเป็นแนวหมุนเมื่อหุ้นที่วิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ มีการปรับตัวลง และเป็นแนวต้านเมื่อหุ้นที่อยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ มีการปรับตัวขึ้น
ตัวอย่างการใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ กับดัชนีตลาดหุ้นไทย

 ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยฯ ระยะสั้นกับระยะยาว อาจนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยตามแผนภูมิดังนี้ :
 จากแผนภูมิ เกิดลักษณะของจุดตัดที่เรียกว่า DEAD CROSS (จุดที่เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ โค้งลงมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์) ซึ่งแสดงถึงตลาดบูล (BULL) ได้ผ่านพ้นไปแล้วสองครั้งด้วยกัน จุดตัดทุกครั้งเกิดจากเส้นค่าเฉลี่ยฯระยะสั้น 15 สัปดาห์เคลื่อนทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ลงมา และทำให้ตลาดหุ้นไทยตกอยู่ในสภาพ BEARISH อยู่ระยะเวลาหนึ่ง
 หมายเหตุ : การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 และ 40 สัปดาห์ ในการแสดงแนวโน้มของตลาดที่เป็น BULL หรือ BEARISH นั้น อาจจะไม่เหมาะสมกับ ตลาดหุ้นไทย นักวิเคราะห์จึงได้ปรับใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ ให้มีระยะเวลาสั้นลง เช่น 10 วัน กับ 40 วัน หรือ 12 วัน กับ 25 วัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพตลาดไทยที่มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างรวดเร็ว
ข้อจำกัดของ MOVING AVERAGES
 เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยฯ จะสะท้อนราคาหุ้นในอดีต การเคลื่อนไหวจึงเชื่องช้า (LAG) กว่าดัชนีราคา ซึ่งจะไม่สามารถบอกจุดสูงสุดต่ำสุดของตลาดได้ กล่าวคือ
 ประการแรก จุดตัดของเส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 กับ 40 สัปดาห์ ที่ใช้ยืนยันถึงสภาพ BULL MARKET เป็นจุดตัดที่ราคาหุ้นได้เคลื่อนที่ขึ้นจากจุดต่ำสุดค่อนข้างสูงมากแล้ว โอกาสที่จะทำกำไรสูงสุดย่อมลดลง
 ประการที่สอง ความเสี่ยงมีสูงโดยเฉพาะในกรณีที่ตลาดหุ้นถึงจุดจบ และราคาหุ้นตกอย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนย่อมเกิดความเสียหายไปมากแล้ว เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ เพิ่งจะยืนยันว่าตลาดถึงจุดจบ
 ดังนั้น จึงต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาร่วมด้วย เช่นการใช้ MOVING AVERAGE SHIFT
MOVING AVERAGE SHIFT

 วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการมองหาแนวรับแนวต้านที่ปรากฏอยู่ว่าเป็นอย่างไร สามารถทำได้โดยการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ เดิมทั้งเส้นไปข้างหน้าหรือข้างหลัง บางครั้งจะถูกมองข้ามความสำคัญไป แต่วิธีนี้เป็นส่วนสำคัญในระบบการซื้อขายโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เพื่อช่วยให้สามารถมองภาพรวมของตลาด และช่วยในการหาสัญญาณซื้อขายได้ง่ายขึ้น หลักการดูคือ ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่ย้าย (SHIFT) ไปก็ถือเป็นแนวต้าน ในทำนองเดียวกัน เมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ เส้นค่าเฉลี่ยที่ย้าย (SHIFT) ก็จะเป็นแนวรับ สำหรับวิธีการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ สามารถทำได้โดยเคลื่อนย้าย (SHIFT) เส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้งเส้นไปทางขวา ในกรณีย้ายเส้นในทางบวก (POSITIVE SHIFTED) และย้ายเส้นค่าเฉลี่ย ทั้งเส้นไปทางซ้ายในกรณีย้ายเส้นในทางลบ (NEGATIVE SHIFTED) ของเส้นค่าเฉลี่ยฯ เดิม ตามรูป
รูปแสดงการย้าย (SHIFT) เส้น SMA 10 วัน ไปข้างหน้า 10 วัน (ทางขวามือ)
รูปแสดงการย้าย (SHIFT) เส้น SMA 10 วัน ถอยหลังไป 10 วัน (ทางซ้ายมือ)
 ช่วงเวลาที่ใช้ในการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ ไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัว แต่จำนวนวันที่ย้ายควรจะน้อยกว่าจำนวนวันของเส้นค่าเฉลี่ยฯเดิม เช่น ถ้าต้องการ SHIFT เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน จำนวนวันที่ย้ายก็ไม่ควรเกิน 25 วัน โดยเทียบจากเส้น MOVING AVERAGE
 MOVING AVERAGE SHIFT ถูกรวมเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการตัดสินใจลงทุน และยังได้ถูกรวมเป็นทางเลือกหนึ่งของเครื่องมือวิเคราะห์อื่นบางชนิด เช่น ดัชนีการแกว่งของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE OSCILLATOR)
รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
SIMPLE MOVING AVERAGE (SMA)

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ARITHMETIC MEAN) นี้ เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ในการหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีนี้จะถ่วงน้ำหนักให้ค่าทุกค่าที่นำมาคำนวณมีความสำคัญ (อิทธิพล) ต่อราคาเท่ากันหมด โดยอาศัยหลักการเอาข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งมาหาค่าเฉลี่ยกัน เช่น การหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาในช่วงเวลา 10 วัน จะคำนวณโดยรวมราคาหุ้น ณ วันปัจจุบัน (Pt) กับราคาหุ้นของอีก 9 วันก่อนหน้า (Pt-1 ถึง Pt-9) แล้วหารด้วย 10 หลังจากนั้นนำมาจุดบนแผนภูมิแท่ง (BAR CHART) หรือแผนภูมิเส้น (LINE CHART) ให้ตรงกับราคาหุ้นครั้งสุดท้ายแล้วลากเส้นต่อกัน
วิธีการคำนวณ

 SMAt = (Pt + Pt - 1 + P1-2 +  + Pt-n+1) /n
 โดยที่ :
 SMAt คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ณ คาบเวลา (วัน) ปัจจุบัน
 n คือ จำนวนวัน
 Pt คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณ (เช่น ราคาปิดหรือราคาเฉลี่ยฯ) ณ วันปัจจุบัน
 Pt-k คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณย้อนหลังไป k คาบเวลา
รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด SMA 10, 25 และ 75 วัน
 อย่างไรก็ดี ยังมีปัญหาถกเถียงเกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำของวิธีนี้คือ ค่าเฉลี่ยฯที่ได้นี้จะมีผลในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น การหาแนวโน้มที่ได้จึงไม่ใช่แนวโน้มที่มาจากข้อมูลทั้งหมด นอกจากนี้ วิธีการคำนวณ SMA ให้ความสำคัญกับทุก ๆ วันเท่ากัน เช่น ในการหา SMA 10 วัน วันแรกถึงวันสุดท้ายจะถูกถ่วงน้ำหนัก (WEIGHTED) ด้วยค่าที่เท่ากันหมด (10%) ซึ่งมีนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ควรจะให้ความสำคัญกับราคาในวันที่ใกล้เคียงกับวันปัจจุบันมากกว่า
WEIGHTED MOVING AVERAGE (WMA)
วิธีการคำนวณ
[Pnt + Pt-1 (n-1) + (Pt-2 (n-2) +  + t-n+1 (1)]
WMAt =

  n + (n-1)+(n-2) +  + 2 + 1
โดยที่
WMAt คือ ค่าเฉลี่ยฯถ่วงน้ำหนัก ณ วันปัจจุบัน
Pt คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณ (เช่น ราคาปิดหรือราคาเฉลี่ยฯ) ณ วันปัจจุบัน
Ptt-k คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณย้อนหลังไป k คาบเวลา
n คือ จำนวนห้องของค่าเฉลี่ยฯ
 วิธีนี้เกิดจากความพยายามในการแก้ปัญหาในเรื่องการถ่วงน้ำหนักจากวิธี SMA โดยให้ความสำคัญกับวันที่ใช้คำนวณวันสุดท้ายมากที่สุด โดยวันถัดไปจะถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ และความไวของเส้นค่าเฉลี่ยฯ ถ่วงน้ำหนักนี้ มักจะนำหน้าเส้นค่าเฉลี่ยฯอย่างง่าย ดังรูป

รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด WMA 10, 25 และ 75 วัน
 อย่างไรก็ดี เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักนี้ อธิบายได้เพียงแค่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงของเวลาที่พิจารณาอยู่เหมือนกับวิธี SMA มิได้ครอบคลุมถึงราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
MODIFIED MOVING AVERAGE

 วิธีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับวิธี SMA แต่ค่าที่ได้มักจะไม่ค่อยไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็วเหมือนกับ SMA หรือ WMA และเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายซึ่งสามารถคำนวรด้วยมือได้ เพราะใช้เพียงค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังไป 1 คาบเวลา
 โดยมีสูตรการปรับค่าเฉลี่ยฯ ดังนี้
 MMAt = MMAt-1 + [Pt - (MMAt-1)] / n

โดยที่ :
 MMAt คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ณ วันปัจจุบัน

 MMAt-1 คือ ค่าเฉลี่ยฯ ย้อนหลังไป 1 คาบเวลา
 Pt คือ ราคาปัจจุบัน
 n คือ จำนวนวัน
 หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ SMA
รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด MMA 10, 25 และ 75 วัน

เส้นคู่ขนาน (PARALLEL LINE)

|0 ความคิดเห็น

เส้นคู่ขนาน (PARALLEL LINE)

โดยปกติเมื่อเส้นราคาตัดผ่านแนวรับหรือแนวต้านแล้ว ทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้น แต่ถ้าราคาเพียงตัดผ่านแนวรับหรือแนวต้านไปได้เพียงเล็กน้อยแล้วดีดตัวกลับ และเข้าไปอยู่ในแนวรับและแนวต้านอันเดิม ทำให้เราเสียโอกาสในการทำกำไร เพราะเราต้องซื้อหรือขายก่อนที่การเปลี่ยนแนวโน้มจะเกิดขึ้นจริง ดังนั้นเราจึงนำเส้นคู่ขนาน (PARALLEL LINE) มาช่วยในการสร้างช่องทาง (CHANNEL) ที่เราสามารถยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเกิดขึ้น
แถบช่องทางนี้ทำได้โดยการลากเส้นขนานจากยอดสูงหรือฐานต่ำสุดที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นในระหว่างแนวโน้มนั้น ระดับของราคาจะถูกคาดคะเนว่าจะคงอยู่ภายในช่องทางใหม่นี้ เช่น กรณีตัวอย่างในแนวโน้มขึ้น เมื่อราคาทะลุเส้นแนวโน้ม XY ลงไปถึงจุด A แล้วดีดตัวกลับไปที่จุด B เราจะใช้จุด A เป็นจุดในการลากเส้นขนาน PQ และเมื่อการตกครั้งต่อไปของราคาหุ้นไม่เกินเส้น PQ เรายังไม่ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเกิดขึ้น

เบื้องต้น (Introduction)

|0 ความคิดเห็น

เบื้องต้น (Introduction)

ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์ สามารถแบ่งออก
ได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS)
 การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม และผลการดำเนินงานในแต่ละบริษัท เพื่อนำมาใช้ในการประเมินหาราคาของหลักทรัพย์ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระยะกลางและระยะยาว
 สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
 ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือการที่นักลงทุนอาศัยหลักสถิติมาใช้ในการพยากรณ์ โดยใช้เพียงในเรื่องของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตเท่านั้น สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยข้อในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เสียเวลาในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลน้อยกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
 โดยเหตุผลเบื้องต้นที่จะทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีความน่าเชื่อถือนั้น ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้
 1. ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว
 2. ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
 3. พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต
 อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะชี้นำให้นักลงทุนซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพียงแต่เป็นการนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยหลักการทางสถิติมาประยุกต์ ดังนั้นการนำแนวทางการวิเคราะห์ที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากความถูกต้องอยู่ในระดับของความน่าจะเป็นเท่านั้น ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ทุกครั้ง และหากสมมุติฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลต่อความถูกต้องของหลักการวิเคราะห์ที่นำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยเช่นกัน ไม่มากก็น้อย
 ในทางปฏิบัติ นักลงทุนจึงควรใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการตัดสินใจที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ POINT & FIGURE TECHNIQUE

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ POINT & FIGURE TECHNIQUE

เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากชนิดหนึ่ง ในการหาจังหวะเวลาในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีข้อดีในแง่ที่ว่าเข้าใจง่าย และมีสัญญาณชัดเจนในการบอกให้ซื้อหรือขาย ข้อมูลที่ใช้ต้องการเพียงระดับราคาหุ้นสูงสุด และต่ำสุดในแต่ละวันเท่านั้น (หรือระดับราคาสุดท้ายในแต่ละช่วงเวลา ในกรณี POINT & FIGURE แบบ INTRADAY)
วิธีการกำหนด BOX SIZE
สำหรับทำแผนภูมิพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์
 ตามแนวตั้งของตารางกราฟ จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาหุ้นที่นำมาทำ โดยใช้อัตราส่วน 1 ช่อง (BOX) ต่อ 1 ช่วงราคาตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ อาทิเช่น หุ้น ABC ระดับราคาอยู่ประมาณ 150 บาท ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาช่วงละ 1 บาท ดังนั้น ในกระดาษกราฟ 1 ช่องจะเท่ากับ 1 บาทนั่นเอง และเมื่อหุ้น ABC มีราคาขึ้นไปเกิน 200 บาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเป็นช่วงละ 2 บาท ช่องถัดไปจากช่องที่ราคา 200 บาทขึ้นไปจะคิดเป็น 1 ช่องเท่ากับ 2 บาท

เทคนิคการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น JAPANESE CANDLESTICK CHARTING TECHNIQUES

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น JAPANESE CANDLESTICK CHARTING TECHNIQUES

วิธีการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น เป็นวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิควิธีหนึ่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีประวัติย้อนหลังยาวนานมากกว่า 200 ปี โดยนาย MUNEHISA HOMMA เป็นผู้คิดค้นจากการศึกษาวิเคราะห์จิตวิทยาของคนในการซื้อขาย และกำหนดราคาข้าว และได้เขียนไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ SAKATA HENSO และ SOBA SAIN NO DEN และเมื่อประมาณ 10 ปี (พ.ศ. 2525) ที่ผ่านมาประเทศกลุ่มตะวันตกทั้งหลายได้เห็นความมีประสิทธิภาพ จึงได้นำไปใช้วิเคราะห์ตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดออปชั่น และเครื่องมือตัวนี้ได้มีบุคคลนำเข้ามาวิเคราะห์หุ้นในตลาดหุ้นไทย เมื่อ พ.ศ.2530
 รูปแบบการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น เป็นรูปแบบที่ประกอบขึ้นจากราคาเปิด ราคาปิด ราคาต่ำสุด และราคาสูงสุด และวิธีการวิเคราะห์หรือความหมายที่ได้จะง่ายและชัดเจน รวมทั้งไม่ได้ขัดแย้งกับรูปแบบการวิเคราะห์แบบของตะวันตกที่เราคุ้นเคยกัน แต่กลับเป็นตัวเสริม และบางครั้งก็มีสัญญาณที่ไม่มีในการวิเคราะห์แบบตะวันตก อาทิเช่น กรณีที่ราคาหุ้นลงมาที่เส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งถือเป็นแนวรับ เราไม่รู้ว่า ณ แนวรับนี้จะสามารถรับราคาหุ้นอยู่ได้หรือไม่ แต่ถ้าเป็นกรณีแท่งเทียนเราจะพิจารณาว่าเป็นรูปแบบอะไร และถ้าสมมติว่าเป็นรูป Hammer เราก็สามารถบอกได้ว่าแนวรับดังกล่าวจะสามารถรับราคาอยู่ได้ ซึ่งกรณีนี้ถือว่าการวิเคราะห์หุ้นแบบเท่งเทียนเป็นตัวเสริมการวิเคราะห์หุ้นแบบตะวันตก ส่วนกรณีที่ถือว่ามีสัญญาณที่การวิเคราะห์แบบตะวันตกไม่มีก็เช่น เมื่อหุ้นปรับตัวลงมามากซึ่งตามหลักการวิเคราะห์แบบตะวันตก จะบอกว่ามีแนวโน้มวันที่ 1/3, 1/2 และ 2/3 ของการขึ้น ซึ่งถ้าสมมุติว่า ระดับราคาที่ตกลงมาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 60% ของการขึ้นไปการวิเคราะห์แบบตะวันตก จะบอกว่าราคาอาจจะปรับตัวลดลงต่ำต่อไปอีก แต่สำหรับกรณีการวิเคราะห์แบบแท่งเทียน ถ้าสมมติว่า ณ จุดนั้นเกิด BULLISH ENGULFING PATTERN ก็จะเป็นการบอกเราว่าราคามีแนวโน้มจะดีดตัวกลับขึ้น และจากเหตุผลดังกล่าวนี้เองประกอบกับความรวดเร็วในการแสดงสัญญาณต่าง ๆ ที่ทำให้การวิเคราะห์ แบบแท่งเทียนนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และเหมาะสำหรับนักลงทุนโดยทั่วไป แต่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักลงทุนระยะสั้น สำหรับรูปแบบของแท่งเทียนแบบต่าง ๆ นั้น เมื่อก่อตัวแล้ว ความหมายที่จะได้ อาจเกิดจากแท่งเทียนเดียว สองแท่ง หรือหลายแท่ประกอบกัน โดยทั้งนี้สัญญาณที่เกิดก็มีรูปแบบเหมือนกับการวิเคราะห์หุ้นแบบตะวันตก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย (MOVING AVERAGES) เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หรือพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ (POINT & FIGURE) กล่าวคือ บอกถึงแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนทิศทาง (REVERSAL TREND) และบอกถึงแนวโน้มที่ดำเนินมาจะดำเนินต่อไป (CONTINUOUS TREND)
 และรูปแบบต่าง ๆ ของแผนภูมิแบบแท่งเทียนนี้ มีอยู่มากกว่า 50 แบบแต่ที่นำเสนอ จะเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ มีความหมายที่ชัดเจน และเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์หุ้นในตลาดเมืองไทย ส่วนการนำเสนอจะแบ่งเป็น 4 หัวข้อหลัก โดยในหัวข้อแรกจะแสดงถึงรูปแบบเบื้องต้นโดยทั่วไปของแผนภูมิแบบเท่งเทียน และต่อไปเป็นรูปแบบที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางที่มีความหมายมาก (MAJOR REVERSAL PATTERN) และตามด้วยรูปแบบที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางใหม่ ที่มีความหมายของ (MINOR REVERSAL PATTERN) ดังต่อไปนี้

รูปแบบพื้นฐานทั่วไปของแท่งเทียน
 CANDLESTICK
 เป็นรูปแบบคล้ายเทียนไขที่เกิดขึ้นจากราคาเปิด ปิด สูงสุด และต่ำสุด ประกอบด้วยแท่งตรงกลางเรียกว่า แท่งเทียน (REAL BODY) ไส้เทียนทางบนเรียกว่า UPPER SHADOW และไส้เทียนทางล่าง เรียกว่า LOWER SHADOW

 BLACK CANDLESTICK
 ลักษณะ : ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิดของวัน และมีแท่งเทียน REAL BODY เป็นสีดำ โดย UPPER SHADOW หมายถึงราคาที่สูงขึ้นระหว่างวัน และ LOWER SHADOW หมายถึงราคาที่ลงไปต่ำระหว่างกัน

 ความหมาย : บอกแนวโน้มที่ไม่ดี
 WHITE CANDLESTICK
 ลักษณะ : ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดของวัน และมีแท่งเทียน REAL BODY เป็นสีขาว

ความหมาย : บอกแนวโน้มที่ดี
 DOJILESTICK
ลักษณะ : ราคาเปิดและปิดของวันเท่ากัน โดยราคานั้นจะเป็นราคาสูงสุดหรือต่ำสุด หรือไม่ก็ได้ กล่าวคือเป็นแท่งเทียนที่มีตัว เทียนในลักษณะเป็นเส้นขีดขวาง

ความหมาย : บอกลักษณะเป็นกลาง โดยมีการต่อสู้ของแรงซื้อและขายที่เท่ากัน โดยเมื่อเกิดตอนหุ้นขาขึ้นบอกแนวโน้มหุ้นอาจจะลงและเมื่อเกิดตอนหุ้นขาลง บอกแนวโน้มหุ้นอาจจะขึ้น
 GRAVESTONE DOJI
ลักษณะ : DOJI ที่มี DOJI LINE (จุดราคาเปิดและปิดที่เท่ากัน) อยู่ระดับต่ำสุดของวัน

ความหมาย : ถ้าเกิดที่ระดับสูงของหุ้นขาขึ้น จะเตือนว่าแนวโน้มหุ้นกำลังจะลง แต่ถ้าเกิดที่ระดับต่ำของหุ้นขาลงจะบอกว่าแนวโน้มหุ้นอาจจะขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องมี CANDLESTICK ในทางบวกเกิดขึ้นตามมา
 LONG-LEGGED DOJI
 ลักษณะ : เป็น DOJI ที่มีไส้เทียนทางบนและทางล่างที่ยาวมาก และถ้าราคาเปิด-ปิด อยู่ตรงกลาง จะเรียกว่า RICKSHAW MAN

 ความหมาย : บอกถึงแนวโน้มที่ดำเนินมาอาจเปลี่ยนแปลง คือ ถ้าเกิดตอนขาขึ้น หุ้นจะลง และถ้าเกิดตอนขาลงหุ้นจะขึ้น
 HIGH WAVES
 ลักษณะ : เป็นแท่งเทียน (CANDLESTICK) ที่มีไส้เทียนที่ยาวมาก โดยจะเป็นไส้เทียน ทางบนหรือทางล่างก็ได้

 ความหมาย : ถ้าเกิดหลายแท่งเป็นกลุ่ม บอกว่าตลาดอาจเปลี่ยนแนวโน้มได้ กล่าวคือ ถ้าหุ้นขึ้นอยู่ที่จะลง หรือถ้าหุ้นลงอยู่ที่จะขึ้น
 SHAVEN HEAD
 ลักษณะ : แท่งเทียน CANDLESTICK ที่มีไส้เทียนทางล่าง (LOWER SHADOW) แต่ไม่มีไส้เทียนทางบน (UPPER SHADOW) โดยทั้งนี้แท่งเทียนจะเป็นสีขาวหรือดำก็ได้

 ความหมาย : บอกแนวโน้มที่ดำเนินมาอาจจะเปลี่ยนแปลง
 SHAVEN BOTTOM
 ลักษณะ : แท่งเทียน (CANDLESTICK) ที่มีไส้เทียนทางบน (UPPER SHADOW) แต่ไม่มีไส้เทียนทางล่าง (LOWER SHADOW) โดยทั้งนี้แท่งจะเป็นสีขาว หรือดำก็ได้

 ความหมาย : บอกแนวโน้มที่ดำเนินมาอาจจะเปลี่ยนแปลง
 SPINNING TOP
 ลักษณะ : เป็นแท่งเทียน (CANDLESTICK) ที่มี REAL BODY ขนาดเล็กและมีไส้เทียนทั้งล่างและบน

 ความหมาย : บอกลักษณะเป็นกลาง ๆ คือ เป็นช่วงต่อสู้กันระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย ที่มีกำลังแรงใกล้เคียงกัน บอกแนวโน้มว่าตลาดหุ้นอาจจะเหวี่ยงตัวขึ้น-ลงแคบ ๆ (SIDEWAYS)
 WINDOW
 ลักษณะ : เป็นช่องว่างระหว่างแท่งเทียน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่แท่งเทียนวันนี้กระโดยขึ้นหรือลงห่างจากแท่งเทียนเมื่อวาน

 ความหมาย : ใช้เป็นแนวต้านหรือแนวรับ โดยช่วงว่างที่เกิดจากแท่งเทียนกระโดดขึ้น จะใช้เป็นแนวต้าน และช่องว่างที่เกิดจากแท่งเทียนกระโดดลง จะใช้เป็นแนวรับ

เครื่องมือแสดงการเหวี่ยงตัวของการสะสมและการระบายหุ้น VARIABLE ACCUMULATION/DISTRIBUTION (VAD)

|0 ความคิดเห็น
เครื่องมือแสดงการเหวี่ยงตัวของการสะสมและการระบายหุ้น VARIABLE ACCUMULATION/DISTRIBUTION (VAD)

VAD คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ของ OSCILLATOR ซึ่งแสดงถึง การสะสมของปริมาณการซื้อขายหุ้น โดยเป็นการเปรียบเทียบราคาปิด กับราคาเปิดของช่วงนั้น ๆ เพื่อที่จะดูแนวโน้มของตลาดในช่วงนั้นว่า เป็นระยะสะสม (ACCUMULATION) ซึ่งค่า VAD จะอยู่เหนือระดับเส้น 0 เนื่องจากราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด และมีปริมาณการซื้อขายสนับสนุนเพียงพอ หรือว่าเป็นระยะจำหน่ายจ่ายแจก (DISTRIBUTION) ซึ่งค่า VAD จะอยู่ต่ำกว่าระดับเส้น 0 เนื่องจากราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด โดยมีปริมาณการซื้อขายสนับสนุน
โดย OSCILLATOR และ VAD มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
 Oscillator = CLOSE - OPEN *VOLUME

  HIGH - LOW
 VADn = (OSCt + OSCt-1 +  + OSCt - n+1)/ln
หมายเหตุ
 ACCUMULATION (ระยะสะสม) เป็นการคาดการณ์ว่าแนวโน้มของราคาหุ้นหรือตลาดจะขึ้น (BULL MARKET)

 DISTRIBUTION (ระยะจำหน่ายจ่ายแจก) เป็นการคาดการณ์ว่าแนวโน้มของราคาหุ้นหรือตลาดจะลง (BEAR MARKET)
หลักการวิเคราะห์
 ถ้าเส้น VAD ตัดเส้น O ขึ้น เป็นสัญญาณให้ซื้อ
ถ้าเส้น VAD ตัดเส้น O ลง เป็นสัญญาณให้ขาย
สัญญาณซื้อขายที่เกิดจาก VAD นี้ควรจะสอดคล้องกับแนวโน้มของราคาด้วย

เครื่องมือแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคา DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX

|0 ความคิดเห็น
เครื่องมือแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคา DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้าย OSCILLATOR ซึ่งใช้ประกอบ หรือยืนยันกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะกับการหาแนวโน้มของการเคลื่อนไหวของระดับราคา โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX หากค่าที่หาออกมาได้มีค่ามาก แสดงว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยค่าที่คำนวณออกมานี้จะอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 เท่านั้น
การคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX มีสูตรดังต่อไปนี้
 

+DI      =     +DMN
                      TRN
หรือ
-DI       =     -DMN
                                   TNN
+DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ +DM ณ เวลาปัจจุบัน
+DM ราคาสูงสุดในปัจจุบัน - ราคาสูงสุดของวันก่อน
-DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ -DM ณ เวลาปัจจุบัน
-DM ราคาต่ำสุดในปัจจุบัน - ราคาต่ำสุดของวันก่อน
TRN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช่วงที่เป็นจริงที่มีค่ามากที่สุดจาก
   ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับต่ำสุดวันนี้
  (Hightoday - Lowtoday)
  ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับราคาปิดเมื่อวันนี้
  (Hightoday - Closeyesterday)
  ผลต่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานนี้ กับราคาต่ำสุดของวันนี้
  (Closeyesterday - Lowtoday)
การคำนวณหา DM
ค่า DM จะเป็นค่า + หรือ - เท่านั้น โดยการหาค่า +DM หรือ -DM จะเกิดขึ้นจาก 3 กรณี ดังนี้
1. ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) สูงกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า C+A จะเป็นค่า +DM

2. ราคาสูงสุดขงวันปัจจุบัน (C) ต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า D-8 จะเป็นค่า -DM
3. ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี
 ถ้าผลต่างของราคาสูงสุดมากกว่าผลต่างของราคาต่ำสุด ค่า C-A จะเป็น +DM

 ถ้าผลต่างของราคาต่ำสุด มากกว่าผลต่างของราคาสูง ค่า D-B จะเป็น -DM
หมายเหตุ : ในกรณีที่ระดับราคาสูงสุดของวันปัจจุบันเท่ากับ หรือต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน เท่ากับหรือสูงกว่า ราคาต่ำสุดของวันก่อน จะไม่มีค่า DM หรือเรียกว่า ZERO DM
การหาค่า DI
เมื่อได้ค่า DM มาแล้วก็จะสามารถคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ของ DIRECTIONAL MOVEMENT โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL INDICATIOR (DI) จากสูตรข้างต้น
ขั้นต่อไปเพื่อให้ค่า DIRECTIONAL INDICATOR เป็นเครื่องมือที่มีความหมายน่าเชื่อถือมากขึ้น เราก็จะคำนวณหาค่า DI 14 วัน หรือ DI 14 เหตุที่ใช้ค่า 14 วัน เพราะว่านาย J. Wells Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้ทดลองค่าจากเวลาที่ต่างกัน จนกระทั่งเขาพบว่าการใช้ระยะเวลาเท่ากับ 14 วันนั้นจะให้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องมากที่สุด จากนั้นเราจะได้ค่า +DI14 และ -DI14

หลักการวิเคราะห์
จากการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX (DI)
เมื่อนำค่า DI มาวาดกราฟ หากเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ขึ้นไป (การเคลื่อนที่ในทางบวกมากกว่าทางลบ) ถือเป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มขึ้น
ในทางตรงกันข้ามถ้าเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ลงมา (การเคลื่อนที่ในทางลบมากกว่าทางบวก) ถือเป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มลง