วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีการใช้งาน camfrog

|0 ความคิดเห็น

วิธีการใช้งาน camfrog

ยินดีต้อนรับสู่ Camfrog Video Chat


อะไรคือ Camfrog Video Chat?
Camfrog คือโปรแกรมสนทนาออนไลน์แบบเชิงประชุมหรือ videoconferencing program. โดยCamfrog ไม่เพียงแต่อนุญาติการประชุมแบบ 1-ต่อ-1 videoconference เท่านั้นแต่ยังรวมถึงกลุ่มการประชุมที่เชื่อมต่อด้วย Camfrog Server video chat room. ดังนั้น Camfrog Video Chat จึงเป็นแหล่งสนทนาออนไลน์ของผู้ใช้งานในรายการติดต่อของเรา โดยสามารถสนทนาสดออนไลน์ในกลุ่มของผู้ใช้งาน แจ้งเตือนสถานะ,ระบบข้อความสั้น.โดย Camfrog เป็นฟรีแวร์สำหรับผู้ใช้งานขั้นต้น อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการประสิทธิภาพและลูกเล่นที่มากกว่าก็จำเป็นต้องจ่ายเงินในรุ่นของ Camfrog Pro. โดยCamfrog Pro มีความสามารถที่สูงกว่าเช่น การดูภาพวีดีโอพร้อมกัน , เปลี่ยนสถานะเป็นมองไม่เห็น, ส่งไฟล์, และอื่นๆ.

คุณสมบัติของ Camfrog Video Chat
โปรแกรม Camfrog ทำให้เราสามารถสนทนาออนไลน์แบบเห็นหน้ากับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งกล้องขนาดเล็กที่เรียกว่ากล้องเว็บแคม ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายโดย Camfrog ทำงานบน Microsoft Windows XP, 2000 และ Vista, Windows Server 2003, และ Mac OS X. โดยCamfrog มีห้องสนทนาสดออนไลน์ มีรายชื่อผู้ติดต่อ และการส่งความแซต instant messaging.

ก่อนการใช้งาน
ก่อนการใช้งาน Camfrog เราต้อง กำหนด ชื่อเล่น และรหัสผ่านการใช้งานเพื่อล็อกอินเข้าใช้งาน กับทาง Camfrog central server. หลังจากราดาวโหลดและติดตั้ง Camfrog ให้เราคลิกที่ลงทะเบียน หรือ "Register for Nickname/Password" hyperlink ในหน้าต่างหลักของโปรแกรม จากนั้นเราจะได้รับคำแนะนำในการลงทะเบียนใช้งานแบบขั้นตอนผ่านระบบ registration wizard.
การลงทะเบียน หรือ Registering for a nickname/password
จากนั้นข้อมูลของเราก็จะถูกบันทึกบนระบบของ Camfrog.com public website user directory. หากเราลงทะเบียนซ้ำกับคนอื่น ให้เราไปที่รายการติดต่อ contact list จากนั้นเลือก เมนู "file" และเลือก คลิก sign out เพื่อออกไปหาลิงค์ลงทะเบียนด้วยชื่อเล่นใหม่อีกครั้ง

การกำหนดหรือตั้งค่าการใช้งานโดยทั่วไป
ภายใต้เมนูคำสั่ง "Actions" ของ "Camfrog Video Chat" รายชื่อผู้ติดต่อ contact list เลือก"settings" เราจะเห็นการปรับแต่งทั่วไป general settings.

การกำหนดค่า Video configurations
ภายใต้เมนู "Actions" เลือก"settings" เลือก"video" ทางซ้ายมือเราจะเห็น การตั้งค่า video settings. เราสามารถเลือกรุ่นยี่ห้ออุปกรณ์ video capture ของเรา, คุณภาพที่ต้องการ,และความสามารถในการกลับภาพหรือสะท้อน video stream.

การตั้งค่าเสียง Audio configurations
ไปที่เมนู "Actions" เลือก"settings" เลือก"audio" ทางซ้ายมือจะมี audio settings. ให้เราเลือกและกำหนดอุปกรณ์เสียงของคอมพิวเตอร์ของเรา .

การปรับแต่งค่าข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานหรือ Profile configurations
ไปที่ "Actions" เลือก "settings" คลิกเลือก "your profile" ทางซ้ายมือเราจะเห็น profile. เราสามารถเข้าถึงโดยการดูที่ local video ภายใต้เมนู "video" คลิกที่ "User profile". ข้อมูลส่วนตัวขงเราก็จะแสดงใน ระบบ Camfrog directory. เมื่อเราเปิด local video หน้าต่างขึ้นมาก็จะเปิดขึ้นมาเช่นกัน
คลิกที่ "comments" เพื่อเขียนข้อความแสดงความเป็นตัวเราบน public directory.

เริ่มต้นสนทนาออนไลน์แบบ one on one video chat

เริ่มต้นสนทนา video chat overview
เริ่มง่ายๆ กับผู้ใช้งานอื่นๆของ Camfrog user. แน่นอนว่ากล้อง webcam ไม่จำเป็นในการมองเห็นคนอื่นๆ แต่จำเป็นสำหรับการมองเห็นด้วยคนอื่น ผู้ใช้งานส่วนมากอาจจะไม่ต้องการสนทนากับเครื่องที่ไม่มีกล้องเว็บแคม
เริ่มต้น video chat
การใช้งาน video chat อันดับแรกส่งข้อความไปหาคนที่ต้องการสนทนาด้วย instant message. โดยไปที่เมนู "Actions" เลือก"send an instant message." ถ้าหากเราไม่รู้จักใคร เราสามารถไปที่ user directory โดยการคลิกที่ "User directory" หลังจากส่งข้อความร้องขอไปแล้วเราจึงเริ่มการใช้งาน "video chat" ภายในหน้าต่างของ instant message window. ถ้าเขาตอบรับคำเชิญของเรา เราก็จะเริ่มเห็ฯและได้ยินเสียงสนทนาของคนที่เราติดต่อด้วย ถ้าเรามีทั้งกล้องและไมค์ เราสามารถดูสถานะของคนที่สนทนาด้วยว่าเป็นหญิงหรือชาย และเขามีกล้องหรือไม่ โดยสังเกตจากไอค่อนเล็ก ๆ ที่แสดงขึ้นมา

การตอบรับการสนทนา Accepting a video chat
เมื่อมีใครสักคนร้องขอการสนทนากับเรา โดยการส่งข้อความเข้ามา เราสามารถตอบรับคำเชิญหรือปฏิเสธ ได้โดยการ Do you accept?" คลิก"yes" ตอบรับ และคลิก "no" ปฏิเสธ.
ถ้าเราไม่แน่ใจว่าคนที่จะสนทนาด้วย ดีหรือแย่ เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลของเขาที่ "profile" ในหน้าต่าง IM window
หากมีข้อมูลว่าดี เราควรจะกำหนดให้เขาเป็นคนดี โดยการคลิกที่ happy face ในช่องของ IM window ให้เป็น good karma. กลับกันหากพบประวัติไม่ดี เราสามารถคลิก sad face ถัดจาก"karma" เราสามารถตรวจดู users’ karma โดยดูที่ profile. หากผู้ใช้งานที่ karma ที่ติดลบ เราอาจจะไม่ต้องการสนทนากับพวกเขา เพราะอาจจะมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมนั้นเอง ซึ่งจะถูกแบนและไม่มีใครต้องการสนทนาด้วย ดังนั้นเราจึงต้องระวังด้วยการส่งข้อความที่ดี และสุภาพครับ

การจบการสนทนาหรือว่า Ending a video chat
คลิกที่ "stop video chat" hyperlink ที่มีไอคอนของ webcam icon ด้านบนของ IM window, หรือปิด IM window, หรือปิด local video หรือหน้าต่าง video window ของคนอื่น

การใช้งานระบบเข้าถึงจากทางไกลหรือ Configuring remote video access
สำหรับรุ่น Camfrog Pro เท่านั้น ไปที่ "Actions" คลิก"Settings...". ภายใต้"General" settings คลิก"Remote access" section. กำหนด password เพื่อเข้าถึง Camfrog client จากพื้นที่อื่นๆ .ไปยังสถานที่อื่นๆ และกำหนด new nickname/password จากนั้นส่ง IM มายัง pro client requesting a video chat. เราจะได้รับการพร้อมให้ใส่ password ที่กำหนดไว้ . ใส่รหัสผ่านและเริ่มต้นการ remote video chat. ต้องแน่ใจว่าคอมที่เรากำหนดไว้จะไม่อยู่ในโหมดพักงานหรือ asleep ซึ่งอาจจะใช้งานไม่ได้ remote video chat. ไปที่ control panel เพื่อกำหนดค่า sleep settings

การสื่อสารด้วยเสียงหรือ Communicating with audio


ภาพรวมอง Audio overview
Camfrog สามารถสนทนาแบบ 1-on-1 video chat session หรือแบบผ่านแม่ข่ายระบบของ Camfrog Server Video Chat Room.

การสนทนาแบบ Audio in a one-on-one connection
คลิกที่ "hands free" ติ้กที่ all the time where the other user can constantly hear you. คลิกที่ "Talk" เพื่อส่ง audio .

การสนทนาบน video chat room
โดยที่ video chat room เราสามารถสนทนาเป็นเวลา 30 วิ เพื่อผู้ใช้งานคนอื่นได้โอกาสเพื่อส่งเสียง คลิกที่ "hands free" ติ้กที่ audio hands free for 30 seconds.

การปรับแต่งค่าของ audio settings
ไปที่ "Actions" เลือก "settings" เลือก"audio" เลือกกำหนดค่าของเสียงตามที่เราต้องการ

การสื่อสารด้วย video


ภาพรวมของ Video overview
เราสามารถดูเราเองโดยการกดที่ "preview video" ภายใต้"video" menu

เมนู Local video window
การดู Local view คลิกที่ "video" menu เลือก "preview video". การหยุด one-on-one video chat, หรือใน video chat room คลิกบนกล้อง webcam icon ในแถบ local video window.

การปรับค่าของ video settings
ไปที่เมนู "Actions" คลิก "settings" เลือก "video" เลือกปรับตั้งค่าตามต้องการของเรา

การสื่อสารแบบ chat and instant messaging


ภาพรวมของการ Chat และ IM overview
Camfrog สามารถใช้งานเป็น videoconferencing และโปรแกรมสนทนาออนไลน์แบบเดียวกับ MSN หรือ Yahoo

การส่งข้อความ Send a message
ไปที่ "Actions" menu เลือก "Send an instant message." ต่อมาพิมพ์ซื่อเล่นของคนที่ต้องการสนทนาด้วยลงไป กดปุ่ม Enter

การสนทนาในห้องของ video chat room (Camfrog server)
คลิกที่ "video chat rooms" ในหน้าต่างหลักของโปรแกรม จากนั้นคลิกหนึ่งของห้องภายใต้ "Nicknames" เพื่อเชื่อมต่อ เราสามารถพิมพ์ข้อความและกด enter เพื่อสื่อสารกับคนอื่นผ่านข้อความ ส่วนการเพิกเฉยกับผู้ใช้งานคนอื่น คลิกขวาบนชื่อที่ต้องการใน user list แล้วเลือก"ignore". การยกเลิกก็ทำกลับกัน โดยคลิกที่ "unignore".

การบันทึกข้อข้อมูล Saving messages
ไปที่เมนูไฟล์ และเลือก "save".

Karma
ถ้าใครส่งข้อความหยาบคายถึงเรา เราสามารถกดปุ่มหน้าเศร้า sad face ถัดไปจากข้อความที่เรียกว่า "karma" ในหน้าต่าง IM window. ถ้าระดับ user's karma ติดลบเขาจะไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้เป็นเวลา 15 นาที
บันทึกภาพหน้าจอ Snapshot
คลิกที่ "snapshot" เพื่อส่งภาพนิ่งจากกล้องเว็บแคมของเราให้คนอื่นๆ แต่ระวังอย่าส่งมั่วไปให้คนที่เราไม่รู้จัก

รายชื่อผู้ติดต่อ Contacts
การเพิ่มผู้ติดต่อสามารถทำได้โดยไปที่ เมนู "Actions" เลือกคำสั่ง "add a contact" จากนั้นกรอกชื่อเล่น. การลบผู้ติดต่อ คลิกขวาบนชื่อที่ต้องการลบออก และเลือก "delete". เราสามารถเพิ่ม Camfrog Video Chat Room servers เข้ากับรายชื่อ โดยการคลิกขวาบน "online contacts" ในรายการผู้ติดต่อจากนั้นคลิก "Add Video Chat Room".

คุณสมบัติของ Camfrog Video Chat Pro Features


Camfrog Video Chat Pro สรุปในภาพรวม
Camfrog Pro มีความสามารถมากกว่ารุ่นฟรีแวร์ เช่นดูภาพพร้อมกันหลายกล้อง การกำหนดค่าสถานะผู้ใช้งาน ประวัติการใช้งาน และการเข้าถึงแบบ full access to the Camfrog.com website.

ดูหน้าต่างวีดีโอภาพพร้อมกันจำนวนมาก
การดูล้องพร้อมกันหลายตัว เราต้องเข้าร่วม ห้อง video chat room. จากนั้น คลิกบนชื่อที่ต้องการดู "visible users" เราสามารถดูได้ไม่จำกัด เท่าที่เราสามารถแสดงบนหน้าจอของเรา

เปลี่ยนสถานะการใช้งาน
บนเมนูคำสั่งสถานะหรือ "your status". คลิกลูกศรสีดำ เพื่อกำหนดสถานะของเรา เช่นถ้าเราเลือกเป็น "invisible" ก็จะเป็นการไม่แสดงตัวตนของเราขณะออนไลน์ เป็นต้น

ตอบรับการสนทนา video chat requests แบบอัตโนมัติ
ภายใต้เมนู "actions" เลือก "settings" ภายใต้คำสั่ง "general" มองดูที่ "incoming calls". จะมีตัวให้เลือกเป็น "auto accept" incoming video chat calls (not recommended) หรือกำหนดรหัสผ่านสำหรับการเรียกเข้า

การดูข้อมูล Video Chat History
ไปที่ "actions" เลือก "history window". เพื่อดูข้อมูลการสนทนาและการใช้งานที่ผ่านมาของเรา เราสามารถล้างค่าโดยไปที่ "clear" ทางซ้ายมือของแถบเมนู history window.
เราสามารถบันทึกค่าของ IM history ไปที่ "view" menu in the IM window และเลือก "history".

กรองผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการด้วย IM Catcher
คลิก "IM Catcher" ใน contact list เพื่อเปิดคุณสมบัตินี้
การพิมพ์ข้อความบน Video
คลิกขวาบน local video window และเลือก "text over video".

การส่งไฟล์ข้อมูล Send Files
คลิก "send file" เพื่อส่งไฟล์ข้อมูลไปยัง Camfrog Pro user.

การตั้งค่าแบบโปร่งใสหรือ Transparent Windows
ไปที่ contact list เลือก action/settings/transparency เพื่อทำให้ IM และการ chat บนwindows มองทะลุ. ซึ่งจะมีประโยชน์กรณี เราต้องการ เห็นภาพ video windows ภายใต้ IM หรือ chat windows.

ปัญหาการใช้งานที่พบบ่อย หรือ Camfrog frequently asked questions
ไปที่เว็บไซต์ของ แคมฟร็อกและไปที่ FAQ page ในส่วนของ help section.
สนใจดาวโหลด Camfrog free

ขั้นตอนการปรับตั้งไมค์ และปรับกล้องเว็บแคม MSN (Mindows Live Messenger)

|0 ความคิดเห็น
ขั้นตอนการปรับตั้งไมค์ และปรับกล้องเว็บแคม MSN (Mindows Live Messenger)

เสียบสายแจ๊คไมคโครโฟน เข้าช่อง Mic. (ช่องสีชมพู) โดยลักษณะของแจ๊คไมคโครโฟน จะคล้ายกับแจ๊คหูฟังขนาดเล็ก (3.5 mm.)
(กล้องเว็บแคมที่เป็น USB Microphone ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ)


1. เข้าเมนู Tools> Audio and video setup . . .

 

2. ให้เลือกหัวข้อนี้เป็น Custom เพื่อให้สามารถกำหนดใช้งานอุปกรณ์เสียงที่ออกลำโพง และไมค์ได้
 

3. เลือกที่การ์ดเสียง ของเครื่องคอมพิวเตอร์
(คอมแต่ละเครื่องอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของ Sound Card นะครับ)
กล้องที่ใช้ไมโครโฟนแบบ USB ให้เลือกเป็น USB Microphone เช่นกล้อง OKER รุ่น 177, 193 และ 052

เช็คว่ามีสัญญาณเสียงโดยการ พูดที่ไมค์แล้วสังเกตุแถบสีของระดับสัญญาณเสียงว่าขึ้นหรือไม่ หากมีสัญญาณมา ก็กดปุ่ม Next ครับ
** หากเสียบช่องไมค์ด้านหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ไม่มีสัญญาณเสียง ให้ลองเปลี่ยนไปใช้ด้านหลังเครื่องแทน
เนื่องจากคอมพิวเตอร์บางเครื่อง ภายในอาจไม่ได้ต่อสายสัญญาณมายังช่องเสียบด้านหน้าเครื่อง




4. ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกใช้งานกล้องหากเครื่องต่อกล้องเว็บแคมมากกว่า 1 ตัวก็สามารถเลือกใช้งานกล้องแต่ละตัวได้จากเมนูนี้
หัวข้อนี้อาจจะขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเว็บแคม หรืออาจขึ้นชื่อโปรแกรมที่จำลองว่ามีกล้อง เช่น WebcamMax,
Cyberlink YouCam, ManyCam และหากเลือกเป็น Disable จะเป็นการปิดใช้งานกล้องใน MSN

5. หัวข้อ Webcam Setting.. ใช้ในกรณีที่ต้องการปรับค่าของกล้องเว็บแคม เช่นปรับแสง หรือ Effect ต่างๆ ของกล้องเว็บแคม
6. หลังเลือกค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการกดปุ่ม Finish เพื่อเป็นการบันทึกค่า และปิดหน้าต่างการตั้งค่า



7. กดที่กล้องฝ่ายตรงข้าม แล้วเลือก Start a Video Call เพื่อทำการเชิญฝ่ายตรงข้ามสนทนาแบบภาพและเสียง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้วครับ

วิธีตั้งเสียงกลอง

|0 ความคิดเห็น
วิธีตั้งเสียงกลอง
การตั้งเสียงกลองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างดังนี้
ความตึงของหนังกลองด้านบน(Batter Head)
ความตึงของหนังกลองด้านล่าง(Resonant Head)
ความสัมพันธ์ระหว่าความตึงของหนังด้านบนและด้านล่าง
ประเภทของหนังกลอง
ประเภทของตัวถังกลอง
การลดเสียงก้องจากหนังหรือตัวถัง
เมื่อคุณจูนเสียงกลอง คุณกำลังตั้งให้ได้เสียงที่มีระดับสูงสุดหรือต่ำสุด ให้ได้น้ำเสียงที่ใสหรือเสียงที่ทุ้มต่ำ เพื่อให้เสียงดัง หรือเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาลเกิดResonant ดังนั้นเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพ คุณต้องจัดการกับหนังทั้งสองด้านให้ดี
ความลึกของตัวถัง และเส้นผ่าศูนย์กลางจะมีผลต่อการจูนเสียง โดยความลึกให้เสียงที่นุ่มและการเกิด Resonant รวมถึงความดังและความชัดเจนที่ดี ขณะที่ตัวถังบางให้เสียงที่สั้นและเกิดเสียงตอบสนองการตีได้เร็วกว่า ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวถังมีผลต่อระดับเสียงคือยิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวย่อมให้เสียงที่ต่ำกว่า
หนังกลอง



กลองทุกชุดต้องมีหนังอย่างน้อย 1 ด้าน กลองที่มีหนังด้านเดียวจะให้เสียงที่แห้งๆ ลัษณะกระแทกๆ หนังส่วนที่เราตีเรียกว่าBatter ส่วนที่ไม่ได้ตีเรียกว่า Resonant หรือเรียกว่าหนังด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ หนังกลองเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด่านแรกของกลอง ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสม และการจูนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกันกับตัวถัง และโครงสร้างอื่นของกลอง มีผู้เชี่ยวชาญบางคนพูดว่า85% ของเสียงกลองมาจากหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ที่ผิดจะทำให้เสียงของกลองคุณไม่ประทับใจครับ
หนังกลองในปัจจุบันทำจากMylar ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ย้อนไปในอดีตหนังกลองส่วนใหญ่ทำจากหนังสัตว์เช่น ลูกวัว ช้าง แกะ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดอ่อนที่เสียงเพี้ยนง่ายเมื่อเจอความชื้นของอากาศ ทำให้ต้องมีการจูนเสียงบ่อยๆ ขณะที่พลาสติก มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่าและเสียงไม่เพี้ยน
บริษัทผู้ผลิตหนังกลองใหญ่ในปัจจุบันคือ Remo, Evans ,Ludwig โดยมีการผลิตหนังในประเภทและขนาดต่างๆกันสามารถจำแนกได้ดังนี้
หนังชั้นเดียวอย่างบาง
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว เป็นหนังที่บางที่สุด ตัวอย่างรุ่นเช่น Remo Diplomats ซึ่งเราจะใช้ไว้เป็นหนังด้านล่าง เพื่อให้เกิด Resonant
หนังชั้นเดียว
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว ให้เสียงที่คมชัดเจน และให้เสียงที่สั่นออกมาดี แต่ไม่ค่อยทนทาน ไม่เหมาะกับคนที่เล่นเพลงหนักๆ หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Ambassadors และEvans G1s ซึ่งเป็นหนังยอดนิยมที่ใช้ในห้องอัดเสียงหรือการใช้ไมค์มิกซ์เสียง
หนังสองชั้น
เป็นหนังที่มี Mylar 2 ชั้น หนังที่หนาขึ้นทำให้เสียงที่เกิดมีลักษณะที่แห้งกว่า เสียงสั้นน้อยกว่า แต่มีความคงทนเหมาะกับการเล่นเพลงแนวร๊อค หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Emperors และEvans G2s

Muffled
เป็นหนังที่เหมาะกับงานหนักที่สุด ให้ลักษณะเสียงที่สุขุมแต่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะโครงสร้างภายในที่ถูกผลิตขึ้นมา หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Pinstripes หรือEvans Genera HD
ไฮดรอลิก
เป็นหนังสองชั้นแต่มีชั้นน้ำมันอยู่ตรงกลาง ให้เสียงที่มีลักษณะอ้วนที่สุด มีความทนทาน ถ้าชอบเสียงแบบนี้ก็ต้องมองหา Evans Hydraulic ซึ่งบริษัทนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการผลิตหนังประเทภนี้
นอกจากนั้นหนังกลองยังมีประเภทเคลือบกับไม่เคลือบอีก หนังกลองเคลือบมีพื้นผิวที่หยาบกว่าช่วยลดเสียง Overtone ให้น้อยลง ให้เสียงที่มนๆกว่าไม่เคลือบ หนังเคลือบเหมาะกับการเล่นด้วยแส้ ส่วนในใบอื่นๆเช่นทอม ที่ไม่ค่อยใช้แส้ตี คุณอาจใช้หนังที่ไม่ต้องเคลือบก็ได้

เมื่อใดที่ต้องเปลี่ยนหนัง
ถ้าหนังกลองของคุณไม่สามารถจูนเสียงได้อีกแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน หรือที่เรียกว่าหนังมันตายแล้ว และต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานหนังกลองมากแค่ไหน และขึงหนังตึงแค่ไหน ลองดูสัญญานที่บ่งบอกว่าถึงเวลานั้นแล้ว
เมื่อส่วนที่เคลือบหนังไว้เริ่มหลุดออก
เมื่อเกิดร่องลอยบนหนัง
เมื่อหนังเมื่อถอดออกแล้วเกิดการบิดเบี้ยว
เมื่อไม่สามารถจูนเสียงได้แล้ว โดยเฉพาะเสียงต่ำ
เมื่อคุณตีแล้วเสียงไม่ค่อยออก
เมื่อหนังเกิดหลุมจากการตี
ลองดูไกไลด์ตรงนี้ครับ ตารางนี้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้งานหนัก กลองถูกตีวันละหลายชั่วโมง ถ้าคุณเล่นวันละไม่มากวันละไม่กี่ชั่วโมง อาจยืดระยะเวลาออกไปจากนี้
หนังสแนร์บน เปลี่ยนทุกเดือน
หนังสแนร์ด้านล่าง เปลี่ยนทุกสามเดือน
หนังกลองใหญ่ด้านที่ตี เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
หนังกลองใหญ่ด้านหน้า เปลี่ยนปีละครั้ง
หนังกลองทอมด้านบน เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
หนังกลองทอมด้านล่าง เปลี่ยนปีละครั้ง
เมื่อต้องเปลี่ยนหนังกลอง คุณควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ
1.ถอดหนังอันเก่าออก
2.ทำความสะอาดภายในกลองด้านใน ด้วยการเช็ดฝุ่น และคราบเปื้อนต่างๆออก
3.ค่อยๆใส่หนังกลองอันใหม่ลง ให้แนบสนิทกับตัวถัง
4.ใส่กรอบครอบหนัง
5.ใส่น๊อตลงบนLug ใช้แค่มือหมุนก่อนนะครับ
6.ใช้กุญแจกลองค่อยขันน๊อตให้แน่น(วิธีการขันจะพูดในช่วงต่อไป)
7.ปรับหนังให้แน่นกระชับกับตัวถัง ระหว่างนี้อาจเกิดเสียงกร๊อบแก๊บ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหนังที่ปรับตัวตามความตึงที่เพิ่มขึ้น
8.การจูนเสียงให้ถูกต้อง(จะพูดในช่วงต่อไป)





การตั้งเสียงกลอง
วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drum แต่สแนร์นั้นอาจมีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหาก จะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ
หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วยการสั่น ขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา แต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัว จากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4 รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบน ซึ่งอาจจูนให้ได้ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับ เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่ คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือคู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา) ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิด มือกลองแต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติ เสียงไม่ออก ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ
คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง
การลดเสียงก้องของกลอง
เสียงกลองเกิดจากResonant ของตัวถังและหนัง มือกลองบางคนชอบให้กลองออกเสียงก้อง ขณะที่บางคนไม่ชอบแต่ชอบเสียงแห้งๆ ถ้าต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องควรจัดการดังนี้
1.คลายน๊อตที่ขันหนังด้านบนลง 1/4-1/2 รอบ หรืออาจไปขันน๊อตหนังด้านล่างเพิ่มหรือลด การทำทั้งสองแบบนั้นเพื่อให้หนังด้านล่างและบนมีระดับเสียงที่ต่างกัน
2.เปลี่ยนหนังครับ ถ้าคุณใช้หนังด้านอยู่เป็นชั้นเดียวอยู่ก็เปลี่ยนไปใช้หนังสองชั้น เช่น Remo Pinstripe
ถ้ายังไม่พอใจต้องการเสียงที่ก้องน้อยลงอีก ก็ไปใช้Evan Hydraulic หนังน้ำมันเลยครับ และถ้าเสียงที่ได้ยังไม่น่าพอใจอีกก็ต้องใช้เทคนิคการจูนแล้วครับดังนี้
1.ลองใช้เทปกาวติดบนหนังด้านบนลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน การลดเสียงก้องมากๆอาจติดเทปกาวหลายๆชั้น
2.ลองใช้กระดาษทิสชู ไม่ต้องแน่นครับลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน
3.ใช้แผ่นจูนเสียงที่มีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งทำจาก Mylar ลักษณะเป็นรูปตัวโอ หรืออาจทำเองไม่ต้องซื้อโดยใช้หนังกลองเก่าตัดเป็นตัวโอ การติดบนหนังอาจติดหลายวง หรือติดทับกันหลายๆชั้น
4.ตัดแผ่นสักหลาดแล้วติดบนหนังทั้งด้านบนหรือด้านล่าง ทดลองดูทั้งสองทาง และขนาดที่ต่างๆกัน
5.กรณีBass Drum เราใช้หมอนยัดเข้าไปข้างในแต่อย่าให้หมอนติดกับหนังนะครับ
ที่กล่าวไปเป็นแค่ไม่กี่วิธีในการจูน ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ที่สอนกลองคนแรกจูนเสียงกลองสแนร์Ludwig ของเค้าด้วยการใช้กระเป๋าเงินติดบนหนังซึ่งเสียงที่ได้ก็ดีด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้คือการจูนเสียงเพื่อลดเสียงก้องมากไปนั้นไม่ดี เพราะเสียงมันจะเหมือนกับคุณกำลังตีโต๊ะอยู่ เสียงก้องนี่แหละทำให้เสียงกลองเป็นกลอง ดังนั้นจึงต้องให้มีเสียงก้องอยู่แต่ในจำนวนที่น้อย




การจูนเสียงสแนร์
การจูนเสียงสแนร์นั้นต่างจากการจูนเสียงทอมและBass Drum คุณต้องมีปัจจัยพิเศษอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณานั้นคือเจ้าเส้นสแนร์ที่ขึงสัมผัสอยู่กับหนังด้านล่าง (ขอเรียกหนังด้านล่างและเส้นสแนร์รวมว่าSnare Headนะครับ )โดยส่วนใหญ่คุณมักขัน Snare Head ให้ตึงกว่าด้านบน ซึ่งมันจะให้เสียงสดใส กระชับกระเฉง ลดเสียงหึ่งๆที่ไม่ต้องการลง
คุณสามารถปรับเสียงสแนร์ได้จากตัวปรับสายสแนร์ โดยถ้าปรับให้สายสแนร์หย่อนไปก็จะได้เสียงที่อึกกระทึกครึกโครม ถ้าแน่นไปเสียงสแนร์ก็จะอุดอู้เสียงไม่ออก คุณต้องปรับให้พอดีอยู่ระหว่างตรงกลางครับ
ลองดูเคล็ดลับในการตั้งเสียงสแนร์ตรงนี้ครับ
-เสียงสแนร์ที่แบน คุณต้องปรับ Snare Head ให้หย่อนที่สุดเท่าที่ทำได้ ขณะที่หนังด้านบนต้องค่อนข้างตึง
-สำหรับเสียงที่ดังเปรี้ยงปร้าง คุณต้องจูน Snare Headให้สูงกว่าหนังด้านล่าง 2-3 เสียง
-สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและSnare Head ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน หรือจูนให้ Snare Head มีระดับเสียงที่สูงกว่าด้านบนเล็กน้อย
หลังจากคุณจูนสแนร์ได้เสียงที่เพอร์เฟคแล้ว ปัญหาต่อไปที่คุณจะเจอคือเสียงการสั่นสะเทือนของ สแนร์ หรือเสียงหึ่งที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับเสียงเดียวกับเสียงสแนร์ของคุณ อาจเป็นจากกลองใบอื่น หรือเครื่องดนตรีชิ้นอื่นการแก้ปัญหาเสียงหึ่งมีหลายวิธีดังนี้
1.ตั้งเสียงสแนร์ใหม่ทั้งหมด(การแก้ด้วยวิธีนี้จะเกิดปัญหาที่ตามมากับกลองใบอื่นๆในชุดอีก)
2.คลายน๊อตที่ขันหนังให้หย่อนลงทั้งด้านบนและด้านล่าง
3.ใช้ ไพ่หรือกระดาษทิสชู ใส่เข้าไประหว่างหนังด้านล่างและเส้นสแนร์
จากประสบการณ์ของผู้เขียนอยากบอกว่าคุณจะต้องพบกับปัญหาเสียงหึ่งเสมอ แต่อยู่กับระดับที่ต่างกัน ในกรณีการเล่นสดการมิกซ์เสียงอาจช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ปัญหาจะหนักขึ้นกรณีในห้องอัดเสียง คุณอาจต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่สุดๆเช่นวิธีที่3 ที่กล่าวไปข้างต้น
การจูนเสียงทอม
ขณะที่ไกไลด์ทั่วไปสำหรับการจูนเสียงกลองสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทอมใบเล็กหรือใบใหญ่ แต่ยังมีประเด็นเฉพาะที่ต้องกล่าวถึงอีกดังนี้
1.สำหรับเสียงที่แบน คุณต้องปรับ หนังด้านล่างให้หย่อนกว่าหนังด้านบน
2. สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและด้านล่าง ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
3.สำหรับเสียงที่เต็มๆ ดังควรใช้หนังด้านบนเป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic )
4.เพื่อให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นสำหรับหนังด้านบนที่เป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic ) ควรใช้หนังชั้นเดียวอย่างบางเป็นหนังด้านล่าง
5.ในการลดเสียง Overtone ที่มากไปขณะที่ยังรักษาเสียงตีที่ดุดัน คุณต้องใช้หนังด้านบนเป็นหนังชั้นเดียว และใช้หนังด้านล่างแบบMuffled
6.สำหรับเสียงทอมที่เข้ม ขณะที่ยังคงให้เสียง Resonant ต้องเปลี่ยนไปใช้หนังกลองประเภทสีดำทึบทั้งสองด้าน
การจูน Bass Drum
การเลือกใช้หนังกลองมีผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นของกลอง ลองดูตารางข่างล่างนี้ครับเป็นรายละเอียดของเสียงBass Drum ที่จะเกิดขึ้นแยกตามหนังประเภทต่างๆดังนี้
-เสียง Bass Drum เปิด มี Resonant สูง ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เปิด มีเสียงOvertoneเล็กน้อย ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เป็นจุด ไม่กระจาย มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และต้องมีการจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
-เสียงกระแทกๆ เป็นจุด ไม่มีเสียงOvertone ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นหนัง 2 ชั้น หรือเป็นหนัง Hydraulic ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติม ในการจูนเสียง Bass Drumดังนี้
-.ในการจูนให้เกิดระดับเสียงที่สูง ก็จะให้เสียงกลองที่กระแทกๆมากขึ้น
- สำหรับเสียงกระแทกที่มากยิ่งขึ้น จูนหนังด้านหน้าให้ตึงกว่าหนังด้านที่เหยียบ
- สำหรับเสียงกลองที่ใหญ่ๆ จูนหนังด้านหน้าให้หย่อนมากที่สุดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นเสียงแฟล๊บๆ
- ถ้าจะลดเสียงOvertone ให้ใส่ ผ้าห่มหรือหมอนเข้าไปในกลอง หรือโดยการติดเทปสักหลาด ตรงกลางของหนังด้านที่เหยียบ
- การเจาะรูตรงหนังด้านหน้าเพื่อลดเสียงก้อง ต้องมั่นใจว่ารูดังกล่าวต้องไม่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางและเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 8 นิ้ว
- การทำให้เกิดเสียง Resonant ที่มากขึ้นโดยการปรับเดือยที่ Bass Drum ให้กลองยกสูงจากพื้นมากที่สุด
จากที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่การจูนเสียงกลองนั้นเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องลองจูนในส่วนผสมที่ต่างๆกัน จากนั้นเลือกส่วนผสมที่ให้เสียงที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์เพลงของคุณหรือ ดีที่สุดในสถานะการณ์ขณะนั้น

วิธีจ่อไมค์กลองชุด

|0 ความคิดเห็น
วิธีจ่อไมค์กลองชุด อยู่ที่ปัจจัยสองอย่างที่เราต้องคิดนะครับ อย่างแรกคือมีงบประมาณเท่าไร? อย่างที่สองคือมีความต้องการคุณภาพเท่าไร? ถ้าสามารถตอบทั้งสองอย่างได้ก็ โอเค เอาเป็นว่าที่เคยใช้คือ Shure รุ่นไหนเดี๋ยวของเวลาถาม technician ให้ ส่วนใหญ่จะขายเป็นชุด เพราะว่าถ้าเราเอาไมค์ธรรมดาไปจ่อ ไมค์พวกนี้จะรับคลื่นความถี่เฉพาะที่เป็นเสียงที่เราพูดคือประมาณ 750-1000 Hz ในขณะที่กลองของเรานั้นมีความถี่หลายย่านความถี่ตั้งแต่ความถี่ต่ำ คือ Bass Drum ไปจนถึงความถี่สูงคือพวก Brass ต่าง ๆ ดังนั้นหากอยากได้คุณภาพเสียงที่ดี ก็ควรใช้ไมค์ที่เหมาะกับย่านความถี่ที่เราต้องการ หากใช้ไมค์ธรรมดาตัวที่อาจจะส่งผลให้เกิดอาการ "หอน" ของไมค์ นั้นคือส่วนที่เป็น Bass Drum กับทอมใบที่สอง (หน้า12 - 13 นิ้ว) ของกลองชุดมาตรฐานเพราะว่าเป็นความถี่ธรรมชาติของหนังกลอง


ลักษณะการจ่อไมค์กลองชุด

ส่วนลักษณะการล่อไมค์มีหลายแบบหลายวิธี ส่วนที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการจ่อที่ Bass Drum เพราะว่าต้องมีการ Mute หนังให้ดี
รวมทั้งในส่วนของ Mixer นั้น ในกรณีที่ต้องการซาวด์ที่ดีมาก จะมีอุปกรณ์ที่ใช้คัดหรือตัดสัญญาณที่เราไม่ต้องการ สังเกตได้หาก ตั้งค่าสัญญาณให้สูงมาก เวลาเหยียบกระเดื่องจะไม่มีเสียงออกมาจากลำโพง


ส่วนการตั้งไมค์ ให้ระวังแรงอัดของลมที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดซาวด์ที่เราไม่ต้องการ ตำแหน่งการวางสามารถวางได้สองตำแหน่งคือ ด้านในของกลองเลย (แบบลูกทุ่งหน่อย) แต่ต้องระวังเรื่องลมที่ได้บอกไปแล้ว อีกวิธีคือจ่อที่หนังหน้าของกลองเบสดรัมบริเวณเฉียง กับส่วนที่ลมออก เพราะว่าถ้าจ่อตรง ๆ จะมีเสียงลมเกิดขึ้นได้


ส่วนการล่อไมโครโฟนที่กลองอื่น ๆ นั้นก็แล้วแต่ชุดกลองที่จัดขึ้นมา จ่อที่หนังด้านหน้าปกติ ไม่ตรงถึงขนาดตั้งฉาก และก็ไม่ถึง
ขนาน ประมาณ 45 องศา ตามประสบการณ์แล้วน่าจะดีที่สุด


ส่วนการล่อไมค์สำหรับเครื่องทองเหลือง เรียกว่า Overhead ถ้ากับชุดกลองมาตรฐานเล่นกลางแจ้งจำเป็นที่จะต้องมี หากเป็นการ เล่นภายใน Indoor อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ อาจจะทดแทนด้วยการใช้ Crash ขนาดใหญ่ เช่น 16 หรือ 18 แทนที่จะเป็น 14 กับ 16 นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่สถานที่ ส่วนตำแหน่งนั้น ก็ให้เล็งไปที่ Crash ทั้งสองข้าง บริเวณ Bell ของ Crash แล้วยกสูงขึ้น
ประมาณ 60- 120 เซนติเมตร แล้วแต่ว่าใช้ฉาบมากน้อยเท่าใด หากใช้ฉาบมากก็ต้องยกให้สูงเพื่อให้มุมสำหรับรับเสียง (Solid Angle) นั้น สามารถรับได้ทั้ง Crash หลาย ๆ ใบรวมถึง China และ Ride ได้อย่างทั่วถึง


ส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือ ส่วนที่เป็นไมค์จ่อสแนร์ ในกรณีที่มีไมค์ไม่พอ บางท่านจะใช้ไมค์จ่อสแนร์ร่วมกับ Hihat แต่ผมคิดว่า
น่าจะไม่เหมาะเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นคนละย่านความถี่ ในกรณีที่ไมค์จ่อสแนร์ไม่ดี เสียง Hihat จะดังเกินไป เพราะปกติเสียงมัน เองก็ดังอยู่แล้ว ถ้าไมค์ไม่ดี เสียง Hihat จะวิ่งไปเข้าไมค์สแนร์ และ/หรือวิ่งเข้าไมค์ Overhead ทำให้เสียงไฮแฮทดังเกิน และมี ลักษณะ delay เพราะว่าเข้าไมค์หลายตัว ส่วนรุ่นไมค์นั้น ลองขอคำแนะนำจากร้านที่จำหน่ายอุปกรณ์บันทึกเสียงก็ได้ครับ

วิธีเลือกซื้อ เพาเวอร์แอมป์

|0 ความคิดเห็น

วิธีเลือกซื้อ เพาเวอร์แอมป์

เครื่องขยายเสียงเราจะเลือกอย่างไร 

ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องการที่จะเปิดเพลงให้ดังสนั่นห้องโดยสารการใช้เครื่องขยายเสียง

(power amp)เข้ามาช่วยมีส่วนอย่างมากในการช่วยเพิ่งขอบเขตของเสียง แต่ power amp 

ที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปนั้น จะสามารถสามารถทำได้มากกว่าการขยายเสียง อย่างไรมา

ดูกันครับ 

สิ่งแรกที่ต้องมองก็คือ 

 
ถ้าคุณใช้Power amp ของคุณ สำหรับการขับ ลำโพง subwoofer ซึ่ง ถูกออกแบบ(specifically)

มาสำหรับการขับความถี่ต่ำเพื่อที่จะทำการ boost สัญญาณเสียง และการผ่านวงจรกรองต่ำ 

ซึ่งต้องใช้ พลังมากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อน heat มากกว่า amps โดยทั่วไป 

มีทาง หลายทางที่จะแก้ไขระบบเสียงสเตริโอซึ่ง รถยนต์ส่วนมาก โดยทั่วไปการฟังเพลง 

คุณสามารถใช้ช่องสัญญาณ  2 ช่อง amp สำหรับการฟังลำโพงทั่วไปได้  2 ตัวหรือกับ 

subwoofer  หรือถ้าเราใช้power ampแบบ  ช่องสัญญาณ  4 ช่อง amp จะขับลำโพงได้ 

  4 ตัว   sub2ตัว   หรือลำโพง  2 ตัวและ sub 1ตัว
ถ้าคุณวางแผน ที่จะติดตั้งsubwoofer เข้ากับระบบของคุณให้เลือกpower ampที่มีวงจร 

bass boost circuit และมีส่วนของ a built-in low-pass filter. เพื่อให้สามารถทำการ 

ปรับแต่งและเพิ่ม เติมเสียง bass ได้อย่างง่ายดาย ด้วยวงจร lowpass ทำการกรองเสียง

bass ส่งสัญญาณความถี่ต่ำเข้าลำโพงsub โดยตรงทำให้เราได้ยินเสียงbass ที่ชัดเจน

มากขึ้น  หรือถ้าหากว่ายังจะต้องการเสียงbass ที่มากขึ้นอีก ก็คงต้องหาpower amp 

ที่สามารถให้กำลังได้มากว่าเดิมและสามารถขับเสียงย่านความถี่ต่ำได้ดีนั่นก็คือ poweramp

แบบclass Dซึ่ง จะให้กำลังขับมากกว่าpower ampแบบclass AB ทั่วไป แต่อย่าลืมว่า 

ถ้ามีกำลังขยายมากขึ้นการติดตั้งก็ต้องระวังมากขึ้นด้วย เพราะว่าจะเกิดความร้อนขึ้นตาม

มาที่ตัวpower ampฉะนั้นคงต้องหาตำแหน่งที่ติดตั้ง ให้สามารถระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยนครับ 

หากpower ampที่คุณเลือกมีวงจร  high-pass filter ก็จะสามารถตัดแบ่งย่านความถี่ให้

กับลำโพงได้อีกชุดหนึ่งด้วยเพื่อลด ความเพี้ยนที่เกิดจากการที่ลำโพงต้องตอบสนองความถี่ 

ตลอดย่านโดยเฉพาะย่านควาถี่ต่ำซึ่งตัวลำโพงขนาด6 นิ้วหรือ5 นิ้วทั่วไปนั้น ไม่สามารถที่จะ

ตอบสนองได้ครบอยู่แล้ว และหากไม่มีวงจรกรองความถี่สูงเข้ามาช่วย ก็อาจจะทำให้ลำโพง

ทำงานหนักเกิน ไปและเกิด distortion. ขึ้นได้อันจะสร้างความเสียหายให้กับตัวspeaker 

และpower ampตามมาถ้าหากคุณต้องการที่จะใช้ Power ampหลายตัวผมแนะนำให้หา 

pre amp ที่สามารถจ่ายสัญญาณ out put ได้หลายoutput เพื่อที่จะทำการต่อเข้ากับ

power ampแต่ละตัว ได้อย่างอิสละจากกัน 

ถ้าคุณวางแผน ที่จะติดตั้งsubwoofer เข้ากับระบบของคุณให้เลือกpower ampที่มีวงจร 

bass boost circuit และมีส่วนของ a built-in low-pass filter. เพื่อให้สามารถทำการ 

ปรับแต่งและเพิ่ม เติมเสียง bass ได้อย่างง่ายดาย ด้วยวงจร lowpass ทำการกรองเสียง

bass ส่งสัญญาณความถี่ต่ำเข้าลำโพงsub โดยตรงทำให้เราได้ยินเสียงbass ที่ชัดเจน

มากขึ้น  หรือถ้าหากว่ายังจะต้องการเสียงbass ที่มากขึ้นอีก ก็คงต้องหาpower amp 

ที่สามารถให้กำลังได้มากว่าเดิมและสามารถขับเสียงย่านความถี่ต่ำได้ดีนั่นก็คือ poweramp

แบบclass Dซึ่ง จะให้กำลังขับมากกว่าpower ampแบบclass AB ทั่วไป แต่อย่าลืมว่า 

ถ้ามีกำลังขยายมากขึ้นการติดตั้งก็ต้องระวังมากขึ้นด้วย เพราะว่าจะเกิดความร้อนขึ้นตาม

มาที่ตัวpower ampฉะนั้นคงต้องหาตำแหน่งที่ติดตั้ง ให้สามารถระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยนครับ 

หากpower ampที่คุณเลือกมีวงจร  high-pass filter ก็จะสามารถตัดแบ่งย่านความถี่ให้

กับลำโพงได้อีกชุดหนึ่งด้วยเพื่อลด ความเพี้ยนที่เกิดจากการที่ลำโพงต้องตอบสนองความถี่ 

ตลอดย่านโดยเฉพาะย่านควาถี่ต่ำซึ่งตัวลำโพงขนาด6 นิ้วหรือ5 นิ้วทั่วไปนั้น ไม่สามารถที่จะ

ตอบสนองได้ครบอยู่แล้ว และหากไม่มีวงจรกรองความถี่สูงเข้ามาช่วย ก็อาจจะทำให้ลำโพง

ทำงานหนักเกิน ไปและเกิด distortion. ขึ้นได้อันจะสร้างความเสียหายให้กับตัวspeaker 

และpower ampตามมาถ้าหากคุณต้องการที่จะใช้ Power ampหลายตัวผมแนะนำให้หา 

pre amp ที่สามารถจ่ายสัญญาณ out put ได้หลายoutput เพื่อที่จะทำการต่อเข้ากับ

power ampแต่ละตัว ได้อย่างอิสละจากกัน 

ย่านความถี่EQ

|0 ความคิดเห็น

ย่านความถี่EQ



มาดูแต่ละย่านกันว่ามันทำหน้าที่เช่นไร...


16-60 Hz ย่านนี้ไม่สามารถรับรู้ด้วยหู ..  แต่สำผัสได้ (ใช้ในโรงหนัง)

60-250 Hz สามารถสำผัสย่ายความถี่นี้ได้ในดนตีทั่วๆ ไป เบส กีตาร์ กลอง เป็นต้น การปรับย่านนี้ ต้องระวังเนื้อเสียงเบสของเครื่องดนตรี  ปรับลงไปจะทำเสียงเบาลงสูญเสียความเป็นตัวตนของเครืองดนตรี โดยเฉพาะความพุ่งของเนืิ้ิ้อเสียงจะขาดน้ำหนัก  ปรับขึ้นจะเิกิดเสียงบวม

250 Hz - 20kHz จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อเสียงของเครื่องดนตรี  และยังมีผลต่อเสียงฮาโมนิคตัวโน๊ตต่ำของเครื่องดนตรี  การตัดย่านความถี่นี้ทำให้เีสียงขาดน้ำหนักไม่พุ่งออกจากลำโพง(เสียงจม) ในขณะเดียวกัน ปรับย่าน 500 Hz - 1KHz จะฟังสบายหู  เพราะว่างั้น  แต่ถ้าเร่ง เสียงกัดหูแน่นอน การเร่ง 1KHz - 2kHz มากไปทำให้โทนเสียงบาง ฟุ้งกระจาย

2kHz- 4kHz ย่านนี้ เป็นกลุ่มย่านที่ทำให้โทนเสียงในลักษณะเปิด  เกิดความชัดเจนในโทนเสียงเพิ่ม โดยเฉพาะเสียงนักร้อง  การสะกดคำ  จะให้ความชัดเจนดี หากเร่ง ย่าย 3KHz จะทำให้สระบางคำเช่น ช ซ ส จ  เกิดการล้นของเสียง หากมาใช้กับเครื่องดนตรี..จะช่วยให้ได้ยินตัวโน๊ตได้ชัดเจนมากครับ..

4-6 KHz  เป็นกลุ่มย่านที่ให้รายละเอียด  ความชัดเจน  ความสดใส  ทำให้คนฟังรู้สึกว่าเสียงอยู่ใกล้กว่าปกติ เหมือนดนตรีลอยมาเล่นใกล้ๆ หู (เค้าว่าอย่างงั้น)

6-16 kHz เป็นย่านกระจ่างชัดของมิติเสียง  ใช้มากอาจเกิดเสียงรบกวนตามมา


สำหรับคนที่มีคอมแรงๆ (กรณีที่เล่นโซน่า) อินเสริฐ EQ ไว้ในแทร็ก(ช่อง)เลยครับ คัดความถี่เอา  สรุปตามข้างล่าง 

20 Hz เสียงเบสทุ้มลึก บางครั้งออกอาการเบลอ ควรระวังในการปรับความถี่นี้

25 Hz เสียงเบสทุ้มลึก ถ้าบูทมากเบสจะคราง รักษาระดับให้ดี

31.5 Hz เสียงเบส เดินเรียบ ลูกเบสริทึ่ม เบสดรัมจะหนา และ อาจเบลอได้ คัทตรงนี้ให้ได้ลูก กระเดื่องหลายสไตล์ ทุ้มแบบบลู หรือ สดแบบร็อค

40 .Hz เสียงลูกเบสที่ชัดเจน เสียงทุ้มต่ำของเบสดรัม

63 Hz เบสชัดเจน เบสดรัมมีน้ำหนักและกระแทกกระทั้น เสียงทุ้มต่าง ๆ ของกลองทอม

80 Hz จุดที่สำคัญที่สุดของเสียงเบส และ กระเดื่อง น้ำหนักเสียงเสียงทั้งหมดของ 2 ดนตรีจะอยู่ที่ ตรงนี้

100 Hz เสียงโซโล่เบส ชัดเจน เสียงกระเดื่องกระแทก ถ้าต้องการกระเดื่องแข็งๆ แบบเพลงร็อค เพลงลูกทุ่งควรคัทลง

125-200 Hz เสียงแข็งๆ ของเบสและกระเดื่อง และ เสียงบวมๆ ของทอม เป็นช่วงที่ควรคัทลง ไม่ว่าสภาพห้องยังไง เพราะเสียงไม่นุ่มเลยถ้าบูท

250 Hz ลูกชัดเจนของกระเดื่อง และ เบส เสียงทุ้มของสแนร์และกลองทอม เสียงร้องจะทุ้มๆ ลึกๆ แบบหยาด นภาลัย

315 Hz เสียงร้องนุ่มๆ อิ่มๆ กระเดื่องกระแทกหนัง เสียงตบเบส ช่วงที่หนาพอสมควรในเสียงกลาง

400 Hz เสียงร้องจะอิ่ม นุ่มทุ้ม มีน้ำหนัก ได้อารมณ์โดนเฉพาะเพลงลูกกรุง ช่วงหนีความถี่ของกระเดื่อง กับ เบส สแนร์เสียงเต็มดัง ตับๆ กลองทอมชัด

500 Hz เสียงกลางชัดเจน ทั้งเสียงร้องและดนตรี หนาแน่น

630 Hz เสียงกลาง ช่วยเพิ่มให้ 500 Hz ฟังชัดขึ้น กลองทอมเสียงเต็ม กังวาน

800 Hz เสียงชัดถ้อย ชัดคำ แต่อย่าไปบูทมากนะครับ มันจะเหมือนพูดในโอ่ง ทอมกังวาน

1 KHz เสียงพูดใส ชัดเจน เสียงตบเบส และ หัวกระเดื่อง

1.6 KHz-2 KHz ช่วงเสียงกลางที่คมๆ เสียงพูดจะหนามาก แต่เวลาร้องควรลด เพราะไม่นุ่ม ปลายกระเดื่องเสียงหนังคมๆ เสียงติ๊กๆ ของเบส เสียงไฮแฮท คม บาดหู

2.5 KHz-3.15 KHz เอฟเฟคเสียงรีเวิร์บชัดเจน น่าฟัง ปลายเสียงร้องสดใส เสียงไฮแฮท คมชัด หัวกลองทอม

4 KHz-6.3 KHz ทุกอุปกรณ์ เสียงคมบาดหู ควรลดเสียงร้องแหลมคมแทงหู เหมือนเสียงไตรภพในรายการเกมเศรษฐี

8 KHz-10 KHz ปลายเสียงใสๆ ของทุกอุปกรณ์ เอฟเฟคฟุ้งกระจาย เสียงกว้างขึ้น

16 KHz-20 KHz ปลายเสียงแหลม

เทคนิคการปรับซาวด์กีตาร์

|0 ความคิดเห็น

เทคนิคการปรับซาวด์กีตาร์

เราจะมาพูดถึงเรื่องการตั้งsound แบบที่ศิลปินเขาทํากัน จริงๆบนเวทีพี่เองก็ไม่ใช่นักกีต้าร์ นิ้วพายุอะไรอย่างนั้นหรอกครับ ทุกวันนี้ก็ยังไม่เร็วอีกแหละ( พูดจากใจจริง ) แต่พี่ให้ความสําคัญกับ sound ค่อนข้างมาก จน มากกว่าการปั่นแบบไม่ลืมหูลืมตาด้วยซะอีก บางคนปั่นจน fingerboard แทบละลาย แต่บางเสียงทีออกมาสิครับฟังแล้วมันบาดสมองซะจริงๆ คนที่น่าสงสารที่สุด คือเหล่ากรรมการที่ต้องทนฟังเป็นสิบๆวง เฮ่อ!เอาละเรามาช่วยแบ่งเบาภาระของหูท่านคณะกรรมการกันเถอะครับ อิอิ1.ก่อนขึ้นเวที อย่าปล่อยให้สมาชิกในวง ประหม่าเด็ดขาด แล้วต้องคอยย้ำเรื่อง sound ไว้ด้วยมันสําคัญมาก2. เสียงกีต้าร์ ไม่ควร ปรับ Treble มากไป ทางที่ดี ไม่ควร เกิน 12 นาฬิกาดีที่สุดครับหรือถ้าเกินมันควรสมดุลกับ ความถี่ตํา (bass) และ ความถี่กลาง ( middle )อันนี้มันขึ้นกับแนวเพลงที่sound มันควรจะเป็นครับ3.ในการปรับ Amp ที่ตู้ ควรเรื่มจากการ ยืนแล้วปรับตามปกติก่อน ต่อมา ก็ลองนั่งลงแล้วฟังsound ดู แล้วจะรู้ว่ามันต่างกันขนาดไหน เวลาที่เรายืนนั้น หูเราไม่ได้อยู่ระดับเดียวกับ Amp ดังนั้นมันจึงฟังดูแล้วเสียง อื้อๆ แต่คนดูและกรรมการ เขานั่งตํากว่าเรา เสียงที่ได้ยินมันคยละช่วงเสียงกันเลยดังนั้นเราควรคํานึงถึงคนที่ฟังเราด้วย มันทรมาน มากกกก!4.นั่งแล้วปรับ พอได้ที่ก็ ถอยไปทางหน้าเวที อีก 3-4 ก้าว แล้วนั่งลงดีดอีกครั้ง ถ้ายังไม่ดีก็ไปนั่งหน้า Amp ใหม่จยกว่าจะพอใจ (ถ้ามีเวลานะครับ)5. กลอง ลองเคาะ Hi-hat ดูเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป6. ที่มือลกองต้องเคาะ Hi-hat เพราะว่า มือกีต้าร์ ควรปรับระดับ Volume ให้มีความดังไม่มากหรือ น้อย กว่า ความดังของ Hi-hat เกินไป ควรดังใกล้ๆกัน7.มือกลองเหยียบ Drum bass หรือ กระเดื่อง ดูเพื่อให้มอืเบสปรับ volume บ้าง ความดังเบสก็เช่นกัน มันควรคลุมกระเดื่องด้วยเนื้อเสียงที่พอดี ไม่แหลมจน แปร่งๆ หรือ ทุ้มจนแก้วหูสะเทือน 8. ต่อมามือกลอง ลองตี Snare ดู เพื่อเทียบความดังเมื่อลงไม่ไปที่ Snare แล้วเสียงกีต้าร์ กับเบส ไม่จมหายไป 9.หลังจากนั้นก็ลองเล่นเพลง Check sound ของเราเพื่อ ดูsound รวมถ้าดีแล้วก็ไม่ต้องแตะต้องมัน แต่ถ้ายังไม่ดีก็ลองปรับเองใหม่อีกทีน้อง และเพื่อนๆ ลองไปใช้ดูนะครับ เรื่มตั้งแต่ในห้องซ้อมเลยก็ได้ ฝึกไว้ถึงแม้ไม่เก่งกาจมากมาย แต่ชนะใจคนฟังและกรรมการครับ สวัสดีปีใหม่ครับ
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);

การปรับ EQ

|0 ความคิดเห็น

การปรับ EQ

วัตถุประสงค์ของการปรับแต่ง EQ ก็คือ ต้องการให้ระบบเสียงโดยรวมที่ออกมาจากลำโพงนั้นมีความถี่เสียงทุกเสียงดังออกมาเท่าๆกันพูดง่ายๆก็คือ ต้องการให้ เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม มีระดับความสมดุลย์ของความดังให้มากที่สุดในระดับความดังน้อยๆ (เสียงค่อย)นั้น...... หูมนุษย์จะตอบสนองกับเสียงทุ้มและเสียงแหลมน้อยมาก คือไม่ค่อยได้ยินนั่นเอง แต่จะได้ยินเสียงกลางมากที่สุดเครื่องเสียงชั้นดีโดยทั่วๆไปนั้น จะผลิตความดังของทุกย่านความถี่ออกมาเท่าๆกันอยู่แล้วแต่ดังที่กล่าวแล้วว่า
ในระดับความดังต่ำๆ เราจะไม่ได้ยินเสียงทุ้ม กับเสียงแหลม ทั้งที่มันก็ดังน่ะแหละแต่เราไม่ได้ยินซะเองดังนั้นเครื่องเสียงส่วนใหญ่ จึงให้วงจรชดเชยมาอันนึง ที่เราเห็นว่าเป็นปุ่ม loudnessน่ะแหละ....ถ้าเรากดปุ่มนี้ลงไป เราจะรู้สึกได้ทันทีว่า เสียงดีขึ้นเพราะเราได้ยินเสียงครบทุกย่านความถี่นั่นเพราะ วงจร loudness จะไปยกระดับความดังของเสียงทุ้ม กะเสียงแหลมขึ้นมาเพื่อชดเชยกับความสามารถของหูมนุษย์ในที่นี้............. loudness ก็ทำหน้าที่ EQ ให้เราไงครับทีนี้...........สำหรับนักเล่นที่พิถีพิถันขึ้นมาอีกหน่อย หรือในวงการของ concert หรือ house PAทั้งหลายแหล่...............แค่ loudness มันไม่พอหรอกครับเพราะว่า............แต่ละสถานที่...แต่ละเวที...แต่ละสิ่งแวดล้อม...แต่ละห้องมันไม่เหมือนกันเลย......แต่ละแห่งก็ต้องการการปรับแต่ง EQที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งแวดล้อมตัวเองทั้งนั้นEQ ขนาดปานกลางส่วนใหญ่ มักจะมีข้างละ 10 แบนด์ ตั้งแต่ 64 Hz - 16KHz (16,000 Hz ) เพราะเค้าถือว่าย่านความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน จะอยู่ในช่วงนี้ ส่วนที่ต่ำกว่านี้ และที่สูงกว่านี้ เราจะไม่ค่อยได้ยินแล้ว(ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์...เค้าบอกว่า เราจะได้ยิน ตั้งแต่ 20 - 20000 Hzแต่ตามความเป็นจริงแล้ว....มนุษย์ผู้ใหญ่อย่างเรา ไม่ได้ยินถึงขนาดนั้นหรอกครับถ้าเป็นเด็กทารกล่ะอาจจะใช่)วิธี ปรับ EQ ที่ง่ายที่สุด ก็คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Spectrum analyzer.... ไอ้เจ้า Spectrum analyzerเนี่ย...มันจะผลิตสัญญานที่เรียกว่า Pink noise ออกมา(เป็นเสียงซ่าๆ...ฟังแล้วรำคาญหูชมัด)เจ้า Pink noise นี่มีสัญญานความถี่ออกมาครบทั้งย่านเลยนะครับ ตั้งแต่ 20-20000 Hz เลยหละเมื่อเราเอาไอ้สัญญาน Pink noise ที่ได้มาจาก Spectrum analyzer เนี่ยต่อเข้ากับระบบของเรา...เราก็จะได้ยินเสียงซ่าออกมาจากลำโพงจากนั้นก็เอา Microphone ชนิดพิเศษที่มีความไวสูง (มันมักจะให้มาพร้อมกับ Spectrum analyzer อยู่แล้ว)......มาต่อเข้ากับ Spectrum analyzer แล้วเอาไอ้ Mic เนี่ย ไปวางไว้ตรงตำแหน่งที่นั่งฟังคราวนี้ เราก็มาดูที่หน้าจอของ Spectrum analyzer เราก็จะรู้ว่า ระบบของเราผลิตสัญญานย่านไหน แรงไปหรือค่อยไป เราก็ไปปรับที่ EQ ของเราปรับไปจนกระทั่ง Spectrum analyzer มันแสดงผลว่า ได้ยินทุกย่านความถี่เสียง...เท่าๆกันเป็นอันจบ...ถือกันว่า ระบบนั้นได้ทำการจูน EQ จน Flat แล้ว.....ไม่ต้องปรับต้องหมุนอะไรอีกแล้วฮ่าาาาา...สบายล้ะ...........แต่..........อนิจจา.....ในความเป็นจริงของชีวิต มันไม่ง่ายหยั่งงั๊นนนน...ท่านผู้ชมแผ่นแต่ละแผ่น เทปแต่ละม้วน Producer แต่ละคน วงดนตรีแต่ละวง ต่างก็มีอุปนิสัยไม่เหมือนกันยกตัวอย่างเช่น.............ถ้าเป็นวงดนตรีนะครับ ไอ้มือเบสวงนี้มันเล่นดังเหลือเกิน ส่วนไอ้มือคอร์ดก็เล่นเบ๊า-เบาแต่ไอ้นักร้องก็เสียงดีเหลือเกิน...บางจ๋อยเชียวมันก็ยังต้องปรับต้องหมุนกันอยู่นั่นเอง.......แต่เราก็พยายามอย่าไปยุ่งกับ EQ ก็แล้วกันครับ ไปปรับเอาที่ channel ของแต่ละคนซะตานี้.....ถ้าไม่มี Spectrum analyzer จะปรับยังงัยล่ะ ?มันก็ต้องปรับกันด้วย หู เรานั่นแหละครับ Spectrum analyzer ที่ธรรมชาติให้มากับทุกๆคนทำงี้ครับ.......ตั้ง EQ ทุกปุ่ม ไว้ที่ center ซะก่อน ตรง 0 db นั่นแหละ...แล้วหาเพลงที่เราคุ้นที่สุด...ชอบที่สุด...ชินที่สุด ถ้าเป็นไปได้ขอให้เป็นแผ่นCD...เปิดเพลงนี้ฟังดู.......เปิดให้ดังนะครับ อย่าเปิดค่อยพยายามให้ระดับความดังใกล้เคียงกับระดับความดังของการใช้งานจริงๆเลยหละ(ผลพลอยได้ก็คือ...กว่าจะปรับเสียงเสร็จ หูก็อื้อทั้งวันแหละครับ เมียด่าอะไรก็ไม่ได้ยินไป 1วัน)สังเกตุเสียงที่เราได้ยินนะครับ ว่ามีอะไรมันมากไป-น้อยไป เสียงกระเดื่องกะเสียง bass guitarมันกลมกลืนกลมกล่อมมั๊ย...เสียง guitar chord มันโด่ขึ้นมามากเกินไปมั๊ย หรือว่ารองพื้นดีอยู่แล้ว...เสียงร้องฟังดูชัดเจนสดใสมั๊ยไม่ใช่ฟังแล้วเหมือนไม่เต็มใจร้องบอกซะก่อนนะครับ.....ว่า...ปรับยากครับ ! ! ! มันต้องมีประสบการณ์น่ะ........หูต้องผ่านศึกสงครามทางด้านเสียงมานานพอควรเชียวแหละก็มี trick เล็กๆน้อย แถมให้นะครับ- เสียงร้องจะอยู่แถวๆ 1k หรือ 1000 Hz- ย่าน 100 - 500 ถ้ายกมากเกินไป จะทำให้เสียง บวมมมมม- ย่าน 2000 - 4000 เนี่ยตัวดี.. มันทำให้เสียงแข็งและหอนง่าย- ขอซะอย่าง ไอ้ปรับเป็นรูปปีกนก เป็นสายรุ้ง เป็นท้องช้างอะไรนั่นน่ะ....มันใช้บ่ได้จ้าาา- พยายามเน้นการลด...ไม่ใช่การยกนะครับ- เพลงที่ใช้ปรับเสียงควรจะหลากหลายนะครับ ไม่ใช่ใช้มันอยู่เพลงเดียว ควรจะมีทั้ง jazz ทั้ง rock ทั้งacoustic เพลงบรรเลง เพลงร้องเฮ้อ.....ก็คงช่วยได้แค่นี้แหละครับ....ลองทำดูนะครับการ EQ ให้เสียงชัดเจนมากขึ้นเค้า บอกว่า ปกติแล้วเนี่ย การที่เสียงนั้นๆไม่มีความเป็นตัวตนที่ชัดเจน (lack of definition) ก็เพราะว่ามีความถี่ช่วง 400-800 Hz มากเกินไป ความถี่ช่วงนี้จะทำให้เสียงมีลักษณะ ' boxy ' (แปลเป็นไทยไงดีล่ะคับ เหมือนอัดเสียงในกล่องอ่ะ อืมม..คงแบบอู้อี้ ไม่ค่อยรู้เรื่องมั้งฮะ)ส่วนวิธีการแก้ไขก็ทำดังนี้ครับ (ต้องใช้ EQ แบบ parametric หรือ sweep นะครับ)1.) ให้เราปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ลดลงประมาณ 8-10 dB2.) sweep ความถี่ไปเรื่อยๆ จนถึงที่ๆคุณรู้สึกว่า เสียงมันมี definition มากที่สุด ไม่ boxy เท่าไรแล้ว3.) ทีนี้ปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ของเราตามแต่รสนิยมครับ แต่ให้ระวังว่าถ้าลดมากไปจะทำให้เสียงบางได้4.) ถ้าต้องการความชัดเจนมากอีกหน่อยลองเพิ่มที่ ช่วงความถี่เสียงกลางสูง (upper mids) ประมาณ 1-4kHz เอาแค่ 1-2 dB. ก็พอครับ หรือว่าอยากเพิ่มมากกว่านั้นก็ได้แต่ต้องระวังนิดนึง5.)ถ้าต้องการเพิ่มความแวววาว, ทอประกายให้กับเสียง (sparkle) ลองเพิ่มช่วง 5-10kHz ดูครับ6.)ถ้าต้องการเพิ่ม 'air' ให้รู้สึกโปร่งๆ ก็ลองเพิ่มตรง 10-15kHz ครับNOTE! ควรที่จะปรับลดเสมอถ้าเป็นไปได้ การปรับเพิ่มนั้น จะทำให้ความสัมพันธ์ของ phase เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้เสียงนั้นมีสีสันอันไม่พึงปรารถนาได้ ปกติแล้ว ยิ่ง boost มากเท่าไร phase shift ก็มากตามไปด้วย และการ mix ก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ engineer หลายๆคนใช้ EQ เท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ถ้าเสียงมันดี มันก็ดีนั่นแหละเค้าบอกว่านอกจากการปรับ EQ แบบนั้นแล้ว คุณยังสามารถปรับอีกวิธีได้ด้วย ลองทำดูนะครับ1.) เริ่มจากการปรับ EQ ให้ flat ให้หมด (ปุ่ม boost/cut, gain อยู่ที่ตำแหน่ง 0 หมด) เสร็จแล้วปรับลดเสียงย่านความถี่ต่ำลงให้หมด (หมดเลยนะครับ cut ไป 18-20dB. หรือเท่าที่มันจะมีให้น่ะครับ)2.) ใช้ EQ ส่วนที่เหลือแทน ค่อยๆ ปรับ upper mids (ประมาณ 1-4kHz) จนเสียงมันมีความหนาพอดีๆ3.) จากนั้นก็มาปรับเสียง lower mids (ประมาณ 250-900Hz) ให้เสียงมันครบขึ้น4.) จากนั้นค่อยๆปรับเสียงย่านความถี่ต่ำขึ้นมาครับ (จากที่เราปรับลดไปหมดเลย) ดูให้มันมีความหนักหน่วงพอสมควร แต่ไม่มากไปจนเสียงขุ่นมัว (muddy)5.) เพิ่มความถี่สูงๆ เพื่อให้มันมี definition มากขึ้น Equalizer หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EQ คือการเพิ่มหรือลดความดังของสัญญาณเสียงที่ความถี่ต่างๆ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ นะครับก็อย่างเช่นปุ่มปรับ Treble, Bass บนเครื่องเสียงที่บ้านนั่นแหละ ก็เป็น EQ อย่างนึงที่มีให้ปรับเพิ่ม, ลด เสียงทุ้ม, แหลมแต่ในตัว EQ plug in ที่เราใช้ในโปรแกรมจะสามารถปรับได้ละเอียดลึกลงไปมากกว่านั้นอีกEQ จะมีรูปแบบการทำงานอยู่สองลักษณะคือแบบแรกเป็นการเพิ่มลดความดังที่บริเวณความถี่นั้น (Bell)ถ้าวาดเป็นกราฟ แกน x เป็นความถี่ แกน Y เป็นความดัง ก็จะได้รูประฆังคว่ำ (ถ้าเพิ่ม) หรือระฆังหงาย (ถ้าลด)ส่วนอีกแบบคือแบบ Shelving คือตั้งแต่ความถี่ที่เราเซ็ทเป็นต้นไปจะดังเท่านั้นไปตลอดค่า parameter ต่างๆ ที่มีให้ปรับใน EQ ทั่วๆ ไปก็จะมี :Frequency เลือกความถี่ที่เราต้องการจะปรับGain คือปริมาณที่เราจะเพิ่ม (Boost) หรือลด (Cut) ความดังของเสียงที่ความถี่นั้นๆQ คือค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียงซึ่งค่านี้ก็จะไปเกี่ยวกับ Bandwidth โดย Bandwidth = Frequency / Qตัวอย่างเช่น เราตั้งความถี่ที่จะปรับไว้ที่ 1000 Hz ค่า Q ตั้งไว้ที่ 10ดังนั้น Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 10 = 100 Hzหมายความว่าความถี่ที่มีผลกระทบในการปรับจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 950 Hz ถึง 1050 Hzอีกซักตัวอย่าง.. ถ้าเราเปลี่ยนค่า Q เป็น 1Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 1 = 1000 Hz ความถี่ที่จะถูกปรับก็คือช่วง 500 Hz ถึง 1500 Hzจะเห็นได้ว่าค่า Q ยิ่งมากช่วงความถี่ที่จะถูกปรับก็จะยิ่งแคบ รูประฆังก็จะแคบๆ แหลมๆ เหมาะสำหรับการหาความถี่ที่เฉพาะเจาะจงลงไปและ ถ้าค่า Q น้อย รูประฆังจะออกมาบานๆ กว้างๆ ทำให้ได้เสียงค่อนข้าง smooth เพราะความถี่จะถูกเกลี่ย ไม่มีความถี่ที่โดดขึ้นมาชัดเกินไปEQ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้1. Fixed-Frequency EQ จะแบ่งช่วงความถี่ไว้เป็น high, mid, low ในแต่ละช่วงก็จะมีให้ปรับ Gain และปรับเลือกความถี่ที่อยู่ในช่วงนั้นๆ2. Graphic EQ ก็เป็น fixed-frequency แบบนึง มีลักษณะเป็นสไลด์หลายๆ อันเรียงกัน อย่าง EQ ใน WinAmp นั่นแหละครับ3. Parametric EQ แบบนี้จะสามารถเลือกได้ทั้งความถี่และ bandwidth4. Paragraphic EQ แบบนี้จะรวม Graphic EQ และ Parametric EQ ไว้ด้วยกัน คือจะมีสไลด์เรียงต่อกันเป็นพรืดแบบ Graphic EQและแต่ละสไลด์ก็สามารถเลือกความถี่และ bandwidth ได้อีกด้วยEQ plug-in จากแต่ละค่ายก็จะมีหน้าตาต่างกันไปโดยหลักๆ ก็จะแบ่งออกเป็นหลายๆ band ในแต่ละ band จะให้เราเลือกว่าเป็นแบบ bell หรือ shelveจากนั้นก็ปรับเลือกความถี่ , Gain , ค่า Q ตามต้องการบางตัวอาจจะมีปุ่ม on/off ในแต่ละ band มาให้ด้วยเพื่อความสะดวกถ้าเราจะเปิด/ปิดการใช้งานบาง band ไม่ต้องเสียเวลามาปรับ gain ให้เป็น 0

สเกลหลักของเบส

|0 ความคิดเห็น

สเกลหลักของเบส

Scale มีประโยชน์อย่างไร ?
1. เพื่อให้รู้ว่าสไตล์เพลงนั้นๆ หรือคอร์ดท่อนนั้นๆ มีโน๊ตอะไรประกอบกันบ้าง
2. เพื่อให้สามารถสร้างทางเดินเบสประกอบคอร์ดเพลงได้ หรือ ใช้ใน Improvisation ได้
3. ใช้ฝึกกำลังของนิ้วได้ เป็นแบบฝึกหัดการวอร์มนิ้วมือได้ดีด้วยครับ จะได้ใช้ครบทุกนิ้วเลย




Scales หลักของเบสต่างๆ ที่ควรรูู้้
Major
Major Pentatonic
Minor
Minor Pentatonic
Blues
สเกลแบบ Pentatonic เป็นการลดรูปสเกลเต็ม ให้เลือกเพียง 5 โน๊ตหลัก (ไม่นับโน๊ต Octave หรือคู่แปด) ทำให้สะดวกเวลาที่คุณจะเดินเร็วๆ หรือ โซโล่ หรือใช้ในการ Slap แบบแตกสเกล



คราวนี้ก็มาฝึกนิ้วกับสเกลบ้างนะครับ จะได้แม่นทั้งสเกล ตำแหน่ง และได้กำลังนิ้ว (ใช้นิ้วก้อยบ่อยๆ ตอนฝึกก็ยิ่งดีครับ) หรือถ้าซ้อมจนคล่องกันแล้ว (หรือเบื่อแล้ว ) ก็สลับโน๊ตกลับไปกลับมาในสเกลก็ได้นะครับ เผื่อได้ลูกโซโล่ใหม่ๆ สไตล์คุณขึ้นมา
แบบฝึกหัดการเดิน Scales แบบครบทั้ง 4 เส้น
Major
Major Pentatonic
Minor
Minor Pentatonic
Blues


การปรับ EQ เสียงกลองและเบส

|0 ความคิดเห็น

การปรับ EQ เสียงกลองและเบส

การอีคิวเสียงกลอง กับ เบส คร่าว ๆ กลอง bass drum, snare, toms ... ใช้ compressor หรือ gate หมดยกเว้น crash กับ ride จะใช้ limiter แทน เพราะหาก compress อันนี้แล้วเสียงมันจะออกไม่ธรรมชาติเลย EQ.. Q-1 = 1 1/3 octave, Q-1.4 = 1 octave 50Hz Q=1.4 -เพิ่มให้เสียงมันเต็ม<->ลดหากมันมากเกินไป ใช้กับ bass drum, tom, bass 100Hz Q= 1-1.4 -เพิ่มหากต้องการเสียง bass แบบอัดๆ (กระแทกกระทั้น) 200Hz Q = 1.4 -เพิ่มหากต้องการเสียง snare เต็มๆ ให้เสียงออกตั้กๆ -ตัดออกตรงใช้กับ crash, ride เพื่อเอาเสียงก๊องๆออก (เสียงไม้ตีกระทบฉาบ) 400Hz Q = 1-1.4 -เพิ่มเมื่อต้องการให้ได้ยิน bass ชัดขึ้น -ลดลงหากเสียง bass drum หรือ tom เสียงเหมือนตอนทุบกล่องกระดาษ -ลดลงหากดเสียงฉาบทั้งหลายก้องเกินไป *ระหว่าง 350-400 Hz นี่สำคัญมากสำหรับ bass และ bass drum หากต้วใหนเพิ่มอีกตัวควรลด* 800Hz Q = 1.4 -เพิ่มเมื่อต้องการให้เสียง bass มีลักษณะเพิ่มขึ้น เสียงกลางชัด ๆ1.5KHz Q = 1.4 -เพิ่มหากต้องการเสียง pick หรือนิ้วกระทบสาย bass 2.5 - 3KHz Q = 1.4 -อันนี้เพิ่มเสียงกระเดื่องให้มันออกต๊อกๆ ( เสียงหนังกลอง )3KHz -หากยังกระทบของ bass ไม่พอเพิ่มอีก octave ตรงนี้ (1.5 x 2 ) Q =1.4 -เพิ่มเสียงกระแทกให้ snare Q =1.4 - 2.8. 5KHz Q = 1.4 -หากต้องการเสียงนิ้วกระทบสายมากขึ้นอีกเพิ่มอันนี้ แต่ส่วนมากจะใช้กับ acoustic bass ในเพลง jazz 7KHz Q = 1.4-2.8 -เมื่อไรก็ตามหากต้องการเสียงโลหะ กริ๊งๆ (ฉาบหรือส่วนอื่น) เยอะขึ้นหรือน้อยลงเพิ่มหรือลดอันนี้ 10KHz Q = 1.4 -เพิ่มหรือลดเสียงแสบๆของฉาบ 15KHz Q = 1.4 -เพิ่มหรือลดเสียงแสบๆของฉาบ เสียงอันใหนที่ตัด low freq. ได้ก็ใช้ High pass (Low cut) ตัดมันออกซะเพื่อที่เสียงรวมๆจะใสมากขึ้น เริ่มจากต่ำไปสูง หากไม่แน่ใจว่าตรงใหนก็ใช้ sweep เอาขอขอบคุณ AZUSA สำหรับข้อมูล

วิธีเลือกจุดตัดความถี่ของครอสโอเวอร์

|0 ความคิดเห็น

วิธีเลือกจุดตัดความถี่ของครอสโอเวอร์

ชุดเครื่องเสียง ที่สามารถ ถ่ายทอด  เสียงเพลงที่ สามารถถ่ายทอดความสมจริงและเป็็นธรรมชาติ  ที่จะสะกดผู้ฟังได้ คงจะหนีไม่พัน ระบบเสียงที่มีตู้ลำโพงซับอย่างแน่นอน ในระบบเสียงทุกวันนี้ตู้ซับคือส่วนเติมเต็ม ในช่วงของความมีมิติและบรรยากาศ ของเสียงดนตรีหรือการแสดงดนตรี ชนิดที่ว่าขาดไม่ได้ โดยส่วนใหญ่ตู้ลำโพงซับก็จะออกแบบให้ตอบสนองความถี่ต่ำ คลอบคลุมความถี่ ตั้งแต่20-200hz ซึ่งก็มีอยู่หลายแบบหลายสูตรให้เลือกใช้งาน 
ซึ่งเป็นความถี่ที่เราสามารถเลือกจุดตัด ที่ครอสโอเวอร์เพื่อแบ่งการทำงานระหว่างลำโพง mid hi และซับวูฟเฟอร์ ให้สอดคล้องกันที่สุด หลายคนชอบถาม ว่า ตัดความถี่เท่าไหร่ดี เสียงถึงจะดี หรือบางคนฟันธงว่าตรงนั้นตรงนี้ดี แต่ทำไมเราฟังแล้วมันไม่จุกอก ขออีกนิดหน่อยได้ไหม นานาจิตตัง มาวันนี้ผมจะมาให้แนวคิดกับทุกคนครับหวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการรเลือกจุดตัดความถี่ในการใช้งาน แสดงบนเวทีแบบต่างต่าง และการวางลำโพงซับแบบที่หลายท่านอาจยังไม่เคยเห็น มาดูกันครับ
    ดอกลำโพงซับก็มีให้เลือกอยู่หลายแบบในบ้านเราครับ ตั้งแต่ 10 นิ้ว 15 18 21  นิ้ว แล้วแต่การใช้งานในลักษะต่างต่าง ยิ่งดอกใหญ่ยิ่งลงความถี่ต่ำได้ลึกกว่า แต่ขนาดที่นิยมในระบบเสียงกลางแจ้งก็คือขนาด 18 นิ้ว ส่วนใหญ่ใช้งานทั่วไปจุดตัดความถี่ก็จะอยู่ในช่วง 20-200hz สำหรับการฟังเพลงทั่วไป แล้วแต่สไตล์และความชอบของผู้ควบคุมระบบขณะนั้น 
แต่ในงานแสดงดนตรีสด ที่มีะบบไมค์โครโฟนหลายตัวบนเวทีสำหรับถ่ายทอดเสียงจากเครื่องดนตรีต่างต่าง จะปรับจุดตัดที่100hz ลงไป แต่สำหรับโฮมเธียเตอร์จุดตัด อยู่ ที่80 hz ลงมา เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในการกระจายเสียง กับลำโพง midhi อย่างสมดุล ไม่คลุมคลือ สอดคล้องและมีมิติ 
ในข้างต้น ตู้ลำโพง ดอกลำโพงทุกอย่างมีส่วนในการถ่ายทอดเสียงย่านคามถี่ำต่ำ ปริมาตร การออกแบบ ตัวตู้ต้องแข็งแรงไม่รั่ว ทนต่อแรงอัดภายใน ไม่กระพือ สิ่งต่างต่างเหล่านี้มีผลโดยตรงในการลดค่าเรโซแนนซ์ ที่เกิดจากตัวตู้ ที่จะมาหักล้างทางเฟส กับเสียงจริงที่ออกจากตัวตู้ ไม้จึงเป็นวัสดุที่นิยมมากสำหรับการทำตู้ sub 
ในบ้านเราก็จะนิยมใช้ตู้ sub หลายแบบแต่แบ่งได้เป็น2 แบบหลักหลักเลยคือ แบบหนึ่งตู้มีดอกเดียว และ หลายดอก ในตู้เดียง เป็นความจริงที่ตู้ลาโปพงที่มีหลายดอกในตู้เดียว เสียงเบสจะลงได้ลึกกว่าเดิม ติต่าง ว่าดอกลำโพงแบบเดียว กัน 12 นิ้ว ลงต่ำสุดได้ 40 hz แต่ถ้าดอกแบบเดียวกัน ตู้เดียวที่มีดอก 12นิ้ว 4 ดอกจะลงได้ต่ำกว่าถึง 30 hz อีกทั้งความดังโดยรวม ก็ดังกว่าตามลำดับ
สำหรับขนาดตู้ที่นิยมใช้ในแบบต่างต่าง ก็จะออกแบบให้รองรับการใช้งานได้ ตามลักษะของงานนั้นนั้น
แต่สำหรับผู้เริ่มต้นในงานระบบเสียง pa ก็จะนิยมเลือกใช้ ขนาด18 นิ้วเป็นหลัก ซึ่งเป็นขนาดที่พอเพียงในการกระจายเสียงความถี่ต่ำ ในระบบเสีบงกลางแจ้ง และเหมาะสำหรับการจัดระบบเสียง รองรับช่วงควาถี่ได้กว้าง เสียงใหญ่หนา และมีแรงปะทะ ใช้งานในขนาดงานหรือการแสดง ที่มีผู้คนเป็จำนวนมากได้เป็นอย่างดี 
ในตอนนี้ตู้ซับมีให้เลือกทั้งแบบมีแอมป์ฺและไม่มีแอมป์ในตัว
แบบมีแอมป์ในตัวเรียกว่าแบบแอคทีฟ บางรุ่นก็จะมีทั้งครอสโอเวอร์ เบสบูส แม้กระทั่ง limiter ในตัว ต่อสายสัญญาณ เสียบปลั๊กก็ใช้ได้เลย ตูแบบนี้เหมาะกับงานขนาดกลาง งานในสถานที่ หรือกึ่งสถานที่เช่นหน้าห้าง งานเปิดตัว เล็กเล็ก คาราโอเกะในโรงแรม ตู้พวกนี้ดอกลำโพงด้านในมักเป็นดอก4 โอมห์ และเป็นตู้หน้าเปิดเพราะจะไม่กินวัตต์และสามารถทำซาวด์ได้ง่าย แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในสถานที่เปิดโล่ง คอนเสริท์ที่มีผู้คนจำนวนมาก จะได้ความดังของเสียงที่ไม่พอกับการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบที่มีข้อจำกัดนั่นเอง แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องใช้จำนวนมาก และไม่สบายเงินในกระเป๋าแน่นอน ส่วนแบบที่ไม่แอมป์ในตัว หรือแบบพาสซีฟ  นี้จะนิยมใช้กันมาในงานที่
มีลักษะงานที่อยู่ในที่เปิดโล่ง ลำโพงแบบนี้ครอสโอเวอร์ ภาคขยาย ลิมิเตอร์ จะอยู่ด้านนอกหมด ข้อดีก็คือ ลำโพงแบบนี้ได้เปรียบในส่วนของความดังอย่างล้นเหลือ เมื่อเทียบกับแบบที่มีแอมป์อยู่ในตัว เพราะผู้ใช้สามมารถ กำหนดอัตราการขยายเสียงได้จากกำลังของแอมป์ขยายเสียงที่เเอามาใช้งานร่วมกัน จึงทำให้สามารถทำงานใด้ดีกว่าในสถานที่ที่เปิดโล่งได้อย่างลงตัว แต่ถ้าเป็นตู้เสียงกลางแขวนแบบไลน์อาเรย์ อันนี้ขอยกเว้นนะครับ ตอนนี้ก็จะนิยมแบบ แอคทีฟ หรือมีแอมป์ในตัวเลยเพราะง่ายต่อการติดตั้งและสามารถติดตั้งภาคขยายที่เพียงพอกับการใช้งานในตู้ได้ เนื่องจากลำโพงเล็กกลางแหลมไม่ค่อยกินวัตต์ ชุดภาคขยายก็เลยเล็กตาม ก็ติดตั้งเข้าไปได้สบายครับ
แนวทางการปรับจุด ตัดความถี่ ของตู้ซับ ให้สอดคล้องสเมือนจริง กับ ตู้ กลาง และแหลม มีผลต่อคุณภาพเสียงที่ออกมา มีแนวทางในการพิจราณา ประกอบด้วย สถานที่ ตำแหน่งระยะความดเหลื่อมของระนาบ ระหว่างตู้เบสและตู้กลางแหลม ความชัดเจน ความดังของเสียง ขนาดงาน ความเหมาะสมของระดับเสียงของงานนั้นนั้น ความสามารถของการตอบสนองความถี่ อาการและความคงทนของดอกลำโพง จำนวนตู้ที่จะต้ิองใช้ให้พอดีกับงานจัดเซ็ตไปไม่ให่ตู้ลำโพงทำงานหนักเกินไป โดยใช้จำนวนตู้ที่ มากหน่อยเผื่อไว้
จุดตัดความถี่ ที่เหมาะสมขึ้นอยูกับลักษะการใช้งาน ระหว่างลำโพงซับและกลางแหลม เมื่อใช้งานร่วมกันแล้วทั้งระบบสามารถ ตอบสนองทุกย่านความถี่เสียงได้ครบ ตั้งแต่ต่ำถึงสูง อย่างครบถ้วนไม่มีช่วงความถี่ที่ล้นออกมา เสียงต้องครบเสียง สมดุล และเป็นกลางที่สุด ครบถ้วนตามธรรมชาติ เสียงจะมาจากแหล่งใดก็ตามเสียงที่ขยายออกลำโพงจะต้องเหมือนเสียงจริง จะแตกต่างได้ก็คือความดังเท่านั้นเพราะเสียงจากแหล่งกำเนิดถูกขยายสู่ลำโพง ต้องไม่โด่งในบางความถี่ การปรัจุดตัดคือการกำหนดค่าการทำงานระหว่างลำโพง ซับวูฟเฟอร์ และลำโพงเสียงกลางแหลม การกำหนดค่าเริ่มต้น ของจุดตัดแบ่งความถี่ให้ดูได้จาก สเป็คของตู้ลำโพงกลางแหลม ที่มากับตัวตู้ สมมุติว่าลำโพงกลางแหลมนี้สามารถตอบสนองความถี่ที่ 12k-80้hz ก็ใช้ค่าตอบสนองความถี่ต่ำสุดของลำโพงกลางแหลมเป็นค่าเริ่มต้น 
ตำแหน่งตรง 80 hz ลงไปคือช่วงการทำงานของตู้ซับวูฟเฟอร์ เลยจาก 80 hz -12k อันนี้คือช่วงที่ลำโพงกลางแหลมจะทำงาน ส่วนตู้เสียงกลางที่ประกอบเองหรือไม่ทราบสเป็คที่แน่ชัดก็ใช้ค่าจุดตัดตรงนี้เป็นค่าเริ่มต้นได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ ดอกลำโพงเสียงกลางก็สามารถลงได้ต่ำถึง 80 hz ได้อยู่แล้วไม่ต้องกังวลครับผู้ใช้ก็สามารถ ปรับเปลี่ยนจุดตัดขึ้นลงได้นิดหน่อย แต่ในงานแสดงดนตรีสดถ้าเป็นไปได้แนะนำจุดตัดให้อยู่ ระหว่าง 80hz ไม่เกิน 100hz นะครับ ถ้าจุดตัดเกิน นี้ จะเกิด การทับซ้อนการทำงานของลำโพงชุดกลางแหลมและลำโพง ซัฟวูฟเฟอร์ ทำให้เกิดเสียงโด่งในช่วงความถี่ที่ทับซ้อน หรือ อาการที่เรียกว่า คัลเลอร์ หรือการล่วงล้ำขอบเขตการทำงานของตู้ กลางแหลม ความถี่ที่เป็จุดตัดแบ่งการทำงานควรให้อยู่ระหว่าง 80hz บวกได้นิดหน่อย ตรงนี้ใช้หูฟังตามความเหมาะสมและดูได้จาก การเดินฟังสังเกตุ และลงมือทำซาวด์ไมค์ ที่ใช้จับเสียง ของเครื่องดนตรีแต่ละช่องดูถ้ามีอาการ คัลเลอร์ หรือล้นบางความถี่ อยู่ก็อาจปรับลดจุดตัดนิดหนึ่ง แต่ถ้าเสียงออกบางไปก็บวกได้นิดหน่อย ตามสถานที่ตำแหน่งการวาง และสภาวะแวดล้อมขณะนั้น
ถ้าจุดตัดความถี่สูงไป จะเห็นอาการของไมค์โครโฟนที่ใช้จ่อเครื่องดนตรีบนเวที ความถี่ทับซ้อนนี้ จะทำให้สภาพแลดล้อมทางเสียง ล้น บนเวทีการแสดง จะเป็นปัญหาที่จะทำให้ระบบไมค์บนเวที่ หอนระนาว นักร้องไม่ได้ยิน
โมนิเตอร์ ทำให้การปรับแต่งซาวด์ที่ใช้ไมค์จ่อเครื่องดนตรีชิ้นต่างต่างได้ยากจนต้องเอาบางความถี่ที่ต้องการออกจากแชแนบมิกนั้นนั้นและจะทำให้สภาเสียงที่ออกมาไม่สมจริง 
หลายคนอาจมองว่า การตัดความถี่ที 80 hz ฟังเเล้วเหมือนเสียงมันไม่พุ่ง ตัด ร้อยกว่า มัน แน่นดี จุกอก ว่างั้น สำหรับการปรับจุดตัดที่ 120-140 นั้นในการใช้งานถ้าเป็นงานแบบคาราโอเกะ อิเลคโทน งานรถแห่ หรือเปิดเพลงที่ได้ทำการบันทึกมาเรียบร้อยแล้ว หรืองานที่ไม่มีไมค์โครโฟนเข้ามาเกียวข้องมากนักอันนี้ทำได้ครับ แต่งานแสดงสดไม้ได้ครับเพราะมันจะเกิดการ ambain บนเวที ตรงความถี่ที่ทับซ้อนเข้ามากวนระบบไมค์บนเวที อธิบายง่ายง่ายคือซาวด์บนเวทีเบสจะลันมากจนไมค์หอนเนื่องจากต้องใช้ไมค์หลายตัวในการแสดงสด
  ฝากนิดหนึ่งครับอย่ามองข้าม จงให้ความสำคัญกับแอมป์ที่เอามาขับเสียงกลางด้วยนะครับ
 เพราะทุกวันนี้แอมป์ขับเสียงกลางแหลมก็ทำงานหนักไม่แพ้เบสเลย ยิ่งปรับจุดตัดที่80hz 
เพราะต้องขับทั้งทวีตเตอร์
และลำโพงเสียงกลางอีกกรณีเล่นสองทางยิ่งหนักไปใหญ่ ถ้า สามทางก็ดีมาหน่อย
 ตรงนี้ควรเน้นมามากเลยนะครับ อีกทั้งถ้าแอมป์กลางแหลมไม่พอเสียงมันจะฟ้องให้เห็นชัดเลยครับเสียงมันจะออกบี้บี้ปลายแผ่ว หน้าลำโพงไม่นิ่ง ส่วนเบสถ้าไม่พอยังออกคลุมเครือ พอถูไถได้
เวลาปรับจุดตัดที่ ร้อยกว่า กับ ปรับที่ แปดสิบ เวลาอยู่หน้าตู้ เหมือนว่า ตัดที่ ร้อยกว่าดังดีแน่น กว่าปรับที่แปดสิบ จริง แล้ว ความจริงคือ ความถี่ที่ 80 hz จะมีช่วงความถี่ที่ มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่า ถ้าวัดระยะก็ ประมาณ 4.3 เมตร ดังนั้นเวลาอยู่หน้าตู้เสียงเลยเหมือนไม่ออก แต่เวลาปรับจุดตัดที่ 120-140 หน้าตู้แน่น แถมฟุ้งออกข้างเป็นของแถมเนื่องจากความแตกต่างของ ความยาวคลื่นนความถี่นั่นเอง มันเลยพังหน้าตู้แล้วดังดี หรือบางคนมีต้องตัดร้อยกว่าเพราะแอมป์ขับเสียงกลางขับออกมาไม่อิ่มเสียงพร่า เลยจำเป็นตัองปรับจุดตัดค่อนข้างสูงให้เสียงกลางแหลมทำงานน้อยลง เพื่อแก้ปัญหา เสริมอีกนิดครับ ถ้้าตัดที่ 80้hz ก็จะมีส่วนช่วยให้เสียงเบส ที่จะเข้ามากวนระบบไมค์ มอนิเตอร์ และการแสดง บนเวที น้อยลง ความยาวของคลื่นควาถี่นี้ เสียงเบสจะ ออกห่างเลยเวทีไปอีกตามกฏของความยาวคลื่น และเป็นความจริงที่คัทตรง 80hz เสียงจะเดินทางได้ไกลกว่าแน่นอน เสียงเคลีย์กว่า ถ้าแอมป์ขับเสียงกลางแรงเหลือเหลือจุดตัดตรงนี้มิดเบสจะดีมากและมีความเป็นดนตรีกว่า น่าฟังกว่า สมาชิกจะหลงไหลในรสชาติของความครบถ้วนของดนตรี ได้ยินเนื้อร้องชัดกว่าเก่า จัดซาวด์ได้ง่ายกว่า ซาวด์กระเดื่องจะเคลีย์กว่า ทำให้มีช่องว่างให้ได้ยินเสียงกีตาร์เบส กับกระเดื่องไปด้วยกันตามตัวโน๊ตอย่างชัดเจน คนฟังก็สบายหูครับ แน่นอน เพราะในอากาศมีช่องว่าให้แตละความถี่ไปได้อย่างราบรื่นตามหน้าที่ของลำโพงแต่ละเสียงไม่ทับซ้อนแย่งกันดังในบางความถี่ ตัดที่80Hz ยืนห่างหน้าตู้หน่อยแล้วลองฟังดูครับ เสียงมันจะดีเมื่อยืนห่างตู้หน่อยหนึ่ง เพราะค่าความยาวคลื่นที่ได้บอกไปข้างต้น ง่ายง่ายยกตัวอย่างเหมือนตู้ดับบริวไง หน้าตู้ไม่เท่าไหร่ ออกห่างหน่อยกลับดี ลองดูครับ การปรับจุดตัดตรงนี้ทั้งนี้ทั้งนั้น สำคัญที่สุดคือรูปแบบของงาน ถ้าเน้นดัง งานแห่ ยกใส่รถเปิดเพลง ตัดจุดตัดสูงได้ครับ เน้นแน่นหน้ารถ เต้นกระจาย อารมณ์แบบกระแทก ดูความพอใจของผู้จ้างงาน และ ตำแหน่งของคนฟัง อีกทั้งบริมาณอัตราส่วนจำนวนตู้ ของลำโพงกลางแหลม กับลำโพงซับ และขนาด ของดอกลำโพงเสียงกลาง ทั้งนี้ทั้งนั้นการฟังเสียงที่ถูกต้องคือผู้ที่สนใจต้องมีประสบการณ์จากการที่เคยได้ยินเสียงที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจัดระบบเสียงที่ถูกต้อง และสามารถ เข้าใจในความต้องการของศิลปิน 
สื่อสารด้วยหลักความถูกต้อง อย่าหลงไหลในเสียงใดเสียงหนึ่ง อย่าเน้นดัง ครับเสียง เน้นชัด ถ้าซาวด์เป็นระเบียบ  ดังชัดเจน ไม่ต้องเปิดดังก็สนุกครับ ฟังได้นาน แต่ถ้าเสียงที่ออกมาล้น เกินไม่ป็นธรรมชาติ  ยิ่งเร่งยิ่งมั่วครับ ที่สำคัญปัจจัยทุกอย่างต้องทำให้เราปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น ถ้ามีปัญหาควรแก้ไขหรือตกลงกันก่อนด้วยเหตุผลก่อนที่งานจะเริ่มครับ