วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีแกน GANN THEORY

|0 ความคิดเห็น

ดัชนีแสดงปริมาณการซื้อขายสะสม CUMULATIVE VOLUME (CV)

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีแสดงปริมาณการซื้อขายสะสม CUMULATIVE VOLUME (CV)

เนื่องจากดัชนีปริมาณหุ้นสะสม (OBV) ไม่สามารถอธิบายแนวโน้มตลาดได้ละเอียดเพียงพอ และอาจจะไม่ตรงกับสภาพตลาดจริง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น CUMULATIVE VOLUME (CV) จึงถูกพัฒนาขึ้นมา โดยการให้น้ำหนัก (WEIGHT) ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาจากวันก่อน และปริมาณซื้อขายในวันนั้น ๆ โดยให้ราคาปิดของวันนั้น เป็นเกณฑ์วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาปิดวันก่อน ค่า CV ก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นมากน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของราคา คูณด้วย VOLUME ถ้าราคาปิดต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน ค่า CV ก็จะมีค่าลดลงมากน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของราคาคูณด้วย VOLUME
 CV = ((Closet - Closet-1) *Volumet) + CVt-1
ถ้าค่า CV มีค่าเพิ่มขึ้น แสดงว่า มีผู้ซื้อเก็บมากกว่าที่จะขายออก เมื่อมีแรงซื้อสะสมหุ้นมากขึ้น ราคาจะมีแนวโน้มเป็นบวก แต่ถ้าค่า CV มีค่าลดลง แสดงว่ามีการกระจายหุ้นออกไป หรือมีแรงขายมากนั่นเอง เมื่อนำค่า CV ที่ได้ในแต่ละวันมาแสดงเป็นกราฟเส้นในแผนภูมิ จะได้เส้นแนวโน้มหรือทิศทางของราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์โดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ OBV

ดัชนีแสดงความสมดุลของปริมาณการซื้อขายโดยเฉลี่ย AVERAGE BALANCE VOLUME (ABV)

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีแสดงความสมดุลของปริมาณการซื้อขายโดยเฉลี่ย AVERAGE BALANCE VOLUME (ABV)

ดัชนีแสดงความสมดุลของปริมาณการซื้อขายโดยเฉลี่ย (ABV) เป็น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของเส้นดัชนีปริมาณหุ้นสะสม และระยะเวลาที่นำมาหาเส้นค่าเฉลี่ยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เป็นผู้กำหนด แต่ที่นิยมคือ เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน, 25 วัน, 75 วัน และ 200 วัน ถ้าเส้น ABV หักหัวขึ้น แสดงว่า ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะขึ้น ในทางกลับกันถ้าเส้น ABV หักหัวลง แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะลง

ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม ON BALANCE VOLUME (OBV)

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม ON BALANCE VOLUME (OBV)

ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย AVERAGE DIRECTIONAL INDEX

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย AVERAGE DIRECTIONAL INDEX

ดัชนีการแกว่งตัวของทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา DIRECTIONAL OSCILLATOR

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีการแกว่งตัวของทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา DIRECTIONAL OSCILLATOR

เป็นการดัดแปลงจากเส้น +DI และ -DI ให้เหลือเพียงเส้นดัชนีเพียงเส้นเดียว (DO) โดยการแกว่งตัวของเส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ในแนวระดับเส้นศูนย์ เส้นดัชนีนี้เกิดจากการที่เรานำค่า -DI หักออกจากค่า +DI โดยที่
?? ? ถ้า +DI มีค่ามากกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแก่วงตัวอยู่เหนือระดับเส้นศูนย์

?? ? ถ้า -DI มีค่าน้อยกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ใต้ระดับเส้นศูนย์
DIRECTIONAL OSCILLATOR (DO) จะให้สัญญาณซื้อขายเหมือนกับ DI ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะเลือกใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เราถนัดตามต้องการ
หลักการวิเคราะห์
สัญญาณซื้อ เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ขึ้นไปเป็นค่าบวก

สัญญาณขาย เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ลงไปเป็นค่าลบ

แผนภูมิแบบแท่ง BAR CHART

|0 ความคิดเห็น

แผนภูมิแบบแท่ง BAR CHART

เป็นตัวแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคาของหุ้น ที่มีลักษณะเป็นแท่งในแนวดิ่ง ที่ประกอบไปด้วยราคาสูงสุด ต่ำสุด ราคาเปิด และราคาปิด แผนภูมิแบบแท่งสามารถให้เห็นถึงความต้องการซื้อ (DEMAND) และความต้องการขาย (SUPPLY) ที่เกิดขึ้นจากการสังเกตที่ราคา ถ้าปิดค่อนข้างไปทางสูงของแท่งราคา แสดงว่าวันนั้นมีความต้องการซื้อมาก แต่ถ้าราคาปิดค่อนข้างไปทางต่ำของแท่งราคา แสดงว่าวันนั้นมีความต้องการขายมาก
 เมื่อเราสังเกตราคาจากแผนภูมิแบบแท่งในอดีต ทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า ราคาหุ้นตัวนี้จะมีแนวโน้มไปทางไหน
 การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) จากแผนภูมิแท่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
 รูปแบบของราคาที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางใหม่ (REVERSAL TREND)
 รูปแบบของราคาที่บอกถึงทิศทางต่อเนื่อง (CONTINUATION TREND)
 รูปแบบของราคาที่จะไปได้ทางใดทางหนึ่ง (SIDEWAYS PATTERN)

เครื่องตรวจจับ หุ้นเข้าข่าย การปั่นหุ้น ด้วยTurnover List

|0 ความคิดเห็น

ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค

|0 ความคิดเห็น
ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค

หากคุณเชื่อว่า

- หากคุณเชื่อในกฎของอุปสงค์อุปทาน   Demand and Supply
- หากคุณเชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่มักซื้อด้วยอารมณ์เพราะความต้องการซื้อ มากกว่าการซื้อด้วยเหตุผลเพราะราคาถูก
- หากคุณเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีวงจรชีวิตหรือวัฏจักร
- หากคุณเชื่อว่าในตลาดมักมีคนรู้ข้อมูลภายในก่อนคนอื่นเสมอ
- หากคุณต้องการเพิ่มมุมมอง สำหรับการตัดสินใจในการลงทุน
- หากคุณไม่รู้ว่า P/E และ P/B เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูก หรือแพง เพราะในอดีตจะเห็นว่า ค่า Price to Earning ของหุ้นแต่ละตัว ตลาดหุ้นแต่ละตลาด ยังมิได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ หรือมึค่าเท่ากันทุกตลาดเลย
ซึ่งสรุปได้ว่า ณ ช่วงเวลาต่างกันในหุ้นตัวเดียวกัน มูลค่ายังมิเท่ากัน เหตุเพราะความต้องการไม่เท่ากันต่างหากที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากเรากำหนดสิ่งต่างๆ ว่าถูกหรือแพง โดยการใช้ค่า Price to earning หรือ Price to Book value เพียงอย่างเดียวนั้นคงจะไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราเงินเฟ้อ หรือราคาน้ำมัน คงจะคงที่เหมือนกันหมด

 คนซื้อหุ้นเพราะเกิดจาก อารมณ์ และความคาดหวังว่า หุ้นตัวนั้นดี ราคาไม่แพง หรือน่าที่จะทำกำไรได้ เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการบอกถึงอารมณ์ของคนที่ ซื้อขายหุ้นตัวนั้นเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มไปในทิศทางใด 
 … เหตุเพราะ
- ราคาหุ้นเป็นผลรวมที่สะท้อน ถึงการทราบข่าวสารต่างๆไว้หมดแล้ว
- ราคาเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้ม
- พฤติกรรมในอดีต หรือประวัติศาสตร์มักจะเกิดซ้ำรอย

- ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ไม่จำเป็นต้องติดตามข่าว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะสะท้อนออกมาทางราคาหรือกราฟอยู่แล้ว
- สามารถหยุดขาดทุนหรือเลือกที่จะขายทำกำไรได้ จากกราฟ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง
- ย่นระยะเวลาในการศึกษาในหุ้นแต่ละตัว และทำให้วิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้มากขึ้น
- สามารถมองเห็นพฤติกรรมของหุ้น ที่จะขึ้นลงได้ก่อนที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงพบ
- สามารถ เก็งกำไร และเลือกลงทุนในระยะสั้น หรือระยะยาวได้

โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS

|0 ความคิดเห็น

โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS

BOLLINGER BANDS เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจาก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (MOVING AVERAGE ENVELOPES) โดยนาย จอห์น โบลินเจอร์ (JOHN BOLLINGER) เนื่องจากเขาได้ศึกษาแนวคิดของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ แล้วพบว่าแนวคิดนี้มีจุดอ่อนคือ
1.  ในสถานะภาพของตลาดที่แตกต่างกัน ควรใช้ช่วงห่างของช่องการซื้อขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน

2.  ช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ ฯลฯ ควรใช้ระยะห่างของช่องการซื้อ ขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน แม้จะใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อติดตามลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา และสถานะ ณ จุดนั้น ๆ
 BOLLINGER BANDS มีลักษณะคล้ายกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ ที่ประกอบไปด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) เส้นกรอบบน (UPPER BAND) และเส้นกรอบล่าง (LOWER BAND)
 BOLLINGER BANDS เป็นกรอบการซื้อขายที่มีระยะห่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งเท่ากับ 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (STANDARD DEVIATION) แล้วเขียนเส้นคู่ไปกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งด้านบน และด้านล่าง เมื่อมีการเคลื่อนที่ของหุ้นอย่างรุนแรง ช่องการซื้อขายจะขยายตัวห่างออกจากกัน แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวของราคาน้อย ช่องการซื้อขายจะบีบตัวแคบลง
 จอห์น ได้ทดลองใช้ช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ 5 วัน จนถึง 200 วันในการเขียนเส้น BOLLINGER BANDS ทำให้เขาทราบว่าการใช้จำนวนวันที่น้อยกว่า 10 วัน นั้นไม่ดีเท่าที่ควรและเขาเห็นว่าการใช้ 20 วันในการคำนวณนั้นดีที่สุด ส่วนช่วงเวลาที่มากกว่า 50 วัน เหมาะสำหรับระยะยาว
 ปกติการเขียนรูป BOLLINGER BANDS จะคู่ไปกับราคาหุ้น หรือเครื่องมือทางเทคนิคที่ต้องการวิเคราะห์อื่น ๆ และเนื่องจากช่องว่างระหว่าง BOLLINGER BANDS จะขึ้นอยู่กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาหุ้น ดังนั้น BOLLINGER BANDS จะกว้างขึ้น ถ้าราคาหุ้นมีการเหวี่ยงตัวรุนแรง และแคบลงในกรณีซบเซา หรือ SIDEWAYS
BOLLINGER BANDS ใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้นได้ดังนี้
1.  ถ้ามีจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นนอกช่องการซื้อขาย แล้วตามด้วยจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นภายในช่องการซื้อขาย แสดงถึงการเกิดโอกาสกลับตัวของแนวโน้มจากลงมาเป็นขึ้น (เป็นสัญญาณให้ซื้อ) ในทางกลับกัน ถ้ามีจุดสูงสุดที่เกิดขึ้นนอกช่องการซื้อขาย แล้วตามด้วยจุดสูงสุดที่เกิดขึ้นภายในช่องการซื้อขาย แสดงถึงการเกิดโอกาสกลับตัวของแนวโน้มจากขึ้นมาเป็นลง (เป็นสัญญาณให้ขาย)

2.  ราคาที่เพิ่มขึ้นจนถึงเส้นกรอบบน แล้วปรับตัวลงมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ (เส้นกลาง) แสดงว่าแนวโน้มราคาเปลี่ยนเป็นลง (เป็นสัญญาณให้ขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจน ชนเส้นกรอบล่าง แล้วปรับตัวสูงขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ (เส้นกลาง) แสดงว่าแนวโน้มราคาเปลี่ยนเป็นขึ้น (เป็นสัญญาณให้ซื้อ)

โมเมนตัม MOMEMTUM

|0 ความคิดเห็น

โมเมนตัม MOMEMTUM

โมเมนตัมเป็นเครื่องมือ OSCILLATOR ที่นิยมใช้ในระยะสั้นอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้วัดการแกว่งตัวของราคา และเนื่องจากเป็นเครื่องมือระยะสั้น จึงเป็นเครื่องมือที่มักจะสวนทางกับแนวโน้มของราคา (COUNTER TREND) โดยจะนำมาใช้ดูสภาพในช่วงสั้น ของตลาดว่าขณะนั้นอยู่ในภาวะซื้อมากจนเกินไป (OVERBOUGHT) หรือ ขายมากจนเกินไป (OVERSOLD)
สูตรของโมเมนตัม
MOMENTUM = P  Pn
P = ราคาปิดปัจจุบัน

Pn = ราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา
 หลังจากที่ได้ค่าความแตกต่างของราคา ที่กำหนดช่วงต่างของเวลาไว้แน่นอนแล้ว นำค่าที่ได้มาทำเป็นเส้นกราฟ จะได้เส้นกราฟที่มีเส้นกึ่งกลาง (เส้นศูนย์) และจะมีส่วนที่เป็นค่าบวกและค่าลบ รูปแบบเครื่องมือโมเมนตัมจะมีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหว ขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยช่วงบนจะเป็นการบอกภาวะซื้อมากจนเกินไป และช่วงล่างจะเป็นการบอกภาวะ ขายมากจนเกินไป

 ปกติถ้าใช้ช่วงเลาสั้น ๆ เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงเร็วขึ้น แต่ถ้าใช้ช่วงเวลาที่ยาวขึ้น เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงช้ากว้า ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมีข้อสังเกตว่า
เนื่องจากหุ้นบางประเภทมีการซื้อขายสม่ำเสมอ และระดับราคามีการเหวี่ยงตัวไม่มากนัก เช่นหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนสูง หรือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้ภาพชัดเจน และสามารถอ่านทิศทางได้ง่าย หุ้นประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โมเมนตัม แต่สำหรับหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยในตลาดหลักทรัพย์ไทยหุ้นประเภทนี้ มักจะเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำ จะเหมาะกับการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือโมเมนตั้ม เนื่องจากจะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนกว่า
ประโยชน์ของเครื่องมือโมเมนตั้ม

1. ใช้สำหรับการลงทุนในช่วงสั้น สามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณ เตือนว่า ในช่วงระยะเวลานั้น ราคาหุ้นได้ดีขึ้นมาจนถึงที่สุดแล้ว และน่าจะมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิค โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีระดับสูงสุดของโมเมนตัมต่างกัน
2. สามารถนำมาใช้กับสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทาง (TRENDLESS) หรือในสภาพตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ที่เป็นไปใน ลักษณะแนวนอน (SIDEWAYS)
3. นำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของตลาดที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น พละกำลัง ใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยังโดยสัญญาณเตือน จะแสดงออกมาในรูปของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ของราคาหุ้นกับเส้นโมเมนตัม โดยเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน
การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม
การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม เป็นการดูอัตราเร่งของการเคลื่อนตัวสูงขึ้น หรือการลดต่ำลงของราคาหุ้น เนื่องจากเครื่องมือนี้ เป็นเครื่องมือที่วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยมีเส้นกึ่งกลาง (CENTER LINE) เป็น จุดบอก เส้นกึ่งกลางนี้จะเป็นเส้น ZERO LINE
ถ้าราคากำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่เส้นโมเมนตั้มก็อยู่เหนือเส้นกึ่งกลาง และกำลังมีทิศทางสูงขึ้นเช่นกัน จะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าราคากำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการชี้ว่าทิศทางราคาหุ้นจะพุ่งสูงขึ้นต่อไปได้

ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนที่ในแนวราบที่ระดับ 0 แสดงว่าราคาปิดล่าสุดไม่มีความแตกต่างจากราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา และบอกถึงแนวโน้มราคาที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ (SIDEWAYS) และเมื่อเส้นโมเมนตั้มอ่อนตัวลง แม้ราคาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม จะเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาที่สูงขึ้นนั้นกำลังจะหมดแรง
ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นกึ่งกลาง แสดงว่าราคากำลังตกลงเรื่อย ๆ โดยมีแนวโน้มลง (DOWNTREND)

ข้อสังเกตที่สำคัญมากสำหรับการวิเคราะห์โมเมนตั้ม คือ เครื่องมือนี้เป็นการวัดราคาที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนดให้ เช่น เส้นโมเมนตั้ม 10 วัน จะเป็นการดูราคาปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาใน 10 วันก่อน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วันที่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ราคาปิด
100
102
107
108
106
107
104
108
109
108
วันที่
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
ราคาปิด
110
115
116
114
112
110
111
113
111
108
ผลต่าง(10 วัน)
10
13
9
6
6
3
7
5
2
0

เมื่อพิจารณาจากตารางแสดงราคาปิดและคิดค่าโมเมนตั้ม 10 วัน จะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 12 กับวันที่ 2 มากกว่าผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 11 กับวันที่ 1 แสดงว่าเส้นโมเมนตั้มมีแนวโน้มสูงขึ้น และจะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 15 กับวันที่ 5 มีค่าเท่ากับผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 14 กับวันที่ 4 แสดงว่าเส้นโมเมนตั้มจะเคลื่อนที่ในแนวราบ และถ้าพิจารณาต่อไปจะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 18 กับวันที่ 8 มีค่าน้อยกว่าผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 17 กับวันที่ 7 ซึ่งแสดงว่าเส้นโมเมนตั้มจะมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าราคาจริงอาจจะยังมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม ดังนั้น เส้นโมเมนตั้มจะเป็นตัวชี้นำแนวโน้มของราคาล่วงหน้าอย่างน้อยก้าวหนึ่ง ก่อนที่ราคาจริงจะเริ่มเปลี่ยนทิศทาง
ความสำคัญของเส้นกึ่งกลาง (CENTER LINE)
นักวิเคราะห์มักจะใช้เส้นกึ่งกลางในการพิจารณาถึงสัญญาณซื้อ-ขาย โดยถ้าเส้นโมเมนตั้ม ทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไป จะเป็นการแสดงสัญญาณซื้อ ในขณะเดียวกันถ้าเส้นโมเมนตั้มทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางลงมาจะเป็นการแสดงสัญญาณขาย เนื่องจากเส้นกึ่งกลางจะบอกถึง พละกำลัง ของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
พละกำลัง สามารถบอกถึงแนวโน้มของตลาดต่อไปคือ ในแนวโน้มขาขึ้นเส้นกึ่งกลางจะเป็นฐานรองรับ ถ้าตลาดมีการปรับตัวลงทางเทคนิคในแนวโน้มขาลง เส้นกึ่งกลางจะเป็นแนวต้านในกรณีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิค ดังนั้นการทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นหรือลง จึงมีความสำคัญในแง่ของการปรับทิศทางของตลาด เพราะเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม (TREND) ของตลาด

ความสำคัญของการแยกทางออกจากกัน (DIVERGENCE) ของราคากับเส้นโมเมนตั้ม
การแยกทางกันระหว่างราคากับเส้นโมเมนตั้มโดยเส้นทั้ง 2 เคลื่อนตัวออกจากกันไปคนละทิศทาง ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่สุดของการอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม เนื่องจากนำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนทิศทางของตลาดหรือราคาหุ้น
BEARISH DIVERGENCE คือการที่แนวโน้มของระดับราคามีการเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลงจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาของหุ้นเพิ่มสูงขึ้น แต่เส้นโมเมนตั้มไม่สามารถเคลื่อนตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับราคาเป็นสัญญาณเตือนว่า ตลาดอาจจะมีการปรับตัวในไม่ช้า

BULLISH DIVERGENCE คือการที่แนวโน้มของระดับราคามีการเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น เกิดขึ้นในกรณีที่ราคาของหุ้นลดต่ำลง แต่เส้นโมเมนตั้มไม่เคลื่อนตัวต่ำลงสอดคล้องกับราคาเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดอาจจะมีการปรับตัวขึ้นในไม่ช้า
MOVING AVERAGE MOMENTUM
MOVING AVERAGE MOMENTUM คล้ายกับเครื่องมือโมเมนตั้มธรรมดา แต่เรานำความแตกต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มาทำกราฟแทนราคาปิด ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวมีความราบเรียบกว่า (SMOOTHED VERSION)
สูตร MOVING AVERAGE MOMENTUM
 MOVING AVERAGE MOMENTUM = MA - MAn
MA = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนปัจจุบัน

MAn = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เมื่อ n วันที่ผ่านมา
การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM
การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM มีลักษณะคล้ายกับการอ่านความหมายจากเครื่องมือโมเมนตั้ม โดยถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไปเป็นการแสดงสัญญาณซื้อ และถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นนึ่งกลางลงมา ก็เป็นการแสดงสัญญาณขาย โดยเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM จะให้สัญญาณที่ช้ากว่าเครื่องมือโมเมนตั้ม แต่สัญญาณหลอกจะเกิดขึ้นน้อยกว่า เนื่องจากเส้นมีความราบเรียบขึ้น

ดัชนีการแกว่งตัวของการสะสม และการระบายหุ้น ACCUMMULATION/DISTRIBUTION OSCILLATOR (ADO)

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีการแกว่งตัวของการสะสม และการระบายหุ้น ACCUMMULATION/DISTRIBUTION OSCILLATOR (ADO)

ADO เป็นเครื่องมือวัดความแกว่งของราคาหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการวัดว่าในขณะใดขณะหนึ่งมีการสะสม หรือกระจายหลักทรัพย์ออกมามากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่นในการตัดสินใจซื้อหรือขายได้อย่างทันท่วงที
หลักในการคำนวณ
 A/D OSCILLATOR มีสูตรที่ใช้ในการคำนวณดังนี้
 ADO = (BP - SP) / (2* (HIGH-LOW)) *100
ADO = Accumulation / Distribution Oscillator

Bp = แรงซื้อ = ราคาสูงสุด - ราคาเปิด ณ วันปัจจุบัน
P = แรงขาย = ราคาปิด - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน
HIGH = ราคาสูงสุด
LOW = ราคาต่ำสุด
หลักการวิเคราะห์
 รูปแบบของกราฟจะมีลักษณะเป็นแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 0 - 100 หลักการวิเคราะห์แยกเป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ใช้ดูประกอบกับดัชนีฯ หรือราคาหลักทรัพย์
 กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของเส้น ADO สามารถเตือนได้ว่า ดัชนีฯ หรือราคาหลักทรัพย์กำลังจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม เช่น เมื่อเส้นดัชนีฯ หรือราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ แต่เส้น ADO กลับไม่สามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ต่ำตามซึ่งลักษณะเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม (DIVERGENCE)

แบบที่ 1
 เส้นดัชนีฯ หรือราคาสามารถทำยอดสูงที่ B ซึ่งสูงกว่า A จึงเป็นยอดสูงใหม่ แต่เส้น ADO ในเวลาเดียวกันทำยอดสูง b แต่ต่ำกว่ายอดสูงกว่าที่ a ซึ่งเมื่อเกิดรูปแบบเช่นนี้ จะบอกว่าในไม่ช้า เส้นดัชนีฯ หรือราคาจะปรับตัวลง แต่เนื่องจากการเกิด DIVERGENCE เช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าราคาจะปรับตัวเองทัน ดังนั้นเราจึงควรทยอยขาย

แบบที่ 2
 เส้นดัชนีฯ หรือราคาสามารถทำยอดต่ำที่ Y ที่ต่ำกว่ายอดต่ำเก่าที่ X จึงเป็นยอดต่ำใหม่ แต่เส้น ADO ไม่สามารถทำยอดต่ำใหม่ตามได้ในเวลาเดียวกัน ทำยอดต่ำ y ซึ่งสูงกว่ายอดต่ำเก่าที่ x ที่เป็นการบอกว่าในไม่ช้าเส้นดัชนีฯ หรือราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงควรทยอยซื้อ
กรณีใช้ดูทิศทางจากตัวของ ADO เองจะแบ่งได้ดังนี้
 ถ้า ADO มีค่าสูงขึ้น แสดงว่ามีการสะสมหุ้นเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ราคาสูงขึ้นไปได้ และสามารถเป็นสัญญาณบอกให้ซื้อได้อีกด้วย ในกรณีทำยอดสูงใหม่สูงกว่า หรือใกล้เคียงยอดเดิม หรือในกรณีที่ตัดเส้นแกนกลาง (50) ขึ้นไป และหากเส้น ADO มีค่าถึงระดับ 100 แล้ว ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้จึงควรขายไปก่อน เพราะถือว่าได้มีการสะสมหุ้นมามากพอสมควรแล้ว
 ถ้า ADO มีค่าลดลง แสดงว่ามีการกระจายหุ้น หรือแจกจ่ายหุ้นเกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือมีการขายหุ้นออกมานั้นเอง ดังนั้นจึงเป็นสัญญาณบอกให้ขายได้ รวมถึงเส้น ADO ตัดเส้นแกนกลาง (50) ลงมา หรือทำฐานต่ำใหม่ต่ำกว่าฐานเดิม ก็เป็นสัญญาณบอกให้ขายได้ และหากเส้น ADO ลงมาถึงระดับ 0 ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะได้มีการกระจายหุ้นกันออกมา จนระดับราคาลดต่ำลง จึงน่าเข้าไปซื้อขณะที่เส้น ADO อยู่ที่ระดับ 0 นี้

แผนภูมิแบบแท่ง BAR CHART

|0 ความคิดเห็น

แผนภูมิแบบแท่ง BAR CHART

ดัชนีการแกว่งตัว OSCILLATOR

|0 ความคิดเห็น

ดัชนีการแกว่งตัว OSCILLATOR

ปกติในภาวะที่ตลาดอยู่ในแนวโน้มขึ้นหรือลงอย่างชัดเจนนั้น เครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคต่าง ๆ เช่น เส้นแนวโน้ม (TREND LINE), เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ก็พอจะช่วยให้เราวิเคราะห์แนวโน้ม หรือทิศทางของตลาด หรือราคาของหลักทรัพย์แต่ละตัวได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะที่ตลาดหรือราคาของหลักทรัพย์เป็นไปแบบเรียบ ๆ หรือเหวี่ยงตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ เครื่องมือทางเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะชี้ทิศทางได้ไม่แน่นอนนัก จึงมีเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ได้ดีขณะตลาดหรือหุ้นเหวี่ยงตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ (SIDEWAYS) เพราะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างค่อนข้างใกล้ชิด และมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากขึ้นกว่าเดิม เรียกว่า OSCILLATOR (อ็อดซิเลเตอร์)
 OSCILLATOR นั้น ยังแบ่งแยกออกเป็นอีกหลาย ๆ แบบ ตามความเหมาะสมว่าแต่ละรูปแบบนั้นเหมาะสม หรือสมควรจะใช้ในลักษณะใด แต่รูปแบบที่นำเสนอในที่นี้เป็นเพียงบางรูปแบบของ OSCILLATOR ที่คิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้นไทยได้ดีพอสมควร

ดัชนีการแกว่งของปริมาณการซื้อขายสะสม VOLUME ACCUMULATION OSCILLATOR (VAO)

|0 ความคิดเห็น
ดัชนีการแกว่งของปริมาณการซื้อขายสะสม VOLUME ACCUMULATION OSCILLATOR (VAO)

เส้น VAO เกิดจากการนำค่า VOLUME ACCUMULATION (VA) มาสร้างเป็น OSCILLATOR (ดัชนีการแกว่งตัว) โดยค่า VA เป็นการให้น้ำหนัก (WEIGHT) ต่อราคาและปริมาณซื้อขายในช่วงวันนั้น ๆ ว่ามีน้ำหนักค่อนไปในทางใด โดยให้ราคาเฉลี่ย (ราคากลาง) ของวันนั้น เป็นเกณฑ์วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาเฉลี่ย ค่า VA จะมีค่าเป็นบวกตามอัตราส่วนของราคาปิดต่อราคาเฉลี่ย ถ้าราคาปิดต่ำกว่าราคาเฉลี่ย ค่า VA จะมีค่าเป็นลบตามอัตราส่วนของราคาปิดต่อราคาเฉลี่ย และถ้าหากราคาปิดเท่ากับราคาสูงสุด ปริมาณการซื้อขายของวันนั้นจะมีค่าเป็นบวกทั้งหมด แต่ถ้าราคาปิดเท่ากับราคาต่ำสุดปริมาณการซื้อขายของวันนั้นจะมีค่าเป็นลบทั้งหมด
วิธีการสร้างเส้น VAO เกิดจากการสร้างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน และ 10 วันจากค่า VA จากนั้นก็นำส่วนต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน และ 10 วัน มาสร้างเป็นเส้น (LINE) หรือแท่ง (HISTOGRAM) โดยมีเส้น 0 เป็นแกนกลาง
โดย VA และ VAO มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
 

VA =( (CLOSE-LOW)-(HIGH-CLOSE) *VOLUME)/( HIGH-LOW)
VAOn = MA3 (VA)-MA10 (VA)

หลักการวิเคราะห์
 ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 วัน ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันขึ้นส่วนต่างนั้นจะเปลี่ยนจากค่าลบเป็นค่าบวก และเส้น VAO จะตัดเส้น 0 ขึ้น ซึ่งหมายถึงสัญญาณให้ซื้อ แต่ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยที่ 3 วัน ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันลง ส่วนต่างนั้นจะเปลี่ยนจากค่าบวกเป็นค่าลบ และเส้น VAO จะตัดเส้น 0 ลง ซึ่งหมายถึงสัญญาณให้ขาย
 สัญญาณซื้อขายที่เกิดจาก VAO นี้จะต้องสอดคล้องกับแนวโน้มของราคาด้วย

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE

|0 ความคิดเห็น
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีจะให้สัญญาณซื้อขายที่ถูกต้อง ชัดเจน ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เครื่องมือที่เหมาะสำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้น - ปานกลาง (4-6 อาทิตย์) ที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงกว้าง ๆ คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง - แยกทาง (MACD)
MACD เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่สร้างขึ้น และพัฒนาโดย GERALD APPEL ในปี ค.ศ.1979 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับราคา (TREND FOLLOWING) สามารถใช้วัดระดับ (DEGREE) ตลาดว่าเป็นตลาด BULL หรือตลาด BEAR
วิธีการคำนวณ
เส้น MACD สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า
การให้สัญญาณซื้อขายที่นิยมวิธีหนึ่งของ MACD คือ การใช้สัญญาณ (SIGNAL LINE) ตัดกับเส้น MACD
MACD =  EMA (12 DAYS) - EMA (25 DAYS)

SIGNAL LINE =  EMA 9 DAYS OF MACD
EMA  =  EXPONENTIAL MOVING AVERAGE
เส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) จะเหวี่ยงตัวอยู่บนกราฟที่มี SCALE 0 เป็นค่าแกนกลาง

หลักการวิเคราะห์
1.  ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขึ้นระยะกลาง

2.  ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มลงระยะกลาง
3.  ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL)
4.  ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลง เป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL)
5.  ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
6.  ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
7.  ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
8.  ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับฐานเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น
9.  ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นบวก แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BULL
10. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นลบ แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BEAR
ข้อสังเกต

เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบ MACD นี้ อาจมีข้อจำกัดสำหรับตลาดหุ้นไทย ในความเป็นจริง คือ MACD มักจะให้สัญญาณซื้อขายค่อนข้างช้า ดังนั้น จึงควรนำเอาเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้สำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้นมาประกอบพิจารณาในการซื้อขายด้วย เช่น STOCHASTIC และ MOMENTUM เป็นต้น
การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ
การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับดัชนีราคา (DIVERGENCE)
DIVERENCE คือ การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับราคาหุ้นมี 2 ลักษณะคือ
1. NEGATIVE DIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวลงสวนทางกับการสูงขึ้นของดัชนีราคา เป็นการเตือนว่าราคาหุ้นอาจมีการปรับตัวลง

2. POSITIVE DIVERGENCE จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการลดลงของดัชนีราคา เป็นการบอกว่าการลดลงของราคาหุ้นใกล้สิ้นสุด
เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงสุด ผู้ลงทุนควรจะรอจนกว่าจะเห็นรูปแบบ NEGATIVE หรือ POSITIVE DIVERGENCE เสียก่อน และควรใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ มาประกอบด้วย MACD OSCILLATOR (MACDO)
MACD OSCILLATOR (MACDO)
MACD OSCILLATOR คือ การเปลี่ยนเส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ให้เป็นเส้นดัชนีเส้นเดียวที่เคลื่อนไหวอยู่รอบเส้นศูนย์
วิธีการคำนวณ

MACD OSCILLATOR = MACD - SIGNAL LINE
หลักการวิเคราะห์

คือ ถ้า MACD OSCILLATOR ตัดเส้นศูนย์ขึ้นเป็นสัญญาณซื้อ และตัดเส้นศูนย์ลงเป็นสัญญาณขาย
MACD OSCILLATOR ให้สัญญาณเหมือนกับ MACD ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบแบบใด

การประยุกต์ใช้ A/D LINE โดยการนำเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์

|0 ความคิดเห็น
การประยุกต์ใช้ A/D LINE โดยการนำเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ A/D LINE สามารถใช้บอกแนวรับ (SUPPORT) และแนวต้าน (RESISTANCE) ได้เช่นเดียวกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของดัชนีตลาดฯ และในบางครั้ง จะให้สัญญาณเตือนที่เร็วกว่าด้วย
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์แต่ละท่าน แต่ที่นิยมใช้ในตลาดหุ้นไทย คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน 25 วัน 75 วัน และ 200 วัน ของ A/D LINE ซึ่งมีลักษณะเหมือนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของดัชนีตลาดฯ
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ดังกล่าวข้างต้นนี้เอง ที่ถือเป็นแนวรับและแนวต้านสำหรับเส้น A/D LINE โดยกรณีที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งอยู่เหนือ A/D LINE ณ ระดับนั้นถือเป็นแนวต้าน และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดอยู่ใต้ A/D LINE ณ ระดับนั้นก็ถือเป็นแนวรับ
ส่วนกรณีสัญญาณที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น สัญญาณในทางบวก (POSITIVE) โดยเกิดเมื่อ A/D LINE เคลื่อนที่ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งขึ้นไป และสัญญาณในทางลบ (NEGATIVE) ที่เกิดจาก A/D LINE เคลื่อนที่ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นใดเส้นหนึ่งลงมา
หมายเหตุ สัญญาณบวกหรือลบที่เกิดมาจาก A/D LINE นี้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าสัญญาณซื้อและขายของดัชนีตลาดฯ และสัญญาณเหล่านี้เมื่อเกิดจะถือเป็นตัวสนับสนุนการขึ้นหรือลงของดัชนีฯ (กรณี A/D LINE มีทิศทางเดียวกับดัชนีฯ) หรือถ่วงการขึ้นหรือลงของดัชนีฯ (กรณี A/D LINE มีทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนีฯ)
ความหมายเมื่อ A/D LINE ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นหรือลง
กรณี สัญญาณ

 A/D LINE ตัด SMA 10 ลง ระยะสั้นเริ่มไม่ดี
 A/D LINE ตัด SMA 25 ลง ระยะสั้นถึงกลางเริ่มไม่ดี
 A/D LINE ตัด SMA 75 ลง ระยะกลางเริ่มไม่ดี
 A/D LINE ตัด SMA 200 ลง ระยะยาวเริ่มไม่ดี
 A/D LINE ตัด SMA 10 ขึ้น ระยะสั้นเริ่มดี
 A/D LINE ตัด SMA 25 ขึ้น ระยะสั้นถึงกลางเริ่มดี
 A/D LINE ตัด SMA 75 ขึ้น ระยะกลางเริ่มดี
 A/D LINE ตัด SMA 200 ขึ้น ระยะยาวเริ่มดี

การคาดคะเนเป้าหมาย

|0 ความคิดเห็น
การคาดคะเนเป้าหมาย
การคาดคะเนเป้าหมายมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการที่จะหาว่าราคาจะสามารถวิ่งขึ้นไปได้ถึงไหน และลงไปได้ถึงเท่าไร ทำให้สามารถจับจังหวะในการซื้อและขายได้อย่างถูกต้อง
 การคาดคะเนเป้าหมายนิยมใช้กฎอยู่ 3 ข้อ ด้วยกัน คือ

 กฎ 20 X
 กฎ 50 %
 กฎการวัดการเคลื่อนที่ (Measure Move)
กฎ 20 X
กล่าวคือกฎนี้นี้จะบอกว่าหากราคาสูงต่อเนื่องกันขึ้นมาตั้งแต่ 20 X ขึ้นไปแล้ว มักจะมีการปรับตัวลงของราคา

กฎ 50 %
 กฎ 50% (บางครั้งนิยมใช้กฎ 30% หรือ 1 ใน 3 มาหาแนวรับเบื้องต้นก่อน) กล่าวคือเมื่อราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปจนสูงสุด และเริ่มตกลง หากเราไม่สามารถหาแนวรับที่ชัดเจนได้เราอาจคาดคะเนได้ว่าราคาจะตกลงมาประมาณ 50% ของราคาที่ขึ้นไป

กฎวัดการเคลื่อนที่ (Measure Move)
 กล่าวคือหากราคาขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้วตกลงมาถึงจุดต่ำสุดจุดหนึ่ง แล้วเริ่มตีกลับสูงขึ้นไปจนสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม ราคาอาจสามารถไปต่อได้เท่ากับระยะทางที่วิ่งขึ้นมาในช่วงแรก

 หมายเหตุ : กฎทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถนำไปคาดคะเนเป้าหมายในกรณีหุ้นขาลงได้ในทำนองเดียวกัน เช่น กฎ 20 O เปรียบได้กับ กฎ 20 X เป็นต้น

THE RIGHT-ANGLE TRIANGLE

|0 ความคิดเห็น

THE RIGHT-ANGLE TRIANGLE

เป็นรูปแบบที่น่าเชื่อถือกว่า SYMMETRICAL TRIANGLE มี 2 รูปแบบ คือ
ASCENDING TRIANGLE
 เป็นรูปสามเหลี่ยมที่สร้างจากเส้นที่ลากต่อกันระหว่างจุดยอดกับจุดยอดในแนวราบ และเส้นที่ลากระหว่างฐานกับฐานจะเอียงขึ้น เมื่อราคาหุ้นวิ่งทะลุผ่านเส้นแนวต้านทางด้านบนขึ้นได้ จะเป็นสัญญาณให้ซื้อ แต่ถ้าทะลุเส้นแนวรับลงมาข้างล่าง จะไม่มีความหมายสำหรับการวิเคราะห์
 DESCENDING Triangle
 เป็นรูปสามเหลี่ยมที่สร้างจากเส้นที่ลากต่อกันระหว่างจุดยอดกับจุดยอด ในลักษณะเอียงลง และเส้นลากระหว่างฐานกับฐาน จะเป็นไปในแนวราบ เมื่อราคาหุ้นวิ่งทะลุผ่านเส้นแนวรับลงมาทางด้านล่างได้ จะเป็นสัญญาณให้ขาย แต่ถ้าทะลุเส้นแนวต้านขึ้นไป จะไม่มีความหมายสำหรับการวิเคราะห์

SPEED LINES

|0 ความคิดเห็น
SPEED LINES
เป็นเทคนิคที่ประกอบด้วย TRENDLINES (เส้นแนวโน้ม) กับ PERCENTAGE RETRACEMENT (การย้อนกลับของราคา ณ ระดับเปอร์เซนต์ต่าง ๆ) เทคนิคนี้พัฒนาโดย DESON GOULD OF ANAMETRICS ซึ่งเป็นการนำความคิดในเรื่องของการแบ่งแนวโน้มออกเป็น 3 ส่วนมาประยุกต์ใช้ โดย SPEED LINES มีความแตกต่างจาก PERCENTAGE RETRACEMENT ที่ SPEED LINES เป็นการวัดอัตราการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของแนวโน้ม (อัตราเร่งของแนวโน้ม)

หลักการสร้าง? SPEED LINES

BULLISH SPEED LINES เริ่มจากหาจุดต่ำสุดและสูงสุดของแนวโน้มขึ้น แล้วลากเส้นตั้งฉากจากจุดยอดมายังฐาน โดยเส้นตั้งฉากนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน SPEED LINES จะเริ่มลากจากจุดต่ำสุดผ่านระดับ 1/3 และ 2/3 ของเส้นตั้งฉากตามลำดับ
BEARISH SPEED LINES วิธีการสร้างเส้น SPEED LINES จะตรงกันข้ามกับ BULLISH โดยเริ่มจากหาจุดสูงสุดและต่ำสุดของแนวโน้มลง แล้วลากเส้นตั้งฉากจากจุดต่ำสุดมายังยอด โดยเส้นตั้งฉากนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน SPEED LINES จะเริ่มลากจากจุดสูงสุดผ่านระดับ 1/3 และ 2/3 ของเส้นตั้งฉากตามลำดับ
หลักการวิเคราะห์

ทฤษฎีของ SPEED LINES จะคล้ายกับ 33% และ 66%? RETRACEMENT

ในแนวโน้มขึ้น การปรับตัวลงของราคา โดยปกติหยุดลงที่ SPEED LINES เส้นบน (2/3) แต่หากว่าราคายังคงตกต่ำกว่าเส้นบน แนวรับต่อไปจะอยู่ที่? SPEED LINES เส้นล่าง (1/3) หากราคาตกทะลุแนวรับนี้ลงไป ราคาจะมีโอกาสตกต่อเนื่องกลับไปสู่ระดับเริ่มต้นของแนวโน้มขึ้นที่ผ่านมา

ในแนวโน้มลง หากว่าราคาสามารถดีดตัวขึ้นทะลุ ?? SPEED LINES เส้นล่าง (2/3) จะเป็นการแสดงถึงโอกาสที่ราคาอาจสามารถวิ่งขึ้นต่อไปยัง SPEED LINES เส้นบน และหากราคาทะลุผ่านแนวต้านนี้ขึ้นไป ราคาจะมีโอกาสขึ้นต่อเนื่องไปสู่ระดับเริ่มต้นของแนวโน้มลงที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับเส้นแนวโน้มโดยทั่วไป แนวรับของ SPEED LINES จะเปลี่ยนเป็นแนวต้านหลังจากราคามีการทะลุผ่านแนวรับนั้นลงไปและในทางตรงกันข้าม แนวต้านของ SPEED LINES จะเปลี่ยนเป็นแนวรับหลังจาก ราคามีการทะลุผ่านแนวต้านนั้นขึ้นมา เช่นในแนวโน้มขึ้น หากราคาทะลุผ่าน SPEED LINES เส้นบน (2/3) ลงมาแล้วไปพบกับแนวรับที่ SPEED LINES เส้นล่าง (1/3) เราถือว่า SPEED LINES เส้นบน (2/3) จะเปลี่ยนเป็น แนวต้าน หลังจากนั้นถ้าราคาสามารถทะลุผ่านแนวต้านนี้ขึ้นไปได้ ราคาอาจมีโอกาสสูงขึ้นกว่ายอดสูงสุดเดิม

หลักการนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแนวโน้มลงได้เช่นกัน

สัญญาณซื้อ

   เกิดเมื่อราคาทะลุผ่าน SPEED LINES ที่เป็นแนวต้านขึ้นไป

   เกิดเมื่อราคาตกมาพบ SPEED LINES ที่เป็นแนวรับแล้วดีดตัวกลับ
 

 สัญญาณขาย

   เกิดเมื่อราคาทะลุผ่าน SPEED LINES ที่เป็นแนวรับลงไป

   เกิดเมื่อราคาวิ่งขึ้นมาพบ SPEED LINES ที่เป็นแนวต้านแล้วปรับตัวลง







HIGH/LOW OSCILLATOR (HLO)

|0 ความคิดเห็น
HIGH/LOW OSCILLATOR (HLO)HLO เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูถึงความสัมพันธ์ของราคาสูงสุด ณ วันปัจจุบันกับราคาปิดในอดีต โดยนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนตามผลรวมของช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อใช้ดูความเปลี่ยนแปลงของราคาในปัจจุบัน
หลักในการคำนวณ
HLO มีสูตรในการคำนวณดังนี้

HLO   =   HIGH - CLOSE t-1 *100
                                  MAX (A, B, C)
MAX (A,B,C) = ราคาที่มีค่ามากที่สุดเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
A = ราคาสูงสุดวันปัจจุบัน - ราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วัน
B = ราคาสูงสุด - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน
C = ราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วัน - ราคาต่ำสุด ณ วันปัจจุบัน
หลักการวิเคราะห์
รูปแบบของกราฟจะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง -100 ถึง +100 โดยจะมีค่า 0 เป็นค่ากลาง เพื่อใช้วัดความแตกต่างของราคาสูงสุด ณ วันปัจจุบันกับราคาปิดในอดีตย้อนหลัง 1 วันว่ามีความแตกต่างเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร (ค่าที่อกมาจะคิดความเปลี่ยนแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์) โดยมี

หลักการวิเคราะห์ดังนี้
1. ถ้าเส้นกราฟราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเส้นกราฟในอดีตแสดงให้เห็นว่าราคาได้มีการเลปี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในทางบวก ยิ่งเพิ่มสูงมากเท่าใดยิ่งชี้ให้เห็นว่าราคามีแนวโน้มที่ดี แต่ถ้ากราฟขึ้นมาอยู่ในระดับ +100 แสดงว่าราคาได้เปลี่ยนแปลงขึ้นมามากแล้ว อาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ในช่วงต่อ จึงเป็นสัญญาณให้ขาย
2. ถ้าเส้นกราฟราคาลดลงต่ำกว่าเส้นกราฟราคาในอดีต แสดงให้เห็นว่าราคาได้มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ยิ่งลดลงมากเท่าใดยิ่งชี้ให้เห็นว่าราคาเริ่มมีแนวโน้มที่ไม่ดี ควรขายออกไปก่อน และถ้ากราฟตกมาจนถึงระดับ -100 แสดงว่าราคาได้เปลี่ยนแปลงลดลงมามากแล้ว อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงต่อไปจึงเป็นสัญญาณให้ซื้อได้
3. ถ้าเส้นกราฟราคาตัดเส้นแกน 0 ขึ้นหรือลงก็อาจบอกได้ว่าเป็นสัญญาณให้ซื้อหรือขาย กล่าวคือ ถ้ากราฟตัดเส้น 0 ขึ้นก็เป็นสัญญาณให้ซื้อ และถ้ากราฟตัดเส้น 0 ลงมาก็เป็นสัญญาณให้ขาย

เครื่องมือ OSCILLATOR ดังกล่าวข้างต้น ล้วนอาจก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษพอ ๆ กัน ดังนั้น วิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและโทษน้อยที่สุดคือ จงมองเครื่องมือเหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ไม่โน้มเอียง เข้าข้างตัวเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียหายได้ และการใช้เครื่องมือมากตัวเข้ามาประกอบกัน ยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นผลดีในการกลั่น กรอง เช่น การนำเครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มต่าง ๆ อันได้แก่ MOVING AVERAGE, TREND LINE เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องมากที่สุดต่อตัวนักลงทุนเอง

HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE (HMA)

|0 ความคิดเห็น
HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE (HMA)HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE เป็นวิธีที่ปรับใช้ตัวแปรสำหรับถ่วงน้ำหนักให้กับข้อมูลราคา โดยมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์แบบ SPECTRAL ANALYSIS หรือวิธี HAMMING การเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบ HAMMING จะให้ผลที่ถูกต้องต่อข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวแบบวัฏจักร (CYCLE) ดีกว่าวิธีหาเส้นค่าเฉลี่ยแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของราคาที่ผิดปกติ และให้ความถูกต้องในการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มได้ดีกว่า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้ค่าเฉลี่ยโดยวิธีนี้กับการเฉลี่ยแบบอื่น ๆ จะพบว่าวิธี HAMMING AVERAGE นี้อาจช่วยหาสัญญาณซื้อขายได้ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด HMA 10, 25 และ 75 วัน

Forex คืออะไร

|0 ความคิดเห็น
Forex คืออะไรForex ย่อมาจาก Foreign Exchange บางครั้งเรียกย่อว่า FX คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
Forex Market หรือ ตลาด Forexเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าการซื้อขายมากกว่า US$ 2trillion (2 ล้านล้านดอลลาร์) ต่อวัน เป็นตลาดการเงินที่มีสภาพคล่องสูงมาก ตลาดเปิดทำการซื้อขาย 24 ชั่วโมง ตลอดวันทำการโดยหยุดการซื้อขาย แค่วัน เสาร์-อาทิตย์เท่านั้นการซื้อขายใน ตลาด Forexเป็นการซื้อขายค่าเงิน โดยซื้อเงินสกุลหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ขายเงินอีกสกุลหนึ่งออกไป หรือเป็นการจับคู่แลกเปลี่ยนซื้อขายค่าสกุลเงินนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เงินสกุลยูโร/ดอลลาร์สหรัฐฯ(EUR/USD) หรือ เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น (USD/JPY) เป็นต้น

ค่าเงินสกุลต่างๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายในตลาด Forex ที่สำคัญ มีดังนี้

Symbolชื่อสกุลเงิน ชื่อเรียก ประเทศตลาด เปิด-ปิด
USDดอลลาร์Buckสหรัฐอเมริกา19.00-03.00
EURยูโรFiberสหภาพยุโรป13.00-21.00
JPYเยนYenญี่ปุ่น06.00-14.00
GBPปอนด์Cableอังกฤษ14.00-22.00
CHFฟรังซ์Swissyสวิสเซอร์แลนด์13.00-21.00
CADดอลลาร์Loonieแคนาดา19.00-03.00
AUDดอลลาร์Aussieออสเตรเลีย05.00-12.00
NZDดอลลาร์Kiwiนิวซีแลนด์-

การที่เราจะซื้อขายใน ตลาด Forex จะต้องเปิดบัญชีกับ Forex Brokerเป็นโบรกเกอร์ทางอินเตอร์เน็ต เราสามารถเทรดออนไลน์ได้ ตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ถึง คืนวันศุกร์ สำหรับมือใหม่ ยังไม่เคยเทรดเลยแนะนำลองเปิดบัญชีของ Marketiva ดูครับ มีเงินปลอมให้เล่น $20000 (เบิกเป็นเงินจริงไม่ได้ เอาไว้ฝึกเทรด) และมีเงินจริงให้ฟรีอีก $5 ดอลลาร์ หรือ โบรกเกอร์ที่แนะนำ คลิกที่นี่
ตารางเวลาเปิด-ปิดตลาด ของแต่ละโซน (ค่าเงิน)
ตลาดของแต่ละโซนจะเปิด-ปิด คาบเกี่ยวกันตลอดทั้งวัน ทำให้เราสามารถเทรดได้24 ช.ม. แต่ช่วงที่เหมาะแก่การเทรดคือช่วง ตลาดยูโร (EUR) เปิด ถึงหลังตลาดอเมริกา (USD) เปิด 4-5 ชม. คือแถบสีแดงด้านบน ประมาณเวลา 13.00 -24.00 ตามเวลาไทย ปกติจะเป็นช่วงที่ตลาดผันผวนราคามีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าช่วงอื่น
การลงทุนคือความเสี่ยง ยิ่งผลตอบแทนเยอะความเสี่ยง ก็ยิ่งเยอะตามไปด้วย จึงควรศึกษาให้เข้าใจก่อน การลงทุนครับ

1.ศึกษากราฟ รูปแบบราคา อินดิเคเตอร์ เพื่อหาแนวโน้มของราคาและสัญญาณในการเข้าเทรด การหาจังหวะปิดเพื่อทำกำไร เหล่านี้สามารถหาศึกษาได้ตามเว็บต่างๆ ตามลิงค์ด้านขวามือครับ
2. ศึกษาหลักการบริหารเงินในบัญชี และบริหารความเสี่ยง
3. ขยันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอครับ
การเล่นหุ้นในมาร์เก็ตติวา

ก็คือการเก็งกำไรจากค่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั่นเอง เช่นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันนี้ เวลา 08.00 น. ระหว่าง ดอลลาร์/เยนญี่ปุ่น อยู่ที่ = 116.34 (สมมุติ) จากนั้นอีก 3 ชั่วโมงถัดไป ค่ามันอาจเปลี่ยนไปที่ =116.54 และจากนั้นอีก 1 ช.ม. ค่ามันลดลงมาอยู่ที่ 116.14 เห็นมั๊ยครับ ว่าเราจะได้กำไรหรือขาดทุนกันจากตรงใหน ถ้ายังงงๆอยู่ก็ค่อยๆอ่านต่อไปแล้วคุณจะเข้าใจ
การสร้างกำไรจาก Marketiva
1.กำไรจากการเข้าซื้อ (Buy) เมื่อกราฟในค่าเงินมันพุ่งขึ้น นั่นคือ ถ้าคุณเข้าซื้อไว้แล้วหลังจากนั้นกราฟมันยิ่งพุ่งสูงขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้กำไรมากขึ้น ( แต่กลับกัน ถ้ากราฟมันพุ่งลง คุณก็ขาดทุน)
2. กำไรจากการขายออก ( Sell ) เมื่อกราฟในค่าเงินมันพุ่งลง นั่นคือ ถ้าคุณเข้าซื้อไว้แล้วหลังจากนั้นกราฟมันยิ่งพุ่งต่ำลงเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้กำไรมากขึ้น ( แต่กลับกัน ถ้ากราฟมันพุ่งสูงขึ้น คุณก็ขาดทุน)

แค่นี้เองหลักในการเล่นไม่มีอะไรมากมายเลย  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องรู้ว่ามันจะขึ้นหรือว่ามันจะลง เท่านี้เองครับ  และแน่นอนในโลกนี้ถ้าทุกคนรู้กันหมดก็คงไม่มีใครจน ที่สำคัญคือ การคาดการณ์ล่วงหน้าที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด และแน่นอนครับ เพียงคุณติดตามทุกการเคลื่อนไหวจากเรา คุณจะได้รับข้อมูลที่ดีที่สุดแน่นอน และสำหรับในกระดานสนทนา ของโปรแกรมซื้อขายหุ้น (Streamster) ก็ยังมีห้องสนทนาของคนไทย คือห้อง Thailand ไว้ให้คุณปรึกษาข้อมูลได้ตลอดเวลา หรือถ้าคุณมีภาษาอังกฤษที่ดีก็สามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการเล่นได้เลยที่ห้องนานาชาติ คือห้อง Forex ซึ่งจะรวมเอานักเล่นหุ้นจากทั่วโลกมาไว้ที่ห้องนี้ สำหรับแนวทางการเล่นในแต่ละวันคุณสามารถเข้าไปชมได้ที่
ซึ่งข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดจะเป็นข้อมูลนี้ได้คัดเลือกและวิเคราะห์แล้วว่าควรนำเสนอออกมา จึงจะออกสู่สายตาของทุกท่าน ซึ่งจากข้อมูลที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเข้าเป้า 80-90 % เลยทีเดียว และโปรดจำไว้ว่า ไม่มีใครในโลกนี้ ที่จะบอกคุณได้แน่นอนว่ามันจะเป็นไปอย่างไร  ท้ายที่สุดคือทุกอย่างอยู่ที่การหาข้อมูลและเหตุผล + การตัดสินใจขั้นสุดท้ายของคุณ
การเล่น Marketiva นั้น
ก่อนอื่นเปิดโปรแกรม Streamster ขึ้นมา Log in เข้าไปให้เรียบร้อย จากนั้นมองมาที่ฝั่งซ้ายมือ จะเจอเมนู Forex Rates ปกติมันจะเปิดขึ้นเองอยู่แล้ว ถ้าไม่มีแสดงว่าอยู่หัวข้ออื่น ให้คุณคลิกที่เมนูนี้ จะพบกับตัวเลขต่างๆ สีเขียวสีแดงสีดำ วูบๆวาบๆ นั่นหละอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินในขณะนั้นๆ ตัวหลักๆ ที่ให้จับตาดูคือ
1.EUR/USD เป็นอัตราซื้อขายค่าเงินระหว่าง ยูโร กับ ดอลลาร์สหรัฐ
2.EUR/JPY เป็นอัตราซื้อขายค่าเงินระหว่าง ยูโร กับ เยนญี่ปุ่น
3.USD/JPY เป็นอัตราซื้อขายค่าเงินระหว่าง ดอลลาร์สหรัฐ กับ เยนญี่ปุ่น

ส่วนตัวอื่นๆ ก็ค่อยๆศึกษากันไป เช่น ดอลลาร์ออสเตเรีย,เงินฟรังซ์,เงินหยวน ,มีหมดแหละครับ และถ้ามือใหม่ยังไม่แนะนำครับบอกตรงๆ มันผันผวนสูง เสี่ยงมากๆ
จากนั้นก็เหลือบมองไปทางฝั่งขวาของจอภาพ ก็จะเจอกับกราฟต่างๆ ในหัวข้อ Charting ซึ่งปกติจะขึ้นหัวข้อโชว์ไว้ 4 กราฟ ถ้าคุณกำลังสนใจอัตราแลกเปลี่ยนตัวใหนก็คลิกที่หัวข้อนี้ไปทีละ Charting จนกว่าจะพบตัวที่คุณต้องการ
แต่ถ้าคลิกจนครบ 4 ชาท แล้วยังไม่เจอก็เปิดขึ้นมาชาร์ทใดชาร์ทหนึ่ง แล้วคลิกขวาเข้าไปตรงที่ว่างๆ กลางชาร์ทนั้นๆ
จากนั้นจะพบกับเมนูย่อยต่างๆ ให้คลิกที่ Instrument แล้วมองหาอัตราแลกเปลี่ยนที่คุณต้องการ อยากให้กราฟโชว์ตัวใหนก็คลิกเอาเลยครับ แต่ละชาร์ท คุณสามารถทำวิธีเดียวกันนี้เพื่อให้หลากหลาย พออยากดูตัวไหนก็ไปคลิกที่หัวข้อ Charting นั้นๆ ได้ทันที

ต่อไปเป็นการทำเงินแล้ว
1.การซื้อ Buy หรือเราเรียกอีกอย่างว่า การเล่นแบบ Long
เป็นการเล่นเมื่อคุณคิดว่ากราฟของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตัวนั้นๆ มันจะพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิม เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเล่นตัวนี้หละ สมมุติว่า USD/JPY ละกัน ให้คุณไปคลิกตรงช่องอัตราแลกเปลี่ยนของ USD/JPY ที่ตัวเลขที่มันปรากฎอยู่ตรงช่อง Offer จากนั้นจะมี

ตารางสี่เหลี่ยมขึ้นมาให้กรอก
- Instrument = หน่วยเงินตราที่คุณซื้อขาย
- Price = ราคาที่คุณตกลงซื้อ
- Duration = เวลาตอนนั้น
- Quantity = จำนวนเงินที่คุณจะใช้ซื้อ /ขาย ( มีหน่วยเป็นเซ็นต์ ถ้าลง 1 เหรียญ ต้อง

กรอก 100 ลง 10 เหรียญ
กรอก 1000 ลง 100 เหรียญ กรอก 10000 เป็นต้น )
- Desk = เลือกว่าจะเล่นเงินจริง หรือเงินปลอม ( Live Trading = เงินจริง ,Virtual Trading=เงินปลอม )
- Exit Stop Loss = จุดที่คุณยอมขาดทุนได้สูงสุด (เช่น ตอนนี้มันอยู่ที่ 116.00 คุณคาดว่ามันจะขึ้นไป 116.35 แต่ถ้ามันเกิดพุ่งลงคุณจะให้มันหยุดที่ใหน ปกติเราจะตั้งไว้ที่ 35  50 จุด ในที่นี้ก็เอาสัก 40 จุด คุณก็ต้องกรอกตัวเลขที่ 115.60 หมายถึงคุณจะให้ขาดทุนได้ไม่เกิน 40 จุดเท่านั้นเอง เป็นการป้องกันการขาดทุนมากเกินความจำเป็น )
- Buy/Sell = เป็นชนิดว่าคุณจะซื้อ / หรือ ขาย (อ่านจากหัวข้อบนๆ นู้น )
- Price Type = ไม่ต้องสนใจ
- Quantity Type =ไม่ต้องสนใจ
- Exit Target = คุณจะปิดการซื้อขายที่เท่าไรดี ( คล้าย Stop Loss) แต่ตัวนี้คือเป้าหมายที่ตั้งไว้ต่างหาก ในที่นี้สมมุติคุณจะเอาที่ + 35 จุด ก็กรอกตัวเลข 116.35 เข้าไป ถ้ากราฟมันวิ่งไปถึงมันก็จะขายให้อัตโนมัติเลย อิๆๆ กำไรๆๆ
- Text = ไม่ต้องสนใจ

2.การขายออก Sell หรือเราเรียกอีกอย่างว่า การเล่นแบบ Short
เป็นการเล่นเมื่อคุณคิดว่ากราฟของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตัวนั้นๆ มันจะพุ่งต่ำลงกว่าเดิม เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเล่นตัวนี้หละ สมมุติว่า USD/JPY อีกทีละกัน ให้คุณไปคลิกตรงช่องอัตราแลกเปลี่ยนของ USD/JPY ที่ตัวเลขที่มันปรากฎอยู่ตรงช่อง Bid จากนั้นจะมีตารางสี่เหลี่ยมขึ้นมาให้กรอก ก็เหมือนเดิมครับ แต่จุดใหญ่ๆ ที่ต้องตรวจดูก็คือ ช่อง Buy / Sell , ต้องดูให้แน่ว่ามันเป็น Sell ตามที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็คลิกปุ่มลูกศรข้างๆ เพื่อเปลี่ยน
สรุป ไม่ว่าจะ Buy หรือ Sell คุณสามารถคลิกได้ทั้ง 2 ช่อง (Bid ,Offer) เพียงแต่มาเปลี่ยนเอาในตารางสี่เหลี่ยมทีหลังก็เท่านั้นเองครับ .. จากนั้นก็นั่งลุ้นกันว่าตัวเลขของคุณมันจะแดงหรือเขียว

สรุปสิ่งที่ควรรู้ + เทคนิคการเล่น
1.Buy หรือ Long คือการเล่นขาขึ้น คลิกตัวเลขที่ช่อง Offer
2.Sell หรือ Short คือการเล่นขาลง คลิกตัวเลขที่ช่อง Bid
* เวลาที่ท่านคลิกเพื่อเข้าทำการเทรด ช่วงที่ท่านกำลังเปลี่ยนข้อมูลในตารางสี่เหลี่ยมอยู่นั้นบางที บางคน มัวแต่มะมุมมะง่าม อยู่นั่น หารู้ไม่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตารางมันอาจวิ่งไปอีก 5-6 จุดแล้วก็ได้ ขอบอกว่า พอคุณกรอกข้อมูลในใบออร์เดอร์ (กล่องสี่เหลี่ยมนั่นหละ) เสร็จ ก่อนจะคลิกตกลง ให้ดูว่าค่าเงินในตาราง Forex Rate มันเป็นค่าที่คุณต้องการหรือไม่ ถ้ามันตรงกันกับช่องสี่เหลี่ยม ก็ค่อยกดตกลง ถ้าไม่ตรงกันมันจะเอาอัตรา ณ ปัจจุบันที่คุณกดตกลงแทน มันจะไม่เอาค่าในใบออร์เดอร์นะจ๊ะ เทคนิคง่ายๆ พอตารางสี่เหลี่ยมขึ้นมา ก็เอาเมาท์ วางที่ขอบมันแล้วลากออกมาวางห่างๆ ตารางอัตราแลกเปลี่ยน จากนั้นก็ชำเลืองดูควบกันไปด้วย อย่าปล่อยให้โอกาสดีๆลอยนวลไปเดี๊ยวจะมาโวยว่าเปิดราคาที่ 1.654 แต่พอกดตกลงไหงมันไปเปิดที่ 1.650 อัตราแลกเปลี่ยนมันวิ่งแทบทุกวินาที ทางที่ดีก็รอให้อัตรามันนิ่งๆ ก่อนก็ ค่อยเข้าไปซื้อขาย นะ ..
3.Exit Stop-Loss เรียกย่อสั้นๆ ว่า Sl. คือ ค่าที่ตั้งไว้ไม่ให้ขาดทุนเกินนี้
4.Exit Target คือ ค่าที่ตั้งไว้ให้ปิดการซื้อขายเมื่อหุ้นขึ้นหรือลงมาถึงจุดนี้ กล่าวคือเป็น เป้าหมายที่คุณต้องการนั่นเอง
5.Pipe คือระยะห่างระหว่างจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เช่น Pipe ระหว่าง Bid กับ Offer ของ Eur/Usd = 3 นั่นหมายถึง ถ้าคุณเข้าซื้อ หรือขาย หุ้นตัวนี้ ทันทีที่คุณ

รับมา มันจะติดลบทันที 3 จุด คือขาดทุนก่อนแน่นอน 3 จุด ดังนั้น
* ไม่ควรเข้าเล่นหุ้นที่มีค่า Pipe ระหว่าง Bid/Offer มากกว่า 5 จุด ถ้าคุณไม่แน่จริง หุๆ..จะว่าไม่เตือนนะ.. แต่ถ้ามือถึงแล้วก็ลุยตามสบายครับไม่ว่ากัน..!!
6.ระหว่างเล่นหมั่นสังเกตกราฟ หุ้นตัวที่คุณเล่นและตัวอื่นๆ ที่อาจมีผลเกี่ยวเนื่องกัน อย่าลืมว่าเราเล่นค่าเงิน ถ้าค่าเงินตัวหนึ่งเพิ่ม อาจมีผลให้อีกตัวหนึ่งเพิ่มตาม หรือลดลงสวนทางกัน ถ้าคุณจับทางถูก รวยลูกเดียวครับ ขอบอก..!!
7.กราฟแต่ละตัวสามารถปรับระยะเวลาการเคลื่อนไหว และรูปแบบได้ครับ ระยะเวลาคือเริ่มตั้งแต่เร็วสุด 5 นาที 15 ,30 นาทีไปจนถึง เดือน เลยครับ ส่วนรูปแบบก็หลากหลายแต่ที่นิยมสุดก็มีกราฟเส้น,กราฟแท่งเทียน นี่แหละครับ ดูง่ายดี ระหว่างเล่นก็หมั่นตรวจดูทุกช่วงเวลาว่ากราฟมันน่าจะขึ้นหรือลง การเข้าไปปรับระยะเวลาของกราฟให้คลิกขวาที่กราฟนั้นๆ แล้วเลือก Timescale ครับ จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่คุณต้องการได้เลย
8.Indicator เป็นเส้นชี้นำภายในกราฟครับ ถ้าไม่ตั้งอะไรปกติจะมีแค่ 2 เส้น แต่เซียนบางคนเขาไปตั้งเพิ่มกัน 3-4 เส้น ก็ว่ากันไปตามสไตล์ใครมัน อันนี้มีบทเรียนให้ศึกษาครับ คนที่จะก้าวเข้าสู่มืออาชีพต้องไปศึกษาดู ดีมากครับเป็นการวิเคราะห์เส้นกราฟต่างๆ ว่ามันขึ้นยังงี้ ตัดกันตรงนั้นตรงนี้ แล้วหุ้นมันจะไปทางใหน ขึ้นหรือลง 9.ระหว่างเล่นหมั่นเข้าไปคุยหรือสังเกตการณ์ในห้องแชทบ่อยๆ เข้าไปคลิกตรงหัวข้อ Discussion มุมขวาของจอ ในนั้นจะมีให้คุยได้หมดทั้งทีมงานช่วยเหลือจากมาร์เก็ตติวา (Support) ที่ให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาต่างๆของโปรแกรม คุยได้แบบสดๆ ออนไลน์ทันที หรือจะเข้าไปคุยกับฝรั่งในห้อง Forex เพื่อถามแนวทางกันแบบนาทีต่อนาที แต่ถ้าไปใหนไม่ถูกก็ห้อง Thailand ของเรา คุยไทยพิมพ์ไทยได้เลย ขอเตือน ห้องใหนที่ไม่ใช่ห้องไทย ห้ามไปพิมพ์ไทยในนั้น ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มันเป็นกฎ ถ้าฝืนคุณอาจจะโดนแบน การโดนแบนเป็นเรื่องที่แย่ที่สุด คุณอาจไม่ได้เล่นเป็นเวลา 1 อาทิตย์ ที่สำคัญคือนำเงินออกไม่ได้
10.การเล่น (หรือการเข้าเทรด) ไม่ว่าจะด้วยเงินจริงหรือเงินปลอม ภายใน 4 ชั่วโมง รวมกันห้ามเกิน 10 ครั้ง ( ซึ่งปกติก็ไม่มีใครเทรดกันถี่ขนาดนั้นอยู่แล้ว )มิเช่นนั้นจะโดนแบน เพราะมันจะทำให้ระบบเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนัก
11.การเล่นให้สังเกตแนวทางการขึ้นลงจากกราฟ บวกข่าว (Signal) ซิกแนว ต่างๆ ที่คุณได้มา เบื้องต้นให้ตั้งค่าต่างๆ ตามซิกแนวไปก่อน จากนั้นหมั่นสังเกต ตามความเป็นจริง เช่นซิกแนวบอกว่ากราฟจะขึ้นไปที่ 1.265 แต่เราเฝ้ามา 3 ชั่วโมง มันขึ้นๆลงๆ แค่ 1.260 พอดูเส้น Indicator มันเริ่มจะพุ่งหัวลงแล้ว ถ้าตอนนั้นเราเห็นว่ามันได้กำไรพอสมควรแล้วก็ปิดมันซะ ก่อนที่มันจะพุ่งหัวลงไปมากกว่านี้ทำให้ขาดทุนเปล่าๆ ครับ
12.ที่สำคัญหมั่นเข้ามาศึกษาหาความรู้กันในเว็บ
www.e-money4u.is.in.th ของเราบ่อยๆ หรือทุกวันเลยยิ่งดี อิๆๆ
รับรองที่นี่มีแต่ให้คุณครับ ขอเพียงเราชาวไทยมีน้ำใจต่อกัน ถ้าคนไทยไม่รักกัน แล้วใครจะมารักเรา
สนใจสมัครเล่นที่นี่
Marketiva Manual
 การเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ Forex (Foreign Exchange) เป็นชื่อที่ใช้เรียกการซื้อขาย ค่าเงินกันโดยตรง ของตลาดเงินตรา ที่มีมูลค่า $1.4 Trillion (ล้านล้าน) ต่อวัน ตลาด Forex มีมูุลค่าการซื้อขายสูงกว่า ตลาดทางการเงินอื่นๆ รวมกัน ถึง 46 เท่า ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ Forex is the world’s most liquid market ในอดีตที่ผ่านมา การซื้อขาย แลกเปลี่ยนค่าเงิน ถูกจำกัดไว้เฉพาะแต่ในแวดวงของธนาคาร และ สถาบันการเงิน ขนาดใหญ่ เท่านั้น แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาระบบการเทรดแบบ Online ที่ยอมให้นักลงทุนรายย่อย ได้มีโอกาสเข้ามาทำการซื้อขาย ค่าเงิน กันได้โดยตรงในตลาด Forex โดย Foreign Exchange เทรดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง การซื้อขาย สามารถทำได้หลายช่องทางทั้งทางโทรศัพท์และทางระบบ Internet ทำให้มันเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่หรือเวลาใดๆ ในอดีตการลงทุนในตลาด Forex ยังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงในการเปิดบัญชีกับทาง Brokers ยกตัวอย่างการเปิดบัญชีกับ
www.forex.com กำหนดการลงทุนขั้นต่ำของ Standard account ไว้ที่ 2,500 $ และ 250 $ สำหรับ Mini account คนที่มีเงินลงทุนน้อยหมดสิทธิ์อย่างแน่นอน จนกระทั่งปี 2005 เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการตลาดเงินของโลก นั่นก็คือ Marketiva นั่นเอง! โดยแจกเงินลงทุนให้ฟรี 5 ดอลลาร์!!About Marketiva
 Marketiva Corporation เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศ
Switzerland หมายเลข Registration number IBC CAP. 291 Reg.  646819 อยู่ภายใต้หน่วยงาน Jurisdiction of Financial Services Commission (FSC) Marketiva เปิดตัวช่วงต้นปี 2005 ที่ผ่านมา ด้วยสโลแกนที่ว่า “Forex ใครๆ ก็เล่นได้” ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำแค่ 1$ ดอลลาร์ ทำให้ตอนนี้ Marketiva กลายเป็นบริษัท Forex ที่ร้อนแรงที่สุดในเวลานี้ มีคนให้ความสนใจและไปเปิดบัญชีลงทุนกันอย่างมากมาย การสมัครสมาชิก
โดยในขั้นตอนการสมัคร ให้เรากรอกรายละเอียดต่างๆ ให้ตรงกับความเป็นจริง เพราะต้องมีการส่งเอกสารไปยืนยันถึงความมีตัวตนด้วย Marketiva อนุญาติให้ สมัครได้ 1 คน ต่อ 1 account ห้ามสมัครเกิน ถ้าทางเว็บตรวจเจอว่ามีการสมัครหลายๆ account โดย คนๆ เดียวกันก็จะบล็อกไม่ให้ใช้งาน จนกว่าเราจะส่งเอกสารไปยืนยัน ดังนั้นควรทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ชื่อและนามสกุล กรอกให้ตรงกับในบัตรประชาชนหรือใน Passport ส่วนที่อยูุ่่ก็ให้กรอกตรงกับที่อยูุ่่ในพวกใบเสร็จของ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ทั้งชื่อและที่อยูุ่่รายละเอียดต่างๆ ที่กรอกไปแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองในภายหลัง ถ้าเราต้องการแก้จะต้องทำการส่งข้อความถึง Support ขอแก้ไขข้อมูลและแจ้งเหตุผลในการขอแก้ไขด้วย ฉะนั้นกรอกให้ถูกต้องเวลาเปิด-ปิดตลาด เทียบกับเวลาในประเทศไทย คือ
เปิด 04.00 ของเช้าวันจันทร์ - ปิด 04.00 ของเช้าวันเสาร์ (ตลอด 24 ชม.)