วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ - เครื่องทำความเย็น

|0 ความคิดเห็น
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ - เครื่องทำความเย็นก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ

1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE

EVAPPORATOR คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)

COMPRESSOR คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป

CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน

CAPILLARY TUBE คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง

หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง

คำว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ 1 ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้

น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง 1 ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง 1 ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h
24h

ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น

ต่อไปจะเปรียบเทียบ ระหว่างแอร์ธรรมดา กับแอร์ เบอร์ 5
กรณีเป็นแอร์ เบอร์5 หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO)
หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU
กำลังไฟฟ้า watt
สมมุติว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์5 เพราะ EER เกิน 10.6
1000
แต่ถ้าแอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6
1200

ถ้าเปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า 2 คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี

มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ

1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU
การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง


การต่อครอส 3 ทางใช้แบบ 2 ทาง แบบรากหญ้า

|0 ความคิดเห็น
เห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่เล่น 3 ทางแต่ต้องการมาเล่นแบบ 2 ทาง  และสามารถปรับได้ละเอียดดีกว่า แบบกดสวิทย์ เลือกเป็น 2 ทาง
เครดิต ท่านเบริด สกลนคร แห่งบ้านwww. karaoke-soft.com
ต่อแบบผมดิ ผมใช้ ครอส 3 ทางมาทำเป็นสองทาง บังคับเอาเลยครับ
เอามาใช้กับตู้สองทางพวก PS หรือทุกตระกูลได้ดี กลางปรับเบา ดัง ได้อิสระ แหลมก็เหมือนกัน
แถมกวาดความถี่กลางแหลมได้ดังใจครับ ต่อแบบนี้ครับ


ช่องเสียงกลางใช้ หมายเลข 2  = + คือ ช่องเสียงกลาง เอา มาเฉพาะ + ต่อเข้าขา 2
ช่องเสียงแหลมใช้ หมายเลย 3 = - คือ ช่องเสียงแหลม เอามาเฉพาะ -  ต่อเข้าขา 3
กราวด์ของแต่ละช่องจับรวมกันแล้วเข้า หมายเลข 1

การล้างแอร์

|0 ความคิดเห็น
ภาพแสดงการล้างแอร์
    
   
   
   ล้างใหญ่   คอยล์เย็น ( EVAPERRATOR )
   
   1.0 ก่อนเริ่มทำงานเราจะนำผ้าใบหนังคลุมพื้นที่บริเวณห้องเพื่อป้องกันความเสียหาย การทำงานสะอาดทุกขั้นตอน
   1.1 ถอดโครงคอยล์เย็นออกทั้งหมดเพื่อทำความสะอาดภายใน
   1.2 ถอดมอเตอร์ ล้างทำความสะอาด 
   1.3 นำผ้าใบล้างแอร์คลุม (คอยล์เย็น) ทั้งหมด 
   1.4 ล้างทำความสะอาดฟิลคอยล์ (EVAPERRATOR) ด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง120 barและเป่าลมแห้งด้วย BLOVER
   1.5 ดูดและเป่าทำความสะอาดระบบท่อน้ำทิ้งด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
   1.6 ล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (FILTER)
   1.7 ตรวจเช็คจุดต่อสายไฟภายในระบบ และยึดสกรูสายไฟให้แน่นหนา
   1.8 ตรวจเช็ครอบความเร็วของมอเตอร์พัดลม (FANCOLL)
   1.9 ตรวจเช็คสปีดและเทอร์โมรูม
   ( ล้างใหญ่ )  คอยล์ร้อน ( CONDENSING UNIT )
   1.10 ถอดโครงคอยล์ร้อนออกทั้งหมดยกใบพัดลมออกทำความสะอาด
   1.11ล้างทำความสะอาดแผงครีบคอนเดนซิ่งด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง 120 bar และ BLOVER
   1.12 ตรวจเช็คจุดต่อสายไฟภายในระบบ และยึดสกรูสายไฟให้แน่นหนา 
   1.13 ตรวจวัดความดันของระบบน้ำยา เช็คกำลังอัดของคอมเพรสเซอร์
   1.14 ตรวจเช็คการทำงานของไทม์เมอร์ และอุปกรณ์ช่วยสตาร์ททุกชนิด ของระบบคอมเพรสเซอร์
   1.15 ทำความสะอาดชิ้นส่วนประกอบแอร์ทุกชิ้นด้วยแชมพูเช็ดล้างทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
   -จากนั้นประกอบทุกชิ้นส่วนแอร์ให้เข้าที่ พร้อมเดินเครื่องตรวจสอบวัดกระแส น้ำเกจวัดแรงดันน้ำยา
   เติมเฉพาะน้ำยาต่ำกว่า มาตรฐาน (แรงดัน 65 PSI ) ที่กำหนดเท่านั้น

ปรับ EQ ที่งานง่ายที่ใช้โปรแกรม smraat live

|0 ความคิดเห็น
บ่าวที่ปรับ EQ ที่งานง่ายที่สุด บ่าวจะใช้โปรแกรม smraat live ช่วย

เพราะ ในโปรแกรมนี้ มันจะมีเครื่องมือที่เรียกว่า Spectrum analyzer เจ้าSpectrum analyzer นี้มันจะผลิตสัญญาณPink noise ออกมาที่เสียงดังซ่าๆๆ นะครับสัญญาณนี้มันจะให้ความถี่เสียงครับทุกย่ายเลยตั้งแต่20 -20000Hz เลย..เราก็เอาสัญญาณPink noiseที่ได้จากSpectrum analyzer ต่อเข้ากับระบบของเราก็จะได้ยินเสียงซ้าออกจากลำโพง จากนั้นก้เอา Microphone ชนิดพิเศษที่มีความไวสูง.(ไม่ใช่ mic condenecr ทั่วไปนะส่วนมากมันจะมากับSpectrum analyzer อยู่แล้ว)มาต่อเข้ากับ Spectrum analyzerแล้วเอา mic ไปวางไว้ตำแหน่งที่นั่งฟังแล้วมาดูที่หน้าจอคอมSpectrum analyzer เราก็จะรุ้ว่าระบบของเราผลิตสัญญานย่านไหน แรงไป หรือค่อยไป เราก็ไปปรับที่ EQ ของเรา ปรับไปจนกระทั่ง Spectrum analyzer มันแสดงผลว่า ได้ยินทุกย่านความถี่เสียง...เท่าๆกัน เป็นอันจบ...ถือกันว่า ระบบนั้นได้ทำการจูน EQ จน Flat แล้ว.....ไม่ต้องปรับต้องหมุนอะไรอีกแล้ว
(ดู ที่การปรับอีEQ รูปสุดท้าย klark-teknik  หน้าจอคอมSpectrum analyzerจะได้แฟตเหมือนรูปที่2นี้..ไม่ใช่Flatที่eqนะแต่แฟตที่หน้าจอ จอSpectrum analyzer (พยายามคัท มากกว่าบูสนะ  ) ทั้งหมดขึ้นอยู่กับระบบและสถานที่มันอาจไม่ตรงเสมอไปแต่ให้ได้ประมาณ นี้....อิอิ...ผมไม่มีรูปจริงๆๆเลยลืมช่างอ๊อดมา..อิอิ...)



จาก นั้นบ่าวก็จะมาเช็คการfeed back เร่งสัญเสียงมาสเตอร์mixให้เกิน o db ให้ดังที่สุดเพื่อให้มันหอนจากนั้นก็มาดูที่ smraat live ว่ามันหอนอยู่ที่ความถี่ใดเมื่อสัญญาณมาแรงๆๆ..


เช่น 500 จากนั้นบ่าวก็feed back ค่า500ไว้ เมื่อเล่นจริงเราก็ปล่อยสัญญาณเสียงที่  0 db ต่ำกว่าค่าที่เราก็feed back ไว้ จ้างก็ไม่หอน.......ถ้าสุงกว่านั้นมันก็feed back ไว้ครับ......ส่วนมากผมจะใช้คัดมอนิเตอร์มากกว่า.เพราะถ้าfeed back มากเสียงจะไม่เป็นธรรมชาติเท่าไรครับ...ถ้าเราเซ็ตมอนิเตอร์ กันการfeed back ได้ pa..ก็คงไม่มีปัญหานะครับ....

จากนั้นก็ไม่ต้องยุ่งกับEQ อีกเลย...ตั้งครั้งเดียวเสร็จ.. ถ้าไปปรับeq อีกก็เหมือนกับที่เราทำมาทั้งหมดไม่มีประโยชน์เลย...อิอิ...
ส่วนมากแทบไม่ได่แตะเลยครับเกือบแฟต ตลอด..แล้วแต่ละสถานที่...

เลือกจอ LCD แบบไม่ให้เสียใจในภายหลัง

|0 ความคิดเห็น
เลือกจอ LCD แบบไม่ให้เสียใจในภายหลัง


เลือกจอ LCD แบบไม่ให้เสียใจในภายหลัง


     ถ้าคุณมีงบประมาณเหลือเฟือก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการให้ทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากรสนิยมส่วนตัวแล้ว วิธีพื้นฐานง่ายๆ ดังต่อไปนี้
จะไม่ทำให้คุณผิดหวังกับจอ LCD ที่ซื้อมาเลย

ข้อดีและข้อเสียของจอภาพ LCD
     จอภาพ LCD นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง และในบางเรื่องก็ด้วยกว่าจอภาพ CRT ด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณต้องทำความเข้าใจและถามตัวเองก่อนว่าต้องการ ข้อดีและยอมรับกับข้อจำกัดของจอภาพได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญใจในภาพหลัง โดยข้อดีต่างๆของจอภาพ LCD ก็คือ
     -มีขนาดเล็กและบาง ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากกว่า
     -กินไฟน้อยกว่า
     -สบายตากว่าเพราะภาพไม่มีการ Flicker
     -(บางรุ่น) หมุนแสดงผลแนวตั้งได้
     -น้ำหนักเบาและสามารถแขวนติดฝาผนังได้
     -รูปภาพไม่มีการเสียรูปทรง
     -ใช้งานพื้นที่เต็มขนาดจอภาพ
     -ไม่มีคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์รอบข้างโดยเฉพาะลำโพง

ส่วนข้อเสียก็มีเช่นกันคือ
     -มีมุมมองที่จำกัดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
     -ความคมชัดจะเปลี่ยนไปตามมุมมอง
     -(ในขนาดที่เท่าๆกับจอ CRT) จะมีราคาสูงกว่า
     -(ส่วนใหญ่) มีเงาดำเมื่อภาพเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
     -ความละเอีดดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานมีเพียงค่าเดียว

ขนาดและความละเอียด
     จอภาพ LCD แต่ละขนาดจะถูกออกแบบมา โดยให้มีค่าความละเอียดที่เหมาะสม และแสดงภาพได้อย่างชัดเจนเพียงแค่ค่าเดียวเท่านั้น โดยจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิต จะอ้างด้วยข้อความว่า Native Resolution (จอภาพ CRT ส่วนใหญ่จะระบุด้วยคำว่า ความละเอียดสูงสุด) เช่นจอภาพขนาด 17 นิ้ว ที่ส่วนใหญ่จะมีความละเอียด 1,280x1,024 พิกเซลหรือขนาด 15 นิ้วที่มีความละเอียด 1,024x768 พิเซล ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบความละเอียดที่จอภาพระบุด้วยว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถใช้ความละเอียดอื่นได้ หากต้องการภาพที่มีความชัดเจน

ความสว่าง
     จอภาพที่ผู้ผลิตอ้างว่ามีความสว่างสูงจะเป็นหลักประกันได้ดีกว่าว่า คุณสามารถนำจอภาพ LCD ไปใช้งานได้ในทุกๆ ที่โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสภาพแสงโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในที่โล่งที่มีความสว่างมากๆ อย่างเช่นบนสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจอภาพที่มีความสว่าง 300Cd/m2 (แคนเดลาร์ต่อตารางเมตรหรือ nits) จะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่าและ
ทำให้ไม่ต้องเพ่งมองเหมือนกับจอภาพที่มีความสว่างเพียง 175Cd/m2 แต่สำหรับการใช้งานภายในบ้าน ที่ทำงานความสว่างสูงๆ นี้ก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไป

จุดเสีย (Deal Pixels)
     ข้อบกพร่องของจอภาพที่พบได้เป็นประจำก็คือ การมีผลึกเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างจุดสีมีสถานะเป็น ON หรือ OFF แบบถาวรแทนที่จะมีสถานะที่เปลี่ยนไปตามสัญญาณภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ ซึ่งจุดเสียนี้จะเห็นเป็นจุดสีขาวสว่างๆ หรืออาจเป็นจุดสีดำก็ได้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อให้สอบถามถึงเงื่อนไขการรับประกันและการเปลี่ยนจอภาพใหม่ให้แทนในกรณีที่จอภาพนั้นๆ มีจุดเสียเกิดขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ควรตรวจสอบดูก่อน ซื้อวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดก็คือ การเปิดภาพหรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำให้จอภาพแสดงสีขาวได้ทั่ว
ทั้งจอภาพ แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนจอไปแสดงสีดำแทน ซึ่งถ้าจอภาพมีจุดเสียอยู่คุณก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

อัตราคอนทราสต์และมุมมอง
     ถ้าคุณเลือกจอภาพ LCD ก็ให้ยอมรับกับข้อด้วยในเรื่องมุมมองก่อน แต่ถ้าทำใจลำบากก็ให้คุณตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตดูก่อนว่า จอภาพนั้นมีมุมมองที่กว้างมากพอทั้งในแนวตั้ง และแนวนอนหรืออย่างน้อยที่สุด 120 องศา และถ้าเป็นไปได้ก่อนที่คุณจะซื้อให้ทดสอบด้วยการมองด้วยตาเปล่าในมุมต่างๆ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย จากนั้นให้สังเกตดูว่าภาพที่เห็นนั้นยังคงมีความชัดเจนอยู่หรืออัตราคอนทราสต์ของภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้จริงๆ

ความเร็วในการตอบสนอง
     คุณสมบัติเฉพาะของจอภาพ LCD ข้อนี้หมายถึงเวลาที่จุดพิกเซลใช้ในการเปลี่ยนสถานะ (ON/OFF) หรือถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเวลาที่จุดพิกเซลหนึ่งๆ ใช้ในการเปลี่ยน
จากการแสดงสีดำเป็นสีขาว ซึ่งหลายๆ คนน้ำตาตกมาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ซื้อจอภาพ LCD มาเล่นเกมสามมิติหรือการแสดงผลในลักษณะอื่นที่ภาพมีการเคลื่อนที่อย่าง
รวดเร็ว โดยในจอภาพที่มีความเร็วในการตอบสนองที่ไม่เร็วพอนั้น ภาพที่ได้จะมีลักษณะที่เป็นเงาดำหรือที่เรียกว่า Ghosting เกิดขึ้นตามมาพร้อมกับภาพด้วย ดังนั้นคุณ
ควรเลือกจอภาพที่มีความเร็วสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือ อย่างน้อย 16 มิลลิวินาที หากคุณต้องการนำมาใช้งานในลักษณะดังกล่าว

การปรับหมุนและแสดงผลในแนวตั้ง
     ความสามารถพิเศษของจอภาพ LCD ที่หาไม่ได้จากจอภาพแบบ CRT ก็คือ การหมุนแสดงผลในแนวตั้งซึ่งการแสดงผลลักษณะนี้จะทำให้คุณสามารถแสดงหน้าเอกสารต่างๆ
หรือหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคลิกปุ่มเลื่อนขึ้นลงแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ดีคุณสมบัตินี้จะมีเฉพาะจอภาพบางรุ่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจาก
นั้นคุณควรตรวจสอบก่อนด้วยว่า หลังจากที่หมุนแล้วจอภาพมีระบบล็อคที่หนาแน่น ไม่แกว่งไปแกว่งมาและที่สำคัญคุณยังปรับระยะก้มเงยลักษณะต่างๆ ได้โดยที่ไม่มีการติดขัดใดๆ

ระบบการควบคุม
     แม้ว่าจอภาพจะถูกตั้งค่ามาอย่างเหมาะสมแล้ว แต่ก็บ่อยครั้งที่คุณจำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติมดังนั้น นอกจากระบบอัตโมมัติสำหรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ ที่มีให้แล้ว
จอภาพควรมีระบบควบคุมที่ใช้งานได้สะดวกด้วยหรืออย่างน้อยปุ่มปรับค่าต่างๆ ก็ควรอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ง่าย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วคุณจะรู้สึกหงุดหงิดมากทีเดียว
เมื่อต้องการปรับค่าแต่ละครั้งแม้ว่าจะต้องการเพียงแค่เพิ่มความสว่างก็ตาม

พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ
     การเชื่อมต่อ และแสดงผลโดยใช้สัญญาณภาพในระบบดิจิตอลนั้นจะให้ภาพที่มีคุณภาพสูงกว่าอะนาลอกทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจอภาพ LCD ที่คุณเลือกทำได้ ให้
ตรวจสอบด้วยว่านอกจากพอร์ต D-Sub แล้วจอภาพยังมีพอร์ต DVI ให้มาด้วย แต่อย่างไรก็ดีหากการ์ดแสดงผลที่คุณใช้ไม่มีพอร์ต DVI-I ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่คุณจะเลือก
ใช้จอภาพ LCD ที่มีพอร์ตสำหรับสัญญาณดิจิตอลเช่นนี้

การรับประกันจากผู้ขาย
     เนื่องจากจอภาพ LCD นั้นไม่แข็งแรกเหมือนกับจอภาพ CRT ดังนั้นคุณควรพิจารณาด้วยว่าจอภาพมีอายุการรับประกันที่นานพล รวมถึงการส่งซ่อมในกรณีฉุกเฉินและ
ตรวจสอบการเปลี่ยนอะไหล่สำคัญๆ อย่างเช่นหลอดไฟ Backlight สำหรับการใช้งานระยะยาวด้วย

ที่มา : WHAT AUDIO VIDEO


Compressor ในงานเครื่องเสียง

|0 ความคิดเห็น
Compressor ในงานเครื่องเสียง  

Compressor (คอมเพรสเซ่อร์) ทำหน้าที่ช่วยปรับระดับความคงที่ของสัญญาณที่เข้ามามีค่าคงระดับความดังเบาตามต้องการ
            วิธีการต่อมีสองแบบคือ 1.ต่อแบบผ่าน In/Out 2.ต่อแบบ Insert

   -คำต่างๆใน Compressor และหน้าที่
       -Threshold (เทรชโฮลด์) มีหน้าที่กำหนดสัญญาณขาเข้า(Input) ที่จะให้คอมเพรสเซ่อร์เริ่มทำงานเช่นตั้งค่าไว้ที่ -10dB เมื่อสัญญาณที่เข้ามาถึง -10dB คอมฯจะเริ่มทำงาน ถ้าสัญญาณต่ำกว่า-10dB คอมฯจะไม่ทำงาน สังเกตุที่สัญญาณไฟ(LED) อย่าให้ขึ้นเกินสามเม็ด ตรงไฟแสดงสัญญาณเข้า(Input)และสัญญาณออก(Output) เราเรียกว่า GR/Gain Reduction (เกนรีดั๊คชั่น) ไฟสีแดงคือจำนวนค่าสัญญาณที่ถูกกด ส่วนสีเขียวคือสัญญาณที่ถูกคอมฯแล้ว
        -Ratio (เรโช) มีหน้าที่ปรับอัตราส่วนการบีบอัดสัญญาณให้นิ่ง เช่นตั้งค่าไว้ที่ 2:1 สัญญาณเข้าไป 2dBจะถูกบีบให้เหลือ 1dB สม่ำเสมอ สำหรับการตั้งค่าให้หมุนไปขวามือสุดแล้วค่อยๆหมุนกลับมาทางขวา ฟังสังเกตุดูอย่าให้เสียงแบนเกินไป จนฟังแล้วอึดอัด ค่าโดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 1:1,2:1,3:1,5:1,8:1 ค่าคอมฯที่10:1หรือมากกว่า 10:1 จะเป็น Compressor/Limiter(คอมเพรสเซ่อร์/ลิมิตเตอร์)
        -Attack (แอ๊ตแท็ค) มีหน้าที่ใช้กดหรือหน่วงสัญญาณที่เป็นเสียงกระแทกหนักๆเช่นเสียงของหัว กระเดื่อง(Kick) ให้เข้ามาเร็ว(Fast)หรือช้า(Slow) ซึ่งในทางดนตรีนั้นจะให้ความรู้สึกอาการบีบอัดและให้น้ำหนักของหัวโน๊ตเสียง
        -Release (รีลีส) คือ เมื่อสัญญาณเพิ่มขึ้นเหนือค่า Threshold ที่ตั้งไว้ และเริ่มอ่อนลง คอมฯจะใช้ช่วงเวลาในการเพิ่มค่าสัญญาณให้ตรงตามที่กำหนดเราเรียกว่า Release ซึ่งจะมีค่าเวลาที่มากกว่า Attack ประมาณ 1-2 วินาทีและสามารถปรับค่าระยะเวลาได้ จะให้ความรู้สึกว่าตัวโน๊ตมีความยาว(หนืด)ขึ้น
        -Solf Knee/Hard Knee (ซ๊อฟนี/ฮาร์ดนี) คือเมื่อใช้ Solf Knee จะรู้สึกถึงสัญญาที่ถูกคอมน้อยมากแต่คอมฯยังทำงานอยู่ มักใช้กับเสียงดนตรีและในทางตรงข้ามเมื่อใช้ Hard Knee เราจะรู้สึกได้ถึงแรงบีบอัดของคอมฯมากกว่า มักใช้กับเสีงพูด เสียงร้อง
        -Output Gain/Make Up Gain (เอ้าท์พุทเกนหรือเม๊คอัพเกน) คือ สัญญาณที่ได้ถูกคอมฯแล้ว สามารถเร่งสัญญาณให้ดังขึ้นได้
        -Peak Limitee/Limiter (พีคลิมิตเตอร์หรือลิมิตเตอร์) มีหน้าที่เอาไว้ควบคุมสัญญาณขาออกไม่ให้เกินกำหนด เช่นถ้าตั้งไว้ที่ 3dB สัญญาณที่เกินกว่า 3dB จะถูกกดไม่ให้ผ่านออกไป

 COMPRESSOR/LIMITER เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน

การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน

2. การต่อแบบ Group Insert
การ ต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch> ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert
การ ต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง [2Ch> ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่อง คอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์
การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด

การต่อปลั๊ก TRS XLR และ RCA...(เผื่อเป็นประโยชน์ในการทำสายสัญญาณเอง)

|0 ความคิดเห็น
การต่อปลั๊ก TRS XLR และ RCA...(เผื่อเป็นประโยชน์ในการทำสายสัญญาณเอง)








powered by B9UM

ระบบเสียง PA เบื้องต้น

|0 ความคิดเห็น
ระบบเสียง PA เบื้องต้น  

ในระบบเสียง PA ส่วนหลักที่สำคัญที่สุดก็คือเครื่องขยายเสียง ขนาดของกำลังวัตต์นั้น จะมีตั้งแต่ 10 วัตต์ไปจนถึงขนาดหลายร้อยวัตต์ และอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับระบบเสียง PA นี้ ระบบเสียงสาธารณะไม่ว่าจะกลางแจ้งหรือในร่มที่มีขอบเขตพื้นที่ใช้งานเป็นบริเวณกว้าง จะเรียกว่า ระบบเสียงประกาศสาธารณะ หรือ PA (Public Address system) ระบบเสียงแบบนี้ พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่างๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, หนังกลางแปลง, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึง ในห้องประชุม เป็นต้น แต่จะมีวิธีการอย่างไร ในการจัดระบบเสียง PA นี้ให้ได้ออกมาดีที่สุด เพราะระบบเสียง PA เป็นระบบเสียงที่มีขนาดพื้นที่ใช้งานมากถ้านำไปเปรียบเทียบกับระบบเสียง ภายในบ้านแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจน ซึ่งระบบเสียงภายในบ้านนั้นไม่ต้องคำนึงอะไรมากนัก เพียงแต่มีเครื่องขยายเสียง เครื่องกำเนิดสัญญาณ และลำโพงเพียง 1 ค ู่ก็สามารถนำไปใช้งาน ให้ความบันเทิงสุดที่รักผู้ฟังภายในห้องฟังเพลงที่มีขนาดย่อมได้เพียงพอแล้ว
แต่ระบบเสียง PA นั้น พื้นที่ในการรับฟังเสียงมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่ามาก ซึ่งจะต้องคำนึง ว่าจุดรับฟังทุกจุดในพื้นนั้นต้องมีผลการรับฟังที่ดีเท่ากันทุกจุดบนพื้นที่ของการกระจายเสียงการที่จะทำ ให้ได้ผลดีดังกล่าวนั้นจะต้องมีความเข้าใจในส่วนประกอบต่างๆ ของระบบเสียง PA ที่จะนำมาใช้งาน ให้ถ่องแท้เสียก่อน มิกเซอร์ ซึ่งจะใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง โดยจะเป็นตัวปรับระดับสัญญาณ อินพุตที่แตกต่างกันหลายๆ อินพุต และมีโวลุ่มหลักสำหรับปรับควบคุมเสียงทั้งหมดอีกขั้นหนึ่ง
     
ชนิดของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้กับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 2 แบบ คือ
     1. สัญญาณแบบไลน์อินพุต (line level / input) อยู่ในช่วง -20 dBm จนถึง +30 dBm ซึ่งเครื่องกำเนิดสัญญาณที่จัดอยู่ในไลน์อินพุตนี้ ได้สุดที่รัก พวกเทปเด็คจูนเนอร์ CD เป็นต้น
     2. สัญญาณแบบบาลานซ์ไลน์ (balanced line) อยู่ในช่วง -80 dBm จนถึง -20 dBm ตัวอย่างของตัวกำเนิดสัญญาณนี้ที่เห็นกันชัดที่สุดก็คือ ไมโครโฟนนั่นเอง


ไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA
    ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์หลักอีกอย่างที่จะต้องนำมาใช้ในระบบเสียงแบบ PA ซึ่งมีใช้กันหลายแบบแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ที่สำคัญต้องมีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีทิศทางในการับเสียงได้ดีและสายที่ใช้ควรเป็นสายแบบบาลานซ์ไลน์ การนำไมโครโฟนมาใช้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนกับอินพุตของเครื่องขยายเสียงควรให้มีอิมพีแดนซ์เท่ากัน แต่ในการใช้งานจริงนั้นไม่จำเป็นต้องตามหลักการเพราะถ้าอิมพีแดนซ์มีค่าเท่ากันแล้ว ความไวของไมโครโฟนจะลดลงประมาณ 6 dB โดยสูญเสียไปในรูปของอัตราสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงควรจะมากกว่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนประมาณ 10 เท่าหรือมากกว่าคุณลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างของไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA นี้ก็คือความไวการรับเสียงดีในทิศทางที่ต้องการเท่านั้นการเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงหอนลงได้
ไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติข้างต้นที่นิยมใช้กันมากในระบบเสียงได้ดีในทิศทางตรง หน้าไมโครโฟนเท่านั้น มักเรียกว่า แบบคาร์ดิออยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อเสียงของมันจะตอบสนองได้ดีกับเสียงของผู้พูดเท่านั้น แต่เสียงปรบมือหรือเสียงกรีดร้องจากผู้ชมจะไม่ค่อยมีผลนื่องจากคุณสมบัติที่ รับเสียงได้ดี เฉพาะในทิศทางที่เป็นมุมแคบตรงด้านหน้าของมันเท่านั้น สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกันเพราะถ้ามีสาย ขนาดยาวมาก จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดา หรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบ บาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งา?ในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์ มีระดับสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมันดังนั้นเสียงรบกวนหรือ เสียงฮัมที่เกิดขึ้น จะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่ง

โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN)

|0 ความคิดเห็น

โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN)

โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN)
โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ที่มีการใช้งานอยู่ปัจจุบัน 2 ประเภท คือ โครงข่ายให้บริการเสียงพูด (Voice Network) และ โครงข่ายเพื่อให้บริการข้อมูล ( Data Network ) เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาดในการให้บริการโทรคมนาคมที่ต้องการความรวดเร็ว รวมทั้งการดูแลบำรุงรักษาโครงข่ายชนิดต่างๆ ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง และ เป็นการยากที่จะสร้างบริการใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และ เพียงพอ ดังนั้นจึงได้เกิดโครงข่ายใหม่ที่รวมเอา Voice Network และ Data Network เข้าด้วยกัน จึงเกิด Next Generation Network (NGN)หรือ เรียกว่า Voice Data Convergence ไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถทำงานร่วมกันได้ เสมือนโครงเป็นโครงข่ายเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ง่ายต่อการดูแลบำรุงรักษา ลดค่าใช้จ่าย และ รองรับการพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้อย่างรวดเร็วทันใจ และ รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และ ความต้องการการใช้ในอนาคตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของ Multimedia Traffic บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาปัตยกรรม
โครงข่ายใหม่ เพื่อให้เกิดการบริการที่หลากหลาย มีการควบคุมจากศูนย์กลาง โดยให้โครงข่ายอยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุด หรือ เรียกว่า Edge Switch การรวมโครงข่ายในลักษณะนี้ทำให้เกิดการลดต้นทุนให้ต่ำลง เพื่อทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารการจัดการโครงข่าย

ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิด NGN
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดโครงข่าย NGN ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยของข้อมูล 5 กรณีได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นของข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย โดยการเพิ่มขึ้นในด้านปริมาณ และ ประเภทของการบริการ ดังนั้น โครงข่าย NGN สามารถรองรับแบนวิดท์ (BandWidth) ที่มากขึ้น และ ประเภทที่เกิดขึ้นทั้ง เสียง วีดีโอ และ ข้อมูล
2.ระดับความต้องการบริการที่หลากหลาย (Multiple Degrees Services Aspects) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้งานในด้านข้อมูล จากการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงข่าย LAN และ อินเตอร์เน็ต ดังนั้นโครงข่ายโทรคมนาคมจึงมีความจำเป็นในการเตรียมขีดความสามารถในการรองรับความต้องการดังกล่าว เช่น การกำหนดให้มีการรับประกันคุณภาพบริการในหลายระดับ (Multiple – Class Of Quality Of Services : QOS) การมีระดับการรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล (Security Insurance Levels) และ การกำหนดขอบข่ายการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ (Ranges Of Mobility) ซึ่ง โครงข่าย NGN มีความสามารถในการตอบสนองลักษณะดังกล่าวได้ โดยการรวมเอา IP Technology และ ATM Technology ซึ่งเป็นทางออกของความต้องการดังกล่าว ดังนั้นผู้ใช้บริการจำเป็นต้องรองรับความต้องการดังกล่าว
3. จำนวนปริมาณข้อมูลประเภท Packet เพิ่มมากขึ้นจากลักษณะเดิมโครงข่ายของเสียง (PSTN) จะรองรับการให้บริการนำเสียง และ ในด้านของข้อมูลนั้น (Packet Switching) โครงข่าย IP Network และ ATM Network จะให้ประสิทธิภาพมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติที่ส่งข้อมูลที่เป็น Packet มากกว่า และ มีความเร็วสูง เนื่องจากอุปกรณ์ปลายทาง ในปัจจุบันสามารถทำงานได้สูงมาก (Tb/s)
4. การพัฒนาที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยี IP , ATM และ Voice Over Packet Networkเนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาตราฐานการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ ระหว่าง ผู้ผลิตอุปกรณ์ กับ การพัฒนาเทคโนโลยี Voice Packet Network เช่น VoIP , VoATM , VoDSL , VoIP mobile.
5. การพัฒนาอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology) จากการพัฒนาของโครงข่ายไร้สายได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล

โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN) คืออะไร
โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN) คือโครงข่ายที่สามารถให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลากหลาย สามารถทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายความเร็วสูงที่สนับสนุนคุณภาพของบริการ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องทั้งในสภาวะที่กำลังเคลื่อนที่หรืออยู่กับที่ จึงเป็นการประยุกต์เทคโนโลยี packet switching โดยใช้ Internet Protocol (IP) ในการสร้างโครงข่ายพื้นฐานในยุคหน้าเพื่อการหลอมรวมการให้บริการโดยไม่มีขีดจำกัดเนื่องจากสภาวะการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ (fixed-mobile convergence) และมุ่งหวังให้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนการเกิดสังคมที่มีการประยุกต์การสื่อสารโทรคมนาคมอย่างกว้างขวาง (ubiquitous communication society) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
คำนิยาม (จากข้อกำหนด ITU-T Y.2001)
Next Generation Network (NGN) คือ โครงข่ายโทรคมนาคมแบบแพ็คเกจที่สามารถให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมและบรอดแบนด์ที่หลากหลายรูปแบบ สามารถใช้เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลที่ให้คุณภาพบริการ มี Function การให้บริการแยกเป็นอิสระจากเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลที่รองรับ ผู้ใช้บริการบนโครงข่ายโทรคมนาคมแบบ NGN จะต้องสามารถเลือกใช้บริการใด ๆ จากผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ได้ โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อปลายทาง (Access) ใด ๆ ได้โดยไร้ขีดจำกัด โครงข่ายโทรคมนาคมนี้รองรับการใช้บริการแบบเคลื่อนที่ (Generalized Mobility) ได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างต่อเนื่อง (Consistent and Ubiquitous)


คุณลักษณะของโครงข่ายโทรคมนาคมแบบ NGN
ความหมายของ NGN โดยทั่วไป เป็นการยอมให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานบริการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทั้งนี้ อาจขยายความ NGN จากคุณลักษณะเบื้องต้นได้ ดังนี้
1. เป็นการรับ-ส่งข้อมูลในลักษณะแบบ Packet-based
2. แยกการควบคุมเป็นอิสระต่อกันระหว่าง ส่วน Capability Call/Session และ Application/Service
3. เป็นการแยกส่วนของการบริการจากส่วนการส่งผ่านข้อมูลและเปิดกว้างสำหรับอุปกรณ์ต่อร่วม (Open Interface)
4. รองรับบริการอันหลากหลาย กลไกและการประยุกต์ใช้อยู่บนพื้นฐาน service building block (real time/streaming/non-real time/multi-media service)
5. รองรับ Broadband ที่มี end-to-end QoS
6.สามารถ Interworking กับโครงข่ายโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม (Legacy Network) โดยการเปิดกว้างสำหรับอุปกรณ์ต่อร่วม (Open Interface)
7. Generalized Mobility
8.ไม่จำกัดการเข้าถึง (Access) จากผู้ใช้บริการ
9. ผู้ใช้บริการจะได้รับบริการที่มีคุณลักษณะที่ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมาจากที่ใด
10. การหลอมรวมบริการ Fixed-Mobile Network
11. บริการไม่ถูกจำกัดโดยเทคโนโลยีการส่งผ่านใด ๆ
12. รองรับเทคโนโลยีการเข้าถึงในช่วงสุดท้ายก่อนถึงอุปกรณ์ปลายทางได้อย่างหลากหลายชนิด(Multiple Last Mile Technology) อาทิเช่น Wifi Broadcast เป็นต้น

โครงสร้างสถาปัตยกรรมของโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN)
ลักษณะการทำงาน NGN มีโครงสร้างพื้นฐานในการทำงาน ดังแสดงในรูป ซึ่งลักษณะการทำงาน NGN จะแบ่งได้ออกเป็น 2 layer ดังนี้

1 .layer บน เรียกว่า Service Stratum เป็นระบบย่อย (subsystem) ในการควบคุมแอพพลิเคชั่นขอบริการต่างๆสำหรับผู้ใช้ (โดยชั้นนี้จะแยกเป็นอิสระไม่ขึ้นกับประเภทของเทคโนโลยีในชั้นขนส่งตามคุณสมบัติหลักของ NGNฟังก์ชั่นหรือความสามารถที่เกี่ยวกับบริการซึ่งจะไม่ขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการขนส่งข้อมูล จากคุณสมบัติข้างต้นโครงสร้างของโครงข่าย NGN จึงถูกออกแบบให้มีกลุ่มองค์ประกอบฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการขนส่งข้อมูลแพ็คเกจ กับกลุ่มองค์ประกอบฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการควบคุมบริการแอพพลิเคชั่นที่แยกเป็นอิสระต่อกันอย่างชัดเจน )องค์ประกอบฟังก์ชั่นหลักของชั้นนี้คือตัวService Control Functionsที่ไว้ควบคุมบริการซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับส่วนนี้คือ IMS(IP Multimedia Subsystem) for NGN (ตามมาตรฐานITU-T Y.2021)
2. layer ล่างเรียกว่า Transport Stratum ทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งข้อมูลจริงๆ ซึ่งมีหน้าที่เป็นโครงข่ายไอพีไว้ขนส่งแพ็คเกจข้อมูล(ที่ผู้ใช้ใช้ในการติดต่อจริงๆ)โดยจะประกอบด้วยส่วนที่ทำหน้าที่ขนส่งแพ็คเกจของข้อมูลโดยตรง (Transport Functionsในรูปซึ่งอาจประกอบด้วยส่วนที่เป็นAccessและCore Transport ) และส่วนที่ทำหน้าควบคุมการขนส่ง (Transport Control Functionในรูป) ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นที่คอยควบคุมคุณภาพบริการ (QoS Control) ในการขนส่งแบบ End-to-End รวมถึงมีฟังก์ชั่น Security ต่างๆด้วย องค์ประกอบฟังก์ชั่นหลักในการทำให้โครงข่าย NGN มีคุณสมบัติเป็นโครงข่ายแบบแพ็คเกจที่สามารถประกันคุณภาพบริการแบบEnd-to-End ได้ละเอียดในระดับSessionของการติดต่อได้เลยทีเดียว (นั่นหมายความว่าถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ใช้คนเดียวกัน ถ้าใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการหลายๆตัวเช่น (1) เล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไปพร้อมๆกับ (2) โทรศัพท์ และ (3) ดูรายการวีดีโอบนโครงข่าย NGN ในเวลาเดียวกัน NGN สามารถให้ระดับคุณภาพบริการที่แตกต่างกันไปได้ในการติดต่อของแต่ละบริการ(1)(2)(3)สำหรับผู้ใช้เดียวกันในเวลาเดียวกัน)คือRACF(Resource and Admission Control Functions)ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของโครงข่าย NGN ที่ไม่มีในโครงข่ายมือถือไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ 3G อย่าง UMTS ก็ตาม ชั้นย่อยที่อยู่บนขึ้นมาในรูป(ระหว่างกลางของชั้นควบคุมบริการและชั้นย่อยที่ทำหน้าที่ขนส่งจริงๆ)ที่ทำหน้าที่ควบคุมหน้าที่การขนส่งอีกทีหนึ่งที่เรียกว่า Transport Control Functions โดยในชั้นย่อยนี้จะประกอบด้วยส่วนประกอบหน้าที่หลักๆอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือหน้าที่ในการควบคุมทรัพยากรและการขอเข้าใช้โครงข่ายที่เรียกว่า RACF(Resource and Admission Control Function)และอีกส่วนหนึ่งคือหน้าที่ควบคุมการขอเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายที่เรียกว่า NACF(Network Attachment Control Function) (1)ในส่วน RACFนั้นจะเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเด่นของNGN และมีช่วยกันศึกษาและกำหนดรายละเอียดกันมากที่สุดตัวหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประกันคุณภาพบริการ(QoS)ของการขนส่งข้อมูลในการติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายเข้าถึง(Access Transport) และโครงข่ายหลัก(Core Transport)ในชั้นย่อย Transport Functionsที่อยู่ข้างล่างลงไป นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ช่วย ซ่อน(hide)ความแตกต่างของเทคโนโลยีที่ใช้ในชั้นขนส่งจากชั้นService Stratum อย่างเช่นบางครั้งผู้ใช้อาจใช้สายใยแก้วนำแสง(FTTH) บางครั้งอาจใช้ ADSL หรือบางครั้งอาจใช้Wireless LAN ในการเข้าNGN เป็นต้น ทำให้ชั้นService Stratumไม่ต้องมากังวลหรือปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะกับรายละเอียดของเทคโนโลยีที่ใช้ในชั้นขนส่งรวมถึงโครงสร้าง(Network Topoly)เหล่านั้น (2)ในส่วนNACFนั้นจะมีหน้าที่หลักๆในการลงทะเบียนผู้ใช้และอุปกรณ์ที่มาขอเชื่อมต่อเข้าในโครงข่ายNGN รวมถึงควบคุมคุณสมบัติต่างๆในการขอเชื่อมต่อเข้าโครงข่ายของผู้ใช้นั้นๆให้เหมาะสม(initialization)ในระดับการเข้าถึงโครงข่าย ตัวอย่างหน้าที่ในรายละเอียดของชั้นนี้ก็เช่นการauthenticate ผู้ใช้และอุปกรณ์ที่มาขอเชื่อมต่อโครงข่าย(ในระดับNetwork Level) การจัดการไอพีแอดเดรส รวมถึงการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่งจำพวกLocation Management เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้มีการนิยามในเรื่องของการเชื่อมต่อ หรือ Interface ไว้ 3 ตำแหน่งด้วยกัน คือจุด User Network Interface (UNI), Application Network Interface (ANI) และ Network Network Interface (NNI)
ในการทำงานของโครงข่าย NGN จะเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้บริการมีการเรียกการใช้บริการผ่านโครงข่าย NGN โครงข่าย NGN ในส่วนของ Transport Stratum จะรับ signaling ที่ขอรับบริการจากอุปกรณ์ของผู้ขอใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อทำการตรวจสอบ Authorization และAuthentication ผู้ใช้บริการก่อน หลังจากที่มีการตรวจสอบเรียบร้อย Transport stratum จะทำการส่ง signaling ต่อไปยังส่วนของ Service stratum เพื่อทำการเรียกการใช้บริการต่อไป รวมทั้งจัดเตรียม QoS(เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น ดีเลย์ แบนด์วิดธ์ การเปลี่ยนแปลงของดีเลย์ (jitter) อัตราการสูญหายของข้อมูล ) ที่เหมาะสมในการให้บริการ หลังจากนั้นจะเริ่มทำการเชื่อมต่อการสื่อสารเพื่อรองรับการให้บริการของผู้ใช้ โดยการรับส่งข้อมูลเพื่อการสื่อสารนั้นจะผ่าน Transport stratum ในรูป IP packet ด้วยเหตุนี้ NGN จึงสามารถให้บริการขนส่ง IP packet ที่มีการควบคุมคุณภาพการให้บริการได้ จากโครงสร้างสถาปัตยกรรมการทำงานของแต่ละ Stratum จะแยกการทำงานออกจากกันโดย
เด็ดขาด จึงทำให้สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงในการขยาย Capacity, Upgrade อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายใน Stratum ได้โดยไม่กระทบกับการทำงานของ Stratum อื่น ๆ

แนวโน้มเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN)
เทคโนโลยีที่คาดว่าจะนำมาใช้กับโครงข่ายของ NGN จะประกอบได้แก่

1. Internet Protocol version 6 ( IPv6 )
ระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่ใช้ IP Address ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จะต้องมีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดยการขยาย IP Address ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานในโลกอนาคตที่มีอย่างไม่จำกัด ซึ่งอินเทอร์เน็ต ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะก่อให้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาลและช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในทุกๆด้านรวมไปถึงการศึกษาและด้านธุรกิจ
ความหมายของ IP Address IP Address ที่ใช้นั้นประกอบด้วยเลข 4 ชุด (หรือ 4 Bytes) แต่ละชุดจะแยกกันด้วยเครื่องหมาย “.” และแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 – 255 (มาจาก 28-1) ดังตัวอย่าง 66.218.71.86 เป็นต้น มีด้วยกัน 5 Classes ได้แก่ Class A, B, C, D,และ E แต่ที่ใช้อยู่ในระบบเพียง 4 Classes โดย Class D นำมาใช้งานด้าน Multicast Application ส่งแพ็กเก็ตข้อมูลกระจายให้กลุ่มคอมพิวเตอร์ได้แก่งาน Tele-conference งานถ่ายทอด TV/Video บนระบบ IP Network เป็นต้น และสำหรับ Class E ไม่มีการใช้จริง
การขยาย IP จาก IPv4 เป็น IPv6 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลคือ IP address ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันจะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใครหมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว
นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตและหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมากและปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆอีกหลายประการทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPngn ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น Gigabit Ethernet, OC-12, ATMและในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้เช่น wireless network นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ไว้ด้วย ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆคือ การกำหนดหมายเลขและการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการ ของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
2. DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางด้านแสง (Fiber Optic Network) พัฒนามาจากระบบ WDM มีเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 สามารถส่งได้ 2 ช่อง เรียกว่า Wideband WDM ปี 1990 เป็นรุ่นที่ 2 ของ WDM สามารถส่งได้ 2-8 ช่องและแต่ละช่องห่างกัน 400GHz ในความยาวคลื่น 1550nm เรียกว่า Narrowband WDM ปี 1996 เป็นรุ่นที่ 3 ของ WDM โดยสามารถส่งได้ 16-40 ช่องและแต่ละช่องห่างกัน 100-200GHz และได้มีการพัฒนาจนสามารถส่งได้ 64-160 ช่องและแต่ละช่องห่างกัน 25-50GHz เรียกว่า Dense WDM (DWDM) โดยเริ่มจาก Transmitter ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงแล้วส่งเข้าสู่เส้นใยแก้ว Transmitter หนึ่งชุดจะส่งแสงออกมา 1 ความยาวคลื่นถือเป็น 1 ช่องสัญญาณจากนั้นแสงทุกช่องสัญญาณที่มีความยาวคลื่นต่าง กันจะถูกรวมเข้าด้วยกันโดยกระบวนการทางแสงด้วย Optical Multiplexer (Mux) เพื่อส่งไปยังปลายทางด้วยเส้นใย แก้วเพียงเส้นเดียว ข้อมูลที่เดินทางในระหว่างเส้นทางจะถูกลดทอนสัญญาณทำให้แสงมีค่าความเข้มแสงอ่อนลง จึงต้องมี Optical Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณแสงทุกช่องสัญญาณพร้อมกันให้มี ขนาดความเข้มแสงมากพอที่จะเดินทางต่อไปไกล เมื่อข้อมูลเดินทางถึงปลายทางสัญญาณแสงที่รวมทุกช่องสัญญาณมาก็จะถูกแยกออกให้เป็นช่องสัญญาณเดี่ยวตามค่าความยาวคลื่นแสงด้วยอุปกรณ์เชิงแสงที่เรียกว่า Optical Demultiplexer (DeMux) จาก นั้นก็เปลี่ยนข้อมูลทางแสงเป็นไฟฟ้า
ข้อดีของระบบ DWDM คือ 1. สนับสนุนหลากหลาย Protocol 2. ส่งได้ BandWidth เพิ่มขึ้น Speed สูงขึ้นในเส้นใยแก้วนำแสงเส้นเดิม 3. ประหยัดอุปกรณ์ทวนสัญญาณ, เส้นใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์เชื่อมต่อ 4. ราคาถูกกว่าถ้าเทียบกับลาก fiber ใหม่ 5. สามารถใช้ได้กับโครงข่ายเดิม
3. ในวิวัฒนาการของโครงข่ายมือถือจากยุค3Gอย่างUMTSที่กำหนดโดย 3GPP ไปสู่ยุค 3.9G อย่าง LTE ที่เริ่มออกมาเป็นมาตรฐานใน 3GPP Rel.8 นั้นและเริ่มมีการให้บริการในประเทศต่างๆแล้ว(ในญี่ปุ่นเองนั้น NTT DoCoMo ก็จะเริ่มให้บริการปลายปีค.ศ.2010) นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับฝั่งโครงข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (Radio Access Network ) แล้วนั้น ทางฝั่งสถาปัตยกรรมโครงข่ายหลัก (Core Network: CN) ก็จะมีการวิวัฒนาการเนื่องจากจุดประสงค์หลักของ LTE นั้นนอกเหนือจากการเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นระดับ300Mbpsทางขาลง และระดับ 150Mbps ทางขาขึ้นแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในการลดเวลาในการเข้าสู่การติดต่อ รวมถึงลด Delay Time ให้น้อยที่สุดเพื่อเพิ่มคุณภาพในการติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายสื่อสารเคลื่อนที่ด้วย เพื่อการนี้ (1)ในส่วน RAN นั้นจากเดิมฝั่งสถานีฐานยุค3Gที่ประกอบด้วยอุปกรณ์สถานีฐาน(NodeB) และอุปกรณ์ ควบคุมอย่าง RNC นั้น ในยุค 3.9G นั้นจะเปลี่ยนไปเป็นอุปกรณ์สถานีฐานที่เรียกว่า eNodeเพียงตัวเดียว ที่มีหน้าที่หลักๆในการทำ header compression และเข้ารหัสของข้อมูลผู้ใช้ ในการทำจัดการทรัพยากรคลื่นวิทยุในการติดต่อ ในการทำประกันคุณภาพบริการ เป็นต้น (2) ในส่วนโครงข่ายหลักยุค3Gมีทั้งCircuit Switch(CS) CN สำหรับรับส่งบริการประเภทเสียงหรือ Video CallและPacket Switch (PS) CN สำหรับรับส่งบริการประเภทที่ใช้ข้อมูลแพ็คเกจในยุค3.9G นั้น โครงข่ายหลักที่เรียกว่า EPC(Evolved Packet Core) จะมีอุปกรณ์สามชนิดคือ (ก) Mobility Management Entity(MME )ที่ทำหน้าที่ในการจัดการการเคลื่อนที่ของเครื่องมือถือผู้ใช้รวมถึงการตรวจสอบทำAuthenticationของผู้ใช้เข้ารหัสสัญญานควบคุมที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องผู้ใช้ อีกทั้งทำ Location Registration และ Handover เป็นต้น อุปกรณ์ที่สองคือ(ข) Serving Gateway (SGW) ซึ่งทำหน้าที่ Routing และขนส่งแพ็คเกจของผู้ใช้ระหว่างฝั่งสถานีฐาน(EUTRANซึ่งประกอบด้วย eNodeB) กับEPC โดยจะทำหน้าที่ส่งต่อไอพีแพ็คเกจที่มาจาก/หรือไปยังเครื่องผู้ใช้ กับPGW นอกจากนั้นยังทำหน้าเป็นจุดหมุน(Anchor)ในกรณีที่มีการเคลื่อนที่ภายในLTEหรือ เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย LTE กับ 3G WCDMA อุปกรณ์ที่สามคือ(ค) Packet data network Gateway(PGW) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารเคลื่อนที่ไปยังโครงข่ายไอพีภายนอกอย่างเช่นโครงข่ายองค์กรของลูกค้าหรือโครงข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่เป็นจุดหมุน(Anchor)ในกรณีที่มีการเคลื่อนที่ระหว่างโครงข่ายLTEกับโครงข่ายสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ที่ใช้เทคโนโลยีอื่นๆเช่น WiMAX, CDMA2000 EVDO, Wi-Fi โดยในการสร้างโครงข่ายจริงๆตัวSGWและPGWอาจรวมอยู่ในอุปกรณ์Hardware ตัวเดียวกันก็ได้
Mobile 4 G กำลังมีการการวิจัยและพัฒนาให้บริการในยุค 4G ในหลายบริษัท ตัวอย่างเช่น บริษัท KDDI ในประเทศญี่ปุ่น ได้คิดนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงการที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ของ KDDI แล้ว พบว่า มีการวิจัยและพัฒนาครอบคลุมทุกๆ ด้าน อาทิ บริการด้านมัลติมีเดีย (Multimedia Applications) โครงข่ายการเชื่อมโยงด้วยบรอดแบนด์ (Broadband Access and Network Infrastructure) ระบบการสื่อสารไร้สายด้วยความเร็วสูงขึ้น (Next Generation Mobile Communications) ความปลอดภัยในการใช้งาน (Security) การสื่อสารแบบ Real time ในยุค 4G (Ubiquitous Communications)
4. Wireless LAN เริ่มจากความต้องการที่ทำให้การติดต่อภายในโครงข่ายLANให้สะดวกมากขึ้น(จากเดิมที่ต้องต่อด้วยสายEthernet)เป็นแบบไร้สายกลายเป็นมาตราฐานWireless LAN 802.11ของค่ายIEEE ตั้งแต่ปี1997 สำหรับใช้ติดต่อในโครงข่ายส่วนตัวครอบคลุมรัศมีใกล้ๆระยะหลายสิบเมตรหรือในสถานที่เฉพาะเช่นร้านกาแฟ สนามบินหรือHot Spotอื่นๆ โดยมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11a/b/gจนถึงระดับร้อยเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11n นอกจากนี้ทางค่ายIEEEนี้ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้สื่อสารรับส่งข้อมูลแบบไร้สายอย่างWireless LANได้ในรัศมีที่กว้างขึ้นระดับหลายกิโลเมตร(แต่หยุดเคลื่อนที่ขณะใช้งาน)ตามมาตราฐาน 802.16-2004 ที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Fixed WiMAX(ความเร็วสูงสุดประมาณ37เมกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้คลื่นพาหะกว้าง10MHz) หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาให้มาตราฐาน802.16นี้สามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลได้แม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงที่เรียกว่า802.16e หรือที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Mobile WiMAXนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการต่อโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สายต่างๆในรูปที่1เข้ากับโครงข่ายหลักของNGNจะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อด้วยความเร็วระดับบรอดแบนด์ได้ในทุกที่ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังใช้มือถือ Wireless LANหรือWiMAXอยู่ก็ตาม

ข้อดีของโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN)
จากที่มาดังกล่าว องค์กรโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(International Telecommunication Union Telecommunication Standardization sector: ITU-T)รวมถึง สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมแห่งสหภาพยุโรป(European Telecommunications Standards Institute: ETSI) ซึ่งมีโครงการชื่อว่า TISPAN (Telecoms & Internet converged Services & Protocols for Advanced Network) ทำงานด้านโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ภาพรวมโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า โดยมีจุดเด่นและข้อดีต่อผู้ใช้ดังต่อไปนี้ ก) โครงสร้างของโครงข่ายจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่แยกตามบริการแต่ละประเภท เป็นโครงข่ายหลักเดียวสำหรับบริการทุกประเภท ทั้งบริการโทรศัพท์บ้าน บริการต่อเข้าโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่บริการติดต่อสื่อสารจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยข้อมูลจะถูกขนส่งโดยใช้โครงข่ายไอพีเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลทุกชนิดจะถูกรับส่งเป็นกลุ่มข้อมูลหรือแพกเกจ (Packet) ข) โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จะมีการแบ่งชั้นทำหน้าที่ต่างๆกันอย่างชัดเจนเป็นโครงสร้างแบบแบ่งเป็นชั้น(Hierarchical) ที่ทำหน้าที่ขนส่งข้อมูลของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ หรือข้อมูลต่างๆที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เรียกว่าชั้นทำหน้าที่ขนส่ง (Transport Stratum) ชั้นที่อยู่เหนือชั้นทำหน้าที่ขนส่ง เรียกว่า ชั้นควบคุมบริการ(Service Stratum) ทำหน้าที่ควบคุมบริการต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน เช่น ไอพีเทเลโฟนี(IP Telephony) หรือโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพี รวมถึงการควบคุมคุณภาพของบริการ(Quality of Service) และความปลอดภัย (Security) ด้วย ค) จุดเชื่อมต่อต่างๆ(ระหว่างชั้นภายในโครงข่าย ระหว่างโครงข่ายกับผู้ใช้ หรือระหว่างโครงข่ายกับโครงข่ายอื่น) เป็นจุดเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานเปิดที่ถูกกำหนดไว้ชัดเจน ทำให้การเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันไม่มีปัญหา ข้อดีของโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จากจุดเด่นดังกล่าวนี้ประการแรกคือบริการทุกประเภทมีอยู่บนโครงข่ายเดียวกันและมีการต่อเชื่อมกันอย่างต่อเนื่อง บริการ ที่รวมทั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารข้อมูล และบริการการกระจายสัญญาณ(Broadcast) เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องแยกเบอร์โทรศัพท์ผู้ใช้หรือชื่อผู้ใช้ตามประเภทโครงข่ายเหมือนเดิม นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลถูกขนส่งเป็นแบบใช้ไอพีทั้งหมดจึงสามารถมีบริการใหม่ๆเช่น ผู้ใช้ที่บ้านสามารถพูดคุยโทรศัพท์แบบเห็นหน้าได้ขณะสนทนาหรือโทรศัพท์ภาพ สามารถเลือกชมรายการวีดีโอต่างๆได้เมื่อต้องการ เช่น บริษัทนิปปอนเทเลโฟนแอนด์เทเลกราฟ(Nippon Telephone & Telegraph:NTT)ซึ่งเป็นผู้ใหับริการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นได้ทดลองใช้บริการ ของโครงข่ายเอ็นจีเอ็น(NGN) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ และเปิดบริการจริงต้นปี พ.ศ.๒๕๕๑ ข้อดีถัดมา คือ จากการที่มีจุดเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานเปิด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถเปิดโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) ให้ผู้สร้างบริการเสริมหรือเอเอสพี (Application Service Provider: ASP) ต่างๆ มาแข่งขันกันสร้างบริการใหม่ๆ บนโครงข่ายให้กับผู้ใช้บริการได้สะดวกขึ้นโดยผู้ให้บริการโครงข่ายไม่ต้องลงทุนทำเองทั้งหมด ดังนั้นผู้ใช้จะมีบริการประเภทต่างๆให้เลือกใช้ได้มากขึ้นด้วยราคาที่เหมาะสมต่อไป

ลักษณะการใช้งานบริการบนโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN)
โครงสร้างของโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จะคล้ายกับโครงข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมแต่ละรายจะมีโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) เป็นของตนเองและจะมาต่อเชื่อมกันเพื่อสามารถให้บริการติดต่อกันได้ทั่วโลกเช่นกัน แต่บริการที่สามารถนำมาติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จะต้องเป็นบริการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอนุญาตเท่านั้น นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จะมีลักษณะเฉพาะอีกหลายประการ ก) สามารถประกันคุณภาพบริการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ใช้บริการที่ต้องการแบนด์วิดท์กว้างหรือความเร็วสูงในการติดต่อเช่น โทรศัพท์ภาพหรือ บริการดูรายการภาพยนตร์เมื่อต้องการ (Video on Demand) ที่มีความละเอียดคมชัดของภาพสูง (High Definition: HD) สามารถรับส่งข้อมูลได้โดยไม่มีผลกระทบจากความล่าช้าหรือสูญหายที่คาดไม่ถึง ผลคือผู้ใช้สามารถพูดคุยเห็นหน้า หรือชมรายการได้โดยไม่มีกรณีภาพเลอะ เบลอ หรืออาจจะหยุดเป็นช่วงๆ (เช่นกรณีที่การชมวีดีโอคลิปขนาดใหญ่ บนอินเทอร์เน็ตประสบปัญหาภาพเลอะ หรือกระตุกเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงเวลา ที่มีผู้ใช้บริการมาก)เพื่อการประกันคุณภาพนี้นอกจากจะต้องการโพรโตคอลจัดเส้นทาง(Routing Protocol) สำหรับขนส่งแพคเกจแล้ว ยังต้องการโพรโตคอลเช่น ซิป(SIP) ไว้ใช้ในการควบคุมดังกล่าวด้วย ข) สามารถเปิดโครงข่ายให้มีการพัฒนาบริการใหม่ๆได้มากขึ้นและเร็วขึ้น จากการที่มีจุดเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานเปิด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถเปิดโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) พร้อมด้วยฟังก์ชันหรือหน้าที่ๆ จำเป็น ให้ผู้สร้างบริการหรือแอพพลิเคชัน (ASP) ต่างๆ มาแข่งขันกันสร้างบริการใหม่ๆ วิ่งบนโครงข่ายให้กับผู้ใช้บริการได้สะดวกขึ้น ผู้ใช้จะได้มีบริการประเภทต่างๆให้เลือกใช้ได้มากขึ้นเช่น บริการเรียกดูสารคดี หรือรายการบันเทิงต่างประเทศ โดยอาศัยฟังก์ชันการสื่อสารแบบมัลติแคสหรือกระจายข้อมูลจากจุดหนึ่งไปหลายจุดพร้อมกัน ของโครงข่าย (Multicast) ค) ความสามารถทางด้านตรวจสอบความปลอดภัย(Security) และการพิสูจน์ตัวตน(Authorization) ที่สามารถตรวจสอบผู้ใช้ ที่จะเข้ามาในโครงข่ายและใช้บริการ ง) มีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากโครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก เช่นโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า (NGN) จึงมีความสามารถที่จะควบคุมเมื่อมีปริมาณการติดต่อหรือรับส่งข้อมูล(Traffic)มากผิดปกติเช่นกรณีมีการติดต่อกันมากๆในช่วงหลังเกิดภัยธรรมชาติหรือไฟไหม้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โครงข่ายเกิดการแออัด(Congestion)ขึ้นจนทั้งระบบไม่สามารถทำงานต่อได้ อีกทั้งตัวระบบยังต้องมีการออกแบบวงจรและอุปกรณ์เผื่อไว้เกิน(Redundancy)เพื่อที่ว่าหากมีวงจรหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหายกระทันหันโครงข่ายจะสามารถเปลี่ยนไปใช้วงจรหรือส่วนที่เผื่อไว้ได้ทันทีโดยไม่มีการหยุดชะงักของบริการ(ServiceInterruption)เกินกว่าที่กำหนดไว้เช่นบริการหยุดชะงักได้รวมทั้งหมดไม่เกิน๒ ชั่วโมงในระยะเวลา ๒๐ ปี เป็นต้น

โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า Next Generation Network (NGN)ในประเทศไทย
รัฐบาลปัจจุบันได้มีการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนโยบายการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียม เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งด้าน Software และ Hardware รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ในภูมิภาค
นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานในพิธีเปิดงานและบรรยายพิเศษ งานสัมมนา “การพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยในอนาคตที่เกี่ยวกับโครงข่ายสมัยใหม่ “NGN Broadband Development and Implementation” ว่า ในอนาคตการให้บริการด้านโทรคมนาคมจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาปัตยกรรมโครงข่ายใหม่ โดยจะมีการรวมเอา Voice Network และ Data Network เข้าไว้เสมือนเป็นโครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดการบริการที่หลากหลาย มีความรวดเร็ว รวมทั้งช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงและทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค Next Generation Network หรือ NGN ถือเป็นโครงข่ายสมัยใหม่ที่จะเข้ามาปฏิวัติสถาปัตยกรรมโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก ตลอดจนวิธีการเข้าถึงโครงข่าย (Access Network) ที่จะเริ่มแปรเปลี่ยนโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วโลกจากระบบ Analog ไปสู่โลกแห่ง Digital ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยรัฐบาลปัจจุบันได้มีการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนโยบายการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียม นโยบายการพัฒนาบริการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 ได้ระบุให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 3 และการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายรัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านไอซีทีของภูมิภาคดังนั้น ในช่วงรอยต่อปีพ.ศ. 2552 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาและกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้หลายด้าน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีเป้าหมายที่จะขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ Broadband Internet ให้ได้ 5 ล้านพอร์ต (port) ในปี พ.ศ. 2553 รวมทั้งประสานงานกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อติดตามและเร่งรัดการออกใบอนุญาตดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ตลอดจนใบอนุญาตในเรื่อง WIMAX และโครงข่ายสมัยใหม่ หรือ NGNรวมถึงวางแนวทางการพัฒนาศึกษาและวิจัยในเรื่อง Long Term Evaluation หรือ LTE ในอนาคต” นายธานีรัตน์ กล่าว ส่วนด้านกฎหมาย นอกจากกฎหมายที่มีข้อบังคับใช้แล้ว และร่างกฎหมายที่รอการพิจารณาจากสภาฯ ยังมีกฎหมายไอซีที เพื่อเตรียมพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศที่ต้องมีการผลักดัน ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ กฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการ การให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority หรือ CA) และกฎหมายการประกอบกิจการไปรษณีย์ สำหรับด้านเวทีระหว่างประเทศที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกของสภาบริหาร สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกสภานี้มาแล้ว 7 สมัย ต่อเนื่องกัน จึงควรจะได้เตรียมการหาเสียงเรื่องนี้ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และในปี พ.ศ. 2554 จะมีการประชุมวิทยุโลกของ ITU ซึ่งเรียกว่า World Radio Conference2011 เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุให้แก่กิจการต่างๆ กระทรวงฯ จึงต้องเตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมกับกทช. เพื่อเตรียมการในเรื่องนี้ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่กระทรวงฯ จะต้องเร่งสร้างบุคลากรด้านโทรคมนาคมให้เพียงพอ รวมทั้งต้องมีการลดช่องว่างด้านดิจิตอล ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสาร อันเป็นการพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และกระทรวงฯ ยังให้ความสำคัญในด้าน Green IT เนื่องจากปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตลับหมึกที่ใช้จนหมด ล้วนเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นับวันจะก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้ และสังคม
ในเรื่องของความร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องNGNในประเทศไทยกับญี่ปุ่นนั้น ที่ผ่านมาก็มีการจัดกิจกรรมอย่างเช่นสัมมนาวิชาการต่างๆอย่าง NGN Technology and Applications ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกทช.โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางญี่ปุ่นโดยมีการเชิญวิทยากรมาบรรยาย มีการลงนาม MOUความร่วมมือระหว่าง NGN Forum Thailand (ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระตามที่ได้รับความเห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งโดยกทช. โดยมีเป้าหมายในการศึกษา รวบรวม และกำหนดแนวทางร่วมกันในการพัฒนาของโครงข่ายโทรคมนาคมNGNของบ้านเราและมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง)กับคณะกรรมการเทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือ TTC (Telecommunication Technology Committee) ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนมกราคม ค.ศ.2010 โดยตัวแทนจากทั้งสององค์กรคือ ท่านจำรัส ตันตรีสุคนธ์ ประธานของ NGN Forum Thailandและ Dr.Yuji INOUE & CEOของTTC ที่เป็นหนึ่งใน SDO (Standard Development Organizationหรือองค์กรที่เป็นตัวแทนประเทศหรือภูมิภาคในการกำหนดมาตรฐาน) ของประเทศญี่ปุ่นโดยมีหน้าที่ในการศึกษาและออกมาตรฐานของโครงข่ายและระบบสัญญาณ (signaling) ต่างๆทั้งโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายหลักของมือถืออย่าง 3G ทั้งระบบ W-CDMA และCDMA2000 รวมถึง NGN ด้วยมาตรฐานที่ออกมาจะเป็นเรียกว่ามาตรฐาน TTC สำหรับประเทศญี่ปุ่น ในการออกมาตรฐาน NGN ของประเทศญี่ปุ่นนั้นก็จะยึดถือเนื้อหาของมาตรฐานระหว่างประเทศของ ITU-T มาเป็นหลัก ซึ่งทาง ITU-T ได้เริ่มออกมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ NGN รวมถึงมาตรฐานของ IMS สำหรับ NGN มาตั้งแต่ปลายปีค.ศ.2004(โดยเริ่มจากRecommendations สองตัวแรกที่กล่าวถึงภาพรวมโดยทั่วไปและโครงสร้างอ้างอิงพื้นฐานคือ ITU-T Y.2001 ที่เกี่ยวกับ General Overview of NGN และY.2011 ที่เกี่ยวกับ General Principles and general reference model for Next Generation Networks)จนออกมาเป็นมาตรฐานในรายละเอียดต่างๆของ NGN Release1 ตั้งแต่ปีค.ศ.2006เป็นต้นมา โดยมี Recommendations หลักๆครอบคลุมขอบเขตของโครงข่าย ความสามารถ และ บริการในโครงข่าย NGN ขั้นแรก ยกตัวอย่างเช่น (1) Supplement 1 to Y.2000-Series Recommendations, NGN release 1 scope (2) Y.2201 NGN Release1 Requirements และ (3)Y.2111 Resource and Admission Control functionsเป็นต้น
แหล่งที่มา (References)http://www.ntc-ngn.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=11&Itemid=5
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/065/41.PDFhttp://www.nectec.or.th/bid/mkt_info_tech_NGN.htm
http://www.thaitelecomkm.org/TTE/http://www.thnic.or.th/article/18-technology
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0424
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0461
http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=72&Itemid=1
http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1
http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=1654
http://munjoo.exteen.com/20080229/next-generation-network-ngnhttp://www.eng.chula.ac.th/newsletter

Ultra wide band (UWB) technology เทคโนโลยีไร้สาย

|0 ความคิดเห็น

Ultra wide band (UWB) technology เทคโนโลยีไร้สาย

ปัจจุบัน ความต้องการในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความสามารถ สะดวกสบายในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคารสำนักงาน หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อความบันเทิงภายในแหล่งที่พักอาศัย โดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชนิดเข้าด้วยกันเช่น ระหว่าง คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่อพ่วง( printer กล้อง ฯลฯ )หรือระหว่างโทรศัพท์มือถือด้วยกัน และแม้แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ มีเทคโนโลยีไร้สายเพื่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวหลายเทคโนโลยี เช่น Wi-Fi, Bluetooth , Zigbee , RFID (Radio Frequency Identification) และ Ultra wide band (UWB)เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายแบ่งเป็นประเภทโดยใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้



1. WPAN(Wireless Personal Area Network) เป็นระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล เชื่อมโยง อุปกรณ์การสื่อสารหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีไร้สายประเภทนี้เช่น IrDA Port, Bluetooth, Wireless และ Ultra wide band (UWB)
2. WLAN(Wireless Local Area Network) คือระบบเครือข่ายไร้สายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) เทคโนโลยีไร้สายประเภทนี้เช่น WiFi ตามมาตรฐาน IEEE 802.11และมาตรฐาน IEEE 802.11b , ETSI HIPERLAN ตามมาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรป
3. WMAN(Wireless Metropolitan Area Network)เชื่อมต่อแบบไร้สายในระดับขอบเขตเมืองใหญ่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ได้ไกลว่าเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (Wireless Local Area LAN) หลายสิบเท่า เทคโนโลยีไร้สายประเภทนี้เช่น WiMAX ตามมาตรฐาน IEEE 802.16
4. WWAN(Wireless Wide Area Network) ) คือ ระบบเครือข่ายไร้สายบริเวณกว้าง ที่อาจครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ หรือเขตภูมิภาค ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เทคโนโลยีไร้สายประเภทนี้เช่น WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้เป็นมาตรฐานในโทรศัพท์ยุค 3G , Mobile Broadband Wireless Access (MBWA) มาตรฐาน IEEE 802.20


ผังเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย WPAN WLAN WMAN WWAN



Ultra wide band (UWB) คือ

Ultra wide band (UWB) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายส่วนบุคคลระยะสั้นสำหรับเครือข่ายที่เรียกว่า Wireless Personal Area Network (WPAN) พัฒนาขึ้นโดย Multiband OFDM Alliance (MBOA) ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน2003 มีสมาชิกมากกว่า 170 รายนำโดย Texas Instruments (TI), Intel, Samsung Electronics, Mitsubishi Electric, Philips, Nokia, Sony, Infineon Technologies เป็นต้น Ultra wide band (UWB) จะใช้สัญญาณพัลส์วิทยุที่มีช่วงความกว้างของพัลส์แคบมากในการส่งและรับสัญญาณ ซึ่งทำให้สัญญาณที่ส่งมีความกว้างแถบสัญญาณกว้างมาก ส่งผลให้มีความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีปริมาณมาก



หลักพื้นฐานของ Ultra wide band (UWB)
Ultra wide band (UWB) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีการส่งสัญญาณด้วยคลื่นแบบแถบความถี่หรือสเปกตรัมที่กว้าง และใช้สัญญาณที่มีรูปคลื่นสัญญาณปรากฏเพียงชั่วขณะแล้วหายไป โดยการส่งสัญญาณแบบพัลส์ (Pulse) ดังกล่าวต่อเนื่องกันในทางเวลาระหว่างเครื่องส่ง และเครื่องรับวิทยุหรือเป็นพัลส์ที่มีความกว้างของสัญญาณในทางเวลาที่แคบมาก ไม่เหมือนการสื่อสารแบบ Narrow band communication ซึ่งใช้ในการสื่อสารไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเครือข่ายเฉพาะที่ไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) จะใช้เทคนิคการผสมสัญญาณของรูปคลื่นสัญญาณวิทยุที่มีความต่อเนื่อง ทางเวลากับสัญญาณคลื่นพาห์ที่มีความถี่ที่กำหนดเพื่อใช้ในการส่งและรับสัญญาณทำให้พลังงานของสัญญาณถูกรวมอยู่ในช่วงแถบความถี่หรือแบนวิธ (Bandwidth)แคบๆ ซึ่งสามารถถูกรบกวนได้ง่ายเปรียบเทียบจากตารางต่อไปนี้




Ultra wide band (UWB) ยังสามารถแบ่งออกเป็นแบบแถบความถี่เดียว (Single band approach) และแบบหลายแถบความถี่ (Multiband approach) รวมทั้งใช้เรียกเทคนิคการใช้คลื่นพาห์ย่อยที่ไม่รบกวนกันจำนวนมากในการผสมสัญญาณที่เรียกว่า Multiband OFDM ซี่งจะทำให้สามารถส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันผ่านทางย่านความถี่ย่อย ๆ ที่อยู่ห่างกันได้ โดยข้อดีในการใช้ Multiband OFDM คือมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้งานย่านความถี่และลดผลกระทบที่เกิดจากสัญญาณรบกวน รวมไปถึงผลของสัญญาณสะท้อนจากหลายทิศทางหรือที่เราเรียกว่ามัลติ-พาห์ (Multi-path) อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกเทคนิคที่คลอบคลุมการใช้ความถี่เป็นแถบกว้างมากโดยได้รับการกำหนดให้อยู่ในมาตรฐาน IEEE 802.15.3a โดยมีย่านความถี่ที่ถูกกำหนดจากFederal Communications Commission (FCC) อยู่ที่ 3.1-10.6 GHz พลังงานที่ใช้ใน Multiband OFDM ที่ค่อนข้างต่ำดูได้จากตาราง




ค่าปริมาณการใช้พลังงานในอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ MB-OFDM โดยประมาณ



สัญญาณของ Ultra wide band (UWB)
สัญญาณของ Ultra wide band (UWB) ที่มีลักษณะสัญญาณเป็นรอบเดี่ยว (monocycle pulse) สามารถใช้การสร้างและจำลองสัญญาณพัลส์ (Pulse) แบบเกาส์เซียน (Gaussian) มาเปรียบเทียบได้ดังนี้







สัญญาณพัลส์เดี่ยวแบบเกาส์เซียน(Gaussian monocycle)


สัญญาณของ Ultra wide band (UWB) รูปคลื่นที่เป็นฟังก์ชันของการกระจายค่าทางสถิติแบบเกาส์เซียน มีค่าความถี่กลางและความกว้างของพัลส์เป็นสัดส่วนแปรผกผันกับช่วงเวลาของพัลส์ ซึ่งแสดงสัญญาณพัลส์เดี่ยวแบบเกาส์เซียนในทางเวลาที่มีความกว้างพัลส์ประมาณ 0.5 นาโนวินาที
การส่งและรับสัญญาณของ Ultra wide band (UWB) นั้น จะประกอบไปด้วยลำดับของสัญญาณพัลส์ (Pulse) ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีค่าคงที่ ซึ่งตำแหน่งของพัลส์ทางเวลา หรือการปรากฏของพัลส์ที่ตำแหน่งใด ๆ ทางเวลาจะถูกนำมาใช้แทนการส่งข้อมูลในการสื่อสารข้อมูลดิจิตอล ได้ดังรูป


การนำสัญญาณอัลตราไวด์แบนด์แบบพัลส์มาใช้ในการส่งและรับข้อมูลดิจิตอล

โครงสร้างพื้นฐานเครื่องส่งและเครื่องรับของ Ultra wide band (UWB)
เครื่องส่งและเครื่องรับของ Ultra wide band (UWB) นั้นเนื่องจากเป็นการสื่อสารด้วยการใช้สัญญาณพัลส์(Pulse) ที่มีช่วงเวลาสั้นมากในระดับนาโนวินาที ซึ่งจะมีผลทำให้ระยะเวลาในการรับข้อมูลนานมากขึ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องรับแบบ คอรีเลย์เตอร์ (Correlator) ซึ่งเป็นวงจรที่เทียบความคล้ายคลึงของสัญญาณแม่แบบที่ได้รับเพื่อทำการตรวจจับจับพลังงานของสัญญาณ ข้อได้เปรียบคือการส่งและการรับของ Ultra wide band (UWB) ไม่ต้องใช้คลื่นพาห์ (Carrierless) โดยสัญญาณข้อมูลจะถูกผสมกับสัญญาณพัลส์ Ultra wide band ที่ถูกสร้างขึ้น และส่งผ่านสายอากาศ โดยไม่ผ่านวงจรผสมสัญญาณทำให้ไม่จำเป็นต้องมีวงจรออสซิลเลเตอร์ เพื่อกำเนิดสัญญาณคลื่นพาห์ และมิกเซอร์ทำให้มีจำนวนอุปกรณ์ที่น้อยกว่าระบบสื่อสารแบบแถบความถี่แคบ ดังรูปต่อไปนี้


เครื่องส่งและเครื่องรับของ Ultra wide band (UWB)


โดยสรุปจากหลักพื้นฐานของ Ultra wide band (UWB) ข้างต้น Multiband OFDM Alliance (MBOA) ได้พัฒนาให้ Ultra wide band (UWB) เป็นระบบการสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล ที่ใช้การส่งผ่านข้อมูลแบบพัลส์(Pulse) สั้นๆ ผ่านคลื่นวิทยุความถี่หรือ แบนวิธ (Bandwidth) กว้าง ทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากได้ในระยะทางสั้นๆ โดยใช้พลังงานในระดับต่ำเพียง 0.0001 มิลลิวัตต์ต่อเมกะเฮิรตซ์ มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 480 Mbps ที่ระยะทางประมาณ 2 เมตร และความเร็ว 110 Mbps ที่ระยะทาง ประมาณ 10 เมตร ถูกกำหนด มาตรฐาน IEEE 802.15.3a โดยมีย่านความถี่ที่ถูกกำหนดจากFederal Communications Commission (FCC) อยู่ที่ 3.1-10.6 GHz Ultra wide band (UWB) มีคุณลักษณะเด่นดังนี้
1. สามารถแพร่กระจายผ่านช่องสัญญาณหลายเส้นทางแต่เกิดการลดทอนน้อย เพราะ Ultra wide band (UWB) เป็นสัญญาณพัลส์ที่แคบมาก เมื่อสัญญาณพัลส์หลายชุดที่เดินทางมาถึงเครื่องรับ การซ้อนทับกัน ทางเวลาหรือการรบกวนกันของพัลส์จึงเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง มักมีช่วงเวลาที่นานกว่าความกว้างทางเวลาของพัลส์เมื่อใช้ระบบซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access :CDMA) สัญญาณพัลส์ที่ตรวจจับได้จากหลายเส้นทาง จะถูกรวมกันเพื่อเพิ่มระดับของคุณภาพการรับของสัญญาณได้มากยิ่งขึ้น
2. ตรวจจับและดักสัญญาณต่ำ เพราะไม่ทราบว่าสัญญาณพัลส์ที่ถูกส่งมาเป็นชุดสั้นๆจะมาปรากฏที่เครื่องรับในตอนไหน และเนื่องจากมีการกระจายสัญญาณในช่วงของความถี่ที่กว้าง การทำการแจมมิ่ง (Jamming) สัญญาณในแถบความถี่กว้างมากนั้นกระทำได้ยาก
3. ระดับความหนาแน่นของระดับความแรงต่อความถี่ของสัญญาณUltra wide band (UWB) มีค่าต่ำ (Low power spectral density) ทำให้สามารถทำงานซ้อนทับกับระบบสื่อสารแบบอื่นได้
4. Ultra wide band (UWB) มีสัญญาณพัลส์ที่มีช่วงเวลาแคบมากในระดับที่ต่ำกว่านาโนวินาที ทำให้สัญญาณมีความละเอียดสูงที่มาก (very high resolution) ซึ่งความละเอียดดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่นำมาใช้ในการวัดความแตกต่างของระยะทางได้ เช่นในระบบเรดาห์เมื่อสัญญาณลูกคลื่นพัลส์ของอัลตราไวด์แบนด์สะท้อนกลับมายังเครื่องรับก็จะสามารถคำนวณหาระยะทางโดยประมาณที่สัญญาณพัลส์ใช้เวลาในการเดินทางได้อย่างเที่ยงตรงโดยมันมีความสามารถในการอ่านตำแหน่งของวัตถุด้วยความแม่นยำในระดับเซนติเมตร ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยี GPS ที่ให้ความแม่นยำเพียงแค่หน่วยเมตรเท่านั้น
5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร หรือ Federal Communication Commission (FCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร กำหนดเรื่องข้อจำกัดของกำลังส่งที่อนุญาตให้กับ Ultra wide band (UWB) มีการใช้พลังงานที่ต่ำมาก เพื่อไม่ให้รบกวนระบบสื่อสารอื่น โดยระดับความแรงของสัญญาณโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 เดซิเบลมิลลิวัตต์ต่อหนึ่งเมกกะเฮิรตซ์
6. มีความสามารถในการส่งผ่านคลื่นผ่านทะลุวัตถุต่างๆ ได้ดี เพราะ Ultra wide band (UWB) การรวมคลื่นที่มีความถี่ต่ำในช่วงแถบความถี่ที่กว้างมากทำให้สัญญาณสามารถทะลุทะลวงวัตถุต่างๆ ได้ดีกว่าระบบอื่นๆ ที่ใช้สัญญาณที่มีความถี่สูงเท่านั้น ดั้งนั้น Ultra wide band (UWB) จึงใช้ได้ดีในอาคารหรือพื้นที่ ที่มีกำแพงหรือวัสดุอื่นกั้น เช่น ลานจอดรถ ชั้นใต้ดิน
7. Ultra wide band (UWB) สามารถทำให้ อุปกรณ์เทคโนโลยี ต่อเชื่อมแบบไร้สายกันได้เป็นจำนวนมากเพราะ Ultra wide band (UWB) มีแบนวิธ (Bandwidth) กว้างมาก ปัจจุบันสามารถเชื่อต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 480Mbps ที่รัศมี 4 เมตร และความเร็วจะต่ำลงจนเหลือประมาณ 110Mbps หากมีการวางอุปกรณ์เลยห่างออกไปจนถึงประมาณ 10 เมตร



เปรียบเทียบ Ultra wide band (UWB) กับ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายอื่น

ตารางแสดงเทคโนโลยีต่างๆ ที่สำคัญ เทคโนโลยี PAN, LAN และ WAN

จากตาราง Ultra wide band (UWB) เป็นระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล WPAN(Wireless Personal Area Network) เหมือนกับ Bluetooth , Zigbee มีระยะทางไม่เกิน 10 เมตร ส่วน WiFi เป็นเทคโนโลยีการไร้สายในพื้นที่เฉพาะ WLAN(Wireless Local Area Network) ซึ่งมีระยะทางไม่เกิน 100 เมตร เราจะพิจารณาเทคโนโลยี ทั้ง 4 แบบนี้เปรียบเทียบกัน
ZigBee เป็นการสื่อสารในเครือข่ายเซ็นเซอร์แบบไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยเริ่มจากการกำหนดมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลแบบ IEEE 802.15.4 มีคลื่นวิทยุ 3 ความถี่คือ
1. คลื่นวิทยุความถี่ที่ 2.4 Ghz มี 16 ช่องสัญญาณ อัตรารับส่งข้อมูล 250 Kbps2. คลื่นวิทยุความถี่ที่ 915 Ghz มี 10 ช่องสัญญาณ อัตรารับส่งข้อมูล 40 Kbps3. คลื่นวิทยุความถี่ที่ 868 Ghz มี 1 ช่องสัญญาณ อัตรารับส่งข้อมูล 20 Kbps
การทำงานของ ZigBee การเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายของเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบดาว (Star) และแบบระดับเดียว (Peer-to-Peer) ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ Star เหมือนการเชื่อมต่อแบบโครงข่ายจิ๋ว (Piconet) โดยภายในโครงข่ายจะสื่อสารข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์ขนาดเล็กจิ๋วหลายๆ ตัวโดยมีอัตราการรับส่งข้อมูลต่ำ ใช้พลังงานต่ำ เชื่อมโยงเครือข่าย ระหว่าง End device กับ Router หรือ Coordinator เข้าด้วยกัน

เทคโนโลยี ZigBee จะเน้นการที่ใช้กำลังงานไฟฟ้าต่ำเพื่อให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น มีราคาถูกและมีความปลอดภัยในการใช้งานในเครือข่ายสูง แต่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่สูงมากนัก ทำให้สร้างระบบที่เรียกว่า Wireless Sensor Network ได้ ซึ่งระบบนี้ จะสามารถทำงาน ได้ในเกือบทุกสถานที่ทั้งในอาคารและกลางแจ้ง และ เซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กมาก จึงใช้ในการเฝ้าดู เฝ้าติดตาม( monitoring ) เช่น ติดเซ็นเซอร์ขนาดเล็กจิ๋ว ฝังอยู่ในที่ต่าง มันจะทำการรับ-ส่งคลื่นสัญญาณข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์แต่ละตัวไปเรื่อยๆ จนถึง End-device แล้ววิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้อาจจะเป็นการวัดอุณหภูมิ ปริมาณมลพิษในอากาศ ปริมาณน้ำ คอยตรวจจับของโครงสร้างของอาคาร คอยรายงานข้อมูลของคนไข้

เปรียบเทียบ Ultra wide band (UWB) กับ ZigBee
เทคโนโลยี ZigBee จะใช้เป็นระบบโครงข่าย มี เซ็นเซอร์ขนาดเล็ก กินไฟต่ำ เหมาะสำหรับงาน monitoring ที่ใช้เวลานาน แต่ด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่น้อยมาก ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากๆเป็นไปได้ยาก ต่างจาก Ultra wide band (UWB) ที่ไม่สามารถ monitoring ที่ใช้เวลานานได้ดีเท่า ZigBee เพราะจะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากกว่า แต่ Ultra wide band (UWB) มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 480 Mbps ที่ระยะทางประมาณ 2 เมตร และความเร็ว 110 Mbps ที่ระยะทาง ประมาณ 10 เมตร ด้วยความเร็วในระดับดังกล่าว สามารถใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภทโฮมเอนเตอร์เทนต์เมนท์ภายในบ้าน การที่โทรทัศน์สามารถส่งรายการไปยังหน้าจอโทรทัศน์เครื่องอื่นๆ ได้แบบไร้สายโดยไม่มีปัญหาการกระตุกของสัญญาณภาพ หรือการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อิเลคโทรนิคอื่นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

Bluetooth เป็นการสื่อสารไร้สายระยะใกล้ที่มีรัศมีคลอบคลุมสัญญาณประมาณ 10 เมตร สื่อสารแบบ Narrow band communication โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยมีอัตราความเร็วรับส่งข้อมูลประมาณ 1-3 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำงานโดยส่งคลื่นไปค้นหาอุปกรณ์ที่มี Bluetooth อื่นติดตั้งอยู่และทำการจับคู่ (Pairing) สาเหตุที่ต้องมีการจับคู่อุปกรณ์เนื่องจากป้องกันการเชื่อมต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้

เปรียบเทียบ Ultra wide band (UWB) กับ Bluetooth
Bluetooth คือเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล (Wireless Personal Area Network) เพราะมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือใช้พลังงานต่ำ ขนาดเล็ก ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดและน้ำหนักจึงเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วไป เมื่อมีผู้ใช้มากผลิตจำนวนมาก ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยก็ถูกลงทำให้เทคโนโลยี Bluetooth ได้เปรียบเทคโนโลยี อื่น แต่อัตราความเร็วรับส่งข้อมูลประมาณ 1-3 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)เพียงพอสำหรับการสื่อสารในรูปของเสียง หรือข้อมูลเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ไม่พอสำหรับส่งข้อมูลจำพวกมัลติมีเดียเช่น ภาพVDO หรือข้อมูล fileใหญ่ๆ (ซึ่งมีความต้องการมากในระบบ 3G และ 4G) เหตุนี้ เทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 480 Mbps จึงได้เปรียบกว่าเพราะสามารถสำหรับส่งข้อมูลข้อมูลจำพวกมัลติมีเดียหรือข้อมูล fileใหญ่ๆได้แต่การที่ Ultra wide band (UWB) ยังไม่เป็นที่นิยมทำให้ราคาสูงกว่า Bluetooth อยู่มาก

WiFi เป็นคำย่อของคำว่า Wireless Fidelity หมายถึง ไวเลสที่น่าเชื่อถือ คำว่า “WiFi”เป็นระบบเครือข่ายไร้สายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย WLAN(Wireless Local Area Network) อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐาน IEEE 802.11โดยมาตรฐานแรกประกาศออกมาในปี ค.ศ.1997 และพัฒนามาจนเป็น IEEE 802.11n เป็นมาตรฐานที่พัฒนาเทคนิคการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทีและมีการใช้งานที่ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
การใช้งานเครือข่ายไร้สาย WiFi ที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ข้ามกันภายในอาคาร หรือระหว่างอาคารจะช่วยลดภาระการติดตั้งสายแลนด์ที่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแลรักษาที่สูงนอกจากนี้การติดตั้งเครือข่ายไร้สาย WiFi ในพื้นที่กว้างหรือ ฮอทสปอท (Hotspot) เช่น มหาวิทยาลัย สนามบิน โรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์การค้า ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สาย WiFi ได้เป็นจำนวนมากโดยอยู่ตรงไหนของพื้นที่นั้นก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างสะดวก

เปรียบเทียบ Ultra wide band (UWB) กับ WiFi
เนื่องจาก WiFi เป็นโครงข่ายไร้สายแบบ WLAN(Wireless Local Area Network) ในขณะที่ Ultra wide band (UWB) เป็นโครงข่ายไร้สายแบบ WPAN(Wireless Personal Area Network) WiFi จึงมีโครงข่ายที่ใหญ่กว่าสามารถสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า แต่ WiFi ก็กินพลังงานไฟ้ฟ้ามากกว่า อีกประการหนี่งความไม่ปลอดภัย ของเทคโนโลยี WiFi มีมากเพราะอุปกรณ์ WiFi มีราคาถูกสามารถหาซื้อได้สะดวกประกอบกับมีเครื่องมือที่ช่วยในการดักฟังข้อมูลมีจำนวนมาก อุปกรณ์แม่ข่าย WiFi ที่ไม่ได้เปิดระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย แฮกเกอร์สามารถเข้ามาเชื่อมต่อและสามารถเข้าถึงเครือข่ายภายในที่มีอุปกรณ์แม่ข่าย WiFi ได้ ทั้งหากมีสัญญาณอื่นที่มีกำลังแรงพอบนคลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ก็สามารถรบกวนการทำงานของระบบWiFi ได้ ยิ่งในอนาคตใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 4G ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ แต่ Ultra wide band (UWB) มีสัญญาณพัลส์ที่ถูกส่งมาเป็นชุดสั้นๆ ทำให้ตรวจจับและดักฟังได้ยากกว่า และระบบ 4G ต้องการที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที Ultra wide band (UWB) ก็สามารถสนองความต้องการ 4G สำหรับการสื่อสารระยะใกล้อีกด้วย

การใช้ Ultra wide band (UWB)
ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) มาพัฒนาในหลายด้านได้แก่
1. Wireless USB (WUSB) เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายแบบแรกที่สามารถทำงานรวมกับระบบเดิม หรือ USB แบบธรรมดาได้ โดยนำเทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) ยอมให้ผู้ใช้สามารถเชื่อต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงได้มากถึง 127 ชิ้น โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 480Mbps ที่รัศมี 4 เมตร และความเร็วจะต่ำลงจนเหลือ 110Mbps หากมีการวางอุปกรณ์เลยห่างออกไปจนถึงประมาณ 10 เมตร
2. Bluetooth ที่นำเทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) มาใช้ได้แก่ teknoloisi Bluetooth 3.0 มีการรับส่งข้อมูลได้มากกว่ารุ่นก่อนๆมาก
3. การวัดและบันทึกอัตราปริมาณรังสี ซึ่งสามารถปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยและการรับประกันคุณภาพสำหรับโรงงานนิวเคลียร์ BIL Solutions Ltd. ใช้เทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) เพื่อระบุตำแหน่งคนและวัตถุต่างๆในระยะ 30 เซนติเมตร ในรูปแบบ 3 มิติ ด้วยการใช้งานแบบนี้จะทำให้ได้ระดับที่ชัดเจนของความถูกต้องในการติดตามคน สามารถติดตามและระบุตำแหน่งพนักงานในแบบเรียลไทม์
4. Dr. Chris Stevens แห่งมหาวิทยาลัย St. Hugh'sใช้ เทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) ในการสำรวจท่อและสายเคเบิ้นใต้น้ำในมหาสมุทร
5. ฟูรูกาวาอิเล็คทริค ประสบความสำเร็จในการพัฒนาOnboard UWB Radar for Vehicles ขนาดกะทัดรัดสำหรับตรวจอุปสรรครอบรถยนต์โดยสามารถวัดระห่างในระดับมิลลิเมตร



ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ onboard เรดาร์ UWB สำหรับยานยนต์

6. Cardiopulmonary Sensor เครื่องวัดระบบไหลเวียนโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ใช้เทคโนโลยี Blackfin DSP, SDRAM, Flash, FPGA, UWB, Opamp


7. หุ่นยนต์ GPR ระบบตรวจสอบระเบิดที่ DSEi 09 เป็นระบบตรวจจับระยะไกลควบคุมสำหรับการเส้นทางการระบุพื้นที่เล็กตรวจสอบจุด EOD ใต้ผิวดินและการมองเห็นระยะไกล สามารถเข้าไปในเส้นทางแคบ ใช้ เทคโนโลยี Ultra wide band (UWB) Ground เจาะ Radar (GPR) ใช้งานครั้งแรกปี ค.ศ. 2008โดยกองทัพสหรัฐในการสนับสนุน

ที่มา
http://www.nectec.or.th/bid/mkt_info_tech_ultrawideband.htm
http://www.oknation.net/blog/ICSAg/2008/09/21/entry-3
http://www.dpu.ac.th/eng/te/article.php?id=37
http://www.elecfans.com/baike/tongxingjishu/chungshuwang/20100322201646.html
http://www.tkc.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=156&directory=2951&contents=3113
http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Ultra_wideband_for_wireless_communications/index.php
http://store.tkc.go.th/tkcteam/flash/p04000501/index.html
http://www.vcharkarn.com/vblog/34886/1/30#P4
http://zigbeeyoyo.blogspot.com/2007/08/zigbee.html
http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Bluetooth_and_Zigbee/index.php
http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Principle_of_WiFi_Networks/index.php
http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3867
th.wikipedia.org/wiki/http://www.multibandofdm.org/
http://www.newswit.com/news/2006-05-31/ubisense-british-nuclear-group/
http://mshowto.org/th/xp/veri-transferinde-cilgin-hiz-528.html
http://dept106.eng.ox.ac.uk/wb/pages/people/academics/chris-stevens.php
http://www.furukawa.co.jp/english/what/2009/kenkai_091021.htm
http://www.summitscientificinc.com/pastprojects.html
http://www.shephard.co.uk/news/3800/niitek-launches-portable-robotic-ultra-wide-band-gpr-mine-detection-system-at-dsei-09/
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต วิชา ITM 640 ครั้งที่ 6 พ.อ.รศ.ดร. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ

ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง

|0 ความคิดเห็น
ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง

ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียง   

     เมื่อพูดถึง "เครื่องเสียง" ก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง ไม่ค่อยจะเข้าใจความหมายของคำคำนี้กันนัก ทั้งๆที่ชีวิตประจำวันของผู้คนนั้น  หาได้หลีกพ้นจากเครื่องเสียงไม่ บางทีก็มีการเข้าใจไขว้เขวไปหลายเรื่อง บ้างนึกถึงเครื่องเสียงในบาร์ ผับ ดิสโก็เธค หรือไม่ก็นึกถึง เครื่องเสียงอิเล็กทรอนิกส์แถวบ้านหม้อ ส่วนกลุ่มที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงในบ้านที่เรียกว่าโฮมออดิโอ (HOME-AUDIO) นั้น มีความเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ความคลุมเครือของเครื่องเสียงนั้น เกิดจากมีวิทยาการหลายๆแขนง เข้าไปผสมผลานในตัวของมันเกิดจากมีวิทยาการหลายๆ แขนง เข้าไปผสมผสานในตัวของมัน เลยดูยุ่งยากเกินกว่าที่คนไม่สนใจด้านนี้จะทำความเข้าใจได้ แท้จริงแล้ว การออกแบบเครื่องเสียงให้นำมาใช้ในบ้าน เนื่องด้วยจุดประสงค์หลักก็คือ คืนเสียงดนตรีธรรมชาติมาสู่ผู้นิยมฟังดนตรี

     เพลง !! มีจำนวนมากมายเหลือจะนับได้ เมื่อพูดถึงคนที่จ่ายสตางค์ซื้อเครื่องเสียง 1 ชุด แล้วต้องทนทุกข์อยู่กับระบบเครื่องเสียงที่ไม่เข้าท่าตลอดเวลา อย่างนี้เขาเรียกฟังเพลงด้วยความเป็นทุกข็ เครื่องเสียงประเภทคอมโปเนนท์ที่วางขายเกลื่อนตลาดอยู่นั้น เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ ดีแต่สวย ส่วนเสียงนั้นยังห่างความเป็นดนตรีอีกแยะ ซึ่งในการเล่นเครื่องเสียงแบบที่นักเล่นเครื่องเสียงเขาเล่นกัน คนพวกนี้จะมีศัพท์เฉพาะกลุ่ม ที่เขาเรียกกันว่า พวกออดิโอไฟล์ (AUDIOPHILE) หรือนักเลงเครื่องเสียง (พวกคลั่นเครื่องเสียงนั่นแล้ว) ดูๆ ไปก็เหมือนพวกนักเลงพระเครื่อง นักเล่นปืน ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเฉพาะกลุ่ม ทั้งคำศัพท์เฉพาะและวิธีการเล่น ทีนี้พอคนที่อยากจะมีชุดเครื่องเสียงไว้ฟัง ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงถึงจะเป็นไปได้อย่างพวกออดิโอไฟล์ ก็เลยเล่นมันง่ายๆ ซื้อมินิคอมโปเนนท์ซะชุดหนึ่งก็หมดเรื่อง ก็หมดเรื่องจริงๆแหละ คือเสียงที่ได้มักจะไม่ได้เรื่องไปด้วยละครับ
     เอาละ.....ถ้าเราจะเริ่มต้นเล่นเครื่องเสียงกัน จะต้องมีการติววิชานี้กันแบบเรียนลัดสักเล็กน้อย ขอให้ยึดปรัชญาหลักเอาไว้เสมอ  เรียกว่าท่องให้ขึ้นใจเอาไว้ว่า ไฮฟิเอลิตี้ (HIFIDELITY) นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่แม้แต่นักเล่นเซียนเครื่องเสียงยังเลือนลืมเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็เลยเข้าทำนองนักขี่ม้าตกม้าตาย คำที่ว่านี้ หมายถึง "ความสมจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างยิ่ง" นั่นก็คือ การเล่นเครื่องก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงดนตรีธรรมชาติแท้จริง ด้วยการย่อส่วนเวทีคอนเสิร์ตมาอยู่ในห้องฟังหรือในบ้านอย่างเหมาะสมเอากันแค่ใกล้เคียงที่สุด อย่างไปหวังให้มันเหมือนดนตรีจริง เพราะชุดเครื่องเสียงราคา 3 ล้านบาท ยังทำไม่ได้เลย การเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้แกล้เคียงดนตรีจริงๆ นี้แหละทำให้เราต้องแสวงหาเครื่องเสียงที่ดีกันตลอดเวลาไม่มีทางหยุดนิ่ง ความสนุก มันอยู่ตรงนี้เอง ได้สนุกับความขาดๆ เกินๆ ของการเล่นเครื่องเสียง
     แต่อย่างไรก็ตาม จะเล่นเครื่องเสียงกันทั้งที ถ้ายังไม่เคยสัมผัสดนตรีจริงๆ ละก็ หนทางมันย่อมอยู่ห่างไกล เมื่อเล่นถึงจุดหนึ่งคุณอาจเป็น "นักฟังเครื่อง" ไม่ใช่นักฟังเสียงดนตรีก็ได้ ดังนั้นของให้เริ่มต้นด้วยการหัดฟังดนตรีจริง จากวงออร์เคสตร้าบ้างซึ่งจะมีการเปิดแสดงอยู่เสมอที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยหรือที่หอประชุมเอยูเอ (ขอรายการล่วงหน้าจากเจ้าของสถานที่ได้) ถ้าคิดว่าการไปฟังดนตรีพวกนี้จะต้องปีนบันไดฟังละก็ ให้ตั้งต้นคิดเสียใหม่ เริ่มจากการชมฟังดนตรีคลาสสิกง่ายๆ อย่างเช่น
สตริงควอเต็ต หรือ แชมเบอร์มิวสิกที่มีนักดนตรีบรรเลงเพียง 4-5 คน เป็นการเริ่มต้น แล้วเค้าฟังอย่างหละ? การนั่งฟังดนตรีประเภทนี้เป็นที่รู้กันว่า เสียงรบกวนต่างๆ แทบจะไม่มี เพราะห้องแสดงดนตรีที่พื้นผิวอะคูสติกดีเยี่ยม เหมาะสมและมารยาทในการฟังเขาจะไม่มีการพูดคุยกันจ้อกแจ้กจอแจ หรือฟังดนตรีไปเคี้ยวข้าวโพดคั่วไปเหมือนคนดูหนัง เลือกที่นั่งตรงกลางได้ยิ่งดี คือนั่งให้บาลานซ์ระหว่างเวทีซ้ายขวาฟังดนตรี แล้วลองหลับตาในบางช่วงบางขณะ พอมีสมาธิสักหน่อยคุณจะพบว่า แม้กระทั่งเราจะมองไม่เห็นชิ้นดนตรีบนเวที แต่เราจะได้รับรู้ว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่เล่นอยู่ตรงหน้า โสตและสมองจะแยกแยะได้ออก ข้อดีของดนตรีคลาสสิกแบบนี้ก็คือ ไม่มีการใช้เครื่องเสียง ซึ่งมักเป็นตัวทำให้เสียงดนตรีแท้นั้นเพี้ยนหรือเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงได้
     ตอนนี้เรามาสมมติกันว่ามีโอกาสไปฟังดนตรีเครื่องสายแบบตะวันตกบรรเลงในรูปแชมเบอร์มิวสิก คำว่าแชมเบอร์มิวสอกคือ ดนตรีที่เล่นผสมกันแบบง่าย 4-5 ชิ้น เล่นในห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนัก เมื่อก่อนคือการเล่นของนักดนตรีเอกของโลก เมื่อมาพบปะกันก็เลยถือโอกาสเอาเครื่องดนตรีของตนออกมาแจมกัน มันก็ได้กลายมาเป็นดนตรีแบบแชมเบอร์มิวสิกในเวลาต่อมา ซึ่งดนตรีชุดนี้จะประกอบด้วย (ไวโอลิน 2,วิโอลา 1,เชลโล 1) ไวโอลินจะให้เสียงพื้นฐานของมันในทางแหลมหวาน วิโอลาจะให้เสียงแหลมหวานที่ดูห้าวหรือนุ่มขึ้นมานิดหนึ่ง ในขณะที่เสียงทุ้มก็จะได้จากเชลโลที่จะเป็นเครื่องสีที่ให้เสียงความถี่ต่ำๆ เมื่อไปฟังดนตรีประเภทนี้ คุณลองดูวิธีการจัดวงว่าเขาเรียงกันอย่างไร
     ตามปกติจะเรียงไวโอลินจากซ้ายไปหาวิโอลาตรงกลาง และเชลโลอยู่ขวามือสุดของเวทีดนตรี เมื่อทำการบรรเลง การประสานกันของดนตรีแต่ละชิ้นนั้นแม้จะผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว แต่คุณลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น จะมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่ คือ ไอเวอร์โทนของเครื่องดนตรีจะบอกให้เราทราบว่า นั่นเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด เป็นไวโอลิน วิโอลา หรือเชลโล หลับตาบ้าง เพื่อสังเกตว่าตอนที่มองเห็นกับการไม่มองดูบนเวทีดนตรี เรายังได้เห็นเสียงดนตรีครบขึ้นหรือไม่ พิจารณาความกว้างลึกของเวทีดนตรี (SOUND STAGE) ลักษณะการก้องสะท้อนที่เกิดจากการเล่นดนตรีในห้องโถงนั้น  (หอประชุม,คอนเสิร์ตฮอลล์) ว่ามีการก้องสะท้อน (ECHO) การหน่วงเวลา (DELEY) สภาพความเป็นจริงตรงนั้น เมื่อฟังอย่างตั้งใจ เราจะเริ่มเรียนรู้ขั้นต้นว่าดนตรีบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปนเป็นอย่างนี้นะ แล้วค่อยๆ ขยับเกรดไปฟังดนตรีที่วงใหญ่ๆ ต่อไป และอาจจะก้าวไปจนถึงการแสดงสดของดนตรีที่มีการขยายเสียงด้วยเครื่องดนตรี พี.เอ. (PUBLIC ADDRESS = เครื่องเสียงในงานอาชีพ) ดูความแตกต่างดนตรีประเภท JAZZ, POP, ROCK, LIGHTMUSIC,COUNTRY รวมถึง CLASSIC ที่แนะนำข้างต้นนั้น  พิจารณาความแตกต่างหาสิ่งที่คุณชอบฟังด้วย เพราะมันจะกลายเป็นที่มาของสไตส์เฉพาะตัวของคุณเอง นั่นเป็นข้อแนะนำแบบที่ง่ายอย่างยิ่งไม่ลำบากในการถือปฏิบัติ และจะมาเอื้อประโยชน์ให้เราวันข้างหน้า ดีกว่าการหลับหูหลับตาเดินเข้าไปในร้านเครื่องเสียง ไปถูกร้านค้าเชือดเอา
     บางทีห่างเหินการฟังดนตรีคลาสสิกแบบบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าไปนานเกือบปี เพราะไปมัวแต่หลงทางหาซื้อเครื่องเสียงลำโพง ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุดมาฟังการเดี่ยวไวโอลินของนักดนตรีมือหนึ่ง แล้วเสียงติดหูมาจนถึงบ้าน กลับมาถึงรีบมาเปิดชุดเครื่องเสียงฟัง โอ้ว...พระเจ้าจอร์จอะไรกันนั่น เสียงไวโอลินจากลำโพงที่แพงๆ เรือนแสนทำไมมันผิดความเป็นจริงขนานนั้น พอไปยกลำโพงราคาสามหมื่นบาทมาเปลี่ยนเป็นลำโพงที่เคย "เซ็ง" กับมันมาตลอด ค่าที่ว่าเสียงมันออกจืดๆ เรียบๆ ปรากฏว่าลำโพงคู่
นี้กลับให้เสียงที่เหมือนดนตรีจริงๆ อย่างที่ฟังในเวทีคอนเสิร์ตมากกว่า ดังนั้นใครที่คิดว่าของแพงแล้วจะดีหรือถูกต้องนั้นไม่จริงเสมอไป บางทีมันก็ลากหูเราไปตามใจอยากมากกว่าแสวงหาความจริง
     การเล่นเครื่องเสียงนั้น บางคนอาจจะควักกระเป๋าสตางค์สักเท่าไรๆ ก็ไม่เดือนร้อน แต่เครื่องเสียงนี่มันไม่เหมือนซื้อข้าวปลาอาหารหรือของอุปโภคบริโภคอื่นๆ ซื้อหมูหนึ่งกิโล ราคา 70 บาท ซื้อสองกิโลมันก็ 140 บาท ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัดๆ แต่การเปลี่ยนเครื่องเสียง ถ้าจะให้เสียงดีกว่าชุดเดิม สมมติหนึ่งเท่าตัวอาจจะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น 10-20 เท่า อย่าได้เอาสูตรคณิตศาสตร์มาใช้กับการเล่นเครื่องเสียงเด็ดขาดทีเดียว  เพราะเครื่องเสียงไม่สามารถคำนวณด้วยสูตรตัวเลข และเรื่องราวที่เขียนบอก
เล่ามาข้างต้นจนถึงบรรทัดนี้  ก็จะเป็นการพิสูจน์ว่าเครื่องเสียงประเภทมินิคอมโปเนนท์นั้นไม่มีวันเป็นชุดเครื่องเสียงชุดหลักในอุดมคติได้เด็ดขาด เป็นได้อย่างดีก็เพียงชุดเครื่องเสียงชุดที่สองของบ้านเท่านั้น เพราะความห่างไกลจากคำว่า ไฮ-ฟิเดลิตี้นั่นเอง(ฟังจนหนวดหวอก เสียงก็ไม่สมจริงสักที)

     ศัพท์คำว่าไฮไฟ (HIFI) นั้น เรามักจะพบกันค่อนข้างบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในการเล่นเครื่องเสียงที่เป็นเรื่องที่พบเสมอๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะในการเล่นเครื่องเสียงที่เป็นเรื่องที่พบเสมอๆ อยู่แล้ว เพราะได้มาจากคำว่า HIGH FIDELITY หรือ  HIFI-DELITY นั่นเอง ส่วนศัพท์อีกคำหนึ่งที่ว่า สเตอริโอ (STEREO) ก็มักจะอยู่เคียงข้างกันเสมอคำนี้หมายถึงการรับรู้ด้วยประสาทการรับฟังทั้งคู่มีซ้าย-ขวา คนที่เริ่มในใจเครื่องเสียงใหม่ๆ มักจะเรียกการเล่นเครื่องเสียงว่าเล่นเครื่องสเตอริโอแล้วก็เข้าใจว่า
สเตอริโอคือ เสียงทุ้มที่ดังตูมๆ นั่นเอง ก็เลยหลงทิศผิดทางกันมาได้เรื่อยๆ เป็นเหยือให้ผู้ขายบางกลุ่มเข้าปล้นเงินในกระเป๋าทางอ้อม บางคนตามเล่นเครื่องเสียงไม่ไหวเพราะมีรุ่นใหม่เรื่อยๆ พาลท้อใจเลิกเล่นมันไปเสียเลยก็มี  หันไปฟังซาวด์อะเบาท์มันกว่า ว่างั้นเถอะ
     ที่จริงการเล่นเครื่องเสียง ขอให้หาโอกาส มีประสบการณ์ฟังดนตรีจริงๆ เทียบกับเครื่องเสียงที่ดีๆ ขึ้นเรื่อยๆ จะค่อยๆ เข้าใจเองแล้วจะหายข้องใจว่า ทำไมคนเล่นระดับออดิโอไฟล์เขาถึงต้องเล่นเครื่องเสียงแยกชิ้น  แทนที่จะเล่นคอมโปรวมชิ้น (ทุกอย่างครบในเครื่องเดียว) และทำไมเครื่องเสียงยี่ห้อดังๆ แพงๆ อย่าง มาร์ค ลีวินสัน,เชลโล,แม็คอินทอช,แอคคิวเฟส ฯลฯ (MARK LEVINSON,CELLO,McINTOSH,ACCUPHASE) จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและปรารถนากันนักถึงจะแพงแค่ไหนก็พยายามกัดฟันซื้อหามาเล่น
แน่นอนว่า เครื่องเสียงประเภทแยกชิ้นนั้น เมื่อจัดผสมกันจนครบสูตรแล้ว แสียงที่ได้มันจะเข้าข่ายไฮฟิเดลิตี้ค่อนข้างแน่นอน แต่วิธีการผสมชุดนี่แหละเป็นเรื่องยากต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไห
     เรื่องของระดับความดัง ในเล่นเครื่องเสียง ซึ่งอย่ากให้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้เรื่อนอื่นๆ เมื่อเราฟังดนตรีจริงๆ นั้น แต่สมมารถจัดชุดเครื่องเสียงให้มีเสียงเครื่องเสียง จะดีกว่าของจริงก็ตรงที่สมารถฟังในระดับความดังขนาดไหนก็ได้ ตามความพอใจ เปิดให้มันเบาๆ หรือฟังแบบยกวงดนตรีมาวางตรงหน้าก็เร่งระดับความดังขึ้นไปมากๆ จะเอาให้ถึงกับเพื่อนบ้านเจริญพรก็ยังได้  ขึ้นกับว่าจะฟังเครื่องเสียงแบบพักผ่อนหรือแบบหาเรื่อง แบบที่วัยรุ่นเขาแต่งรถซิ่งกัน ก็ยัดเครื่องเปิดอัดแข่งกันให้มันหนวกหูตายกับไปข้างหนึ่ง ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะการฟังเพื่อไโฟิเดลิตี้เท่านั้น ในตารางประกอบนี้คือระดับความดังที่นักเล่นเครื่องเสียงควรทราบเอาไว้
     เรื่องของระดับความดังนี้ หน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ เดซิเบล (DB=DECIBLE) ซึ่งวิธีการวัดระดับความดังนี้  ที่ระดับศูนย์ดีบี (0 DB) นั้น มาจากการวัดที่ความเข้มของเสียงขนาด 0002 ไดน์ ต่อตารางเซนติเมตร ระดับความดังสูงๆ ขนาดที่ทำให้แก้วหูแตกหรือพิการ อย่างเช่นเสียงระเบิดที่ดังขึ้นใกล้ๆหูนั้น จะมีความดังถึง 140 เดซิเลบ เป็นความดังที่ทำให้หูพิการตลอดชาติ และเรื่องที่น่าตกใจ คือ ปัจจุบันสถานบันเทิงจำพวกดิสโก้เธค ผับบางแห่ง มีความดังที่ใกล้เคียงจะทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน แม้กระทั่งความดังในท้องถนนของกรุงเทพมหานครก็เริ่มอยู่ในระดับอันตรายสูงสุดแล้ว ระดับความดัง จะเป็นเครื่องกำหนดให้คนเล่นเครื่องเสียงต้องทราบว่า เสียงรบกวนในธรรมชาติทั่วไปนั้น มีระดับความดังอยู่ขนาดหนึ่งแล้ว  การเปิดเครื่องเสียงให้มีความดังนั้น จะต้องดังมากกว่าระดับเสียงรบกวนในธรรมชาติ เช่นในห้องฟังทั่วไปมีเสียงรบกวน 50 ดีบีอยู่แล้ว คุณต้องเปิดเครื่องเสียงดังถึง 60 ดีบี จึงได้ยินเสียงเพลงจากเครื่องอย่างนี้ เป็นต้น
    
     140dB ระดับความดังที่ทำให้หูพิการถาวร
     130 dB ระดับที่ทำให้หูพิการได้
     120 dB เสียงปืนใหญ่ที่ดังใกล้ๆ
     110 dB เสียงดังที่เฉลี่ยในดิสโก้เธค
     100 dB เสียงภายในไนท์คลับ,บาร์,แจ๊ชผับ
       90 dB เสียงดังของรถสิบล้อ
       80 dB เสียงดังจากรถเมล์
       70 dB เสียงวิทยุทั่วๆไป
       60 dB เสียงรบกวนการพูดคุย
                ภายในสำนักงานทั่วไป
       50 dB เสียงรบกวนในห้องพักผ่อน
       40 dB ห้องพักยามดึก
       30 dB ดึกสงัด
       20 dB เสียงภายในห้องบันทึกเสียงเกรดเยี่ยม
       10 dB ห้องแล็ป
        0 dB เงียบสนิท


     ในเรื่องการตอนสนองความถี่ และการแยกธาตุเครื่องเสียงนั้น อาจกล่าวได้ว่าหูของมนุษย์นั้น มิใช่เพียงแค่จะฟังเสียงที่มีระดับความดังต่ำสุด จนถึงดัง (แรง)สูงสุดเท่านั้น
เครื่องมือพิเศษชิ้นนี้ติดมากับร่างกายของเรามาตั้งแต่อ้อนแต่ออกสามารถฟังอะไรได้ละเอียดลออมากกว่าที่เราคิดกันมากนัก บางทีเครื่องมือจับวัดค่าต่างๆ ยังสู้หูมนุษย์ไม่ได้ด้วยซ้ำ
     ความถี่เสียงที่จะพูดถึงจากนี้ไป ก็คือเสียงที่เราได้ยินกันเป็นประจำนั้น จะมีตั้งแต่ความถี่ต่ำมากๆ จนหูมไม่สมารถรับรู้ได้ไปจนถึงความถี่แหลมสุดๆ จนกระทั่งหูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินในเรื่องของความถี่เสียงนี้สมมติให้เห็นง่ายๆ ว่าเสียงแหลมของนกหวีดกับเสียงเครื่องยนต์มีความแตกต่างกันคนละความถี่  หรือเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นนั้นก็ครอบคลุมความถี่ไม่เท่ากันด้วย

     การจำแนกแจกแจงความถี่เสียงจะเริ่มกันตั้งแต่ 20 เฮิรตช์ ถึง 20,000 เฮิรตช์ (20-20,000 Hz) อันเป็นความถี่ที่หูมนุษย์สามารถได้ยิน หรือสามารถตอบสนองความถี่ต่างๆ เหล่านี้ได้จากต่ำสุดไปจนถึงสูง (แหลม) สุด ถ้าจะพูดกันอย่างรวบรัดไม่เยิ่นเย้อ ความถี่ขนาด 20 เฮิรตช์นั้น ก็คือการสั่นสะเทือนของวัตถุใดๆก็ตาม ที่เกิดความถี่เป็นรูปคลื่นไชน์เวฟ 20 คลื่นใน 1 วินาที ก็จะเรียกว่าความถี่ 20 เฮิรตช์ และถ้ามีการสั่นสะเทือนมากกว่านี้ขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 1 วินาที ความถี่นั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป คลื่นไชน์เวฟที่ว่านี้เกิดขึ้นได้ถึง 20,000 คลื่นใน 1 วินาที ก็เรียกว่าขนาดคลื่นความถี่จาก 20-20,000 เฮิรตช์นี้แหละที่มนุษย์เราสามารถได้ยินและรับรู้ได้ด้วยหู ถ้าหากความถี่ที่ต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ หูคนเราจะไม่ได้ยิน แต่โสตสัมผัส ทางอื่นจะสัมผัสรับรู้ได้ เช่น ทางผิวหนัง วิธีการวัดความคลื่นความถี่โดยเครื่องมือก็จะออกมาเป็นคลื่นความถี่ในลักษณะไซน์เวฟ (SINEWAVE)
     คำว่า คลื่นความถี่ครบ 1 ไซเคิล (CYCLE) หรือ 1 รอบ ภายใน 1 วินาที จะมีครบทั้งคลื่นบวก (นูนขึ้นจากแกน 0-0) และคลื่นลบ (ต่ำลงจากแกน 0-0) ซึ่งเขียนภาพประกอบให้ดูง่ายๆ (ดังภาพประกอบที่ 1) ให้ถือว่าแกนมาตรฐาน 0-0 เป็นช่วงระยะเวลา 1 วินาทีเท่ากัน แต่คลื่นความถื่จะเกิดในแต่ละภาพสมมติไม่เท่ากัน (1 เฮิรตช์, 2 เฮิรตช์, และ 5 เฮิรตช์) ให้ลองหลับตานึกภาพดูซิคครับว่าถ้าหากความถี่ขนาด 20,000 เฮิรตช์นั้นจะมีคลื่นเกิดถึง 20,000 ไชเคิล มันจะมากมายขนาดไหนในระยะเวลาที่เท่าๆกัน เรื่องของการตอบสนองความถี่นั้น จะเป็นการบ่งบอกสถานะของเครื่องเสียงด้วยว่าถ้าเครื่องเสียงชุดใดมีความเป็นไฮ-ไฟมาก จะต้องตอบสนองความถี่ครบถ้วนตั้งแต่ 20-20,000 เฮิรตช์ หรืออาจเกินไปจากนี้ความสามารถในการตอบสนองความถี่ที่เป็นไฮ-ไฟ นั้น เขายอมรับกันตั้งแต่ 20-15,000 เฮิรตช์ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงเอฟ-เอ็มสเตอริโอ จะกระจายเสียงระบบใดสามารถให้การตอบสนองความถี่ในการกระจายเสียงได้สูงถึงความถี่ 20,000 เฮิรตช์ ยกเว้นระบบกระจายเสียงเอฟเอ็มอิจิตอลที่อยู่ในระหว่างการทดลอง ระบบเอฟเอ็มดิจิตอลอาจจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ของการกระจายเสียงในอนาคต ในไม่ช้าไม่นานนัก!

     บทสรุปในช่วงนี้ ที่ท่านผู้อ่านควรทราบก็คือ ดนตรีรวมทั้งวง ตามปกติจะให้การตอบสนองความถี่ได้ครบถ้วน จากต่ำสุดถึงสูงสุด 20-20,000 เฮิรตช์ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เครื่องเสียงซึ่งมีหน้าที่ในการถ่ายทอดเสียงดนตรีให้เราฟัง จะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความถี่ต่างๆ ครบถ้วนด้วย จรงอยู่ว่าถ้าเราแยกเอาเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาจากกันแล้วให้มีการเดี่ยวเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก็จะพบว่ามีเครื่องดนตรีแค่ชิ้นเดียวเท่านั้นที่ให้ความถี่ครบถ้วนจาก 20-20,000 เฮิรตช์ คือ ออร์แกนท่อ นอกจากนั้น
     สังเกตดูนะครับว่า ฟลุตจะให้ความถี่เสียงของมันออกมาอยู่ในช่วง 260 เฮิรตช์ไปจนถึงประมาณ 3,000 เฮิรตช์ ขณะที่เปียโนจะตอบสนองความถี่ได้กว้างกว่าคือจาก 30-4,200 เฮิรตช์โดยประมาณ นอกจากเครื่องดนตรีจะให้ค่าความถี่ที่แตกต่างจากกันแล้ว ยังมีลักษณะเสียงที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งภาษาเทคนิคเขาเรียกว่ามี โอเวอร์โทน ต่างกัน เช่น ไวโอลินกำลังสีที่ความถี่ 1,000 เฮิรตช์ เปียโนก็กำลังบรรเลงที่ความถี่เดียวกัน 1,000 เฮิรตช์ แต่เราก็สามารถฟังออกว่ามีเครื่องดนตรี 2 ชิ้นบรรเลงอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะเครื่อง
ดนตรีจะมีโอเวอร์โทนหรือลักษณะเสียงต่างกันไป เมื่อจับเอาเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ มาประสมวงเราจึงได้ยินการไต่บันไดโน้ต การสอดประสาน ลูกล้อ ลูกขัด การผสม กลมกลืนกันได้หลายแบบ หลายอารมณ์ เป็นที่มาแห่งบทเพลงและดนตรีนั่นเอง
     การสัมผัสเรียนรู้เบื้องต้นเหล่านี้ เอาไว้เป็นกำไรเมื่อตอนคุณเลือกซื้อเครื่องเสียงในวันหน้า เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระดับความดัง การตอบสนองความถี่ การรับฟัง เสียงดนตรีจริงจากวงคอนเสิร์ต ฯลฯ จะมีประโยชน์อย่างมาก เรียกว่าจะได้เลือกซื้อเครื่องเสียงกันอย่างมีภูมิรู้หน่อยละครับ หลังจากทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มาพอสังเขป แล้ว ก็จะให้ลองพิจารณาดูตัวตนจริงๆ ของเครื่องเสียงกันว่า ถ้าหากจะแยกส่วนของเครื่องเสียงซึ่งทำหน้าที่ให้มีเสียงเพลงดังอย่างมีคุณภาพในบ้านของคุณ มีการแบ่งออกเป็นภาคๆ พอให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้ครับ
     หลังจากทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มาพอสังเขปแล้ว ก็จะให้ลองพิจารณาดูตัวตนจริงๆ ของเครื่องเสียงกันว่า ถ้าหากจะแยกส่วนของเครื่องเสียง ซึ่งทำหน้าที่ให้มีเสียงเพลงดังอย่างมีคุณภาพในบ้านของคุณ มีการแบ่งออกเป็นภาคๆ พอให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้ครับ ภาคของแหล่งโปรแกรม ภาคปรับแต่และซีเล็คเตอร์เลือกสัญญาณ ภาพขยายเสียงภาคแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นพลังเสียง นี่คือเรื่องของเครื่องเสียงแยกชิ้น ไม่ใช่ประเภทรวมชิ้นแบบมินิคอมโปเนนท์ ถึงกระนั้นเครื่องจำนวกมินิคอมโปเนนท์ ถ้าเรานำเครื่อง
ทั้งชุดมาจำแนก ก็จะได้แต่ละส่วนหรือแต่ละภาพออกมาได้เท่าๆกับเครื่องเสียงแยกชิ้น (ภาพประกอบที่ 3)  และเพื่อให้มีความเข้าใจง่ายถึงลักษณะการแบ่งประเภทของเครื่องเสียงแยกชิ้นขอได้ดู (ภาพประกอบที่ 4) ด้วยจะเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องเสียงแยกชิ้นมีการแบ่งออกเป็นภาพเป็นส่วนอิสระก่อนจะนำมารวมผสมเป็นชุดๆเดียวกัน เพื่อใช้งาน
     เมื่อดูจากภาพประกอบแล้ว คุณจะพบว่าในเครื่องเสียงประเภทแยกชิ้นนั้น แหล่งโปรแกรมจะมีจำนวนเครื่องแต่ละประเภทให้เลือกใช้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฟังเทปคาสเช็ตกับคาสเช็ตเด็ค ฟังคอมแพ็กดิสก์จากเครื่องเล่นคอมแพ็กดิสก์ ฟังเสียงจากแผ่นเสียงด้วยเทอร์นเทเบิ้ล หรือรับวิทยุด้วยจูนเนอร์ทุกเครื่องต่างเป็นเครื่องที่มีสัญญาณเอาท์พุท (ขาออก) เพียงประมาณเล็กน้อย ไม่สามารถนำไปขับเสียงลำโพงโดยตรงได้ จำเป็นต้องต่อเข้าปรีแอมปลิไฟร์เออร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นภาคขยายเบื้องต้น ขยายสัญญาณ
จากเครื่องแหล่งโปรแกรมทั้งหลายให้มีความดังในปริมาณพอสมควรและปรีแอมป์ ยังมีภาคซีเล็คเตอร์เลือกเล่นหรือเลือกฟังจากแหล่งโปรแกรมเครื่องใดๆ ได้ด้วย ถ้าคุณเล่นแหล่งโปรแกรมดังกล่าวนี้ครบทั้ง 4 เครื่อง ก็ต้องเลือกซีเล็คเตอร์ว่าจะฟังจากเครื่องใด เรื่องที่จะฟังพร้อมๆ กันทุกเครื่องน่ะชวนเป็นโรคประสาทมากกว่าสบายหูสบายใจเสียงจะตีกันมั่วไปหมด หลังจากนั้นปรีแอมป์จะเลือกแหล่งโปรแกรมที่ต้องการ คุณก็ทำการส่งต่อสัญญาณจากปรีแอมป์นี้ไปสู่เพาเวอร์ แอมป์เพื่อขยายสัญญาณให้แรกขึ้นสัญญาณที่ว่านี้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้ายังเป็นเพลงเป็นอะไรไปไม่ได้ ต้องส่งให้ลำโพงเป็นผู้แปลงสัญญาณให้เป็นเสียงจริงๆ ที่เราจะได้ฟังกันอีกครั้งหนึ่ง เครื่องทุกเครื่องรวมทั้งลำโพง จะออกแบบมามีสัดส่วนสัมพันธ์กันตลอดและมีมาตรฐานสากลของสัญญาณอินพุท (ขาเข้า) กับสัญญาณเอาท์พุท (ขาออก) สัมพันธ์กับค่าความต้านทานของเครื่องเสียงเพื่อให้เป็นฟอร์แมตสากล ไม่เช่นนั้นการผสมข้ามยี่ห้อ (ข้ามพันธุ์) จะทำไม่ได้ แล้วถ้าจะถามว่า ทำไมนักเล่นระดับผู้สั่งเครื่องเสียงทั้งหลาย (ออดิโอไฟล์) จึงต้องเล่นผสมข้ามรุ่นข้ามยี่ห้อ ทำไมไม่เล่นสินค้าจากผู้ผลิตเดียวกันทั้งหมด เหตุผลก็เพราะผู้ผลิตทุกรายไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง บางบริษัททำคอมแพ็กดิสก์ได้ดี แต่ผลิต
แอมปลิไฟร์ไม่เก่ง บริษัทผลิตลำโพงก็มักจะผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้เรื่องได้ราวนัก เป็นต้น เครื่องแยกชิ้นเหล่านี้บางทีผู้ผลิตก็จะจับมารวมกัน คือนำแหล่งโปรแกรมมารวมกับภาคปรีแอมป์บ้าง นำภาพปรีแอมป์ไปผสมภาคเพาเวอร์แอมป์ก็มีบางครั้งก็นำภาคปรีแอมป์-เพาเวอร์แอมป์ไปรวมกับภาครับวิทยุที่หนักกว่านั้นเอาไปรวมกันทุกอย่างเลย ตัวอย่างเห็นชัดๆ คือ เครื่องสเตอริโอราคาถูก หรือเครื่องประเภทมินิคอมโปเนนท์นั่นเอง
     เรื่องของการขยายเสียง การที่จะยกเอาวงดนตรีทั้งวงมาไว้ในบ้าน ด้วยลักษณะการฟังที่เหมือนจริงหรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดนั้น ระดับความดังเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้คือจะต้องมีระดับความดังที่พอเพียงแก่การรับฟังอย่างมีคุณภาพ
     การที่จะให้มีแต่ระดับความดังแรกขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ดังและมีคุณภาพดีด้วยนี่สิ ผู้คิดค้นระบบเครื่องเสียงจะต้องค้นหาวิธีออกแบบเครื่องกันเต็มความสามารถผลจากการพัฒนาค้นคว้าออกแบบเครื่องเสียง ทำให้เกิดวงจรสำหรับขยายเสียงมากมายหลายรูปแบบ จดจำกันแทบไม่หวาดไหว แต่โดยพื้นฐานทางความคิดของการออกแบบอย่างง่ายที่สุด คือการขยายสัญญาณให้มีความเที่ยงตรงปราศจากความผิดเพี้ยน เบี่ยงเบน อันเป็นเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดของการออกแบบเครื่องเสียงภาคแอมปลิไฟร์ (หรือภาคขยายเสียง) ภาพสมมติถึงการเปรียบเทียบการขยายเสียงที่ดี กับเครื่องขยายเสียงที่มีปัญหาในเรื่องความเพี้ยน ขอจะแสดงให้เห็นในภาพ 6A และ 6B ดังต่อไปนี้ และ ภาพที่ 6C นั้นคือภาพสมมติที่ตรงต้องต่อความจริงทางหลักวิชาการมากที่สุด ได้แก่ การขยายสัญญาณในรูปของไชน์เวฟ (SINE WAVE) ที่ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่มีความผิดเพี้ยนเจือปน
     วิธีการออกแบบแอมปลิไฟร์นั้น ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญเป็นระบบวงจรเครื่องเสียงเลยทีเดียว เครื่องแยกชิ้นออกแบบวงจรมาอย่างดีเลิศจึงมีความผิดเพี้ยนสูงมากบางทีมากถึง 10% จึงไม่น่าแปลกใจว่าเกณฑ์มาตรฐานคำว่า "ไฮฟิดดลิตี้" จึงยังอยู่อีกไกล เสียงที่ได้จะยังไม่สมบูรณ์ใกล้เคียงของดนตรีแท้ๆ ลักษณะการออกแบบวงจรเครื่องเสียงปัจจุบันมักจะนิยมวงจรแบบ OCL หรือ Output Condenser Less ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่มีคาปาชิเตอร์ขวางกั้นวงจร เพียงแต่จะใช้วงจรป้องกันไฟ DC รั่วออกสู่ลำโพง เป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด คือคิดกันอย่างเบสิกวงจรขยายสัญญาณจะต้องไม่มีอุปกรณ์คาปาซิเตอร์ขวางกันวงจรอันเป็นเหตุให้มีเสียงอับทึบผิดเพี้ยนจากสัญญาณจริงๆ ที่ต้องการส่วนอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือวงจรชนิด OTL หรือ Output Transformer Less เป็นวงจรที่ปรับปรุบมาจากวงจรหลอดสูญญากาศจำเป็นต้อง มีตัวคาปาชิเตอร์ขวางกั้นวงจร ปัจจุบันแทบไม่มีใครผลิตออกมาแล้ว สภาวะการทำงานของอุปกรณ์ขยายเสียง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คำนึงถึงกัน การนำอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำ (ทรานชิสเตอร์) มาต่อใช้งานย่อมจะต้องคำนึงถึงเรื่องขอบเขตการทำงานของมันให้เหมาะสมด้วยสาเหตุที่ทรานชิสเตอร์รูปแบบต่างๆ สามารถนำมาขยายเสียงได้ก็เพราะมันเป็นอุปกรณ์ อย่างหนึ่งที่อนุญาติให้กระแสไหลผ่านเป็นปริมาณมากน้อยตามผู้ออกแบบ ถ้าต้องการปล่อยให้มีกระแสไหลผ่านทรานชิสเตอร์มากๆ เสียงก็จะดังที่ลำโพงมากขึ้นไปตามลำดับซึ่งในระบบการออกแบบ จะต้องใช้ทราบชิสเตอร์ทำงานทั้งการขยายคลื่นบวกกับคลื่นลบ และวิธีการต่อทราบชิสเตอร์แบบต่างๆ จึงก่อกำเนิดวงจรหลายๆ คลาสขึ้นมาที่เรียกว่า CLASS A, CLASS B, CLASS C, CLASS D, CLASS A-B ล้วนมีที่มาทั้งสิ้น