วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของหัวพิมพ์ และตลับหมึกอิงก์เจ็ต

|0 ความคิดเห็น
หลักการทำงานของหัวพิมพ์ และตลับหมึกอิงก์เจ็ต
นอกจากหัวพิมพ์ และชนิดของน้ำหมึกที่ใช้แล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับกลไกของตลับหมึกอิงก์เจ็ตด้วย เพราะตลับแต่ละประเภท ก็ต้องอาศัยเทคนิคการเติมหมึกที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันตลับหมึกจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ตลับหมึกแบบใช้ความดัน น้ำหมึกจะคงอยู่ในตลับได้เมื่อความดันอากาศในตลับน้อยกว่าหรือเท่ากับความ ดันอากาศภายนอก ขณะใช้งานต้องมีการรักษาความดันอากาศให้สมดุลกับภายนอก น้ำหมึกที่ใช้ไปจะถูกอากาศภายนอกตลับเข้ามาแทนที่ผ่านทางรูระบายอากาศที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ และถ้ารูระบายอากาศนี้เสียหาย หรือตลับหมึกมีรอยรั่ว น้ำหมึกจะรั่วไหลออกมาหมด และตลับนี้เสียหายจะใช้งานต่อไปอีกไม่ได้

ข้อดี ของตลับหมึกแบบนี้คือ แม้ว่าตลับจะถูกจัดวางผิดลักษณะอย่างไรก็สามารถใช้งานต่อเนื่องไป ได้ทันที และบรรจุน้ำหมึกได้มาก นิยมใช้เป็นตลับหมึกสีดำ เมื่อเราเติมหมึกในตลับแบบนี้ จำเป็นต้องรักษาความดันในตลับให้สมดุลขณะเติมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้ตลับทำงานผิดปกติ หรือเสียหายได้ และหลังจากเติมแล้วจะต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่งให้ตลับหมึกค่อยๆ ปรับความดันให้สมดุลก่อนจึงจะใช้งานได้

2. ตลับหมึกแบบใช้ฟองน้ำ ในตลับหมึกจะมีก้อนฟองน้ำที่บรรจุน้ำหมึกเอาไว้อยู่ในรูพรุนของฟองน้ำ เมื่อใช้งานน้ำหมึกจะค่อยๆ ไหลซึมลงมายังหัวพิมพ์ตามแรงโน้มถ่วงจนกระทั่งน้ำหมึกหมด ตลับแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้รูระบายอากาศที่ออกแบบเป็นพิเศษแต่อย่างใด เพียงแค่มีช่องเปิดให้อากาศสามารถเข้าไปแทนที่น้ำหมึกที่ใช้ไปได้ก็พอ คุณสมบัติของตัวฟองน้ำเองจะช่วยอุ้มน้ำหมึกเอาไว้ในตัวมันเอง เมื่อวางตลับหมึกผิดลักษณะปกติ เช่นหงายตลับขึ้นให้หัวพิมพ์อยู่ด้านบน น้ำหมึกก็จะไม่ไหลออกมาทันที แต่จะค่อยๆ ซึมออกมาเนื่องจากคุณสมบัติของฟองน้ำจะต้านน้ำหมึกไว้ ในทางกลับกันเวลาเติมหมึกก็จำเป็นต้องบรรจุน้ำหมึกให้อยู่ใกล้หัวพิมพ์ที่สุดเพื่อให้ใช้งานได้ต่อไปได้ทันที ตลับหมึกแบบนี้จึงนิยมใช้กับน้ำหมึกสี เพราะมีขนาดเล็ก จุดอ่อนของตลับหมึกแบบฟองน้ำอย่างหนึ่งคือ หากฟองน้ำบรรจุน้ำหมึกจนอิ่มตัว น้ำหมึกส่วนเกินจะค่อยๆ เยิ้มออกมาทางหัวพิมพ์อย่างช้าๆ โดยที่เราไม่ทันได้สังเกต ทำให้การทำงานผิดปกติไป เช่น สีเพี้ยนเนื่องจากน้ำหมึกส่วนเกินซึมเข้าไปผสมกับน้ำหมึกสีอื่นข้างเคียงผ่านทางหัวพิมพ์ และก็มีผลทำให้หัวพิมพ์อุดตันจากน้ำหมึกที่แห้งได้บ่อยๆ จนกว่าระดับน้ำหมึกในตลับจะอยู่ในระดับปกติ งานพิมพ์จึงจะกลับมาเหมือนเดิม

3.ตลับหมึกแบบแยกสีหรือรวมสี
เครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ที่มีราคาแพง จะแยกสีออกจาก ตลับสี C M Y K แยกออกจากกันอย่าชัดเจน แล มีถึง 6 ตลับสี โดยเพิ่ม Light Cyan, Light Magenta อีก 2 สี เครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ที่มีตลับรวมกัน (ตลับเดียว 3 สี CMY) นั้นจะมีราคาถูกกว่า (ตัวเครื่องถูกกว่า) เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนตัวหรือธุรกิจขนาดเล็ก พวกนี้ติดตั้งง่าย ในขณะที่ตลับหมึกแบบแยกสีนั้นเหมาะสำหรับการใช้งานองค์กรขนาดใหญ่หรืองานที่ต้องพิมพ์ปริมาณมากๆ

ชนิดของหัวพิมพ์ มีอะไรบ้างนะ ?

|0 ความคิดเห็น
ชนิดของหัวพิมพ์มีดังนี้

1.Thermal heat สำหรับ HP / LEXMARK / CANON มีลักษณะหัวพิมพ์ติดกับตลับหมึก


2. Piezo electric สำหรับ Epson ลักษณะหัวพิมพ์ติดอยู่ที่เครื่องพริ้นเตอร์

วิธีการล้างหัวพิมพ์ สำหรับ Thermal ( HP-CANON-LEXMARK )

|0 ความคิดเห็น
การที่หัวพิมพ์อุดตันเกิดจากการที่ไม่ได้ใช้พริ้นเตอร์เป็นเวลานาน หรือ คุณภาพน้ำหมึกที่นำมาเติมไม่ได้มาตรฐาน วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ
1.น้ำหัวพิมพ์ไปแช่ในน้ำยาเช็ดกระจก หรือ น้ำอุ่น ให้ระดับของน้ำไม่สูงจนเกินไป ไม่ควร 1 ซม. น้ำหมึกที่เกาะแข็งอยู่บนหัวพิมพ์จะแตกกระจายออก
หรือต้องการการล้างหัวพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถติดต่อสั่งซื้อได้จาก Inkworld

2. เมื่อใช้เวลาในการแช่พอสมควรแล้วก็นำหัวพิมพ์มาซับกับทิชชู เพื่อสังเกตว่าน้ำหมึกออกสมบูรณ์หรือไม่ หากออกสมบูรณ์จะปรากฏเป็นเส้น เต็มดังรูป 

ประเภทของเครื่องพิมพ์

|0 ความคิดเห็น

มาทำความรู้จักกับ หมีกรีเมนู กันเถอะ ?

|0 ความคิดเห็น
มีหลายคนสงสัยในคุณภาพของหมึกเทียบเท่าหรือที่เรียกกันว่า Remanu ซึ่งมีทั้งแบบ ink jet & laser jet ในส่วนของหมึกรีเมนูนั้นส่วนดีก็มีคือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหมึกพิมพ์ ซึ่งเมื่อ ซื้อหมึกแท้ใช้จะเห็นได้ว่า ราคาของหมึกเท่ากับราคาเครื่องหรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุ นี้หมึกรีเมนู จึงเป็นหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 30 %

ข้อดี อีกข้อก็คือ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับโลก ลดขยะมีพิษ เพราะตลับหมึกรีเมนูนั้น ผลิตจากตลับหมึก- แท้ จึงไม่มีปัญหากับตังเครื่อง เนื่องจากขนาดหรือไอซีบางตัวไม่ต้องเปลี่ยน สามารถใช้ได้เลย โดยเฉพาะหมึกอิงค์เจ็ท ซึ่งสำคัญมากเพระว่าแผงวงจรที่ติดอยู่กับตลับหมึกนั้น จะต้องตรงกับแผง ปริ้นเตอร์ จึงจะไม่ทำให้ปริ้นเตอร์เสียหาย ระวัง ! ตลับหมึกที่หล่อขึ้นใหม่ เพราะแผงวงจรถ้าไม่ตรงกับ แผงของเครื่องมีปัญหาแน่นอน เครื่องเสียแน่ ๆ

ในส่วนของโทนเนอร์เลเซอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก อีกทั้งบางที เราว่าซื้อของแท้แล้ว อาจจะได้แท้เทียมก็ได้ ถ้าซื้อของเทียม ( ปลอม ) ราคาของแท้หรืออาจถูกกว่า นิดหน่อย ซื้อหมึกรีเมนูใช้ดีกว่า เพราะเรามีแหล่งผลิตในไทย รับประกันคุณภาพงานพิมพ์ มีบริษัทที่ ถูกต้องตรวจสอบได้ อีกทั้งราคาถูกกว่ามาก ให้งานพิมพ์เทียบเท่าหมึกแท้

Gain&Slide fader

|0 ความคิดเห็น
 gain input & Slide fader
แบ่งเป็นสองเรื่องครับ
Gain input ที่เหมาะสม
Fader channel output

เรามาคุยกันครับ ลองตอบผมหน่อยครับ (ดูที่ VU meter ที่ Channel input นะครับ)
1 ถ้า เราเปิด gain input เบาไป เช่น -50 dB เกิดอะไรขึ้นครับ ดี หรือ ไม่ดี ครับ เพราะอะไร

    ต้องอย่าลืมนะครับเครื่องมืออีเลคโทรนิค มันก็มี noise ของตัวอุปกรณ์เอง เข้ามาเกี่ยวข้อง และ มีเรื่องพลังงานที่จะใช้งาน อยู่อย่างจำกัด เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า มันก็เลยขึ้นอยู่กับว่า เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้น มันมีปัญญา ที่จะจ่ายกระแสร์ไฟฟ้าได้มาน้อย แค่ไหนครับ พอนึกออกไหมครับ ดังนั้น
    ถ้า gain input เบาไปมากๆ เช่นตัวอย่าง -50 dB แปลว่า เราได้สัญญานต่ำกว่า Unity gain 0 dB อยู่ 50 dB ซึ่งเยอะมาก ข้อเสียคือ มีโอกาสเป็นอย่างมาก ที่จะมีเสียง noise จากตัวเครื่องเสียงของเราเอง จะแทรกปนอยู่กับ สัญญานเสียงที่เราจะเอาไปใช้ ครับ และอีกอย่าง คือ สัญญานที่เราได้มานั้น มี Dynamic range ที่แคบมากๆ อาจะมี แค่ 10 - 20 dB เองครับ  รายละเอียด เนื้อเสียง dynamic range ที่เราจะเอามาใช้งาน ก็จะมีน้อยมากตามไปด้วย ใช่ไหมครับ นึกตามดูดีๆนะครับ
  ข้อดีคือ คุณมี headroom สำหรับ gain input ใน channel นี้ ถึง 50 dB เสียงก็ยังไม่ clip หรือ deistortion ครับ ซึ่งเป็นข้อดีที่แปลกๆ  เสียงเครื่องดนตรีอะไรครับที่คุณต้องการให้มี dynamic headroom ถึง 50 dB นี่มันคือความดังที่แตกต่างกันห้าเท่าเลยนะครับ นี่ไม่ได้พูดถึงพลังงานทางไฟฟ้าที่จะต้องใช้สำหรับความแตกต่างกันถึง 50 dB ซึ่งมหาศาลมากครับ
  จำได้ไหมครับ  เพิ่มพลังงาน 3 dB คือการเพิ่มพลังงานทางไฟฟ้า หนึ่งเท่า
ของ เดิม เราใช้พลังงานอยู่ 1 watt เราเพิ่ม 3 dB  หมายถึงเราเอาพลังงานที่เท่ากันอีก 1 watt เพิ่มเข้าไป กลายเป็น 2 watts ครับ ก็ดูเหมือนธรรมดาใช่ไหมครับ ไม่เห็นมันจะมากมายอะไ ลองอ่านต่อครับ
ที นี้เราเพิ่มเข้าไปอีก 3dB ก็คือเราเอาพลังงานที่เท่ากับที่เรามีอยู่ 2 watts ที่เรามีเมื่อกี้นั่นแหละ เราก็ต้องเพิ่มเข้าไปอีก 2 watts ก็เลยกลายเป็น 4 watts ไงครับ นี่เราเพิ่มพลังงาน ไป 6 dB จาก 1 watts ก็กลายเป็น 4 watts ไปแล้ว
พวกเราทำ PA ใช่ไหมครับ พวกเราขยายเสียงด้วยพลังงานทางไฟฟ้า(ตอนนี้ผมพูดถึง power amp นะครับจะได้เห็น ความเปลี่ยนแปลงชัดๆครับ)  ถ้าระบบของเรากำลังใช้ พลังงานอยู่ที่ 5000 watts เราเพิ่มขึ้นไป อีก 3dB  พลังงานที่เราต้องใช้ทั้งหมดคือ 5000 watts + 5000 watts = 10,000 watts ถ้าเรายังเพิ่มไปอีก 3 dB  ครับ เราต้องมีพลังงานให้ใช้รวมทั้งสิ้น 10,000 watts + 10,000 watts = 20,000 watts ครับ นรกไหมละครับท่าน นี่ 6 dB (3 + 3 )เองนะครับ ถ้า เพิ่มไป 50 dB ละครับท่าน    อื๋ยย ไม่อยากคิดครับ อิๆๆๆ

2 ถ้า เราเปิด gain input พอดีที่  0 dB เกิดอะไรขึ้นครับ ดี หรือ ไม่ดี ครับ เพราะอะไร


  ถ้า เราเปิด gain input พอดีที่  0 dB เกิดอะไรขึ้นครับ ได้คำตอบ จากข้อแรกแล้วใช่ไหมครับ
เรา ได้ gain input ที่เหมาะสม ระบบทำงานอย่างที่ควรเป็น ไม่มากไป ไม่น้อยไป เราก็จะได้สัญญาน ที่เราจะเอาไปขยายเสียง ที่ดี ไม่มี noise ไม่ distrotion ไงครับ มีข้อดีอย่างเดียว ไม่มีข้อเสีย ครับ


3 ถ้า เราเปิด gain input มากไป เกิดอะไรขึ้นครับ ดี หรือ ไม่ดี ครับ เพราะอะไร

  ครับ สัญญานเสียงที่เราจะเอาไปขยายเสียง มันก็ Clip และ Distrotion ไงครับ
ข้อ ดี คือ ถ้าคุณอยากให้เสียงมันผิดเพี้ยน เสียงแตกๆ ไม่เหมือนต้นฉับบ เทคนิคนี้ก็ใช้เป็น EFX ได้ครับ เช่น เสียงแตกของ Guitar ไงครับ
ข้อเสีย คือ มันไม่เหมือนต้นฉบับที่เขาเลนอยู่อ่ะ  อย่าลืมนะครับ หน้าที่เราคือขยายเสียงต้นฉบับที่ดังไม่พอกับพื้นที่ ให้ดังพอครับ เสียงมันก็ควรจะขยายมาอย่างถูกต้องเหมือนต้นฉบับใช่ไหมครับ


ใน เรื่อง gain input คุณก็ต้องเลือกละครับ จะเปิดมาก เปิดน้อย ในแต่ละ Channel เหมาะสม กับ เครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆหรือไม่ มี headroom ของ pre amp ที่เหมาะสม กับ Dynamic range ของเครื่องดนตรี ชิ้นนั้นๆหรือไม่ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหวังว่าคงพอเข้าใจ คำว่า headroom นะครับ ผมจำกัดความหมายเองว่า พลังงานสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งานครับ

ส่วนเรื่อง FADER มีคำถามเดียวครับ
ทำไมใช้เป็น Slide fader volume ไม่นิยมเป็น Knob volume ในการทำ Concert ครับ เพราะอะไรครับ

เห็น ได้ชัดเจนเลยว่า slide fader นี่เวลาเราเพิ่ม หรือ ลดค่า มันทำได้ smooth กว่า knob ปุ่มหมุน มากนักทำให้เวลาเรา mix เสียงนี่เราจะทำได้นุ่มนวล ลื่นไหล กว่า ปุ่มหมุนมากนัก ใช่ไหมครับ
เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังว่าทำไม เวลา mix เขาชอบ set balance fader ไว้ที่ 0 dB ครับ

slide fader เราจะสังเกตุได้ง่ายๆเลยนะครับ ในโฆษณาที่เราดูๆกันอยู่นี่ mix ตัวไหนมี long slide fader
จะเป็นจุดขายเลยนะครับ ไม่เห็นมีใครนำเสนอว่า mix ตัวนี้ใช้ short slide fader เป็นจุดขายนี่ ใช่ไหมครับ
ก็อย่างที่ว่ามาแล้วแหละครับ slide fader เพราะมันช่วยให้เรา mix เสียงได้ นุ่มนวล ราบเรียบ ได้ดีกว่า ปุ่มหมุน
ทีนี้ long slide fader มันดีกว่าไอ้เจ้า  short slide fader อย่างไรครับ ลองคิดดูต่ออีกนิดครับ เดี๋ยวผมมาต่อครับ

ด้วยการที่มี ระยะให้เลื่อน ขึ้น ลง มากกว่า แต่ใช้ scale เดียวกัน(ต่ำสุด ไปจนถึง +10 dB)
ลอง ดู scale ที่ Fader ของ mixer นะครับ จะเห็นว่าเขาจะบอก scale เป็นช่วงๆเป็น dB ซึ่ง มันจะมีช่วงเริ่มต้นต่ำที่สุด ลองสังเกตุ กับช่วง บน บน ซึ่งเป็นค่าสูงสุด จะเห็นได้ว่าการเลื่อน slide fader ในช่วง ความดังต่ำๆ ที่อยู่ด้านล่างนั้น จะมี scale ที่ถี่มาก กว่า ด้าน บน ขบับนิดเดียว ก็ ได้ค่าแตกต่างเป็น 10 dB เลย
ในระยะการ เลื่อน ที่เท่ากัน ถ้าทำ ในช่วง ด้านบน ของ slide อาจเกิดค่าการเปลี่ยนแปลง แค่ 2 - 3 dB เอง
ดัง นั้น การ mix โดย ใช้ช่วงบนๆ ของ slide fade ก็ย่อม ปรับได้ละเอียดกว่า การปรับทีละ 1 - 2  dB นั้นทำได้ง่าย และ นุ่มนวล ลื่นไหล กว่า ช่วงล่างๆ ของ slide fader ใช่ไหมครับ การปรับทีละ 1 - 2  dB นั้นทำได้ยาก เพราะ มีช่วง ระยะทางให้ขยับนิดเดียวเอง ลองดูที่ Mixer ของจริงเลยครับ
ดังนั้น ถ้าวัตถุประสงค์ ของ การใช้ slide fader คือ ช่วยให้เราได้ mix เสียง ได้ ลื่นไหล นุ่มนวล แล้ละก็
การ ที่เรา set ให้ช่วง fader ที่เราจะใช้งาน อยู่ที่ ช่วงด้านบนของ slide fader ก็ย่อมจะดีกว่า ให้อยู่แถวๆ  ล่างๆ ของ fader ใช่ไหมครับ ลองนึกตามดูดีๆนะครับ

ทีนี้ ถ้าเรา set balance ของวงดนตรี โดยให้ fader อยู่ที่ 0 dB ทุก channel
ข้อดีคือ
เป็น ช่วงที่ + - 20 dB ที่ มีช่วงระยะกว้างมากที่สุด บน slide fader ซึ่งแปลว่า  เป็นช่วงที่ Mix ได้ smooth ที่สุดของ fader ไงครับ (+10 กับ -10 dB จาก 0 dB ถึงได้เป็นช่วง 20 dB ครับ)
ซึ่งกว้างมากพอครับ 10 dB นี่ ได้ความดัง 1 เท่า เลยนะครับ ซึ่งเยอะมาก ครับ
ข้อ ดีอีกข้อ คือ พอทุก Channel อยู่ ที่ 0 dB ทำให้เราดูแลง่าย เวลา mix ไปแล้ว อยากกลับไป balance เดิม ก็ แค่ จัดให้ ทุก fader มาอยู่ ที่ 0 dB ก็แค่นั้นเอง ง่ายดีครับ อย่าลืมนะครับ ทำ live sound บางทีเป็น 100 channel เลย นะครับ ใครจะไปจำได้ ว่า channel ไหน เรา ลด หรือ เพิ่ม ไว้ที่ไหน มันเป็น balance พื้นฐานที่เราทำไว้เป็น referance ทำ live sound นี่เรา mix 100 channel พร้อมๆกันนะครับ มันเป็น technic นึงที่ทำให้เราทำงานได้ง่ายครับ มองแวบเดียว รู้เลย ว่า balance หรือเปล่าครับ

ข้อเสีย
ถ้าเรา balance แต่ ละ channel ไม่ดี อาจทำให้ Gain input ในบาง channel  เบาไป หรือ น้อยไป หรือ แรงไป overload หรือ clip distrotion ได้ครับ

แต่ไม่ต้องกังวลมากนักหรอกครับ ทำไปสักพัก พอมีประสบการณ์ มากเข้า ก็ทำได้เองครับ gain input ก็ดี balance ได้ สบายมากครับ
แต่ ถ้าจะบันทึกเสียงนี่ Gain input นี่เราต้องการสัญญานเต็มๆ ตลอดเวลา เพื่อ ให้ได้ Resolution หรือ รายละเอียดสูงสุด เวลาเอาไปทำงานทีหลัง จะได้ง่ายครับ

ถ้าเราเปิด gain mic มากๆ เพระสัญญานมันเบา และเราอยากได้ gain mic input เยอะๆ นี่ ในการทำ live sound
เครื่อง ดนตรีทุกชิ้นนี่มันเล่นพร้อมกันนะครับ เราเปิด gain เยอะๆ นี่มันทำให้ ความไวในการรับเสียงของ mic มันเพิ่มขึ้นด้วยนาครับ ต้องระวังไม่งั้นมันรับเสียงอะไรก็ไม่รู้ เต็มไปหมด ทำให้เราจัด balance ไม่ได้ หรือ ทำได้ยาก
เปิด mic ร้องตัวเดียว รับมันทั้งวงครบเลย ปิด channel snare ไปแล้ว ยังดังสนั่นเลย เพราะเข้า mic ร้อง เต็มเลย
อิๆๆๆ โดนกันมาทั้งนั้นแหละ พวก live sound นี่น่ะ
การ ทำ live sound นี่มันยากตรงนี้แหละครับ เล่นพร้อมกันหมด หน้าตู้ bass guitar kyb เล่นดังไปก็เข้า mic  เครื่องอื่นเขาหมด  นักร้องร้องเสียงเบามาก เราก็ต้องเร่ง gain input เยอะ mic ไวไป รับเสียงมันทั้งวงเลย
monitor บนเวที ดังสนั่น เข้า mic หมดเลย เราก็คุมไม่อยู่อีก ปัญหาเยอะแยะไปหมด
แต่ทุกคนจะเอาให้เสียงเหมือนแผ่น มันจะไปได้ยังไงครับ อิๆๆ ท้าทายครับ ท้าทาย

ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ทำได้ครับ แต่ต้องช่วยกันทุกคนครับ
นักดนตรี, นักร้อง, PA engineer, Monitor engineer,  เครื่องเสียง, เครื่องดนตรี, Hall acoustic
คุยกันครับช่วยกันครับ ทำได้แน่นอนครับ

ขอให้โชคดีทุกท่านครับ ฝึกปรือ เยอะๆครับ
สวัสดีครับผม

ถาม

ทีนี้มาถึงส่วนปัญหาบ้างครับ
จาก ประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มาประมาณ 4 ปี ผมยังมีความสงสัยอยู่ในเรื่องของ gain อยู่อีกนิดหน่อยครับ งานกลางแจ้งเราสามารถทำ gain input ให้อยู่ที่ 0dB ได้ตามทฤษฎี แต่กลับกันทำไมงานในห้องบางครั้งเราทำไมสามารถทำ gain input ให้อยู่ที่ 0dB ได้ครับผม ทั้งนี้มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลกระทบ เช่น สภาพของห้อง จำนวนของลำโพง กำลังการขยาย หรือว่าการจัดการกับระบบของเราเอง ครับผม

ตอบว่า

gain input นี่ให้มันอยู่แถวๆ 0 dB +6 dB -6dB นี่ก็ ok แล้วนะครับ มันไม่มีสัญญาน อะไรที่จะค้างตรง 0 dB ตลอดหรอกครับ  ถ้าใช้ mix ดีๆ นี่ pre mic คุณภาพดีๆ ใช้แล้วจะติดใจ
ผมไม่เคยนะครับ ก็ได้ gain input ที่อยากได้ทุกทีแหละ indoor หรือ outdoor ไม่เคยมีปัญหาเลยครับ
จำนวน ลำโพง หรือ สภาพห้อง ผมว่ามันไม่ค่อยเกี่ยวกับ gain input เท่าไรนะ เพราะ gain input เกี่ยวกับ ความแรง ค่อย ของสัญญาน ที่เราจะเอาไปใช้งานครับ ว่าเราได้สัญญานดิบ ที่มีคุณภาพ มาหรือเปล่าครับ ไม่ค่อยเกี่ยวกับ กำลังขยายของระบบเสียงเท่าไรนี่ครับ อันนั้นมัน ภาค output นี่ครับ
น่าจะเป็นที่ การจัดการกับระบบของเราเอง  อันนี้ต้องคุยกันยาวพอควรครับ พิมพ์ม่ายไหวครับ
อิๆๆ

ถาม

เพราะ ทั้งนี้ผมเชื่อว่าการที่มี headroom ที่มากไว้ก่อน ย่อมจะมีผลดีกว่าในเรื่องพลังงาน คือถ้าเบาไปเราก็สามารถเพิ่มได้ แต่ถ้าดังไปเราก็สามารถลดได้

ตอบว่า
ครับผม งบประมาณในการเช่าเครื่องเสียง ก็ควรจะเช่า Headroom ไปด้วยครับ
เห็นมีแต่ เอาประมาณนึงนะครับพี่ ไม่ต้องแพงมากครับ
พอไปถึงหน้างานจริง ดังได้อีกไหมพี่ ผมอยากให้มันดังกว่านี้อีกครับ


ถ้าเกิดว่าเกิดกรณีแบบนี้ล่ะ?

Gain ที่ช่อง = 0dB และ fader ขึ้นที่ 0 dB สังเกต VU ตรง Master Fader ( fader ก็ที่ 0dB เหมือนกัน) จะพบว่ามันไม่ได้ 0 เท่ากันครับ ทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างในระบบเป็น Unity

นั่นเกิดจากการใช้คอนโซลที่เป็นรุ่น ประหยัดหรือคุณภาพพอใช้ ที่ใส่ใจในการผลิตน้อยกว่ารุ่นสูง ๆ  หรือเป็นอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานมานาน ทำให้อุปกรณ์ภายในมันเสื่อมลงตามกาลเวลา หรือแม้แต่ตะกั่วมันร่อนเลยทำให้นำสัญญาณได้ไม่ไดีเท่าที่ควร ดังนั้นอยากจะให้ตรวจสอบดี ๆ ก่อนจัดหาอุปกรณ์เข้ามาเป็นอาวุูธของเราครับ

ผม เคยเห็นคอนโซลของหลายยี่ห้อที่บอกกันว่าเอาภาคปรีไมค์ มาจากรุ่นใหญ่ ๆ แต่พอผมเปิดฝาดูเท่านั้นล่ะ...  วงจรลายเดียวกัน IC ตัวเดียวกัน แต่อย่าอื่นเ่ช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตะกั่ว หรือแม้แต่คุณภาพทองแดงบนลายวงจรมันไม่ได้ดีเท่ากัน ไ่ม่มีของที่ถูกและดีในโลกนี้หรอกครับ
เคยใช้คอนโซลตัวนึงอายุก็พอสมควร เกือบ ๆ ครึ่งทศวรรษ ปรากฏว่า 0dB ที่ช่อง กลายเป็น +2 ถึง 3 dB ที่ Master บางช่องก็ลดต่ำกว่า Unity กรณีฟันธงได้เลยว่า...  "คอนโซลตัวนี้... รั่วแล้วครับพี่น้องงงงงง"

ดังนั้นไม่แปลกหรอกครับที่ level จะไม่พอดีที 0 เพราะความสวิงของสัญญาณจึงต้องมี Headroom อย่างที่น้าแอ๊ดว่าล่ะครับ สวิงถึงจะถูกต้องครับ ถ้าเกิดว่าไม่สวิงนี่ดิ สัญญาณคงเป็น Sine Wave ไม่ก็ต้องผ่าน limiter  มาแล้วแน่ ๆครับ ถึงจะไม่สวิง

แต่หนักที่สุดก็คือ...  สัญญาณออกไปไม่เท่ากันสองข้าง    อันนี้งานเข้าแน่ ๆครับ แต่ก็เคยมีนะครับว่า VU บอกไม่เท่ากัน แต่ขาออกมันดันเท่า หรือกลับกันก็ได้  อย่าใช้ของเก่ามากเป็นดีที่สุด ไม่งั้นก็ต้องเสียค่าบำรุงเยอะตามระวังจะไม่คุ้มครับ
ขอบคุณอาจารย์ Addyครับสำหรับที่มาครับ

วิธีอัดเสียงร้องให้คมชัด ใสปิ๊ง

|0 ความคิดเห็น
วิธีอัดเสียงร้องให้คมชัด ใสปิ๊ง
      มีท่านนึงถามผมว่า ทำไมเสียงร้องในเพลงทั่วๆ ไปในท้องตลาดถึงได้ค่อนข้างบาง และไม่ค่อยมีเสียงทุ้ม เวลาบันทึกเสียงร้อง ผู้อ่านท่านนี้ได้วาง Pop Shield ห่างจากไมค์ 4 นิ้ว และให้นักร้องอยู่ห่างจาก Pop Shield 8 นิ้ว โดยมีผ้านวม ติดที่ผนังรอบตัวนักร้อง และพื้นเป็นลามิเนทเพื่อเพิ่มความใสให้กับเสียง แต่เสียงที่ได้นั้นฟังดูทึบและไม่เข้ากับเพลงอย่างมาก มันฟังดูเหมือนอัดจากไมค์ไดนามิคทั่วๆ ไปเสียมากกว่า บางทีเขาก็สงสัยว่าเป็นเพราะตัวนักร้องที่อยู่ใกล้ไมค์เกินไป ทำให้เสียงบวมและทึบจากผลของ Proximity Effect และเขาก็สงสัยว่าถ้าให้นักร้องถอยห่างออกมาและเพิ่มเกนที่ปรีแอมป์จะได้ เสียงที่ดีขึ้นหรือไม่

      การบันทึกเสียงร้องที่ดีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงที่ดี โดยทั่วไปคุณจะต้องทำเสียงร้องให้ชัดเจนแม้ว่ามันจะถูกกลบโดยเสียงความถี่ สูงในแทร็คอื่นก็ตาม และในทางปฏิบัติเรามักจะปรับเสียงร้องให้ใสกว่าปกติเพื่อให้มันฟังดูดีเวลา รวมอยู่ในเพลง

      มีหลายวิธีด้วยกันในการทำให้ได้เสียงร้องที่ใสขึ้นขณะทำการอัดโดยไม่ต้อง พึ่ง EQ (จำไว้เสมอว่าการโพรเซสใดๆ ก็ตามมักจะลดคุณภาพเสียงลงด้วยเสมอ ดังนั้นจึงควรจะทำให้ได้เสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงที่ต้องการให้มากที่สุด ตั้งแต่ขั้นตอนการบันทึก) อย่างที่ได้ทราบกันแล้วว่าการขยับออกห่างจากไมค์จะช่วยลดเสียงทุ้มที่เกิด จาก Proximity Effect และทำให้ได้เสียงที่ใสขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการบันทึกเสียงที่ใกล้ไมค์จะสามารถจับเสียงเล็กๆ น้อยๆ เช่นเสียงริมฝีปากและเสียงหายใจ ซึ่งจะช่วยให้เสียงร้องเด่นขึ้นได้ โดยที่คุณสามารถควบคุม Proximity Effect ได้ด้วย EQ หรือ High-pass ฟิลเตอร์ ตราบใดที่นักร้องไม่มีการขยับตัวมากเกินไปขณะร้อง

      มีปัจจัยอื่นๆ อีกที่คุณควรคำนึงถึงในการบันทึกเสียงให้ได้เสียงที่ใสขึ้น อย่างแรกคือพยายามให้นักร้องอยู่ตำแหน่งตรงแกนกลางของไมโครโฟน จะทำให้ได้เสียงที่ใสขึ้นมากโดยเฉพาะกับไมค์คอนเดนเซอร์ที่มีไดอะแฟรมขนาด ใหญ่อย่างที่นิยมใช้กันในการบันทึกเสียงร้อง แต่ถ้าคุณใช้ไมค์ที่มีแพทเทิร์นการรับเสียงแบบ Omni หรือมีสภาพห้องที่มีเสียงทึบอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงในส่วนนี้มาก นัก ประการที่สองที่ต้องคำนึงถึงคือการวางไมค์ให้ต่ำลงจะทำให้ได้เสียงที่ใสขึ้น เสียงความถี่สูงจะมีทิศทางมากกว่าเสียงความถี่ต่ำ และในกรณีของนักร้องนั้นเสียงร้องมักจะสะท้อนด้านบนของเพดานปากและโพรงจมูก ลงด้านล่าง ดังนั้นการวางไมค์ให้ต่ำกว่าระดับจมูกก็จะช่วยให้ได้เสียงที่ใสขึ้นได้

เนื้อ เสียงในช่วงความถี่สูงจะสะท้อนด้านบนของเพดานปากและโพรงจมูก และเนื่องจากเสียงความถี่สูงมีทิศทางมากกว่าความถี่ต่ำ จึงจัดวางไมโครโฟนให้ปากของนักร้องมีมุมที่ชี้ลงด้านล่าง

ในทางกลับ กันคุณสามารถลดเสียง ซ ส ได้ด้วยการจัดวางไมค์ให้สูงกว่าระดับปากเล็กน้อย เพื่อลดการรับเสียงความถี่สูงบริเวณกึ่งกลางไมค์ ซึ่งเป็นจุดที่รับเสียงความถี่สูงได้ดีที่สุด
ขอบคุณเจ้าของบทความครับ

เคดิต...นักรบกีนิว

เสียง MONITER กับ PA ต้องเหมือนกันหรือไม่

|0 ความคิดเห็น
เสียง MONITER กับ PA ต้องเหมือนกันหรือไม่
 
จำเป็นมั้ยว่า    monitor  บนเวที    เสียงต้องเหมือน  PA.
แล้ว  เวลาคัด  sound  ใช้เพลง    กับ  ใช้เสียงตัวเองต่างกันมั้ยครับ

ไม่จำเป็นครับ  เพราะมันคนละวัตถุประสงค์อยู่แล้วครับ
monitor    เอาฟังชัดเจน  ให้นักดนตรีเล่นไม่หลุด  ครับ  monitor  engineer  บางคน  ถึงไม่ใช้  compressor  และไม่มี  effect  ในระบบเลยครับ
PA  นี่ให้คนดูฟัง  นี่เลยต้อยปรุงแต่งหน่อยครับ

1.แล้วทำไมบนเวทีต้องมี  side  fill  ครับ  ในเมื่อนักดนตรีก็มี  monitor  ฟังอยู่แล้ว
2. แล้วเสียงที่นักดนตรีได้ยินจาก  monitor  กับเสียงจาก  side  fill  มันจะไม่  delay  เหรอครับ  เพราะเห็น  monitor  อยู่ข้างหน้านักดนตรี  แต่  side  fill  อยู่ข้างเวที  เสียงจาก  side  fill  มันจะไม่ช้ากว่าเสียงของ  monitor  ที่จะมาถึงหูของนักดนตรีเหรอครับ
3.หรือว่า  side  fill  จะต้องมีเฉพาะงานที่มีเวทีกว้างพอสมควรหรือป่าวครับ

ใช่ แล้วครับ  เวทีใหญ่ๆ  มันมี  side  fill  ทำให้  sound  บนเวที  แน่น  คนที่ยืนฝั่งซ้าย  ได้ยินเสียงของคนที่อยู่ฝั่งขวา  คนที่อยูฝั่งขวาก็ได้ยินคนที่อยู่ฝั่งซ้าย  ชัดเจนครับ
delay  มันมีครับ  แต่  มันน้อยมากครับ  ลองนึกดู  เอาคร่าวๆ  1  เมตร  ประมาณ  3  มิลลิเซ็ค  เวทีหน้ากว้าง  18  เมตร  ก้ประมาณ  54  มิลลิเซ็ค  ครับ  (1000  มิลิเซ็ค  เท่ากับ  หนึ่งวินาทีครับ)  เราให้ฟัง  wedge  เป็นหลัก  ครับ  side  fill  ชื่อก็บอกแล้วว่าเอาไว้เติมเต็มครับ

อ้อ  ที่ถามว่า  เวลาคัด  sound  นี่หมายถึง  alignment  eq  ระบบ  เสียงใช่ไหมครับ

ใช้ ทั้งเพลงที่เราคุ้นเคย  และ  mic  กับเสียงของเราครับ  ในการปรับ  (alignment)  ครับ  ผมเองให้น้ำหนัก  ที่  mic  มากกว่าเปิดเพลงครับ    แต่โดยปรกติ  พอปรับเสร็จแล้ว  มันได้ทั้งคู่แหละครับ  เปิดเพลงก็ได้  พูด  mic  ก็ดีครับ

ในการใส่เอฟเฟคเสียงร้องที่มอนิเตอร์
ใส่-ไม่ใส่  มากน้อยอย่างไร

จริงๆ แล้วก้อใส่  Reverb  ให้นักร้องเค้าได้ยินที่มอนิเตอร์ก้อจะดีนะครับ    ทำให้เค้าร้องได้อย่างมีความสุขมากขึ้น    ใส่มากใส่น้อยแล้วแต่คนร้องต้องการครับ    หรือถ้าเค้าไม่ได้บอก    เราก้อใส่แค่พอดีๆๆ

ขอบคุณอาจารย์เจ้าของบทความด้วยครับ

เคดิต นักรบกีนิว ...
http://www.karaoke-soft.com/smf/index.php?topic=22567.msg232445#msg232445

ก๊อบก่อนเข้าว่าจะลบล่ะเสียดาย

Sound check

|0 ความคิดเห็น
Sound check  ย้อนยุคไปเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนสมัยที่หลวงพี่ หลวงลุงนุ่งสบงตัวเดียวปืนบันไดขึ้นไปแขวนลำโพง “ปากแตร” บนเสาแล้วลากสายไฟมาต่อเข้ากับ “แอมป์” ที่เต้นท์แล้วเสียบ “ไมค์” เข้าไปแล้วก็พูด “อะโหล..หนึ่ง..สอง..สาม..” ดังลั่นไปสามบ้านแปดบ้านเป็นอันเสร็จพิธีติดตั้ง”งานวัด ซาวด์ซิสเต็ม” คำว่า  Sound Reinforcement  หรือ Public Address เป็นระบบอย่างไรไม่มีใครรู้จัก มาจนถึงปัจจุบันระบบเสียงโดยเฉพาะระบบ Sound Reinforcement – S.R. มีการพัฒนาขึ้นไปมาก อุปกรณ์ไฮเทคไม่ว่าจะมาจากต่างประเทศหรือผลิจตากภูมิปัญญาชาวบ้าน (หม้อ) ถูกนำมาใช้กันเพียบงานวัดเล็กๆ ต่างจังหวัดบางงาน บางที่ติดระบบเสียงกันเป็นหมึ่นวัตต์ก็มีอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นระบบเสียง ลูกทุ่งไม่กี่ร้อยวัตต์ในอดีต หรือระบบที่สลับซับซ้อนหลายหมื่นวัตต์ในปัจจุบัน ตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่กำหนดคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบเสียงนอกเหนือไป จากการออกแบบและปรับแต่งก็คือการทดสอบระบบเสียง หรือ Sound Check นั้นเอง

    อะไรคือ Sound Check? หลายท่านอาจจะเพิ่งรู้จักกับคำๆนี้ซึ่งความจริง Sound Check ไม่ใช่ศัพท์เทคนิคอะไร เพียงแต่เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเสียงทั้งหมด ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นต่อพ่วงเข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบมา และแต่ละตัวสามารถทำงานได้จามปรกติอย่างที่ควรจะเป็น เสียงจากลำโพงชุดซ้ายซึ่งจะต้องมีความดังเสียง (Equalization) แต่เป็นการเตรียมการก่อนจะทำการปรับแต่งคุณภาพเสียงซึ่งจะเป็นลำดับขั้นตอน ถัดไป มีหลายๆ ครั้งที่ผมเห็นพ่อหนุ่ม Sound Man รุ่นใหม่ไฟแรงเวลาทำ S.R. พี่ท่านก็จะไม่ฟังอีร้าค่าอีรมเดินรี่ตรงมายัง Mixer สั่งเด็กเปิดเบรกเกอร์เครื่องสียงทุกชิ้นพร้อมกัน แล้วได้ยินเสียงลำโพงดัง “ตุ๊บ” สนั่นหวั่นไหว จากนั้นก็คว่าไมโครโฟนขึ้นมาพูด “โท้ด...ชอบ...หนึ่ง..สอง...สาม...” แล้วก็ปรับ Equalizer ยังดีที่รู้จัก PAN ซ้ายที่ ขวาที ก่อนจะปรับระบบโดยรวม จนเป็นที่พอใจของหูดกก็เป็นอันเสร็จพิธี หารู้ไม่ว่า Mixer ช่องที่ไมโครโฟนใช้ทดสอบเสียงนั้น ในช่วงของ EQ ไม่โครโฟนตัวนั้นถูกเร่งความพี่สูง กลางและต่ำไว้จนสุด คุณคงเดาออกได้ว่าหลังจากนั้นเมื่อตอนออกงานแสดงจริงเสียงจะเป็นอย่างไร นี่เป็นตัวอย่างของการขาดความรู้ในขั้นตอนปรับระบบให้ Flat เบื้องต้นระหว่างการ “Sound Check” ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอนแต่ว่าสำคัญ ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันต่อไป

ในการต่อ อุปกรณ์ในระบบเสียงทั่วไปซึ่งเป็นจริงและมีการใช้งานกันมาเป็นสิบปีแล้ว โดยสัญญาณเขาเข้าจะไล่จากซ้ายสุดเข้าไมโครโฟน ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปยังลำโพงซึ่งอยู่ขวาสุด ปรกติผู้ทำการต่อพ่วงระบบที่ผู้มีประสบการณ์จะมีผังการต่ออุปกรณ์นี้อยู่ใน ใจแล้ว การต่อพ่วงรวมถึงการตรวจสอบระบบก็จะไล่จากซ้ายไปขวาเช่นเดียวกัน

 1.ตำแหน่งพักอุปกรณ์ การเตรียมตำแหน่งพักอุปกรณ์หรือ Preset ก่อนทำการต่อพ่วงและหลังเลิกใช้งานเพื่อทำการถอดเก็บดูเหมือนจะไม่มีอะไรแต่ ความจริงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ทำระบบเสียงมืออาชีพมักจะ Preset อุปกรณ์ทุกชิ้นเสมอทั้งนี้มีเหตุผลเพื่อป้องกันความเสียหายอันที่จะเกิดขึ้น กับอุปกรณ์ทุกชิ้นเสมอ ทั้งนี้มีเหตุผลเพื่อป้องกันความเสียหายอันที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพงจากการที่บางครั้งผู้ติดตั้งควบคุมอาจมีการผิดพลาด พลั้งเผลอในการปรับแต่ง สิ่งที่ต้องคำนึงในการ Preset ส่วนใหญ่ได้สุดที่รัก

อุปกรณ์ทุกชนิด
Power อุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟ จะต้อง Preset Power Switch ไว้ที่ตำแหน่ง “OFF” เสมอ การทิ้ง Switch ไว้ที่ตำแหน่ง “ON” ก่อนต่อพ่วง จะทำให้เกิดไปกระโชกในเครื่องเมือเสียบปลั๊กทำให้เสียกายได้ MIXING CONSOLE: ปุ่มหลักๆ ที่ควรคำนึงถึงในการทำ Preset ได้สุดที่รัก

-MIC/LINE GAIN หรือ ATTENUATOR ของทุก Channel ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาไปบจนสุด มีผลเหมือนกับการปิดไม่ให้สัญญาณผ่านเข้า Mixers โดยที่เราไม่ตั้งใจ

-PHANTOM เครื่อง Mixer บางรุ่นจะมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงย้อนกลับไปยังไมโครโฟนชนิด Condensor แต่ส่วนใหญ่เราจะใช้โมโครโฟนชนิด Dynamic ซึ่งไม่ต้องการๆเลี้ยงเช้าไประหว่างการใช้งานจะไม่เป็นผลดีนัก ดังนั้นตำแหน่งนี้ให้ Preset ไว้ที่ “OFF”


-MUTE เป็นปุ่มเปิด/ปิดสัญญาณในแต่ละช่อง จำแหน่ง “ON” แปลว่าปิดไม่ให้สัญญาณผ่านปุ้มนี้ ปุ่มนี้ขึ้นอยู่กับความเคยชินของผู้ควบคุมแต่ละคนสองคน

-PHASE REVERSE ให้ Preset ไว้ที่ตำแหน่ง “OFF”


-LO-CUT, HI-CUT FILTER เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับติดสัญญาณเสียงย่านความถี่มากๆ และช่วงสูงมากๆ ตามลำดับโดยทั่วไปจะไม่กดคือ จะตั้งไว้ที่ตำแหน่ง “OFF”

-EQUALIZER ไม่ว่าจะเป็นชนิดแบ่งความถี่คงที่เป็น Low, Mid, High หรือชนิดปรับความถี่ได้ ให้ตั้งปุ่ม Gain ของทุกความพี่ไว้ที่ 0 dB และถ้ามีปุ่ม EQ IN ให้ตั้งตำแหน่งไว้ที่ “OFF” คือยกปุ่มขึ้น –AUX,EFFECT SEND/RETURN  คือปุ่มส่งและปรับสัญญาณ Auxiliary และสัญญาณ Effect เพ่อทำลูกเล่นต่างๆ ในระบบไม่ว่าจะมีกี่ Send หรือ Return ก็ตามให้หมุนทวนเข็มนาฬิกามาจนสุดคือ “ปิด”ไว้

-PRT/POST เป็นตำแหน่งที่ความดังของปุ่มควบคุมนั้นๆ เช่น AUX หรือ EQ จะขึ้นอยู่กับ Fader ของแต่ละช่อง PRE คือ Pre Fader ไม่ขึ้นกับ Fader ส่วน POST คือ Post Fader คือขึ้นอยู่กับการเลือน Fader ให้ตั้งไว้ตำแหน่ง “PRE”

-PAN ชื่อเต็มคือ Panoramic Potentio Meter คือปรับความดังเสียงช่องนั้นๆ ไว้ที่ซ่าน (L) หรือ (R)ให้ตั้งไว้ที่ตำแหน่งกลาง (C) เครื่องยางรุ่นจะไม่มีตัวหนังสือ C กำกับไว้ตำแหน่งไว้ แต่จะมีล็อกเล็กๆ ที่เรารู้สุกได้ไว้เมื่อหมุนปุ่มไปที่ล็อคนั้นเสียงก็จะอยู่ตรงกลาง

-PFL Pre Fader Listening เมื่อกดปุ่มนี้คือตำแหน่ง”ON” สัญญาณของช่องนั้นๆ จะไปทีหูฟัง Phone หรือ Monitor โดยจะทับสัญญาณอื่นๆที่ไม่ได้กดแม้แต่สัญญาณจาก Masterก็ตาม ดังนั้นเราจะไม่กด PFL คือตั้งไว้ที่ “OFF”

-FADER คือปุ่มเลื่อนสำหรับปรับความดังของช่อง ปุ่มนี้จะอยู่ล่างสุด และเช่นเดียวกันให้เลื่อนปุ่มลงมาจนสุดคือ “OFF”

-ปุ่ม ควบคุมอื่นๆ Mixing Console แต่ละรุ่นมี่ลูกเล่นแตกต่างกัน การ Preset ทั่วไปถ้าเป็นปุ่มหมุนให้หมุนทวนเข็มจนสุดถ้าเป็นปุ่มที่เกี่ยวกับความถี่ ให้ตั้งความดังของความถี่นั้นๆไว้ที่ 0dB

-EQUALIZER : หลักๆ ใช้กันอยู่ 2 แบบ คือชนิด Graphics

    และ Parametric ชนิดแรกแบ่งความถี่เป็นช่วงๆคงที่แต่ละช่วงมีปุ่มเลื่อนหรือ Slider ไว้ให้เพิ่มหรือลดความแรงของสัญญาณความถี่นั้นๆ การ Preset Graphic Equalizer มีอยู่สองแนวความคิด แบบแรก Preset ไว้ที่ตรงกลาง หรือ 0dB เพื่อให้ไม่มีการปรับแต่งสัญญาณใดๆในขณะที่แบบหลังลด Slider ลงมาตำแหน่งล่างสุดโดยมีเหตุผลด้านการรักษาอายุการใช้งานของ Slider Equalizer ชนิดที่สองคือ แบบ Parametric โดยมากจะเป็นปุ่มหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด Equalizer ทั้ง 2 ชนิดให้ปรับปุ่ม Gain ไว้ที่จำแหน่งลดสุดส่วนปุ่ม Bypass ให้ “ON” คือไม่ให้ Equalizer มีการปรับแต่งสัญญาณใดๆ COMPRESSOR/LIMITER เป็นเครื่องควบคุมความดังสัญญาณอัตโนมัติ ไม่ให้มีความแรงเกนกว่าที่เราตั้งไว้โดยทั่วไปจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่มคือ
Ratio, Threshold และ Gain ทุกปุ่มให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาไปจนสุด

    ACTIVE (ELECTRONIC) CROSSOVER: เป็นเครื่องมือตัดแบ่งย่านความถี่เสียงทั้งย่านออกเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ 2 ถึง 5 ช่วงหรือมากกว่าแล้วแต่รุ่นและยี่ห้อแต่ละช่วงมีปุ่มปรับความแรงของสัญญาณ เพื่อป้อนเข้าเครื่องขยายเสียง การใช้ Active Crossover กับ เครื่องขยายเสียงและลำโพงหลายชุด มีเหตุผลทางด้านประสิทธิภาพในการส่งพลังงานสู่ลำโพง เพราะการใช้ Crossover ชนิด Passive ซึ่งประกอบด้วยขดลวดและคาปาซิเตอร์จะมีการสูญเสียกำลังงานมากโดยเฉพาะเมื่อ ต้องการพลังงานเสียงสูงๆ ปุ่มควบคมของ Crossover ชนิดนี้โดยมาจะเป็นปุ่มปิด และเช่นเคย ทุกปุ่มให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด

    AMPLIFIER: เครื่องขยายเสียงระดับอาชีพสมัยก่อนโดยมากจะไม่มี Volume หรือ Gain Control ถือว่าเมื่อสัญญาณ Input เป็น 0 dBm เครื่องขยายจะส่งกำลังงานสู่ลำโพงเต็ม 100 % ตามคุณสมบัติที่กำหนด สำหรับเครื่องที่มีปุ่ม Volume Control ให้หมุนทวนเข็มนาฤาไปจนสุด

    อุปกรณ์อื่นๆ : ทั่วไปเรียก Effect Equipment ก็ให้ Preset ในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับอุปกรณ์ร่นใหม่ๆ ที่เป็น Digital มี Processor พร้อม Display Menu แถมไม่มีปุ่มให้เลื่อนหรือหมุนถ้ามี Function Bypass ให้เลือก Menu นี้ ถ้าไม่มีจริงก็เลือกที่ Default ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและรุ่นของอุปกรณ์นั้นๆ

2.การตรวจเช็คลำโพง
ระบบ เสียงกำลังขับสูงๆ ที่ใช้ใน S.R. ส่วนใหญ่จะใช้ลำโพงหลายๆตู้ ยิ่งเมื่อสมัยก่อนจะแยกตู้ลำโพงเป็นเสียงสูง ตู้เสียงกลาง ตู้เสียงต่ำ และตู้ Sub-Woofer ปัจจุบันจะรวมลำโพงเสียงสูง กลางและต่ำไว้ในตู้เดียวกันเรียกว่า Composite Speaker Cabinet หรือ Composite Box ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกับ Sub-Woofer อีกทีหนึ่ง การใช้ลำโพงหลายๆตู้ บ้างครั้งเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผสมหลายรุ่นหลายยี่ห้อ ซึ่งออกแบบมาไม่เหมือนกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องเฟสของลำโพง โดยเฉพาะเสียงกลาง ต่ำ และ Sub-Woofer การติดตั้งลำโพงลูกผสมที่สลับเฟสกัน บางครั้งหมายถึงความหายนะของงานนั้นๆอย่างเบาะๆ เสียงที่ได้จะฟังแปลกและขาดพลังอย่างไม่น่าเป็นไปได้


ผมเคยมีประสบการณ์กับผู้ติดตั้งระบบโดยไม่คำนึงถึงเฟสของลำโพงซึ่งผสมกัน หลายตู้หลายยี่ห้อรวมๆ ประมาณ 6,000 RRms เพ่อจัดการแสดงให้วงดนตรีร็อกจากเอมริกาวงหนึ่ง ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนการแสดง มีการซ้อมหรือ Rehearsal จากผู้ควบคุมเสียงประจำวง ปรากฏว่าเสียง Bass ไม่แน่นยิ่งเร่งยิ่งหลวมพี่ Sound Man ฝรั่งเลยอัดเสียงเต็มเหนี่ยวเกิดพิกัดแถมแอบปลดการทำงานของ Compressor/Limiter เสียอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการแสดงประมา 10 นาที ความล่มจมของผู้จัดเป็นไรคงไม่ต้องพูดถึงกัน
ตู้ลำโพงถึงแม้จะเป้ฯยี่ห้อ เดียวกันก็ตาม บางครั้งช่างอานมีกาเกิดซ้อมบำรุง แล้วมีการ “วางเพลิง” กันเองด้วยการสลับขั้วลำโพงไว้โยไม่ได้ตั้งใจ การเช็คเฟสก่อนใช้งานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ลำโพงโดยทั่วไป สมมุติเราเอาถ่านไฟฉาย 1.5 โวลท์ มาต่อสายเข้า เมื่อต่อขั้วบอกของถ่านไฟฉายเข้าขั้วสีแดงและขั้วลงเข้าขั้วสีดำลำโพง กรวยของลำโพงจะดันออกมาข้างหน้า แต่ก็มีอยู่เหมือนกันที่บางยี่ห้อกลับดึงเข้าไป ในการเช็คเฟสของตู้ลำโพงทั้งระบบนักติดตั้งมืออาชีพจริงๆ จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Speaker Phase Checker ไว้ตรวจสอบ สำหรับเราๆท่านๆสามารถทำง่ายๆ โดยใช้โอห์มมิเตอร์ตั้ง Scale ไว้ที่ RX1 แตะขั้วแดงของมิเตอร์ที่ขั้วของลำโพง และดำเข้าที่ดำ ใช้สายตาและมือสัมผัสดูลำโพงทั้งระบบจะต้องดึงเข้าหรือผลักออกเหมือนๆ กัน ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งผิดกับชาวบ้าน แปลว่าตัวนั้นกลับเฟส ให้ทำการแก้ไขก่อนที่จะทากร Sound Check ขั้นต่อไป

3.การเกิดใช้งานระบบ
ขั้น ตอนในการเปิดปิดระบบเสียงที่มีกำลังขับสูงๆ เป็นเรื่องสำคัญในความไม่น่าจะมีอะไร แต่ว่าการละเลยในลำดับก่อนหลังของการเปิด-ปิดลำโพงราคาเป็นหมื่นหลายๆ ตัว หรือไม่ก็ทำให้เกิดเสียงดัง “ตุ๊บ”หนักๆ ให้ได้ยินแล้วเป็นที่น่าหวาดเสียวก่อนจะเปิดใช้งานระบบควรเช็คไฟที่ปลั๊ก ก่อนว่าเป็น 220 ไวล์ท หรือไม่เพราะเคยมีประสบการณ์ที่หอประชุมสถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่ง Bus Bar ที่ Main เป็น 2 ระบบคือ “วาย” กับ “เดลต้า” แล้วใช้ Cut Out เป็นตัวตัวโยกเลือกระบบ มีอยู่งานหนึ่งคนต่อไฟเข้าระบบโยก Cut Out ผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นคือปลั๊กไฟบนเวทีแทนที่จะจ่ายไฟ 220 โวล์ท กลับจ่ายไฟ 380 โวล์ทแทน เมื่อ Power On อุปกรณ์ทุกชิ้นไฟได้สักพักหนึ่ง เครื่องบางเครื่องถูกออกแบบมาดีก็มีอาการฟิวส์ขาด อุปกรณ์บางตัวฟิวส์ไม่ยอมขาด ก็เปลี่ยนหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดควันไป กว่าจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นก็เกือบจะสายเกิดแก้การเสียวเวลาไม่ถึง 15 วินาทีเพื่อวัดแรงดันไฟโดยทำให้เป็นนิสัยย่อมดีกว่าเสียของแพงๆ อย่างไม่น่าเสีย  อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับระบบไฟสำหรับเครื่อง S.R. มืออาชีพคือ ปลั๊กไฟมักจะมี 3 ขาได้สุดที่รัก Live, Neutral และ Ground แรงดันระหว่าง Neutral กับ Ground ไม่ควรเกิด 1.5โวลท์ ถ้าเกินหมายถึงเสียงฮัม เสียงจี่และ
เสียงรบกวนอีกสารพัด วิธีแก้ไขคือ เดินสายดินหรือ Ground ใหม่โดยเปลี่ยนจุดลงดินถ้าทำไม่ได้จริง ก็รวบสาย Ground กับ Neutral จากต้นทางจะจ่ายไฟก็พอจะกล้อมแกล้มไปได้

4.การ เปิดสัญญาณเสียงของระบบ เช่นเดียวกับการเปิดใช้งานระบบหลังจาก Power On อุปกรณ์ทุกชิ้นแล้วเราจะเริ่มต้นที่ Mixer โดยป้อนสัญญาณเช้าสู่ Input Channel ของ Mixer แหล่งกำเนิดสัญญาณบางคนใช้ Pink Noise บางคนใช้เทป Cassette หรือสัญญาณที่ง่ายที่สุดคือการใช้ไมโครโฟนส่วนตัวเป็นพิเศษในการทำงาน Sound Check หลังจากได้แหล่งกำเนิดสัญญาณแล้วให้ตรวจเช็คว่าปุ่มต่างๆใน Mixer ช่องนั้นอยู่ในลักษณะ Preset จากนั้นค่อยปรับแต่งความแรงของสัญญาณให้อยู่แถวๆ O dBm โดยประมาณสังเกตได้จาก VU หรือ Volume Unit ประจำช่อง Mixer บางรุ่นอาจไม่มี VU แต่จะมี LED หนึ่งดวงที่กำกับคำว่า “CLIP” หรือ “PEAK” ก็ปรับความดังให้ LED  นั้นกระพริบเป็นครั้งคราวไม่ใช่ติดค้างหรือไม่ติดเลยเมื่อปรับปุ่มต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการแล้วและแน่ใจว่า flat ก็ส่งสัญญาณไปยัง Group (ถ้ามี) และ Master L. R ตามลำดับ เร่งความดังที่ Master L, R ให้อยู่แถว ๆ OdBm ในลักษณะเดียวกันกับสัญญาณประจำช่อง Mixer ก่อนที่จะปรับแต่งอุปกรณ์ชิ้นถัดไป ในภาพ 1 ซึ่งก็คือ Equalizer

    ที่ Equalizer ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปุ่มควบคุมความแรงของทุกความถี่อยู่ในตำแหน่ง O dB เพ่อตั้งตำแหน่ง “Flat” ปุ่ม “EQ” ให้อยู่ในตำแหน่ง “ON” ถ้าเป็นปุ่ม “BYPASS” ให้อยู่ในตำแหน่ง “OFF” ปุ่ม “GAIN” ให้ดังประมาณ O dB ในลักษะเดียวกันบางเครื่องอาจจะไม่มี LED แสดงสัญญาณ “CLIP” หรือ “PEAK”  แต่จะมีขีด OdB ไว้ให้ก็ให้เลื่อนไปที่ขีดขั้น ถ้าไม่มีอะไรแสดงจริงๆ ก็ให้หมุนหรือเลื่อนไปประมาณ 75 % ช่องการหมุนหรือเลื่อนนั้น

    Compressor/Limiter เป็นอุปกรณ์ตัวถัดไปที่ปุ่ม Thresh Old ให้ปรับไว้ที่ค่าประมาณกลางๆ ปุ่ม Ratio ตั้งไว้ที่ 1:1 และ Gain ตั้ง OdBm ลักษณะนี้ทำไว้เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องสามารถทำงานได้แต่ยังไม่มีการ Compress สัญญาณใดๆ เนื่อง Ratio ตั้งไว้ที่ 1:1 คล้ายๆกับเป็นการ Bypass สัญญาณผ่านไปเฉยๆ

    Electronic Crossover ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งของระบบ ไม่ว่าจะเป็น 2 ทาง, 3 ทางหรือมากกว่าก็ตามสิ่งที่จะต้องคำนึงที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้คือการตั้ง ความถี่ จุดตัด Crossover frequency ผู้ทำ Sond Check ตะต้องตั้งความถี่จุดตัดให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางเทคนิคของลำโพง สูง, กลาง และต่ำตามลำดับ การปรับแต่งความถี่จุดตัดที่ไม่ถูกต้องมีผลต่อคุณสภาพของเสียงและ ประสิทธิภาพของลำโพง แม้แต่ขั้นรุนแรงคือความเสียหายของลำโพงนั้นเอง

    ขั้นตอนสำคัญสุดคือ การตรวจสอบสัญญาณจากเครื่องขยายเสียงหลังจากที่เราส่งสัญญาณเสียงจาก Mixer ผ่าน EQ, Compressor/Limiter นั้นแล้ว ให้ตรวจสอบเครื่องขยายเสียงและลำโพงที่ละตัวโดยเริ่มจากเสียงสูงก่อนทั้งนี้ ก็เพราะเครื่องขยายเสียงและลำโพงสำหรับความถี่สูงจะมีกำลังน้อยที่สุดเมื่อ เทียบ กลาง และ ต่ำ โอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายจึงน้อยกว่าใน กรณีที่ต่อสายผิด การตรวจสอบทำได้โดยการเปิด Volume ของเครื่องขยายเสียงของความถี่สูง ที่ละตัวโดยใช้ความดังประมา 10 ถึง 25% ของ volume จากนั้นให้ฟังเสียงจากลำโพงว่าดังหรือไม่ถ้าไม่ดังให้จรวจสอบแก้ไข ถ้าเรียบร้อยดีให้ลด Volume ทวนเข็มกลับไปจนสุด ระบบเสียงกำลังสูงๆ มักจะมีเครื่องขยายและโพงสำหรับความพี่ต่างๆ หลายขุดให้เลือกทดสอบที่ละเครื่องในแต่ละความถี่ จากสูงม กลาง และต่ำ ทั้งซ้ายและขวาจนครบทุกตัว

    หลังจากตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายเสร็จแล้วให้ลด Slider ของแหล่งสัญญาณ Mixer Input, Group, Master L, R ลงมาจนสุด Gain ของ Equalizer, Compressor/limiter, Electronic Crossover ตั้งไว้ประมาณ O  dBm ความแรงของย่านความถี่แต่ละย่านที่ Crossover ให้หมุนทาวนเข็มนาฬิกาจนสุดปุ่ม Volume ของเครื่องขยายเสียงทุกตัวในระบบเร่งสุดตามเข็มนาฬิกาลักษณะนี้เป็นอันเสร็จ สิ้นกระบวนการ Sound Check

จะเห็นได้ว่าการทำ Sound Check ไม่ใช่เป็นการปรับแต่งเสียงแต่เป็นการตรวจสอบระบบว่าพร้อมจะให้งานด้วย ประสิทธิภาพสูงสุดและมีการต่อพ่วงถูกต้องตามี่ควรจะเป็นผู้ควบคุมเสียงซึ่ง จะเป็นคนเดียวกันกับผู้ทำ Sound Check หรือไม่ก็ตามจะมาทำ Equalization ระบบต่อตากนี้โดยมีขั้นต่างๆอีกเช่น อย่างไรก็ตามการละเลยความสำคัญของ Sound Check จะสร้างปัญหาอย่างมากต่อการ Equaliazation ตลอดจนควบคุมระบบ S.R. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงสด เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนมีการจัดคอนเสิร์ตที่ In Door Stadium หัวหมาก ให้กับวงดนตรีต่างประเทศ 2 วง ด้วยเวทีและระบบเสียงชุดเดียวกัน วันแรกเป็นการแสดงของวง Boom Town Rats ผู้จัดชาวไทยใช้ฝรั่งพัฒน์พงษ์ มาดูแลการติดตั้งระบบเสียงและทำ Sound Check ให้ Sound Man ของวงทำการปรับแต่งและควบคุมเสียงโดย Sound Man คนนี้ชะล่าใตและวางใจในระบบเกินไป เลยใช้เวลาปรับแต่งและซ่อมหรือ Rehearsal ไม่ถึง 2 ชั่วโมงก่อนการแสดง ปรากฎว่ากว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ก็สายเกิดแก้เสียแล้วเพราต้องปล่อยผู้ชมเจ้างานและ “the Show Must Go On” เสียงจากการแสดงล่ม
ไม่เป็นท่าถูกด่าไม่มีดี วันถัดมาเป็นคิวของวง Chiff Richard ด้วยตัวเองพบว่าที่ฝรั่งพัฒน์พงษ์ต่อระบบผิด
โดย ใช้ลำโพงเสียงสูงบางตัวไปต่อในย่านเสียงกลาง. ตู้เสียงกลางบางตู้มั่วนิ้มลงไปอยู่ที่ความถี่ต่ำ  Sound Man ของวงเลยใช้เวลาชั่วโมงกว่ารื้อระบบและทำ Sound Check ใหม่ก่อนทำ Equalization และ Rehearsal การแสดงคืนนั้นเรียกว่าสมบูรณ์แบบเสียงที่ได้ต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือ ผู้จัดการวงดนตรีวงแรกที่เข้าชมอยู่ด้วยดี
พูดกับผู้จัดการชาวไทยหลังงานเลิกด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า “You Kill Me Yesterday”

เรื่อง ที่เล่าเป็นอุทาหรณ์สำหรับ “มือใหม่หัด Mix” ให้คำนึงถึงความสำคัญของชั้นตอนธรรมดา๐ ที่เรียกว่า “Sound Check” นี้ไว้ไม่เช่นนั้นอาจต้องเตรียมสโลแกนจำตัวในการปรับแต่งระบบไว้ได้เลย “We do the loudest Feedback!
ขอบคุณเจ้าของบทความครับ

เคดิต...นักรบกีนิว

3 วิธีใหม่เสิร์ชกูเกิลได้เร็วกว่า

|0 ความคิดเห็น
ที่ผ่านมา สาวกกูเกิลรู้อยู่ในใจว่าคีย์เวิร์ดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิมพ์ให้ถูกและครบถ้วนหากต้องการจะค้นหาข้อมูล ภาพ หรือคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์กูเกิล (Google.com) แต่วันนี้กูเกิลได้ปรับเพิ่ม 2 ช่องทางการค้นหาใหม่ให้เป็นไปได้ง่าย เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้โดยไม่ต้องพะวงกับการพิมพ์และสะกดคีย์เวิร์ดอีกต่อไป และอีก 1 ช่องทางที่กูเกิลมั่นใจว่าจะทำให้ผู้ใช้พบเว็บไซต์ที่ต้องการได้ทันที แถมยังเร็วกว่าที่เคยกดปุ่ม "โชคดีจัง ค้นแล้วเจอเลย" หรือ I'm Feeling Lucky ด้วย
1. หาด้วยภาพ
กูเกิลเปิดช่องให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลด้วยภาพในบริการเสิร์ชภาพ Images Search โดยผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพขึ้นมาเพื่อค้นหาภาพที่เหมือนกันหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้
หากเลือกไม่อัปโหลดภาพ ผู้ใช้สามารถคัดลอกลิงก์ภาพที่ค้นหาได้มาใช้กับ Images Search เช่นกัน ตัวอย่างเช่นในการพิมพ์คีย์เวิร์ด Flower เพื่อหาภาพดอกไม้ หากผู้ใช้ติดใจภาพดอกบัวซึ่งเป็นหนึ่งในรายการผลลัพท์ของ Images Search ก็สามารถคัดลอกลิงก์ภาพที่ค้นหาได้ ไปวางเพื่อค้นหาต่อในบริการ Images Search โดยไม่ต้องพิมพ์คำว่า Lotus หรือคำใดๆที่เกี่ยวข้องกับดอกบัว ข้อมูลทั้งบทความ คลิปวิดีโอ รวมถึงภาพที่คล้ายกันกับต้นฉบับก็จะปรากฏในรายการผลลัพท์
แต่ก่อนที่จะใช้ภาพแทนคีย์เวิร์ดได้ กูเกิลออกแบบให้ผู้ใช้คลิกที่ไอคอนรูปกล้องถ่ายรูป ซึ่งเป็นสีฟ้าอ่อนอยู่ในกล่องค้นหา เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏเป็นกล่องข้อความที่ผู้ใช้จะสามารถคลิกเพื่ออัปโหลดภาพ หรือนำลิงก์ยูอาร์แอลภาพมาใช้แทนคีย์เวิร์ดได้
ประโยชน์ที่จะได้จากบริการนี้ คือการไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์หรือเลือกคีย์เวิร์ดที่ตรงใจ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กูเกิลเปิดให้ผู้ใช้ค้นหาด้วยภาพ แต่ในแอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการที่กูเกิลพัฒนาเพื่ออุปกรณ์พกพาก็มีคุณสมบัตินี้แล้ว
2. ค้นหาด้วยเสียง
คุณสมบัติค้นหาด้วยเสียงของกูเกิลนั้นมีลักษณะเดียวกับในแอนดรอยด์ โดยช่องใส่คีย์เวิร์ดจะมีไอคอนรูปไมโครโฟน ซึ่งเมื่อคลิกผู้ใช้ก็จะสามารถพูดคำค้นหาลงไปได้โดยไม่ต้องพิมพ์
แต่มีข้อแม้ว่าเครื่องที่ใช้เบราว์เซอร์ Google Chrome 11 หรือเวอร์ชันใหม่กว่านั้นจึงจะสามารถใช้งานคุณสมบัตินี้ได้ โดยเครื่องจะต้องติดหรือฝังไมโครโฟนในตัว จุดนี้กูเกิลยืนยันว่าจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่คีย์เวิร์ดสะกดยาก หรือคีย์เวิร์ดมีความยาว ขณะเดียวกันก็เพิ่มความสนุกในการเสิร์ชเพราะได้ความรู้สึกว่าสามารถถามอะไรจากคอมพิวเตอร์ก็ได้ และยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ใช้ไม่ต้องละมือจากงานอื่นมาเพื่อพิมพ์คีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ เช่นในกรณีแม่ครัวที่ยังง่วนอยู่ในครัว หรือช่างซ่อมรถที่ไม่ต้องลุกขึ้นมาให้เสียเวลา
แน่นอนว่าภาษาไทยหมดสิทธิ์ เพราะ Voice Searce รองรับเฉพาะภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเท่านั้นในขณะนี้
3. เจอแบบทันที
ถึงจะไม่ใช่หมอดูแต่กูเกิลขออ่านใจผู้ใช้ว่าต้องการผลลัพท์นี้แน่ๆ แล้วแสดงผลลัพท์แบบทันที โดยกูเกิลเรียกคุณสมบัติใหม่นี้ว่า Instant Pages หลักการคือการแอบดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ที่เป็นผลการค้นหาอันดับแรกไว้ก่อน ซึ่งเมื่อผู้ใช้คลิกเลือก ก็จะพบหน้าเว็บแบบทันที ไม่ต้องเสียเวลารอโหลดข้อความหรือภาพอย่างที่เคยเป็นในอดีต
ผู้ที่จะใช้บริการค้นเจอทันทีนี้จะต้องใช้เบราว์เซอร์ Chrome เช่นกัน โดยกูเกิลระบุว่าความมั่นใจว่าผู้ใช้ต้องเลือกเว็บไซต์ใดขึ้นเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือตระกูล Webmaster Tools ซึ่งใช้วัดสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ด้วยคีย์เวิร์ดตามปกติ
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดคุณสมบัติใหม่ของกูเกิลได้ในหน้า Inside Search ซึ่งกูเกิลเปิดขึ้นใหม่เพื่อให้ข้อมูลเทคนิคการใช้งานกูเกิล รวมถึงประวัติวิวัฒนาการของเสิร์ชเอนจิ้นกูเกิลตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ

ทำความรู้จักกับทีวี 100 Hz กันเถอะ (ตอนที่ 1)

|0 ความคิดเห็น
ทำความรู้จักกับทีวี 100 Hz กันเถอะ (ตอนที่ 1)




ทีมงาน Cbiz ขอแนะนำบทความดีๆจากเว็บไซต์ LCDSPEC ที่จะทำให้ผู้อ่านรับรู่ว่า ทีวี 100 Hz แตกต่างจากทีวีทั่วไปอย่างไร และทำไมหลายๆแบรนด์ ถึงพยายามนำตัวเลขดังกล่าวมาเป็นจุดขายว่า ทีวีที่ดีต้อง 100 Hz ขึ้นไป
หากคุณได้มีโอกาสเดินเข้าไปชมสินค้าประเภท LCD TV หรือ Plasma TV ตามร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือได้มีโอกาสศึกษารายละเอียด และคุณสมบติของสินค้าเหล่านี้ จะพบว่าหนึ่งในเทคโนโลยีซึ่งผู้ผลิตนำมาเป็นจุดขายของจอ LCD TV หรือจอ Plasma TV ในปัจจุบัน คือเทคโนโลยีการแสดงผลแบบ xxx Hz ซึ่งตัวเลขของ Hz เหล่านี้มีตั้งแต่ 100, 120, 200, 240 จนไปถึง 600 Hz เลยก็ว่าได้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกทำตลาดในชื่อที่ต่างกัน เช่น MotionFlow (SONY), Motion Plus หรือ True Motion เป็นต้น
แน่นอนว่าถ้าจะซื้อทีวีสักเครื่องคงไม่ตัดสินใจซื้อทีวีราคาแพงสักเครื่องจากสื่อประชาสัมพันธ์ หรือคำอธิบายบอกสรรพคุณกับภาพประกอบอันสวยหรูเพียงอย่างเดียว คำถามจึงตกอยู่กับผู้บริโภคว่าเทคโนโลยีการแสดงผลแบบ 50 Hz, 100 Hz หรือแม้กระทั่งแบบ 600 Hz นั้นต่างกันอย่างไร และมันจะมีผลต่อประสบการณ์การรับชมทีวีอย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกับ LCDSPEC.com กันเลยครับ
เทคโนโลยี 100/120 Hz คืออะไร?
หากอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เทคโนโลยีการแสดงภาพแบบ 100/120 Hz ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มความต่อเนื่องในการแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอทีวี โดยอาศัยหลักการที่ว่า ภาพเคลื่อนไหวที่แสดงบนจอทีวีนั้น ประกอบด้วยภาพนิ่งหลายๆ ภาพที่แสดงต่อเนื่องบนจออย่างรวดเร็ว ทำให้ตาและสมองของมนุษย์ตีความว่าภาพที่เรามองเห็นนั้นมันเคลื่อนไหวได้ แน่นอนว่าภาพเคลื่อนไหวที่แสดงด้วยความถี่ 25 ภาพต่อวินาที ย่อมดูต่อเนื่องกว่าภาพเคลื่อนไหวแบบเดียวกันที่แสดงความถี่ 15 ภาพต่อวินาที ฉะนั้นหากเราเพิ่มความถี่ในการแสดงภาพให้มากขึ้น ก็จะทำให้เรารู้สึกว่าภาพเคลื่อนไหวนั้นมีความต่อเนื่อง หรือ “ลื่น” มากขึ้นนั่นเอง
เทคนิคการแสดงภาพแบบ 100 Hz เป็นการเพิ่มความถี่ในการแสดงภาพของทีวี โดยการคำนวณเฟรม (หรือ “ภาพ”) เข้ามาแทรกในภาพวิดีโอที่ส่งมาจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ ซึ่งเรียกเทคนิคนี้ว่าเทคนิค “frame interpolation” หรือในบางกรณีก็จะใช้เทคนิคแสดงภาพแต่ละเฟรมซ้ำกันหลายๆ ครั้ง โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “frame repetition” ทำให้ความถี่ของการแสดงภาพมีมากขึ้น และส่งผลให้ภาพเคลื่อนไหวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดทางเทคนิคในส่วนถัดไปของบทความนี้ เรามาทำความเข้าใจในประเด็นต่อไปนี้เสียก่อน:-
- “การเพิ่มความต่อเนื่องของภาพเคลื่อนไหว” กับ “การแก้ไขภาพกระตุก (Judder)” เป็นคนละประเด็นกัน บทความนี้จะกล่าวถึงเทคนิคการเพิ่มความต่อเนื่องของภาพเคลื่อนไหวเป็นหลัก และจะกล่าวถึงเทคโนโลยีการแก้ไขภาพกระตุกในส่วนท้ายของบทความ
- ระบบ 100/120 Hz บนจอ LCD ไม่เหมือนกันระบบ 100/120 Hz ของจอ CRT และจอ Plasma เสียทีเดียว เนื่องจากจอแต่ละประเภทมีวิธีการแสดงภาพเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน บทความนี้จะเน้นระบบ 100/120 Hz ที่ใช้บน LCD TV เป็นหลัก
- ระบบสัญญาณโทรทัศน์ที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยคือระบบ PAL บทความนี้จึงตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ทีวีระบบ 100 Hz ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยถูกนำมาแสดงภาพในระบบ PAL แต่จะมีบทเพิ่มเติมในส่วนท้ายของบทความเพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมของทีวี 100 Hz เมื่อนำมาแสดงผลในระบบ NTSC
บทความนี้อ้างอิงถึงระบบการแสดงผลภาพแบบ xxx Hz ว่าเป็นการแสดงผลแบบ 100/120 Hz ตลอดบทความนี้ เพราะหลักการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้กับทีวีทุกรุ่น ถึงแม้ว่ามันจะสามารถแสดงผลได้มากกว่า 100/120 Hz ก็ตาม
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในหลักการทำงานของระบบ 100 Hz เรามาทำความรู้จักกับระบบโทรทัศน์แบบ PAL ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ที่ประเทศเราใช้กันเสียก่อน -- ระบบ PAL (Phase Alternating Line) เป็นระบบการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหวสำหรับแสดงบนจอโทรทัศน์ โดยสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวความละเอียด 625 เส้น เป็นจำนวน 25 ภาพต่อวินาที (หรือเท่ากับ 50 ฟิลด์ต่อวินาทีในแบบ interlaced --50 Hz) คุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของมันโดยละเอียด เพียงแต่จำแค่ว่าระบบ PAL นั้นแสดงภาพที่ 50 Hz ก็พอ แต่ถ้าสนใจรายละเอียดทางเทคนิคของระบบ PAL สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Wikipedia
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุผลให้ทีวีที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน PAL ทุกเครื่อง (หรือทีวีทั้งหมดที่มีขายในบ้านเรา) จะต้องสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวด้วยความถี่ 50 Hz นั่นเอง
ก่อนจะถึงยุค LCD/Plasma ครองเมือง หลายๆ คนคงเคยสัมผัสกับ TV/HDTV ตัวหนาที่ใช้หลอด CRT มาแล้ว (ขอกล่าวรวมว่าเป็นจอภาพแบบ CRT) ซึ่งจอ CRT เหล่านั้นบางรุ่นจะบรรจุเทคโนโลยี 100 Hz เข้ามาด้วย โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะเพิ่มความถี่การแสดงผลภาพ (refresh rate) จาก 50 ฟิลด์ต่อวินาที (50 Hz) ให้เป็น 2 เท่า หรือ 100 ฟิลด์ต่อวินาที (100 Hz) โดยการแสดงภาพแต่ละฟิลด์ซ้ำ 2 ครั้ง หรือบางรุ่น/ยี่ห้ออาจใช้วิธีการสังเคราะห์ภาพขึ้นมาเพิ่มเติม ทำให้คุณได้รับชมภาพ 100 ภาพในหนึ่งวินาที แทนที่จะเป็น 50 ครั้งต่อวินาที ส่งผลให้ภาพเคลื่อนไหวดูต่อเนื่อง และเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ระบบ 100/120 Hz บนจอ CRT ยังช่วยลดการกระพริบ (flicker) ของภาพในกรณีของจอโทรทัศน์ CRT อีกด้วย เนื่องจากวิธีการแสดงผลภาพของจอ CRT นั้นจะดำเนินเป็นวัฏจักรดังนี้:
1. แสดงภาพที่ 1
2. เม็ดพิกเซลบนจอดับไป เพื่อรอแสดงผลภาพที่ 2
3. แสดงภาพที่ 2
4. เม็ดพิกเซลบนจอดับไป เพื่อรอแสดงผลภาพที่ 3
5. แสดงภาพที่ 3
6. ดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่มีสัญญาณป้อนมายังจอภาพ

จากตัวอย่างข้างบนจะพบว่าภาพที่แสดงบนจอ CRT นั้นจะ “กระพริบ” ด้วยจังหวะที่เท่ากันเป็นระยะๆ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนตาของคุณสังเกตไม่เห็นว่าจริงๆ แล้วภาพบนจอ CRT นั้นมีการ “ติดและดับ” สลับกันไป โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นด้วยความถี่ 50 ครั้งต่อวินาที (50 Hz) สำหรับการแสดงผลในระบบ PAL
เมื่อคุณมองภาพจากจอ CRT ผ่าน viewfinder ของกล้องดิจิตอล คุณจะสังเกตเห็นการกระพริบของภาพได้ และจะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อจอแสดงภาพที่มีความสว่างมากขึ้น แต่เมื่อนำเอาเทคโนโลยี 100 Hz มาใช้ ก็จะทำให้จอ CRT แสดงภาพด้วยความถี่ 100 ครั้งต่อวินาที (100 Hz) แน่นอนว่าจอของคุณจะต้องกระพริบถี่ขึ้น แต่มันก็ส่งผลให้คุณสังเกตการกระพริบได้น้อยลง และทำให้ภาพที่แสดงบนจอดูนิ่งและสบายตากว่าเดิม และยิ่งเพิ่มความถี่ในการแสดงผล (refresh rate) เข้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้ภาพที่แสดงดูนิ่งขึ้นเท่านั้น
เทคโนโลยี 100/120 Hz กับจอ LCD
เนื่องจากจอ LCD มีวิธีการแสดงภาพเคลื่อนไหวที่แตกต่างจากจอ CRT จึงทำให้หลักการทำงานของระบบ 100 Hz บนจอ LCD ทำงานต่างออกไป กล่าวคือ จอ LCD จะแสดงภาพที่ป้อนมาจากแหล่งกำเนิดสัญญาณค้างเอาไว้ จนกว่าจะมีคำสั่งจากวงจรควบคุมให้แสดงภาพถัดไป ซึ่งจะไม่มีการ “กระพริบ” (flicker) เหมือนกับจอ CRT และเมื่อเขียนเป็นวัฎจักรเปรียบเทียบกับการแสดงผลของจอ CRT ก็จะเป็นดังนี้:




เราเรียกพฤติกรรมการแสดงภาพค้างไว้ของ LCD ว่า “Sample-and-hold effect” เนื่องจากถึงแม้จะเพิ่มความถี่ในการแสดงผลสักกี่ Hz ให้กับจอ LCD ก็ตาม ก็จะไม่มีผลต่อการกระพริบของจอ LCD ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากจอ LCD ไม่มีการกระพริบตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น refresh rate สำหรับจอ LCD จึงเป็นเพียงตัวเลขที่สั่งให้จอฉายภาพใหม่เป็นจำนวนกี่ครั้งในหนึ่งวินาทีเท่านั้น
ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ของ LCD ทำให้จอ LCD มีความเหมาะสมในการแสดงภาพนิ่งเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องใช้การแสดงผลแบบ 100 Hz บนจอ LCD เพื่อลดการกระพริบของภาพนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทคนิค 100 Hz จะไม่มีผลต่อการกระพริบของ LCD แต่จอ LCD ก็ยังได้ประโยชน์จากเทคนิคการแสดงเฟรมซ้ำกัน (frame repetition) และการสังเคราะห์เฟรม (frame interpolation) ของระบบ 100 Hz ที่ทำให้ภาพเคลื่อนไหวดูต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
เทคนิค 100 Hz จะสังเคราะห์เฟรมขึ้นมาแทรกในเฟรมที่มีอยู่แล้ว เพื่อช่วยเสริมในสิ่งที่สายตาของเราคาดหวังว่าจะเห็น แต่มันขาดหายไปจากคอนเทนต์ต้นฉบับ รวมถึงใช้เทคนิค backlight scanning ช่วยปรับความถี่ของการเปิด/ปิด backlight ให้สอดคล้องกับความถี่ของเฟรมที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ผลที่ได้คือภาพเคลื่อนไหวที่ดูต่อเนื่องมากขึ้น ทีวีบางรุ่นจะใช้เทคนิคแทรกเฟรมแบบ 100 Hz ควบคู่ไปกับเทคนิค backlight scanning ทำให้สามารถแสดงผลได้ถึง 200 Hz




ภาพนี้เป็นจะช่วยอธิบายการทำงานของระบบ MotionFlow ของ Sony ส่วนระบบ 100 Hz จากผู้ผลิตทุกรายต่างก็ทำงานโดยอาศัยหลักการเดียวกัน
ระบบ 100 Hz จะทำงานได้ดีกับคอนเทนต์ที่เป็นแบบ 50 Hz เช่นภาพจากฟรีทีวี ยูบีซี และภาพจากแผ่น DVD ระบบ PAL ซึ่งจะอยู่ในบทความตอนที่ 2 เกี่ยวกับวิธีการจัดการในกรณีที่คอนเทนต์มีเฟรมเรทไม่สัมพันธ์กับเฟรมเรทของทีวี อย่าลืมติดตามตอนต่อไปครับ

การจัดวางลำโพงสำหรับชุดโฮมเธียร์เตอร์ด้วยตัวเอง

|0 ความคิดเห็น