หัวใจขาดเลือดประเภทของความสูญเสียการได้ยิน
ประเภทของความสูญเสียการได้ยิน แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
I. การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) ความผิดปกติเกิดขึ้นในหูชั้นนอกและชั้นกลาง แต่ ประสาทหูยังดีอยู่
อาการ :
มีของเหลวออกจากช่องหูอาจจะเป็นเลือดหรือหนอง มีประวัติการอักเสบของช่องหูมาก่อน การพูดคุยมักพูดเสียงเบาทุ้มนุ่มนวล การได้ยินจะดีชัดเจนเมื่ออยู่ในที่จอแจแต่ไม่ค่อยดีในที่เงียบๆ มักมีปัญหาในการฟังเสียงขณะเคี้ยวอาหาร บางรายมีเสียงรบกวนในหู (tinnitus) เป็นเสียงต่ำๆ การพูดจาชัดเจนออกเสียงได้ตามปกติ ตรวจการได้ยินพบการสูญเสียในช่วงความถี่ต่ำๆ และมักไม่มากกว่า 60 dBHL
สาเหตุ
-โรคหรือความผิดปกติที่หูชั้นนอก : หูพิการตั้งแต่กำเนิด สิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการอุดตันในช่องหู ขี้หูอุดตัน (iผนังช่องหูอักเสบบวม จนช่องหูตีบตัน โรคเนื้องอกในช่องหูชั้นนอก ช่องหูพับลง
-โรคหรือความผิดปกติที่แก้วหู : มีรูทะลุที่เยื่อแก้วหู แก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูหนา
-โรคหรือความผิดปกติในหูชั้นกลาง : มีเลือดออกในหูชั้นกลาง, โรคหูน้ำหนวก (ทั้งชนิดมีน้ำไหลและแห้ง) , โรคหูชั้นกลางมีหินปูนจับแข็ง, ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส, กระดูก 3 ชิ้นแตกหรือหัก
II. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (Sensorinural hearing loss) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน (cochlea) หรือที่ประสาทรับฟังเสียง (acoustic nerve)
อาการ :
ถ้ามีการสูญเสียของประสาทหูมากทั้ง 2 ข้างและเป็นเวลานาน เสียงพูดจะดังมากกว่าปกติ เพราะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง มีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียงสูงๆ จะฟังเสียงพูดได้ดีเมื่ออยู่ในที่สงบและจะไม่ค่อยเข้าใจคำพูดเมื่ออยู่ในที่จอแจ มักไม่ค่อยเข้าใจคำพูดแม้ว่าเสียงพูดนั้นดังถึงระดับการได้ยินปกติแล้วก็ตาม มักมีอาการเวียนศรีษะแบบบ้านหมุนร่วมด้วย ถ้าประสาทหูเสียมากทั้ง 2 ข้าง หรือเป็นมาแต่กำเนิดมักจะพูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ไม่มีประวัติของการปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู ตรวจการได้ยินพบการสูญเสียในช่วงความถี่สูงๆ
สาเหตุ
- ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องแต่กำเนิด : ขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์หรือระหว่างคลอด, ติดเชื้อแต่กำเนิดหรือหลังคลอด เช่น ซิฟิลิส หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ, การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองหรือหูชั้นใน
- ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องจากยา : ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน ยาบางชนิดทำให้มีอาการชั่วคราว เมื่อหยุดยาการได้ยินอาจกลับคืนมาได้ แต่ยาบางชนิดทำให้มีอาการถาวรรักษาไม่หาย เช่น kanamycin, streptomycin
- ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องจากเสียงดัง (noise induced hearing loss)
- โรคที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณของของเหลวในหูชั้นใน (Meniere’s disease) ทำให้มีอาการหูอื้อ เวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน และมีเสียงรบกวนในหู อาจเป็นหูเดียวหรือสองหูก็ได้ อาการของโรคจะเป็นซ้ำๆ กัน มีอาการเป็นๆ หายๆ
- ประสาทหูพิการจากการจับแข็งของกระดูกในหูชั้นใน
- ประสาทหูบกพร่องในวัยชรา (Presbycusis hearing loss) ความผิดปกติเกิดขึ้นจากเซลล์ขนที่อยู่บริเวณฐานของก้นหอยในหูชั้นในมีการเสื่อมไปตามอายุ ทำให้การรับฟังเสียงสูงๆ ได้ไม่ดี มักมีเสียงดังในหูเป็นเสียงสูงๆ ตรวจช่องหูไม่พบสิ่งผิดปกติ มีความผิดปกติของการได้ยินของหูทั้งสองข้าง มักพบในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- ศีรษะทูกกระทบกระเทือน ทำให้ประสาทรับฟังเสียงบกพร่องเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง
III. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความพิการที่หูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในร่วมกัน เช่น โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังซึ่งอาการลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน โรคหินปูนจับแข็งที่กระดูกโกลน
IV. ความผิดปกติทางจิต (Functional or Psychological hearing loss )
V. ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง (Central Hearing Impairment) สมองไม่สามารถรับและแปลความหมายได้ จึงไม่สามารถเข้าใจความหมายของเสียงที่ได้ยิน เช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ศูนย์การรับฟังไม่สามารถใช้การได้
การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียงดัง (Noise Induced Hearing Loss)
1. ประสาทหูผิดปกติเนื่องจากเสียงดังรบกวน
การสูญเสียความสามารถในการได้ยินชั่วคราว (Temporary threshols shift : TTS)
เซลล์ประสาทรับการได้ยินมีอาการล้าจากการสัมผัสเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ไม่สามารถแปลสัญญาณการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นประสาทได้ เกิดอาการหูตึงชั่วคราว (Audiotory fatigue) อาการหูตึงนี้มักร่วมกับมีเสียงดังในหู (tinnitus) ในกรณีสงสัยว่าจะสูญเสียความสามารถในการได้ยินชั่วคราว ควรให้พนักงานพักจากการฟังเสียงที่ต่ำกว่า70 dBAอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
การสูญเสียความสามารถในการได้ยินถาวร (Permanent threshold shift : PTH)
เมื่อผู้ป่วยมีอาการล้าของเซลรับเสียงจนไม่สามารถได้ยินเสียงในระดับปกติ หากยังสัมผัสกับเสียงดังต่อเนื่องอีกก็จะทำให้เซลรับเสียงถูกทำลายอย่างถาวร(Degenerative chang of hair cell)
- ในระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเริ่มเสียที่ช่วงความถี่ของเสียง 3,000 – 6,000 Hz. และจะพบเสมอว่าจะเสียที่ความที่ของการได้ยินที่ 4,000 Hz. ก่อนความถี่อื่นๆ
- เริ่มมีเสียงดังรบกวนในหู ความไวของหูในการรับเสียงลดลง แต่พอเลิกงานไม่ได้อยู่ในที่ที่มีเสียงดังจะรู้สึกว่าการได้ยินดีขึ้น อาจมีอาการปวดหูหรือเวียนศรีษะร่วมด้วย
- เมื่อทำงานในที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆจะมีการสูญเสียการได้ยินไปทีละน้อย โดยไม่รู้สึก ตัว จนลุกลามไปถึงช่วงความถี่ของการพูดคุย (500 – 2,000 Hz.) ทำให้การรับฟังเสียงคำพูดไม่เข้าใจ ถ้าผิดปกติมากจะไม่ทราบทิศทางของเสียงที่ได้ยิน
- ตรวจภายในช่องหูไม่พบสิ่งผิดปกติ ตรวจวัดการได้ยินด้วยเครื่องตรวจวัดการได้ยิน จะได้กราฟลักษณะเส้นประสาทหูผิดปกติ (ดังรูป)
2. ประสาทหูผิดปกติเนื่องจากมีเสียงดังมาก ๆ
1) หูอื้อทันทีหลังจากได้รับเสียงดัง
2) มีเสียงดังในหูตลอดเวลา
3) มักฟังคำพูดเข้าใจดี เนื่องจากการได้ยินไม่เสียที่บริเวณความถี่ของการพูดคุย
4) เมื่อตรวจวัดการได้ยินพบว่ามีลักษณะความผิดปกติ
5) ตรวจภายในช่องหูพบว่า ช่องหูชั้นนอกปกติ แต่อาจมีแก้วหูทะลุร่วมด้วย
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน คนงานใหม่ต้องได้รับการทดสอบการได้ยินก่อนการรับเข้าทำงาน หรือภายใน 6 เดือนแรก ที่สัมผัสเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมงที่ระดับ 85 dBA หรือสูงกว่า อย่างน้อยเป็นประจำทุกปี
การตรวจหูและประเมินการได้ยิน
1) Otoscopy การตรวจโดยใช้โอโตสโคป ดูสภาพภายในช่องหูชั้นนอก และเงาของช่องหูชั้นกลาง เพื่อตรวจดูสภาวะการอักเสบภายใน
2) การตรวจการได้ยินโดยใช้ส้อมเสียง (tuning-fork) ใช้เพื่อทดสอบการได้ยินอย่างคร่าวๆ ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว มีวิธีการตรวจ 2 วิธี คือ
- Weber test แยกการนำเสียงพร่องกับประสาทรับฟังเสียงพร่อง ในผู้ที่หูเสีย 1 ข้าง โดยการเคาะส้อมเสียงแล้ววางไว้ที่แนวกลางของศีรษะ
- Rinne test เพื่อเปรียบเทียบการนำเสียงทางอากาศ(AC) กับ การนำเสียงทางกระดูก(BC) ในหูข้างเดียวกัน โดยวางส้อมเสียงไว้ที่หน้าใบหูและที่หลังใบหูบริเวณกระดูก Mastoid
3) การตรวจการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer เป็นการตรวจวัดระดับความดังเสียงต่ำสุด ที่ผู้เข้ารับการตรวจสอบสามารถได้ยินที่ความถี่ต่างๆ
วิธีการตรวจหาระดับการได้ยิน
1) Routine Audiometry เป็นการทดสอบที่ทำเป็นประจำในคลินิค เพื่อการวินิจฉัยโรค หรือติดตามผลการรักษา
ก. Puretone Air Conduction (AC) คือการตรวจวัดการได้ยินโดยการนำเสียงทางอากาศ
ข. Puretone Bone Conduction (BC) คือการตรวจวัดการได้ยินโดยการนำเสียงทางกระดูก
ค. Speech Audiometry คือการวัดการได้ยินโดยใช้คำพูด
2) Masking Audiometry คือการวัดการได้ยินเสียงโดยวิธีระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้เสียงที่ตรวจในหูข้างหนึ่งข้ามกระโหลกศรีษะมายังหูอีกข้างหนึ่ง โดยใช้เสียงรบกวนปล่อยเข้าไปรบกวนหูด้านที่ดีขณะที่กำลังตรวจวัดหูอีกข้างหนึ่ง
3) Special Audiometer เป็นการทดสอบพิเศษนอกเหนือไปจากการทดสอบประจำในคลินิกเพื่อหาโรคหรือความผิดปกติของหู
เทคนิควิธีการตรวจการได้ยิน
1) Descending Technique โดยการปล่อยระดับเสียงที่ดัง เพื่อให้ผู้ถูกทดสอบได้ยินก่อนแล้วค่อยๆลดความดังลงทีละน้อย ทีละ 10 dBHL จนถึงจุดหนึ่งที่ผู้ถูกทดสอบไม่ได้ยินเสียง ให้เพิ่มระดับเสียงจากจุดที่ไม่ได้ยิน ทีละ 5 dBHL หากไม่ได้ยินก็ให้เพิ่มอีก 5 dBHL จนเริ่มได้ยิน แล้วลดลงไปอีก 10 dBHL เมื่อแน่ใจว่าผู้ถูกทดสอบได้ยินแน่ชัดที่จุดนั้นๆ ให้ลดลง 10 dBHL อีกครั้ง ถ้าไม่ได้ยิน ให้เพิ่มขึ้น 5 dBHL ทำกลับไปกลับมาจนได้จุดที่ผู้ถูกทดสอบได้ยินใดยใช้ระดับเสียงเบาที่สุดที่ผู้ถูกตรวจสามารถตอบสนองได้ร้อยละ 50 ถึง 70 ของจำนวนครั้งที่ให้สัญญาณ จุดนั้นคือ hearing threshold
2) Ascending Technique ใช้ในกรณีที่ผู้ถูกทดสอบอายุน้อย หรือหูหนวกมากๆ รวมทั้งผู้ที่ไม่แน่ใจว่าจะแสร้งทำเป็นหูหนวกหรือไม่ วิธีนี้เริ่มจากความตั้งใจที่ผู้ถูกทดสอบไม่ได้ยินก่อน แล้วเพิ่มความดังทีละ 10 dBHL จนถึงจดที่ผู้ถูกทดสอบเริ่มได้ยินเสียงเบาที่สุด แล้วลดเสียงลง 5 dBHL ทำกลับไปกลับมาจนได้จุดที่ผู้ถูกทดสอบได้ยินเสียงบ้างไม่ได้ยินเสียงบ้าง จุดนั้นคือ hearing threshold
3) Combination Technique ใช้วิธีผสมระหว่างวิธีที่ 1 และที่ 2 โดยใช้ระดับเสียงดัง-เบาสลับกันไป
การเตรียมผู้ถูกทดสอบ
ก่อนตรวจผู้ถูกทดสอบควรงดรับฟังเสียงดังเกิน 80 dBA เป็นเวลา 8 - 16 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดหูตึงแบบชั่วคราว(TTS) หากไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ต้องสวมใส่ที่ครอบหูลดเสียงตลอดเวลาที่สัมผัสเสียงก่อนการทดสอบ
การตรวจการได้ยินโดยการนำเสียงผ่านทางอากาศ (AC)
1) ให้ผู้ถูกทดสอบนั่งในห้องที่มีระดับเสียงในห้องตามมาตรฐานกำหนดไม่เกิน 40 dA ในทุกความถี่
2) อธิบายให้ผู้ถูกทดสอบเข้าใจถึงเสียงสัญญาณที่จะได้ยิน และการกดสวิทซ์สัญญาณตอบรับ
3) ให้ผู้ถูกทดสอบนั่งหันหลังให้ผู้ทำการทดสอบและใช้ head phone สีแดงครอบที่หูขวา สีน้ำเงินครอบที่หูซ้าย
4) การสอบถามผู้ถูกทดสอบ และทำการทดสอบในหูข้างที่ดีก่อน เริ่มทดสอบ hearing threshold ที่ความถี่ 1,000 Hz. แล้วหาต่อไปที่ 2,000 3,000 4,000 6,000 และ 8,000 Hz. แล้วกลับมาทดสอบซ้ำที่ 1,000 Hz. ใหม่ แล้วหาต่อไปที่ 500, 250 Hz. ตามลำดับ
5) ทำการตรวจการได้ยินของหูอีกข้างตามวิธีข้างต้น
หมายเหตุ
- หาก hearing threshold ที่ความถี่ 2 ความถี่ ต่างกันเกินกว่า 20 dBHL เช่น ที่ความถี่ 1,000 กับ 2,000 ต่างกัน 25 dBHL ก็ควรหา hearing threshold ที่ความถี่ 1,500 Hz. ด้วย
- ถ้าพบว่าการได้ยินของหูทั้งสองข้างต่างกันเกิน 30 dBHL จากการตรวจแบบ AC หรือพบว่าหูข้างเดียวกันมีค่า BC ดีกว่า AC เกินกว่าหรือเท่ากับ 15 dBHL ควรใส่เสียงกลบรบกวน (masking : narrow band noise) ในหูข้างที่ดีกว่าหรือด้านตรงข้ามกับที่กำลังตรวจอยู่ เพื่อป้องกันการได้ยินเสียงจากหูข้างที่ดีกว่า
การบันทึกผลการตรวจ
ให้ใช้เครื่องหมายสำหรับการบันทึกผลการตรวจการได้ยินตามหลักสากลนิยม ดังนี้
การตรวจการได้ยินโดยการนำเสียงผ่านทางอากาศ
ใช้เครื่องหมาย O สีแดง สำหรับหูข้างขวา X สีน้ำเงิน สำหรับหูข้างซ้าย การลากเส้นใช้เส้นทึบ
การตรวจการได้ยินโดยการนำเสียงผ่านทางกระดูก
ใช้เครื่องหมาย < สีแดง สำหรับหูข้างขวา > สีน้ำเงิน สำหรับหูข้างซ้าย การลากเส้นใช้เส้นประ
ตรวจไปเพื่ออะไร? เป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวังว่ามีการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงานหรือไม่ ซึ่งจะเกิดกับบุคลากรที่ต้องสัมผัสหรือทำงานในที่ที่มีเสียงดัง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนให้รักษากฎของความปลอดภัยในการทำงานเสมอ
นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจเพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติในการได้ยินในระดับที่เป็นมาก เช่น หูตึงมาก หรือหูตึงรุนแรง เพื่อช่วยในการรักษา ตลอดจนดูแลให้ใช้เครื่องช่วยการได้ยิน เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
ผลการตรวจ อาศัยการแปลผลจากกราฟ โดยจะผลการตรวจจะมี 2 ส่วน คือ
1. ระดับการได้ยิน
2. มีความผิดปกติในช่วงคลื่นเสียงความถี่สูงหรือต่ำร่วมด้วยหรือไม่
โดยผลการตรวจจะแบ่งเป็นระดับดังนี้
ผู้ที่มีหูตึง
ในกรณีที่เป็นเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจทำให้เสียบุคลิกบ้าง ควรใส่เครื่องป้องกันทุกครั้งที่เข้าสู่ที่บริเวณที่มีเสียงดัง หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหู สำหรับผู้ที่มีหูตึงในระดับมากหรือรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ทางหู-คอ-จมูก เพื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยการได้ยินหรือไม่
ผู้ที่มีระดับการได้ยินปกติแต่มีความผิดปกติของการได้ยินที่ความถี่สูง (หรือความถี่ต่ำ) ร่วมด้วย
หมายความว่าการได้ยินของท่านเป็นปกติดี ท่านสามารถพูดคุย สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ระดับการได้ยินนั้นเริ่มมีการสูญเสียที่ความถี่สูง (หรือต่ำ) ซึ่งไม่ใช่เสียงที่คนเราพูดคุยกัน มักเป็นเสียงเครื่องจักร, โลหะ, เสียงนาฬิกา เป็นต้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากได้รับเสียงดังๆ เป็นเวลานาน
เกณฑ์การประเมินและการแบ่งระดับความบกพร่องของการได้ยิน
โรคหูตึงจากการประกอบอาชีพ หมายถึง โรคหูตึงเนื่องจากฟังเสียงดังในการทำงานจนประสาทหูเสื่อม อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการภาพบันทึกการได้ยิน (audiogram) ต้องมีลักษณะเป็นรูปอักษรV ที่บริเวณ 4,000 เฮิร์ตซ์ (3,000 - 6,000 Hz) และมีระดับการได้ยินเกิน 25 dBHL
การแบ่งระดับความบกพร่องของการได้ยิน จะพิจารณาจากค่า AC เท่านั้น โดยใช้ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินที่สำคัญสำหรับการรับฟังเสียงพูด คือ 500, 1000, และ 2,000 Hz. มาคิดคำนวณ
หากค่าเฉลี่ยของการได้ยินในหูทั้ง 2 ข้าง มีค่าแตกต่างกันมากกว่า 25 dBHL ให้บวกอีก 5 dBHL เข้ากับการได้ยินในหูข้างที่ดีกว่านั้น แล้วพิจารณาค่าที่บวกได้ใหม่กับเกณฑ์ประเมิน ตัวอย่างเช่น ค่าเฉลี่ยในหูขวาเท่ากับ 35 dBHL หูซ้ายเท่ากับ 65 dBHL ต่างกันเกิน 25 dBHL ต้องบวก 5 dBHL เข้ากับค่าเฉลี่ยการได้ยินของหูขวาเป็น 40 dBHL ความพิการของหูเป็นระดับหูตึงปานกลาง
จะต้องทำอย่างไรต่อไป?
ระดับการได้ยินนั้นเมื่อสูญเสียแล้ว ไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาดีดังเดิม หนทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เป็นมากไปกว่าเดิม นั่นคือการใส่เครื่องป้องกันเสียงดังทุกครั้งเมื่อเข้าสู่บริเวณที่มีเสียงดัง ปฏิบัติตามกฏแห่งความปลอดภัยอย่าง