วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ระวัง 5 สารพิษใกล้ตัว

|0 ความคิดเห็น
ระวัง 5 สารพิษใกล้ตัว

วิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก

|0 ความคิดเห็น
วิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก

จาก สถิติอุบัติภัยในเด็ก พบว่า อุบัติภัยจากไฟฟ้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี มีความเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดมากที่สุด เพราะเด็กในวัยดังกล่าว มักจะซุกซน และอยากรู้อยากเห็น เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเมื่อเด็กถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้

วิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก

ผู้ ปกครองควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยจากอุบัติภัยจากไฟฟ้า โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับ ได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้ รวมถึงติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูก ไฟฟ้าดูด

อีก ทั้งผู้ปกครองควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊กเครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้นหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น รวมทั้งสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง ถูกวิธี

วิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด

การ ช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด ให้ถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า จากนั้นให้หาวัตถุที่มีฉนวนกันไฟฟ้าหรือไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวเด็ก หรือใช้เชือกหรือผ้าคล้องตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดออกมา สำหรับผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือร่างกายต้องไม่เปียกชื้น และห้ามสัมผัสถูกตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด หากเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ให้นวดหัวใจพร้อมผายปอด จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลและปฐมพยาบาลตลอดเวลา จนกว่าชีพจรจะกลับมา ทั้งนี้ การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด ต้องทำในทันทีภายใน 4-6 นาที หากล่าช้าเกินกว่า 6 นาที ผู้ถูกไฟฟ้าดูดจะมีโอกาสฟื้นตัวได้น้อยมาก

สุด ท้ายนี้ หากผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งสายไฟ ปลั๊กไฟให้พ้นมือเด็ก จะช่วยลดความเสี่ยงอุบัติภัยจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2243-2200 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปภ.

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ออฟฟิศ ซินโดรม” ปวดคอ ไหล่ หลัง อันเนื่องจากการทำงาน

|0 ความคิดเห็น
ออฟฟิศ ซินโดรม” ปวดคอ ไหล่ หลัง อันเนื่องจากการทำงาน

อาการปวดคอ ไหล่ หลัง อันเนื่องมาจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มคนไอทีทั้งหลาย ที่ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน บางท่าทางจะทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ และบางท่าทางทำให้เกิดอาการตึง ยึด จนเกิดอาการปวดในที่สุด แบบนี้เรียกว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” (Office Syndrome)

อาการปวดโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ กระดูกและข้อ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งทำงานประสานกันอยู่ โดยอาการปวดที่เกิดจากกระดูกและข้อ อาทิ ขยับแล้วมีเสียง กรอบแกรบ ขยับแล้วเจ็บเสียวแปลบๆ คอยื่นไปข้างหน้า หลังค่อม หลังทรุด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังแอ่นงอ อาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท อาทิ กล้ามเนื้อไม่ค่อยมีแรง ชา กล้ามเนื้อกระตุก

อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ อาทิ ปวดเมื่อย อ่อนล้า เพลีย ตึง ยึด ปวดขึ้นไปที่ขมับ กล้ามเนื้ออักเสบ พังผืดสั่งสมบริเวณกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ ร้าวขึ้นไปบริเวณขมับ ปวดไปที่กระบอกตา ซึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นไมเกรน

แนวทางการรักษา แบ่งออกเป็น
- การรักษาที่สาเหตุของโรค คือ การผ่าตัด และการไม่ผ่าตัด

- การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ อาทิ การกินยา ฉีดยา ซึ่งคนไทยหลายคนคิดว่าเมื่อไม่มีอาการแล้ว แปลว่า “หาย” ในความเป็นจริงแล้ว การไม่มีอาการนั้น อาจจะไม่ได้หายจากอาการปวดอย่างถาวร

การที่จะทำให้ “หาย” จากอาการปวดอย่างถาวรนั้น คือ การรักษาที่สาเหตุของปัญหา ให้สภาพของกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท คืนสู่สภาวะปกติ และดีกว่าปกติ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดอาการปวดอีก วิธีการรักษาดังกล่าวเรียกว่า Active Therapy เป็นการรักษาในเชิงป้องกันที่สาเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

เทคนิคการยืดเส้นยืดสายระหว่างทำงาน
1.การบริหารกล้ามเนื้อคอ เริ่มจากนำมือข้างซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา ดึงมาทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึง นับ 1-10สลับใช้มือข้างขวา นับ 1-10เช่นเดียวกัน จากนั้นประสานมือบริเวณท้ายทอย ดันไปด้านหน้าจนรู้สึกตึง นับ 1-10

2.การบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำ โดยยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10การกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10

3.การบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก และแก้ปัญหาไหล่ห่อ ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1-10การยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1-10

4.การบริหารบริเวณช่วงสะโพก บางคนมีปัญหาปวดบริเวณสะโพก ชาลงเท้า ชาลงขา จะสามารถบริหารท่านี้ได้ดี ท่าบริหารนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาททำให้รู้สึกมีปัญหาได้ ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1-10จากนั้นสลับเท้าด้านขวา

5.การบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 -10จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1-10ท่าบริหารดังกล่าวควรทำบ่อยๆ ประมาณ 1-2ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อมัดหลักๆ ในร่างกาย สละเวลา 3-5นาที เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีและแข็งแรง


เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Be Fit)

2.ระวังเรื่องของท่าทาง บุคลิกของตัวเอง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งค่อม

3.ในเรื่องของการยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

4.วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการจัดโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ควรจัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง และไม่ต้องก้มตัวขึ้นลง หันซ้ายหันขวา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเคล็ดได้

5.เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย

6.ระมัดระวังการใส่ส้นสูง ถ้าไม่จำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ควรใส่ไม่เกิน 2นิ้ว หรือ 4-5เซนติเมตรเท่านั้น

7.การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน

8.ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก


สารพัดวิธี ลดรอยคล้ำใต้ตา

|0 ความคิดเห็น
สารพัดวิธี ลดรอยคล้ำใต้ตา





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัญหารอยคล้ำใต้ดวงตา ถือเป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งของสาว ๆ ไม่น้อยไปกว่าปัญหาผิวหน้าอื่น ๆ เลย เพราะนอกจากจะทำให้รอบดวงตาเป็นแพนด้าที่ปกปิดได้ยาก แล้ว ยังทำให้สาว ๆ ตาแพนด้าถูกมองว่าเป็นผู้หญิงที่ปล่อยตัวโทรมไม่ดูแล ตัวเองอีกด้วย

วันนี้กระปุกดอทคอม ก็เลยมีสารพัดวิธีลดรอยคล้ำรอบดวงตามาฝากกัน ให้สาว ๆ ที่มีรอบดวงตาคล้ำได้เลือกใช้กันตามสะดวกเลยจ้า

1. น้ำผึ้งผสมน้ำแร่อุ่น ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำแร่อุ่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นใช้สำลีชุบนำมาวางไว้รอบดวงตาประมาณ 15 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

2. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้คุณหลับยากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ ควรงดดื่มและงดสูบตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไปเลยจะดีที่สุดค่ะ

3. ถุงชาร้อน หลังจากจุ่มถุงชาในถ้วยแล้ว นำถุงชานั้นมาบีบเอาน้ำชาออกแล้วนำมาประคบบริเวณดวงต า ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ทำเป็นประจำค่ะ

4. ช้อนชา หรือช้อนกาแฟอุ่น ไม่ว่าจะดื่มชาร้อน หรือกาแฟร้อน ช้อนกาแฟที่ใช้คนชาหรือกาแฟ สามารถนำมาประคบดวงตาได้ แต่รอให้ช้อนอุ่น ๆ ก่อนนะคะ จากนั้นค่อยนำมาครอบไว้ที่ดวงตาทั้ง 2 จนกว่าจะเย็น สามารถทำได้ทุกวันค่ะ

5. นำฝรั่งมาฝานบาง ๆ จากนั้นนำมาวางไว้บนดวงตา ทำเหมือนกับสูตรแตงกวาฝานนั่นแหละค่ะ ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที สูตรนี้ทำได้ทุกวันเช่นกันค่ะ

6. กดนวดรอบดวงตา คุณสามารถกดนวดรอบดวงตาเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ด ้วยตัวเอง โดยการหลับตาแล้วใช้นิ้วนางกดไปใต้ดวงตาจากใต้ตาด้าน ในไปด้านนอก ค่อย ๆ ไล่กดไปเรื่อย ๆ และแช่ไว้ประมาณ 3 วินาทีต่อการกดแต่ละตำแหน่ง ทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่องประมาณ 15 นาที ทุกวัน จะช่วยการไหลเวียนเลือดได้เป็นอย่างดี

7. มอยซ์เจอไรเซอร์ และซันสกรีน ไม่ควรให้ขาดเลยค่ะ ยิ่งหากคุณมีรอยคล้ำใต้ตาแล้ว ยิ่งต้องปกป้องและให้ความชุ่มชื่นกับรอบดวงตาอย่างสม ่ำเสมอ โดยมอยซ์เจอไรเซอร์สูตรอ่อนโยน และครีมกันแดดค่า SPF สูง แต่อ่อนโยนต่อผิว กับผิวบริเวณรอบดวงตาค่ะ

นอกจากนี้ สาว ๆ ยังสามารถใช้วิธีคลาสสิค คือการประคบด้วยแตงกวาหรือมะเขือเทศควบคู่ไปกับวิธีข ้างต้นนี้ด้วยก็จะดีมาก ๆ เลยค่ะ และอย่าลืมทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ เพื่อที่คุณจะได้ไม่กลับมามีรอบดวงตาคล้ำเป็นแพนด้าไ ด้อีกค่ะ

การ Reset CPU เครื่องวิทยุสื่อสาร (เปิดแบนด์ ปิดแบนด์) เครื่องวิทยุสื่อสาร หลายรุ่น

|0 ความคิดเห็น
การ Reset CPU เครื่องวิทยุสื่อสาร (เปิดแบนด์ ปิดแบนด์) เครื่องวิทยุสื่อสาร หลายรุ่น
การทำการ Reset CPU ของเครื่องวิทยุสื่อสารจะเป็นการตั้งค่าของเครื่องวิทยุให้กลับไปเป็นตามข้อกำหนดเดิมของโรงงานที่ผลิต
ซึ่งจะเราจะทำก็ต่อเมื่อเกิดการทำงานผิดปกติของเครื่อง หรือบางครั้งเราต้องการลบการบันทึกหน่วยความจำ ซึ่งเครื่องบางรุ่นไม่สามารถลบได้แต่
สามารถบันทึกซ้ำได้ ดังนั้นการ Reset CPU จะทำให้ช่องความถี่ที่เราบันทึกทั้งหมดหายไป และกลับไปเป็นตามข้อกำหนดเดิมของโรงงานที่ผลิต

ICOM
H A N D H E L D S:

IC-Delta1 - กด [FUNCTION> & [A> & [CLR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2GXA - เปิดเครื่องกด [liGHT> & [FUNCTION> แล้วปิดเครื่องจากนั้นเปิดเครื่องอีกครั้ง
IC-2GXAT - กด [FUNC> & [VMC> & [DUP> & [HI/LO> แล้วเปิดเครื่อง
IC-02AT - Serial numbers below 34000: push the button on the main circuit board next to the lithium battery. Serial numbers above 34000: hold [FUNC> button and turn the radio on.
IC-2iA - FUNCTION> & [A> & [CLR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-P2AT - กด [FUNCTION> & [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-µ2AT - LIGHT> & [MONITOR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-4GAT - เปิดเครื่องแล้ว กด [LIGHT> & [FUNCTION> แล้วปิดเครื่อง แล้วเปิดเครื่องอีกครั้ง
IC-4GXAT - กด [FUNC> & [VMC> & [DUP> & [HI/LO> แล้วเปิดเครื่อง
IC-04AT - Serial numbers below 34000: push the button on the main circuit board next to the lithium battery. Serial numbers above 34000: hold [FUNC> button and turn the radio on.
IC-4SA - กด [LIGHT> & [MONITOR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-4SAT - กด [FUNCTION> & [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-4SRA - กด [FUNCTION> & [A> & [CLR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-P4AT - กด [FUNCTION> & [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-µ4AT - กด [LIGHT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-12AT - กด [FUNC> แล้วเปิดเครื่อง
IC-12GAT - เปิดเครื่องแล้ว กด [LIGHT> & [FUNCTION> ปิดเครื่องแล้วเปิดอีกครั้ง
IC-24AT - กด [FUNCTION> & [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-32AT - กด [FUNCTION> & [A> & [LIGHT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-Q7A - กด [FUNC> & [BAND> & [V/M> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T2A - กด [A> & [C> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T2H - กด [aV> & [cT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T21A - Full reset: กด [A> & [*> & [FUNC> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [A> 11แล้วเปิดเครื่อง
IC-T22A - Full reset: กด [A> & [*> & [FUNC> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T41A - Full reset: กด [A> & [*> & [FUNC> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T42A - Full reset: กด [A> & [*> & [FUNC> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T7A - กด [MR> & [VFO> & [BAND> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T8A - กด [MR> & [VFO> & [BAND> แล้วเปิดเครื่อง
IC-T81A - กด [SQL> & [VFO> & [MR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-V8 - กด [SQL> & [D.CLR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-V21AT - กด [F> & [A> & [*> แล้วเปิดเครื่อง
IC-W2A - กด [FUNCTION> & [A> & [CLR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-W21A - กด [HI/LO> แล้วเปิดเครื่อง
IC-W21AT - กด [F> & [A> & [*> แล้วเปิดเครื่อง
IC-W31A - Full reset: กด [A> & [*> & [MONI> .แล้วเปิดเครื่อง Partial reset: กด [A> แล้วเปิดเครื่อง
IC-W32A - Full reset: กด [SQL> & [VFO> & [MR> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [VFO> แล้วเปิดเครื่อง
IC-Z1A - Full reset: กด [A> & [*> & [MONI> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [A> แล้วเปิดเครื่อง

M O B I L E S:

IC-Delta100 - Full reset: กดd [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง . Partial reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC-207H - Full reset: กด [SET> & [S.MW>แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [V/MH> แล้วเปิดเครื่อง
IC-228A/H - กด [SQUELCH/MONITOR> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC-229A/H - กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-281H - Full reset: กด [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง. Partial


reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC-448A - กด [SQUELCH/MONITOR> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC-449A - กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-481H - Full reset: กด [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง Partial reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC-706 - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-706MKII - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-706MKIIG - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-900 - กด [MR> ปิดเครื่องแล้วเปิดอีกครั้ง
IC-901A - กด [CHECK> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-1200A - กดปุ่ม Truing Control ลง พร้อมหมุนเปิดเครื่อง
IC-1201A - กด [SQUELCH/MONITOR> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2000H - กด [SET> & [PGR/CS/MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2100H - Full reset: กด [SET> & [S.MW> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [V/MHz> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2340H - Full reset: กด [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่องPartial reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2350H - Full reset: กด [SET> & [S.MW> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [DUP> & [LOW> . แล้วเปิดเครื่อง
IC-2400A - กด [SUB VOL> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2410A/H - กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2500A - กด [SUB VOL> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-2700H - Full reset: LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC-3220A/H - กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-V8000 - กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง

V H F / U H F B A S E:

IC-271A/H - Reprogram the RAM card.
IC-275A/H - กด [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-375A - กด [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-471A/H - Reprogram the RAM card.
IC-475A/H - กด [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-575H - กด [M-CL> . แล้วเปิดเครื่อง
IC-820H - กด [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-821H - กด [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-970A/H - กด [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-1271 - Reprogram the RAM card.
IC-1275A - กด [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง

H F B A S E:
IC-77 - Clone with a computer.
IC-706 - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-706MKII - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-706MKIIG - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-707 - กด [MW> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC-718 - กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC-725 - กด [FUNCTION> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-726 - กด [FUNCTION> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-728 - กด [FUNCTION> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-729 - กด [FUNCTION> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC-735 - No CPU reset available.
IC-736 - กด [CLR> & [ENT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-737 - กด [CLR> & [ENT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-737A - กด [CLR> & [ENT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-738 - กด [CLR> & [ENT> แล้วเปิดเครื่อง
IC-746 - กด [F-INP> & [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-756 - กด [F-INP> & [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-756PRO - กด [F-INP> & [M-CL> แล้วเปิดเครื่อง
IC-761 - กด [M-CLEAR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-765 - กด [M-WRITE> แล้วเปิดเครื่อง
IC-775 - กด [CLEAR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-775DSP - กด [CLEAR> แล้วเปิดเครื่อง
IC-781 - กด [M-CLEAR> แล้วเปิดเครื่อง


KENWOOD
H A N D H E L D S:

TH-22 - กดปุ่ม [F> ค้างแล้วเปิดเครื่อง
TH-25 - กดปุ่ม [M> แล้วเปิดเครื่อง กดปุ่ม [M> อีกครั้ง
TH-42 - กดปุ่ม [F> ค้างแล้วเปิดเครื่อง

M O B I L E S:
TM-732 - กดปุ่ม [MR> ค้างแล้วเปิดเครื่อง แล้วกด [MR> อีกครั้ง
TM-241/441/541 - กดปุ่ม [MR> ค้างแล้วเปิดเครื่อง แล้วกด [MR> อีกครั้ง
TM-261/461 - กดปุ่ม [MR> ค้างแล้วเปิดเครื่อง แล้วกด [MR> อีกครั้ง
TM-V7 - กดปุ่ม [MR> ค้างแล้วเปิดเครื่อง แล้วกด [MR> อีกครั้ง
TM-231/331/431/531 - กดปุ่ม [MR> ค้างแล้วเปิดเครื่อง แล้วกด [MR> อีกครั้ง




YAESU / Vertex
H A N D H E L D S:
FT-411 - ปิดเครื่องวิทยุ, กดปุ่ม [MR> พร้อมปุ่ม [2> และปุ่ม [VFO> ค้าง, เปิดเครื่อง จากนั้นให้ตั้งความถี่ที่ต้องการต่ำสุดในภาครับ เช่น 144.000 แล้วตามด้วยปุ่ม [ VFO> แล้วตั้งความถี่สูงสุดในภาครับ เช่น 146.000 แล้วกดปุ่ม [VFO> ทำอีกครั้งเพื่อตั้งค่าความถี่ในภาคส่ง
FT-11R - ปิดเครื่อง แล้วกดปุ่ม [ลูกศรบน> และ [ลูกศรล่าง> ค้างแล้วเปิดเครื่อง
FT-10R
VX-5R- กด [4(MG)DSP> & [MR(SKP)SC> &[VFO(DW)SC> แล้วเปิดเครื่อง กด
[F/W> อีกครั้ง
VX-150 - กด [PTT> & [LAMP> แล้วเปิดเครื่อง หมุน DIAL เลือก “SET RST” กด [F>
อีกครั้ง

M O B I L E S:
FT-212
FT-90R - กดปุ่มลูกศรซ้ายขวา กดปุ่ม DISPSS แล้วเปิดเครื่อง
FT-2400
FT- 2200
FT-2500
FT-2600 - Resat ทุกเมนู กด [REV> และ [D/MR> แล้วเปิดเครื่อง
Resat CPU กด [A/N> และ [D/MR> แล้วเปิดเครื่อง
FT- 1500
FT-7100 - SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 448A *** กด [SQUELCH/MONITOR> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 449A *** กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 481H *** Full reset: กด [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง Partial reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 706 *** กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 706MKII *** กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 706MKIIG *** กด [UP> & [DOWN> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 900 *** กด [MR> ปิดเครื่องแล้วเปิดอีกครั้ง
IC *** 901A *** กด [CHECK> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 1200A *** กดปุ่ม Truing Control ลง พร้อมหมุนเปิดเครื่อง
IC *** 1201A *** กด [SQUELCH/MONITOR> & [LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2000H *** กด [SET> & [PGR/CS/MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2100H *** Full reset: กด [SET> & [S.MW> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [V/MHz> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2340H *** Full reset: กด [SET> & [SPCH> แล้วเปิดเครื่องPartial reset: กด [SPCH> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2350H *** Full reset: กด [SET> & [S.MW> แล้วเปิดเครื่อง. Partial reset: กด [DUP> & [LOW> . แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2400A *** กด [SUB VOL> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2410A/H *** กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2500A *** กด [SUB VOL> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 2700H *** Full reset: LOCK> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** 3220A/H *** กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง
IC *** V8000 *** กด [SET> & [MW> แล้วเปิดเครื่อง

SPENDER รุ่น TC-144G reset
           กด PTT+F จากนั้นเปิดเครื่อง แล้วกด 5050 แล้วเลือกกด 1 เพื่อเปิดแบนด์ หรือ กด 2 เพื่อปิดแบนด์
           เสร็จแล้วปิดเครื่อง และเปิดเครื่องตามปกติ (ไม่ต้อง PTT+F

Wattmeter

|0 ความคิดเห็น
Wattmeter

Even the simplest wattmeter is better than no wattmeter. Following this sentence I built a very simple wattmeter based on schematic of SWR meter developed and published in the Internet by JA6HIC. Using a forward only part of the schematics I soldered quite precise instrument which allows to measure RF power from tenths of mW up to 5W. Input impedance is 50 ohms as well as output impedance. Don't ask me how it works. It just shows a power. I used K-1 for calibration scales.
wattmeter QRP.jpg (26012 bytes)
Schematics of VSW ( very simple wattmeter)
Alignment of VSW
1.    Find the accurate source of the RF signal which provides at least 5W with increments ( I used K-1)
2.    Set a FSD ( full scale deflection) at 5W on highest HF frequency and mark on the  scales
3.    Repeat   marking decreasing power
4.    Set capacitor trimmer 100pF to minimalise frequency effect on reading, starting from highest             frequency ( it was 21 MHz in my project)
5.    Accept   the fact that error of measurement is highest on the beginning of the scales
6.    Build   "pixie" immediately :'-)))

wattmeter.JPG (49852 bytes)
Wattmeter assembled on 06.01.2003

wattmeter-details.JPG (60500 bytes)
Construction details - inductance and coupler made of  piece of RG-213

hattrick.JPG (56877 bytes)
This nice looking setup weights approx. 1lbs
I measured "Forty-Oner" 
and the output power was 0,8W on dummy load and 1W  on 3 element beam with RG-213/U feeder

วิธีการปรับเกนไมค์หน้าเครื่อง Yaesu FT-2800M

|0 ความคิดเห็น
วิธีการปรับเกนไมค์หน้าเครื่อง Yaesu FT-2800M

ขอบคุณ hs7wmu
วิธีการปรับเกนไมค์หน้าเครื่อง
Yaesu FT-2800M (FT 2800 M FT2800M) Deviation Adjustment ++?


* Hold in "LOW" & "D/MR" buttons, power up radio and release.
กดปุ่ม "LOW" & "D/MR" พร้อมกับ เปิดเครื่อง
* Push "MHZ" button one second.
กดปุ่ม"MHZ" 1 วินาที
* Goto selection 35 in menu "D/ASMT"
หมุน หา เมนูที่ 35 "D/ASMT"
* Push "MHZ" once.
กดปุ่ม "MHZ" 1 ครั้ง
* Select MOD W in menu
หมุนเลือก เมนู MOD W


* To reduce deviation push "REV" button, to increase push "D/MR" button. (multiple times if needed)
กดปุ่ม "REV"(กดแล้วปล่อยๆ) เพื่อลด เกนไมค์ และกดปุ่ม "D/MR" (กดและปล่อยๆ) เพื่อเพิ่ม เกนไมค์
* Key up radio and check.
กดคีย์ทดลองออกอากาศดู
* When deviation is set appropriately push "LOW" button to lock in.
ถ้าเป็นที่พอใจแล้ว ให้ กดปุ่ม"LOW" เพื่อบนทึก
* Push "MHZ" button to return to normal operation.
กดปุ่ม"MHZ" เพื่อออกจากเมนู แล้วกดปุ่ม power ปิดเครื่อง และเปิดใหม่ จะออกจาก เมนู35


ขอบคุณ hs7wmu


ของแถมครับ อิอิอิอิอิอิ
วิธีปรับกำลังส่งของ FT-2800M ควรต่อ PWR/SWR มิเตอร์และ Dummy Load ไว้ด้วย
1.ปิดเครื่อง
2.กดปุ่ม LOW กับ D/MR ค้างไว้แล้วกดปุ่ม PWR เพื่อเปิดเครื่อง
3.ตั้งความถี่ที่จะปรับกำลังส่ง
4.กดปุ่ม MHz ค้างไว้ 1 วินาทีเพื่อเข้าสู่เมนูต่างๆ
5.หมุน dial ไปที่เมนู 35 D/ASMT และกดปุ่ม MHz เพื่อเข้าสู่ Alignment Mode หน้าจอจะแสดง REF
6.หมุน dial ไปที่ TXPWH สำหรับกำลังส่งสูงสุดและกดปุ่ม PTT จากนั้นกดปุ่ม REV(เพิ่ม) หรือ D/MR(ลด) โดยกดปล่อย กดปล่อยเพื่อปรับกำลังส่งเพิ่มหรือลด โดยดูจาก PWR/SWR มิเตอร์ เมื่อได้กำลังส่งตามต้องการแล้วก็กดปุ่ม LOW ค้างไว้ 1 วินาที แล้วปล่อยเพื่อ save กำลังส่ง (65 วัตต์ - 90 วัตต์)
7.หมุน dial ไปที่ TXPWM สำหรับกำลังส่ง Medium และกดปุ่ม PTT จากนั้นกดปุ่ม REV(เพิ่ม) หรือ D/MR(ลด) โดยกดปล่อย กดปล่อยเพื่อปรับกำลังส่งเพิ่มหรือลด โดยดูจาก PWR/SWR มิเตอร์ เมื่อได้กำลังส่งตามต้องการแล้วก็กดปุ่ม LOW ค้างไว้ 1 วินาที แล้วปล่อยเพื่อ save กำลังส่ง (25 วัตต์ - 40 วัตต์)
8.หมุน dial ไปที่ TXPWL2 สำหรับกำลัง LOW2 และกดปุ่ม PTT จากนั้นกดปุ่ม REV(เพิ่ม) หรือ D/MR(ลด) โดยกดปล่อย กดปล่อยเพื่อปรับกำลังส่งเพิ่มหรือลด โดยดูจาก PWR/SWR มิเตอร์ เมื่อได้กำลังส่งตามต้องการแล้วก็กดปุ่ม LOW ค้างไว้ 1 วินาที แล้วปล่อยเพื่อ save กำลังส่ง (10 วัตต์ - 20 วัตต์)
9.หมุน dial ไปที่ TXPWL1 สำหรับกำลัง LOW1 และกดปุ่ม PTT จากนั้นกดปุ่ม REV(เพิ่ม) หรือ D/MR(ลด) โดยกดปล่อย กดปล่อยเพื่อปรับกำลังส่งเพิ่มหรือลด โดยดูจาก PWR/SWR มิเตอร์ เมื่อได้กำลังส่งตามต้องการแล้วก็กดปุ่ม LOW ค้างไว้ 1 วินาที แล้วปล่อยเพื่อ save กำลังส่ง (5 วัตต์)
10.กดปุ่ม MHz ค้างไว้ 1 วินาทีเพื่อเข้าสู่หน้าจอปรกติ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร

|0 ความคิดเห็น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุคมนาคม

วิทยุคมนาคม หรือที่นิยมเรียก วิทยุสื่อสาร ทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กแบ่งเป็นภาครับ
และภาคส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ
คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อสามร้อยกว่า
ปีมาแล้ว(ปี ค.ศ.1864) ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) เป็นผู้ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็น
พลังงานที่ใช้ได้จริง ในปี ค.ศ.1887
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อีกนัยหนึ่งก็คือคลื่นวิทยุมีความเร็วสามร้อยล้านเมตรต่อวินาที (300,000,000 เมตร/วินาที)
หรือเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นวิทยุ เกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในสายอากาศ แล้วแผ่กระจายไปในอากาศลักษณะเดียวกับคลื่น
ในน้ำ เป็นลูกคลื่น มียอดคลื่นและท้องคลื่น การเคลื่อนตัวหนึ่งรอบคลื่น หมายถึง
จากผิวน้ำ-ขึ้นไปถึงยอดคลื่น-ตกลงที่ท้องคลื่น-และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำ ความถี่ของคลื่นวิทยุมีหน่วยต่อวินาที
(CPS : Cycle Per Second) ต่อมาเพื่อให้เกียรติต่อผู้ค้นพบไฮริชเฮิรตซ์จึงเรียก "หน่วยต่อวินาที" ว่า "เฮิรตซ์"
1,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า 1 กิโลเฮิรตซ์ 1 kHz.
1,000,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า 1 เมกะเฮิรตซ์ 1 MHz.
ความยาวคลื่นวัดความยาวจากยอดคลื่นถึงยอดคลื่นหรือระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่นวัดกันเป็นเมตร
เวลาที่คลื่นเดินทางวัดกันเป็นวินาที

ระดับคลื่นความถี่วิทยุ
ความถี่ต่ำมาก VLF 10 kHz. - 30 kHz.
ความถี่ต่ำ LF 30 kHz. - 300 kHz.
ความถี่กลาง MF 300 kHz. - 3,000 kHz.
ความถี่สูง HF 3 MHz. - 30 MHz.
ความถี่สูงมาก VHF 30 MHz. - 300 MHz.
ความถี่สูงยิ่ง UHF 300 MHz. - 3,000 MHz.
ความถี่สูงยอด SHF 3 GHz. - 30 GHz.
ความถี่สูงยิบ EHF 30 GHz. - 300 GHz.

หมายเหตุ ชื่อความถี่อาจไม่ตรงกับศัพท์ทางราชการ

วิทยุสื่อสารซีบี 245 เมกะเฮิรตซ์ [CB 245 MHz.]
วิทยุสื่อสาร มีใช้ในประเทศไทยเกือบร้อยปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในราชการทหาร นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 1-2 และ
สงครามมหาเอเชียบูรพา หลังภาวะสงคราม กิจการวิทยุสื่อสารมีใช้ภายในกิจการราโดยเฉพาะฝ่ายปราบปรามและปกครอง
และแพร่หลายมากข้นในหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ พลเรือน ในช่วง 40 ปีย้อนหลังจากนี้
สำหรับประชาชนทั่วไป วิทยุสื่อสารที่มีใช้ได้ชนิดแรก คือ วิทยุอาสาสมัครหรือวีอาร์ (Voluntary Radio)โดยกำหนด
ให้ผู้ประสงค์มีใช้ต้องสอบความรู้ขออนุญาตซื้อขาย พกพาตัวเครื่องมือถือ ติดรถติดบ้านอาศัย จากทางราชการ ด้วย
ระเบียบข้อกำหนดกรมไปรษณีย์โทรเลข และเหตุผลความมั่นคงแห่งชาติต่อมาบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น มีการลงทุนข้าม
ชาติโลกาภิวัตน์ (Globalization) เทคโนโลยีรุดหน้าทางราชการโดยกรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นเหมาะสมต่อกาลเวลาว่า
ประชาชนมีความจำเป็นต่อการมีวิทยุใช้สื่อสารเพื่อพัฒนาบ้านเมือง และสวัสดิ์ภาพความปลอดภัย จึงอนุญาตให้ประชาชน
มีใช้วิทยุสื่อสาร "ความถี่ประชาชน" หรือ CB (Citizen Band)
ได้โดยเริ่มจากคลื่น 27 เมกะเฮิรตซ์ (MHz.), 78 เมกะเฮิรตซ์, 422 เมกะเฮิรตซ์ และล่าสุด คือ 245 เมกะเฮิรตซ์ ปัจจุบัน
วิทยุซีบี 422 เมกะเฮิรตซ์ยกเลิกการนำเข้า ผู้ที่มีใช้อยู่ก่อนหน้าก็สามารถใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วิทยุคลื่นความถี่ประชาชน [Citizen Band]:

27 เมกะเฮิรตซ์ 27 MHz.
78 เมกะเฮิรตซ์ 78 MHz.
422 เมกะเฮิรตซ์ 422 MHz.
245 เมกะเฮิรตซ์ 245 MHz.

ปัจจุบันวิทยุ CB 245 MHz. นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็วเพราะประสิทธิภาพในการส่งกระจายคลื่นได้ไกลสุด
(สายอากาศสูง 30 เมตรจากพื้นดิน ส่งไกลไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร) รับส่งได้ชัดเจนกว่าวิทยุสื่อสารทุกความถี่ คลื่นแรง
ละลุทะลวงผ่านกระจกอาคารบ้านเรือนลิฟท์ และชั้นใต้ดินได้ดีกว่า ปรับกำลังส่งได้ 2-3 ระดับ อาทิ 1 วัตต์ 2.5 วัตต์
และ 5 วัตต์ เป็นต้นมีอุปกรณ์ส่วนควบและเครื่องอะไหล่อีกมากมาย
นอกนั้นกรมไปรษณีย์อนุญาตให้ตั้งสถานี (ตั้งสาย / เสาอากาศสูง 60 เมตร) แลติดในรถยนต์ได้ เช่น CB อื่น และคลื่นแฮม

**สรุปได้ว่า วิทยุ CB 245 MHz. ใช้งานได้ดีกว่า เพราะประสิทธิภาพส่งได้ไกล ชัดเจนทะลุทะลวงได้ดี ราคา ปานกลาง
เครื่องอุปกรณ์อะไหล่ครบครัน ไม่รบกวนคลื่นอื่น!**


ภาคผนวก

ข้อกำหนดทางวิชาการของเครื่องวิทยุคมนาคม สำหรับประชาชน
1. ลักษณะทั่วไป
1.1 โครงสร้างวิทยุคมนาคม (Case) จะต้องเป็นสีแดง
1.2 เครื่องวิทยุคมนาคมทำงานเฉพาะในย่านความถี่วิทยุ 245MHz. และมีช่องความถี่วิทยุใช้ งานเริ่มต้นคือ 245.00 MHz.
จำนวนไม่เกิน 80 ช่อง ดังนี้

245.000 245.0125 245.0250 245.0375 245.0500 245.0625 245.0750 245.0875 245.1000
245.1125 245.1250 245.1375 245.1500 245.1625 245.1750 245.1875 245.2000 245.2125
245.2250 245.2375 245.2500 245.2625 245.2750 245.2875 245.3000 245.3125 245.3250
245.3375 245.3500 245.3625 245.3750 245.3875 245.4000 245.4125 245.4250 245.4375
245.4500 245.4625 245.4750 245.4875 245.500 245.5125 245.5250 245.5375 245.5500
245.5625 245.5750 245.5875 245.6000 245.6125 245.6250 245.6375 245.6500 245.6625
245.5750 245.6875 245.7000 245.7125 245.7250 245.7375 245.7500 245.7625 245.7750
245.7875 245.8875 245.9000 245.9125 245.9250 245.9375 245.9500 245.9625 245.9750
245.9875 MHz.

1.3 มีความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ (Channel Spacing) 12.5 หรือ 25 kHz.
1.4 กำเนิดความถี่วิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) โดยผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอก
เครื่องวิทยุคมนาคม และไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขโดยวิธีใดๆ เพื่อให้เครื่องวิทยุคมนาคมสามารถรับหรือส่งความ
ถี่วิทยุนอกย่านความถี่วิทยุ 245 MHz.
1.5 การผสมคลื่นเป็นแบบ Frequency Modulation (FM)
2. ภาคเครื่องส่ง
2.1 กำลังส่ง (Power) ไม่เกิน 10 วัตต์
2.2 ความกว้างแถบคลื่น (Necessary Bandwidth) กรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ
12.5 kHz. ไม่เกิน 8 kHz. และกรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ 25 kHz ไม่เกิน 16 kHz
2.3 เสถียรภาพความถี่ (Frequency Stability) + 0.005%
2.4 แพร่กระจายคลื่นความถี่วิทยุที่ไม่ต้องการ (Spurious & Harmonics) 43+10Log Power(W)dBc
2.5 การเบี่ยงเบนความถี่ (Frequency Deviation) กรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่ 12.5 kHz สูงสุด
ไม่เกิน + 2.5 kHz และกรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ 25 kHz สูงสุดไม่เกิน + 5 kHz
3. ภาคเครื่องรับ
3.1 ความไวในการรับสัญญาณ(Sensitivity) 0.5 mV ที่ 20dB Quieting
3.2 การเลือกรับสัญญาณ (Selectivity) -70 dB
3.3 เสถียรภาพความถี่ (Frequency Stability) + 0.0005%
3.4 การจัดสัญญาณที่ไม่ต้องการและสัญญาณแปลกปลอม (Spurious and image Rejection)-50 dB



ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูล: คู่มือสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 MHz

เมื่อนอนตกหมอนแก้อย่างไรดี ?

|0 ความคิดเห็น
เมื่อนอนตกหมอนแก้อย่างไรดี ?

เคยไหมที่ตื่นนอนขึ้นมาแล้วหันคอไม่ได้ ซึ่งนั่นเป็นอาการคอเคล็ดที่เกิดจากการนอนตกหมอนนั่นเอง แล้วเมื่อเกิดอาการดังกล่าวแล้ว จะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันครับ

          
เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการตกหมอนคือ อย่าพยายามเคลื่อนไหวคอ และให้อยู่นิ่ง ๆ โดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก จากนั้นประคบร้อน ด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่เจ็บประมาณ 20-30 นาที และกดนวดบริเวณคอ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพียงเท่านี้อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น

          บางคนอาจใช้วิธีการดัดยืดคอด้วยตนเอง โดยใช้มือช่วยดันศีรษะไปในทิศทางที่เกิดอาการตึงช้า ๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที แล้วทำซ้ำ 5-10 ครั้ง จนเริ่มรู้สึกทุเลา หรืออาจจะนวดเบา ๆ โดยใช้มือบีบลงบนแนวของกล้ามเนื้อที่รู้สึกปวดเมื่อย ให้แรงบีบพอประมาณจนทำให้รู้สึกแน่นตึงและไม่เจ็บ ค่อย ๆ บีบและคลายเป็นจังหวะ


          
ทั้งนี้ การประคบร้อนก่อนการนวดจะช่วยให้นวดได้ง่ายขึ้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น และในการนวดควรระวัง โดยไม่ควรกดบีบหรือยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกเจ็บ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น และห้ามให้ผู้อื่นดัดคอหรือจับเส้นเด็ดขาด เพราะจะทำให้อักเสบและเรื้อรังได้
             แต่หากลองแก้ไขหลาย ๆ วิธีแล้วยังไม่หาย ก็ค่อย ๆ ฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อ หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดจะดีที่สุด

ภัยเงียบจากพาราเซตามอล

|0 ความคิดเห็น
ภัยเงียบจากพาราเซตามอล

พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรียกได้ว่าแทบจะมีติดบ้านกันเกือบทุกหลังคาเรือน และดูเหมือนว่าเราจะใช้ยาชนิดนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ให้กับตัวเอง ใช้เรื่อยไปตั้งแต่ปวดหัว เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ฯลฯ เป็นยาสามัญที่สามารถซื้อหาได้อย่างสะดวก และเราจะพบยาตัวนี้ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยว เช่น ไทลีนอล, พานาดอล, เทมปร้า, คาลปอล, ซาร่า หรือเป็นยาผสมในยาตัวอื่น เช่น ทิฟฟี่, ดีคอลเจน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ และใช้ติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อนปัญหาภาวะพิษต่อตับได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ทราบว่าสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดตับวาย ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ หรือมาจากไวรัสตับอักเสบ แต่สาเหตุอันดับหนึ่งกลับมาจากยาโดยเฉพาะพาราเซตามอล เพื่อนคู่บ้านนั่นเอง

มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาใโรงพยาบาลเนื่องจากพิษของพาราเซตามอล เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดตับวายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากตับวาย จากพาราเซตามอลต่อปีในปัจจุบันมียังสูงกว่าตัวยารักษาเบาหวานRezulin (troglitazone) ซึ่งถูกถอดทะเบียนออกไปแล้วเนื่องจากพิษต่อตับเสียอีก

กลไกการทำลายตับของยา Acetaminophen หรือพาราเซตามอลนี้ พบว่ายาชนิดนี้เมื่อใช้ในร่างกาย การจะขับออกไปจากร่างกายได้ต้องผ่านขบวนการขับพิษที่ตับสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งก่อให้เกิดสารผลิตผลที่เป็นพิษ (Toxic metabolite) ชื่อ NAPQI ซึ่งต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองซึ่งใช้สารกลูต้าไธโอนในตับลดลง หากใช้นานติดต่อกันหรือใช้เกินขนาด ก็จะทำให้ระดับสารผลิตผลที่เป็นพิษนี้เพิ่มมากขึ้นส่งผลเป็นพิษต่อตับรุนแรงในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากสามารถผลิตยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล และ N-acetyl cysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารกลูต้าไธโอนในเซลล์ได้ วิธีการนี้อาจจะสามารถกำจัด หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากพาราเซตามอลได้ (ซีสเทอีนเป็นส่วนประกอบในยาขับเสมหะ เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกลูต้าไธโอน หากต้องการให้ระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับสูงขึ้นจะใช้ N-acetyl Cysteine เพราะการรับประทานกลูต้าไธโอนโดยตรง อาจไม่ได้ผลเช่นนั้นมากนัก เนื่องจากกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร หากดูดซึมเข้าไปบ้างก็จะถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสโลหิต)

เนื่องจากว่าพาราเซตามอล เและอเซทิลซีสเทอิน N-acetyl cysteine มีจำหน่ายทั่วไป เราอาจจะคิดว่าการออกสูตรยาพาราเซตามอลซึ่งปลอดภัยไม่น่ายก แต่ที่จริงแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่เพราะ FDA สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใส่ตัวยาทั้งสองเข้าด้วยกันจนกว่าการจดทะเบียนเป็นยาตำรับใหม่จะได้รับการอนุมัติ คือต้องผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก และต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ขวบนการทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เงินนับร้อยล้านเหรียญ และใช้เวลานับทศวรรษถึงจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้ยาสูตรใหม่ พาราเซตามอลที่ปลอดภัยจึงไม่เคยออกสู่ท้องตลาดเลย

พาราเซตามอล อันตรายอย่างไร?

ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน 56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้

สาเหตุของภาวะพิษจากพาราเซตามอล

ภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1.รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด
2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม
3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น

แนวทางป้องกันและแก้ไข

ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1 ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก...

ไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5 เม็ด ในขนาด 500 mg, จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ 650 มิลลิกรัม การใช้ยาในเด็กเล็กให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป

ใช้พาราเซตามอลติดต่อกันไม่เกิน 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น เพื่อค้นหาสาเหตุโรคที่แท้จริง และแก้ไขตรงจุดต่อไป

การใช้ยาทางเลือก สามารถเลือกได้หลายขนาน เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้

หากจะต้องการใช้พาราเซตามอลให้ปลอดภัย คือ รับประทาน N-Actyl Cysteine ร่วมไปด้วย ก็จะเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนในตับ ทำให้สารพิษ toxic metabolite ชื่อ NAPQI ที่เกิดจากขบวนการดีท๊อกพาราเซตามอลที่ตับมีจำนวนลดลง โดยถูกกลูต้าไธโอนจับเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่ไม่อันตรายขับออกจากร่างกายได้

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Health Magazine

10 วิธีเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น

|0 ความคิดเห็น
10 วิธีเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น

ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการนอน คุณอาจจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้การนอนของคุณมีคุณภาพมากขึ้นคุณเป็นคนนึงที่รู้สึกง่วงตลอดทั้งวัน หรือเปล่าครับ สาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ อาจจะมาจากเรื่องจากที่ทำงาน งานบ้าน หรือการดูแลลูก ที่ทำให้คุณไม่สามารถหลับได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความวิตกกังวลจากเรื่องทางการเงิน การเมือง ความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งเรื่องของจากโรคบางชนิดปัจจัยหลาย ๆ เรื่องคุณคงจะไม่สามารถไปจัดการกับมันได้ แต่คุณสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นและสร้างนิสัยการนอน เพื่อให้สามารถหลับได้สนิทตลอดทั้งคืน ลองวิธีการเหล่านี้ดูนะครับ

1. พยายามเข้านอน ในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานหรือวันหยุดก็ตาม การทำแบบนี้จะทำให้วงจรการหลับการตื่นของร่างกายทำงานได้ดี และจะช่วยทำให้คุณสามารถหลับได้ง่ายขึ้น

 2. อย่ารับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากก่อนเวลานอน พยายามรับประทานอาหารเย็นแบบเบา ๆ ควรจะก่อนเวลาที่จะเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน พยายามเลี่ยงอาหารเผ็ดและอาหารมันเพราะจะทำให้อาการกรดไหลย้อนเป็นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาในการนอนต่อมา สำหรับเรื่องเครื่องดื่มก็เช่นเดียวกันครับการดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้คุณ ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก

 3. หลีกเลี่ยงบุหรี่ กาแฟ คาเฟอืน และแอลกอฮอล์ สารเหล่านี้จะทำให้ไม่ง่วง คนที่สูบบุหรี่มักจะมีอาการอยากบุหรี่ในช่วงกลางดึก และการสูบบุหรี่ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่แล้ว สำหรับเรื่องกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอืนไม่ควรได้รับภายใน 8 ชั่วโมงก่อนนอน สำหรับแอลกอฮอล์มีความเชื่อว่าจะทำให้หลับ แต่จริง ๆ แล้วจะรบกวนการนอนของคุณ

 4. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภท แอโรบิก จะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายดึกเกินไปนะครับ เพราะยิ่งทำให้หลับยากเหมือนกัน

 5. จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอน ให้เย็น มืด เงียบ และรู้สึกสบาย พยายามปิดโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วิทยุ หรือถ้าไม่มีไว้ในห้องนอนด้วยยิ่งดีครับ

 6. พยายามเลี่ยงการนอนกลางวัน ถ้าติดนิสัยการนอนกลางวันพยายามจำกัดไม่เกินครึ่งชั่วโมงในช่วงไม่เป็นเวลา เย็นเกินไป ถ้าคุณเป็นคนที่ทำงานในเวลากลางคืน ควรจัดเป็นม่านกันแสง เพื่อไม่ให้รบกวนการนอน เพราะแสงสว่างจะรบกวน biological clock ของคุณ

7. เลือกที่นอนและหมอนที่ทำให้คุณหลับได้สบาย ซึ่งแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณรบกวนคุณในเวลานอน ควรจำกัดไม่ให้เข้าในห้องนอน

8. สร้างพฤติกรรมที่ผ่อนคลายเป็นประจำในช่วงก่อนนอน ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมเดิม ๆ ที่เป็นการเตือนว่าใกล้จะถึงเวลานอนแล้ว เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลงเบา ๆ อาบน้ำอุ่น

9. เข้านอนเมื่อคุณรู้สึกง่วง ปิดไฟให้มืด แต่ถ้าคุณยังไม่หลับใน 20 นาที อาจจะลุกขึ้นมาหากิจกรรมทำสักเล็กน้อย บางคนยิ่งไปกังวลเรื่องนอนไม่หลับ ทำให้ยิ่งเครียดและนอนไม่หลับยิ่งกว่าเดิม

10. เลือกใช้ยานอนหลับเป็นทางเลือกสุดท้าย และควรจะพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนที่จะได้เริ่มใช้ยา และใช้ยาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ที่มา : Dr.carebear

ศักยภาพพลังงานลม

|0 ความคิดเห็น
ศักยภาพพลังงานลม
ลมในประเทศไทยมีความเร็วในระดับต่ำถึงปานกลาง โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 6-8 เมตรต่อวินาที ณ.บริเวณรอบอ่าวไทย โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปจนถึงสุราษฎร์ธานี และระยะเวลาที่มีลมระดับปานกลางจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเรื่อยไปจนถึงเดือนเมษายน รวมเวลา 6 เดือน แต่จะมีลมอ่อนใน 6 เดือนที่เหลือ คือเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม ส่วนบริเวณที่มีศักยภาพสูงและมีลมแรงได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา
แผนที่ลมภาพแรกข้างบนนี้แสดงศักยภาพลมเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทย (Average)
การดูข้อมูลศักยภาพลมตามรูปข้างบนนี้ แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของลมตามชั้นต่างๆตั้งแต่ 1.1 จนถึง 7 มีความเร็วลม ณ.ความสูงจากพื้นดินที่ 10 ม. 30 ม. และ 50 ม. แตกต่างกันไป
โปรดดูตัวอย่างต่อไปนี้ถ้าต้องการความเร็วลมที่ 6 เมตรต่อวินาที  เมื่ออยู่ในพื้นที่ศักยภาพลมระดับชั้น 2 (สีเขียวอ่อน) จะต้องอยู่ที่ความสูง 50 เมตร                                                                                                                                  3 (สีเขียวแก่)   จะต้องอยู่ที่ความสูง 30 เมตร                                                                                                                              4 (สีเหลือง)     จะต้องอยู่ที่ความสูง 10 เมตร         และถ้าต้องการความเร็วลมที่ 8 เมตรต่อวินาที เมื่ออยู่ในพื้นที่ศักยภาพลมระดับชั้น  5 (สีชมพู)       จะต้องอยู่ที่ความสูง 50 เมตร                 
                                                                                                                                     6 (สีแดง)        จะต้องอยู่ที่ความสูง 30 เมตร     
                                                                                                                                       7 (สีน้ำตาล)     จะต้องอยู่ที่ความสูง 10 เมตร        

 
                                   ภาพด้านล่างนี้แสดงศักยภาพของลมในแต่ละเดือนตั้งแต่ มกราคม จนถึง ธันวาคม                                             
                       มกราคม                                                                              
                   กุมภาพันธ์
       
                         มีนาคม
    
                    เมษายน                                                                   
                     พฤษภาคม
       
                     มิถุนายน
 
                  กรกฎาคม                                                                                      
                         สิงหาคม
      
                         กันยายน
     
                    ตุลาคม                                                                            
                     พฤศจิกายน
    
                          ธันวาคม
      

เทคนิคการผจญเพลิง

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการผจญเพลิงที่สำคัญที่สุดก็คือ การเข้าถึงจุดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อช่วยผู้ที่อาจติดค้างอยู่ภายในอาคาร และป้องกันการติดต่อลุกลามให้ได้ผล
       เจ้าหน้าที่ดับเพลิงผู้ปฏิบัติ นอกจากจะเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติการเป็นนักผจญเพลิงที่ดีแล้ว ยังจะต้องรู้จักใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ประจำตัว ประจำรถ และอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ จากรถกู้ภัย พร้อมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และทางเคมีของสิ่งที่ไหม้นั้นๆ ด้วย
       เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้ประสบการณ์ และความร้ายแรงของเพลิงที่กำลังลุกไหม้อยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฉีดน้ำด้วยความดันเพียงเพื่อให้น้ำถึงไฟ และหรือ ในบางกรณี เพื่อใช้น้ำที่มีความดันสูงพังทำลาย หรือฉีดให้ทะลุเข้าไปถึงเนื้อของสิ่งที่ไหม้ให้กระเด็นออก
หลักการดับเพลิงที่จะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ
    1. อย่าเพิ่งจัดการระบายอากาศ นอกจากจะมีหัวสูบพร้อมจะฉีดน้ำได้ทันที ที่เปิดหรือเจาะอาคารให้โล่งออก
    2. อย่าฉีดน้ำดับเพลิงพุ่งเข้าหากัน
    3. ให้ฟังคำสั่งของหัวหน้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ว่าหัวสูบสายใดจะทำการเข้า หรือ ถอนออก ไม่ใช่จะตลลงกันเอง และ
    4. คำสั่งต้องเป็นคำสั่ง 
                       

    เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการพังของอาคาร ซึ่งในบางครั้งไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าจะเกิดอันตรายเมื่อใด นอกเสียจากว่าใช้ความสังเกตที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตเท่านั้น และต้องระวังเกี่ยวกับ    - การเข้าไปในอาคารที่ยังไม่ได้ตัดกระแสไฟฟ้า
    - การฉีดน้ำผ่านสายไฟฟ้าแรงสูงที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
    - การระเบิดของก๊าซ น้ำมัน และสารไวไฟต่างๆ
    - การติดต่อลุกลามอย่างรวดเร็วของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ หรือ อากาศ
    - การระมัดระวังควันเพลิงที่เกิดจากการเผาไหม้ของสารเคมีที่เป็นพิษ
    - การระมัดระวังเกี่ยวกับ ภยันตรายที่อาจเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานที่มีการประกอบกิจการพิเศษขนาดใหญ่ ที่ใช้หม้อน้ำ สตีม และพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ
    - การรับน้ำหนักของน้ำที่ฉีดใช้ และวัสดุอุ้มน้ำ ซึ่งจะทำให้พื้นอาคารยุบพังลงมา
    - การรับน้ำหนักของบุคคลภายนอกที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยไม่ได้ร้องขอ
    - การใช้เครื่องจักรกลกู้ภัยโดยไม่รอบคอบ หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น
   - การพลัดตกลงในหลุมไฟบนพื้นที่อาคารในที่มือ
    - การเข้าไปในที่อับอากาศ
    - การหลงทางในอากาศที่ไม่คุ้นกับสถานที่
ฯลฯ

คลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE คืออะไร

|0 ความคิดเห็น
คลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE คืออะไร                     คลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อน ในวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วนไม่แจ่มใสสภาพอากาศเลวร้าย เมฆฝนก่อตัว ฝนตกหนักลมพัดแรง พื้นที่ชายฝั่ง จะมีแรงกด ยกระดับน้ำทะเลให้สูงกว่าปกติกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ ซัดจากทะเลเข้าหาชายฝั่งอย่างรวดเร็ว จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง จากข้อมูลในอดีตยังไม่เคยมีปรากฏการณ์ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาก่อน                 
                 
ดังนั้นกรุงเทพมหานครพร้อมรับมือกับคลื่นพายุซัดฝั่งเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมมาตรการเพื่อรับมือกับคลื่นพายุ ซัดฝั่ง (STORM SURGE) ไว้พร้อมแล้วโดยได้จัดเตรียมแผนปฏิบัติการทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลัง เกิดภัยพิบัติ แผนเตือนภัยและแผนการอพยพ ประชาชน รวมทั้งจัดให้มีการ ซักซ้อมแผนเตือนภัยและแผนอพยพอีกด้วย หากเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง กรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ล่วงหน้า 4-6 วันและกำหนดสีเพื่อ แสดงความรุนแรงในระดับต่าง ๆ คือ

       สีแดง : พื้นที่ที่จะเกิดภัยพิบัติรุนแรงมาก อาจมีคลื่นสูง 1-3 เมตร
       สีส้ม : พื้นที่ที่มีความรุนแรงน้อย อาจเกิดคลื่นสูง 0.2-1 เมตร ในขณะที่
       สีเหลือง และ สีเขียว จะแสดงถึงพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อย สามารถควบคุมและแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น
ซึ่งประชาชนจะสามารถติดตามสถานการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่
www.bangkok.go.th
                                                            
พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบฝั่งพระนคร
  • จากชายฝั่งถึงถนนสุขุมวิทสายเก่า (พื้นที่สีแดง)

  • จากถนนสุขุมวิทสายเก่า ถึงถนนบางนา-ตราด

  • (พื้นที่สีส้ม) และบางส่วนของเขตบางนา
    ฝั่งธนบุรี

  • จากชายฝั่งทะเลถึงคลองสนามชัย (พื้นที่สีแดง)

  • จากคลองสนามชัยถึงถนนพระรามสอง (พื้นที่สีส้ม)

  • พื้นที่เขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ บางส่วนของ เขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ

                       ก่อนเกิด STORM SURGE จะมีสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น การเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาและกรุงเทพมหานคร หรือสังเกตได้จากลักษณะอากาศที่จะค่อย ๆ เลวร้ายลงทำให้รู้ตัวล่วงหน้าได้หลายวันและอพยพได้ทัน

                   หากลองนึกภาพเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอดีต แน่นอนว่า ภาพของเหตุการณ์ไล่ตั้งแต่พายุแฮเรียต ในปีพ.ศ.2505 ที่ซัดแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช จนราบเป็นหน้ากลอง ถัดมาในปี พ.ศ.2532 มหาวิบัติพายุเกย์ ก็สร้างความเจ็บช้ำให้แก่ชาวบ้านหลายพื้นที่ใน จ.ชุมพร จนมาถึงช่วงปี พ.ศ.2540 พายุลินดา ก็ซัดซ้ำรอยเดิมใน จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพชรบุรี...
                   เหตุการณ์ทั้งหมดคงอยู่ในความทรงจำของคนไทยหลายคน กระทั่งล่าสุดในช่วงต้นปีที่ผ่านก็เกิดเหตุพิบัติภัยจากพายุนาร์กีสที่ถล่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า จนสร้างความเสียหายเกินคณานับ ซึ่งภาพเหตุการณ์ที่ไล่เรียงมานี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าล้วนแล้วเกิดขึ้นจากความรุนแรงของพายุที่พัดเข้าหาชายฝั่งในลักษณะที่เรียกว่า ‘Storm surge’
    Storm surge มหัตภัยร้ายเกินมองข้าม
                   นาวาเอก กตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้คำอธิบายว่า Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง

    คำถามก็คือ Storm surge มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการการเกิดสึนามิ หรือไม่?               นาวาเอก กตัญญู ชี้แจงว่า สิ่งที่คล้ายกัน คือ รูปแบบการเคลื่อนตัวที่เป็นเหมือนคลื่นขนาดใหญ่แล้วพัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ ลักษณะของการเกิด คือ สึนามิ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ซัดเข้าชายฝั่ง แต่กับ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ
                   ส่วนความเสียหายนั้น คิดว่า Storm surge จะเลวร้ายมากกว่า กล่าวคือ การเกิดสึนามิจะเกิดขึ้นวันไหนก็ได้ โดยท้องฟ้าอาจจะแจ่มใส อากาศเป็นปกติ เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทางฝั่งอันดามันของไทย แต่หากเป็น Storm surge จะเกิดขึ้นพร้อมกับพายุซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วนไม่แจ่มใส สภาพอากาศเลวร้าย มีการก่อตัวของเมฆฝน ฝนตกอย่างหนัก ลมพัดแรง บริเวณชายฝั่งเกิดคลื่นโถมกระแทกอย่างหนัก คลื่นในทะเลสูง แต่เมื่อศูนย์กลางของพายุเคลื่อนเข้ามาก็จะหอบเอาโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดเข้ามาอีกครั้ง ดังนั้น ความเสียหายจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ
                   “เมื่อ Storm surge เกิดมาพร้อมกับพายุโซนร้อน เพราะฉะนั้นเมื่อพายุเข้ามาเราก็จะเห็นสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น การเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และจากการสังเกตลักษณะอากาศที่จะค่อยๆ เลวร้ายลง ทำให้เรารู้ตัวล่วงหน้าหลายวันและสามารถหาทางอพยพได้ทัน แต่กับสึนามิอาจจะไม่รู้ได้เลย เพราะบางครั้งก็เกิดขึ้นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีสัญญาณบอกเหตุร้ายแต่อย่างใด แต่ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นในช่วงหลายปีมานี้ก็เป็นอะไรที่คาดเดา พยากรณ์ได้ยากเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเกิดภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศในทุกมุมโลกเกิดความแปรปรวน และยิ่งทวีความรุนแรงของเหตุการณ์ขึ้น สิ่งนี้จึงเรื่องที่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด” นาวาเอก กตัญญู ให้ภาพ

  • การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกข้อมือหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกข้อมือหัก
    สาเหตุ     เกิดจากการหกล้มเอามือยันพื้น

    อาการและอาการแสดง
         ปวด บวม และข้อมือผิดรูปทันที เคลื่อนไหวข้อมือไม่ได้ หรือเจ็บปวดมากเมื่อเคลื่อนไหว อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบจากปลายกระดูกที่ถูกัน ลักษณะข้อมือเหมือน "ส้อม" ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร
                                       กระดูกข้อมือหัก
                                                    ภาพที่ 11 กระดูกข้อมือหัก
    การปฐมพยาบาล
         1. ประคบน้ำแข็งทันที ประมาณ 15-20 นาที
         2. ดามมือไว้ด้วยแผ่นไม้ อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้น
         3. ห้อยแขน รีบส่งแพทย์ทันที
                                        การปฐมพยาบาลกระดูกข้อมือหัก
                                                       ภาพที่ 12 การปฐมพยาบาลกระดูกข้อมือหัก

    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกซี่โครงหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกซี่โครงหัก
    สาเหตุ     กระดูกซี่โครงหัก อาจเกิดจากการถูกตี ถูกชนหรือหกล้ม พวงมาลัยรถกระแทกหน้าอก ซึ่งแบ่งออกได้ 2 แบบด้วยกันคือ
              1. หักอย่างธรรมดา คือกระดูกหักแล้วไม่มีการทิ่มตำอวัยวะอื่นที่สำคัญ
              2. หักแล้วปลายที่หักนั้นทิ่มแทงอวัยวะภายใน เช่น ทิ่มทะลุเยื่อหุ้มปอด เนื้อปอด หัวใจ หรือหลอดเลือดเป็นเหตุให้มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น

    อาการและอาการแสดง
         1. หักอย่างธรรมดา จะมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่ถูกกระแทก และจะเจ็บอย่างมากเมื่อให้หายใจเข้าออกแรงๆ หรือเมื่อไอ หายใจจะมีลักษณะหายใจตื้นๆสั้นๆและถี่ๆ เพราะหายใจแรงๆ จะเจ็บอกมาก
         2. หักแล้วปลายที่หักทิ่มแทงอวัยวะภายในจะมีอาการรุนแรงขึ้น คือ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ซึ่งบ่งบอกถึงการตกเลือดภายใน ไอเป็นเลือด หายใจขัด หรือมีบาดแผลเปิดบริเวณหน้าอกเป็นปากแผลดูดขณะหายใจเข้า

    การปฐมพยาบาล
         ใช้ผ้าแถบยาว 3 ผืน (ผ้าสามเหลี่ยมพันให้เป็นแถบยาว) พันรอบทรวงอก แต่ละผืนกว้างประมาณ 4 นิ้ว ผืนที่หนึ่งวางตรงกลางใต้ราวนมเล็กน้อย แล้วผูกให้แน่นพอควรใต้รักแร้ข้างที่กระดูกซี่โครงไม่หัก ขณะผูกต้องบอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกเพื่อจะได้ไม่หลวมและหลุดออกง่าย
         ผืนที่สองและผืนที่สามวางเหนือและใต้ผืนที่หนึ่งแล้วผูกเช่นเดียวกัน ก่อนผูกผ้าทั้ง 3 ผืนควรหาผ้าพับตามยาววางใต้รักแร้ เพื่อรองรับปมผ้าที่ผูกและป้องกันปมผ้ากดเนื้อบริเวณใต้รักแร้
         ในรายหักแล้วมีอันตรายต่ออวัยวะภายใน อย่าผูกให้แน่นเกินไป เมื่อพันผ้าแล้วให้ ผู้บาดเจ็บนอนในเปลหามในท่านอนตะแคงทับทรวงอกข้างที่เจ็บ เพื่อให้ปอดข้างที่ดีทำหน้าที่ได้เต็มที่ (ถ้ากระดูกหักแล้วกระดูกซี่โครงแทงทะลุผิวหนังออกมา ผ้าผืนที่หนึ่งต้องพันทับลงไปตรงตำแหน่งที่กระดูกโผล่) หรืออาจใช้ พลาสเตอร์ชนิดเหนียวปิดยึดบริเวณกระดูกซี่โครง
                                       การเข้าเฝือกกระดูกซี่โครงหักการเข้าเฝือกกระดูกซี่โครงหัก
                                                           ภาพที่ 9 การเข้าเฝือกกระดูกซี่โครงหัก

                                                        การเใช้ผ้าพันยึดบริเวณซี่โครงที่หัก
                                                      ภาพที่ 10 การเใช้ผ้าพันยึดบริเวณซี่โครงที่หัก

    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกไหปลาร้าหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกไหปลาร้าหัก
    สาเหตุ     อาจเกิดจากการถูกตีที่ไหปลาร้า หรือหกล้มเอาไหปลาร้ากระแทกวัตถุของแข็ง หกล้มในท่ามือยันพื้นและแขนเหยียดตรง จะทำให้มีกระดูกไหปลาร้าหัก

    อาการและอาการแสดง
         บริเวณไหปลาร้าที่หักจะบวมและเจ็บปวด คลำพบรอยหักหรือปลายกระดูกที่หัก ถ้าจับกระดูกไหปลาร้าโยกดูจะพบเสียงกรอบแกรบ ยกแขนข้างนั้นไม่ได้ ผู้บาดเจ็บจะอยู่ในลักษณะหัวไหล่ตกและงุ้มมาข้างหน้า
                                      กระดูกไหปลาร้าหัก (ด้านซ้าย)
                                      ภาพที่ 6 กระดูกไหปลาร้าหัก (ด้านซ้าย)


    การปฐมพยาบาล

         วิธีที่ 1 ใช้ผ้าผืนโตๆ 2 ผืน ผืนหนึ่งทำเป็นผ้าคล้องคอให้ห้อยแขนข้างที่มีกระดูกไหปลาร้าหักนั้นเอาไว้ ให้ต้นแขนแนบกับทรวงอก แล้วใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งพันรอบใต้แขนนั้นอยู่ติดกับทรวงอก ใต้รักแร้ข้างดี โดยวิธีเช่นนี้จะเป็นการกันไม่ให้แขนข้างนั้นเคลื่อนไหว กระดูกไหปลาร้าที่หักจะได้อยู่นิ่ง
                                  วิธีการเข้าเฝือกกระดูกไหปลาร้าหักวิธีการเข้าเฝือกกระดูกไหปลาร้าหัก
                                        ภาพที่ 7 วิธีการเข้าเฝือกกระดูกไหปลาร้าหัก 


         วิธีที่ 2 ใช้วิธีพันผ้ายืดเป็นรูปเลขแปด บริเวณหัวไหล่ 
                                                การใช้ผ้ายืดพยุงกระดูกไหปลาร้าหัก
                                       ภาพที่ 8 การใช้ผ้ายืดพยุงกระดูกไหปลาร้าหัก


    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกขากรรไกรล่างหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกขากรรไกรล่างหัก

    สาเหตุ     อาจเกิดจากการถูกตี หกล้มคางกระแทกพื้น ถูกต่อยหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน

    อาการและอาการแสดง
         ปวดเมื่ออ้าปาก หรือหุบปาก และพูดลำบาก คางผิดรูป อาจมีเลือดและน้ำลายไหลออกจากปาก เหงือกฉีกเป็นแผล ฟันหักหรือโย้เย้ผิดรูป ฟันไม่สบกัน อาจมีแผลบริเวณคางหรือภายในช่องปาก

    การปฐมพยาบาล
         1.ค่อยๆ จับขากรรไกรทั้งสองหุบ เพื่อให้ขากรรไกรล่างที่หักยันขากรรไกรบนไว้ ใช้ผ้าประคองไว้ โดยผูกปลายผ้าแบบหูกระต่าย เพื่อจะได้แก้ออกง่ายเมื่อผู้ป่วยอาเจียน และจัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลักเลือด
         2. ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจากทางเดินหายใจอาจถูกปิดกั้นจากน้ำลาย เลือด หรือฟันที่หักหลุดเข้าหลอดลม และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
                                                                           การพันผ้าพยุงขากรรไกรล่างหัก
                                                                         ภาพที่ 5 การพันผ้าพยุงขากรรไกรล่างหัก

    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกเชิกกรานหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกเชิกกรานหัก


              กระดูกเชิงกรานหัก ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน และตกจากที่สูง ในรายผู้สูงอายุการหักของกระดูกชนิดนี้มีอันตรายมาก ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น มีการบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้ และอวัยวะสืบพันธ์

    อาการและอาการแสดง
         ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหลังจากได้รับอุบัติเหตุ มีอาการเคล็ดหรือรอยฟกช้ำบริเวณเชิงกราน ยกขาข้างที่กระดูกเชิงกรานหักไม่ได้ขณะนอนหงาย ขาและเท้าข้างที่หักจะแบะออกข้างๆและอาจจะสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาด้วย

    การปฐมพยาบาล
         1. เข้าเฝือกชั่วคราวป้องกันไม่ให้บริเวณกระดูกเชิงกรานเคลื่อนไหว ด้วยการวางผ้านุ่มๆ ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันไขว้กันเป็นเลข 8 บริเวณเท้าและพันเข่าทั้ง 2 ข้างให้ชิดกัน
         2. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ในท่านอนหงาย
                                       การเข้าเฝือกกระดูกเชิงกรานหัก                                                                       ภาพที่ 4 การเข้าเฝือกกระดูกเชิงกรานหัก

    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก

    |0 ความคิดเห็น
    การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก

    กระดูกหัก หมายถึง ภาวะที่ส่วนประกอบของกระดูกแตกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรืออาจมีบางส่วนติดกันอยู่บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแรงที่มากระแทกต่อกระดูก ทำให้แนวการหักของกระดูกแตกต่างกัน

    ชนิดของกระดูกหัก
         โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระดูกหักชนิดปิด (closed fracture) และกระดูกหักชนิดเปิด (opened fracture) ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกต
              1. กระดูกหักชนิดปิด คือกระดูกหักแล้วไม่ทะลุผิวหนังและไม่มีบาดแผลบนผิวหนังตรงบริเวณที่หัก

                                           กระดูกหักชนิดปิด
                                                                 ภาพที่ 2
    กระดูกหักชนิดปิด

              2. กระดูกหักชนิดเปิด คือกระดูกหักแล้วทิ่มแทงทะลุผิวหนัง ทำให้มีแผลตรงบริเวณที่กระดูกหัก โดยอาจไม่มีกระดูกโผล่ออกมานอกผิวหนังก็ได้ แต่มีแผลเห็นได้ชัดเจน


                                          กระดูกหักชนิดเปิด
                                          กระดูกหักชนิดเปิด
                                                    
    ภาพที่ 3 กระดูกหักชนิดเปิด

    กระดูกส่วนต่างๆ ที่พบการแตกหักได้
         1. กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture)
         2. กระดูกกระโหลกศีรษะแตก (Skull fracture)
         3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
         4. กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
         5. กระดูกซี่โครงหัก (Ribs fracture)
         6. กระดูกข้อมือหัก (Colle' s fracture)
         7. กระดูกต้นแขนหัก
         8. กระดูกสันหลังหัก (Spinal fracture)
    หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก     1. การซักประวัติ จะต้องซักประวัติเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ เพื่อให้ทราบว่าเกิดได้อย่างไร ในท่าใด ระยะเวลาที่เกิด เพื่อประเมินความรุนแรงของแรงที่มากระทำ และตำแหน่งของกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ
         2. ตรวจร่างกาย โดยตรวจทั้งตัว และสนใจต่อส่วนที่ได้รับอันตรายมากก่อน โดยถอดเสื้อผ้าออก การถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง เพราะจะทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้นแล้วสังเกตอาการและอาการแสดงว่ามีการบวม รอยฟกช้ำ หรือ จ้ำเลือด บาดแผล ความพิการผิดรูป และคลำอย่างนุ่มนวล ถ้ามีการบวมและชามากให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขาทั้งสองข้าง ตรวจระดับความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงสีผิว การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน หรือทะลุออกมานอกผิวหนัง ขณะตรวจร่างกาย ต้องดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ประเมินการหายใจและการไหลเวียนของเลือด สังเกตการตกเลือด ถ้ามีต้องห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการห้ามเลือดแบบขันชะเนาะ เพราะถ้ารัดแน่นเกินไป อาจจะทำให้เลือดแดงไปเลี้ยงส่วนปลายไม่พอ ถ้ามีบาดแผลต้องตกแต่งแผลและพันแผล ในรายที่มีกระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดไว้ แล้วพันทับ ห้ามดึงกระดูกให้เข้าที่
         3. การเข้าเฝือกชั่วคราว การดามบริเวณที่หักด้วยเฝือกชั่วคราวให้ถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยให้บริเวณที่หักอยู่นิ่ง ลดความเจ็บปวด และไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์พับให้หนา หมอน ร่ม ไม้กดลิ้น กระดาน เสา ฯลฯ รวมทั้งผ้าและเชือกสำหรับพันรัดด้วยไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจนกว่าจะเข้าเฝือกชั่วคราวให้เรียบร้อยก่อน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย ให้ใช้แขนหรือขาข้างที่ไม่หักหรือลำตัวเป็นเฝือกชั่วคราว โดยผูกยึดให้ดีก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
         4. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เพื่อเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่มีอันตรายไปสู่ที่ปลอดภัยหรือโรงพยาบาล การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความพิการและอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

    หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว
         1.วัสดุที่ใช้ดามต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก โดยเฉพาะจะต้องยาวพอที่จะบังคับข้อต่อที่อยู่เหนือและใต้ บริเวณที่สงสัยว่ากระดูกหัก เช่น ขาท่อนล่างหัก ข้อเข่าและข้อเท้าจะต้องถูกบังคับไว้ด้วยเฝือก เป็นต้น
         2. ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีสิ่งอื่นรอง เช่น ผ้า หรือ สำลีวางไว้ตลอดแนวเฝือก เพื่อไม่ให้เฝือกกดลงบนบริเวณผิวหนังโดยตรง ซึ่งทำให้เจ็บปวดและเกิดเป็นแผลจากเฝือกกดได้
         3.มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร ถ้ารัดแน่นจนเกินไปจะกดผิวหนังทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกเป็นอันตรายได้ โดยระวังอย่าให้ปมเชือกกดแผล จะเพิ่มความเจ็บปวดและเนื้อเยื่อได้รับอันตราย และคอยตรวจบริเวณที่หักเป็นระยะๆ เพราะอาจจะมีการบวม ซึ่งจะต้องคลายเชือกที่ผูกให้แน่นน้อยลง
         4.บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สุขสบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่ากระดูกที่หักจะโค้ง โก่ง หรือ คด ก็ควรเข้าเฝือกในท่าที่เป็นอยู่

    การหายของกระดูก
         เมื่อกระดูกหัก โดยมากมักทำให้เยื่อหุ้มกระดูกและเนื้อเยื่ออื่นๆ ฉีกขาดไปด้วย จึงทำให้บริเวณที่หักมีการอักเสบขึ้น เลือดจะมาสู่ส่วนนั้นมากขึ้น ต่อมาจะเกิดเป็นกระดูกใหม่ขึ้น เรียกว่า callus ซึ่งจะเชื่อมปลายกระดูกทั้งสองข้างให้ติดกัน แล้วเซลล์สร้างกระดูกจากเยื่อหุ้มกระดูก และแคลเซียมก็จะมาสะสมกันทำให้ callus แข็งขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นกระดูกปกติ ซึ่งการเชื่อมของกระดูกจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ขึ้นกับอายุของผู้บาดเจ็บ ลักษณะการหักของกระดูก ชนิดและตำแหน่งของกระดูกที่หัก และกระดูกที่จำกัดการเคลื่อนไหวที่ดี