วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการถ่ายภาพพลุ

|0 ความคิดเห็น

หลักการถ่ายภาพพลุ

1. ต้องรู้เวลาสถาณที่และความสูงของพลุที่จะจุด  จากนั้นเลือกสถาณที่และบริเวณที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพควรเตรียมอุปกรณ์กันฝนด้วยหากเป็นหน้าฝนและยาทากันยุงบางกรณีสถาณที่นั้นอาจมียุง
2. เลือกฉากที่ประกฏให้ดี ถ้าทำได้ควรตรวจดูสถาณที่จุด บริเวณโดยรอบเพื่อให้ทำเลที่เหมาะสมและมีฉากหลังที่สวยที่สุดเทาที่จะทำได้จัดองค์ประกอบให้น่าสนใจ
3.ความละเอียดของกล้องที่ใช้ควรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีแบตเต์รืรี่สำรองและตัวเก็บข้อมูล(memmory card)ให้มากพอเพราะเวลาที่ใช้ในการจุดพลุมักจะไม่นานประมาณ 15-30 นาที ดังนั้นต้องให้มีความพร้อมที่สุด
4. ตั้งค่า ISO 100 ม่น่าเกิน 200 เพื่อให้มีจุดรบกวน(niose)ในภาพน้อยที่สุด ทำให้ได้ภาพคมชัด
5. White Balance ควรอยู่ที่Sunlight หรือ Daylight นอกจากภาพที่เป็น RAW สามารถแก้ไขได้เองในภายหลัง
6.ตั้งค่ารูรับแสงที่ประมาณ F8-F11 เพื่อให้ความชัดลึกที่เหมาะสม หากอยู่ไกลบริเวณที่จุดมาก ก็สามารถตั้งF11 ได้ ให้ตั้งระยะโฟกัสไว้ที่ infinity และตั้งค่าโฟกัสเป็นแบบ Manual
7. ความเร็วในการถ่ายภาพประมาณ 1-2 วินาที หากต้องการภาพที่ดีความตั้ง Shutter B แล้วใช้ผ้าสีดำปิดเป็นระยะๆเพื่อป้องกันแสงเข้ามากเกินไป กรณีที่ใช้Shutter B และผ้าสีดำปิดเป็นระยะก็สามารถถ่ายได้นานขึ้น อาจเป็น 10-15 วินาที แต่ต้องระวังไม่ให้กล้องสั่นขณะปิดผ้าคลุมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่น Shutter และไม่ควรเปิดหน้ากล้องนานไปพลุจะกลายเป้นดวงไฟทำให้ไม่สวย
8. เทคนิคสำคัญคือ หากไม่ได้เก็บภาพระยะไกล ภาพอาจล้นจอได้ ดังนั้นควรมองจอภาพตลอดเวลาแล้วลั่น Shutter ก่อนที่พลุจะล้นออกไปนอกจอ ทำให้ได้ภาพพลุเต็มดวงและไม่หลุดเฟรม
9.จังหวะที่เหมาะสมคือ จังหวะที่พลุขึ้นไปสูงสุดก่อนจะแตกกระจายออกให้รีบกด Shutter บันทึกภาพ

อุปกรณ์สามชิ้นที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อภาพที่คมชัด

|0 ความคิดเห็น

อุปกรณ์สามชิ้นที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อภาพที่คมชัด

1. ขาตั้งกล้อง TRIPOD

การถ่ายภาพใต้สภาพแสงน้องจำเป็นต้องใช้ค่าความไวชัตเตอร์ต่ำดังนั้นขาตั้งกล้องจึงมีความสำคัญหากคุณต้องการให้ภาพถ่ายยามค่ำคืนของคุณมีความคมชัด ให้คุณเลือกซื้อขาตั้งที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะจ่ายได้
2.สายลั่นชัตเตอร์ REMOTE  SHUTTER
ระบบตั้งเวลาในกล้องของคุณอาจจะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆไป (เพื่อลดการสั่นไหว)หรือก่อให้เกิดความเบลอ) แต่สายลั่นชัตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการบันทึกค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานของเส้นไฟจราจร
3.เลนส์ฮูด LENS HOOD

เลนส์ฮูดจะช่วยลดแสงแฟลร์ที่เกิดจากแสงสว่างจากด้านข้างที่ตกลงสู่เซ็นเซอรืโดยที่คุณไม่ต้องการ แต่ในการถ่ายภาพในฤดูฝนมันยังช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝนตกลงบนหน้าเลนส์ของคุณได้เช่นกัน

หลักการถ่ายภาพพลุ

|0 ความคิดเห็น

หลักการถ่ายภาพพลุ


1. ต้องรู้เวลาสถาณที่และความสูงของพลุที่จะจุด  จากนั้นเลือกสถาณที่และบริเวณที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพควรเตรียมอุปกรณ์กันฝนด้วยหากเป็นหน้าฝนและยาทากันยุงบางกรณีสถาณที่นั้นอาจมียุง
2. เลือกฉากที่ประกฏให้ดี ถ้าทำได้ควรตรวจดูสถาณที่จุด บริเวณโดยรอบเพื่อให้ทำเลที่เหมาะสมและมีฉากหลังที่สวยที่สุดเทาที่จะทำได้จัดองค์ประกอบให้น่าสนใจ
3.ความละเอียดของกล้องที่ใช้ควรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีแบตเต์รืรี่สำรองและตัวเก็บข้อมูล(memmory card)ให้มากพอเพราะเวลาที่ใช้ในการจุดพลุมักจะไม่นานประมาณ 15-30 นาที ดังนั้นต้องให้มีความพร้อมที่สุด
4. ตั้งค่า ISO 100 ม่น่าเกิน 200 เพื่อให้มีจุดรบกวน(niose)ในภาพน้อยที่สุด ทำให้ได้ภาพคมชัด
5. White Balance ควรอยู่ที่Sunlight หรือ Daylight นอกจากภาพที่เป็น RAW สามารถแก้ไขได้เองในภายหลัง
6.ตั้งค่ารูรับแสงที่ประมาณ F8-F11 เพื่อให้ความชัดลึกที่เหมาะสม หากอยู่ไกลบริเวณที่จุดมาก ก็สามารถตั้งF11 ได้ ให้ตั้งระยะโฟกัสไว้ที่ infinity และตั้งค่าโฟกัสเป็นแบบ Manual
7. ความเร็วในการถ่ายภาพประมาณ 1-2 วินาที หากต้องการภาพที่ดีความตั้ง Shutter B แล้วใช้ผ้าสีดำปิดเป็นระยะๆเพื่อป้องกันแสงเข้ามากเกินไป กรณีที่ใช้Shutter B และผ้าสีดำปิดเป็นระยะก็สามารถถ่ายได้นานขึ้น อาจเป็น 10-15 วินาที แต่ต้องระวังไม่ให้กล้องสั่นขณะปิดผ้าคลุมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่น Shutter และไม่ควรเปิดหน้ากล้องนานไปพลุจะกลายเป้นดวงไฟทำให้ไม่สวย
8. เทคนิคสำคัญคือ หากไม่ได้เก็บภาพระยะไกล ภาพอาจล้นจอได้ ดังนั้นควรมองจอภาพตลอดเวลาแล้วลั่น Shutter ก่อนที่พลุจะล้นออกไปนอกจอ ทำให้ได้ภาพพลุเต็มดวงและไม่หลุดเฟรม
9.จังหวะที่เหมาะสมคือ จังหวะที่พลุขึ้นไปสูงสุดก่อนจะแตกกระจายออกให้รีบกด Shutter บันทึกภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆที่ควรรู้จัก

|0 ความคิดเห็น

เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆที่ควรรู้จัก


เทคนิคการถ่ายภาพมีมากมายตัวอย่าง เช่น
1.การถ่ายภาพบุคคล
-ใช้รูรับแสงกว้างสุดหากต้องการฉากหลังเบลอและระยะเทเลสูงๆ(แต่พองาม)
-ใช้สีสันให้นุ่มนวลไม่แรงไปลดค่าความเปรียบต่างลงด้วย
-จัดองค์ประกอบภาพให้ดีระวังมือของแบบ
-หากภาพหมู่มีมากว่า 2-3 คนดูระยะชัดลึกด้วยว่าครอบคลุมหรือไม่
-แสงและเงาช่วยให้ภาพคนมีมิติ ไม่แบนเลนส์เทเลมากๆหน้าอาจแบนได้
2.การถ่ายภาพเด็ก
-เหมือนกับถ่ายภาพบุคคล
-ไม่ควรใช้แฟลช
-หาอะไรให้เด็กสนใจรอจังหวะ
3.การถ่ายภาพดอกไม้และแมลง
-เปิดโหมดมาโครเสมอ
-ระยะชัดลึกพอประมาณ หากแคบไปอาจไม่สวย
-ปรบสีสันให้โดดเด่น
-เพิ่มหยดน้ำก็จะดูดี
-ฉากหลังที่สวยงาม
5.การถ่ายภาพวิว
-รูรับแสงแคบที่สุดเพื่อให้เกิดความชัดลึก
-ควรมีฉากหน้าประกอบเพื่อเพิ่มมิติของชอบ
-ควรถ่ายในช่วง wide
-เพิ่มความเข้มสีสัน
-ใช้ฟิลเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ภาพ
6.การถ่ายภาพตะวันตกดิน
-ใช้เทคนิคเดียวกับภาพวิวได้แต่ให้เพิ่มเติมคือ
-ถ่ายภาพด้วย white balance ShadeหรือCloudy
-ลดแสงลง 1-2 stop
-ถ้าจำเป็นใช้ BKT
-อย่าเพิ่งเลิกแม้ตะวันลับฟ้าแล้ว
-ลดความเปรียบต่างลเพื่อให้รายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างมากขึ้น
7.การถ่ายภาพกลางคืน
- ต้องไม่ลืมขาตั้งกล้อง tripod
-เปิดหน้ากล้องให้นานเพียงพอที่จะเห็นแสงได้ชัดเจน
-ลดความเปรียบต่างลเพื่อให้รายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างมากขึ้น
8.การถ่ายภาพ Action เคลื่อนไหวเร็วๆ
-ใช้ระบบ AF C เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว
-ใช้วิธีการ Paning ช่วย
9.การถ่ายภาพสัตว์
-ควรมีเลนส์ Tele
-จังหวะสำคัญมาก
-ดูฉากหน้าฉากหลังหากมีกรงให้ทำให้เบลอ
10.การถ่ายภาพโลกใต้น้ำ
-เอียงกล้องให้ถูก
-แนบกล้องไกล้กับกระจก
-ใช้Slow sync
11.การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
-จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้เลนส์ Wide
-แฟลชก็สามารถช่วยได้
12.ซูมภาพขณะถ่ายรูป
-ตั้งกล้องให้มั่นคงที่สุดก่อน
-ตั้งเวลาให้เหมาะสมกับการหมุนซูม
-กดชัตเตอร์แล้วหมุนเลนส์ระวังอย่าให้สั่น
13.สุดท้ายอย่าลืมถ่ายภาพตามใจฉันบ้างไม่ต้องสนใจกฏขอให้สวยก็โอเค
-แหกกฏถ่ายภาพบ้างอาจจะได้อะไรดีๆมากมาย
***สิ่งที่ควรทราบคือการตั้งค่าบางอย่างอาจทำให้ระบบบางอย่างใช้งานไม่ได้***

เทคนิคการเลือกซื้อฟิลเตอร์ UV

|0 ความคิดเห็น
เทคนิคการเลือกซื้อฟิลเตอร์ UV


ฟิลเตอร์ UV ถือเป็นฟิลเตอร์ที่มีการใช้งานมากที่สุด ซึ่งคนส่วนใหญ่ เข้าใจว่า มีหน้าที่ไว้คอยปกป้องไม่ให้เลนส์เป็นรอย  แต่จริงๆ แล้ว นั่นเป็นเพียงผลพลอยได้  เพราะประโยชน์ที่แท้จริงของฟิลเตอร์ UV นั้น คือ ทำให้ภาพถ่ายมีสีสันใกล้เคียงกับที่ตาเห็นมากที่สุด (จะเห็นได้ชัดจากกล้องฟิล์ม) นอกจากนี้ การเลือกเกรดฟิลเตอร์ UV นั้นยังมีผลโดยตรงต่อภาพ หากเลือกไม่ดีจะบั่นทอนคุณภาพเลนส์ ส่งผลต่อคุณภาพภาพ สีผิดเพี้ยน เกิดแฟลร์  ซึ่งหากจะเปรียบเลนส์เป็นดวงตา ฟิลเตอร์ UV ก็เหมือนกัแว่นตา  ซึ่งเลนส์แว่นตาก็มีหลายเกรด ถ้าดีหน่อยก็ย่อมจะใสปิ้งมองชัดเจน ถ้างบประมาณน้อยหน่อยก็อาจจะมัว เวียนหัวปวดตา  การเลือกฟิลเตอร์ UV ที่ถูกต้องนั้น จึงต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์และความเหมาะสม ซึ่งแน่นอน ฟิลเตอร์ UV แพงๆ มักจะทำให้การใช้เลนส์ให้มีคุณภาพสูงสุดที่เลนส์ทำได้ โดยไม่บั่นทอนภาพให้คุณภาพต่ำลง   
 
 
แล้วต้องเลือกอย่างไรถึงจะเหมาะสม  และเนื่องจากฟิลเตอร์ UV มีหลายเกรด ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับฟิวเตอร์ UV กันก่อน
 
 
มารู้จักฟิวเตอร์ UV กันก่อน
 
 
ฟิลเตอร์ UV เป็นฟิลเตอร์ที่มีความสามารถในการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะช่วยให้ภาพที่ได้มีสีสันใกล้เคียงตาเห็นมากขึ้น เนื่องจากฟิลเตอร์ UV จะไปลดแสงสีฟ้า ที่เกิดจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตออกไป จะเห็นชัดในภาพที่ถ่ายจากฟิล์ม ดิจิตอลก็จะเห็นได้บ้าง ช่างภาพส่วนใหญ่จึงมักจะนิยมซื้อหามาติดหน้าเลนส์อยู่เสมอ และยังมีผลพลอยได้ในการปกป้องหน้าเลนส์ไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนอีกด้วย
 
 
ฟิลเตอร์ UV ที่มีขายในบ้านเรามีหลากแบบ หลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงสามถึงสี่พันบาท ซึ่งคุณภาพชิ้นแก้ว และวัสดุที่ใช้ในการผลิต ย่อมแตกต่างกันไปตามราคา ซึ่งความแตกต่างของวัสดุตรงนี้ โดยเฉพาะชิ้นแก้ว จะส่งผลกระทบกับภาพที่ได้ แบบเห็นค่อนข้างชัดเจน อย่างเช่นการเกิดแฟลร์ในภาพ (จำนวนแฟลร์จะมากน้อยขึ้นกับแฟลร์พื้นฐานของเลนส์ด้วย) สีสันของภาพถูกลดทอนลง
 
 
โดยการวัดคุณภาพของฟิลเตอร์ UV นั้น จะวัดกันที่ความสามารถในการให้แสงผ่านเป็นหลัก ส่วนเรื่องความทนทานของกรอบฟิลเตอร์ หรือเกลียว ถือเป็นปัจจัยรองลงมา
 
แล้วจะเลือกซื้อฟิลเตอร์ UV อย่างไร
 
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า ฟิลเตอร์ UV ที่ดีดูอย่างไร  วิธีสังเกตง่ายๆ คือให้ดูจากแสงสะท้อน หากสะท้อนมากคุณภาพยิ่งไม่ดี และเนื่องจากราคาที่ถูก จึงจำเป็นต้องลดต้นทุนของกรอบฟิลเตอร์ลง ทำให้ใช้โลหะคุณภาพต่ำในการผลิต เวลาใช้งานจึงมีปัญหาปีนเกลียว  เกลียวหวาน หรือปิดฝาไม่ได้
 
 
ถ้าจะแยกประเภทให้แห็นชัดเจน ฟิลเตอร์ UV ในเมืองไทย พอจะแยกประเภทได้คร่าวๆ ตามคุณภาพได้ดังนี้
ฟิลเตอร์ UV ประเภทแรก (คุณภาพต่ำสุด แสงสะท้อนมากสุด)
 
ฟิลเตอร์ราคาประหยัด (ส่วนใหญ่เป็นของแถม) ดูได้จากราคาในหลักร้อยบาท อย่างเช่น Hoya UV, Digitex, Marumi กล่องเหลือง, Kenko , Giottos  type Aฯลฯ มักจะใช้ทรายอุตสาหกรรมในการผลิตแก้ว หรือเทียบง่ายๆ กับกระจกใสที่ติดตามบ้านทั่วไป ซึ่งถ้ามองตรงๆ จะพบว่ามีแสงเงาสะท้อนขาวๆ ยิ่งถ้าฟิลเตอร์ UV ยี่ห้อไหนมีแสงสะท้อนกลับมาก อาจทำให้ผู้ใช้งานพาลคิดว่า เลนส์ไม่ดี  กล้องไม่ดี ต้องเสียเงินเปลี่ยนกล้องเปลี่ยนเลนส์กันเลยทีเดียว   
 
 
ฟิลเตอร์ UV ประเภทที่สอง (คุณภาพดีปานกลาง)
 
 
ฟิลเตอร์ UV ระดับกลาง ราคาประหยัด เช่น Hoya UV HMC, Marumi กล่องแดง, Sigma DG UV , Giottos  type S ที่กระจกฟิลเตอร์มีการเคลือบผิวพิเศษ หรือที่เรียกกันว่าโค๊ท (Coated) ซึ่งมีทั้งเคลือบมาก เคลือบน้อย ตามระดับราคาของฟิลเตอร์ ซึ่งโค๊ทจะช่วยเพิ่มความสามารถในการให้แสงผ่านของชิ้นแก้ว บางยี่ห้อก็สีฟ้า เขียว เหลือง แล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิต และความสามารถในการให้แสงผ่านก็ต่างกันตามผู้ผลิตด้วย แต่ฟิวเตอร์ UV ชนิดนี้ก็มีข้อเสียการดูแลรักษาค่อนข้างลำบาก  เนื่องจากการเคลือบชิ้นแก้วจะเหมือนมีฟิล์มแผ่นบางๆ ติดอยู่บนผิวของแก้ว ซึ่งถ้าทำความสะอาดไม่ดี หรือมีอะไรไปกระทบ โอกาสที่โค๊ทจะหลุดสูง ซึ่งถ้าหลุดไปแล้ว รูที่แหว่งนั้นจะทำให้เกิดความไม่เท่ากันของแสง ทำให้โอกาสเกิดแฟลร์เป็นจ้ำๆ สูงกว่าฟิลเตอร์ UV ราคาถูกเสียอีก
 
 
 
ฟิลเตอร์ UV ในระดับนี้อย่างดีจะเป็นพวก Canon Protected, Nikon NC, Sigma UV EX, Hoya UV Pro I, Marumi กล่องทอง, Kenko Pro 1 D โดย 2 ยี่ห้อแรกจะใช้วัสดุคุณภาพสูงกว่า 4 ยี่ห้อหลัง (จริงๆ แล้วฟิลเตอร์ของ Canon กับ Nikon ความใสของเนื้อกระจกดีเท่ากับ B+W กับ Rodenstock ด้วยซ้ำ เพียงแต่ว่าใช้งานมาซัก 5 ปี ความใสกระจกเริ่มเปลี่ยน เลยจัดมาอยู่ตรงนี้แทน และทั้ง 2 ตัวก็ไม่จัดว่าเป็น UV แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาใกล้เคียงกัน ส่วนถ้าใครใช้ยี่ห้อ Hoya UV Pro I หรือคล้ายๆ แบบนี้แนะนำว่าเวลาเช็ดให้ระวังมากๆ เพราะถ้าโค๊ทหลุดก็คงต้องเสียเงินเปลี่ยนฟิลเตอร์ใหม่กันเลย
 
ฟิลเตอร์ UV ประเภทที่สาม (คุณภาพดี)
 
 
ฟิลเตอร์เยอรมัน แบบไม่โค้ท จัดเป็นฟิลเตอร์ระดับกลางอีกแบบ ฟิลเตอร์ประเภทนี้ใช้วัสดุในการผลิตคุณภาพสูง แต่ไม่มีการเคลือบผิวเลนส์ หรือเคลือบน้อยชั้น เนื่องจากชิ้นแก้ว เป็นชิ้นแก้วที่ผลิตจากทรายสำหรับทำเลนส์โดยเฉพาะ ซึ่งมีค่าความใสสูงกว่ากระจกแบบธรรมดาทั่วไป ความสามารถในการให้แสงผ่านเท่ากันกับฟิลเตอร์ UV ประเภทที่สอง แต่การดูแลรักษาง่ายกว่าเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องโค๊ทมากนัก (อายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป) กรอบฟิลเตอร์ UV ชนิดนี้ ทำจากเหล็กกล้าหรือทองเหลืองอย่างดี จะราคาสูงกว่าฟิลเตอร์ UV ประเภทที่สองนิดหน่อย เช่น  B+W (Schneider) UV (ไม่มีโค๊ท แต่เนื้อแก้วใสมาก), กับ Rodenstock UV Coated (โค๊ทออกสีน้ำเงินฟ้า) ฟิลเตอร์ UV ประเภทนี้ความทนทานสูง ใช้งานได้ประมาณ 10 ปีสบายๆ ไม่มีปีนเกลียว แต่ระวังขันแน่นเกินไป ถ้าขันแน่นมากๆ จะเข้าไปเกาะจนขันแทบไม่ออก ตอนใช้ฟิลเตอร์ UV พวกนี้แรกๆ นึกในใจว่าซื้อมาแพงยังจะปีนเกลียวอีก ที่ไหนได้ พอใจเย็นๆ ค่อยๆ  ขันก็ออกมาได้โดยไม่เสียรูปและเกลียวยังสมบูรณ์
 
ฟิลเตอร์ UV ประเภทที่ สี่ ฟิลเตอร์ไฮโซ
 
 
ฟิลเตอร์ UV แบบนี้ดีที่สุด โดยการนำฟิลเตอร์ประเภทที่สาม มาเคลือบโค๊ทเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้แสงผ่านได้สูงที่สุด ราคาสูงที่สุด ความสามารถในการให้แสงผ่านเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ฟิลเตอร์ชนิดนี้ ถ้าใส่ไปที่หน้าเลนส์แล้ว มองตรงเข้าไปจะต้องมองไม่เห็นกระจกฟิลเตอร์เลย หรือเห็นน้อยมาก ทำให้รีดความสามารถของเลนส์ได้สูงที่สุด เท่าที่เคยเห็นในตลาดบ้านเรามี B+W UV MRC, Rodenstock UV MRC ครับ (สีของโค๊ทขึ้นกับขนาดหน้ากว้างฟิลเตอร์ หน้า 77 มม. จะเป็นน้ำเงินม่วง แต่ถ้าเป็น 52 มม. จะเป็นสีเหลืองอมเขียว) หากมองตรงๆ จะแทบมองไม่เห็นเนื้อกระจก
 
หลังจากทราบประเภทและเกรดของฟิลเตอร์ UV ไปแล้ว ทีนี้เราก็สามารถเลือกฟิลเตอร์ UV ที่เหมาะสมสำหรับเลนส์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกณฑ์ราคาฟิลเตอร์ UV ที่เหมาะสม จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1 ใน 10 ของราคาเลนส์ แต่ถ้าตั้งใจจะใช้เป็นการถาวร หรือใช้งานนานๆ งบประมาณไม่จำกัด ก็สามารถซื้อแบบดีที่สุดไปเลยก็ได้ เพราะมันจะมีผลกับภาพที่เราจะถ่ายต่อไปในอนาคต ฟิลเตอร์ญี่ปุ่นกับเยอรมันสังเกตง่ายๆ โดยฟิลเตอร์ญี่ปุ่นเน้นราคาถูก ขายง่าย เปลี่ยนบ่อยๆ ส่วนฟิลเตอร์เยอรมันจะเน้นคุณภาพสูง ขายแพง แต่ใช้นาน ดังนั้นจะเลือกฟิวเตอร์แบบไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จะซื้อฟิลเตอร์ UV เยอรมัน โค๊ทผิวดีสุดๆใสสุดๆ ไปใส่กับเลนส์คิท ที่ราคาเกือบเท่ากับฟิลเตอร์  อย่างนั้นสู้ไม่ใส่ฟิลเตอร์ พอพังก็ซื้อเลนส์ใหม่ยังดีกว่า หรือซื้อเลนส์เกรดดีๆ ตัวละหลายหมื่น มาใส่ฟิวเตอร์ UV อันละไม่กี่ร้อยบาท ภาพที่ออกมาแทนที่จะดีเท่าราคาเลนส์ที่จ่ายไป กลับถูกทอนคุณภาพด้วยฟิลเตอร์ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เสียของเปล่าๆ ค่ะ*
 
 
สรุป เทคนิคการเลือกซื้อฟิลเตอร์ UV
 
 
1. ราคาฟิลเตอร์ UV ต้องเหมาะสมกับราคาเลนส์ (ประมาณ 1 ใน 10 ของราคาเลนส์ )
2. ฟิลเตอร์เยอรมัน อายุการใช้งานทนทานกว่าฟิลเตอร์ญี่ปุ่น 2 เท่า ( 10 ปี UP)
3. คิดเสมอว่า การใส่ฟิลเตอร์ UV ก็เหมือนการประกอบเลนส์อีกชิ้น ดังนั้นฟิลเตอร์ UV มีผลต่อภาพ แต่ถ้าหากอยากได้ภาพที่รีดคุณภาพของเลนส์มากที่สุด แนะนำให้ถอดฟิลเตอร์
4. หากคิดจะซื้อราคา 100-200 มาใส่ แนะนำว่า ไม่ใส่จะดีกว่า
5. ถ้าคุณมีเงินเหลือเฟือ หรือหากินกับการถ่ายภาพ แนะนำให้ซื้อดีที่สุด รับประกันว่าง่ายต่อการทำงาน และคุ้มค่าเรื่องอายุการใช้งาน
 

เก็บกล้องอย่างไร ไม่ให้จากไปก่อนวัยอันควร

|0 ความคิดเห็น
เก็บกล้องอย่างไร ไม่ให้จากไปก่อนวัยอันควร


อย่างแรก เก็บกล้องยิ่งแห้งเท่าไรยิ่งดี ใส่เข้าไปไอ้เจ้าซิลิก้าเจล เอาให้แห้งสุดๆๆๆ

อันนี้เป็น ประสบการณ์ตรง จากคนรอบข้าง ท่านผู้อ่านที่ไปซื้อกล้องทัพเปอร์แวย์ กับซิลิก้าเจลเป็นถุงๆมาอัดลงในกล่อง เพราะมีความเชื่อว่า ซิลิก้าเจลซึ่งมีประสิทธิภาพดูดความชื้น ยิ่งใส่มากยิ่งดี บางคนอาจคิดขนาดว่า มันคือ ปุ๋ย บำรุงกล้องกันเลยทีเดียว  (เคยเห็นเบางคนเอาเม็ดๆ เทลงไปให้อุปกรณ์เหมือนใส่ปุ๋ยจริงๆนะ) อันที่จริงแล้วมันดีมากดีที่เลนส์ กล้อง และอุปกรณ์ดิจิตอลของเราจะไม่เป็นรา แต่อะไรต่างๆที่เป็นยางจะแห้งกรอบหมด สังเกตอาการเริ่มแรกได้จาก ยางที่กริ๊ปจับเริ่มแข็ง อายคัพเริ่มกรอบ หากเยียวยาไม่ทันคงถึงขั้นต้องเปลี่ยนกล้องใหม่ สรุป เป็นรายังล้างได้ แต่โค้ทหลุดนิดหน่อย แต่ยางกรอบเนี่ย ซ่อมแพงกว่าล้างอีก อาจถึงขั้นต้องเสียตังค์ซื้อใหม่
วิธีแก้ก็ไม่ อยาก หากต้องการทำกล่องดูดความชื้นใช้เอง ก็แค่ต้องไปซื้อไอโกรมิเตอร์มาวัด ควบคุมให้อยู่ความชิ้นสัมพัทธ์ 35 -55 เพราะทุกอย่างต้องการความพอดี ดังที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เรื่องทางสายกลาง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียน แต่ที่มีแน่ๆ คือศึกษาภัณฑ์ มีราคาตั้งแต่ สองร้อยถึง 4-5 ร้อยบาท

ความเชื่อผิดๆ อย่างที่สอง  กระเป๋า กล้องมีไว้เก็บกล้อง ไม่ว่าจะพกไปไหน หรือกลับมาถึงบ้านแล้วก็จะเก็บอยู่ในกระเป๋านั่นแหละ เพราะใส่ซิลิก้าเจลไว้ในกระเป๋าแล้ว ไม่ชื้นชัวร์

แต่อย่าลืม !!!!!  กระเป๋ากล้อง ถูกออกแบบมาให้กันกระแทก กระเป๋ากล้องแทบทั้งหมด จึงถูกบุมาด้วยวัสดุที่สะสมความชื้นได้ดี ดังนั้นถึงแม้ เราจะไว้วางใจ ให้ซิลิก้าเจลถุงเล็กๆ ทีเราจับโยนเพื่อควบคุมความชื้นในกระเป๋ากล้อง แต่ตราบใดที่ กระเป๋ากล้องของคุณไม่เป็นระบบปิด การหมุนเวียนของอากาศและความชื้นจากภายนอกยังวนเวียนได้อยู่ ก็เท่ากับว่า ซิลิก้าเจลถุงเล็กๆ ถุงนั้น  ควบคุมความชื้นของทั้งโลก และที่น่าตกใจที่สุดก็คือ หากซิลิก้าเจลถุงเดิม ดูดความชื้นเต็มเมื่อไหร่ มันก็จะคายความชื้นออกมา และอบอวลอยู่ในกระเป๋ากล้อง ที่บรรจุไปด้วยกล้องและเลนส์มูลค่าสูงของคุณนั่นเอง คิดตามแล้วขนลุกรึยัง บรึ๋ย…..
ซิลิก้าเจล สำหรับดูดความชื้น มีทั้งแบบ สีม่วง และสีขาว หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียน

วิธีการเก็บกล้องที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร ?
ไม่ยากไม่ง่าย เพียงต้องการความใส่ใจนิดนึงค่ะ
วิธีแรก สำหรับ คนที่เอาเงินมาซื้อกล้องหมด ไม่มีงบเผื่อไว้ดูแลรักษามากมาย ‘ ไม่เสียตังค์’
หลังจากเราเอา อุปกรณ์กล้องแสนรัก บุกตะลุย กันอย่างเต็มที่แล้ว กลับมาถึงบ้าน แนะนำให้เอาออกจากกระเป๋าทันที  ไปวางไว้ในที่แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก อาจจะเป็นห้องที่ติดแอร์ อย่างห้องนอน  เพราะอากาศจะแห้งกว่าปรกติ  แต่ไม่ใช่เอาไปวางไว้หน้าห้องน้ำนะคะ อ้อ กระเป๋าก็เอาไปตากแดดไล่ความชื้น นอกจากจะดีกับกล้องแล้วยังดีกับสุขภาพคนถือด้วยค่ะ
วิธีที่สอง ไฮโซขึ้นมาหน่อย เหมาะสำหรับคนเงินน้อยแต่รักจริง ’ ไม่เกิน 1000 บาท ‘
ให้หากล่องทัพ เปอร์แวย์ ที่มีซีนยางที่ฝา ย้ำนะคะ ต้องมีซีนยางเพื่อให้เป็นระบบปิด แล้วหาซิลิก้าเจล (ขายเป็นกิโล) มาใส่ และที่ขาดไม่ได้คือไอโกรมิเตอร์ ห้ามลืมเด็ดขาดค่ะ

ข้อดีคือ สามารถเลือกขนาดของกล่องได้ใหญ่ตามใจชอบ  จะเลือกแบบกล่อง สีสวย หรือเก๋กิ๊ฟยังไงก็ตามสะดวกเลยค่ะ แต่ข้อเสียคือซิลิก้าเจลที่ใส่ลงไป มันมีอายุการใช้งาน ถ้าหาดดูดความชื้นไปเต็มเมื่อไหร่ เราต้องเอาไปคั่ว หรือเอาเข้าไมโครเวฟไล่ความชื้น เสียเวลาและต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ แถมเวลาจะดูไอโกรมอเตอร์ทีต้องเปิดฝา แนะนำว่าหากล่องแบบใสจะหมดปัญหาเรื่องนี้ค่ะ

ไอโกรมิเตอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์ ควบคุมให้อยู่ ระหว่าง 35- 55
วิธีที่สาม ซื้อกล่องหรือตู้ดูดความชื้นเฉพาะไปเลยค่ะ ‘ 2000′
อันนี้ก็ขึ้น อยู่กับว่าเรามีเลนส์และอุปกรณ์เยอะแค่ไหน และงบประมาณในกระเป๋าด้วยค่ะ  มีตั้งแต่กล่องดูดความชื้น ราคาตั้งแต่ สองพันบาท ที่คล้ายๆ กับกล่องวิธีที่สอง แต่ในกล่องจะมีระบบจัดการความชื้นที่ค่อนข้างสำเร็จรูป ลักษณะและวิธีก็แล้วแต่กล่องแต่ละรุ่น   พอความชื้นเต็มก็เอาตัวซิลิก้าไปเสียบปลั๊กชาร์จ  มีไอโกรมิเตอร์ติดอยู่หน้ากล่อง สะดวกกับการควบคุม

อีกแบบที่เห็นใน ท้องตลาด คือกล่องแบบสุญญากาศ ปั้มลมออก มีทั้งแบบดิจิตอลและแบบเข็ม อันนี้เหมาะสำหรับพกพามากกว่า เพราะขนาดจะเล็กกว่าแบบแรก ใส่ของได้น้อย แต่ใช้พลาสติกที่แข็งแรงทนทาน มีหูหิ้ว พกไปไหนมาไหนได้สะดวก

กล่องดูดความชื้นสุญญากาศ แบบปั้มลมออก

สรุปแล้ว จะเลือกเก็บกล้องแบบไหน หลักง่ายๆ คือให้อยู่ไกลความชื้น  ที่สำคัญต้องไม่แห้งจนเกินไป  ดูให้ความชื้นสัมพัทธ์ อยู่ที่ประมาณ 35 -55 ส่วนจะเลือกเก็บวิธีไหน ก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า และความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่มีค่ะ ไม่ใช่ว่าซื้ออุปกรณ์มาเป็น แสน แต่มาประหยัดกับการเก็บรักษา ของที่ซื้อมาแพงๆ ก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว หรือลงทุนซื้ออุปกรณ์สำหรับเก็บกล้อง ราคาเท่าๆกับกล้องที่มีอยู่ อันนี้ก็ไม่คุ้มค่ะ ของทุกอย่างบนโลกนี้ ไม่มีอะไรดีที่สุด มีแต่เหมาะสมที่สุด ก็เลือกให้เหมาะให้ควร อย่าให้ถึงกับเดือดร้อนเลยค่ะ

คู่มือสำหรับเลือกซื้อกล้อง DSLR

|0 ความคิดเห็น
คู่มือสำหรับเลือกซื้อกล้อง DSLR




 คู่มือเลือกซื้อกลอ้ง DSLR 2007
     กลอ้งรุ่นใหนดี? คำถามยอดนิยมสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจ ซื้อกล้องดิจิตอลมาไว้ใช้งานซักตัวหนึ่ง   ทั้งนี้เพราะกลอ้งดิจิตอลในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อมากมาย   โดยเฉพาะกลอ้งแบบดิจิตอล   SLR   ที่มีราคาถูกลงมาก และได้รับความนิยมมกขึ้นทุกวันราคาเพิ่มต้นเพียงหมื่นกว่าบาท   ใกล้เคียงกับกลอ้งดิจิตอลแบบคอมแพคทีเดียว  และมีให้เลือกนับสิบจากหลายยี่ห้อ  ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป  การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลจึงนับเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้เรื่องกล้องดิจิตอลมาก่อน   บทความนี้จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจของคุณค่ะ

งบประมาณ
     ก่อนอื่นตอ้งมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้ที่เท่าไร ในการหาซื้อกล้องคู่ที่รู้ใจ   เพราะราคากล้องดิจิตอล  SLR  ในตลาดมีตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทไปจนสามแสนบาท  ความละเอียดอยู่ในระดับ 8 ถึง 21 ล้านพิกเซล    แม้จะ
เป็นรุ่นเล็กที่มีราคาประหยัด แต่ก็มีคุณภาพที่ดีมากสิ่งที่แตกต่างกันทำให้ราคากล้องมีความแตกต่างกันมาก  เช่น ความละเอียดที่เพิ่มขึ้น  เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า ระบบการทำงานรวดเร็วกว่า   ตัวกลอ้งเป็นโลหะ เช่นแม๊กนี
เซียมอัลลอยล์ เป็นต้น   เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น  สามหมื่นบาท  ก็มองหาเฉพาะกลอ้งที่อยาในงบของเรารุ่นที่มีราคาสูงกว่า   คงไม่ต้องนำมาพิจารณาให้ปวดหัว
เซ็นเซอร์ภาพ 
    เซ็นเซอร์ภาพ   ถ้าดูตามสเปคจะเขียนว่า Image  sensor  พูดง่ายๆก็คือ  ส่วนที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั้นเอง  บางยี่ห้อใช้   CMOS เช่น แคนนอน   แต่ส่วนใหญ่ใช้  CCD  มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง  แต่
เซ็นเซอร์ภาพที่มีใหญ่กว่ายอ่มได้เปรียบ  เพราะเก็บรายละเอียดได้มากกว่าและให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า  โดยทั่วไปกลอ้งดิจิตอล  SLR  ในปัจจุบันจะนิยมจะนิยมใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 mm เมื่อจะนำเลนส์ของกลอ้งฟิล์มมาใช้ จะต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  1.5  หรือ  1.6  เท่า จึงจะได้ทางยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม 35 mm  ส่วนกลอ้งบางรุ่นที่ใช้เซ็นเซอร์เท่าฟิล์มก็ไม่ตอ้งคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  เช่น  canon EOS 1Ds Mark lll  หรือ  EOS 5D  เป็นต้น ส่วนกลอ้งโอลิมปัส  พานาโซนิค  และไลก้า ใช้เซ็นเซอร์ขนาด  4/3  ซึ่งเล็กกว่าขนาด  APS-C ตอ้งคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  2  เท่า  เช่น เลนส์ 50mm  จะเพิ่มเป็น  100  mm เป็นต้น แต่มีข้อดีคือเป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับเซ็นเซอร์ขนาด 4/3  โดยเฉพาะ  ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ความลึกของสี

     ความลึกของสี  หรือ  Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth  ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียดของเฉดสีมากเท่านั้น เช่น 10 บิต /สี หรือ 12 บิต/สี  ในภาพถ่ายจะมี
สามสี คือ RGB  ถ้า  1 สี แสดงได้  13 บิต  3 สีก็จะได้ 36 บิต  เป็นต้น ถ้าเป็นกลอ้งระดับไฮเอนด์บางรุ่นจะทำได้ถึง   14 บิต /สี  หรือ 42 บิตที่  RGB เก็บรายละเอียดของโทนสีได้มากกว่า 12 บิต ถึง 3 เท่า ให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับการใช้ฟิล์มทั่วๆไป  การที่เฉกสีน้อยจะทำให้การแยกสีไม่ค่อยดี เท่าที่ควร  เช่นกลีบดอกไม้สีแดงเข้ม   แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่าก็ไล่เฉดสีกันดี  แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสี
แดงสีเดียว  ถ้าบันทึกความลึกของสีได้มาก  จะได้เฉดสีที่ใกล้เคียงกับที่ตามองเห็น

ความละเอียด 
    เลือกความละเยดที่เหมาะสม  กลอ้งดิจิตอล SLR ในทุกวันนี้มีความละเอียดสูงมาก ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 8  จนถึง 21 ล้านพิกเซล  หากคิดว่าจะอัดขยายภาพไม่เกิน  8 x 10 นิ้ว  กลอ้งที่มีความละเอียดระดับ
8-10 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว  แต่อย่าลืมว่าคุณภาพที่ได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดเพียงอย่างเดียว  อย่างไรก็ตามกลอ้งที่มีความละเอียดสูงมักจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า แม้ว่าจะถ่ายภาพที่ไฟล์ขนาดเล็กลง เช่นกล

อ้งที่ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล หากถ่ายภาพที่ความละเอียด 6  ล้านพิกเซล มักจะให้คุณภาพที่ดีกว่ากลอ้งดิจิตอล ที่มีความละเอียดสูงสุดที่ 6 ล้านพิกเซล    ทั้งนี้เนื่องจากเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่   คุณภาพดีกว่า  หรือหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพดีกว่านั้นเอง   หากต้องการใช้งานเพื่ออัดขยายภาพในขนาดไม่เกิน 4 x 6 นิ้ว ควรปรับตั้งกล้องที่ความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้วเพราะการตั้งความละเอียด 10 ล้านพิกเซล   แล้วขยายภาพ 4 x 6 นิ้วคุณภาพจะไม่แตกต่างกับการตั้งความละเอียดที่  3  ล้านพิกเซล เนื่องจากเครื่องพิมพ์ภาพไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ทหรือแลปสีต้องการไฟล์ภาพสูงสุดสำหรับภาพ  6x4   นิ้วที่ความละเอียด 3 ล้านพิกเซลเท่านั้น ( พิมพ์ภาพที่  300 – 400 dpi ) แต่ก็มีข้อระวังเหมือนกันคือหากถ่ายภาพที่ความละเอีอดต่ำแล้วต้องการนำไปขยายภาพใหญ่ในภายหลังจะได้คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร

เลนส์
    กล้องดิจิตอล SLR จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ หากกล้องรุ่นเล็กรุ่นกลางมักจะมีเลนส์คิทมาพร้อมกับตัวกล้อง  เช่น18 – 55 มม หรือ 18 – 70  มม   เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆๆไป แต่ต้องการถ่ายภาพในมุมกว้างขึ้น หรือถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกลจะไม่สามารถทำได้  จะต้องซื้อเลนส์มาใช้เพื่อมเติม  โดยเลนส์ที่มี
ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า   18  มม   จะช่วยให้ถ่ายภาพได้กว้างขึ้นหรือมากกว่า 55 มม จะถ่ายภาพได้ไกลมากขึ้น หากต้องการซื้อเลนส์เพิ่มเพื่อใช้งานต่อจากเลนส์คิท  ขอแนะนำเลนส์ซูมขนาด     55 – 200   ถ้าชอบถ่ายวิวทิวทัศน์กว้างๆก็ขอแนะนำเลนส์ที่มีมุมกว้างมากขึ้น  เช่น 12 – 24   มม  หรือใช้เลนส์ครอบจักวาลตัวเดียวจบก็ได้เช่น 18 – 200 มม   แต่คุณภาพจะไม่ดีเท่าเลนส์ช่วงซูมน้อยกว่า  หากต้องการคุณภาพดีที่สุดก็ต้องเลือกใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว   เช่น ถ้าต้องการครอบคลุมตั้งแต่ 18 ถึง 200 มม จะต้องมีเลนส์ถึง 6 ตัวคือ 18 28 35 50 100 และ 200 มม โดยเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวส่วนใหญ่จะมีรูรับแสงกว้างสุดมากกว่าเลนส์ชูม เช่น F 1.4 จนถึง F 2.8  ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกตัวอาจเลือกเพียงบางตัวที่ดีที่สุดซึ่งดีกว่าการใช้เลนส์ซูมแน่นอน   โดยทั่วไปนิยมใช้เลนส์ที่มีขนาด 50 มม F 1.8 เพราะมีราคาถูกเพียงไม่กี่พันบาท    แต่ได้รูรับแสงกว้าง    ใช้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยๆ   ได้ดีมาก     ถ้าชอบถ่ายภาพบุคคลก็คือแนะนำเลนส์เทเลระยะปานกลางเช่น 85 มม F 1.8  หรือจะซื้อเลนส์  100 มม  มาโคร F 2.8 ก็ได้ ใช้ประโย
ชน์ได้ทั้งการถ่ายภาพบุคคลและถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆเช่นดอกไม้หรือแมลง เป็นต้น จอมอนิเตอร์ 
    ปัจจุบันกลอ้งดิจอตอลมีจอมอนิเตอร์ที่ใหญ่มากขึ้น เช่น 2.5 หรือ 3.0 นิ้ว ทำให้มองดูภาพ เมนู ตัวอักษร และไอคอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน การแบ่งปันภาพที่ถ่ายไปแล้วให้เพื่อนฝูงดูทำได้สะดวกมากขึ้น การ
เลือกจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่จึงควรเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อกลอ้ง อย่างไรก็ตามหากมีกลอ้งที่จอมอนิเตอร์ขนาดเท่ากัน ให้ดูความละเอียดของจอภาพเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง เพราะจอที่มีความละเอียดมากกว่า เช่น 150,000 กับ 230,000 พิกเซล จอที่ความละเอียดสูงกว่าจะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่า และเห็นผลเมื่อซูมขยายภาพเพื่อตรวจสอบรายละเอียดความคมชัด นอกจากนี้ให้ดูองศาในการมองภาพด้วย บางรุ่นต้องมองตรงๆเท่านั้น หากมองเฉียงจะเห็นภาพจางลง แต่บางรุ่นมีมุมมองกว้างมากถึง 160 องศา กลอ้งบางรุ่นออกแบบให้จอมอนิเตอร์ปรับพลิกก้มเงยและหมุนได้รอบ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูงหรือมุมต่ำ

การตอบสนองที่รวดเร็ว
   กลอ้งดิจอตอล SLR รุ่นใหม่ๆ มีการตอบสนองที่รวดเร็วดีมาก ตั้งแต่การเปิดสวิตช์กลอ้งพร้อมใช้งาน ไปจนถึงช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์และการถ่ายภาพต่อเนื่อง การเลือกซื้อกลอ้งควรพิจารณาเปรียบเทียบว่ากลอ้งแต่ละ
รุ่นพร้อมใช้งานในระยะเวลาเท่าใด กลอ้งบางรุ่นใช้เวลาไม่ถึง 0.2 วินาที ก็ใช้งานได้แล้ว ส่วนช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์ถ้าสั้นมากก็จะถ่ายภาพเหตุการณ์หรือสิ่งเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนกับการใช้กลอ้งฟิล์ม สุดท้ายคือการถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างน้อยควรจะทำได้ที่ 3 ภาพ/วินาที บางรุ่นอาจจะเร็วถึง 5 ภาพ/วินาที เช่นกลอ้งดิจิตอล SLR ของ canon eos400d แต่ถ้าเป็นกลอ้งระดับโปรอย่าง canon

eos1d Mark lll ทำความเร็วขึ้นไปถึง 10 เฟรม/วินาที เหมาะสำหรับช่างภาพข่าว กีฬา หรือสัตว์ป่า ที่ตอ้งการความเร็วสูงๆ เพื่อจับจังหวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

หน่วยความจำสำรองไฟล์ภาพ 
    Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มี Buffer หรือหน่วยความจำในตัวกลอ้งมากๆ จะช่วยให้การถ่ายภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ต้องเสียเวลารอคอยนานๆ และไม่พลาดโอกาสสำคัญในการบันทึกภาพ
กล่าวคือ กลังจากที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพที่ผ่านหน่วยประมวลผลจะถูกพักเก็บได้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ จากนั้นจะบันทึกลงใน เมมโมรี่การ์ดต่อไป (ขณะบันทึกจะมีไฟสีเขียวหรือสีแดงเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะก็สมารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้หลายๆภภาติดต่อกัน เช่นสเปคกลอ้งระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพ ต่อวินาที ติดต่อกันรวด
เร็ว 50 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 50 ภาพ จะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ตอ้งรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อไปได้

ไวท์บาลานซ์
      ไวท์บาลานซ์ หรือสมดุลแสงขาว ฟังก์ชันนี้มีในกลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ส่วนใหญ่จะมีระบบปรับไวท์บาลานซ์อัติโนมัติ ทำให้ภาพถ่ายมีสีสันถูกตอ้งไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณภูมิสีแตกต่าง
กัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์มซึ่งสมดุลแสงกลางวันที่อุณภูมิสี 5000-5500 องศาเควิน จะได้ภาพที่มีถูกตอ้งก็ต่อเมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือแสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กลอ้งดิจิตอลจะให้โทนสีถูกต้องได้แม้ว่าสภาพแสงจะแตกต่างกัน  นอกจากระบบออโต้แล้วส่วนใหญ่จะมีระบบ PRESET ให้ปรับตั้งตมสภาพแสงแบบต่างๆอีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่นแสงดวงอาทิตย์แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรสเซ้นท์ในอาคาร แสงไฟ ทังสแตนเป็นต้น กลอ้งบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพมีการปรับเปลี่ยนอุณภูมิสีที่แตกต่างกันอัติโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาปรับตั้งทีละภาพ บางรุ่นยังกำหนดตัวเลขอุณภูมิสีเองได้ ปรับได้ละเอียดมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความปราณีตในเรื่องของสีให้ถูกตอ้งมากที่สุด หรือปรับชิพท์ไวท์บาลานซ์ได้เพิ่มแก้ไขปัญหา

เรื่องภาพมีโทนสีแดงหรือสีฟ้ามากเกินไปเพียงเล็กน้อย การปรับชิพซ์ไวท์บาลานซ์จะช่วยให้ได้ภาพที่มีสีสันถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน บางรุ่นมีระบบคัสตอมหรือแมนนวล โดยเทียบจากวัตถุที่มีสีขาวซึ่งจะทำให้ได้สีที่ถูกต้องมากที่สุด
ระบบออโต้โฟกัส 
    กลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวดเร็วพอสมควร แต่รุ่นที่สูงขึ้นไปจะโฟกัสได้เร็วกว่า และเร็วที่ในกลอ้งรุ่นท๊อป ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นกลอ้งสำหรับมืออาชีพ
บางรุ่นมีโฟกัส 3 หรือ 5 จุด แต่บางรุ่นมีมากถึง 11 หรือ 16 จุด ยิ่งมากยิ่งดี เพราะไม่ว่าตัวแบบหรือสิ่งที่ต้องการจะถ่ายอยู่ในตำแหน่งใดก็จะปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกลอ้งจะเลือกจุดโฟกัสให้ เเบบอัติโนมัต   โฟกัสเองก็ได้ นอกจากนี้ควรพิจารณาช่วงการปรับโฟกัสว่าทำได้ที่ช่วง EV เท่าใด หากโฟกัสที่ EV ต่ำๆ ได้เช่น EV1 หรือ EV0 จะทำให้กลอ้งปรับโฟกัสได้แม้ในสภาพแสงสลัว หากเป็นกลอ้งระดับโปรบางรุ่นจะปรับโฟกัสได้ถึง EV-1 ทีเดียว

ระบบบันทึกภาพและการวัดแสง
    กลอ้งดิจิตอล SLR ส่วนใหญ่มีระบบออโต้และโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งโหมดบันทึกภาพมาตรฐาน P,S,A,M ในระบบออโต้กลอ้งจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง เลือกความไวแสง และปรับโฟกัสให้ทั้ง
หมด ผู้ใช้เพียงจัดองค์ประกอบภาพตามที่ต้องการและกดปุ่มชัตเตอร์ ถ้าแสงน้อยกลอ้งก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น หรือเปิดแฟลชทำงานอัตโนมัติ ทำให้ใช้งานง่าย และมีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับถ่ายภาพแบบต่างๆ เช่น ถ่ายภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ ภาพกลางคืน ภาพกีฬา ภาพพลุ ดอกไม้ไฟ ภาพหิมะ ชายหาด เป็นต้น กลอ้งบางรุ่นมีโปรแกรมที่หลากหลายมากอีกนับสิบแบบ แต่ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่องเทคนิคการถ่ายภาพหรือมีประสบการณ์
เรื่องการวัดแสงมาบ้างแล้ว ก็มีโหมดออโต้ความเร็วชัตเตอร์กับความเร็วรูรับแสงให้เล่นด้วยค่ะ ซึ่งตอ้งปรับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงด้วยตนเอง




อุปกรณ์เสริม
    กลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ จะมีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มากมาย เพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพทุกรูปแบบ โดยมีเลนส์เป้นอุปกรณ์เสริมหลัก รองลงมาคือ แฟลชรุ่นต่างๆ ตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ สายลั่น
ชัตเตอร์ บางรุ่นมีแบตเตอรี่กริป ช่วยให้ใช้แบตเตอรี่ได้นานขึ้น ได้พร้อมกันสองก้อน ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างที่ถ่ายรูป และช่วยให้การจับถือกลอ้งโดยเฉพาะการถ่ายภาพในแนวตั้งสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น บางรุ่นมีรีโมทแบบไร้สายช่วยให้ควบคุมการถ่ายภาพจากระยะไกลได้ 
ระบบกำจัดฝุ่น และระบบป้องกันภาพสั่นไหว
     กลอ้งดิจิตอล SLR หลายรุ่นในปัจจุบันมีระบบกำจัดฝุ่นในตัว โดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป ช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นที่จับอยู่ตรงหน้าเซ็นเซอร์ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของกลอ้งดิจิตอลแบบ
SLR ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ บางรุ่นมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวกลอ้งเลย ทำให้สามารถนำเลนส์ตัวไหนก็ได้มาใช้แล้วมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ไม่จำเป็นตอ้งสียเงินซื้อเลนส์ที่มีระบบกันสั่นไหวเพิ่มเติม

บริการหลังการขาย
   สิ่งสุดท้ายที่ตอ้งคำนึ่งถึงคือ เรื่องของบริการหลังการขาย ทั้งจากร้านค้าและบรัทผู้นำเข้า หากซื้อกลอ้งและอุปกรณ์จากผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการ คุณจะได้รับบริการที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากผู้

ผลิต บางบริษัทเป็นบริษัทจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตกลอ้งโดยตรง โดยทั่วไปกลอ้งดิจิตอลจะรับประกันคุณภาพ 1 ปี หากเกิดความเสียหายในช่วงระยะเวลาการรับประกันจะได้รับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ฟรีโดยไม่คิอค่าบริการ หากเป็นชิ้นส่วนสำคัญ เช่น เซ็นเซอร์ภาพ หรือจอมอนิเตอร์ ค่าอะไหล่จะราคาสูงมาก เพื่อความสบายใจ การซื้อกลอ้งจากผู้นำเข้าที่ถูกตอ้งจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแน่นอน ยกเว้นว่าราคาระหว่างผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการกับผู้นำเข้าอิสระจะแตกต่างกันมาก อาจเป็นสาเหตุให้ซื้อกลอ้งที่มีราคาถูกกว่า สำหรับการกลอ้งดิจิตอลจากต่างประเทศในปัจจุบันควรตรวจสอบราคาให้ดีเสียก่อนโดยเฉพาะที่ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น บางรุ่นถูกกว่าด้วยซ้ำ     หากต่างกันไม่มากควรเลือกซื้อกลอ้งในเมืองไทย จะดีกว่า ไม่ต้องเสี่ยงกับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ในกรณีที่กลอ้งมีปัญหา


นี่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นในการซื้อกลอ้ง DSLR ครับ ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็อยู่ที่ใจชอบครับ เป็นตัวตัดสินสำคัญเลยครับ