วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของราคาที่จะไปได้ทางใดทางหนึ่ง (SIDEWAYS PATTERN)

|0 ความคิดเห็น
รูปแบบของราคาที่จะไปได้ทางใดทางหนึ่ง (SIDEWAYS PATTERN)

แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ RECTANGLE หรือ TRIANGLE
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (RECTANGLE)
 เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS) ทำให้เกิดเส้นหนุน (SUPPORT LINE) และเส้นต้าน (RESISTANCE LINE) ในลักษณะเส้นขนานในแนวนอน ปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงตามลำดับ และในช่วงต่อมาราคาสามารถทะลุผ่านเส้นขนานทางด้านบนหรือด้านล่างด้วยปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น โดยส่วนมากจะเป็นไปตามแนวโน้มที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้

รูปสามเหลี่ยม (TRIANGLE)
 SYMMETRICAL TRIANGLE
 เกิดจากราคาหุ้นเคลื่อนไหวแบบ SIDEWAYS แล้วแคบลง เมื่อลากเส้นเชื่อมจุดยอดอย่างน้อย 2 จุด และเชื่อมจุดฐานอย่างน้อย 2 จุด จะมาพบกันเป็นมุมแหลม จากนั้นโดยส่วนใหญ่ราคาจะทะลุผ่านขึ้น หรือลงจากยอดปลายแหลมตามแนวโน้มที่มาก่อนหน้านี้ โดยที่ปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงขณะที่มีการก่อตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม และจะมากขึ้นเมื่อทะลุผ่านเส้นปลายแหลมไปได้

รูปแบบ สองหัวหรือสามหัวที่จุดต่ำ และสองหัวหรือสามหัวที่จุดยอด (DOUBLE/TRIPLE BOTTOMS & DOUBLE/TRIPLE TOPS)

|0 ความคิดเห็น
รูปแบบ สองหัวหรือสามหัวที่จุดต่ำ และสองหัวหรือสามหัวที่จุดยอด (DOUBLE/TRIPLE BOTTOMS & DOUBLE/TRIPLE TOPS)

กรณีสองหัว (DOUBLE TOPS)
 รูปแบบของราคาจะมีลักษณะคล้ายตัว M โดยจะมียอด 2 ยอดปริมาณการซื้อขายหุ้นในยอดแรก จะมากกว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นในยอดที่ 2 หลังจากนั้นราคาจะลดลงและทะลุผ่านเส้นคอลงไป ซึ่งถือว่าเป็นจุดให้ขาย โดยระยะทางที่จะลงไปได้นั้นอาจจะลงไปได้อย่างน้อยเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดถึงเส้นคอ

 กรณีสามหัวที่จุดยอด (TRIPLE TOPS)
 รูปแบบนี้จะมียอดอยู่ 3 ยอด โดยปริมาณการซื้อขายหุ้นจะลดลงในแต่ละยอดตามลำดับ โดยยอดแรกจะมีปริมาณการซื้อขายหุ้นมากที่สุด และในยอดที่ 3 ขณะที่ราคากำลังลดลงและตัดเส้นคอ ปริมาณการซื้อขายหุ้นจะเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มเป็นลง และควรขาย ณ จุดที่ราคาตัดเส้นคอลงมา

 กรณีสองหัวที่จุดต่ำ (DOUBLE BOTTOMS)
 รูปแบบคล้ายตัว W มีลักษณะในทางกลับกันกับกรณีสองหัวที่จุดยอด (DOUBLE TOPS) โดยกรณีสองหัวที่จุดต่ำ (DOUBLE BOTTOMS) จะบอกถึงตลาดกำลังจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขึ้น จึงควรซื้อ ณ จุดที่ราคาตัดเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นมา

 กรณีสามหัวที่จุดต่ำ (TRIPLE BOTTOMS)
 มีลักษณะในทางกลับกันกับกรณีสามหัวที่จุดยอด (TRIPLE TOPS) โดยให้ซื้อเมื่อราคาตัดเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นมา

ฟิบอนนาซี่ FIBONACCI

|0 ความคิดเห็น
ฟิบอนนาซี่ FIBONACCI

FIBONACCI เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรม ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI และได้มีการบันทึกไว้ในราวต้น ค.ศ.ที่ 13 จากการที่เขาได้สังเกต และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น รูปแบบของฟ้าแลบ รูปแบบของผลไม้ต่าง ๆ และรูปแบบของเปลือกหอยทาก เป็นต้น พบว่า การเกิดของปรากฏการณ์เหล่านั้นมีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ (Regular) ซึ่งเขาได้นำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89 และต่อ ๆ ไป โดยตัวเลขเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน กล่าวคือ ตัวเลขตัวหลังเป็นผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้า เช่น 1 บวก 2 เท่ากับ 3 และ 3 บวก 5 เท่ากับ 8 เป็นต้น และอัตราส่วนของตัวเลขก่อนหน้าต่อตัวตามติดมาหลังจากใน 4 ตัวแรกแล้ว จะเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 เสมอหรือกลับกันที่เข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 ทั้งนี้เมื่อตัวเลขยิ่งเพิ่มขึ้นมาก ๆ ความเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 และ 1.618 ยิ่งมากเช่นกันดังตัวอย่างต่อไปนี้

1/1? =? 1.0
1/1? =? 1.0
1 / 2? =? .5
2/1? =? 2.0
2/3? =? .667
3/2? =? 1.5
3/5? =? .60
5/3? =? 1.667
5/8? =? .625
8/5? =? 1.6
8/12? =? .615385
13/8? =? 1.625
13/21? =? .619048
21/13? =? 1.61538
21/34? =? .617647
34/21? =? 1.61905
34/55? =? .618182
55/34? =? 1.61765
55/89? =? .618056
89/55? =? 1.61818


อัตราส่วนนี้ต่อมา เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวกรีกและอียิปต์สมัยโบราณ โดยเรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนทอง (Golden Ratio) และได้มีการนำอัตราส่วนนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ดีกับวิชาการดนตรี ศิลปะการสถาปัตยกรรม และชีววิทยา และเชื่อกันว่าชาวกรีก ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการก่อสร้างโบสถ์พาธินอน (Parthenon) ที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงามในกรุงเอเธนส์ และชาวอียิปต์ก็เช่นเดียวกัน ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการสร้างปิรามิด
จากตัวเลข FIBONACCI ดังกล่าว ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่เชื่อว่า มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย ของราคาหุ้น โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
  ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน (FIBONACCI LINES)

  ฟิบอนนาซี่แบบพัด (FIBONACCI FAN LINES)
  ฟิบอนนาซี่แบบระยะเวลา (TIME ZONES)
โดยใน 2 รูปแบบแรก (แบบข้อ 1 และ 2) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราคาเป็นสำคัญ ในขณะ รูปแบบหลัง (แบบข้อ 3) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลา
ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน (FIBONACCI LINES)
การสร้างรูปแบบนี้ สามารถทำได้ทั้งในแนวนอน หรือตามแนวโน้มที่กำลังขึ้นหรือลงอยู่ โดยในแนวนอน เริ่มต้นจะต้องหาจุดสูงสุด หรือต่ำสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นเสียก่อน แล้วทำการสร้างเส้นตรงแนวนอน (Horizontal line) ผ่านจุดนั้น, ส่วนในแนวโน้มขึ้น เริ่มต้นด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มขึ้นจากจุดต่ำสุดอย่างน้อยสองจุด, สำหรับในแนวโน้มลง จะเริ่มด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มลงจากจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุด
หลังจากนั้น ให้สร้างเส้นตรงที่ขนานกับเส้นแรก โดยลากผ่านจุดสูงสุดหรือต่ำสุดที่ตรงข้ามกับเส้นแรก และต่อมาก็สร้างเส้นขนานในช่องระหว่างเส้นทั้งสอง ตามอัตราส่วน 38.2% 50.0% และ 61.8% ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ (FIBONACCI RATIO) เพื่อแบ่งช่องว่างระหว่างเส้นขนานระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุด และ ณ เส้นตรงขนานระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% นี้เองทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับหรือแนวต้านสำหรับราคา และเมื่อราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุผ่านขึ้นหรือลงก็จะให้สัญญาณซื้อหรือขายตามลำดับ

จากรูปภาพ เป็นตัวอย่างของฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนานในแนวนอน เรากำหนดให้จุด A เป็นจุดสูงสุด และจุด B เป็นจุดต่ำสุด โดยมีเส้นขนาน C, D, และ E เป็นตัวแบ่งความกว้างระหว่างจุด A และ B ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ และสำหรับการวิเคราะห์ เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงระหว่าง JUNE ถึง SEP. ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้าง ๆ ระหว่างเส้น C ที่กรณีนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้น E ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับในขณะที่มีเส้น D อยู่ตรงกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่ออยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น และแนวต้านในกรณีอยู่สูงกว่าราคาหุ้น เราเห็นได้จากการเคลื่อนที่ของดัชนีฯ ตามกราฟ ที่เมื่อใดที่ดัชนีฯ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปใกล้แนวต้าน (เส้น C) จะหักหัวลง ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ครั้งในช่วงระยะเวลา JUNE-SEP. ที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จวิ่งทะลุผ่านได้ในที่สุด และวิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง SEP. ในทางกลับกัน ดัชนีฯ ก็จะหักหัวสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้แนวรับตามเส้น D และ E แต่ถ้าทะลุแนวรับลงไปได้ก็จะลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาทิเช่น ในช่วงปลาย MAY
สำหรับรูปฟิบอนนาซี่แบบเส้นตรงในแนวโน้มขึ้นและลง เป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้

ฟิบอนนาซี่แบบพัด (FIBONACCI FAN LINES)
การสร้าง FIBONACCI FAN LINES ในเบื้องต้น ก็เหมือนกับกรณีแบบเส้นตรงแนวนอน คือต้องหาจุดต่ำสุด และสูงสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นก่อน แล้วสร้างเส้นแนวโน้มจากจุดต่ำสุดหรือสูงสุดที่ระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% ตามลำดับ เพื่อแบ่งความกว้างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด (ปกติเครื่องจะสร้างเส้น FAN LINES ให้)
เส้น FAN LINES ทั้ง 3 เส้นนี้ จะเป็นแนวรับและแนวต้าน สำหรับราคาหุ้น และเมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น FAN LINES เส้นใดขึ้นไป ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณให้ซื้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าทะลุผ่านเส้น FAN LINES ลงมาก็บอกถึงสัญญาณให้ขาย และโดยปกติแล้ว เมื่อราคาหุ้นตกทะลุผ่านแล้วแนวรับลงมา ราคาหุ้นจะลงอย่างรวดเร็วไปสู่แนวรับเส้นต่อไป ในทางกลับกันถ้าราคาหุ้นสามารถทะลุผ่านเส้นแนวต้านขึ้นไปได้ ก็จะวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่อยู่เหนือกว่าต่อไป

ฟิบอนนาซี่แบบช่วงระยะเวลา (TIME ZONES)
เป็นการสร้างช่วงระยะเวลา โดยใช้ตัวเลข FIBONACCI เป็นตัวแบ่ง โดยจะเริ่มจากยอดต่ำสุดหรือสูงสุดของแนวโน้ม ทั้งนี้เมื่อราคาหุ้นเข้าใกล้ หรือตรงกับเส้นตรงที่แบ่งช่วงระยะเวลา อาจจะมีสัญญาณที่บ่งบอกว่า แนวโน้มหุ้นจะดำเนินต่อไปตามแนวโน้มเดิม หลังจากมีการชะลอตัว หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่มีนัยสำคัญ

หมายเหตุ เมื่อมีรูปแบบและความหมายของ FIBONACCI แต่ละแบบแล้ว การวิเคราะห์และพิจารณาประกอบกัน ยิ่งจะทำให้มีความหมาย และความแน่นอนมากขึ้น เช่นในกรณีที่ราคาหุ้นอยู่เหนือจุดที่ FANLINES และ TIMEZONE มาพบกัน ซึ่งถือเป็นจุดแนวรับ การที่ราคาหุ้นทะลุผ่านจุดหรือแนวดังกล่าวลงมาได้ ยากกว่าการที่จะผ่านแนวรับตาม FAN LINES เพียงอย่างเดียว ในทำนองเดียวกัน ราคาหุ้นจะผ่านแนวต้านตรงที่ FAN LINES มาบรรจบกัน TIMEZONE ได้ยากกว่าแนวต้านตาม FAN LINES อย่างเดียวเช่นกัน
เครื่องมือ FIBONACCI นี้ เหมาะสำหรับการหาแนวโน้มระยะปานกลาง และระยะเวลาสำหรับจุดต่ำสุด และสูงสุด ควรห่างกันอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน จึงจะมีความแม่นยำในการชี้แนวโน้ม และมีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งว่า แนวรับหรือแนวต้าน สำหรับการวิเคราะห์ราคาหุ้นโดยทั่วไปจะใช้ตัวเลข 38%, 50% และ 62% ของการขึ้นหรือลง ซึ่งแตกต่างเล็กน้อยจากตัวเลข FIBONACCI คือ 38.2%, 50.0% และ 61.8%

พิชฟอร์ก (PITCHFORK)

|0 ความคิดเห็น
พิชฟอร์ก (PITCHFORK)

เส้น PITCHFORK เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเส้นแนวโน้มแบบเส้นคู่ขนาน แต่มีลักษณะพิเศษคือ จะเป็นเส้นคู่ขนานเพียง 3 เส้น โดยมีเส้นที่สองหรือเส้นกลาง แบ่งครึ่งระยะทางระหว่างเส้นบนและเส้นล่างที่เกิดจากการลากผ่านจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของช่วงเวลานั้น ส่วนการตีความหมายของแนวรับแนวต้านจะเหมือนกับ เส้นคู่ขนานแบบอื่น ๆ

ปริมาณการซื้อขาย VOLUME (VOL)

|0 ความคิดเห็น

ปริมาณการซื้อขาย VOLUME (VOL)

VOLUME คือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณการซื้อขาย มีข้อสังเกตดังนี้ :
ความสัมพันธ์ในแง่บวก

1.  เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน และปริมาณการซื้อขายปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นการสนับสนุนการขึ้นของราคา
2.  เมื่อราคาที่พุ่งสูงขึ้น ต่อมามีการปรับตัวลง หากปริมาณการซื้อขายปรับตัวลดลงด้วย จะเป็นการแสดงถึงการลดลงชั่วคราวของราคา ก่อนที่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอีกครั้งหนึ่ง
3.  การขายอย่างตื่นตระหนก (PANIC SELLING) เกิดขึ้นจากราคาที่มีการลดลงมาเป็นระยะเวลานาน และต่อมาราคาตกดิ่งลงในขณะที่ VOLUME กลับเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นช่วงวิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) ซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของตลาดหรือหุ้น เพราะบ่อยครั้งที่วิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) จะเป็นจุดจบของ BEAR MARKET
ความสัมพันธ์ในแง่ลบ

1. เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน แต่ปริมาณการซื้อขายกลับลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา
2. เมื่อราคาที่ลดลง ต่อมามีการปรับตัวขึ้น แต่หากปริมาณการซื้อขายลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นราคาในขณะนั้น
3. เมื่อราคาวิ่งขึ้นกลับไปถึงจุดสูงเก่า แต่ VOLUME ไม่มากเท่ากับ VOLUME ของจุดสูงเก่า จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา และอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป
4. เมื่อราคากับ VOLUME ขึ้นไปด้วยกันช้า ๆ จนถึงระดับหนึ่งแล้ว ราคาวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วโดย VOLUME ได้สูงมากขึ้นผิดปกติ และถ้าหลังจากนั้นราคาเริ่มลดต่ำลง จะถือว่า ณ จุดนั้นเป็นการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลง
5. ถ้าราคาสูงขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน และเมื่อมาถึงจุดที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ VOLUME กลับยังคงสูงมาก จะเป็นสัญญาณเตือนว่ามีการขายระบายหุ้นออกในลักษณะของการโยนหุ้น (มีการซื้อขายกันระหว่างกลุ่มเพื่อไม่ให้ราคาตก) ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป
TICK VOLUME

 TICK VOLUME เป็นเครื่องมือในการประมาณการซื้อขายของหุ้น หรือสัญญา (FUTURE CONTRACT) ในระหว่างวัน โดยการนับจำนวน TICK (การซื้อขายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง)
 TICK VOLUME ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะเป็นการนับจำนวนครั้งที่ราคาเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนครั้งของการซื้อขายสัญญาในราคาหนึ่ง
 TICK VOLUME ของการซื้อขายหุ้น จะหมายถึงจำนวน TICK (การซื้อขายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
 ดังนั้นหาก TICK VOLUME มีค่ามาก จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานั้น ๆ มีปริมาณการซื้อขายมากด้วย