skip to main |
skip to sidebar
จีอีร่วมวง Holographic Storage เล็งคลอดดิสก์ใหม่จุเท่าดีวีดี 100 แผ่น
บทความโดย surachai
ภาพประกอบ holographic storage disc
จีอีหรือ General Electric ประกาศความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีแผ่นดิสก์เก็บข้อมูลชนิดใหม่ Holographic Storage แม้ยังไม่ประกาศแผนการจำหน่าย แต่นักวิจัยของจีอีระบุว่า แผ่นดิสก์ Holographic Storage ขนาดเท่ากับแผ่นดีวีดีมาตรฐานจะสามารถให้ความจุข้อมูลได้สูงถึง 500GB เทียบเท่าแผ่นดีวีดี 100 แผ่นหรือแผ่น Blu-ray ซิงเกิลเลเยอร์จำนวน 20 แผ่น
ประธานโครงการ Holographic Storage ของจีอีกล่าวว่าการพัฒนาของจีอีในครั้งนี้คือก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการส่งเทคโนโลยี Holographic Storage เจเนอเรชันหน้าสู่วิถีประจำวันของผู้บริโภค โดยนอกจากความจุที่เหนือกว่าบลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray) หน่วยวิจัย GE Global Research ยังให้ข้อมูลด้วยว่า แผ่นดิสก์เทคโนโลยี Holographic นั้นสามารถใช้อ่านและเขียนบนเครื่องเล่นบลูเรย์หรือดีวีดีแบบเดิมได้
เบื้องหลังความสำเร็จของการเพิ่มเนื้อที่ความจุข้อมูลให้แผ่นดิสก์ Holographic คือการใช้เทคโนโลยี micro-holographic ของจีอีเพื่อบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์พิเศษในลักษณะภาพโฮโลแกรม 3 มิติลงบนดิสก์ ทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้มากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้วันที่ผู้บริโภคสามารถสะสมภาพยนตร์ความละเอียดสูงหลายเรื่องไว้ในแผ่นดิสก์แผ่นเดียว รวมถึงภาพยนตร์เทคนิกตระการตาเช่น สามมิติ นั้นใกล้เป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
จีอีเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะโดนใจผู้บริโภควงกว้างเนื่องจากสามารถใช้กับเครื่องเล่นเดิมที่มีอยู่ โดยระบุว่าดำเนินการวิจัยเรื่อง holographic storage มานานกว่า 6 ปีแล้ว เป้าหมายหลักคือการแผ่นดิสก์ความจุ 1,000GB
ไม่ใช่จีอีรายเดียวที่เชื่อมั่นในเทคโนโลยี Holographic Storage มากกว่าบลูเรย์ เพราะปี 2005 บริษัทแม็กเซลล์ (Maxell) บริษัทในเครือฮิตาชิซึ่งร่วมมือกับบริษัทในเครือลูเซนต์เทคโนโลยีส์ (Lucent) ได้ออกมาประกาศความสำเร็จในการพัฒนาสตอเรจ Holographic Storage ที่มีความจุในการบันทึกข้อมูลสูงถึง 300GB แล้ว โดยใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลลักษณะภาพโฮโลแกรม 3 มิติเช่นกัน เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาแผ่นดิสก์ Holographic ความจุ 1.6 เทราไบต์ให้ได้
กระจก-แว่นตาไร้ฝ้า ฉาบด้วย
บทความโดย surachai
อนุภาคนาโนที่นักวิจัยจีนได้พัฒนาขึ้น เมื่อนำไปฉาบที่กระจกแล้ว จะสามารถป้องกันหมอกฝ้าได้ ส่วนภาพเล็กมุมขวาคือลักษณะ
ของอนุภาคที่คล้ายผลราสเบอร์รี
นักวิจัยจีนพบวิธีกำจัดฝ้าเกาะกระจก เพียงฉาบด้วยอนุภาคนาโน ที่มีรูปลักษณ์เหมือนผลราสเบอร์รี แค่นี้หมอกฝ้าไม่มากล้ำกลายแว่นตา หรือหน้าต่างใดๆ ได้
ฝ้าที่เกาะกระจกรถยนต์หรือตามแว่นตาของผู้สวมใส่นับว่าสร้างความเสี่ยงอันตรายให้แก่เจ้าของยานพาหนะหรืออุปกรณ์นั้นๆ ได้ และแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีไล่ฝ้า หรือสเปรย์ต่างๆ นานา บรรดาฝ้าพวกนั้นก็กลับมาใหม่อยู่เนืองๆ ล่าสุดนักวิจัยจากจีนได้พัฒนาอนุภาคขนาดนาโนนำไปฉาบตามแผ่นกระจก เพื่อไม่ให้ฝ้าหรือหมอกเกาะตามแผ่นกระจกได้อีกต่อไป
นักวิจัยชาวจีนและทีมงานแห่งห้องปฏิบัติการนาโนวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีฟิสิกส์และเคมี สถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Technical Institute of Physics and Chemistry, Chinese Academy of Sciences : CAS) ได้ร่วมกันศึกษาเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับหมอกฝ้ามานานหลายปี จนค้นพบอนุภาคนาโนที่มีลักษณะเหมือนผลราสเบอร์รี นำมาฉาบที่กระจกเพื่อป้องกันไม่ให้มีฝ้าหรือหมอกเกิดขึ้นที่กระจกนั้นๆ
ที่ห้องทดลอง พวกเขาได้นำแผ่นกระจกที่เคลือบอนุภาคดังกล่าวมาทำให้เย็น และนำไปอังไอน้ำร้อนต่อ แต่แผ่นกระจกดังกล่าวก็ยังใสและชัดเจน
อย่างไรก็ดี การค้นพบครั้งนี้เป็นเพียงในระดับห้องปฏิบัติการ เพราะยังไม่ผู้นำต่อยอด และดูความเป็นไปได้ในการผลิตเพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรมการพาณิชย์แต่อย่างใด แต่ทางด้านนักวิจัยเชื่อว่าอนาคตอันใกล้ คงจะได้พัฒนาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ออกขายตามท้องตลาดได้อย่างแน่นอน
อนุภาคนาโนที่นักวิจัยจีนพัฒนาขึ้น เพื่อขจัดหมอกฝ้าบนกระจก มีลักษณะคล้ายผลราสเบอร์รี (สีแดงภาพล่าง) นับเป็นเทคนิคพิเศษที่ช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
อังกฤษพัฒนา แขนกล ควบคุมด้วยคลื่นสมองลิง
บทความโดย kawin
แขนยนต์ที่ควบคุมด้วยความคิดเพียงอย่างเดียวกำลังจะนำมาทดลองใช้กับมนุษย์ ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พิการและผู้เป็นอัมพาตกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง
ศ.เควิน วอร์วิก จากมหาวิทยาลัยรีดดิ้ง ประเทศอังกฤษ ได้นำไมโครชิพที่มีความบางขนาดเท่ากับเส้นผมไปใส่ในสมองลิง เพื่อเชื่อมกับเซ็นเซอร์ในแขนเทียม และอ่านสัญญาณที่ส่งจากนิวรอนเซลล์สมอง ส่งผลให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบทันที
ผลการทดลองพบว่า แขนยนต์สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของลิง 2 ตัว ทั้งที่ไหล่ ข้อศอกและมือจับที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมือของมนุษย์ ซึ่งมือจับสามารถหยิบขนมมาร์ชแมลโลว์และผลไม้เข้าปากลิง
เทคโนโลยีชิพในสมองที่ใช้ มี ชื่อว่า "เบรนเกต" พัฒนาโดย ศ.จอห์น ดอนโนฮิว คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา
ศ.วอร์วิกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแขนและขายนต์ ยังเคยทดลองการเคลื่อนไหวแขนยนต์โดยควบคุมด้วยความคิดกับตนเอง ด้วยการนำชิพไปไว้ในระบบประสาทที่ใช้ควบคุมแขนยนต์ที่พัฒนาโดย ดร.ปีเตอร์ ไคเบิร์ด เพื่อนร่วมงาน
ต่อมานายแมตธิว เนเกิ้ล ผู้พิการอัมพาตทั้งตัวเพราะ ถูกแทง แต่ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว ได้อาสาสมัครมาทดลองเทคโนโลยีใหม่ เขาสามารถควบคุมเมาส์คอมพิวเตอร์ สามารถเช็กอีเมล์ เปลี่ยนช่องทีวีและวาดรูป เนเกิ้ล เปิดเผยว่า "ผลการทดลองนั้นเป็นที่น่ามหัศจรรย์มาก"
Bacteria Turn Microgears
บทความโดย kawin
นักวิจัยจาก Argonne National Lab และจากสถาบันต่างๆ กำลังทำการวิจัยและทดลองการหมุนเฟืองขนาดจิ๋วโดยใช้การเคลื่อนไหวของ bacteria. การทดลองพบว่าความเร็วของการหมุนของเฟืองสามารถเพิ่มหรือลดได้จากการป้อนปริมาณอ๊อกซิเจนให้กับแบ็คทีเรีย เนื่องจากแบคทีเรียจะตื่นตัวเมื่อเจอก๊าซอ๊อกซิเจน ดังนั้นยิ่งเพิ่มหรือลดก็าซอ๊อกซิเจนมากเท่าไร จะทำให้เฟืองหมุนเร็วมากเท่านั้น และเมื่อไม่มีก็าซอ๊อกซิเจน แบ็คทีเรียก็จะหยุดการเคลื่อนไหวทำให้เฟืองหยุด ซึ่งจากการทดลองนี้ทำให้เชื่อว่า แบคทีเรียสามารถนำมาใช้ในงาน mechanic ขนาดจิ๋วได้ เช่นอาจใช้กับเครื่องมือทางการแพทย์ หรือกระทั่งหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว
เพียงแค่ขยับตัวก็ชาร์จแบตมือถือได้แล้ว
บทความโดย kawin
เคยรู้บ้างไหม การที่คนๆหนึ่งใช้ชีวิตแบบนั่งๆนอนๆ หรือใช้ชีวิตประจำวันแบบขี้เกียจไร้ซึ่ง activity ทั้งปวง ก็สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าและนำมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน
การที่คนเราหายใจ ซึ่งก็คือการที่กระบังลมเราขยับเพื่อดูดอากาศเข้าปอดแล้วหายใจออกมานั้น สามารถสร้างพลังงานได้ประมาณ 1 watt. แล้วถ้าคนขี้เกียจคนดังที่กล่าวข้างต้น ลุกขึ้นแล้วเดินไปเดินมา แต่ละก้าวที่เดินสามารถสร้างพลังงานได้อีกประมาณ 70 watt
พลังงานเหล่านี้สามารถนำมาใช้ชาร์ตแบตมือถือ, หรือใช้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ยังได้ แต่ปัญหาก็คือว่า จะเก็บเกี่ยวรวมรวมพลังงานเหล่านี้มาใช้งานได้อย่างไร
piezoelectric ถูกนำมาใช้ในการทดลองนี้ เมื่อ Michael C. McAlpine of Princeton and colleagues ได้พัฒนาและทดลองการ เปลี่ยนการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยการ print ผลึก piezoelectric ลงบนวัตถุซึ่งมีลักษณะหยุ่นคล้ายยางที่เข้ากันได้กับเนื้อเยื่อร่างกายมนุษย์
ผลึก Piezoelectric สามารถให้กำเนิดไฟฟ้าได้เมื่อถูกกดหรืองอ แต่ว่าปัญหาคือผลึกนี้ต้องใช้ความร้อนสูงในการทำ ซึ่งพลาสติกหรือยางส่วนมากมักจะต้านทานความร้อนสูงไม่ไหว
Dr. McAlpine ได้แก้ปัญหานี้ด้วยการ ทำผลึก crystals ให้เป็นแถบลงบนของแข็ง magnesium oxide ก่อน จากนั้นจึงกัด magnesium oxide ออกจากตัวผลึก แล้วจึงนำผลึกที่ได้ print ลงบน polymer ชนิดงอได้ หรือที่เรียกว่า PDMS
Dr. McAlpine กล่าวว่าเขาและทีมงานได้สร้าง prototype ขึ้นมา ซึ่งจะมีสายไฟต่อกับตัวผลึกไว้สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้า และผลึกจะถูกเคลือบด้วย PDMS อีกชั้นหนึ่งด้วยเพื่อความปลอดภัย
อย่างแรกเลยที่จะทดลองใช้คือการใส่ไว้ในรองเท้า เพื่อชาร์จแบตมือถือหรือชาร์จพวก music player. ซึ่งจริงๆแล้วเป้าหมายหลักคือสร้างเจ้าตัวนี้ไว้ให้สามรถติดตั้งได้ตามร่างกายส่วนต่างๆของร่างกายที่ใดก็ได้เช่น ฝังไว้ในอก หรือที่อื่นๆ
อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากมือถือ
บทความโดย kawin
รายงานจากแหล่งข่าวว่า ประชาชนชาวสวีเดนอย่างน้อย 250000 คนแพ้คลื่นสัญญานจากโทรศัพท์มือถือ โรคนี้มีชื่อเรียกว่า electro-hypersensitivity
คลื่นสนามแม่เหล็กจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นคอมพิวเตอร์, โทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือ สามารถก่อให้เกิดอาการได้หลายอย่างตั้งแต่ เวียนศรีษะ, คลื่ืนไส้ ปวดศีรษะ หรือแม้แต่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบการหายใจ, อัตราการเต้นของหัวใจสูงผิดปรกติ และหมดสติในที่สุด
เรามารู้จัก Process การทำ Lead - Free Organic Solderability Preservatives (OSP)
Organic Solderability Preservatives (OSP)
Process lead free การผลิตแผ่น PCB ปัจจุบันนี้ได้นึกถึงสภาพแวดล้อมเป็นที่สำคัญ เพราะว่าชั้นบรรยากาศโลกเราตอนนี้ มีสภาพที่เสื่อมโทรมเพราะฝีมือของมนุษย์เรานี้เอง ที่สร้างขึ้นมา รวมถึงกระบวนการผลิต PCB อุปกรณ์ด้านอิเลคทรอนิคส์ การ ชุป PCB ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ Hot Air Levelling เป็นการชุมโลหะผสมตะกั่ว ดีบุก บนแผ่น PCB ต่อไปในอนาคตภายภาคหน้านับตั้งแต่ปัจจุบันนี้ แต่ละประเทศได้ พยายาม ให้ช่วยกันลดการใช้สารเคมีที่มีสารตะกั่วลงบนแผ่น PCB ให้มากที่สุด โดยการใช้สารเคลือบที่ปราศจากตะกั่วและโลหะที่ใช้บัดกรีก็จะเป็นโลหะผสมที่ไม่มีตะกั่วเช่นกัน
รูปภาพเป็นแนวโน้มการใช้ Process lead-Free มากขึ้นระหว่างปี 2003-2007
Process การผลิต
ในการชุบ ( OSP) ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันผิวทองแดงไม่ให้เกิด oxidization หรือการเคลือบผิวทองแดงขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง อายุการเคลือบด้วยน้ำยาเคมี (OSP) ก็ใช้ระยะเวลา 6-12 เดือนที่ยังสามารถ อยู่ได้ ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ เพราะฉะนั้นการ Package จะต้องควบคุมด้วยการใส่ Silicagel ไปด้วยเพื่อช่วยดูดซึมซับความชื่นของอากาศ เป็นการรักษาสภาพของผิวทองแดงที่เคลือบด้วยน้ำยาเคมี (OSP)
ขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทำ Process นี้เป็นผลดีหลายๆด้าน ทั้งระยะเวลาก็ไว ประหยัดเนื้อที่การทำงาน ลดต้นทุนกระบวนการผลิต ไม่ต้องไปสูญเสียทางด้านพลังงานอื่นๆอย่างเช่นการใช้ไฟฟ้า ที่เป็นจำนวนมากๆด้วย
Ferric Chloride
Ferric Chloride เรามาทำความรู้จัก สารเคมี ที่กัดผิวทองแดงกันครับ
คุณสมบัติทางเคมี นับตั้งแต่ Rembrandt จิตรกรชาวฮอลแลนด์ ได้นำ Nitric acid และ Dutch mordant มาใช้กัดทองแดง ก็นับเป็นจุดเปลี่ยนของศตวรรษที่สารละลาย ferric chloride ถูกนำมาใช้ในงานกัดผิว สาเหตุทั่วไปก็เนื่องมาจากปฏิกิริยาของมันกับ gum bichromate gelatine รวมทั้งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานที่ถูกเน้นมากขึ้น เราจึงต้องหันกลับมาประเมินเกี่ยวกับสารเหล่านี้และสารเคมีตัวอื่นๆที่ใช้งาน
เกลือ Ferric chloride ไม่มีข้อเสียในการผสมสารละลาย etching อื่นๆ อีก 2 ตัว มันไม่เกิดไอที่เป็นอันตราย ไม่มีกลิ่น แม้ว่าจะเป็นสารกัดกร่อน แต่ก็ไม่ซึมสู่ผิวหนัง
สารละลาย Ferric chloride ในน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดแก่แต่ปฏิกิริยาของมันกับทองแดงไม่ก่อให้เกิดไอหรือควัน กล่าวง่ายๆ ยกเว้น free oxygen ที่เกิดขึ้น ทองแดงจะไม่ทำปฏิกิริยากับ hydrochloric acid ซึ่งเป็นกรดที่ถูกสร้างจากสารละลาย ferric chloride
เมื่อ Ferric chloride ถูกละลายในน้ำ สารละลายจะมีฤทธิ์เป็นกรดแก่เนื่องจากผลของปฏิกิริยา hydrolysis ปฏิกิริยาทางเคมีมีสูตรดังนี้
โดยพื้นฐาน สารละลาย Ferric chloride ในน้ำจะแตกตัวเป็น iron (ferric) และ chloride ions ขณะที่น้ำจะแตกตัวเป็น hydrogen และ hydroxyl ions
FeCl3 <=> Fe3 + 3Cl (1)
H2O <=> H3 + OH (2)
Ferric ions บางส่วนจะรวมตัวกับ hydrogen และ hydroxyl ions กลายเป็น ferric hydroxide สารประกอบซึ่งลายได้น้อยและตกตะกอนในสารละลายเป็นของแข็งสีน้ำตาล
Fe3 + 3OH <=> Fe(OH)3 (3)
ตะกอนนี้มีประโยชน์ในการเอา Hydroxyl ions ออกจากสารละลาย เหลือไว้แต่ hydrogen ions จำนวนมาก และการมีอยู่ของ hydrogen ions ก็ทำให้สารละลายมีฤทธิ์เป็นกรด เพราะว่าคุณสมบัติของโลหะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นขั้วลบ ทองแดงจึงเข้าแทนที่ iron ตามสมการ และ กลายเป็นสารผสมระหว่าง ferrous และ cupric irons
อย่างมีประสิทธิผล ทองแดงละลายได้โดยไม่เกิดแก็สใดๆ
2Fe3 + Cu (solid) <=> 2Fe3 + Cu2 (4)
Ferrous ions จะเริ่มเสถียรขึ้นขณะที่สารละลายเริ่มมีความเป็นกรดและช่วยให้การละลายทองแดงง่ายขึ้น ขณะที่ในสารละลายพื้นฐาน (มีความเป็นกรดน้อย) จะมีแนวโน้มที่ ferrous ions จะถูกแปลงกลับไปเป็น ferric เมื่อทองแดงละลายมากขึ้นเละมากเกินขีดจำกัดที่จะละลายได้ cupric chloride จะตกตะกอนจากสารละลาย จากสีเขียวเป็นของแข็งสีน้ำเงินStrengths and Mixing
Ferric chloride จะมีทั้งที่เป็นของแข็ง (ไม่แนะนำให้ใช้เพราะว่ามันจะเกิดไอ hydrogen chloride ที่เป็นพิษสูงเมื่อผสมกับน้ำ) และในรูปแบบของเหลวซึ่งมักจะมีค่า strength ที่ 45o Baume ซึ่งค่านี้แสดงความถ่วงจำเพาะที่ 1.43 โดยประมาณหรืออัตราส่วนของน้ำหนักต่อปริมาตร 39-41% การผสม ferric chloride สามารถใช้ค่านี้ได้โดยไม่ต้องใส่ใจค่าอื่นๆ
ในการสร้างสารละลาย Etching ทั่วไป จะใช้น้ำ 2 ส่วน ต่อสารละลาย ferric chloride 1 ส่วนที่ค่า strength 42o Baume
การเตรียมสารละลาย
ถึงตอนนี้ ferric chloride ที่มีความเป็นกรดสูงต้องการขั้นตอนที่จะเอา free acid ออกและปรับสภาพสารละลาย วิธีหนึ่งคือใส่ทองแดงจำนวนเล็กน้อยเข้าไปและปล่อยให้ละลาย อีกวิธีหนึ่ง (ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากกว่า) คือนำสารละลาย stock 10cc เติมสารละลาย ammonia 9% ที่ใช้ทั่วไป 10cc ผลที่ได้จะทำให้ตะกอน ferric chloride นอนก้น ก่อนที่จะรินของเหลวออกและเติมตะกอนที่ได้ลงในสารละลาย stock 1 ลิตร ถ้าวงจรการ etching โดยใช้ ferric chloride พึ่งเริ่มต้น วิธีที่ 3 น่าจะง่ายกว่าดังนี้ นำของเหลว ferric chloride ที่ใช้แล้ว (ประกอบด้วย ferric hydroxide) เติมด้วยสารละลาย stock 42o Baume ใหม่ ในอัตราส่วน ของเหลวใช้แล้ว 1 ส่วนต่อสารละลาย 42o Baume 10 ส่วนColor in use
เงื่อนไขการ etching ที่ดีที่สุดมักจะเกิดขึ้นหลังจากทำการ etching ส่วนหนึ่งไปแล้ว (เป็นผลของช่วงระยะเวลา”ฟักตัว”ของปฏิกิริยาเคมีที่จะคงตัว) แต่ในขณะที่ปฏิกิริยา etching ดำเนินต่อไปสารละลายจะเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง การหมดประสิทธิภาพจะสามารถสังเกตได้จากสีที่เปลี่ยนไป จากเริ่มต้นเป็นสีน้ำตาลแดง (ferric hydroxide) กลายเป็น น้ำตาลขุ่น (เหมือนโคลน) (ferric และ ferrous hydroxide) เมื่อสารละลายทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสุดท้ายเป็นสารละลายสีเขียวเข้มและตะกอนสีดำ (cupric salt ในสารละลายและตกตะกอนโดย hydroxide) ถึงขั้นตอนนี้สารละลายจะหมดประสิทธิภาพและต้องมีการเปลี่ยน การเติม calcium ลงไปช้าๆ (washing soda crystals หรือ soda ash) จนกระทั่งหมดฟอง (และค่า ph ถึง 7) ที่จุดนี้สารละลายจะเป็นธรรมชาติและสามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัยThe Upside down Myth
คำแนะนำทั่วไปคือควรกัดแผ่นทองแดงใน Ferric chloride โดยวางคว่ำหน้าหรือวางในแนวตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตะกอน ferric hydroxide ไปอุดตันเส้นที่ etch ซึ่งจะขัดขวางการ etching ได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะไม่จำเป็นถ้าแผ่นทองแดงที่วางหงายหน้าขึ้น ถูกเอาออกจากสารละลายทุกๆ 20 นาทีแล้วนำไปล้างให้น้ำเย็นไหลผ่านเพื่อเอาตะกอนออกก่อนจะนำไปกัดต่อ กระบวนการนี้ไม่มีผลเสียต่อสาร etchants อื่นๆและมีข้อดีในการใช้ตรวจสอบงาน อย่างไรการ etching งานแบบลึกๆ ยังคงต้องทำกลับด้าน ถ้าการกัดงานสมบูรณ์แล้ว ต้องนำแผ่นงานไปทำความสะอาดกับน้ำที่ไหล เพราะว่า ferric chloride ที่ยังเหลืออยู่จะทำปฏิกิริยากัดต่อไป
Ease of Use
โดยสรุป Ferric chloride เป็นสารเคมีและควรสัมผัสอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแสดงระดับความเป็นพิษที่สัมพันธ์กับ nitric acid และ Dutch Mordant มีเพียงคำเตือนให้เก็บสารละลายไว้ในขวดพลาสติกและล้างด้วยน้ำเมื่อสัมผัสถูกผิว ไม่จำเป็นต้องมีตู้ดูดไอ
สารละลาย 42o Baume ที่ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของมันจะกัดลายลึกๆได้ดีมาก เมื่อเจือจางเหลือประมาณ 32o Baume โดยการเติมน้ำจำนวนเท่ากัน มันจะมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงาน soft-ground และงานที่มีความละเอียดโดยไม่เสียเวลาในการกัดเพิ่มและลดการกัดที่เสีย กรณีที่จำเป็นต้องกัดงานที่ความลึกน้อย ค่า strength ของสารละลายจะต้องถูกทำ personal taste (acrylic resist techniques สำหรับหาค่า strength ที่แน่นอนของสารละลาย ferric chloride) ระยะเวลาที่ใช้กัดจะลดลง