วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของระบบติดตาม ในแบบ SMS

|0 ความคิดเห็น
หลักการทำงานของระบบติดตาม ในแบบ SMS สามารถทำได้สองแบบคือการส่ง SMSจาก
โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังอุปกรณ์ติดตามเพื่อขอตำแหน่งพิกัดในขณะนั้น และการตั้งค่าให้ตัว
เครื่องจะส่งข้อมูลกลับมายังโทรศัพท์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ ข้อมูลจากเครื่องหรือคำ
สั่งจากผู้ใช้จะถูกส่งผ่านครือข่ายไร้สาย SMS (Short Message Service) (ดูแผนภาพด้าน
ล่าง) ข้อมูลที่ส่งกลับมาจะประกอบด้วย ชื่อเครื่อง วันที่ เวลา พิกัด ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปเปิด
ดูได้จากแผนที่หรือจาก Google Earth ระบบนี้มีข้อดีคือไม่ต้องเสียค่าบริการ web site และ
สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้เองจากการใช้งานว่าต้องการข้อมูลถี่แค่ไหน

back to top

หลักการทำงานของ Tracking

|0 ความคิดเห็น

หลักการทำงานของ Tracking

หลักการทำงานของระบบติดตาม ในแบบ online ก็คือตัวเครื่องจะส่ง
ข้อมูลกลับมายัง Server ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย GPRS
(General Package Radio Service)โดย Serverจะทำการประมวล
ผลและเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้เพื่อแสดงผลบนแผนที่หรือแสดงผลใน
แบบรายงาน ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ที่ Server เป็นเวลา 3 เดือนโดย
ผู้ใช้สามารถdownload ข้อมูลมาเก็บไว้เพื่อใช้งานภายหลังก็ได้
(ดูแผนภาพด้านล่าง) เมื่อผู้ใช้ login เข้าสู่ระบบโดยใส่ user name
 และ pass word ที่ได้กำหนดไว้ก็จะสามารถดูข้อมูลเฉพาะของตัว
เองโดยอาจกำหนดให้เป็นกลุ่มหรือเป็นรายเครื่องก็ได้ ระบบนี้จึงมี
ความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล สะดวกในการใช้งานโดยไม่ต้องลง
โปรแกรมล่วงหน้าและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอด 24 ช.ม. ทุกวัน
ผ่าน PC หรือ PDA หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่

  

10 วิธีแฮคเจาะเว็บ

|0 ความคิดเห็น
10 วิธีแฮคเจาะเว็บ - Web Application Hacking

ในทุกๆวันนี้คงไม่มีบริษัทใดที่ไม่มี Website เป็นของตัวเอง บางบริษัทอาจจะเช่า Web Hosting อยู่ หรือ บางบริษัทอาจมี Web Site เป็นของตนเองอยู่ในระบบเครือข่ายของบริษัท โดยมีการต่อเชื่อมเครือข่ายของบริษัทด้วย Frame Relay, ADSL หรือ Leased Line เข้ากับระบบเครือข่ายของ ISP ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีการจัดซื้อ Firewall มาใช้ป้องกันระบบเครือข่ายภายในของบริษัท กับ ระบบอินเทอร์เน็ตจาก ISP และ มีการเปิดให้คนภายนอกสามารถเข้ามาเยี่ยมชม Web Site ได้ โดยเปิด Port TCP 80 (http) และ Port TCP 443 (https) ในกรณีที่ใช้โปรโตคอล SSL ในการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ปัญหาก็คือ ในเมื่อทุกบริษัทต้องเปิดทางให้มีการเข้าชม Web Site ทั้งแบบ Plain text traffic (Port 80) และแบบ Encrypted text traffic (port 443) ทำให้แฮกเกอร์สามารถจู่โจม Web Site ของเราโดยไม่ต้องเจาะผ่าน Firewall เนื่องจากเป็น Port ที่ Firewall มีความจำเป็นต้องเปิดใช้อยู่แล้ว
ในโลกของ E-Commerce มีอัตราการใช้งาน Web Server ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน (ดูข้อมูลจากwww.netcraft.com) และ จากข้อมูลของ UNCTAD (http://www.unctad.org) พบว่า Web Server ทั่วโลก มีทั้งแบบที่เข้ารหัสด้วย SSL แล้ว และ แบบไม่เข้ารหัสด้วย SSL ก็ยังคงมีใช้กันอยู่
ในเมื่อแฮกเกอร์มองเห็นช่องที่เรามีความจำเป็นต้องเปิดใช้งานผ่านทาง Web Server และ Web Application แฮกเกอร์ในปัจจุบันจึงใช้วิธีที่เรียกว่า "Web Application Hacking" ในการเจาะเข้าสู่ระบบขององค์กรต่างๆ ทั่วโลก ขณะนี้มีการจู่โจมระบบโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ต้องการทำสถิติ ในการเจาะ Web Site ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.zone-h.org ดังนั้น ผู้ที่มี Web Site อยู่ และ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการหันมาทำธุรกิจในลักษณะของ E-commerce ซึ่งต้องมี Web Site ที่ใช้ Web server ที่เชื่อถือได้ และมีการเขียน Web application โดยคำนึงถึงเรื่อง "Security" เป็นหลัก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ช่องโหว่ (Vulnerability) ของ Web application ที่แฮกเกอร์ชอบใช้ในการเจาะระบบ Web application ของเราซึ่งรวบรวมได้ทั้งหมด 10 วิธีด้วยกัน (Top 10 Web Application Hacking)
ตลอดจนเรียนรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่าแฮกเกอร์ที่จ้องคอยเจาะระบบเราอยู่ ผ่านทาง Web Site ที่ยังไงเราก็ต้องเปิดให้เข้าถึง และ ยังมี Virus Worm ตัวใหม่ๆ ที่เขียนขึ้นเพื่อจู่โจม Port 80 (HTTP)และ Port 443 (SSL) โดยเฉพาะอีกด้วย รายละเอียดของ Top 10 Web Application Hacking มี 10 วิธี ดังนี้
1. Unvalidated Input
หมายถึง การที่ข้อมูลจากฝั่ง client ที่ส่วนใหญ่แล้ว จะมาจาก Internet Explorer (IE) Browser ไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนถูกส่งมาประมวลผลโดย Web Application ที่ทำงานอยู่บน Web Server ทำให้แฮกเกอร์สามารถดักแก้ไขข้อมูลในฝั่ง client
ก่อน ที่จะถูกส่งมายังฝั่ง server โดยใช้โปรแกรมที่สามารถดักข้อมูลได้ เช่น โปรแกรม Achilles เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเรารับข้อมูลจากฝั่ง client โดยไม่ระมัดระวัง หรือ คิดว่าเป็นข้อมูลที่เราเป็นคนกำหนดเอง เช่น เทคนิคการใช้ Hidden Field หรือ Form Field ตลอดจนใช้ข้อมูลจาก Cookies เราอาจจะโดนแฮกเกอร์แก้ไขข้อมูลฝั่ง client ด้วย โปรแกรมดังกล่าวแล้วส่งกลับมาฝั่ง server ในรูปแบบที่แฮกเกอร์ต้องการ และมีผลกระทบกับการทำงานของ Web Application ในฝั่ง web server
วิธีการป้องกัน
เรา ควรจะตรวจสอบข้อมูลที่รับมาจากทั้ง 2 ฝั่ง คือ ข้อมูลที่รับมาจาก client ผ่านทาง Browser และข้อมูลที่รับมาประมวลผลที่ web server โดยตรวจสอบที่ web server อีกครั้งก่อนนำไปประมวลผลด้วย Web application เราควรมีการฝึกอบรม Web Programmer ของเราให้ระมัดระวังในการรับ input จากฝั่ง client ตลอดจนมีการ Review Source code ไม่ว่าจะเขียนด้วย ASP, PHP หรือ JSP Script ก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบจริง ถ้ามีงบประมาณด้านรักษาความปลอดภัย ก็แนะนำให้ใช้ application level firewall หรือ Host-Based IDS/IPS ที่สามารถมองเห็น Malicious content และป้องกันในระดับ application layer

2. Broken Access Control
หมาย ถึง มีการป้องกันระบบไม่ดีพอเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิของผู้ใช้ (Permission) ที่สามารถจะ Log-in /Log-on เข้าระบบ Web application ได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าระบบ (Unauthorized User) สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เราต้องการป้องกันไว้ไม่ให้ Unauthorized User เข้ามาดูได้ เช่น เข้ามาดูไฟล์ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าที่เก็บอยู่ใน Web Server หรือ เข้าถึงไฟล์ข้อมูลในลักษณะ ฏDirectory Browsing โดยเห็นไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน web Server ของเรา ปัญหานี้เกิดจากการกำหนด File Permission ไม่ดีพอ และ อาจเกิดจากปัญหาที่เรียกว่า "Path Traversal" หมายถึง แฮกเกอร์จะลองสุ่มพิมพ์ path หรือ sub directory ลงไปในช่อง URL เช่น http://www.abc.com/../../customer.mdb เป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดจากปัญหาการ cache ข้อมูลในฝั่ง client ทำให้ข้อมูลที่ค้างอยู่ cache ถูกแฮกเกอร์เรียกกลับมาดูใหม่ได้ โดยไม่ต้อง Log-in เข้าระบบก่อน
วิธีการป้องกัน
พยายามอย่าใช้ User ID ที่ง่ายเกินไป และ Default User ID ที่ง่ายต่อการเดา โดยเฉพาะ User ID ที่เป็นค่า default ควรลบทิ้งให้หมด สำหรับปัญหา Directory Browsing หรือ Path Traversal นั้น ควรมีการ set file system permission ให้รัดกุม เพื่อป้องกัน ช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตี และ ปิด file permission ใน sub directory ต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ และ ไม่มีความจำเป็นต้องให้คนภายนอกเข้า เพื่อป้องกันแฮกเกอร์สุ่มพิมพ์ path เข้ามาดึงข้อมูลได้ และควรมีการตรวจสอบ Web Server log file และ IDS/IPS log file เป็นระยะๆ ว่ามี Intrusion หรือ Error แปลกๆ หรือไม่

3. Broken Authentication and Session Management
หมาย ถึง ระบบ Authentication ที่เราใช้อยู่ในการเข้าถึง Web Application ของเรานั้นไม่แข็งแกร่งเพียงพอ เช่น การตั้ง Password ง่ายเกินไป, มีการเก็บ Password ไว้ในฝั่ง Client โดยเก็บเป็นไฟล์ Cookie ที่เข้ารหัสแบบไม่ซับซ้อนทำให้แฮกเกอร์เดาได้ง่าย หรือใช้ชื่อ User ที่ง่ายเกินไป เช่น User Admin เป็นต้น บางทีก็ใช้ Path ที่ง่ายต่อการเดาได้ เช่น www.abc.com/admin หมายถึง การเข้าถึงหน้า admin ของระบบ แฮกเกอร์สามารถใช้โปรแกรมประเภท Dictionary Attack หรือ Brute Force Attack ในการลองเดาสุ่ม Password ของระบบ Web Application ของเรา ตลอดจนใช้โปรแกรมประเภท Password Sniffer ดักจับ Password ที่อยู่ในรูปแบบ Plain Text หรือ บางทีแฮกเกอร์ก็ใช้วิธีง่ายๆ ในการขโมย Password เรา โดยแกล้งปลอมตัวเป็นเรา แล้วแกล้งลืม Password (Forgot Password) ระบบก็จะถามคำถามกลับมา ซึ่งถ้าคำถามนั้นง่ายเกินไป แฮกเกอร์ก็จะเดาคำตอบได้ไม่ยากนัก ทำให้แฮกเกอร์ได้ Password เราไปในที่สุด
วิธีการป้องกัน
ที่ สำคัญที่สุด คือการตั้งชื่อ User Name และ Password ควรจะมีความซับซ้อน ไม่สามารถเดาได้ง่าย มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และมีข้อกำหนดในการใช้ Password (Password Policy) ว่าควรมีการเปลี่ยน Password เป็นระยะๆ ตลอดจนให้มีการกำหนด Account Lockout เช่น ถ้า Logon ผิดเกิน 3 ครั้ง ก็ให้ Lock Account นั้นไปเลยเป็นต้น การเก็บ Password ไว้ในฝั่ง Client นั้น ค่อนข้างที่จะอันตราย ถ้ามีความจำเป็นต้องเก็บในฝั่ง Client จริงๆ ก็ควรมีการเข้ารหัสที่ซับซ้อน (Hashed or Encrypted) ไม่สามารถถอดได้ง่ายๆ การ Login เข้าระบบควรผ่านทาง https protocol คือ มีการใช้ SSL เข้ามาร่วมด้วย เพื่อเข้ารหัส Username และ Password ให้ปลอดภัยจากพวกโปรแกรม Password Sniffing ถ้ามีงบประมาณควรใช้ Two-Factor Authentication เช่น ระบบ One Time Password ก็จะช่วยให้ปลอดภัยมากขึ้น การใช้ SSL ควรใช้ Digital Certificate ที่ได้รับการ Sign อย่างถูกต้องโดย CA (Certificate Authority) ถ้าเราใช้ CA แบบ Self Signed จะทำให้เกิดปัญหา Man in the Middle Attack (MIM) ทำให้แฮกเกอร์สามารถเจาะข้อมูลเราได้แม้ว่าเราจะใช้ SSL แล้วก็ตาม (ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ SSL Hacking ดูที่
http://www.acisonline.net)
4. Cross Site Scripting (XSS) Flaws
หมาย ถึง แฮกเกอร์สามารถใช้ Web Application ของเรา เช่น ระบบ Web Board ในการฝัง Malicious Script แฝงไว้ใน Web Board แทนที่จะใส่ข้อมูลตามปกติ เมื่อมีคนเข้า Refresh หน้า Web Board ก็จะทำให้ Malicious Script ที่ฝังไว้นั้นทำงานโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการของแฮกเกอร์ หรือ อีกวิธีหนึ่ง แฮกเกอร์จะส่ง e-mail ไปหลอกให้เป้าหมาย Click ไปที่ URL Link ที่แฮกเกอร์ได้เตรียมไว้ใน e-mail เมื่อเป้าหมาย Click ไปที่ Link นั้น ก็จะไปสั่ง Run Malicious Script ที่อยู่ในตำแหน่งที่แฮกเกอร์ทำดักรอไว้ วิธีการหลอกแบบนี้ในวงการเรียกว่า "PHISHING" ซึ่งโดนกันไปแล้วหลายองค์กร เช่น Citibank, eBay เป็นต้น (ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.acisonline.net)
วิธีการป้องกัน
อย่าง แรกเลยต้องมีการให้ข้อมูลกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ใช้ e-mail และ web browser กันเป็นประจำให้ระมัดระวัง URL Link แปลกๆ หรือ e-mail แปลกๆ ที่เข้ามาในระบบก่อนจะ Click ควรจะดูให้รอบคอบก่อน เรียกว่า เป็นการทำ "Security Awareness Training" ให้กับ User ซึ่งควรจะทำทุกปี ปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้รู้ทันกลเม็ดของแฮกเกอร์ และไวรัสที่ชอบส่ง e-mail มาหลอกอยู่เป็นประจำ สำหรับในฝั่งของผู้ดูและระบบ เช่น Web Master ก็ควรจะแก้ไข source codeใน Web Board ของตนให้ฉลาดพอที่จะแยกแยะออกว่ากำลังรับข้อมูลปกติ หรือรับข้อมูลที่เป็น Malicious Script ซึ่งจะสังเกตได้ไม่ยาก เพราะ Script มักจะมีเครื่องหมาย "< > ( ) # & " ให้ Web Master ทำการ "กรอง" เครื่องหมายเหล่านี้ก่อนที่จะนำข้อมูลไปประมวลผลโดย Web application ต่อไป

5. Buffer Overflow
หมาย ถึง ในฝั่งของ Client และ Server ไม่ว่าจะเป็น IE Browser และ IIS Web Server หรือ Netscape Browser และ Apache Web Server ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ ล้วนมีช่องโหว่ (Vulnerability) หรือ Bug ที่อยู่ในโปรแกรม เมื่อแฮกเกอร์สามารถค้นพบ Bug ดังกล่าว แฮกเกอร์ก็จะฉวยโอกาสเขียนโปรแกรมเจาะระบบที่เราเรียกว่า "Exploit" ในการเจาะผ่านช่องโหว่ที่ถูกค้นพบ ซึ่งช่วงหลังๆ แม้แต่ SSL Modules ทั้ง IIS และ Apache web server ก็ล้วนมีช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เจาะผ่านทาง Buffer Overflow ทั้งสิ้น
วิธีการป้องกัน
จะเห็นว่าปัญหานี้มาจาก ผู้ผลิตไม่ใช่ปัญหาการเขียนโปรแกรม Web application ดังนั้นเราต้องคอยหมั่นติดตามข่าวสาร New Vulnerability และ คอยลง Patch ให้กับระบบของเราอย่างสม่ำเสมอ และลง ให้ทันท่วงทีก่อนที่จะมี exploit ใหม่ๆ ออกมาให้แฮกเกอร์ใช้การเจาะระบบของเรา สำหรับ Top 10 Web Application Hacking อีก 5 ข้อ ที่เหลือผมขอกล่าวดังในฉบับต่อไปนะครับ
6. Injection Flaws
หมาย ถึง แฮกเกอร์สามารถที่จะแทรก Malicious Code หรือ คำสั่งที่แฮกเกอร์ใช้ในการเจาะระบบส่งผ่าน Web Application ไปยังระบบภายนอกที่เราเชื่อมต่ออยู่ เช่น ระบบฐานข้อมูล SQL โดยวิธี SQL Injection หรือ เรียก External Program ผ่าน shell command ของระบบปฎิบัติการ เป็นต้น
ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะใช้วิธีนี้ในช่วง การทำ Authentication หรือการ Login เข้าระบบผ่านทาง Web Application เช่น Web Site บางแห่งชอบใช้ "/admin" ในการเข้าสู่หน้า Admin ของ ระบบ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์สามารถเดาได้เลยว่า เราใช้ http://www.mycompany.com/admin ในการเข้าไปจัดการบริหาร Web Site ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ "/admin" ก็จะช่วยได้มาก
วิธี การทำ SQL injection ก็คือ แฮกเกอร์จะใส่ชื่อ username อะไรก็ได้แต่ password สำหรับการทำ SQL injection จะใส่เป็น Logic Statement ยกตัวอย่างเช่น ' or '1' = '1 หรือ " or "1"= "1
ถ้า Web Application ของเราไม่มีการเขียน Input Validation ดัก password แปลกๆ แบบนี้ แฮกเกอร์ก็สามารถที่จะ bypass ระบบ Authentication ของเราและ Login เข้าสู่ระบบเราโดยไม่ต้องรู้ username และ password ของเรามาก่อนเลย
วิธี การเจาะระบบด้วย SQL injection ยังมีอีกหลายแบบจากที่ยกตัวอย่างมา ซึ่งแฮกเกอร์รุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ได้ทางอินเทอร์เน็ตและวิธีการทำก็ไม่ยาก อย่างที่ยกตัวอย่างมาแล้ว
วิธีการป้องกัน
นักพัฒนาระบบ (Web Application Developer) ควรจะระมัดระวัง input string ที่มาจากทางฝั่ง Client (Web Browser) และไม่ควรใช้วิธีติดต่อกับระบบภายนอกโดยไม่จำเป็น
ควร มีการ "กรอง" ข้อมูลขาเข้าที่มาจาก Web Browser ผ่านมาทางผู้ใช้ Client อย่างละเอียด และ ทำการ "กรอง" ข้อมูลที่มีลักษณะที่เป็น SQL injection statement ออกไปเสียก่อนที่จะส่งให้กับระบบฐานข้อมูล SQL ต่อไป
การ ใช้ Stored Procedure หรือ Trigger ก็เป็นทางออกหนึ่งในการเขียนโปรแกรมสั่งงานไปยังระบบฐานข้อมูล SQL ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ "Dynamic SQL Statement " กับฐานข้อมูล SQL ตรงๆ
7. Improper Error Handling
หมายถึง มีการจัดการกับ Error message ไม่ดีพอ เวลาที่มีผู้ใช้ Web Application หรืออาจจะเป็นแฮกเกอร์ลองพิมพ์ Bad HTTP Request เข้ามาแต่ Web Server หรือ Web Application ของเราไม่มีข้อมูล จึงแสดง Error message ออกมาทางหน้า Browser ซึ่งข้อมูลที่แสดงออกมาทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้เป็นประโยชน์ ในการนำไปเดาเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบ Web Application ของเราได้ เนื่องจากเมื่อการทำงานของ Web application หลุดไปจากปกติ ระบบมักจะแสดงค่า Error Message ออกมาแสดงถึงชื่อ user ที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล, แสดง File System Path หรือ Sub Directory Name ที่ชี้ไปยังไฟล์ฐานข้อมูล ตลอดจนทำให้แฮกเกอร์รู้ว่าเราใช้ระบบอะไรเป็นฐานข้อมูลเช่น ใช้ MySQL เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหา
ควรมีการกำหนดนโยบายการจัดการกับ Error message ให้กับระบบ โดยทำหน้า Error message ที่เตรียมไว้รับเวลามี Bad HTTP Request แปลกๆ เข้ามายัง Web Application ของเราโดยหน้า Error message ที่ดีไม่ควรจะบอกให้ผู้ใช้รู้ถึงข้อมูลระบบบางอย่างที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่ควร รู้และถ้าผู้ใช้คนนั้นเป็นแฮกเกอร์ซึ่งย่อมมีความรู้มากกว่าผู้ใช้ธรรมดา การเห็นข้อมูล Error message ก็อาจนำไปใช้เป็นประโยชน์สำหรับแฮกเกอร์ได้
8. Insecure Storage
หมาย ถึง การเก็บรหัสผ่าน (password), เบอร์บัตรเครดิตลูกค้า หรือ ข้อมูลลับของลูกค้า ไว้อย่างไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ ส่วนใหญ่จะเก็บแบบมีการเข้ารหัส (Encryption) ไว้ในฐานข้อมูลหรือ เก็บลงในไฟล์ที่อยู่ใน Web server และคิดว่าเมื่อเข้ารหัสแล้วแฮกเกอร์คงไม่สามารถอ่านออก แต่ สิ่งที่เราคิดนับว่าเป็นการประเมินแฮกเกอร์ต่ำเกินไป เนื่องจากอาจเกิดข้อผิดพลาดในการเข้ารหัส เช่น การเข้ารหัสนั้นใช้ Algorithm ที่อ่อนเกินไป ทำให้แฮกเกอร์แกะได้ง่ายๆ หรือมีการเก็บกุญแจ (key) หรือ รหัสลับ (Secret password) ไว้เป็นไฟล์แบบง่ายๆ ที่แฮกเกอร์ สามารถเข้าถึงได้ หรือ สามารถถอดรหัสได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก
วิธีการแก้ไข
ควร มีการเข้ารหัสไฟล์ โดยใช้ Encryption Algorithm ที่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร หรือแทนที่จะเก็บรหัสผ่านที่เข้ารหัสไว้ ให้หันมาเก็บค่า Message Digest หรือ ค่า "HASH" ของรหัสผ่านทาง โดยใช้ Algorithm SHA-1 เป็นต้น
การ เก็บกุญแจ (key), ใบรับรอง ดิจิตัล (Digital Certificate) หรือ ลายมือชื่อดิจิตัล (Digital Signature) ควรเก็บไว้อย่างปลอดภัย เช่น เก็บไว้ใน Token หรือ Smart Card ก็จะปลอดภัยกว่าการเก็บไว้เป็นไฟล์ในฮาร์ดดิสค์ เป็นต้น (ถ้าเก็บเป็นไฟล์ก็ควรทำการเข้ารหัสไว้ทุกครั้ง)
9. Denial of Service
หมาย ถึงระบบ Web Application หรือ Web Server ของเรา อาจหยุดทำงานได้เมื่อเจอกับ Bad HTTP Request แปลกๆ หรือ มีการเรียกเข้ามาอย่างต่อเนื่องจำนวนมาก ทำให้เกิดการจราจรหนาแน่นบน Web Server ของเรา โดยปกติ Web Server จะจัดการกับ Concurrent session ได้จำนวนหนึ่ง ถ้ามี HTTP Request เข้ามาเกินค่าที่ Web Server จะสามารถรับได้ ก็จะเกิด Error ขึ้น ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้า Web Site เราได้ นอกจากนี้ อาจจะทำให้เครื่องเกิด CPU Overload หรือ Out of Memory ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของ Denial of Service เช่นกัน กล่าวโดยรวมก็คือ ทำให้ระบบของเรามีปัญหาเรื่อง "Availability"
วิธีการแก้ไข การป้องกัน DoS หรือ DDoS Attack นั้นไม่ง่าย และ ส่วนใหญ่ ไม่สามารถป้องกันได้ 100% การติดตั้ง Hardware IPS (Intrusion Prevention System) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากต้องการประหยัดงบประมาณก็ควรต้อง ทำการ "Hardening" ระบบให้เรียบร้อย เช่น Network OS ที่ใช้อยู่ก็ควรจะลง Patch อย่างสม่ำเสมอ, Web Server ก็เช่นเดียวกัน เพราะมีช่องโหว่ เกิดขึ้นเป็นประจำ ตลอดจนปรับแต่งค่า Parameter บางค่าของ Network OS เพื่อให้รองรับกับการโจมตีแบบ DoS /DDoS Attack
10. Insecure Configuration Management
หมายถึง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ดูแลระบบ หรือ ผู้ติดตั้ง Web Server มักจะติดตั้งในลักษณะ "Default Configuration" ซึ่งยังคงมีช่องโหว่มากมาย หรือบางครั้งก็ไม่ได้ทำการ Update Patch ระบบให้ครบถ้วนจนถึง Patch ล่าสุด
ปัญหา ที่เจอบ่อยๆ ก็คือมีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ใน Web Server ไม่ดีพอทำให้มีไฟล์หลุดออกมาให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ เช่น แสดงออกมาในลักษณะ "Directory Browsing" ตลอดจนค่า default ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Default Username และ Default Password ก็มักจะถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้เปลี่ยนอยู่เป็นประจำ
วิธีการแก้ปัญหา
ให้ ทำการแก้ไขค่า "Default" ต่างๆ ทันทีที่ติดตั้งระบบเสร็จ และทำการ Patch ระบบให้จถึง Patch ล่าสุด และ ตาม Patch อย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า ทำการ "Hardening" ระบบนั่นเอง Services ใดที่ไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องเปิดบริการ เราควรตรวจสอบสิทธิ File and Subdirectory Permission ในระบบว่าตั้งไว้ถูกต้อง และ ปลอดภัยหรือไม่ ตลอดจนเปิดระบบ Web Server log file เพื่อที่จะได้สามารถตรวจสอบ (Audit) HTTP Request ที่ส่งมายัง Web Server ได้ โดยดูจาก Web Server log file ที่เราได้เปิดไว้ และ เราควรหมั่นติดตามข่าวสารเรื่องช่องโหว่ (Vulnerability) ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ และ มีการตรวจวิเคราะห์ Web Server log file, Network log file, Firewal log file และ IDS/IPS log file เป็นระยะๆ
จะเห็นได้ ว่าแฮกเกอร์ในปัจจุบันสามารถเจาะระบบเราโดยผ่านทะลุ Firewall ได้อย่างง่ายดาย เพราะ เรามีความจำเป็นต้องเปิดให้บริการ Web Server ในทุกองค์กร ดังนั้นการตรวจสอบเรื่องของ Web Application Source Code และ Web Server Configuration จึงเป็นทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านความปลอดภัยของระบบให้รอดพันจาก เหล่าไวรัสและแฮกเกอร์ซึ่งนับวันจะเพิ่มจำนวนและเพิ่มความสามารถขึ้นเป็นทวี คูณ.

Repairing Damaged Solder Mask

|0 ความคิดเห็น
Repairing Damaged Solder Mask

Solder mask can be damaged by a number of things including but not limited to board handling, hand soldering, rework operations or burned devices or even the original board manufacturing process.

The damaged mask can be easily repaired by a skilled PCB repair technician following the guidelines of the
IPC 7721 procedure.
The following TOOLS & MATERIALS are required for this repair: Brushes Cleaner Liquid Mask Foam Swabs UV Lamp Microscope Wipes
PROCEDURE:
1. Clean the area. Make sure the surfaces to be coated are cleaned prior to coating to ensure adequate adhesion, minimized corrosion, and optimized electrical properties.
2. If needed, apply Kapton tape to outline the area where the solder mask will be applied.
3. Apply the replacement mask to the board surface as required. A brush or foam swab may be used to apply and spread the epoxy or replacement coating.
4. Cure per the manufacturers' suggested guidelines with a UV spot curing system or by placing under a UV lamp
Call BEST if you need help with these or other repair procedures.

Cleaning and BGA Reballing

|0 ความคิดเห็น
Cleaning and BGA Reballing

After the reworking of components, especially high speed BGAs and CSPs, it is important to maintain a level of cleanliness post processing. BEST has the capability to either assure or document a given level of device cleanliness if your specifications demand this.
The Omega Meter, Ionograph, and ZeroIon are used by a number of assemblers for quality assurance purposes. These instruments compare the conductivity of the extract solution before and after testing. The "result" of this testing is reported as a sodium chloride (NaCl) equivalent per unit area.

Ion Chromatography (IC) is a tool that can be used for precision testing and process base lining. This test system can quantify and identify specific ionic species that are present on an electronic device. The most common test method is the IPC TM-650 2.3.28. The device is placed into an ionically-clean bag and is immersed in an extract solution of 75% alcohol and 25% deionized water at 80�C for one hour. This is a much more rigorous extraction method than the methods used by automated ROSE equipment. The IC then separates and detects each individual ion for which it was calibrated. Typical systems detect and measure fluoride (F-), chloride (Cl-), bromide (Br-), nitrate (NO3-) nitrite (NO2-), phosphate (PO4-), sulfate (SO42-), and weak organic acids (WOAs). Results are reported in �g/in2.

วิธีการท่านรู้้ข้อมูลจาก Harddisk ที่เสียแล้ว

|0 ความคิดเห็น
วิธีการท่านรู้้ข้อมูลจาก Harddisk ที่เสียแล้ว

พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสียกันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้าบอกเราว่า harddisk ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เราไม่สามารถท่านรู้้ข้อมูลที่มีค่า และมีความหมายต่อเราออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อุตส่าห์ถ่ายเก็บไว้มาหลายปี หรือข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่างพึ่งตกใจไปครับ เพราะคุณสามารถท่านรู้้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียไปแล้วได้ด้วยตัวคุณเองครับ อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ harddisk ที่เสียชนิดที่ตัว disk ข้างในไม่ยอมหมุน หรือมีการชำรุดทางกายภาพของตัว harddisk ถ้าเสียแบบนี้ก็คงทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก หากปัญหาของคุณเกิดจากการที่ตัว harddisk ได้รับการชำรุดเสียหายทางกายภาพแบบนี้แล้ว ให้คุณติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการท่านรู้้ข้อมูลดีกว่าครับ ถ้าคุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้า ก่อนที่จะทำการ boot เข้า Windows โดยปกติแล้วมักจะแปรว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหา และถ้า harddisk ของคุณเสียขึ้นมาหน้าจอสีฟ้าที่ว่านี้ก็จะแสดงขึ้นมาเช่นกัน เพราะระบบไม่สามารถทำการ boot ตัว Windows ซึ่งเป็น Operating System ขึ้นมาได้ ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของ harddisk driver หรืออาจจะเกิดจากปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างตัวคอมพิวเตอร์กับ harddisk ก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นขั้นตอนต่าง ๆ คุณควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า [...] 
พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสียกันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้าบอกเราว่า harddisk ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เราไม่สามารถท่านรู้้ข้อมูลที่มีค่า และมีความหมายต่อเราออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อุตส่าห์ถ่ายเก็บไว้มาหลายปี หรือข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่างพึ่งตกใจไปครับ เพราะคุณสามารถท่านรู้้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียไปแล้วได้ด้วยตัวคุณเองครับ อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ harddisk ที่เสียชนิดที่ตัว disk ข้างในไม่ยอมหมุน หรือมีการชำรุดทางกายภาพของตัว harddisk ถ้าเสียแบบนี้ก็คงทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก หากปัญหาของคุณเกิดจากการที่ตัว harddisk ได้รับการชำรุดเสียหายทางกายภาพแบบนี้แล้ว ให้คุณติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการท่านรู้้ข้อมูลดีกว่าครับ
ถ้าคุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้า ก่อนที่จะทำการ boot เข้า windows โดยปกติแล้วมักจะแปรว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหา และถ้า harddisk ของคุณเสียขึ้นมาหน้าจอสีฟ้าที่ว่านี้ก็จะแสดงขึ้นมาเช่นกัน เพราะระบบไม่สามารถทำการ boot ตัว windows ซึ่งเป็น operating system ขึ้นมาได้
ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของ harddisk driver หรืออาจจะเกิดจากปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างตัวคอมพิวเตอร์กับ harddisk ก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นขั้นตอนต่าง ๆ คุณควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า harddisk ได้เสียบสายเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาดแต่อย่างใด ถ้าหากว่าสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ไม่ได้หลวมหรือมีปัญหา ก็สามารถทำตามคำแนะนำในบทความนี้ได้เลยครับ
เมื่อเกิดปัญหาคอมพิวเตอร์ boot ไม่ได้เนื่องจาก harddisk มีปัญหา ก่อนที่จะเข้าหน้าจอแจ้งเตือนปัญหาสีฟ้า ที่หน้าจอสีดำซึ่งแสดงเมื่อตอนเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาให้คุณเลือกไปที่ last known good configuration ซึ่งจะเริ่มการทำงานคอมพิวเตอร์ของคุณที่ข้อมูล back up ของ harddisk (แต่มันคงจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าคุณไม่เคจ back up ข้อมูลไว้เลย)

โดยวิธีการนี้จะช่วยให้คุณเรียกใช้งานในสถานะที่ได้ทำการ back up ข้อมูลล่าสุดไว้ได้ แต่จะไม่ถึงกับ 100% อย่างไรก็ตามคุณก็ยังได้ข้อมูลส่วนใหญ่กลับมา หลังจากนั้นให้คุณใช้ scandisk หรือ checkdisk ที่มีอยู่แล้วบน windows ทำการตรวจสอบ harddisk ของคุณอีกที
ถ้าหากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่แสดงหน้า start-up option หรือตัวเลือกต่าง ๆ ดังที่เห็นในภาพข้างบน คุณอาจจะต้อง boot คอมพิวเตอร์ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น cd ของ windows และเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณเปลี่ยนการ boot เครื่องให้ boot ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น cd คุณอาจจะต้องไปที่ bios เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าให้ start-up ทำงานที่ cd-rom drive
เมื่อคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถ boot ผ่านแผ่นโปรแแกรม windows disk จะมี option ให้คุณเลือกซึ่งหนึ่งในนั้นคือ recovery console ให้คุณเลือกอันนี้โดยการกด “r” ดังตัวอย่างที่เห็นในรูป

จากนั้นหน้าจอจะไปสู่หน้าสีดำที่มีตัวหนังสือสีขาว เมื่อขึ้นหน้าจอสีดำแล้วให้คุณพิมพ์ chkdsk/r เพื่อเริ่มต้นการทำงาน checkdisk ซึ่งสามารถช่วยในการตรวจสอบปัญหา และซ่อมแซม harddisk ได้ หลังจากที่คุณทำการ checkdisk ไปเรียบร้อยแล้วถ้าได้ผลคอมพิวเตอร์ของคุณจะทำการ reboot แล้วทำงานได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามจะเป็นการดีที่สุดถ้าคุณพยายาม back up ข้อมูลไว้เป็นระยะ ๆ เนื่องจากการใช้วิธีนี้ได้ผลแค่ครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้นถ้าอาการเกิดขึ้นบ่อย ๆ แนะนำให้ซื้อ harddisk ใหม่ไปเลยดีกว่า แล้วค่อยโอนข้อมูลที่ได้ทำการ back up ไว้แล้วถ่ายโอนไปที่ harddisk ลูกใหม่
ถ้าใช้วิธี checkdisk แล้วไม่ได้ผลให้กลับไปเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงหน้าจอ recovery console แล้วให้เลือก fixboot ซึ่งถ้าคุณเลือกตัวนี้มันจะทำการ rewrite ตัว startup sector บน harddisk ขงอคุณใหม่ และถ้าคุณเลือก fixmbr ระบบก็จะทำการซ่อมแซม master boot record
ที่กล่าวมาสองตัวหลังนี้เป็นคำสั่งการทำงานที่ค่อนข้างจะ advance ซักหน่อย จำไว้ว่าถ้าคุณเลือกสองข้อนี้ก็ต้องลุ้นกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ถ้ามันไม่ได้ผลจริง ๆ ให้คุณถอด harddisk ออกมาแล้วทำการต่อ harddisk ตัวนี้เข้ากับ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่าน usb port ซึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมอง harddisk ที่ต่อผ่าน usb port เป็น slave หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือเอา harddisk ออกมาแล้วทำเป็น external harddisk เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อทดลองอ่านข้อมูลนั่นเอง

ปั๊มน้ำดับเพลิง

|0 ความคิดเห็น
ปั๊มน้ำดับเพลิง - Fire Pump

ปั๊มน้ำ คือ อุปกร์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงาน จากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว ก๊าซ หรือ ของเหลวที่มีของแข็งเป็นส่วนประกอบ (Slurries) เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูง กว่าหรือ ในระยะทางที่ไกลออกไป โดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปในระบบ โดยจุดเริ่มต้นของเครื่องปั๊มน้ำนี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งในช่วงเริ่มแรกมีการใช้พลังงานที่ได้จากมนุษย์ สัตว์ ต่อมาจึงได้ใช้พลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากลมและน้ำเป็นแหล่งต้นกำเนิด ซึ่งในช่วงแรกเพียงเพื่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรเท่านั้น
ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) นั้นก็เป็นปั๊มน้ำชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler) หรือ ระบบ Fire Hose ที่จะทำหน้าที่ป้อนน้ำเข้าสู่ระบบ ด้วยปริมาณ และแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบดับเพลิงที่ออกแบบไว้


ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง ประกอบด้วย
ในระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
1. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump)
2. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
3. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller)
4. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller)
5. Pressure Relief Valve
การทำงานของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำภายในเส้นท่อดับเพลิง วิศวกรผู้ออกแบบ จะเป็นผู้กำหนดระดับของความดันที่สถานะต่างๆ ในการเริ่ม และหยุดการทำงานของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยปกติ จะมิอยู่ 3 ระดับ ในกรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ต้นกำลังแบบ เครื่องยนต์ดีเซล และมี 4 ระดับ ในกรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ต้นกำลังแบบ มอเตอร์ไฟฟ้า การตั้งค่าดูที่หัวข้อ “การตั้งค่า Pressure Switch ของ Fire Pump และ Jocky Pump”



เครื่องหมายและมาตราฐาน ของปั๊มน้ำดับเพลิง
การดูแลและทดสอบ ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ควรกระทำโดยผู้ตรวจสอบบุคคลที่สาม (third-party agency) ของ UL หรือ FM Global ส่วนมาตราฐานในการติดตั้งที่เป็นที่ยอมรับคือ NFPA ย่อ มาจาก National Fire Protection Association (NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Fire Pumps for Fire Protection)


ต้นกำลังปั๊มน้ำดับเพลิง
ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) มีต้นกำลังหลายแบบใช้ มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) , เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) หรือบางโอกาศอาดพบ แบบกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)


รูป ปั๊มน้ำดับเพลิงแบบมอเตอร์ไฟฟ้า (Eletric Motor Fire Pump)


รูป ปั๊มน้ำดับเพลิงแบบดีเซล (Diesel Engine Fire Pump)


รูป ปั๊มน้ำดับเพลิงแบบกังหันไอน้ำ (Stream Turbine Fire Pump)
การตั้งค่า Pressure Switch ของ Fire Pump และ Jocky Pump
Pressure Switch คืออุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่ในตู้ ควบคุม Controller ของ Fire Pump และ Jocky Pump มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของ Pump ดังกล่าว เมื่อความดันของน้ำในท่อน้ำดับเพลิงลดลงต่ำผิดปกติจาก Set point ที่ตั้งไว้ เล็กน้อยแผงควบคุมจะสั่งงานให้ Jocky Pump ทำงานเพื่อเพิ่มแรงดันเข้าสู่ระบบ แต่ถ้าความดันลดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งอาดจะเกิดขึ้นจาก มีการใช้งานน้ำจากหัวดับเพลิง มีหัวสปริงเกอร์แตก ทำให้ความดันตกลงอย่างมากแผงควบคุม จะสั่งงานให้ Fire Pump ทำงาน ดังนั้น การตั้งค่า Pressure Switch จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องเรียนรู้เพื่อให้ระบบป้องกันอัคคีภัยทำงานได้ ตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ควรเรียนรู้มีดังนี้


รูป ตู้ควบคุมปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller)
1. ลำดับการทำงานของ Fire Pump และ Jockey Pump เป็นดังนี้
1.1 ปั๊มน้ำรักษาระดับแรงดัน (Jockey Pump) จะเริ่มทำงานก่อน
1.2 ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) จะทำงานต่อถ้า ปั๊มน้ำรักษาระดับแรงดัน (Jocky Pump) ทำงานแล้วยังไม่สามารถเพิ่มแรงดันในระบบได้

2. ให้ใส่ Orifice Check Valve ที่ท่อ น้ำดับเพลิงก่อนต่อเข้า Pressure Switch จำนวน 2 ตัว และมีระยะลมงกันอย่างน้อย 1.5 เมตร (Orifice Check Valve คือ Check Valve แบบ Swing Check Valve ที่ติดกลับข้าง (ให้ Flow Direction หันทิศจาก Flow Switch ไปทาง Header ของท่อประธาน) และให้เจาะรูที่ Valve Disc ขนาดเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลาง 3/32 นิ้ว
3. หลักการตั้ง Pressure Switch ของ Fire Pump และ Jockey Pump มีดังนี้
3.1 Jockey Pump
3.1.1 จุด Stop เท่ากับ Churn Pressure ของ Fire Pump บวกMinimum Static Pressure ของ Water Supply ที่จ่ายให้ Pump
3.1.2 จุด Start เท่ากับ จุด Stop ลบ 10 PSI
3.1.3 การตั้งจุด Stop และจุด Start สำหรับ Jockey Pump ให้ตั้งตามข้อ 3.1.1 และ 3.1.2 ทุกชุด ไม่ว่าจะมี Jockey Pump มากกว่า 1 ตัวก็ตาม

3.2 Fire Pump
3.2.1 จุด Start ของ Fire Pump ชุดแรก เท่ากับ จุด Start ของ Jockey Pump ลบ 5 PSI จุด Start ชุดต่อไปให้ตั้งลดลงทุกๆ 10 PSI ตลอด
3.2.2 การ Stop ของ Fire Pump ให้ใช้วิธี Manual Stop ทุกตัว แต่ควรตั้งจุด Stop เท่ากับ Churn Pressure บวก Maximum Static Pressure ของ Water Supply
3.2.3 การนับจำนวน Fire Pump ให้นับจาก Electric Fire Pump ก่อนเสมอ

หมายเหตุ
* ค่า Churn Pressure คือค่า Pressure สูงสุดของ Fire Pump ที่ Flow เท่ากับ 0 GPM (No Flow) (ให้ดูจาก Performance Curve ของ Fire Pump)
* ค่า Minimum Static Pressure และ Maximum Static Pressure ของ Water Supply ให้กำหนดเท่ากับ 0 SPI ในกรณีที่ Water Storage Tank อยู่ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกันกับระดับ Fire Pump แต่หาก Water Storage Tank อยู่สูงกว่ามาก ต้องคิดค่า Static Pressure ในการตั้ง Pressure Setting ด้วย
* การ Test การทำงานของ Fire Pump ทั้งแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และเครื่องยนต์ดีเซลต้องทดสอบความดันอย่างน้อยที่ Flow 3 จุด คือ
1. Churn Pressure ที่ 0% Rated Flow
2. Pressure ที่ 100% Rated Flow
3. Pressure ที่ 150% Rated Flow

เสร็จแล้วนำค่า Pressure - Flowrate ไป Plot Curve และเปรียบเทียบกับ Curve ที่โรงงานผู้ผลิต Fire Pump ส่งให้ตอนขออนุมัติวัสดุ โดยค่า Pressure ที่วัดได้จริงต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 95% ของค่า Pressure ที่ได้จาก Curve ของโรงงานผู้ผลิต หากต่ำกว่านี้ต้องให้ผู้แทนจำหน่าย / ผู้รับเหมา ทำหนังสือชี้แจงเหตุผล
* หาก Churn Pressure ที่วัดได้มีค่าเกิน 175 PSI ต้องติดตั้ง Pressure Relief Valve ที่ Fire Pump แต่ละตัวด้วย

ตัวอย่าง
1. Diesel Fire Pump (FP- 01, FP- 02) 1,000 GPM, 125 PSI
2. Electric Fire Pump (FP- 03, FP- 04) 1,000 GPM, 125 PSI
3. Jockey Pump (JP- 01, JP- 02)

จาก Performance Curve ของ Fire Pump


การทดสอบ Fire Pump ที่ max flow (150% rated capacity)
ตอบกรณี (ติดตั้งที่หน้างานแล้ว)
โดยปกติแล้วที่ระบบ Fire pump จะมี Flow meter ติดมาด้วย และเราจะต้องติดวาล์วก่อนถึง Flow Meter ในระยะ 5D ของขนาดท่อ และเราจะติดวาล์วหลัง Flow meter ที่ระยะ 2D ของขนาดท่อ เราจะ test 0% 100% 150 % โดยการ Adjust วาล์วที่ด้านหลัง Flow Meter (วาล์วที่ระยะ2D) เราก็จดค่าที่ได้นำมา plot graph ของ flow rate ได้

ตอบ(กรณี ขั้นตอนพิจารณา ออกแบบ)
โดยปกติแล้ว ปั้มที่ประกอบกับFire pump ตัวนั้นจะต้องมี capacity มากกว่าจุดใช้งานก็คือจุด 100% rated capacity ไม่ต่ำกว่า 50% อยู่แล้ว หมายความว่า ถ้าจุดใช้งาน 100% สมมุติได้ flow 500 gpm ปั้มที่ซื้อมานั้นต้องทำ flow ได้ไม่ตำกว่า 750 gpm ซึ้งเป็นเรื่องปกติของการซื้อปั้มอยู่แล้วว่าต้องเลือกจุดใช้งานให้อยู่ กลางๆ curve คือให้เหลือ ทั้ง head และ flow ครับ

เรื่องกันขโมยและการเลือกซื้อ

|0 ความคิดเห็น
บทความวิจารณ์เรื่องกันขโมยและการเลือกซื้อ

ระบบกันขโมย หรือ ระบบป้องกันการบุกรุกโจรกรรม
คือ ระบบที่ใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ในการทำงานป้องกันสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ
ระบบกันขโมย จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆในการทำงานร่วมกัน ดังนี้
1. ชุดควบคุมระบบกันขโมย จะประกอบไปด้วย
1.1. ตู้ควบคุมระบบกันขโมย เป็น อุปกรณ์ตัวหลักของระบบกันขโมยที่ต้องมีในทุกๆยี่ห้อ จะทำหน้าที่
ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ รวมถึงเป็นที่รวมฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆในระบบไว้ที่นี่
อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์แบบเดินสายทั้งหมดที่ต่อเข้ากันในระบบ

การเลือกซื้อตู้ควบคุมระบบกันขโมย ควรดูคุณสมบัติดังนี้
- ดูจำนวนโซนของตู้ควบคุมให้เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้ง เพื่อความสะดวกในการป้องกันและง่าย
ต่อการตรวจสอบภายในสถานที่ติดตั้ง ส่วนใหญ่ก็จะมีตู้ควบคุมแบบ 6 โซน 8 โซน 16 โซน -
24 โซน 32 โซน และ 100 กว่าโซนขึ้นไป ซึ่งสิ่งนี้จะมีความจำเป็นมากในการเลือกซื้อ

- ดูว่ามีฟังก์ชั่นในการทำงานยังไงบ้าง เช่น
รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเหตุบุกรุก ได้ทุกประเภทหรือไม่
รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเหตุอัคคีภัย ได้ทุกประเภทหรือไม่
มีระบบหมุนโทรศัพท์อัตโนมัติออกไปแจ้งเหตุหรือไม่
มีระบบป้องกันการเปิดทำลายตู้ควบคุมหรือไม่
มีระบบป้องกันการตัดสายหรือทำรายอุปกรณ์ตรวจจับทุกๆตัวที่ติดตั้งในระบบหรือไม่
มีระบบแยกรหัสผ่านของผู้ใช้งานแต่ละคนหรือไม่
มีระบบเรียกดูเหตุการณ์ระบบการทำงานย้อนหลังหรือไม่
มีระบบโทรศัพท์มาสั่งเปิด - ปิดระบบหรือไม่
มีระบบตรวจสอบความผิดพลาดในการทำงานหรือไม่
มีระบบตั้งเวลาเปิด - ปิดระบบตามวัน และ เวลา ที่กำหนดได้หรือไม่
มีระบบแบ่งโซนการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆได้หรือไม่
สามารถรองรับการต่ออุปกรณ์ Keypad ควบคุมการเปิด-ปิดระบบได้เท่าไหร่
สามารถใช้รีโมทไร้สายสั่งการเปิด-ปิดระบบการทำงานได้หรือไม่
มีระบบควบคุมเปิด-ปิดดวงไฟอัตโนมัติ กรณีมีผู้บุกรุกในสถานที่ติดตั้งหรือไม่
ตู้ควบคุมมีรูปทรงอย่างไร และมีความแข็งแรงทนทานหรือไม่
ระบบจ่ายไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์และระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าของตู้ควบคุมดีหรือไม่
มีระบบสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าในสถานที่ติดตั้งดับหรือไม่
มีระบบโปรแกรมการใช้งานสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้งานหรือไม่
ระยะเวลาการรับประกันตู้ควบคุม และ เงื่อนไขของการรับประกันเป็นอย่างไร
หมายเหตุ การเลือกซื้อตู้ควบคุมระบบกันขโมย ควรเลือกจากแบรนด์สินค้าที่เชื่อถือได้ และมีฟังก์ชั่นใน
การใช้งานเหมาะกับสถานที่ติดตั้ง 


1.2 อุปกรณ์แบตเตอรี่ เป็น อุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับตู้ควบคุมกันขโมยของทุกๆยี่ห้อ สำหรับจ่ายไฟเลี้ยง
อุปกรณ์ และสำรองไฟฟ้าไว้ใช้หากไฟฟ้าของสถานที่ติดตั้งเกิดดับ เพื่อให้ระบบกันขโมยยังคงทำ
งานต่อเนื่องแม้ไฟฟ้าจะดับ แบตเตอรี่ของระบบกันขโมยที่ติดตั้งในตู้ควบคุมจะมีอยู่ 2 ประเภท

- แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Sealed Lead-Acid) รีชาร์จได้ ขนาด 12 โวลล์ 7 แอมป์อาว์ขึ้นไป
- แบตเตอรี่แบบถ่าน AA (แบบแพ็ค 4 ก้อนรวมกันที่ใช้ในรถบังคับวิทยุทั่วไป) รีชาร์จได้ 12 โวลล์
หมายเหตุ
ควรเลือกซื้อที่เป็นแบบ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด เพราะการใช้งานจะดีกว่าและมีอายุการใช้มากกว่า


1.3 อุปกรณ์หมุนโทรศัพท์แจ้งเหตุอัตโนมัติ Auto Dialer ซึ่งจะสามารถเสริมการทำงานในการโทรศัพท์
ออกไปแจ้งเหตุของตู้ควบคุมระบบกันขโมยได้ โดยจะเพิ่มเบอร์โทรศัพท์ให้มากขึ้นในการแจ้งเหตุ กับ
สามารถบันทึกข้อความเสียงพูดบันทึกลงไปในระบบการแจ้งเหตุได้ด้วย หรือ จะโทรศัพท์เข้ามาฝาก
ข้อความได้อีกด้วย

หมายเหตุ จะซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการทำงานของตู้ควบคุมระบบกันขโมย และ ขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ซื้อเอง และควรซื้อกับแบรนด์สินค้าที่น่าเชื่อถือ


1.4 อุปกรณ์ควบคุมการโทรศัพท์แบบไร้สาย โดยใช้ซิมการ์ดของโทรศัพท์มือถือใช้ได้ทั้งแบบเสียรายเดือน
และ แบบซื้อบัตรเติมเงิน (Wireless GSM/GPRS Modules) เหมาะสำหรับสถานที่ติดตั้งที่ยังไม่มี
เบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน หรือ สำหรับเจ้าของสถานที่ติดตั้งที่ต้องการความปลอดภัยสูงๆในการติดตั้งเข้ากับ
ระบบตู้ควบคุมระบบกันขโมย เพื่อป้องกันกรณีผู้บุกรุกตัดสายสัญญาณโทรศัพท์ของสถานที่ติดตั้ง ระบบ
ก็จะเปลี่ยนไปใช้การโทรศัพท์แบบไร้สายด้วยซิมการ์ดแทนทันที ทำให้ลดช่องโหว่ของการโทรแจ้งเหตุ
ของตู้ควบคุมระบบกันขโมยได้เป็นอย่างดี จะซื้อมาใช้หรือไม่ซื้อมาใช้ก็ได้ เพราะปกติปัญหานี้จะไม่คอย
เกิดขึ้น หากการเดินสายเมนโทรศัพท์เข้าไปที่สถานที่ติดตั้งอยู่ระดับสูงกว่าที่ผู้บุกรุกจะกระโดดตัดถึง

หมายเหตุ จะซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการทำงานของตู้ควบคุมระบบกันขโมย และ ขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ซื้อเอง และควรซื้อกับแบรนด์สินค้าที่น่าเชื่อถือ


1.5 อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดระบบ (Keypad)
จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิด - ปิดระบบกันขโมย และยังใช้โปรแกรมการทำงานของระบบกันขโมย
กับยังใช้ดูผลการทำงานของระบบได้จากหน้าจอของอุปกรณ์ จะมีทั้งแบบหน้าจอเป็น LED และแบบ
หน้าจอ LCD รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่แบรนด์ของสินค้า ในการติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ควรติดตั้งใน
ตำแหน่งที่สะดวกต่อการใช้งานเปิด-ปิดระบบ


2. ชุดอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ ของระบบกันขโมย จะมีดังนี้
2.1 อุปกรณ์ตรวจจับแบบมารดาเหล็กไฟฟ้า (Magntic Switch) ใช้ป้องกันตาม ประตู หรือ หน้าต่าง
จะใช้การดูดของมารดาเหล็กไฟฟ้าในการป้องกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่ฝังรีดสวิทซ์ ในการทำกระแสไฟฟ้าเป็น
คลื่นมารดาเหล็ก และจะมีตัวอุปกรณ์ที่ฝังเหล็กในการดูดเข้ากับตัวที่ฝังรีดสวิทซ์ จะมีทั้งแบบอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
ลอยกับวงกบและติดลอยกับบานประตู หรือบานหน้าต่างจะเห็นอุปกรณ์ในการติดตั้ง และ มีแบบฝังเข้าไป
ในโครงวงกบ และฝังเข้าไปในบานประตู หรือบานหน้าต่าง อุปกรณ์ตรวจจับชนิดนี้จะมีราคาถูกที่สุด ของ
ระบบกันขโมย แบบเดินสาย

หลักการทำงานก็ คือ เมื่อผู้บุกรุกงัดบานประตู หรือบานหน้าต่าง เข้ามาในสถานที่ติดตั้ง ระบบกันขโมยก็
จะทำงานแจ้งเตือนในทันที ซึ่งเป็นการป้องกันส่วนกรอบนอกบ้านทั้งหมด

ข้อดีของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ราคาจะถูกที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ตรวจจับทั้งหมด ของระบบกันขโมยแบบเดินสาย
- สามารถติดอุปกรณ์ป้องกันได้ทุกๆบานประตู และบานหน้าต่าง
- สามารถรู้ได้เลยว่าก่อนออกจากบ้านท่านลืมปิดประตูบานไหน หรือหน้าต่างบานไหน ที่ติดอุปกรณ์นี้
ทราบโดยตอนที่ท่านจะเปิดระบบกันขโมยจากอุปกรณ์ Keypad
- สามารถเปิดระบบอุปกรณ์นี้ป้องกันได้ทั้งมีคนอยู่ในสถานที่ หรือไม่มีคนอยู่ในสถานที่ หากมีการแบ่ง
โซนตรวจจับไว้เป็นสัดส่วนก็เลือกเปิด หรือ ปิดระบบป้องกันเป็นโซนๆได้

ข้อเสียของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ราคาค่าติดตั้งเดินท่อ เดินสายสัยญาณ จะแพงถ้าท่านติดตั้งอุปกรณ์นี้หลายๆประตู หลายๆหน้าต่าง
- ไม่สามารถป้องกันการทุบกระจก กรีดกระจก หรือ งัดบานกระจก ของบานประตู และ บานหน้าต่าง
ได้ เพราะอุปกรณ์จะติดอยู่แค่ที่กรอบวงกบ กับ กรอบบาน ประตูหรือหน้าต่างเท่านั้น ทำให้ในการ
ออกแบบวางระบบติดตั้งอุปกรณ์ระบบกันขโมย ควรจะต้องติดอุปกรณ์นี้คู่ กับอุปกรณ์ตรวจจับการ
เคลื่อนไหวภายในสถานที่ติดตั้งทุกๆที เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสถานที่ติดตั้ง

การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ก่อนติดตั้งควรดูระยะลมงของกรอบวงกบ กับกรอบบาน ประตูหรือหน้างต่างเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์นี้
จะมีขีดจำกัดในการติดตั้งอยู่ว่าสามารถติดตั้งลมงจากกันได้กี่เซ็นติเมตร
- ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มียี่ห้อน่าเชื่อถือ และดูมาตรฐานที่ตัวอุปกรณ์ว่ามีมาตรฐาน CE , UL หรือไม่
- ในการเชื่อมสายนำสัญญาณที่เดินจากตู้ควบคุมมาที่ตัวอุปกรณ์ Magnetic นี้ควรจะบักกรีด้วยตะกั่ว
ในการเชื่อสายเข้ากัน และใส่ท่อหดหุ้มช่วงที่บักกรีไว้ เพื่อความสเถียรของอุปกรณ์ และอายุการใช้
งานที่ยาวนาน

หมายเหตุ
ยังมีอุปกรณ์ตรวจจับที่มีการทำงานตรวจจับคล้ายๆกับ อุปกรณ์ตรวจจับ Magnetic คือ

- Heavy Duty Magnetic Contact Switch เหมือนกับ Magnetic แต่ตัวอุปกรณ์จะทำ
จากอลูมิเนียม กับมีขนาดใหญ่กว่า และมีแก็บระยะลมงของอุปกรณ์ในการติดตั้งมากกว่า

- Roller Shutter Sensor รูปทรงต่างกับ Magnetic แต่หลักการทำงานเหมือนกัน ส่วนใหญ่
จะติดประตูแบบม้วน หรือประตูโรงงาน และประตูโกดังต่างๆ จะมีอยู่ 2 แบบ แบบห้อยติดเหนือ
บานประตู กับ แบบติดกับพื้นตรงบานประตู และมีแก็บระยะลมงของอุปกรณ์ในการติดตั้งมากกว่า


2.2 อุปกรณ์ตรวจจับ แบบตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detector) สำหรับติดตั้งภายในสถานที่ติดตั้ง
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี PIR (Passive Infrared คือ การตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงภายใน
สถานที่ติดตั้ง) ในการตรวจจับ ซึ่งเทคโนโลยีตรวจจับแบบ PIR นี้เป็นเทคโนโลยีหลัก ของระบบอุปกรณ์
ตรวจจับการเคลื่อนไหว ของทุกๆยี่ห้อที่มีจำหน่ายทั่วโลก แต่เทคโนโลยี แบบ PIR นี้จะมีปัญหาอยู่มาก
ในการตรวจจับภายในสถานที่ติดตั้ง เพราะไม่สามารถจะแยกแยะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในสถานที่
ติดตั้งที่ตรวจจับได้ เช่น ลมพัดเข้ามาในช่องบานเกล็ดแล้วทำให้ผ้าม่านไหว หรือ แสงแดดส่องเข้ามาที่
บานกระจกของประตู หรือหน้าต่าง ของภายในสถานที่ติดตั้งนานๆ เทคโนโลยี PIR นี้ก็อาจตรวจจับว่าเป็น
ผู้บุกรุกได้ง่ายๆ ที่เขาเรียกกันว่า False Alarms คือ การแจ้งเตือนการตรวจจับที่ผิดพลาดของระบบ แม้
ช่างเทคนิคของหลายๆยี่ห้อ จะหาวิธีแก้ไขโดยการหลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไม่ให้ส่องไปทางประตู หรือ
หน้าต่างของสถานที่ติดตั้ง แต่ให้ส่องไปในทางตรงกันข้ามแทนแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถช่วยลดปัญหา
Flase Alarms ได้มากเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการคิดค้น เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ เช่น

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ PIR II หรือ Dual PIR หรือ Microprocessor หรือ Quad PIR
แล้วแต่ระบบกันขโมยยี่ห้อไหนจะตั้งชื่อเรียก เป็นการเพิ่มการตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงเป็น 2 ชั้น
ในการตรวจจับ โดยการกำหนดคลื่นลำแสงเพิ่มจากเดิม และเพิ่มเลนส์กรองคลื่นลำแสงเป็น 2 ชุด ระบบ
เทคโนโลยี นี้ถึงแม้จะดีกว่าระบบเทคโนโลยี PIR แบบเดิม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดปัญหา False Alarms
ซึ่งเท่าทีซื้อมาติดตั้งดูก็พบว่ายังต้องใช้การติดตั้งไม่ให้หันไปส่องทางประตูหรือหน้าต่าง ช่วยอยู่ดี และ
การตรวจจับก็ยังมี False Alarms อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยอมรับว่าน้อยกว่า เทคโนโลยี PIR แบบเดิม

- เทคโนโลยี PET Friendly หรือ PET Immunity หรือ PET Immune แล้วแต่จะเรียก เป็นระบบ
แยกแยะอุณหภูมิของคน กับ สัตว์เลี้ยง ในการตรวจจับ โดยมีน้ำหนักของ สัตว์เลี้ยง เป็นตัวที่ไปชี้วัดว่า
น้ำหนักขนาดเกินเท่าใดจะตรวจจับและไม่ตรวจจับ การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ก็ดูจะเสริมความน่าเชื่อ
ถือให้เทคโนโลยี PIR แบบเดิมๆได้บ้าง แต่ดันมีข้อกำหนดของน้ำหนักสัตว์เข้ามาเกี่ยวเลยไม่ชัวร์เท่าไหร่

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ Microwave เป็นการใช้คลื่นความร้อนไมโครเวฟในการตรวจจับ โดย
หากมีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ แล้วคลื่นไมโครเวฟกระทบกับความร้อนในร่างกายของผู้บุกรุก ระบบ
ก็จะทำการตรวจจับได้ทันที เพราะความร้อนในร่างกายของมนุษย์จะมีความร้อนเฉพาะแตกต่างจาก
ความร้อนของ แสงแดด หรือสัตว์บางประเภท หรือแมลงต่างๆ ทำให้ระบบกันขโมยบางยี่ห้อจึงได้นำ
เทคโนโลยีนี้ใส่รวมไปกับเทคโนโลยี่ PIR แบบเดิมในการทำงานตรวจจับที่ดีกว่า และคลื่นไมโครเวฟ
ของเทคโนโลยีนี้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์แม้แต่น้อย ส่วนเทคโนโลยี PIR + Microwave นี้ช่วยลด
ปัญหาการ False Alarms ได้ดีแค่ไหน ขอตอบจากประสบการณ์ที่ได้ทดสอบมาแล้วว่าดีกว่าระบบ
เทคโนโลยี PIR แบบเดิม และแบบ PIR II อยู่มากถึงจะมี False Alarms อยู่บ้างก็ตามที

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ TriTech เป็นระบบการตรวจจับแบบอัฉริยะ ที่รวมเอาระบบที่ดีที่สุดใน
การตรวจจับการเคลื่อนไหวไว้รวมกันในอุปกรณ์ตัวเดียว ซึ่งเทคโนโลยี TriTech นี้ประกอบไปด้วย
เทคโนโลยี PIR (Passive Infrared) แบบ Dual PIR ทำงานร่วมกับ เทคโนโลยี Microwave
ในการตรวจจับผู้บุกรุก และมีเทคโนโลยี A.I.(Artificial Intelligence) เป็นตัวที่จะวิเคราะห์และ
ประมวลผลสิ่งที่ PIR กับ Microwave ตรวจจับได้ว่าสิ่งที่ทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ ตรวจจับได้นั้นเป็น
มนุษย์ หรือ สัตว์เลี้ยง หรือ การเคลื่อนไหวจากสิ่งอื่นๆ เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วถึงจะแจ้งระบบทำการ
ตรวจจับหากสิ่งที่วิเคราะห์ได้เป็นผู้บุกรุกจริงๆ และระบบนี้ยังสามารถแยกแยะการตรวจจับสิ่งมีชีวิต
ว่า เลือดอุ่น หรือ เลือดเย็น ได้อีกด้วย และมีระบบ Pattern Recognition Technology [PRT]
จดจำสัญญาณที่เป็นรูปแบบซ้ำๆ เช่น พัดลมหมุน หรือ มีสิ่งใดเคลื่อนไหวอยู่ เมื่อเริ่มทำการเปิดระบบ
ทำให้ระบบจะยังไม่ทำการตรวจจับเหตุการณ์นั้นๆ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง และจะไม่ส่งสัญญาณ
แจ้งเตือน แต่จะไม่ลดทอนประสิทธิภาพในการตรวจจับสัญญาณจากผู้บุกรุกแม้แต้น้อย ทำให้ระบบ
เทคโนโลยี TriTech นี้ช่วยลดปัญหาของการเกิด False Alarms ได้เป็นอย่างดี และจากที่ได้ทำ
การติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี TriTech นี้ ผลสรุปว่าปัญหา Flase Alarms แทบ
จะไม่มีเลยครับ ซึ่งจากการสอบถามผู้ใช้จริงๆ กว่า 10 รายก็ตอบเหมือนกันว่ายังไม่เคยเห็นว่าระบบ
อุปกรณ์นี้มัน False Alarms เลย แต่เท่าที่ผมซื้อมาทดสอบเองก็พบว่ามีบ้างนะแต่ก็เพิ่งเจอ 1 ครั้ง
เท่านั้นจากการทดสอบมา 9 เดือนกว่าๆ


หลักการทำงานก็ คือ เมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณพื้นที่ๆติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวไว้ ระบบก็จะ
ทำการตรวจจับผู้บุกรุกในทันที จำเป็นต้องติดตั้งคู่กับอุปกรณ์ Magnetic เพราะหาก
ผู้บุกรุกทุบหรือกรีดกระจกบานประตูหรือบานหน้าต่างเข้ามา หรือเปิดหลังคาและโรย
ตัวทีบฝ้าเพดานลงมา ก็จะมีอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวนี้ช่วยตรวจจับได้

ข้อดีของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เป็นการป้องกันที่ได้ผลดีกว่าอุปกรณ์ตรวจจับทุกๆประเภทของระบบกันขโมย เพราะแม้แต่ช่างติดตั้งระบบ
กันขโมยเองก็เข้ามาไม่ได้หากการออกแบบวางระบบอุปกรณ์ไว้รัดกุมดีพอ
- ป้องกันการเข้ามาของผู้บุกรุกได้ทุกๆช่องทางของการเข้ามา
- นอกจากจะป้องกันการบุกรุกจากผู้บุกรุกภายนอกแล้ว ยังป้องกันผู้บุกรุกภายในสถานที่ติดตั้งเองได้อีกด้วย
- อุปกรณ์ 1 ตัวสามารถป้องกันครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างมากและไกลมาก

ข้อเสียของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- จะมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ตรวจจับแบบ Magnetic ถึง 10 เท่าตัว สำหรับระบบกันขโมยแบบเดินสาย
- ปัญหาของการ False Alarms ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุปกรณ์ชนิดนี้ เวลาเลือกซื้อจึงควรเลือกเทคโนโลยี
ของการตรวจจับที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นสำคัญ เพราะจะช่วยลดปัญหาการเกิด False Alarms ได้มาก

การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ควรติดตั้งที่ความสูงและข้อกำหนดการติดตั้ง ตามที่สเปคของอุปกรณ์กำหนดไว้เท่านั้น
- ไม่ให้นำอุปกรณ์ชนิดนี้ไปติดตั้งภายนอกสถานที่ติดตั้ง เพราะระบบไม่ได้ทำมาสำหรับติดตั้งภายนอกสถานที่
- ไม่ควรติดตั้งตัวอุปกรณ์หันหน้าออกไปทางประตูหรือหน้าต่างที่เป็นกระจก ถึงแม้อุปกรณ์ชนิดนี้จะตรวจจับไม่
ทะลุผ่านกระจกใสหรือผนังกำแพง แต่ก็ไม่ควรหันออกไปรับแสงแดดมากเพราะจะเกิด False Alarms ได้

หมายเหตุ การเลือกซื้ออุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว นอกจากจะดูเทคโนโลยีของการตรวจจับแล้ว ต้องดู
รัศมีของการตรวจจับแบบใด และ ระยะความไกลในการตรวจจับ เช่น รัศมีทำมุม 90 องศา หรือ
360 องศา และ ระยะความไกล 11x11 เมตร หรือ 15x15 เมตร หรือ 18x18 เมตร และแบบ
21x21 เมตร หรือ 21x360 องศา เป็นต้น ระยะความไกลให้ดูพื้นที่ติดตั้งเป็นหลัก


2.3 อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว (Outdoor Motion Detector) สำหรับติดตั้งภายนอกสถานที่ติดตั้ง
หลักการตรวจจับ และเ ทคโนโลยีตรวจจับ จะคล้ายๆกับ อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในสถานที่
จะต่างกันก็ตรงทีจะเพิ่มเทคโนโลยีในการตรวจจับให้วิเคราะห์มากขึ้น มีระยะรัศมีของการตรวจจับที่มาก
ขึ้นกว่าแบบติดตั้งภายในสถานที่ แต่จะมีไม่กี่ยี่ห้อที่ทำแบบตรวจจับภายนอกสถานที่ เท่าทีได้ทดสอบดู
โดยนำแบบของเทคโนโลยี PIR II กับของ เทคโนโลยี TriTech มาทดสอบติดตั้งตรวจจับภายนอกตัว
บ้านของผมพบว่าแบบ เทคโนโลยี TriTech มีการเกิดปัญหา False Alarms น้อยกว่า แบบ PIR II
มากเลยครับ ซึ่งผมติดตั้งตามสเปคที่อุปกรณ์แต่ละเทคโนโลยีกำหนดไว้ทุกอย่าง และได้ติดตั้งในสภาพ
แวดล้อมแบบเดียวกัน พื้นที่นอกบ้านเดียวกัน แต่ติดต่างฝั่งกัน ระยะเวลาทดสอบ 6 เดือนเท่ากัน

หลักการทำงาน ข้อดีในการติดอุปกรณ์นี้ ข้อเสียในการติดอุปกรณ์นี้ การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ ก็จะคล้าย
กับอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในสถานที่ แต่เรื่องปัญหาการเกิด False Alarms ของอุปกรณ์
ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายนอกสถานที่ จะมีมากกว่าอุปกณณ์ภายในสถานที่มาก ทางที่ดีที่สุดหากท่าน
ต้องการจะติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้จริงๆก็ควรเลือกเทคโนโลยีการตรวจจับที่ดีๆ และเวลาติดให้หันหน้า ของ
ตัวอุปกรณ์ยิงเข้าหาตัวอาคารสถานที่จึงจะดี อาจจะช่วยลดการ False Alarms ได้มากขึ้น


2.4 อุปกรณ์ตรวจจับด้วยการยิงลำแสงป้องกันแนวตรง (Beam Photoelectric Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีการยิงสำแสงป้องกัน โดยจะมีอุปกรณ์ตัวส่งลำแสงในการยิงลำแสงออกไป
กับ มีอุปกรณ์ตัวรับเป็นที่พักลำแสงจากอุปกณณ์ตัวส่ง จะใช้คู่กันในการติดตั้งป้องกันผู้บุกรุก ส่วนมาก
อุปกรณ์ชนิดนี้ผู้ขายและผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนำมาติดตั้งป้องกันบริเวณภายนอกสถานที่อาคาร เช่น จะนำไป
ติดบนกำแพงรั้วป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกกระปีนเข้ามา หรือ ติดรอบๆตัวอาคารป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาในตัว
อาคารสถานที่ แต่จริงๆแล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ยังสามารถติดตั้งภายในอาคารสถานที่ได้ดียิ่งกว่าติดภายนอก
อาคารสถานที่มาก อุปกรณ์ชนิดนจะมีอยู่ 3 แบบคือ

- แบบ Sigle Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 1 ลำแสง ในการตรวจจับ

- แบบ Dual Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 2 ลำแสง ในการตรวจจับ

- แบบ Quad Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 4 ลำแสง ในการตรวจจับ


หลักการทำงาน คือ เมื่อมีวัตถุใดๆมาตัดบังลำแสงระหว่างอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับ อุปกรณ์ตัวรับลำแสง
ระบบตรวจจับก็จะทำการตรวจจับทันที

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ควรเลือกที่ระยะความไกลในการยิงลำแสง โดยเอาจุดตำแหน่งที่เราจะ
ติดตั้งอุปกรณ์นี้เป็นระยะในการกำหนดซื้อ เช่น ถ้าติดที่กำแพงรั้วก็ให้
ดูว่าระยะกำแพงรั้ว 1 ฝั่งของท่านยาวเท่าไหร่ก็เอาความยาวนี้ตั้งระยะ
ในการบอกผู้ขาย และให้ดูรัศมีความกว้างของลำแสงของอุปกรณ์ว่ามี
รัศมีความกว้างเท่าไหร่ในการยิงลำแสงจาก อุปกรณ์ตัวส่ง ถึง ตัวรับ

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายในสถานที่ติดตั้ง
- เป็นการป้องกันจากผู้บุกรุกตั้งแต่ต้นก่อนจะเข้ามาถึงตัวอาคารสถานที่ติดตั้ง

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ถ้าติดตั้งแนวรั้วกำแพงทั้ง 4 ด้านราคาก็จะแพงมากทั้งค่าติดตั้งและค่าอุปกรณ์ทั้งหมด
- ถ้าติดตามแนวกำแพงรั้วของสถานที่ ต้องระวังใบไม้มาตัดลำแสง นกบินมาเกาะกำแพงตัดลำแสง
แมวกระโดดบนกำแพงตัดลำแสง และ กระแสลมแรงที่พัดตัดลำแสง หรือ มีรถใหญ่วิ่งผ่านทำให้เกิด
การสั่นสะเทือนไปทำให้อุปกรณ์ตัวส่งลำแสงสั่นจึงยิงลำแสงไม่ตรง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง ปัญหา
ต่างๆเหล่านี้ก็ทำให้ระบบการตรวจจับผิดพลาดได้ง่ายๆ และจะบ่อยครั้งมากจนผู้ใช้ที่ซื้ออุปกรณ์ชนิด
นี้ไปติดตั้งหลายๆรายได้เลิกใช้ไปเลย และยังไม่มีทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้


2.5 อุปกรณ์ตรวจจับการทุบกระจกแตก (Glass Break Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับเสียงของการทุบกระจกแตก โดยใช้เทคโนโลยีแบบ Microprocessor-based
Sound Analysis Technology (SAT) สำหรับติดตั้งป้องกันการทุบกระจกบานประตู บานหน้าต่าง
เพื่อเข้ามาในสถานที่โดผู้บุกรุก อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีหลายแบบเช่น แบบติดตั้งใต้ฝ้าเพดาน แบบติดผนัง
กำแพง แบบติดกับบานกระจก หรือแบบติดตั้งที่ประตู หน้าต่าง แบบติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch
ซึ่งใช้แทนอุปกรณ์ Magnetic Switch ได้เลย

หลักการทำงาน คือ หากมีผู้บุกรุกทุบกระจกของบานประตู หรือบานหน้าต่างเข้ามา ระบบจะทำการตรวจ
จับเสียงกระจกแตกที่เกิดขึ้น และ จะส่งสัญญาณตรวจจับผู้บุกรุกในทันที

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ติดตั้งป้องกันการทุบกระจกแตกของผู้บุกรุก ได้กับทุกๆสถานที่

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- มีราคาแพงหากจะติดตั้งป้องกัน ประตูบานกระจก หรือ หน้าต่างบานกระจก ทุกๆบานในสถานที่ เพราะ
อุปกรณ์นี้ 1 ตัว จะมีข้อกำหนดอยู่ว่าครอบคลุมตรวจจับได้พื้นที่แค่ไหน หรือบางรุ่นได้แค่ 1 บาน
- จะเกิดการ False Alarms ได้ง่ายสำหรับชนิดติดกับ บานกระจก หรือ ชนิดติดแบบ Magnetic โดย
สิ่งที่จะทำให้เกิด False Alarms ก็คือ ฝนตกและฟ้าร้องทำให้บานประตู หน้าต่าง สั่นสะเทือน หรือ
มีรถใหญ่วิ่งผ่านสถานที่ติดตั้งจนเกิดการสั่นสะเทือนของ บานประตู บานหน้าต่าง ส่วนชนิดที่ติดตั้งบน
ผนังกำแพง หรือ ใต้ฝ้าเพดาน จะมีปัญหาที่กล่าวไปน้อยกว่า แต่ระบบอุปกรณ์ชนิดนี้หากเราเปิดระบบ
และเปิดหนังภาพยนตร์ดูในสถานที่แบบใช้ชุดโฮมเธียเตอร์ราคาแพงๆ ระบบ THX แล้วเปิดฉากของ
หนังที่มีการทุบหรือเสียงแตกของกระจก ระบบอุปกรณ์นี้บางยี่ห้อที่มีเทคโนโลยีวิเคราะห์เสียงดีๆ ใน
การตรวจจับก็จะแยกเสียงกระจกแตกจากหนังได้ แต่ยี่ห้อที่มีเทคโนโลยีไม่ได้จะตรวจจับเสียงหนังที่
ว่าทันที แม้แต่เสียงแก้วแตกก็ยังตรวจจับเลยครับ

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เลือกแบรนด์ยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ
- ดูเทคโนโลยีในการตรวจจับเสียง ว่าเป็นแบบใด
- ควรติดเฉพาะบานกระจกที่จำเป็นจริงๆ จะได้ประหยัดราคา

หมายเหตุ
- หากการออกแบบวางระบบอุปกรณ์กันขโมย ได้มีการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch กับ
อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว Motion Detector ไว้ อุปกรณ์ Glass Break Detector นี้ก็ไม่มี
ความจำเป็นต้องติดครับ เพราะติดไปก็มีค่าเท่าเดิมถ้าผู้บุกรุกทุบกระจกเข้ามาอุปกรณ์ Motion ก็ยังคง
ตรวจจับได้อยู่ดี

2.6 อุปกรณ์ป้องกันการเปิดตู้เซฟ หรือ ตู้เอทีเอ็มของธาคาร (Save Sensor หรือ Seismic Detector)
เป็นอุปกรณ์แบบใช้คลื่นมารดาเหล็กไฟฟ้า และ เพิ่มระบบการตรวจจับการสั่นสะเทือนเข้ามาด้วย ในการใช้
งานติดตั้งป้องกันตู้เซฟแบบต่างๆ หรือตู้เอทีเอ็ม ของธนาคาร

หลักการทำงาน คือ จะติดอุปกรณ์ชนิดนี้ไว้ที่ ตู้เซฟ และ ตู้เอทีเอ็ม และโปรแกรมระบบการทำงานของตัว
อุปกรณ์ให้ทำงานตรวจจับตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อมีผู้บุกรุกมาเปิดตู้เซฟ หรือตู้เอทีเอ็ม โดยที่ไม่ได้ปิดระบบ
การทำงานของอุปกรณ์ก่อน ระบบก็จะแจ้งเตือนทันที อุปกรณ์นี้ยังตรวจจับการเจาะตู้เซฟและตู้เอทีเอ็ม ได้
อีกด้วย

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้คือ เลือกแบรนด์ยี่ห้อระบบกันขโมยที่น่าเชื่อถือ เลือกชนิดอุปกรณ์ให้เหมาะ
กับตู้เซฟ และ ตู้เอทีเอ็ม ที่ท่านใช้

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เหมาะกับสถานที่ที่มีคนอยู่ภายในบริเวณตลอด 24 ชั่วโมง แต่มีตู้เซฟใส่สินค้ามีค้าไว้ เช่น ปั๊มน้ำมันทั่วไป
โรงพยาบาลในห้องการเงิน ตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- จะมีราคาแพงมากถ้าเปรียบเทียบความคุ้มค่า กับอุปกรณ์ระบบกันขโมยทุกๆประเภท
- ถ้าติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch และ Motion Detector ในห้องที่มีตู้เซฟ แล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ก็
ไม่จำเป็นต้องซื้อติดตั้ง

ยกเว้น ตู้เอทีเอ็ม ที่ไม่สามารถติด อุปกรณ์ Magnetic Switch และ อุปกรณ์ Motion Detector ในที่
ตั้งบริเวณนั้นๆได้

2.7 อุปกรณ์ตรวจจับเหตุอัคคีภัย สำหรับต่อกับตู้ควบคุมระบบกันขโมย
จะมีทั้งแบบตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ แบบตรวจจับความร้อน (Heat Detector) โดย
ทีอุปกรณ์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะทำการตรวจจับเหตุอัคคีภัยเหมือนกัน แต่จะติดตั้งในห้องของสถานที่ๆต่างกัน คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะติดตั้งในห้องต่างได้ ยกเว้น ห้องครัวที่มีการทำอาหาร
ที่มีควันมากๆ และ ห้องพระของสถานที่ติดตั้ง หรือ ห้องเครื่องที่มีความร้อนกับมีควันมาก
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะติดตั้งในห้องต่างได้กับทุกๆห้องของทุกๆสถานที่

หลักการทำงาน คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เกิดควันไฟที่มีความร้อนสูง
ตามที่สเปคอุปกรณ์ได้กำหนดไว้
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ เมื่อความร้อนของเปลวไฟร้อน
เกินกว่าที่สเปคอุปกรณ์ได้กำหนดไว้

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะตรวจจับควันไฟก่อนที่เปลวไฟจะ่เริ่มลุกลามมากขึ้น
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ช้ากว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
แต่ก็ทดแทนอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟได้ในห้องที่อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟไม่สามารถติดตั้งได้
- ติดเพื่อความปลอดภัยของสถานที่ติดตั้ง เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ให้น้อยลงได้

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) ไม่เหมาะกับห้องที่มีควันมากๆ และมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์
ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ช้ากว่า อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เลือกที่แบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่น่าเชื่อถือ และมีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก
- เลือก อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
ที่สามารถเทสทดสอบการทำงานของตัวอุปกรณ์ได้
- เลือก อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
ที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายๆ และ มีสเปคการทำงานในการตรวจจับที่ได้มาตรฐาน UL , CE

2.8 อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Switch หรือ Panic Button Switch)
เป็นอุปกรณ์ปุ่มกด สำหรับกดปุ่มแจ้งขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือแจ้งเหตุการณ์เร่งด่วน ทันทีทันใด อุปกรณ์
นี้เวลาท่านกดปุ่มแจ้งขอความช่วยเหลือแล้วปุ่มที่กดจะแช่ค้างไว้ตลอด หากจะปลดคลายไม่ให้ปุ่มค้างก็ต้องใช้
กุญแจที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ไขปลดล็อคถึงจะได้ เหมาะสำหรับติดในห้องการเงิน ธนาคาร โรงรับจำนำ หรือติด
ในห้องที่มีผู้สูงอายุ แต่สำหรับสถานที่ติดตั้งระบบกันขโมย ที่ไม่ต้องการซื้่ออุปกรณ์ชนิดนี้ก็สามารถกดปุ่มแจ้ง
ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้จากอุปกรณ์ Keypad แต่มันต้องกดแล้วปล่อยอาจจะไม่ต้องกับวัตถุประสงค์ของ
การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือสักเท่าไหร่


3. ชุดอุปกรณ์แสดงผล หรือ ชุดอุปกรณ์ขับไล่
3.1 อุปกรณ์ขับไล่ด้วยเสียง สำหรับระบบสัญญาณกันขโมย จะมีอยู่ 4 แบบ
- Indoor Siren with Square Housing เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับ
สเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 12 โวลล์ในการทำงาน
- Horn Siren เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละ ยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์ก็ขึ้นอยู่แต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 12 โวลล์ในการทำงาน
- Horn Siren เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละ ยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์ก็ขึ้นอยู่แต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 24 โวลล์ในการทำงาน
- Motor Bell 6" เป็นอุปกรณ์แบบใช้เสียงกระดิ่งขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์จะเป็นทรงกลม มีสีแดง ใช้ไฟฟ้าแบบ 24 โวลล์ในการทำงาน

หมายเหตุ อุปกรณ์ชนิดนี้จะติดตั้งภายนอกหรือภายในสถานที่ติดตั้งก็ได้ ควรเลือกซื้อที่รูปทรง และความดังของ
เสียงขับไล่ ให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้ง

3.2 อุปกรณ์ขับไล่ด้วยเสียงและแสงไฟกระพริบ สำหรับระบบสัญญาณกันขโมย
- Outdoor Siren with Strobe Light เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ พร้อมกับ มีแสงไฟกระพริบ
ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ
12 โวลล์ในการทำงาน และสีของแสงไฟกระพริบก็มีทั้งแบบสีแดง และสีน้ำเงิน

หมายเหตุ
- อุปกรณ์ชนิดนี้จะติดตั้งภายนอกหรือภายในสถานที่ติดตั้งก็ได้
- ควรเลือกซื้อที่รูปทรง และความดังของเสียงขับไล่ ให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้ง
- ส่วนแสงไฟกระพริบจะมีประโยชน์ในการระบุตำแหน่งของสถานที่ติดตั้ง เวลาเกิดเหตุบุกรุกหรือเหตุอัคคีภัย


4. การติดตั้งระบบอุปกรณ์สัญญาณกันขโมย
- ควรจะเลือกบริษัทฯ ติดตั้งที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญสูงในการติดตั้งระบบกันขโมยโดยเฉพาะ
- ในการติดตั้งเดินท่อที่ใช้ร้อยใสสายนำสัญญาณของระบบกันขโมย ควรเลือกใช้ท่อ PVC สีเหลือง หรือ
สถานที่ๆมีงบประมาณสูงก็ให้เลือกใช้ท่อเหล็ก EMT ในการติดตั้ง
- การเลือกสายนำสัญญาณกันขโมยในการติดตั้งให้อุปกรณ์ต่างๆในระบบ ควรที่จะเลือกใช้สายนำสัญญาณ
ประเภท 20 หรือ 22 หรือ 24 AWG Multicore Cable แบบ 2 เส้นใน - 4 เส้นใน และ 6 เส้นใน
แบบสายทองแดงฝอย เพราะจะมีการเหนี่ยวนำสัญญาณได้ดีและสายจะไม่หักใน หรือขาดในสายได้ง่ายๆ
- ในการติดตั้งเดินท่อร้อยสายนำสัญญาณของระบบกันขโมย ควรวางแผนในการซ่อมแซมสายนำสัญญาณ
ไว้ด้วย เผื่อการแก้ไขการระบบสายที่ติดตั้งเกิดมีปัญหา
- จุดติดตั้งตำแหน่งไหนที่ต้องมีการเชื่อมสายจากตู้ควบคุมไปเข้ากับสายของอุปกรณ์ ต้องทำการเชื่อมสาย
ให้ถูกต้อง และต้องบักกรีสายตรงจุดเชื่อมต่อด้วยการไร้ตะกั่ว และใช้ท่อหดหุ้มใสจุดที่บักกรีตะกั่วไว้ด้วย
- ควรให้บริษัทฯ ที่ติดตั้งเทสและทดสอบการทำงานของสายนำสัญญาณที่ติดตั้งไว้ทุกจุดว่าใช้งานได้ก่อน
ติดตั้งต่อกับตัวอุปกรณ์ต่างๆในระบบ
- ควรให้บริษัทฯ ที่ติดตั้งเทสและทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบทุกจุดให้ครบ และทำงาน
ได้จริงตามความสามารถของอุปกรณ์นั้นๆ
- ก่อนรับส่งมอบงานจากบริษัทฯผู้ขายและติดตั้ง ควรให้เขาสอนการใช้งานของระบบให้คล่องก่อน
- เมื่อรับส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว ก่อนชำระเงินให้ข้อคู่มือการใช้งาน และเอกสารใบรับประกัน กับชื่อช่าง
ที่สามารถติดต่อได้หากระบบเกิดมีปัญหา หรือมีปัญหาในการใช้งาน


5. บทสรุปของการเลือกซื้อระบบกันขโมย มาติดตั้งป้องกันในสถานที่
5.1 ควรเลือกจาก แบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก กับแบรนด์สินค้าเป็นที่รู้จัก และน่าเชื่อถือ
5.2 แบรนด์ยี่ห้อสินค้า ของระบบกันขโมย จะมีมาจากหลายๆประเทศ และประเทศที่ผลิตสินค้า อาจจะ
ไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าก็ได้ เช่น แบรนด์สินค้าอเมริกา แต่ผลิตสินค้าในประเทศจีน เป็นต้น
ถ้าแบนด์สินค้าที่ท่านเลือกเป็นอย่างนี้ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าสินค้าที่ผลิตจาก จีน จะไม่ดี เพราะเท่าที่
ได้ทดสอบด้วยตัวเอง และ ศึกษาจากผู้ใช้จำนวนมาก ก็พบว่าสินค้าแบรนด์ดัง แต่ผลิตสินค้าใน จีน
กับมีคุณภาพดีและมีมาตรฐานกว่า แบรนด์สินค้าที่ผลิตในเป็นเทศของเจ้าของแบรนด์สินค้าเอง เสีย
อีก ผมว่ายิงแบรนด์สินค้าเขามีชื่อเสียงดีเท่าไหร่ แม้จะผลิตสินค้าในประเทศจีน เขาก็ยังคงรักษาให้
สินค้าเขามีมาตรฐานที่ดีอยู่ตลอด เพื่อไม่ให้ชื่อเสียงของสินค้าเขาดูไม่มีคุณภาพ เพราะมันคงจะไป
กระทบกับแบรนด์สินค้าเขาอย่างมากหากผลิตในประเทศจีน แล้วสินค้าไม่มีคุณภาพ

5.3 ควรเลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจจับให้เหมาะกับการป้องกันภายในสถานที่ของท่าน
5.4 ราคาของระบบอุปกรณ์ที่จะซื้อ ควรจะเปรียบเทียบจากคุณสมบัติในการทำงานของระบบอุปกรณ์เป็น
หลัก และ เปรียบเทียบจากแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงเทียบเท่ากัน สินค้าที่ราคาถูกกว่ายี่ห้ออื่นมากๆ
ในจำนวนอุปกรณ์ที่เท่าๆกันอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อให้ดูสเปคสินค้าก่อนและศึกษาว่ามีผู้ใช้มากเท่าไร

5.5 ควรเลือกบริษัทฯ ที่จำหน่ายและติดตั้ง ที่มีประสบการณ์มายาวนานและมีการบริการหลังการขายที่ดี
5.6 การหาซื้อสินค้าระบบกันขโมย ควรหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Google ในการค้นหา โดยให้
พิมพ์คำค้นหาว่า กันขโมย หรือ กันขโมยแบบเจาะจงยี่ห้อ เข่น กันขโมย Bosch , กันขโมย Ness
ถ้าจะหาระบบกันขโมยแบบไร้สายก็พิมพ์คำค้นหาว่า กันขโมยไร้สาย หรือ กันขโมย Bosch หรือให้
ไปสอบถามกับผู้ที่เคยซื้อระบบกันขโมยมาติดตั้งและใช้งานมาแล้ว ว่าแบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่เขาใช้เป็น
อย่างไรบ้าง แต่อย่าเพิ่งเชื่อเขาทั้งหมดให้เสริท์หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วย

5.7 การเลือกซื้อระบบกันขโมยมาติดตั้งเป็นการป้องกันปัญหาของการ ถูกบุกรุก-โจรกรรม ได้ดีที่สุด
ถ้าหากจะเปรียบกับการซื้ออุปกรณ์ป้องกันแบบอื่นๆ หรือ ซื้อการประกันภัย เช่น

5.7.1 ซื้อ เหล็กดัด มาติดตั้ง ใส่ครอบประตู และ หน้าต่าง ทุกๆบาน
ข้อดีของการติดเหล็กดัด คือ
- ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากเสียเงินแล้วเขาก็มาติดตามจำนวนที่ต้องการ
- ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก ถ้าใช้ไปนานๆเก่าแล้วหก็ทาสีใหม่
- ให้ความรู้สึกว่ามั่นคง และ แข็งแรง เวลาติดตั้งป้องกันที่ ประตู และ หน้าต่าง


ข้อเสียของการติดเหล็กดัด คือ
- ทำให้บ้านที่มีบานประตู บานหน้าต่าง แบบเป็นกระจกรอบบ้าน ติดตั้งเหล็กดัดเข้าไปทำให้หมด
ความสวยงาม ถ้าเป็นแบบบ้านสมัยใหม่ที่ติดประตู หน้าต่าง ที่เป็นบาน Winsor หรือ UPVC
เวลาติดเหล็กดัดเข้าไปยิ่งทำให้ไม่สวยงามมากกว่าเดิม

- สิ่งที่คิดว่าติด เหล็กดัด แล้วแข็งแรง แน่หนา อาจจะใช้ไม่ได้กับขโมยในยุกต์สมัยนี้ เพราะพวก
ขโมยรุ่นใหม่นี้ มีวิธีการงัดทำลายเหล็กดัดได้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง หรือใช้น้ำกรดหยดตามรูน็อต
ที่ยึดโครงเหล็กดัดกับวงกบประตู หน้าต่าง ไม่กี่จุดก็หลุดออกมาทั้งโครงเหล็กแล้ว ในเวลาอันสั้น

- การติดเหล็กดัด ก็อาจเป็นดาบ 2 คมสำหรับสถานที่ติดตั้งได้เช่นเดียวกัน เช่น เกิดเหตุไฟไหม้
แล้วหนีออกมาจากสถานที่ไม่ได้เพราะติดเหล็กดัด หรือ เกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านแล้วคนอื่นเข้ามา
ช่วยจะใช้เวลานานมากกว่าปกติเพราะต้องงัดทำลายเหล็กดัดก่อนถึงจะเข้ามาได้

- การติดเหล็กดัด หากสถานที่ติดตั้งติดที่ประตู และหน้าต่าง ทั้งหมดในสถานที่ ราคาก็ไม่ได้ถูกไป
กว่าการติดตั้งระบบกันขโมยเลย อาจจะแพงกว่าด้วยซ้ำไป แต่กับได้ประโยชน์ในการป้องกันน้อย
กว่าการติดตั้งระบบกันขโมยมาก เพราะระบบกันขโมยนอกจากจะป้องกันได้ทุกๆจุดภายในสถานที่
แล้ว ยังมีระบบขับไล่ผู้บุกรุกด้วยเสียงไซเรนดัง และ ยังมีระบบโทรศัพท์อัตโนมัติโทรออกไปแจ้ง
เหตุร้ายให้เจ้าของสถานที่ทราบอีกด้วย เป็นทั้งระบบป้องกัน ขับไล่ และแจ้งเหตุร้ายเพื่อให้ลดความ
สูญเสียภายในสถานที่ได้อย่างครบวงจร


5.7.2 ซื้อระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด มาติดตั้ง
ข้อดีของการติดระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด คือ
- ได้เห็นภาพรอบสถานที่ของเราทั้งในเวลาอยในสถานทีู่่ หรือ ออกไปอยู่นอกสถานที่
- ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆในสถานที่ของเราตามจุดต่างๆที่ได้ติดตั้งตัวกล้องไว้
- หากเกิดมีการบุกรุกขึ้นในสถานที่ของเรา ก็สามารถจะมาย้อนภาพจากเครื่องบันทึกภาพดูได้ว่ามี
เหตุการอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ข้อเสียของการติดระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด คือ
- หากเกิดมีการบุกรุกขึ้นในสถานที่ของเรา แล้วมาย้อนภาพจากเครื่องบันทึกภาพดูว่ามีเหตุการอะไร
เกิดขึ้นบ้างนั้น หมายความว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินภายในสถานที่
และตัวสถานที่ ได้เกิดการสูญหาและเสียหายไปแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันภายหลังการเกิดเหตุ ไม่ใช่
การป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุเหมือนระบบกันขโมย เพราะระบบกันขโมยจะเป็นการป้องกันสถานที่
ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการบุกรุก-โจรกรรม โดยมีอุปกรณ์ตรวจจับป้องกันทั่วทุกพื้นที่ของภายในสถานที่
และมีไซเรนเสียงขับไล่ผู้บุกรุกในเบื้องต้น พร้อมกับระบบยังโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุร้านให้กับทางเจ้า
ของสถานที่ทราบในทันที ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียให้กับสถานที่ได้น้อยที่สุด

- ผู้บุกรุกสามารถทำลายตัวกล้องได้อย่างง่ายได้ โดยจะใช้การเข้าไปทำลายตรงมุมอับของตัวกล้อง
ต่างจากระบบอุปกรณ์กันขโมย หากผู้บุกรุกทำลาย อุปกรณ์ตรวจจับ หรืออุปกรณ์ขับไล่ หรือตัดไฟ
สถานที่ หรือตัดสายโทรศัพท์ ระบบก็จะยังคงทำงานตรวจจับและร้องเตือนขับไล่ได้ตามปกติ

- ราคาของชุดระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพร้อมติดตั้ง กับราคาของระบบกันขโมยพร้อมติดตั้ง ถ้า
เจ้าของสถานที่เลือกแบบดีๆราคาก็จะพอๆกันไม่ต่างกัน แต่ประโยชน์ของระบบกันขโมยจะมากกว่า


5.7.3 ซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม จากบริษัทฯประกันภัยทั่วๆไป
ข้อดีของการซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม คือ
- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่

- มีบริษัทฯ รับทำประกันภัยคุ้มครองให้เลือกมากมายหลายบริษัทฯ
ข้อเสียของการซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม คือ
- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่ นั้นหมายถึงได้เกิดความเสียหายและสูญ
เสีย กับสถานที่นั้นๆแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันหลังเกิดเหตุ ไม่ใช่การป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุร้าย
เหมือนระบบกันขโมย ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียได้มากกว่าและดีกว่ามาก

- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่ ส่วนใหญ่เวลาเกิดเหตุแล้วการเรียกเอา
เงินประกันความเสียหาย จะยุ่งยากและมีขั้นตอนมากตามเงื่อนไขของการขอรับเงินประกันความ
เสียหาย และเงื่อนไขของบริษัทที่รับทำประกันท่านควรอ่านรายละเอียดให้ดีๆ เพราะจะเป็นเงื่อน
ไขที่เอาเปรียบผู้ทำประกันซะเป็นส่วนใหญ่ และมีข้อกำหนดมากว่ารับประกันอะไรบ้าง และไม่รับ
ประกันทรัพย์สินอะไรบ้าง

- ราคาค่าเริ่มต้นของการขอรับทำประกัน และค่าเบี้ยทำประกัน ก็มีข้อกำหนดและระยะเวลาต่อเนื่อง
ถ้าเจ้าของสถานที่ที่เกิดหยุดส่งหรือขาดส่ง เงินต้นและเบี้ยประกันที่เคยส่งมาก็สูญไม่ได้อะไรเลย
ซึ่งเป็นวิธีป้องกันสถานที่ๆคิดๆแล้วมีแต่เสียเงินเปล่าประโยชน์ และเงินชดเชยหากเกิดความเสีย
แล้วอาจจะได้ไม่เท่ากับที่สูญเสียไปก่อมีให้เห็นอยู่มาก

- ถ้าจะเปรียบซื้อกรรมธรรพ์ประกันภัย กับ ติดตั้งระบบกันขโมย สำหรับป้องกันสถานที่ต่างๆ มันคง
จะเห็นประโยชน์ได้ชัดเลยว่าแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน ป้องกันหลังเกิดความเสียหายและสูญเสีย
ไปแล้ว กับ ป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดความเสียหาย และสูญเสีย ท่านก็คิดง่ายๆเอาเองนะครับว่าควร
จะเลือกแบบไหน และราคาก็ไม่ต่างกันเลยถ้าเปรียบเทียบในระยะยาวเท่าๆกัน ระบบกันขโมย
จะถูกและคุ้มค่ากว่ามากด้วยซ้ำไป

ปัญหาต่างๆของการซื้อระบบกันขโมยไปติดตั้ง

|0 ความคิดเห็น
ปัญหาต่างๆของการซื้อระบบกันขโมยไปติดตั้ง

ถ้าจะกล่าวถึงปัญหาของการลงทุนซื้อระบบกันขโมยมาติดตั้ง เพื่อใช้ในป้องกันภัยจาก ขโมยที่จะบุกรุก
เข้ามาในสถานที่ แต่กลับพบว่ามีปํญหาต่างๆตามมาหลังจากซื้อมาติดตั้งแล้วมากมาย อาทิเช่น
- บริษัทผู้ขายและติดตั้งระบบกันขโมย ติดตั้งให้แล้วแต่ไม่สวยงาม
- ปัญหาในเรื่องของการใช้งานระบบกันขโมย คือ ระบบไม่ได้อำนวยความสะดวกเท่าที่ควรในการใช้งาน
- ปัญหาของการเกิด False Alarm (การตรวจจับและแจ้งเตือนที่ผิดพลาด) ของระบบกันขโมยที่ซื้อมา
ทำให้เกิดความรำคาญ และไม่เชื่อมั่นในการรับแจ้งเหตุจากระบบว่าสิ่งที่แจ้งมาเกิดเหตุ จริง หรือ เท็จ
หากลูกค้าบางรายรำคาญมาก และเรียกบริษัทผู้ขายและติดตั้งมาแก้ไขก็แก้ไม่ได้ หรือบริษัทผู้ขายและ
ติดตั้งไม่เข้ามาดูให้อีกเลย ทำให้ผู้ซื้อระบบไปใช้ต้องเลิกใช้ระบบไปเลย

- ปัญหาของการให้บริการหลังการขายที่ไม่ดี คือ เวลาเรียกให้เข้ามาแก้ไขไม่เข้ามา , เข้ามาแต่หลายวัน
มากกว่าจะเข้ามาแก้ไขให้ , เข้ามาให้แต่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มในการเข้า , เข้ามาแล้วบอกว่าแก้ไขไม่ได้

- ปัญหาในการรับประกันระบบและสินค้าที่ซื้อ คือ ไม่รับประกันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ , รับประกันแต่
อุปกรณ์เสียนำกลับไปซ่อมนานมากๆ , หาบริษัทผู้ขายและติดตั้งไม่เจอแล้ว , ระบบที่ซื้อมาไม่มีอะไหล่
เปลี่ยนซ่อมให้แล้ว

ปัญหาดังกล่าวในข้างต้น เป็นปัญหาที่ผู้ซื้อระบบกันขโมยไปติดตั้งและใช้งานจะต้องพบเจอ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง
หรืออาจจะเจอทุกๆข้อจากที่กล่าวไป แต่ปัญหาต่างๆดังกล่าวทั้งหมดก็มีสาเหตุและมีที่มาของปัญหาด้วยเช่นกัน
ดังที่จะวิเคราห์ให้เข้าใจในต่อไปนี้


กล่าวถึง ฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ ระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม (กันขโมย)
- ต้องการซื้อ ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ เช่น
ยี่ห้อดีๆ , ระบบการใช้งานดีๆ , ระบบการตรวจจับดีๆ , ระบบไม่มีการ False Alarm
(การตรวจจับและแจ้งเตือนที่ผิดพลาด)

- ต้องการได้การติดตั้ง ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ
ต้องการให้ทำการติดตั้งดังที่ผู้ซื้อคิด , อุปกรณ์ท่อ กับสายสัญญาณก็ต้องใช้ของดีๆ,
ต้องติดตั้งให้เนียบ , มีปัญหาในการติดตั้งต้องรีบมาแก้ไขให้เร็วและต้องแก้ให้ได้

- ต้องการได้ การบริการก่อนการซื้อ ที่ดีๆ เช่น
ต้องรีบเข้ามาพรีเซ็นต์เสนอระบบเวลาโทรมาซื้อ , ต้องรีบออกแบบวางระบบ และเสนอราคา
ต้องรีบเอาระบบที่เสนอมาสาธิต ก่อนสรุปสั่งซื้อ

- ต้องการได้ การบริการหลังการขาย ที่ดีๆ เช่น
การรับประกันสินค้าที่นานๆ , การเรียกเข้ามาแก้ไขปัญหาหากระบบมีปัญหาต้อง รวดเร็ว ทันใจผู้ซื้อ

- ต้องการซื้อระบบสินค้าที่ ราคาไม่แพง (เสนอราคามาเท่าไหร่ต่อต่ำสุดๆไว้ก่อนไม่ให้ไม่เอา)
- ต้องการให้คิดค่าติดตั้งระบบกันขโมยที่ซื้อ ถูกๆ (คิดแพงไม่เอา คิดถูกเอาไว้ก่อน)

กล่าวถึง ฝ่ายบริษัทผู้ขายและติดตั้ง ระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม (กันขโมย)
- ต้องการขาย ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ เช่น
ยี่ห้อดีๆและขายได้ง่ายๆ , ระบบฟังก์ชั่นการใช้งานดีๆ , ระบบอุปกรณ์ตรวจจับที่ดีๆ ,
ระบบที่ขายไม่มีการเกิด False Alarm (การตรวจจับและแจ้งเตือนที่ผิดพลาด)
ขายไปแล้วไม่มีปัญหาในการทำงานของระบบ กับอุปกรณ์ที่ขาย จะได้ไม่ต้องเข้าไป
เซอร์วิสบ่อยๆ

- ต้องการติดตั้ง ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ให้ติดตั้งได้แบบง่าย,
สถานที่ติดตั้งใกล้กับบริษัทผู้ขายและติดตั้ง , สถานที่ติดตั้งๆได้ง่ายไม่ยุ่งยากมาก ,
จำนวนวันในการเข้าไปติดตั้งน้อยกว่าที่คิดราคาไว้ , ผู้ซื้อไม่จุกจิกและเรื่องมากในการ
ติดตั้งต่างๆ

- ต้องการขายสินค้าได้โดยเร็ว การให้บริการก่อนการซื้อ ไม่ยุ่งยาก เช่น
ลูกค้าให้พรีเซ็นต์เสนอขายระบบทางโทรศัพท์ได้ , ไม่ต้องเข้าไปออกแบบวางระบบ โดยทาง
ลูกค้าส่งแบบแปลนสถานที่ติดตั้งให้ทางอีเมล์ได้เลย จะได้ออกแบบวางระบบและเสนอราคาส่ง
กลับไปทางอีเมล์ให้ลูกค้าพิจารณา , ไม่ต้องเอาระบบอุปกรณ์ที่เสนอมาสาธิต ก่อนสรุปสั่งซื้อ
ใหลูกค้า้ดูจากสเปคอุปกรณ์ในโบว์ชัวร์สินค้าที่ส่งให้ทางอีเมล์แทน

- ต้องการให้ การบริการหลังการขาย น้อยๆ เช่น
ขายและติดตั้งไปแล้วขอให้ระบบไม่มีปัญหาจะได้ไม่ต้องเข้าไปเซอร์วิสเลย , ขายและติดตั้ง
ไปแล้วลูกค้าไม่โทรมาให้เข้าไปแก้ไขหรือทำอะไรเพิ่มเลย

- ต้องการขายระบบสินค้าที่ ได้ราคาขายดีๆ (เสนอราคาไปให้ลูกค้าแล้วลูกค้าต่อราคามาไม่มาก)
- ต้องการได้ราคาค่าติดตั้งระบบกันขโมยที่ คุ้มค่าและมีกำไร (ลูกค้าต่อราคามาไม่มาก)

ถ้าเปรียบเทียบดูจากความต้องการ ของ ฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ และ ฝ่ายบริษัทผู้ขายและติดตั้ง
ก็คงจะเห็นความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่แท้ที่จริงแล้วมันก็ คือ ความต้องการขั้นพื้นฐานของ
ผู้ซื้อสินค้า และ ผู้ขายสินค้า ต่างๆทั่วๆไป ซึ่งคงจะยากที่จะหา ความพอดี และ ความพึงพอใจสูงสุด
แต่ทุกๆปัญหาก็ต้องมีทางแก้ไข ซึ่งทางแก้ไขปัญหาต่างๆก็ต้องให้ทั้งทาง ฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ และ ฝ่าย
บริษัทผู้ขายและติดตั้ง ยอมที่จะเลือกลดความต้องการที่คาดหวังให้เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและปัญหา
ต่างๆ ของทั้งทาง ฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ และ ฝ่ายบริษัทผู้ขายและติดตั้ง ก็จะลดลงและได้รับประโยชน์ซึ่ง
กันและกันทั้งสองฝ่าย เช่น

กล่าวถึง ฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ ระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม (กันขโมย)
- ต้องการซื้อ ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ เช่น
ยี่ห้อดีๆ , ระบบการใช้งานดีๆ , ระบบการตรวจจับดีๆ , ระบบไม่มีการ False Alarm
(การตรวจจับและแจ้งเตือนที่ผิดพลาด)

การแก้ไข
- ให้เลือกระบบกันขโมย จาก แบรนด์ยี่ห้อ ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และ มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ
ค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบได้จากการ เสริท์หาใน Google หรือ ถามจากคนที่เคยใช้มาแล้ว

- หากจะเปรียบเทียบระบบของ 2 แบรนด์ยี่ห้อสินค้า ว่าแบรนด์ไหนมีระบบอุปกรณ์ดีกว่ากัน
ควรจะ เปรียบเทียบที่สเปคของระบบอุปกรณ์ , เปรียบเทียบที่สเปคการทำงานของระบบ
และเปรียบเทียบจากมาตรฐานของสินค้าที่เท่าๆกัน


- ต้องการได้การติดตั้ง ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ
ต้องการให้ทำการติดตั้งดังที่ผู้ซื้อคิด , อุปกรณ์ท่อ กับสายสัญญาณก็ต้องใช้ของดีๆ,
ต้องติดตั้งให้เนียบ , มีปัญหาในการติดตั้งต้องรีบมาแก้ไขให้เร็วและต้องแก้ให้ได้

การแก้ไข
- หาบริษัทฯ ที่มีทีมช่างติดตั้งระบบที่มีประสบการณ์สูง โดยติดตั้งให้ลูกค้ามาแล้วเป็นจำนวนมาก
ดูข้อมูลประสบการณ์ของทีมช่างติดตั้งได้จาก ลูกค้าอ้างอิงต่างๆที่เขาติดตั้งมาทั้งหมด


- ต้องการได้ การบริการก่อนการซื้อ ที่ดีๆ เช่น
ต้องรีบเข้ามาพรีเซ็นต์เสนอระบบเวลาโทรมาซื้อ , ต้องรีบออกแบบวางระบบ และเสนอราคา
ต้องรีบเอาระบบที่เสนอมาสาธิต ก่อนสรุปสั่งซื้อ

การแก้ไข
- เลือกหาบริษัทฯผู้ขาย ที่อยู่ใกล้กับบริเวณเส้นทางสถานที่ติดตั้ง ของ ลูกค้าผู้ซื้อ และก่อน
ที่จะให้บริษัทฯผู้ขาย เอาระบบอุปกรณ์ที่ ลูกค้าผู้ซื้อ จะซื้อมาสาธิตให้ดู ขอให้ ลูกค้าผู้ซื้อ
แน่ใจและตกลงใจที่จะซื้อสินค้าจาก บริษัทฯผู้ขาย ที่จะให้เขาเอาเข้ามาสาธิตให้ดู


- ต้องการได้ การบริการหลังการขาย ที่ดีๆ เช่น
การรับประกันสินค้าที่นานๆ , การเรียกเข้ามาแก้ไขปัญหาหากระบบมีปัญหาต้อง รวดเร็ว ทันใจผู้ซื้อ

การแก้ไข
- ควรพิจารณาเงื่อนไข และ ถามข้อตกลงในการให้บริการหลังการขาย ต่างๆก่อนตัดสินใจซื้อ และ
ควรรับฟังเงื่อนไขที่ทาง บริษัทผู้ขาย ชี้แจงให้ฟังด้วย


- ต้องการซื้อระบบสินค้าที่ ราคาไม่แพง (เสนอราคามาเท่าไหร่ต่อต่ำสุดๆไว้ก่อนไม่ให้ไม่เอา)
การแก้ไข
- หากท่านเลือก แบรนด์ยี่ห้อ ที่จะซื้อได้แล้วจริงๆ ก็ควรเปรียบเทียบราคาในแบรนด์ยี่ห้อเดียวกัน
แค่ 2 บริษัทก็พอ เพราะถ้าเป็น แบรนด์ยี่ห้อ เดียวกันราคาก็คงจะต่างกันไม่มากแต่ก็ต้องดูด้วย
ว่าบริษัทที่เสนอรายใดใกล้กับสถานที่ติดตั้งของท่านมากกว่า

- อย่าเอา แบรนด์ยี่ห้อดังๆ ไปเปรียบเทียบกับ แบรนด์ยี่ห้อไม่ดังเด็ดขาด เพราะนั้นคือท่านจะไม่
ได้อะไรจากการแก้ปัญหาเลย

- หากจะเปรียบเทียบราคาของ 2 แบรนด์ยี่ห้อสินค้า ว่าแบรนด์ไหนราคาสินค้าถูกกว่ากัน ควรจะ
เปรียบเทียบที่สเปคของระบบสินค้าที่พอๆกัน , เปรียบเทียบที่จำนวนอุปกรณ์ที่จะซื้อเท่าๆกัน ,
เปรียบเทียบที่การรับประกันสินค้าที่เท่าๆกัน


- ต้องการให้คิดค่าติดตั้งระบบกันขโมยที่ซื้อ ถูกๆ (คิดแพงไม่เอา คิดถูกเอาไว้ก่อน)
การแก้ไข
- ควรดูจากวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง เช่น ท่อ - สายนำสัญญาณ ที่ใช้ในการติดตั้ง , จุด
ของจำนวนอุปกรณ์ในการติดตั้งว่ามากแค่ไหน , ความยากในการติดตั้งของสถานที่ , ระยะเวลา
ในการเข้า - ออกสถานที่ในการติดตั้งของช่างที่รับติดตั้ง

- หากท่านเลือก แบรนด์ยี่ห้อ ที่จะซื้อได้แล้วจริงๆ ก็ควรเปรียบเทียบราคาในแบรนด์ยี่ห้อเดียวกัน
แค่ 2 บริษัทก็พอ เพราะถ้าเป็น แบรนด์ยี่ห้อ เดียวกันราคาก็คงจะต่างกันไม่มากแต่ก็ต้องดูด้วย
ว่าบริษัทที่เสนอรายใดใกล้กับสถานที่ติดตั้งของท่านมากกว่า

- อย่าเอา แบรนด์ยี่ห้อดังๆ ไปเปรียบเทียบกับ แบรนด์ยี่ห้อไม่ดังเด็ดขาด เพราะแบรนด์ยี่ห้อไม่ดัง
อาจจะโยกค่าติดตั้งไปไว้ในค่าสินค้าที่เขามีต้นทุนถูกกว่าแบรนด์ดังอยู่แล้ว ทำให้ค่าติดตั้งเขาจะ
ดูถูกลงกว่าได้

- หากจะเปรียบเทียบราคาของ 2 แบรนด์ยี่ห้อสินค้า ว่าแบรนด์ไหนราคาค่าติดตั้งถูกกว่ากัน ควร
จะเปรียบเทียบที่สเปคของระบบสินค้าที่พอๆกัน , เปรียบเทียบที่จำนวนอุปกรณ์ที่จะซื้อเท่าๆกัน ,
เปรียบเทียบที่การรับประกันสินค้าที่เท่าๆกัน , ท่อ และ สายนำสัญญาณ ที่สเปคเท่าๆกัน



กล่าวถึง ฝ่ายบริษัทผู้ขายและติดตั้ง ระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม (กันขโมย)
- ต้องการขาย ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ที่ดีๆ เช่น
ยี่ห้อดีๆและขายได้ง่ายๆ , ระบบฟังก์ชั่นการใช้งานดีๆ , ระบบอุปกรณ์ตรวจจับที่ดีๆ ,
ระบบที่ขายไม่มีการเกิด False Alarm (การตรวจจับและแจ้งเตือนที่ผิดพลาด)
ขายไปแล้วไม่มีปัญหาในการทำงานของระบบ กับอุปกรณ์ที่ขาย จะได้ไม่ต้องเข้าไป
เซอร์วิสบ่อยๆ

การแก้ไข
- หาแบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่ดีๆมาจำหน่าย , ควรทำการติดตั้งระบบให้ดีๆตามมาตรฐาน,
ขายสินค้าในราคาที่พอมีกำไรอย่าเอากำไรเกินควรแล้วจะได้ทั้งลูกค้าที่ดีและยอด
ขายสินค้าที่ดีขึ้น เพราะลูกค้าจะบอกปากต่อปากว่าบริษัทดี ขายราคายุติธรรม เอง


- ต้องการติดตั้ง ระบบกันขโมย (ทั้งแบบเดินสาย และแบบไร้สาย) ให้ติดตั้งได้แบบง่าย,
สถานที่ติดตั้งใกล้กับบริษัทผู้ขายและติดตั้ง , สถานที่ติดตั้งๆได้ง่ายไม่ยุ่งยากมาก ,
จำนวนวันในการเข้าไปติดตั้งน้อยกว่าที่คิดราคาไว้ , ผู้ซื้อไม่จุกจิกและเรื่องมากในการ
ติดตั้งต่างๆ

การแก้ไข
- ควรตกลงเงื่อนไขทั้งหมดในการติดตั้งให้ลูกค้าทราบก่อนว่าตกลงหรือไม่ก่อนจะติดตั้ง
- ควรใช้ทีมช่างที่มีประสบการณ์สูงในการติดตั้งวางระบบทั้งหมด อย่าเอาช่างที่ไม่เป็นไป
ฝึกติดตั้งให้กับสถานที่ติดตั้งของลูกค้าเด็ดขาด เพราะปัญหาการติดตั้งผิดจะเกิดแน่นอน

- ควรมีการวางแผนการติดตั้งให้ดีๆ และให้มีผู้ประสานงานกับทางสถานที่ติดตั้งตลอดเวลา
เพื่อลดการผิดพลาด ในการประสานงานในกำหนดการติดตั้งต่างๆ


- ต้องการขายสินค้าได้โดยเร็ว การให้บริการก่อนการซื้อ ไม่ยุ่งยาก เช่น
ลูกค้าให้พรีเซ็นต์เสนอขายระบบทางโทรศัพท์ได้ , ไม่ต้องเข้าไปออกแบบวางระบบ โดยทาง
ลูกค้าส่งแบบแปลนสถานที่ติดตั้งให้ทางอีเมล์ได้เลย จะได้ออกแบบวางระบบและเสนอราคาส่ง
กลับไปทางอีเมล์ให้ลูกค้าพิจารณา , ไม่ต้องเอาระบบอุปกรณ์ที่เสนอมาสาธิต ก่อนสรุปสั่งซื้อ
ใหลูกค้า้ดูจากสเปคอุปกรณ์ในโบว์ชัวร์สินค้าที่ส่งให้ทางอีเมล์แทน

การแก้ไข
- ควรจะขายสินค้าให้กับ ลูกค้าผู้ซื้อ ที่อยู่ใกล้ๆกับสถานที่ตั้งของบริษัทผู้ขาย
- เมื่อลูกค้าติดต่อสอบถามที่จะซื้อระบบอุปกรณ์มา ให้รีบอธิบายระบบให้ลูกค้าทราบ และรีบไป
ออกแบบแปลนสถานที่ของลูกค้า หรือ ให้ขอแบบแปลนสถานที่ติดตั้งของลูกค้ากับทางลูกค้า
ถ้ามี เพื่อนำมาออกแบบวางระบบในแบบแปลน และรีบทำใบเสนอราคาให้ตามจำนวนอุปกรณ์ที่
วางระบบไว้ในแบบแปลน เมื่อทำเสร็จแล้วก็รีบส่งให้กับทางลูกค้าในทันที ทุกขั้นตอนควรจัดทำ
อย่างรวดเร็ว แล้วบริษัทท่านจะมีโอกาสในการขายที่สูงขึ้น-มียอดนำเสนอลูกค้าเป็นจำนวนมาก


- ต้องการให้ การบริการหลังการขาย น้อยๆ เช่น
ขายและติดตั้งไปแล้วขอให้ระบบไม่มีปัญหาจะได้ไม่ต้องเข้าไปเซอร์วิสเลย , ขายและติดตั้ง
ไปแล้วลูกค้าไม่โทรมาให้เข้าไปแก้ไขหรือทำอะไรเพิ่มเลย

การแก้ไข
- ให้หาแบรนด์ยี่ห้อสินค้า ที่มีมาตรฐาน และ มีระบบอุปกรณ์ที่ดีมาขาย
- ให้ช่างติดตั้งวางระบบการติดตั้งเดินท่อ เดินสายนำสัญญาณให้ดีๆ และมีมาตรฐาน
- ให้ติดตั้งอุปกรณ์สินค้าให้ เป็นไปตามที่สเปคการติดตั้งของอุปกณณ์ชนิดนั้นๆกำหนดไว้
- ควรจะกำหนดขอบเขตและเงื่อนไข ของการให้บริการหลังการขายให้ชัดเจน
- ควรจะมีช่างที่เพียงพอกับการให้บริการหลังการขาย และช่างควรมีประสบการณ์ในการ
แก้ไขปัญหาต่างๆได้ดี

- หากบริษัทไม่มีช่างของบริษัทเอง หรือมีช่างแต่แก้ไขปัญหาไม่ค่อยได้ ก็อย่าทำธุรกิจนี้
ต่อไปเลยครับ ให้บริษัทไปหาธุรกิจอื่นที่ไม่ต้องติดตั้งและมีบริการหลังการขายทำจะดีกว่า


- ต้องการขายระบบสินค้าที่ ได้ราคาขายดีๆ (เสนอราคาไปให้ลูกค้าแล้วลูกค้าต่อราคามาไม่มาก)
การแก้ไข
- สินค้าระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม(กันขโมย) ส่วนใหญ่ร้อยละ 99.99% เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจาก
ต่างประเทศอยู่แล้ว โดย 1 แบรนด์สินค้า อาจจะมีบริษัทผู้ขาย 10 รายขึ้นไปก็ได้ หรือ มากกว่านั้น
แต่ก็มีบริษัทผู้ขายที่ขอผูกขาดขาย 1 แบรนด์สินค้ารายเดียวเลยก็มี ทำให้การ กำหนดราคาตั้งขาย
สินค้าของ ระบบป้องกันบุกรุก-โจรกรรม (กันขโมย) ก็มีราคาตั้งตามบริษัทฯที่นำเข้ามาอยู่แล้ว หาก
จะดูราคาตั้งก็คงจะไม่แตกต่างกันในแบรนด์ยี่ห้อสินค้าเดียวกัน แต่จะต่างกันก็คือ ส่วนลดสินค้าที่ทาง
บริษัทผู้ขาย ลดให้กับทาง ลูกค้าผู้ซื้อ ที่จะให้ส่วนลดไม่เท่ากัน ซึ่งปัจจัยในการให้ส่วนลดของบริษัท
ผู้ขายแต่ละรายก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนค่าจ้างพนักงานในบริษัท , ค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัท , ระยะทาง
ของสถานที่ติดตั้งของลูกค้ากับบริษัท , ต้นทุนสินค้าสุทธิที่ซื้อสินค้ามาจากผู้นำเข้าสินค้า , การวาง
แผนของผู้บริหารบริษัทเองว่าขายสินค้ากำไรเท่าใดถึงจะคุ้มกับการรับประกันและการให้บริการหลัง
การขายของสินค้านั้นๆ และบริษัทต้องได้กำไรสินค้านั้นๆเท่าไหร่

- ไม่ควรตั้งราคาขายสินค้า แพงกว่าบริษัทฯอื่นที่ขายแบรนด์ยี่ห้อสินค้าเดียวกันกับทางบริษัทฯ
- ไม่ควรให้ส่วนลดมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ เพราะหวังแค่จะขายสินค้าให้ได้ พอขายไปแล้วก็มาบ่นว่าไม่
มีกำไร จนทำให้เวลาลูกค้าเรียกเข้าไปเซอร์วิสหลังการขายก็ไม่ยอมเข้าไปบอกว่าไม่มีกำไร แต่ถ้ามี
กำไรตามยอดผลกำไรที่กำหนดไว้ แล้วไม่ยอมเข้าไปเซอร์วิสให้ลูกค้าอยู่ดี เขาเรียก บริษัทฯขายทิ้ง
บริษัทฯ พวกนี้ขายลูกค้าได้อีกไม่กี่รายเดี๋ยวก็เจ๊งจนปิดบริษัทฯไปเองเลย เพราะไม่มีใครมาซื้อต่อไป


- ต้องการได้ราคาค่าติดตั้งระบบกันขโมยที่ คุ้มค่าและมีกำไร (ลูกค้าต่อราคามาไม่มาก)
การแก้ไข
- ควรเสนอราคาค่าติดตั้งตามความเป็นจริง ตามจำนวนอุปกณ์ที่ใช้ติดตั้งจริง ตามค่าแรงและระยะเวลาใน
การเข้าติดตั้งจริง และควรจะคุยข้อตกลงในการติดตั้งกับทางลูกค้าผู้ซื้อให้เรียบร้อยก่อนทำการติดตั้ง
เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

- ควรมีทีมช่างติดตั้งที่เป็นพนักงานของทางบริษัทฯ เองอย่าจ้างซัพติดตั้งจากภายนอกมารับงานติดตั้ง
เพราะไม่สามารถกำหนดราคาได้ ซัพติดตั้ง จะกำหนดราคามา แล้วบริษัทฯก็ต้องไปบวกราคาเพิ่มเสนอ
ลูกค้า ซึ่งโอกาสจะได้งานก็จะน้อยถ้าไปเปรียบเทียบราคากับบริษัทฯที่เขาเสนอราคาแบบใช้ช่างที่เป็น
พนักงานของบริษัทฯ เขาเองโดยที่เขาสามารถคุมราคาค่าติดตั้งที่เสนอได้ทั้งหมด

- ควรฝึกทีมช่างติดตั้งที่เป็นพนักงานของทางบริษัทฯ เองให้มีความชำนาญในการติดตั้ง และโปรแกรม
ระบบการทำงานของสินค้าต่างๆ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการทำงานที่ล้าช้า และมีปัญหาในการติดตั้งผิด
พลาด

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน กับ สารเคมี

|0 ความคิดเห็น
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน กับ สารเคมี

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอาจมีผลกระทบ
ต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สิน เช่น
การเกิดเพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นพิษก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณ
ใกล้เคียง ในขณะเดียวกันน้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้ว อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ
ต่อแหล่งน้ำได้อีกด้วย แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ตรวจสอบ และมีการเตรียมการที่ดีในการ
รับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินได้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินก็เพื่อที่จะควบคุมหรือกำจัด
เหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และกำหนดขั้นตอนในการระงับอุบัติภัย รวมถึงการลดผลกระทบอันเนื่องมาจาก
เหตุฉุกเฉินที่มีต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนและขบวนการผลิต ในการ
จัดทำแผนฉุกเฉินจะยึดตามภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ การเกิดอัคคีภัยและการหกรั่วไหลของสารเคมี


แผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
จากข้อมูลของการสำรวจเบื้องต้นทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละสถานที่ เพราะในรายละเอียดสถานที่แต่ละอาจมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกันทุกแห่ง
แต่แนวปฏิบัติโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน เช่น


1. เมื่อมีผู้พบเห็นเหตุการณ์ ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้พบเห็นใช้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธีการใดที่รวดเร็วชัดเจน เพื่อให้
ผู้อยู่ในอาคารทราบและแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อื่นเท่าที่มี เพื่อดับเพลิงทันที


2. บุคคลในสถานที่เกิดเหตุ
- พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดับเพลิง ต้องรีบออกจากสถานที่ทำงานของตนโดยเร็ว ตามแผนผังการหนีไฟของโรงงานและไปรวมกัน ณ จุดรวมพล เพื่อตรวจนับจำนวนพนักงาน
- ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการตรวจนับจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่ายังมีพนักงานติดอยู่ภายในหรือไม่เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่
หน่วยดับเพลิงจากภายนอกที่มาทำการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชี้นำไปยังสถานที่เกิดเหตุ หรือนำไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงของโรงงาน
- ให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการ
ปฐมพยาบาลหรือส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย คอยดูแลไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้เข้ามาภายในบริเวณเพลิงไหม้
ภายหลังเกิดเหตุให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำการสำรวจ
ความเสียหายและรายงานต่อผู้บริหาร


3. การอพยพ
กรณีที่เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้โกดัง ถังเก็บเคมีภัณฑ์ระเบิด หรือมี
ไอเคมีไวไฟจำนวนมาก หัวหน้าควรออกคำสั่งให้พนักงานทุกคนออกจากพื้นที่บริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามแผนอพยพ
ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินจะรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นชอบในเรื่องของข่าว และออกแถลงการณ์แจ้งให้พนักงาน สาธารณชน และสื่อมวลชนทราบ
ส่วนผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน


แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเพราะกลุ่มสารเคมี
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเฉพาะกลุ่มของสารเคมีต่อไปนี้ เป็นการจำแนกสารเคมีที่มี
คุณสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การจัดเก็บ การระงับ
อุบัติภัย กรณีเกิดอัคคีภัยหรือการหก รั่วไหลของสารอันตราย รวมถึงการปฐมพยาบาลพนักงานจากการได้รับสารดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักการเก็บกักสารเคมีที่ดีนั้น ควรจะต้องมีการแยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ในที่นี้จะได้จำแนกกลุ่มของสารเคมีออกเป็น 52 กลุ่ม เช่น ก๊าซไวไฟสูง ก๊าซพิษ ของเหลวไวไฟสูง ของแข็งไวไฟ สารที่ติดไฟได้เอง ฯลฯ
แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสำหรับสารกลุ่มนั้นๆ สำหรับ
รายละเอียดของสารแต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี MSDS เพิ่มเติม
ในการปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีควรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น

- ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย
- ขนาดหรือปริมาณเมื่อเกิดการรั่วไหล
- ลักษณะการรั่วไหล เป็นการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุประเภทใด เช่น ถังเก็บขนาดใหญ่ แหนมบห่อ ท่อส่ง ฯลฯ
- ความเป็นพิษของสารอันตราย สถานประกอบการมีข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายหรือไม่

ซึ่งการระงับเหตุฉุกเฉินโดยไม่ทราบข้อมูล อาจก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ประสบเหตุกรณีหกหรือรั่วไหลของสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมี จำเป็นต้องทราบและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่พนักงานพบสารเคมีหกหรือรั่วไหล ได้กลิ่นสารเคมี หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงานดังกล่าวจะต้อง :-
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- จะต้องแจ้งให้ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉินทราบทันที
- ถ้าไม่ทราบวิธีควบคุม หรือแก้ไขเหตุฉุกเฉิน จะต้องรีบออกไปให้พ้นจากอาคารเก็บสารเคมี
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึกซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อน จะต้องดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิบัติสำหรับสารนั้นๆ


2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดเขตอันตราย โดยแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลทันที ส่วนระยะที่แยกกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตราย โดยทั่วไปกำหนดให้มีการแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหล อย่างน้อย 25-52 เมตร โดยรอบ และทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยซึ่งได้จัดเตรียมไว้
3. ให้ปฏิบัติต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นด้วยความระมัดระวัง ห้ามเข้าปฏิบัติการ ในกรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทางเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารนั้น ให้ระลึกอยู่เสมอว่าไอระเหยหรือก๊าซต่างๆ ไม่มีกลิ่น สี และหนักกว่าอากาศ อาจสะสมอยู่พื้นล่างของบริเวณนั้น

4. พิสูจน์ทราบวัตถุอันตราย โดยพิจารณาว่า สารอันตรายที่หกและรั่วไหลนั้นเป็นสารชนิดใด ซึ่งอาจดูได้จากทะเบียนการเก็บกักสารเคมีในอาคาร ตำแหน่งที่มีการหกรั่วไหล รวมถึงประเภทของภาชนะที่ใช้บรรจุสารนั้นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารนั้นให้ดูจากข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
5. ประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบ เช่น ผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการ
ความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะต้องประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีว่ามี
ความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องตัดสินใจ
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของ
เหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
- ปริมาณการหกรั่วไหลของสารนั้น
- อุปกรณ์ในการควบคุมการหก หรือรั่วไหล มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ในการผจญเพลิง
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีเพียงพอสำหรับทีมปฏิบัติการที่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
- สารที่หก หรือรั่วไหลเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจเกิดระเบิดได้หรือไม่
- มีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล ที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากสารอันตรายหรือไม่

6. การเข้าดำเนินการระงับเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากที่ได้อพยพพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวรที่หก รั่วไหลแล้ว ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน อาจจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุฉุกเฉินที่แหล่งกำเนิด
เช่นอุดรอยรั่ว ดูดซับสารที่หก ปิดคลุมสารอันตราย ฯลฯ ประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับ
ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- มีการฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินกรณีหก หรือรั่วไหลเป็นประจำหรือไม่
- พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เช่น ต้องยืนอยู่เหนือลม พยายามไม่อยู่ใน
ที่ที่ต่ำ เพราะสารอันตรายบางชนิดหนักกว่าอากาศและจะสะสมอยู่ในปริมาณมาก
- ควรระบายอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่หก รั่วไหล
- ปฏิบัติตามข้อมูลเคมีภัณฑ์ สำหรับสารอันตรายชนิดนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในการควบคุมการหก รั่วไหล

7. การดำเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สวบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
- สำรวจความเสียหาย ทั้งที่เกิดต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินที่ใช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ