Home »
electronics
» การเลือกชนิดและขนาดสายไฟฟ้าสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์(2)
การเลือกชนิดและขนาดสายไฟฟ้าสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์(2)
การเลือกชนิดและขนาดสายไฟฟ้าสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์(2)
สายไฟนับว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทีเดียว เป็นเส้นทางส่งผ่านกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปจนถึงจุดใช้งาน ในเมื่อมีความพิเศษมากๆ เช่นนี้มีหรือ "เส้นทางสู่พลังงานสีเขียว" จะพลาด เรายังนำเสนอต่อเนื่องในเรื่องตารางข้อมูลและตัวอย่างอันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดขนาดสายไฟที่เหมาะสมกับระบบ
ตารางแสดงข้อมูลขนาดสายไฟสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวอย่างตารางที่แสดงอยู่ในบทความนี้เป็นข้อมูลขนาดสายไฟที่แท้จริงเพื่อใช้ในการกำหนดขนาดสายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือการต่อไปยังแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ 12 โวลต์และ 24 โวลต์ ที่มีแรงดันตกไม่เกิน 0.5 โวลต์และ 1 โวลต์ตามลำดับ สามารถนำไปใช้ในการเลือกขนาดสายไฟทั้งที่เป็นการต่อสายไฟจากแผงไปยังแบตเตอรี่หรือการต่อสายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า (ไม่ว่าจะชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นก็ตาม)
ก่อนการใช้ตาราง ต้องทราบค่าแรงดันของระบบเซลล์แสงอาทิตย์, ความยาวของสายไฟตลอดทั้งเส้นและปริมาณกระแสมากที่สุดที่ต้องไหลในสายไฟ ค่าเหล่านี้จะทำให้เลือกใช้ตารางได้อย่างถูกต้อง
การใช้ตาราง คุณยังจะต้องทราบค่ากระแส (แอมแปร์) หรือกำลัง (วัตต์) ด้วย จากนั้นวัดระยะของสายไฟตลอดทั้งเส้นที่ต้องใช้ (อาจประมาณค่าให้ใกล้เคียงก็ได้) แล้วจึงหาค่าจากตารางโดยดูค่าตามแนวขวางของแถวที่แสดงกำลังหรือกระแส ไล่ไปตามคอลัมน์ที่มีความยาวสายไฟจนถึงค่าที่ต้องการ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ค่าขนาดสายไฟที่แท้จริง หน่วยเป็นตารางมิลลิเมตร (มม.2)
| 
|
ตัวอย่างที่ 1 มีอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 ชิ้นต่อไปยังแบตเตอรี่ 12 โวลต์ (ดังรูป) โทรทัศน์ 60 วัตต์ ห่างจากแบตเตอรี่ 2 เมตร, พัดลม 24 วัตต์ ห่างจากแบตเตอรี่ 4 เมตรและหลอดไฟฟ้า 13 วัตต์ ห่างจากแบตเตอรี่ 7 เมตร
วิธีคำนวณ
- ทราบว่าแรงดันของระบบคือ 12 โวลต์ จึงใช้ตารางแสดงข้อมูลสายไฟ 12 โวลต์เพื่อหาขนาดสายไฟที่ต้องใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น
- โทรทัศน์ ต้องการกำลัง 60 วัตต์ อยู่ห่างจากแบตเตอรี่ 2 เมตร
เพราะฉะนั้นขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.8 มม.2
- พัดลม ต้องการกำลัง 24 วัตต์ อยู่ห่างจากแบตเตอรี่ 4 เมตร
เพราะฉะนั้นขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.64 มม.2
- หลอดไฟฟ้า ต้องการกำลัง 13 วัตต์ อยู่ห่างจากแบตเตอรี่ 7 เมตร
ขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.61 มม.2
- รวมขนาดสายไฟต่างๆ เป็นค่าเดียว โดยสามารถแบ่งวงจรเป็น 3 ส่วนดังนี้
- สายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังโทรทัศน์ จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะส่งกำลังให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้ง 3 ชิ้น ขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.8 + 0.64 + 0.61 = 2.05 มม.2
- สายไฟจากโทรทัศน์ไปยังพัดลม ซึ่งต้องส่งกำลังให้กับพัดลมและหลอดไฟฟ้า ขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.64 + 0.61 = 1.25 มม.2
- สายไฟจากพัดลมไปยังหลอดไฟฟ้า เพียงส่งกำลังให้กับหลอดไฟฟ้าเท่านั้น ขนาดสายไฟที่ใช้ = 0.61 มม.2
การแยกคำนวณเช่นนี้เพื่อตรวจสอบขนาดสายไฟที่ต่างกันและเลือกใช้สายไฟขนาดใหญ่ที่สุดจากการคำนวณ ดังนั้น ขนาดสายไฟเล็กที่สุดที่จะนำไปใช้เป็น 2.05 มม.2 แต่อาจใช้สายไฟขนาดใหญ่ขึ้นได้ (แนะนำ ให้ใช้สายไฟขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 มม.2 ตามหลักการพิจารณาเลือกสายไฟ) | |
ตัวอย่างที่ 2 ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ 24 โวลต์ ใช้แผงขนาด 42 วัตต์สูงสุด จำนวน 14 แผงในการผลิตไฟฟ้า ต่อสายไฟไปยังแบตเตอรี่ที่อยู่ห่าง 12 เมตร ให้ใช้สายไฟขนาด 2.5 มม.2 ที่มีอยู่
วิธีคำนวณ
ทราบว่าแรงดันของระบบเป็น 24 โวลต์ จึงใช้ตารางแสดงข้อมูลสายไฟ 24 โวลต์ในการคำนวณ
ผลรวมของวัตต์สูงสุด = 14 x 42 = 588 วัตต์สูงสุด
- การต่อแผงไปยังแบตเตอรี่ ตารางฯ ที่กำลัง (วัตต์) 600 วัตต์และระยะสายไฟ 12 เมตร ขนาดสายไฟที่แท้จริงเป็น 12 มม.2
ต้องใช้สายไฟขนาด 2.5 มม.2 จำนวน 5 เส้น นำมารวมกันให้ได้ขนาดสายไฟที่ระบบต้องการ
เพราะฉะนั้นผลรวมเป็น 2.5 x 5 = 12.5 มม.2
- การต่อแผง แผงทั้งหมด 14 แผง ให้นำแผง 7 คู่วางเรียงเป็นแถว และใช้สายไฟขนาด 2.5 มม.2 1 เส้นต่อแผง 1 คู่ เพราะฉะนั้นผลรวมขนาดสายไฟเป็น 2.5 x 7 = 16.5 มม.2 และมีค่าแรงดันตกต่ำมาก
ตารางแสดงขนาดสายไฟที่แท้จริงสำหรับระบบ 12 โวลต์ ตารางแสดงขนาดสายไฟที่แท้จริงสำหรับระบบ 24 โวลต์ หมายเหตุ: อย่าลืมว่า ถ้ามีการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ในระบบ ควรเพิ่มขนาดสายไฟเป็น 2 เท่าของค่าจากตาราง เรียนรู้การเลือกชนิดและขนาดสายไฟที่กลายเป็นเรื่องง่ายไปแล้วสำหรับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ "เส้นทางสู่พลังงานสีเขียว" ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจและสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดขนาดระบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ติดตามกันในฉบับหน้า |
ที่มาของข้อมูล: PV Solar Photovoltaic Technical Training Manual, Mr. Herbert Wade |
Related Posts
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AVRความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AVR
ความหมายของ AVR
AVR เป็นคำย่อมาจากคำว่า Automatic Voltage Regulator หรือ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า หรือ เครื่องรักษาระดับแรงดันและปรับคุณภาพไฟฟ้า
เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า เป็ ... readmore
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ UPSความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ UPS
ความหมายของ UPS
UPS เป็นคำย่อมาจากคำว่า Uninterruptible Power Supply หรือ "เครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ" ถ้าแปลตรงตัว หมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง
อา ... readmore
การวัดมอสFETการวัดมอสFET
การ ทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมด ก่อน โดยใช้วิธีการ ... readmore
ข้อดี ข้อเสีย ของแอมป์แต่ละชนิดข้อดี ข้อเสีย ของแอมป์แต่ละชนิด
Edit TitleEdit Detailข้อดี ข้อเสีย ของแอมป์แต่ละชนิด
มีบริษัทผู้ผลิตจำนวนมากที่อยากจะให้คุณเชื่อว่า ในการออกแบบเพาเวอร์แอมป์มีวิธีที่ดีที่สุดอยู่เพียงวิธีเดียวเท่านั้ ... readmore
หลักการทำงานของวงจรน้ำยาหลักการทำงานของวงจรน้ำยา
เป็นบล๊อกเกี่ยวกับระบบปรับอากาศแล้ว ก็ต้องมีเรื่องที่สำคัญที่ลืมไม่ได้เลยครับ ก็คือหลักการทำงานของแอร์ ในบทความนี้ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ “วงจรน้ำยา”กันก่อนครับ ก่อนที่ ... readmore
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น