RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI
ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ แกว่ง ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน เวลา ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI
สูตรการคำนวณ 14 RSI
RSI = 100 - 100 1+RS
RS = ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน
ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน
ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วันหรือใช้สูตร
RSI = 100 XU/ U+D
U = AVERAGE OF 14 DAYS UP CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน)
D = AVERAGE OF 14 DAYS DOWN CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน)
ตัวอย่างการคำนวณ RSI ในช่วง 14 วัน
Day | Close | U | D | RSI |
0 | 100 | - | - | |
1 | 102 | 2 | - | |
2 | 104 | 2 | - | |
3 | 103 | - | 1 | |
4 | 101 | - | 2 | |
5 | 98 | - | 3 | |
6 | 97 | - | 1 | |
7 | 97 | - | 0 | |
8 | 98 | 1 | - | |
9 | 99 | 1 | - | |
10 | 98 | - | 1 | |
11 | 99 | 1 | - | |
12 | 101 | 2 | - | |
13 | 103 | 2 | - | |
14 | 106 | 3 | - | |
Average of U | 14/14 | |||
Average of D | 8/14 | |||
RSI | 63.64% |
ระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไป (OVERBOUGHT & OVERSOLD)
ระดับ การซื้อมากเกินไป ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ ปรับตัวทางเทคนิค มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน
การใช้ 14 RSI ในการวิเคราะห์แผนภูมิราคามี 5 วิธี
1. ดูยอด (TOP) และฐาน (BOTTOM) มักจะเกิดยอดเหนือเส้น 70 และเกิดฐานใต้เส้น 30 โดยปรากฏยอดและฐานให้เห็นก่อนตลาด
สัญญาณการขายจะมีอยู่ 3 ช่วง
เมื่อเส้น RSI อยู่เหนือเส้น 70 ที่ยอดสูง (A)
เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นต้าน (AC)
เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นหนุน (B)
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณขายตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด
สัญญาณการซื้อจะมีอยู่ 3 ช่วง
เมื่อเส้น RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30 ที่จุดฐาน (A)
เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นหนุน (AC)
เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นต้าน (B)
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณซื้อตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด
NEGATIVE DIVERGENCE
ในตลาดที่มีแนวโน้มขึ้น เมื่อเกิดลักษณะการเคลื่อนที่แยกทางกัน (DIVERGENCE) โดยเกิดขึ้นเมื่อราคาใหม่ (C) ขึ้นสูงกว่ายอดสูงของราคาเก่า (A) แต่ RSI ยอดใหม่ (C) อยู่ต่ำกว่า RSI ยอดเก่า (A) ตรงจุดนี้จะเป็นสัญญาณเตือนว่าการวิ่งขึ้นของราคาจะวิ่งต่อไปได้อีกไม่นาน แล้วจะปรับตัวลงมาตาม RSI
ในตลาดที่ราคามีแนวโน้มลดลง เมื่อยอดต่ำใหม่ของราคา (C) อยู่ต่ำกว่ายอดต่ำเก่าของราคา (A) ในขณะที่ RSI ยอดใหม่ (C) อยู่สูงกว่า RSI ยอดเก่า (A) ตรงจุดนี้จะเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาน่าจะสามารถสะท้อนกลับสูงขึ้นได้ในไม่ช้านี้ หรืออาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า การลดต่ำลงของราคานั้นใกล้จะจบลง
1. ปกติยอดสูงที่สูงกว่า 70 และยอดต่ำที่ต่ำกว่า 30 จะมีความสำคัญในการวิเคราะห์
2. FAILURE SWINGS (SUPPORT AND RESISTANCE PENETRATION) จะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคา
3. โดยทั่วไปแล้ว RSI จะแสดงระดับแรงหนุน และแรงต้านได้ชัดกว่าราคา
4. เมื่อ RSI เคลื่อนที่ไม่ตามกันกับราคา (DIVERGENCE) จะชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ราคาจะเปลี่ยนไปตามทิศทางของ RSI
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น