วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คู่มือสำหรับเลือกซื้อกล้อง DSLR

คู่มือสำหรับเลือกซื้อกล้อง DSLR




 คู่มือเลือกซื้อกลอ้ง DSLR 2007
     กลอ้งรุ่นใหนดี? คำถามยอดนิยมสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจ ซื้อกล้องดิจิตอลมาไว้ใช้งานซักตัวหนึ่ง   ทั้งนี้เพราะกลอ้งดิจิตอลในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อมากมาย   โดยเฉพาะกลอ้งแบบดิจิตอล   SLR   ที่มีราคาถูกลงมาก และได้รับความนิยมมกขึ้นทุกวันราคาเพิ่มต้นเพียงหมื่นกว่าบาท   ใกล้เคียงกับกลอ้งดิจิตอลแบบคอมแพคทีเดียว  และมีให้เลือกนับสิบจากหลายยี่ห้อ  ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป  การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลจึงนับเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้เรื่องกล้องดิจิตอลมาก่อน   บทความนี้จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจของคุณค่ะ

งบประมาณ
     ก่อนอื่นตอ้งมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้ที่เท่าไร ในการหาซื้อกล้องคู่ที่รู้ใจ   เพราะราคากล้องดิจิตอล  SLR  ในตลาดมีตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทไปจนสามแสนบาท  ความละเอียดอยู่ในระดับ 8 ถึง 21 ล้านพิกเซล    แม้จะ
เป็นรุ่นเล็กที่มีราคาประหยัด แต่ก็มีคุณภาพที่ดีมากสิ่งที่แตกต่างกันทำให้ราคากล้องมีความแตกต่างกันมาก  เช่น ความละเอียดที่เพิ่มขึ้น  เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า ระบบการทำงานรวดเร็วกว่า   ตัวกลอ้งเป็นโลหะ เช่นแม๊กนี
เซียมอัลลอยล์ เป็นต้น   เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น  สามหมื่นบาท  ก็มองหาเฉพาะกลอ้งที่อยาในงบของเรารุ่นที่มีราคาสูงกว่า   คงไม่ต้องนำมาพิจารณาให้ปวดหัว
เซ็นเซอร์ภาพ 
    เซ็นเซอร์ภาพ   ถ้าดูตามสเปคจะเขียนว่า Image  sensor  พูดง่ายๆก็คือ  ส่วนที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั้นเอง  บางยี่ห้อใช้   CMOS เช่น แคนนอน   แต่ส่วนใหญ่ใช้  CCD  มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง  แต่
เซ็นเซอร์ภาพที่มีใหญ่กว่ายอ่มได้เปรียบ  เพราะเก็บรายละเอียดได้มากกว่าและให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า  โดยทั่วไปกลอ้งดิจิตอล  SLR  ในปัจจุบันจะนิยมจะนิยมใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 mm เมื่อจะนำเลนส์ของกลอ้งฟิล์มมาใช้ จะต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  1.5  หรือ  1.6  เท่า จึงจะได้ทางยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม 35 mm  ส่วนกลอ้งบางรุ่นที่ใช้เซ็นเซอร์เท่าฟิล์มก็ไม่ตอ้งคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  เช่น  canon EOS 1Ds Mark lll  หรือ  EOS 5D  เป็นต้น ส่วนกลอ้งโอลิมปัส  พานาโซนิค  และไลก้า ใช้เซ็นเซอร์ขนาด  4/3  ซึ่งเล็กกว่าขนาด  APS-C ตอ้งคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม  2  เท่า  เช่น เลนส์ 50mm  จะเพิ่มเป็น  100  mm เป็นต้น แต่มีข้อดีคือเป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับเซ็นเซอร์ขนาด 4/3  โดยเฉพาะ  ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ความลึกของสี

     ความลึกของสี  หรือ  Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth  ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียดของเฉดสีมากเท่านั้น เช่น 10 บิต /สี หรือ 12 บิต/สี  ในภาพถ่ายจะมี
สามสี คือ RGB  ถ้า  1 สี แสดงได้  13 บิต  3 สีก็จะได้ 36 บิต  เป็นต้น ถ้าเป็นกลอ้งระดับไฮเอนด์บางรุ่นจะทำได้ถึง   14 บิต /สี  หรือ 42 บิตที่  RGB เก็บรายละเอียดของโทนสีได้มากกว่า 12 บิต ถึง 3 เท่า ให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับการใช้ฟิล์มทั่วๆไป  การที่เฉกสีน้อยจะทำให้การแยกสีไม่ค่อยดี เท่าที่ควร  เช่นกลีบดอกไม้สีแดงเข้ม   แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่าก็ไล่เฉดสีกันดี  แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสี
แดงสีเดียว  ถ้าบันทึกความลึกของสีได้มาก  จะได้เฉดสีที่ใกล้เคียงกับที่ตามองเห็น

ความละเอียด 
    เลือกความละเยดที่เหมาะสม  กลอ้งดิจิตอล SLR ในทุกวันนี้มีความละเอียดสูงมาก ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 8  จนถึง 21 ล้านพิกเซล  หากคิดว่าจะอัดขยายภาพไม่เกิน  8 x 10 นิ้ว  กลอ้งที่มีความละเอียดระดับ
8-10 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว  แต่อย่าลืมว่าคุณภาพที่ได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดเพียงอย่างเดียว  อย่างไรก็ตามกลอ้งที่มีความละเอียดสูงมักจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า แม้ว่าจะถ่ายภาพที่ไฟล์ขนาดเล็กลง เช่นกล

อ้งที่ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล หากถ่ายภาพที่ความละเอียด 6  ล้านพิกเซล มักจะให้คุณภาพที่ดีกว่ากลอ้งดิจิตอล ที่มีความละเอียดสูงสุดที่ 6 ล้านพิกเซล    ทั้งนี้เนื่องจากเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่   คุณภาพดีกว่า  หรือหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพดีกว่านั้นเอง   หากต้องการใช้งานเพื่ออัดขยายภาพในขนาดไม่เกิน 4 x 6 นิ้ว ควรปรับตั้งกล้องที่ความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้วเพราะการตั้งความละเอียด 10 ล้านพิกเซล   แล้วขยายภาพ 4 x 6 นิ้วคุณภาพจะไม่แตกต่างกับการตั้งความละเอียดที่  3  ล้านพิกเซล เนื่องจากเครื่องพิมพ์ภาพไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ทหรือแลปสีต้องการไฟล์ภาพสูงสุดสำหรับภาพ  6x4   นิ้วที่ความละเอียด 3 ล้านพิกเซลเท่านั้น ( พิมพ์ภาพที่  300 – 400 dpi ) แต่ก็มีข้อระวังเหมือนกันคือหากถ่ายภาพที่ความละเอีอดต่ำแล้วต้องการนำไปขยายภาพใหญ่ในภายหลังจะได้คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร

เลนส์
    กล้องดิจิตอล SLR จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ หากกล้องรุ่นเล็กรุ่นกลางมักจะมีเลนส์คิทมาพร้อมกับตัวกล้อง  เช่น18 – 55 มม หรือ 18 – 70  มม   เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆๆไป แต่ต้องการถ่ายภาพในมุมกว้างขึ้น หรือถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกลจะไม่สามารถทำได้  จะต้องซื้อเลนส์มาใช้เพื่อมเติม  โดยเลนส์ที่มี
ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า   18  มม   จะช่วยให้ถ่ายภาพได้กว้างขึ้นหรือมากกว่า 55 มม จะถ่ายภาพได้ไกลมากขึ้น หากต้องการซื้อเลนส์เพิ่มเพื่อใช้งานต่อจากเลนส์คิท  ขอแนะนำเลนส์ซูมขนาด     55 – 200   ถ้าชอบถ่ายวิวทิวทัศน์กว้างๆก็ขอแนะนำเลนส์ที่มีมุมกว้างมากขึ้น  เช่น 12 – 24   มม  หรือใช้เลนส์ครอบจักวาลตัวเดียวจบก็ได้เช่น 18 – 200 มม   แต่คุณภาพจะไม่ดีเท่าเลนส์ช่วงซูมน้อยกว่า  หากต้องการคุณภาพดีที่สุดก็ต้องเลือกใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว   เช่น ถ้าต้องการครอบคลุมตั้งแต่ 18 ถึง 200 มม จะต้องมีเลนส์ถึง 6 ตัวคือ 18 28 35 50 100 และ 200 มม โดยเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวส่วนใหญ่จะมีรูรับแสงกว้างสุดมากกว่าเลนส์ชูม เช่น F 1.4 จนถึง F 2.8  ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกตัวอาจเลือกเพียงบางตัวที่ดีที่สุดซึ่งดีกว่าการใช้เลนส์ซูมแน่นอน   โดยทั่วไปนิยมใช้เลนส์ที่มีขนาด 50 มม F 1.8 เพราะมีราคาถูกเพียงไม่กี่พันบาท    แต่ได้รูรับแสงกว้าง    ใช้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยๆ   ได้ดีมาก     ถ้าชอบถ่ายภาพบุคคลก็คือแนะนำเลนส์เทเลระยะปานกลางเช่น 85 มม F 1.8  หรือจะซื้อเลนส์  100 มม  มาโคร F 2.8 ก็ได้ ใช้ประโย
ชน์ได้ทั้งการถ่ายภาพบุคคลและถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆเช่นดอกไม้หรือแมลง เป็นต้น จอมอนิเตอร์ 
    ปัจจุบันกลอ้งดิจอตอลมีจอมอนิเตอร์ที่ใหญ่มากขึ้น เช่น 2.5 หรือ 3.0 นิ้ว ทำให้มองดูภาพ เมนู ตัวอักษร และไอคอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน การแบ่งปันภาพที่ถ่ายไปแล้วให้เพื่อนฝูงดูทำได้สะดวกมากขึ้น การ
เลือกจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่จึงควรเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อกลอ้ง อย่างไรก็ตามหากมีกลอ้งที่จอมอนิเตอร์ขนาดเท่ากัน ให้ดูความละเอียดของจอภาพเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง เพราะจอที่มีความละเอียดมากกว่า เช่น 150,000 กับ 230,000 พิกเซล จอที่ความละเอียดสูงกว่าจะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่า และเห็นผลเมื่อซูมขยายภาพเพื่อตรวจสอบรายละเอียดความคมชัด นอกจากนี้ให้ดูองศาในการมองภาพด้วย บางรุ่นต้องมองตรงๆเท่านั้น หากมองเฉียงจะเห็นภาพจางลง แต่บางรุ่นมีมุมมองกว้างมากถึง 160 องศา กลอ้งบางรุ่นออกแบบให้จอมอนิเตอร์ปรับพลิกก้มเงยและหมุนได้รอบ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูงหรือมุมต่ำ

การตอบสนองที่รวดเร็ว
   กลอ้งดิจอตอล SLR รุ่นใหม่ๆ มีการตอบสนองที่รวดเร็วดีมาก ตั้งแต่การเปิดสวิตช์กลอ้งพร้อมใช้งาน ไปจนถึงช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์และการถ่ายภาพต่อเนื่อง การเลือกซื้อกลอ้งควรพิจารณาเปรียบเทียบว่ากลอ้งแต่ละ
รุ่นพร้อมใช้งานในระยะเวลาเท่าใด กลอ้งบางรุ่นใช้เวลาไม่ถึง 0.2 วินาที ก็ใช้งานได้แล้ว ส่วนช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์ถ้าสั้นมากก็จะถ่ายภาพเหตุการณ์หรือสิ่งเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนกับการใช้กลอ้งฟิล์ม สุดท้ายคือการถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างน้อยควรจะทำได้ที่ 3 ภาพ/วินาที บางรุ่นอาจจะเร็วถึง 5 ภาพ/วินาที เช่นกลอ้งดิจิตอล SLR ของ canon eos400d แต่ถ้าเป็นกลอ้งระดับโปรอย่าง canon

eos1d Mark lll ทำความเร็วขึ้นไปถึง 10 เฟรม/วินาที เหมาะสำหรับช่างภาพข่าว กีฬา หรือสัตว์ป่า ที่ตอ้งการความเร็วสูงๆ เพื่อจับจังหวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

หน่วยความจำสำรองไฟล์ภาพ 
    Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มี Buffer หรือหน่วยความจำในตัวกลอ้งมากๆ จะช่วยให้การถ่ายภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ต้องเสียเวลารอคอยนานๆ และไม่พลาดโอกาสสำคัญในการบันทึกภาพ
กล่าวคือ กลังจากที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพที่ผ่านหน่วยประมวลผลจะถูกพักเก็บได้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ จากนั้นจะบันทึกลงใน เมมโมรี่การ์ดต่อไป (ขณะบันทึกจะมีไฟสีเขียวหรือสีแดงเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะก็สมารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้หลายๆภภาติดต่อกัน เช่นสเปคกลอ้งระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพ ต่อวินาที ติดต่อกันรวด
เร็ว 50 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 50 ภาพ จะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ตอ้งรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อไปได้

ไวท์บาลานซ์
      ไวท์บาลานซ์ หรือสมดุลแสงขาว ฟังก์ชันนี้มีในกลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ส่วนใหญ่จะมีระบบปรับไวท์บาลานซ์อัติโนมัติ ทำให้ภาพถ่ายมีสีสันถูกตอ้งไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณภูมิสีแตกต่าง
กัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์มซึ่งสมดุลแสงกลางวันที่อุณภูมิสี 5000-5500 องศาเควิน จะได้ภาพที่มีถูกตอ้งก็ต่อเมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือแสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กลอ้งดิจิตอลจะให้โทนสีถูกต้องได้แม้ว่าสภาพแสงจะแตกต่างกัน  นอกจากระบบออโต้แล้วส่วนใหญ่จะมีระบบ PRESET ให้ปรับตั้งตมสภาพแสงแบบต่างๆอีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่นแสงดวงอาทิตย์แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรสเซ้นท์ในอาคาร แสงไฟ ทังสแตนเป็นต้น กลอ้งบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพมีการปรับเปลี่ยนอุณภูมิสีที่แตกต่างกันอัติโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาปรับตั้งทีละภาพ บางรุ่นยังกำหนดตัวเลขอุณภูมิสีเองได้ ปรับได้ละเอียดมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความปราณีตในเรื่องของสีให้ถูกตอ้งมากที่สุด หรือปรับชิพท์ไวท์บาลานซ์ได้เพิ่มแก้ไขปัญหา

เรื่องภาพมีโทนสีแดงหรือสีฟ้ามากเกินไปเพียงเล็กน้อย การปรับชิพซ์ไวท์บาลานซ์จะช่วยให้ได้ภาพที่มีสีสันถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน บางรุ่นมีระบบคัสตอมหรือแมนนวล โดยเทียบจากวัตถุที่มีสีขาวซึ่งจะทำให้ได้สีที่ถูกต้องมากที่สุด
ระบบออโต้โฟกัส 
    กลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวดเร็วพอสมควร แต่รุ่นที่สูงขึ้นไปจะโฟกัสได้เร็วกว่า และเร็วที่ในกลอ้งรุ่นท๊อป ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นกลอ้งสำหรับมืออาชีพ
บางรุ่นมีโฟกัส 3 หรือ 5 จุด แต่บางรุ่นมีมากถึง 11 หรือ 16 จุด ยิ่งมากยิ่งดี เพราะไม่ว่าตัวแบบหรือสิ่งที่ต้องการจะถ่ายอยู่ในตำแหน่งใดก็จะปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกลอ้งจะเลือกจุดโฟกัสให้ เเบบอัติโนมัต   โฟกัสเองก็ได้ นอกจากนี้ควรพิจารณาช่วงการปรับโฟกัสว่าทำได้ที่ช่วง EV เท่าใด หากโฟกัสที่ EV ต่ำๆ ได้เช่น EV1 หรือ EV0 จะทำให้กลอ้งปรับโฟกัสได้แม้ในสภาพแสงสลัว หากเป็นกลอ้งระดับโปรบางรุ่นจะปรับโฟกัสได้ถึง EV-1 ทีเดียว

ระบบบันทึกภาพและการวัดแสง
    กลอ้งดิจิตอล SLR ส่วนใหญ่มีระบบออโต้และโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งโหมดบันทึกภาพมาตรฐาน P,S,A,M ในระบบออโต้กลอ้งจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง เลือกความไวแสง และปรับโฟกัสให้ทั้ง
หมด ผู้ใช้เพียงจัดองค์ประกอบภาพตามที่ต้องการและกดปุ่มชัตเตอร์ ถ้าแสงน้อยกลอ้งก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น หรือเปิดแฟลชทำงานอัตโนมัติ ทำให้ใช้งานง่าย และมีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับถ่ายภาพแบบต่างๆ เช่น ถ่ายภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ ภาพกลางคืน ภาพกีฬา ภาพพลุ ดอกไม้ไฟ ภาพหิมะ ชายหาด เป็นต้น กลอ้งบางรุ่นมีโปรแกรมที่หลากหลายมากอีกนับสิบแบบ แต่ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่องเทคนิคการถ่ายภาพหรือมีประสบการณ์
เรื่องการวัดแสงมาบ้างแล้ว ก็มีโหมดออโต้ความเร็วชัตเตอร์กับความเร็วรูรับแสงให้เล่นด้วยค่ะ ซึ่งตอ้งปรับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงด้วยตนเอง




อุปกรณ์เสริม
    กลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ จะมีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มากมาย เพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพทุกรูปแบบ โดยมีเลนส์เป้นอุปกรณ์เสริมหลัก รองลงมาคือ แฟลชรุ่นต่างๆ ตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ สายลั่น
ชัตเตอร์ บางรุ่นมีแบตเตอรี่กริป ช่วยให้ใช้แบตเตอรี่ได้นานขึ้น ได้พร้อมกันสองก้อน ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างที่ถ่ายรูป และช่วยให้การจับถือกลอ้งโดยเฉพาะการถ่ายภาพในแนวตั้งสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น บางรุ่นมีรีโมทแบบไร้สายช่วยให้ควบคุมการถ่ายภาพจากระยะไกลได้ 
ระบบกำจัดฝุ่น และระบบป้องกันภาพสั่นไหว
     กลอ้งดิจิตอล SLR หลายรุ่นในปัจจุบันมีระบบกำจัดฝุ่นในตัว โดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป ช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นที่จับอยู่ตรงหน้าเซ็นเซอร์ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของกลอ้งดิจิตอลแบบ
SLR ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ บางรุ่นมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวกลอ้งเลย ทำให้สามารถนำเลนส์ตัวไหนก็ได้มาใช้แล้วมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ไม่จำเป็นตอ้งสียเงินซื้อเลนส์ที่มีระบบกันสั่นไหวเพิ่มเติม

บริการหลังการขาย
   สิ่งสุดท้ายที่ตอ้งคำนึ่งถึงคือ เรื่องของบริการหลังการขาย ทั้งจากร้านค้าและบรัทผู้นำเข้า หากซื้อกลอ้งและอุปกรณ์จากผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการ คุณจะได้รับบริการที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากผู้

ผลิต บางบริษัทเป็นบริษัทจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตกลอ้งโดยตรง โดยทั่วไปกลอ้งดิจิตอลจะรับประกันคุณภาพ 1 ปี หากเกิดความเสียหายในช่วงระยะเวลาการรับประกันจะได้รับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ฟรีโดยไม่คิอค่าบริการ หากเป็นชิ้นส่วนสำคัญ เช่น เซ็นเซอร์ภาพ หรือจอมอนิเตอร์ ค่าอะไหล่จะราคาสูงมาก เพื่อความสบายใจ การซื้อกลอ้งจากผู้นำเข้าที่ถูกตอ้งจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแน่นอน ยกเว้นว่าราคาระหว่างผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการกับผู้นำเข้าอิสระจะแตกต่างกันมาก อาจเป็นสาเหตุให้ซื้อกลอ้งที่มีราคาถูกกว่า สำหรับการกลอ้งดิจิตอลจากต่างประเทศในปัจจุบันควรตรวจสอบราคาให้ดีเสียก่อนโดยเฉพาะที่ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น บางรุ่นถูกกว่าด้วยซ้ำ     หากต่างกันไม่มากควรเลือกซื้อกลอ้งในเมืองไทย จะดีกว่า ไม่ต้องเสี่ยงกับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ในกรณีที่กลอ้งมีปัญหา


นี่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นในการซื้อกลอ้ง DSLR ครับ ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็อยู่ที่ใจชอบครับ เป็นตัวตัดสินสำคัญเลยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น