“มีงบประมาณในการติดตั้งเครื่องเสียง จะแบ่งอย่างไรดีครับ ฟร้อนท์กี่บาท เพาเวอร์แอมป์กี่บาทและลำโพงกี่บาท”
เป็นคำถามที่พบมากจากนักเล่นเครื่องเสียงรถยนต์มือใหม่ ประมาณว่าซื้อเครื่องเสียงรถยนต์ครั้งแรก หรือแม้กระทั้งผ่านการเล่นมาพอสมควรแต่ยังไม่ได้ในชุดเครื่องเสียงที่ต้องการ ถ้าถามถูกที่ถูกทางก็ไม่เป็นไรได้คำตอบสบายใจในการเสียสตางค์ แต่ถ้าถามผิดที่ผิดคนจะพาไปต้องมีปรีแอมป์และอีเล็คทรอนิคครอสโอเวอร์กันอีกให้วุ่นวาย ยุ่งยากมากเรื่องไหนจะไบแอมป์ไตรแอมป์
ที่กล่าวมานี่ผมไม่ได้มีสูตรการคำนวณงบประมาณสำหรับจัดสรรใส่ชุดเครื่องเสียงมาเสนอท่านผู้อ่านนะครับ เพียงแต่จะกล่าวบอกว่า อย่าให้ความสำคัญกับค่าตัวเครื่องของอุปกรณ์มากเสียจนลืมฟังเสียงก่อนตัดสินใจ มิฉะนั้นอาจจะต้องเป็นการตัดใจขายทิ้งก็เป็นได้
ในการแบ่งงบประมาณออกเป็นส่วนๆให้กับอุปกรณ์ต่างๆ มีแนวทางคร่าวๆให้ท่านผู้อ่านไปลองฟังดังนี้ครับ
เริ่มด้วยฟร้อนท์คุณภาพ
เลือกฟร้อนท์คุณภาพดีที่สุด มีฟังก์ชั่นไม่ต้องมาก เอาคุณภาพเสียงไว้ก่อน อย่าลืมทุ่มงบประมาณส่วนใหญ่ให้กับฟร้อนท์ เพราะฟร้อนท์คืออุปกรณ์สำคัญที่กำหนดคุณภาพของเสียงทั้งระบบ ต่อให้ลำโพงและเพาเวอร์แอมป์ดีเลิศขนาดไหน ระบบเสียงก็ไม่สามารถมีคุณภาพเสียงที่ดีได้ เนื่องจากฟร้อนท์เป็นอุปกรณ์ต้นทาง เป็นเครื่องกำหนดคุณภาพรายละเอียดเสียงทั้งหมด ว่าจะถ่ายทอดบทเพลงที่บันทึกลงมาในแผ่นให้มีคุณตรงตามต้นฉบับได้อย่างไร และท่านผู้อ่านรำลึกไว้เสมอว่า “ฟร้อนท์คุณภาพไม่ดี ไม่สามารถใช้ปรีแอมป์ช่วยให้มีคุณภาพและการถ่ายทอดรายละเอียดเสียงที่ดีได้” ฉะนั้นไม่ควรแบ่งงบประมาณออกมาเพื่อซื้อปรีแอมป์ แต่ควรรวมงบประมาณ ใส่ใจในการเลือกคุณภาพของฟร้อนท์ให้ดีที่สุด ตรงใจตรงความต้องการที่สุดเป็นอันดับแรก
จับเข้าคู่กับลำโพงคุณภาพเกินราคา
จะรู้ได้อย่างไรว่าลำโพงดีมีคุณภาพเกินราคา ต้องลองฟังครับ อย่านึกถึงยี่ห้อ งบประมาณในส่วนของลำโพงไม่ต้องจำกัดว่าแค่ครึ่งหนึ่งของฟร้อนท์ หรือเทียบเท่าฟร้อนท์ ขอให้พิจารณาจากวัสดุที่ใช้ผลิต ชื่อเสียงของยี่ห้อนั้น สุดท้ายต้องลองฟัง แต่ลำโพงที่เลือกฟังราคาไม่ควรเกินฟร้อนท์ “เพราะถ้าเลือกฟังลำโพงราคาเกินฟร้อนท์ ให้เอาส่วนเกินนั้นไปใส่ฟร้อนท์รุ่นที่สูงขึ้นดีกว่า” อนาคตขยับขยายระบบเพิ่มสามารถทำได้
เลือกเพาเวอร์แอมป์อย่ามองที่ตัวเลขกำลังขับ
“ท่านผู้อ่านครับ ถ้ามีใครบอกว่าเพาเวอร์แอมป์นั้นไม่สำคัญ สำคัญน้อย เราใช้เพาเวอร์แอมป์เพื่อการขยายเท่านั้น เลือกตัวเลขวัตต์สูงๆ อย่าไปใส่งบประมาณในส่วนของเพาเวอร์แอมป์มาก” จงอย่าเชื่อคำพูดดังกล่าวนั้นโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยตนเองครับ จริงอยู่เพาเวอร์ทำหน้าที่ขยาย แต่คุณภาพของเพาเวอร์แอมป์ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขกำลังขับ คุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับวงจรและอุปกรณ์ในการผลิต ฉะนั้นเพาเวอร์แอมป์นี้อาจให้งบประมาณเทียบเท่าลำโพง แต่นี่ก็ไม่ใช้กฎที่แน่นอนอีก ต้องลองฟังร่วมกับฟร้อนท์และลำโพงที่ได้เลือกไว้ว่า คุณภาพและบุคลิกเสียงไปกันได้ไหม โดยอย่าคำนึงถึงงบประมาณเป็นสำคัญครับ
ลองฟังลองดูชุดที่เข้ากัน
ยกตัวอย่างการจัดชุดเช่น ฟร้อนท์ CLARION DXZ866 เพาเวอร์แอมป์ SINFONI AMPLI tude 45.2 ลำโพง RAINBOW SLC 265
จากชุดข้างต้น ฟร้อนท์ราคาหมื่นปลาย เพาเวอร์แอมป์ราคาเกือบสามหมื่น ลำโพงหมื่นต้นๆ จากชุดนี้จะเห็นได้ว่า ไม่เข้าตามสูตรการจัดชุดเครื่องเสียงเลยนะครับว่าจะต้องให้ฟร้อนท์กี่ส่วนลำโพงกี่ส่วนแล้วทีเหลือเป็นเพาเวอร์แอมป์ ชุดดังกล่าวมานี่เพาเวอร์แอมป์แพงที่สุดด้วยซ้ำไป ที่ยกเอาตัวอย่างแบบนี้ออกจะขัดหลักการที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า ฟร้อนท์ต้องแพงที่สุดด้วยซ้ำไป แต่จัดโดยเอาการลองฟัง จับบุคลิกเสียงที่ดีเข้าด้วยกัน เอาความเหมาะสมเข้าว่า ฟังเอาความชอบกันเป็นหลักครับ แสดงให้เห็นว่ากฎเกณฑ์หลักการไม่มีการตายตัว ไม่ต้องยึดมั่นแน่นอนเสมอไป
จะเห็นได้ความการแบ่งสัดส่วนของงบประมาณมีความสำคัญน้อยกว่าการเลือกใช้อุปกรณ์ ไม่ต้องกังวลในการจัดสรรงบ แต่ใส่ใจในการได้ลองฟัง เอาความเหมาะสมและความพอใจของเราเป็นที่ตั้ง ถ้าเราฟังแล้วไพเราะ บุคลิกเสียงเข้ากันได้ บางครั้งอุปกรณ์อะไรแพงกว่าก็ไม่ต้องใส่ใจ เพียงเท่านี้ก็จะได้ชุดเครื่องเสียงที่ไพเราะถูกใจ โดยไม่ต้องเครียดกังวลไปกับการจัดสรรงบประมาณอีก เอาเวลาอารมณ์ไปใช้ในการฟังเพลงเลือกชุดที่ชอบ คุณภาพเสียงที่ใช่ สบายหัวใจกว่ากันเยอะเลยขอรับท่านผู้อ่าน...
ที่กล่าวมานี่ผมไม่ได้มีสูตรการคำนวณงบประมาณสำหรับจัดสรรใส่ชุดเครื่องเสียงมาเสนอท่านผู้อ่านนะครับ เพียงแต่จะกล่าวบอกว่า อย่าให้ความสำคัญกับค่าตัวเครื่องของอุปกรณ์มากเสียจนลืมฟังเสียงก่อนตัดสินใจ มิฉะนั้นอาจจะต้องเป็นการตัดใจขายทิ้งก็เป็นได้
ในการแบ่งงบประมาณออกเป็นส่วนๆให้กับอุปกรณ์ต่างๆ มีแนวทางคร่าวๆให้ท่านผู้อ่านไปลองฟังดังนี้ครับ
เริ่มด้วยฟร้อนท์คุณภาพ
เลือกฟร้อนท์คุณภาพดีที่สุด มีฟังก์ชั่นไม่ต้องมาก เอาคุณภาพเสียงไว้ก่อน อย่าลืมทุ่มงบประมาณส่วนใหญ่ให้กับฟร้อนท์ เพราะฟร้อนท์คืออุปกรณ์สำคัญที่กำหนดคุณภาพของเสียงทั้งระบบ ต่อให้ลำโพงและเพาเวอร์แอมป์ดีเลิศขนาดไหน ระบบเสียงก็ไม่สามารถมีคุณภาพเสียงที่ดีได้ เนื่องจากฟร้อนท์เป็นอุปกรณ์ต้นทาง เป็นเครื่องกำหนดคุณภาพรายละเอียดเสียงทั้งหมด ว่าจะถ่ายทอดบทเพลงที่บันทึกลงมาในแผ่นให้มีคุณตรงตามต้นฉบับได้อย่างไร และท่านผู้อ่านรำลึกไว้เสมอว่า “ฟร้อนท์คุณภาพไม่ดี ไม่สามารถใช้ปรีแอมป์ช่วยให้มีคุณภาพและการถ่ายทอดรายละเอียดเสียงที่ดีได้” ฉะนั้นไม่ควรแบ่งงบประมาณออกมาเพื่อซื้อปรีแอมป์ แต่ควรรวมงบประมาณ ใส่ใจในการเลือกคุณภาพของฟร้อนท์ให้ดีที่สุด ตรงใจตรงความต้องการที่สุดเป็นอันดับแรก
จับเข้าคู่กับลำโพงคุณภาพเกินราคา
จะรู้ได้อย่างไรว่าลำโพงดีมีคุณภาพเกินราคา ต้องลองฟังครับ อย่านึกถึงยี่ห้อ งบประมาณในส่วนของลำโพงไม่ต้องจำกัดว่าแค่ครึ่งหนึ่งของฟร้อนท์ หรือเทียบเท่าฟร้อนท์ ขอให้พิจารณาจากวัสดุที่ใช้ผลิต ชื่อเสียงของยี่ห้อนั้น สุดท้ายต้องลองฟัง แต่ลำโพงที่เลือกฟังราคาไม่ควรเกินฟร้อนท์ “เพราะถ้าเลือกฟังลำโพงราคาเกินฟร้อนท์ ให้เอาส่วนเกินนั้นไปใส่ฟร้อนท์รุ่นที่สูงขึ้นดีกว่า” อนาคตขยับขยายระบบเพิ่มสามารถทำได้
เลือกเพาเวอร์แอมป์อย่ามองที่ตัวเลขกำลังขับ
“ท่านผู้อ่านครับ ถ้ามีใครบอกว่าเพาเวอร์แอมป์นั้นไม่สำคัญ สำคัญน้อย เราใช้เพาเวอร์แอมป์เพื่อการขยายเท่านั้น เลือกตัวเลขวัตต์สูงๆ อย่าไปใส่งบประมาณในส่วนของเพาเวอร์แอมป์มาก” จงอย่าเชื่อคำพูดดังกล่าวนั้นโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยตนเองครับ จริงอยู่เพาเวอร์ทำหน้าที่ขยาย แต่คุณภาพของเพาเวอร์แอมป์ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขกำลังขับ คุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับวงจรและอุปกรณ์ในการผลิต ฉะนั้นเพาเวอร์แอมป์นี้อาจให้งบประมาณเทียบเท่าลำโพง แต่นี่ก็ไม่ใช้กฎที่แน่นอนอีก ต้องลองฟังร่วมกับฟร้อนท์และลำโพงที่ได้เลือกไว้ว่า คุณภาพและบุคลิกเสียงไปกันได้ไหม โดยอย่าคำนึงถึงงบประมาณเป็นสำคัญครับ
ลองฟังลองดูชุดที่เข้ากัน
ยกตัวอย่างการจัดชุดเช่น ฟร้อนท์ CLARION DXZ866 เพาเวอร์แอมป์ SINFONI AMPLI tude 45.2 ลำโพง RAINBOW SLC 265
จากชุดข้างต้น ฟร้อนท์ราคาหมื่นปลาย เพาเวอร์แอมป์ราคาเกือบสามหมื่น ลำโพงหมื่นต้นๆ จากชุดนี้จะเห็นได้ว่า ไม่เข้าตามสูตรการจัดชุดเครื่องเสียงเลยนะครับว่าจะต้องให้ฟร้อนท์กี่ส่วนลำโพงกี่ส่วนแล้วทีเหลือเป็นเพาเวอร์แอมป์ ชุดดังกล่าวมานี่เพาเวอร์แอมป์แพงที่สุดด้วยซ้ำไป ที่ยกเอาตัวอย่างแบบนี้ออกจะขัดหลักการที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า ฟร้อนท์ต้องแพงที่สุดด้วยซ้ำไป แต่จัดโดยเอาการลองฟัง จับบุคลิกเสียงที่ดีเข้าด้วยกัน เอาความเหมาะสมเข้าว่า ฟังเอาความชอบกันเป็นหลักครับ แสดงให้เห็นว่ากฎเกณฑ์หลักการไม่มีการตายตัว ไม่ต้องยึดมั่นแน่นอนเสมอไป
จะเห็นได้ความการแบ่งสัดส่วนของงบประมาณมีความสำคัญน้อยกว่าการเลือกใช้อุปกรณ์ ไม่ต้องกังวลในการจัดสรรงบ แต่ใส่ใจในการได้ลองฟัง เอาความเหมาะสมและความพอใจของเราเป็นที่ตั้ง ถ้าเราฟังแล้วไพเราะ บุคลิกเสียงเข้ากันได้ บางครั้งอุปกรณ์อะไรแพงกว่าก็ไม่ต้องใส่ใจ เพียงเท่านี้ก็จะได้ชุดเครื่องเสียงที่ไพเราะถูกใจ โดยไม่ต้องเครียดกังวลไปกับการจัดสรรงบประมาณอีก เอาเวลาอารมณ์ไปใช้ในการฟังเพลงเลือกชุดที่ชอบ คุณภาพเสียงที่ใช่ สบายหัวใจกว่ากันเยอะเลยขอรับท่านผู้อ่าน...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น