R 6 สี
ตัวอะไรเนี่ย มี 6 สี
ที่มาของการเขียนบทความเรื่องนี้
คือผมไปเจอวงจรมาวงจรหนึ่ง ซึ่งขณะกำลังแกะลายวงจรนั้น ก็ไปพบอุปกรณ์ตัวหนึ่งซึ่งไม่เคยได้พบเห็นบ่อยนัก หรือ บางคนอาจจะไม่เคยได้เจอมาก่อนเลย อุปกรณ์ตัวนี้ คือ Resistor นั่นเอง
ตัวความต้านทาน คือ
รีซีสเตอร์ (Resistor) หรือ “อาร์” (R) ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น วงจรขยายเสียง, วงจรวิทยุ, วงจรเครื่องรับโทรทัศน์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
ตัวความต้านทานแต่ละตัวในวงจร จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป แต่หน้าที่โดยทั่วไปแล้วตัวความต้านทานจะทำหน้าที่คือ เป็นตัวจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้า และแรงเคลื่อนไฟฟ้า ตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในวงจร
ค่าของตัวความต้านทาน จะมีหน่วยในการวัดเป็น โอห์ม (Ohm)
ตัวความต้านทานที่เรานั้นพบบ่อยจะมี 4 แถบสี และ 5 แถบสี ซึ่งสามารถพบเจอได้ทั่วไป
วิธีการอ่านค่า ก็คือ ถ้าเป็น ตัวความต้านทาน4 แถบสี นั้น เรา จะอ่าน 2 แถบสีแรก เป็น ค่า และ แถบสีที่ 3 นั้น เป็น ตัวคูณหรือ บ่งบอกว่ามี 0 ต่อหลัง 1 กี่ตัว ส่วนแถบสีที่4 นั้น จะเป็น ตัวบอกเปอร์เซ็นต์ค่าผิดพลาด
ยกตัวอย่าง เช่น ตัวความต้านทานมี แถบสี น้ำตาล ดำ เขียว ทอง เราก็จะอ่าน ได้ดังนี้ น้ำตาล(1) ดำ(0) x เขียว(100000) = 1000000 หรือ 10e6 หรือ 1 M Ohm นั่นเอง
ส่วนสีทองด้านหลังนั้น จะบอก เปอร์เซ็นต์ ค่าผิดพลาด = 5%
สำหรับ R 4แถบสีนี้คงจะได้พบกันโดยทั่วไปแล้วนะครับ
ต่อมาเป็น R 5แถบสี
วิธีการอ่านก็จะคล้ายกับสี่แถบสีครับ แต่เพิ่มเข้ามาอีก 1 แถบสี ซึ่งจะเป็น แถบสีบอกค่า เข้ามาอีก1 ทำให้สามารถอ่านค่าได้ง่ายขึ้นครับ
ตัวอย่าง วิธีการอ่าน resistor 5 แถบสี
R มีแถบสี น้ำตาล ดำ ดำ ดำ น้ำตาล จะอ่านได้ดังนี้ น้ำตาล(1) ดำ(0) ดำ(0) x ดำ(10e0) = 100x10 =1000 หรือ 1 k Ohm
ต่อมามาถึง R 6 แถบสี
สิ่งที่แตกต่างที่เพิ่มเข้ามานั้น คือการอ่าน นั้นจะอ่าน คล้ายกับ R 5 แถบสี แต่ จะมีแถบสีที่บ่งบอกค่า สัมประสิทธิ์อุณหภูมิเพิ่มเข้ามา ครับ
เพราะฉะนั้น ใครไป พบเจออุปกรณ์ มีรูปร่าง แบบนี้ จะได้ไม่ต้องงงเหมือนผมครับ R 6 แถบสี มักจะอยู่ในอุปกรณ์ ที่ต้องการ ค่าความ เที่ยงตรงในการผลิตสูงๆ ครับ
ถ้าเรา ไม่ทราบ ค่า Rโดยจากการ อ่าน แถบสี เราก็สามารถ ใช้ตัวช่วยที่มี อยู่ ทั่วไปในปัจจุบันได้ครับ ยกตัวอย่างโปรแกรมจากทางเว็บไซต์ นี้เลยครับ
http://marvin3m.com/resist/6band.htm
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น