วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โมเมนตัม MOMEMTUM

โมเมนตัม MOMEMTUM

โมเมนตัมเป็นเครื่องมือ OSCILLATOR ที่นิยมใช้ในระยะสั้นอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้วัดการแกว่งตัวของราคา และเนื่องจากเป็นเครื่องมือระยะสั้น จึงเป็นเครื่องมือที่มักจะสวนทางกับแนวโน้มของราคา (COUNTER TREND) โดยจะนำมาใช้ดูสภาพในช่วงสั้น ของตลาดว่าขณะนั้นอยู่ในภาวะซื้อมากจนเกินไป (OVERBOUGHT) หรือ ขายมากจนเกินไป (OVERSOLD)
สูตรของโมเมนตัม
MOMENTUM = P  Pn
P = ราคาปิดปัจจุบัน

Pn = ราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา
 หลังจากที่ได้ค่าความแตกต่างของราคา ที่กำหนดช่วงต่างของเวลาไว้แน่นอนแล้ว นำค่าที่ได้มาทำเป็นเส้นกราฟ จะได้เส้นกราฟที่มีเส้นกึ่งกลาง (เส้นศูนย์) และจะมีส่วนที่เป็นค่าบวกและค่าลบ รูปแบบเครื่องมือโมเมนตัมจะมีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหว ขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดยช่วงบนจะเป็นการบอกภาวะซื้อมากจนเกินไป และช่วงล่างจะเป็นการบอกภาวะ ขายมากจนเกินไป

 ปกติถ้าใช้ช่วงเลาสั้น ๆ เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงเร็วขึ้น แต่ถ้าใช้ช่วงเวลาที่ยาวขึ้น เส้นโมเมนตัมจะปรับตัวขึ้นลงช้ากว้า ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมีข้อสังเกตว่า
เนื่องจากหุ้นบางประเภทมีการซื้อขายสม่ำเสมอ และระดับราคามีการเหวี่ยงตัวไม่มากนัก เช่นหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนสูง หรือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้ภาพชัดเจน และสามารถอ่านทิศทางได้ง่าย หุ้นประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โมเมนตัม แต่สำหรับหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยในตลาดหลักทรัพย์ไทยหุ้นประเภทนี้ มักจะเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำ จะเหมาะกับการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือโมเมนตั้ม เนื่องจากจะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนกว่า
ประโยชน์ของเครื่องมือโมเมนตั้ม

1. ใช้สำหรับการลงทุนในช่วงสั้น สามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณ เตือนว่า ในช่วงระยะเวลานั้น ราคาหุ้นได้ดีขึ้นมาจนถึงที่สุดแล้ว และน่าจะมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิค โดยหุ้นแต่ละตัวจะมีระดับสูงสุดของโมเมนตัมต่างกัน
2. สามารถนำมาใช้กับสภาพตลาดที่ยังไม่มีทิศทาง (TRENDLESS) หรือในสภาพตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ที่เป็นไปใน ลักษณะแนวนอน (SIDEWAYS)
3. นำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของตลาดที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น พละกำลัง ใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยังโดยสัญญาณเตือน จะแสดงออกมาในรูปของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ของราคาหุ้นกับเส้นโมเมนตัม โดยเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน
การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม
การอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม เป็นการดูอัตราเร่งของการเคลื่อนตัวสูงขึ้น หรือการลดต่ำลงของราคาหุ้น เนื่องจากเครื่องมือนี้ เป็นเครื่องมือที่วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น โดยมีเส้นกึ่งกลาง (CENTER LINE) เป็น จุดบอก เส้นกึ่งกลางนี้จะเป็นเส้น ZERO LINE
ถ้าราคากำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่เส้นโมเมนตั้มก็อยู่เหนือเส้นกึ่งกลาง และกำลังมีทิศทางสูงขึ้นเช่นกัน จะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าราคากำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการชี้ว่าทิศทางราคาหุ้นจะพุ่งสูงขึ้นต่อไปได้

ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนที่ในแนวราบที่ระดับ 0 แสดงว่าราคาปิดล่าสุดไม่มีความแตกต่างจากราคาปิดเมื่อ n วันที่ผ่านมา และบอกถึงแนวโน้มราคาที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ (SIDEWAYS) และเมื่อเส้นโมเมนตั้มอ่อนตัวลง แม้ราคาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม จะเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาที่สูงขึ้นนั้นกำลังจะหมดแรง
ถ้าเส้นโมเมนตั้มเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นกึ่งกลาง แสดงว่าราคากำลังตกลงเรื่อย ๆ โดยมีแนวโน้มลง (DOWNTREND)

ข้อสังเกตที่สำคัญมากสำหรับการวิเคราะห์โมเมนตั้ม คือ เครื่องมือนี้เป็นการวัดราคาที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนดให้ เช่น เส้นโมเมนตั้ม 10 วัน จะเป็นการดูราคาปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาใน 10 วันก่อน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วันที่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ราคาปิด
100
102
107
108
106
107
104
108
109
108
วันที่
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
ราคาปิด
110
115
116
114
112
110
111
113
111
108
ผลต่าง(10 วัน)
10
13
9
6
6
3
7
5
2
0

เมื่อพิจารณาจากตารางแสดงราคาปิดและคิดค่าโมเมนตั้ม 10 วัน จะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 12 กับวันที่ 2 มากกว่าผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 11 กับวันที่ 1 แสดงว่าเส้นโมเมนตั้มมีแนวโน้มสูงขึ้น และจะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 15 กับวันที่ 5 มีค่าเท่ากับผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 14 กับวันที่ 4 แสดงว่าเส้นโมเมนตั้มจะเคลื่อนที่ในแนวราบ และถ้าพิจารณาต่อไปจะพบว่า ผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 18 กับวันที่ 8 มีค่าน้อยกว่าผลต่างของราคาปิดเมื่อวันที่ 17 กับวันที่ 7 ซึ่งแสดงว่าเส้นโมเมนตั้มจะมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าราคาจริงอาจจะยังมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม ดังนั้น เส้นโมเมนตั้มจะเป็นตัวชี้นำแนวโน้มของราคาล่วงหน้าอย่างน้อยก้าวหนึ่ง ก่อนที่ราคาจริงจะเริ่มเปลี่ยนทิศทาง
ความสำคัญของเส้นกึ่งกลาง (CENTER LINE)
นักวิเคราะห์มักจะใช้เส้นกึ่งกลางในการพิจารณาถึงสัญญาณซื้อ-ขาย โดยถ้าเส้นโมเมนตั้ม ทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไป จะเป็นการแสดงสัญญาณซื้อ ในขณะเดียวกันถ้าเส้นโมเมนตั้มทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางลงมาจะเป็นการแสดงสัญญาณขาย เนื่องจากเส้นกึ่งกลางจะบอกถึง พละกำลัง ของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
พละกำลัง สามารถบอกถึงแนวโน้มของตลาดต่อไปคือ ในแนวโน้มขาขึ้นเส้นกึ่งกลางจะเป็นฐานรองรับ ถ้าตลาดมีการปรับตัวลงทางเทคนิคในแนวโน้มขาลง เส้นกึ่งกลางจะเป็นแนวต้านในกรณีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิค ดังนั้นการทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นหรือลง จึงมีความสำคัญในแง่ของการปรับทิศทางของตลาด เพราะเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแนวโน้ม (TREND) ของตลาด

ความสำคัญของการแยกทางออกจากกัน (DIVERGENCE) ของราคากับเส้นโมเมนตั้ม
การแยกทางกันระหว่างราคากับเส้นโมเมนตั้มโดยเส้นทั้ง 2 เคลื่อนตัวออกจากกันไปคนละทิศทาง ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่สุดของการอ่านเครื่องมือโมเมนตั้ม เนื่องจากนำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนทิศทางของตลาดหรือราคาหุ้น
BEARISH DIVERGENCE คือการที่แนวโน้มของระดับราคามีการเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลงจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาของหุ้นเพิ่มสูงขึ้น แต่เส้นโมเมนตั้มไม่สามารถเคลื่อนตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับราคาเป็นสัญญาณเตือนว่า ตลาดอาจจะมีการปรับตัวในไม่ช้า

BULLISH DIVERGENCE คือการที่แนวโน้มของระดับราคามีการเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น เกิดขึ้นในกรณีที่ราคาของหุ้นลดต่ำลง แต่เส้นโมเมนตั้มไม่เคลื่อนตัวต่ำลงสอดคล้องกับราคาเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดอาจจะมีการปรับตัวขึ้นในไม่ช้า
MOVING AVERAGE MOMENTUM
MOVING AVERAGE MOMENTUM คล้ายกับเครื่องมือโมเมนตั้มธรรมดา แต่เรานำความแตกต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มาทำกราฟแทนราคาปิด ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวมีความราบเรียบกว่า (SMOOTHED VERSION)
สูตร MOVING AVERAGE MOMENTUM
 MOVING AVERAGE MOMENTUM = MA - MAn
MA = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนปัจจุบัน

MAn = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เมื่อ n วันที่ผ่านมา
การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM
การอ่านเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM มีลักษณะคล้ายกับการอ่านความหมายจากเครื่องมือโมเมนตั้ม โดยถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไปเป็นการแสดงสัญญาณซื้อ และถ้าเส้น MOVING AVERAGE MOMENTUM ทะลุผ่านเส้นนึ่งกลางลงมา ก็เป็นการแสดงสัญญาณขาย โดยเครื่องมือ MOVING AVERAGE MOMENTUM จะให้สัญญาณที่ช้ากว่าเครื่องมือโมเมนตั้ม แต่สัญญาณหลอกจะเกิดขึ้นน้อยกว่า เนื่องจากเส้นมีความราบเรียบขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น