การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วใช้ระบบเสาและคาน ทำให้จำเป็นจะต้องมีผนังไว้กันความร้อนจากภายนอก และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัย ผนังภายในใช้แบ่งพื้นที่ความเป็นสัดส่วนในการใช้งาน ทำให้ผนังอาคารส่วนใหญ่ใช้วัสดุที่หาง่าย ขนส่งง่าย และใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านก็สามารถสร้างอิฐขึ้นมาได้ ทำให้โรงอิฐเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย เพียงแต่หาวัสดุดิบคือดินที่เหมาะสมเท่านั้นและอาศัยแกลบเป็นวัสดุผสมในเนื้อดินเท่านั้น และใช้เป็นวัสดุเผาอิฐ ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่าย เนื่องจากเป็นผลผลิตจากการสีข้าวอยู่แล้ว
แต่อิฐมอญซึ่งทำกันมาเป็นร้อยปีก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากที่วัสดุดิบเริ่มหายาก ขาดแคลนแรงงาน และเจ้าของโรงอิฐมักจะเลิกโรงงานไปเนื่องจากเป็นระบบการทำงานแบบครอบครัว ลูกหลานมักจะไม่อยากทำต่อ ประกอบกับสภาพอากาศนั้นมีความร้อนที่สูงขึ้น อาคารก็มีความสูงมากขึ้น ทำให้การก่อสร้างต้องเริ่มหาวัสดุที่ใช้ทำผนังที่มีน้ำหนักเบากว่า แข็งแรงกว่า กันความร้อนได้ดีกว่า กันเสียงได้ดีกว่า ทำงานได้รวดเร็วกว่า และได้คุณภาพเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีการนำเอากิฐมวลเบาเข้ามาใช้งานในประเทศไทย เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว อันเนื่องจากสามารถตอบโจกย์ในปัจจุบันได้ดีกว่าแบบเดิม
อิฐมวลเบา มีมากมายหลายประเภท หากมองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกัน แต่แท้จริงแล้ว อิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ต่างกันจะทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบาแตกต่างกันด้วย อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non - Autoclaved System) ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้อีก เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 ผสมด้วยวัสดุเบากว่า เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟม (EPS) ซึ่งจะช่วยให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่หากเป็นวัสดุที่นำมาผสมเป็นอินทรีย์สาร จะทำให้มีการเสื่อมสภาพได้ง่าย หรือหากเป็นเม็ดโฟม จะต้องเป็นประเภทที่ป้องกันการลามไฟ หรือไม่เป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ เป็นรุ่นที่ไม่เกิดควันพิษเมื่อเกิดเพลิงไหม้
1.2 ใช้สารเคมีผสม (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู โดยใช้เครื่องสร้างฟองอากาศ แล้วทิ้งให้คอนกรีตเกิดการแข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีโอกาศการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ดังนั้นจำเป็นจะต้องควบคุมการผลิตให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ซึ่งอิฐมวลเบาแบบนี้จะสังเกตุได้ง่าย เพราะจะมีสีเป็นสีปูนซิเมนต์ทั่วไป แต่อิฐมวลเบาแบบนี้จะมีข้อดีคือ สามารถผลิตเองได้ง่ายลงทุนไม่มาก ประมาณ 200,000 บาทก็สามารถทำโรงงานขนาดเล็กได้
รูปอิฐมวลเบาผลิตจากโรงงานขนาดเล็ก
2. ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้ คือ
2.1 ใช้ปูนขาว Lime Base เป็นวัสดุผสม ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มีการดูดซึมน้ำได้ค่อนข้างมาก และได้คุณภาพการผลิตไม่สม่ำเสมอ
2.2 ใช้ซิเมนต์เป็นวัสดุผสม Cement Base ซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่น เหมาะสำหรับการผลิตแบบโรงงานขนาดใหญ่ลงทุนสูง ซึ่งอิฐชนิดนี้จะสังเกตุว่ามีสีค่อนข้างเป็นสีขาว เช่น QCON ,SuperBlock , CPAC เป็นต้น
3. อิฐมวลเบามีฉนวน ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างอิฐมวลเบาและโฟม Expanded Polystyrene (EPS / Styrofoam) ชนิด Flame Retardant (ไม่ลามไฟ)เป็นใส้ฉนวน สามารถต้านทานความร้อนและความชื้นสูงได้เป็นอย่างดี (0.03 W/mK และอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 5%) เช่น CoolBlock เป็นต้น
ค่า OTTV
ค่า OTTV ของ ผนังก่ออิฐฉาบปูนหนา 10 ซม.อยู่ที่ 30-45 วัตต์/ตรม. อิฐมวลเบาจะอยู่ที่ 15 วัตต์/ตร.ม.ที่ความหนา 10 ซม. เช่นกัน หากผนังมีช่องเปิดประตูหน้าต่าง จะทำให้มีความร้อนเข้ามาได้มากกว่านี้ แต่จะต้องไม่เกิน กฎหมายกำหนดไว้ คือ 45 วัตต์/ตร.ม. สำหรับอาคารใหม่ และ 55 วัตต์/ตร.ม.สำหรับอาคารเก่า
ตัวอย่างเช่น กระจกใส หนา 5 มม.ที่ไม่มีอุปกรณ์บังแดด
ทิศตะวันออกมีค่า OTTV 201 วัตต์/ตร.ม. ทิศตะวันตก มีค่า OTTV 188 วัตต์/ตร.ม.
1. ภายหลังจากได้ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่อผนังคอนกรีตมวลเบา และได้วางแนวดิ่งฉากเรียบร้อยแล้ว
2. เริ่มก่อโดยการใช้ปูนทรายทั่วไป ช่วยในการปรับระดับพื้นให้ได้ระดับเดียวกัน แล้วป้ายปูนก่อ Q-CON ลงด้านล่างของบล็อคก้อนแรกก่อนวางก้อนบล๊อคลงบนแนวปูนทราย โดยไม่ต้องราดน้ำที่ Block แต่อย่างใด เพียงแต่ทำความสะอาดไม่ให้ฝุ่นติดอยู่ ใช้ค้อนยางและระดับน้ำช่วยจัดแนว แล้วป้ายปูนก่อบริเวณด้านข้างของก้อน ด้วยเกรียงก่อ Q-CON ให้ความหนาของปูนก่อเพียง 2-3 มม. ก่อนวางก้อนที่ 2 ลงไปให้ชิดกับก้อนแรก
3. จะต้องก่อด้วยวิธีสลับแนวระหว่างแถวชั้นบนถัดไป ให้แนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. ก่อให้ได้แนวทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยการขึงแนวก่อนการก่อ ป้ายรอยต่อโดยรอบก้อนด้วยปูนก่อ Q-CON หนา 2-3 มม. และจะต้องใส่ปูนก่อให้เต็มตลอดแนว ไม่มีโพรง โดยไม่ต้องตอกแผ่นเหล็กใดๆ เพื่อยึดก้อน Block อีก
4. การปรับแต่งบล็อค ให้ได้แนวระดับความต้องการ ควรทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 นาที
5. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็ก Metal Strap ยาวประมาณ 20 ซม. เข้ากับเสาด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรูทุกระยะ 2 ชั้น ของ Block
6. หากพื้นที่ของผนังมีขนาดพื้นที่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตาราง จะต้องมีเสาเอ็น หรือคานเอ็น ค.ส.ล. โดยใช้เหล็กเสริม 2 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ม.ม. และมีเหล็กปลอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ทุกระยะ 20 ม. เหล็กเสาเอ็นจะต้องฝังลึกในพื้น หรือคานที่เป็นโครงสร้างหลัก
7. มุมกำแพงทุกมุมกรณีไม่ทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ให้ก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) ทั้งนี้ผนังต้องมีระยะไม่เกินตารางและ ปลายกำแพงที่ยื่นออกมาจากเสาเกินกว่า 1.50 ม. (ยกเว้นกรณีใช้ผนัง Block หนา 7.5 ซม. ต้องทำเสาเอ็น หรือคานเอ็น ค.ส.ล. ทุกขนาดพื้นที่ก่อไม่เกิน 10 ตร.ม.)
วิธีการฉาบปูน QCON
1. การเตรียมพื้นผิว
- ใช้แปรงตีน้ำหรือไม้กวาดปาดเศษผงที่ติดอยู่บนผนังออกให้หมด
- หากมีรอยแตกบิ่นของผนังให้อุดซ่อมก่อนด้วยปูนซ่อม โดยผสมเศษผงคอนกรีตมวลเบาจากการตัดเข้ากับปูนก่อ
Q-CON คนให้เข้ากันกับน้ำ แล้วนำไปป้ายอุดจุดที่ต้องซ่อม ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนฉาบ
- ราดน้ำที่ผนังก่อนฉาบให้ชุ่ม ประมาณ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับผนังก่อทั่วไป
- รอให้ผิวผนังดูดซับน้ำจนแห้งเล็กน้อย จึงเริ่มลงมือฉาบ
- หากมีรอยแตกบิ่นของผนังให้อุดซ่อมก่อนด้วยปูนซ่อม โดยผสมเศษผงคอนกรีตมวลเบาจากการตัดเข้ากับปูนก่อ
Q-CON คนให้เข้ากันกับน้ำ แล้วนำไปป้ายอุดจุดที่ต้องซ่อม ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนฉาบ
- ราดน้ำที่ผนังก่อนฉาบให้ชุ่ม ประมาณ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับผนังก่อทั่วไป
- รอให้ผิวผนังดูดซับน้ำจนแห้งเล็กน้อย จึงเริ่มลงมือฉาบ
- ความหนาปูนฉาบ 0.5 – 1.0 ซม. ให้ทำการฉาบเป็น 2 ชั้น ชั้นละประมาณ ครึ่งหนึ่งของความหนาทั้งหมด
- เมื่อฉาบชั้นแรก แล้วทิ้งไว้ให้ผิวหน้าแห้งหมาด บางส่วนจะเกิดรอยแตกเป็นปกติ จากการหดตัวของปูน ปูนที่ฉาบต้อง
ผสมไม่เหลวจนเกินไป เพราะจะทำให้เกินรอยย้อยตัวของปูน เสียเวลารอให้หมาดนาน และเป็นสาเหตุของการแตกร้าว
- ฉาบปูนชั้นที่สองให้ได้ความหนาที่ต้องการ ปาดหน้าให้เรียบแล้วทิ้งไว้ให้ผิวหน้าแห้งหมาดมาก ๆ
- ตีน้ำด้วยแปรงให้ทั่ว พอดีกับการปั่นหน้า กดเกรียงแรง ๆ แล้วขัดผิวหน้าให้เรียบก่อนลงฟอง
- การฉาบปูนโดยฉาบเป็นชั้นเดียวแล้วตีน้ำเลยนั้น ทำได้เฉพาะกรณีฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. เท่านั้น
- การฉาบปูนหนากว่า 2 ซม. ต้องแบ่งฉาบเป็นชั้น ๆ ละประมาณ 1 - 2 ซม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นปูน เพื่อป้องกัน
การแตกร้าวใน กรณีหนากว่า 4 ซม.
- เมื่อฉาบชั้นแรก แล้วทิ้งไว้ให้ผิวหน้าแห้งหมาด บางส่วนจะเกิดรอยแตกเป็นปกติ จากการหดตัวของปูน ปูนที่ฉาบต้อง
ผสมไม่เหลวจนเกินไป เพราะจะทำให้เกินรอยย้อยตัวของปูน เสียเวลารอให้หมาดนาน และเป็นสาเหตุของการแตกร้าว
- ฉาบปูนชั้นที่สองให้ได้ความหนาที่ต้องการ ปาดหน้าให้เรียบแล้วทิ้งไว้ให้ผิวหน้าแห้งหมาดมาก ๆ
- ตีน้ำด้วยแปรงให้ทั่ว พอดีกับการปั่นหน้า กดเกรียงแรง ๆ แล้วขัดผิวหน้าให้เรียบก่อนลงฟอง
- การฉาบปูนโดยฉาบเป็นชั้นเดียวแล้วตีน้ำเลยนั้น ทำได้เฉพาะกรณีฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. เท่านั้น
- การฉาบปูนหนากว่า 2 ซม. ต้องแบ่งฉาบเป็นชั้น ๆ ละประมาณ 1 - 2 ซม. และติดลวดตาข่ายระหว่างชั้นปูน เพื่อป้องกัน
การแตกร้าวใน กรณีหนากว่า 4 ซม.
หมายเหตุ
- ราคาสินค้าตามข้างต้น ใช้เฉพาะโครงการที่สั่งซื้อเงินสดตั้งแต่ 100 ตร.ม. ขึ้นไป
- ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - ใช้ราคานี้ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และ อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า - บริษัทมีทีมงานผู้ชำนาญ และวิศวกรให้คำปรึกษาแนะนำและสาธิต - ทับหลังสำเร็จฯใช้ในกรณีไม่ได้หล่อเอ็น คสล. รอบวงกบประตู-หน้าต่าง - ข้อมูลจาก http://www.superblockthailand.com/th/product_menu8.html
- ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม - ใช้ราคานี้ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และ อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า - บริษัทมีทีมงานผู้ชำนาญ และวิศวกรให้คำปรึกษาแนะนำและสาธิต - ทับหลังสำเร็จฯใช้ในกรณีไม่ได้หล่อเอ็น คสล. รอบวงกบประตู-หน้าต่าง - ข้อมูลจาก http://www.superblockthailand.com/th/product_menu8.html
ค่า OTTV
ค่า OTTV ของ ผนังก่ออิฐฉาบปูนอยู่ที่ประมาณ 30-45 วัตต์/ตรม. ที่ความหนา 10 ซม. ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ค่าตัวไหนป้อนลงในโปรแกรมคำนวณ มีหลายตัว ให้เลือกใช้ และ ขึ้นกับ ความหนาอิฐ+ปูนฉาบ ของคอนกรีตมวลเบาจะอยู่ที่ประมาณ 15 วัตต์/ตร.ม. ที่ความหนา 10 ซม.เช่นกัน
จะเห็นว่าค่าไม่เกินที่ทาง กม.กำหนดไว้ คือ 45 วัตต์/ตร.ม. สำหรับอาคารใหม่ และ 55 วัตต์/ตร.ม.สำหรับอาคารเก่า
อันนี้คือผนังเพียว ๆ ไม่มีช่องเปิดเลย ตัวที่จะทำให้เกินก็คือสัดส่วนของกระจก เพราะค่า OTTV เป็นค่าเฉลี่ยของความร้อนที่ผ่านเข้าผนังชนิดต่าง ๆของอาคารที่มีการปรับอากาศ หารด้วยพื้นที่ผนังรวม
อันนี้คือผนังเพียว ๆ ไม่มีช่องเปิดเลย ตัวที่จะทำให้เกินก็คือสัดส่วนของกระจก เพราะค่า OTTV เป็นค่าเฉลี่ยของความร้อนที่ผ่านเข้าผนังชนิดต่าง ๆของอาคารที่มีการปรับอากาศ หารด้วยพื้นที่ผนังรวม
ตัวอย่างเช่น กระจกใส หนา 5 มม.ที่ไม่มีอุปกรณ์บังแดด
ทิศเหนือมีค่า OTTV 137 วัตต์/ตร.ม. ทิศใต้มีค่า OTTV 200 วัตต์/ตร.ม.
ทิศตอ.มีค่า OTTV 201 วัตต์/ตร.ม. ทิศตต.มีค่า OTTV 188 วัตต์/ตร.ม.
ทิศตอ.มีค่า OTTV 201 วัตต์/ตร.ม. ทิศตต.มีค่า OTTV 188 วัตต์/ตร.ม.
ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกกระจกอะไรด้วย ถ้าเลือกใช้กระจกที่กันความร้อนได้มาก ค่า OTTV ก็จะลดลงและแน่นอนว่าราคาการก่อสร้างจะแพงขึ้น การเลือกใช้คอนกรีตมวลเบาแทนอิฐจะทำให้ความร้อนเข้าอาคารน้อยลง แอร์ทำงานน้อยลง และ ส่งผลถึง การ ประหยัด ค่าไฟฟ้า (ไม่พูดถึง ปัญหา ด้านเทคนิค ในการก่อสร้าง )
หรือ ในอีกแง่หนึ่ง ก็จะทำให้สามารถออกแบบอาคารให้มีสัดส่วนของกระจกได้มากกว่า การใช้อิฐ โดยยังอยู่ในขอบเขตที่ความร้อนจาก แสงอาทิตย์สามารถเข้าอาคารไม่เกินที่ กม.กำหนด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น