วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เพชร คุณค่าของมันและการประเมินราคา

เพชร คุณค่าของมันและการประเมินราคา

ผู้หญิงหลายคนชอบเพชร คนส่วนมากก็ชอบเพชร มีเงินซื้อเพชร แต่มีใครบ้างที่จะดูเพชรเป็นซื้อเป็นรวมถึงตีราคาเป็น ตามผมมาเลยครับ

เพชรและคุณสมบัติเฉพาะของเพชร

ความแข็ง 10
ความถ่วงจำเพาะ 3.52
ค่าดัชนีหักเห 2.417
การกระจายแสง .044
ความวาว เหมือนเพชร
สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion )
ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว)

ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร

องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ

1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )

มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนดมาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า

2. สี (Colour )
การจัดระดับสีทำได้โดยสังเกตุดูว่าสีของเพชรแปรเปลี่ยนไปจากความไม่มีสี ( Coloutless ) เพชรส่วนใหญ่จะมี สีเหลือง น้ำตาล เทา ปนอยู่เล็กน้อย ยกเว้นเพชรที่มีสีแฟนซี เช่น สีฟ้า ชมพู ม่วง แดง เพชรที่ไม่มีสีจัดเป็นเพชรที่มีค่าที่สุด

3. การเจียระไน ( Cut )
หมายถึง ส่วนสัดของเพชร ( Proportion ) และฝีมือการเจียระไน ( Finish) ซึ่งรวมถึงรูปร่าง ( Shape ) ว่าเจียระไนเป็นแบบเหลี่ยมเกสร ( Brilliant Cut ) เป็นแบบรูปมาร์คีส ( Marquise Cut ) หรือ เป็นแบบหลังเบี้ย ( Cabochon Cut ) เป็นต้น เพชรที่มีการเจียระไนได้ส่วนสัดตามมาตราฐานมีหน้าเหลี่ยมและมุมต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชา และมีฝีมือการเจียระไนที่ประณีตเรียบร้อยจะมีความสวยงามและมีการกระจายของแสงดี

การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion

การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป

การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อเจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น

4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
เพชรใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกะรัตในการคิดราคาซื้อขาย 1 กระรัตเท่ากับ 0.200 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยมาตราฐานในการคิดน้ำหนักพลอยอื่นด้วย หรือ 1 ใน 5 ของกรัม และใน 1 กะรัต ประกอบด้วย 100 จุด หรือ ในที่ในวงการนิยมเรียกว่าสตางค์ ดังนั้น 50 จุดหรือ 50 สตางค์ จะเท่ากับครึ่งกะรัตเพชรจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้น ตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคุณสมบัติ 4C ครบแล้วราคาจะยิ่งสูงมาก

วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ

ตรวจดูการกระจายแสงออก ( Dispersion ) โดยเปรียบเทียบกับเพชรเทียม
ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นเพชรร่วง
สังเกตุลักษณะขอบเพชร ซึ่งจะขัดไม่เรียบคงลักษณะ Waxy หรือ Granular ไว้บางครั้งอาจจะเห็นรอยแตกขนานของเพชรเป็นแบบขั้นบันได หรือ มีลักษณะของเส้นเหมือนหนวดอยู่ตามขอบของส่วนบนที่ติดกับขอบเพชร นอกจากนี้มีลักษณะตามธรรมชาติ เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตของผลึกหรือเกิดเป็นร่องขนานกันซึ่งเป็นผิวเดิมของผลึก
สังเกตุสีส่วนล่างของเพชรจะมีสีส้มและสีฟ้า
สังเกตุลักษณะมลทินส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหลี่ยม
สังเกตุลักษระรอยัด ( Polishing Mark ) ในเพชรจะมีหลายทิศทาง แต่ในเพชรเทียมจะไปในทิศทางเดียวกัน
การตรวจดูคุณภาพใช้ลักษระ 4C ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )

เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ

ราคาต่ำกว่าปกติมาก
มีการกระจายของแสงดีมาก น้ำสวย แวววาวเล่นสีสรรมากกว่าเพชรแท้จนผิดสังเกต
ความแข็งน้อยกว่าทับทิม ไพลิน เขียวส่อง ยกเว้นพวกแซปไฟร์สังเคราะห์ไร้สี บางชนิดอ่อนกว่าพลอยตระกูลควอรตซ์เสียอีกจึงทำให้เป็นรอยขีดข่วนและมัวเร็ว
ความถ่วงจำเพาะค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่าเพชร ดังนั้นเพชรเทียมที่มีน้ำหนักเท่ากับเพชร จะดูมีขนาดเล็กกว่าเพชร
การเจียระไนเหลี่ยมไม่ละเอียดเท่าเพชรแท้
สีบนส่วนล่างของเพชรเทียมเช่น Cubic Zirconia จะมีสีส้ม และ Yag จะมีสีน้ำเงินอมม่วง
ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide


การตรวจเพชร ต้องใช้ เครื่องวัดความแข็งวัด ส่วนเหลี่ยมของเพชรต้องใช้กล้องขยายขนาด 10 เท่าส่องดู

ก่อนอื่นให้จับปากคีบเพชร (Tweezer) ด้วยมือข้างที่เราถนัด โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ครับ ตามรูปซ้ายสุดด้านบน ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมืออีกข้างจับกล้องขยายสิบเท่า โดยให้กางนิ้วกลางออกมาครับ ตามภาพกลางด้านบน แล้วให้นำปากคีบเพชร วางลงบนนิ้วกลาง จากนั้นให้มองผ่านกล้อง โดยเปิดสองตา (ถ้าเปิดตาข้างเดียว มองนานๆจะปวดตาครับ) ขยับกล้องเข้าออก จนภาพที่เห็นผ่านกล้องคมชัด ตามรูปบนด้านขวาสุด ต้องพยายามให้มือนิ่งๆ นะครับ ให้ยึดมือที่ถือปากคีบที่คีบเพชรไว้ให้นิ่ง ขยับเฉพาะอีกมือที่ถือกล้องเข้าออก หลังจากพอจะใช้กล้องส่องเพชร (loupe) ได้แล้วเรามาลองดูวิธีการเทียบสีเพชรครับ



ขอบเพชรมีผลค่อนข้างมากต่อความสวยงามของเพชรโดยรวม ขอบเพชรที่ดีควรอยุ่ระหว่าง บาง ถึงหนาเล็กน้อย thin-slightly thick ถ้าขอบเพชรบางเกินไป (Very thin) จะเปราะและอาจบิ่นง่ายครับ ถ้าขอบเพชรหนาไป (thick, very thick) น้ำหนักเพชรจะไปอยู่ที่ขอบซะเยอะ ทำให้เพชรหน้าแคบกว่าที่ควรครับ เช่น เพชรขนาด 50 ตังค์ อาจดูเหมือน 40ตังค์
- บางมาก (very thin) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นเป็นเส้นบางๆ มองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยเห็น
- บาง (Thin) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นเป็นเส้นบาง มองด้วยตาเปล่า เห็นได้ยาก
- ปานกลาง (Medium) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นเป็นเส้น มองด้วยตาเปล่า เห็นเป็นเส้นบางๆ
- ค่อนข้างหนา (Slightly thick) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นได้ชัดเจน และสามารถเห็นชัดด้วยตาเปล่า
- หนา (Thick) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นได้ชัดมาก และสามารถเห็นชัดด้วยตาเปล่า
- หนามาก (Very Thick) - เมื่อมองผ่านกล้องขยาย 10 เท่า จะเห็นขอบหนามาก และสามารถเห็นชัดเจนมากด้วยตาเปล่า


การประเมินความสะอาดต้องดูภายใต้กล้องขยาย 10 เท่านะครับ โดยต้องใช้โคม daylight ช่วยส่องสว่าง กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นฝุ่น หรือมลทินที่อยู่ในเพชร ให้สังเกตว่าอยู่บริเวณผิว หรืออยู่ในเนื้อเพชร และให้ใช้ผ้าเช็ดดูนะครับ เมื่อเช็ดแล้ว ถ้าเป็นฝุ่นก็จะหลุดออก ถ้ายังเห็นก็น่าจะเป็นมลทินในเนื้อเพชร เวลาส่องดูให้พลิกเพชรมองดูหลายๆมุมนะครับ บางครั้งมุมนึงอาจมองไม่เห็น แต่พอมองอีกมุมกลับเห็นครับ
•กรณีที่ส่องดูจนทั่วใช้เวลากว่านาทีแล้วยังไม่พบอะไร เพชรเม็ดนั้นน่าจะเป็น IF (Internal Flawless)
•กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ ครึ่งนาที หรือมากกว่า(ขึ้นอยู่กับความชำนาญด้วยครับ) ถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมากมาก ลักษณะคล้ายรูเข็ม (pinpoint) หรือผลึกขนาดเล็กมากๆ เหมือนรูปด้านบนซ้ายมือสุด ในวงกลมสีแดง สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ VVS (Very Very Small Included)
•กรณีที่ต้องใช้เวลาค้นหา นานประมาณ 10 วินาที หรือมากกว่าถึงจะพบตำหนิขนาดเล็กมาก ซึ่งมีขนาดใหญ่และจำนวนมากกว่าความสะอาด VVS ตามรูปกลางครับ สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ VS (Very Small Included) สำหรับเพชรความสะอาดระดับ VS มลทินหรือตำหนิจะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถเห็นได้ด้วย ตาเปล่า และไม่ขัดขวางการเดินทางของแสง จึงไม่มีผลใดๆต่อความสวยงามของเพชรครับ
•กรณีที่ส่องกล้องแล้วเห็นตำหนิทันที โดยไม่ต้องค้นหา และตำหนิขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดใหญ่และจำนวนมากกว่าความสะอาด VS ตามรูปขวาครับ สรุปได้ว่าเพชรเม็ดนั้น มีความสะอาดระดับ SI (Small Included) สำหรับความสะอาดระดับ SI ถ้ามลทินมีขนาดใหญ่ หรือมีสี หรืออยู่กลางหน้าเพชร อาจขัดขวางการเดินทางของแสงและมีผลต่อความสวยงามของเพชรโดยรวมครับ
•กรณีที่สามารถมองเห็นตำหนิด้วยตาเปล่า เพชรเม็ดนั้นมีความสะอาดระดับ I (Imperfect) ตำหนิมีขนาดใหญ่ มีผลต่อความสวยงามและความคงทนของเพชรครับ แนะนำให้หลีกเลี่ยงทุกกรณี




วิธีแรกคือการประเมินสี โดยที่มีเพชรต้นแบบ (master stone กรณีนี้ยกตัวอย่างว่าสีต้นแบบเป็นสี G น้ำ 97) ไว้เปรียบเทียบ ให้วางเพชรต้นแบบและ เพชรที่ต้องการเทียบสี คว่ำลงครับ โดยให้มองที่ก้นเพชรเฉียงๆ มุม 45 องศา โดยให้วางเพชรต้นแบบ ไว้ตรงกลาง และให้วางเพชรที่ต้องการเทียบไว้ทางซ้าย สังเกตว่าสีอ่อนกว่า (ขาวกว่า) หรือเข้มกว่า (เหลืองกว่า) เสร็จแล้วให้เปลี่ยนเพชรที่ต้องการเทียบมาไว้ด้านขวาและเปรียบเทียบอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยง master eye effect (การประเมินสีต้องดูเพชรภายใต้แสงอาทิตย์ หรือแสงสีขาว (Daylight)
•ถ้าผลสรุปว่า วางด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงสีเข้มกว่า สรุปได้ว่าเพชรที่นำมาเทียบสีเดียวกันกับเพชรต้นแบบ คือ น้ำ 97
•ถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 96
•ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านเท่ากัน สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบ 1 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 98
•ถ้าด้านนึงอ่อนกว่า อีกด้านนึงก็อ่อนกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีสูงกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำ 99 ขึ้นไป
และถ้าด้านนึงเข้มกว่า อีกด้านนึงก็เข้มกว่า สรุปว่าเพชรที่นำมาเทียบสีต่ำกว่าเพชรต้นแบบอย่างน้อย 2 ขั้น กรณีนี้คือ เพชรเม็ดนี้น้ำต่ำกว่าหรือเท่ากับ 95 ลงมา

สำหรับสาวๆ แล้ว หากให้เลือกเครื่องประดับชิ้นงามสักชิ้น คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ที่จะเลือก “เพชร” เพราะเป็นอัญมณีที่สาวๆ ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะครอบครอง และหากมีโอกาสได้เลือกเพชรเป็นเครื่องประดับสักชิ้น สิ่งที่สาวๆ ควรพิจารณา คือ การเลือกรูปทรงที่เหมาะสมกับบุคลิกของตนเอง...เราลองมาสำรวจกันสักนิดซิว่า เพชรในแต่ละรูปทรง บ่งบอกและสะท้อนบุคลิกสาวๆ อย่างไรกันบ้าง

• เพชรทรงกลม: ด้วยความที่เป็นเพชรรูปทรงคลาสสิก จึงเป็นที่นิยมของผู้หญิงจำนวนมาก ซึ่งเพชรทรงกลมนี้ สื่อถึงความโรแมนติก และความสื่อสัตย์
• เพชรเหลี่ยม: เพชรแห่งความหรูหรา ทำให้ผู้ที่ประดับกายด้วยเพชรรูปทรงนี้ ดูดี มีเสน่ห์ดึงดูดใจ แลดูเป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีความเป็นผู้นำ กล้าได้กล้าเสีย
• เพชรเหลี่ยมมรกต: เพชรที่สวยงามตลอดกาล สื่อถึงความสงบ สง่างาม สมกับเป็นผู้ดี มีใจกว้างขวาง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
• เพชรรูปไข่: รูปทรงไข่ สื่อถึงความเป็นผู้หญิง เป็นที่รักของเด็กๆ มีความมั่นคง ซื่อสัตย์ และสาวที่ช่างคิดสร้างสรรค์
• เพชรรูปหยดน้ำ: บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงที่แข้มแข็ง มีความมั่นใจ แฝงไปด้วยเสน่ห์ และโรแมนติก ในทางตรงกันข้าม เธออาจจะเป็นสาวเจ้าน้ำตา ขี้สงสาร ได้ในบางครั้ง
• เพชรรูปหัวใจ: “หัวใจ” สัญลักษณ์ ของ ความรักแท้ หวานโรแมนติค
• เพชรมาควิซ(มาคี): บ่งบอกถึงความมั่งคั่ง เลิศ หรูหรา สง่างาม

เมื่อรู้ความหมายที่สะท้อนผ่านรูปทรงต่างๆ ของเพชรกันแล้ว หากใครนึกอยากจะหาเพชรและอัญมณีมาเสริมบุคลิก และสะท้อนความเป็นตัวคุณแล้วล่ะก็ หามาสวมใส่กันได้เลย




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น