ลักษณะการจ่อไมค์กลองชุด
รวมทั้งในส่วนของ Mixer นั้น ในกรณีที่ต้องการซาวด์ที่ดีมาก จะมีอุปกรณ์ที่ใช้คัดหรือตัดสัญญาณที่เราไม่ต้องการ สังเกตได้หาก ตั้งค่าสัญญาณให้สูงมาก เวลาเหยียบกระเดื่องจะไม่มีเสียงออกมาจากลำโพง
ส่วนการตั้งไมค์ ให้ระวังแรงอัดของลมที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดซาวด์ที่เราไม่ต้องการ ตำแหน่งการวางสามารถวางได้สองตำแหน่งคือ ด้านในของกลองเลย (แบบลูกทุ่งหน่อย) แต่ต้องระวังเรื่องลมที่ได้บอกไปแล้ว อีกวิธีคือจ่อที่หนังหน้าของกลองเบสดรัมบริเวณเฉียง กับส่วนที่ลมออก เพราะว่าถ้าจ่อตรง ๆ จะมีเสียงลมเกิดขึ้นได้
ส่วนการล่อไมโครโฟนที่กลองอื่น ๆ นั้นก็แล้วแต่ชุดกลองที่จัดขึ้นมา จ่อที่หนังด้านหน้าปกติ ไม่ตรงถึงขนาดตั้งฉาก และก็ไม่ถึง
ขนาน ประมาณ 45 องศา ตามประสบการณ์แล้วน่าจะดีที่สุด
ส่วนการล่อไมค์สำหรับเครื่องทองเหลือง เรียกว่า Overhead ถ้ากับชุดกลองมาตรฐานเล่นกลางแจ้งจำเป็นที่จะต้องมี หากเป็นการ เล่นภายใน Indoor อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ อาจจะทดแทนด้วยการใช้ Crash ขนาดใหญ่ เช่น 16 หรือ 18 แทนที่จะเป็น 14 กับ 16 นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่สถานที่ ส่วนตำแหน่งนั้น ก็ให้เล็งไปที่ Crash ทั้งสองข้าง บริเวณ Bell ของ Crash แล้วยกสูงขึ้น
ประมาณ 60- 120 เซนติเมตร แล้วแต่ว่าใช้ฉาบมากน้อยเท่าใด หากใช้ฉาบมากก็ต้องยกให้สูงเพื่อให้มุมสำหรับรับเสียง (Solid Angle) นั้น สามารถรับได้ทั้ง Crash หลาย ๆ ใบรวมถึง China และ Ride ได้อย่างทั่วถึง
ส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือ ส่วนที่เป็นไมค์จ่อสแนร์ ในกรณีที่มีไมค์ไม่พอ บางท่านจะใช้ไมค์จ่อสแนร์ร่วมกับ Hihat แต่ผมคิดว่า
น่าจะไม่เหมาะเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นคนละย่านความถี่ ในกรณีที่ไมค์จ่อสแนร์ไม่ดี เสียง Hihat จะดังเกินไป เพราะปกติเสียงมัน เองก็ดังอยู่แล้ว ถ้าไมค์ไม่ดี เสียง Hihat จะวิ่งไปเข้าไมค์สแนร์ และ/หรือวิ่งเข้าไมค์ Overhead ทำให้เสียงไฮแฮทดังเกิน และมี ลักษณะ delay เพราะว่าเข้าไมค์หลายตัว ส่วนรุ่นไมค์นั้น ลองขอคำแนะนำจากร้านที่จำหน่ายอุปกรณ์บันทึกเสียงก็ได้ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น