วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีเลือกจุดตัดความถี่ของครอสโอเวอร์

วิธีเลือกจุดตัดความถี่ของครอสโอเวอร์

ชุดเครื่องเสียง ที่สามารถ ถ่ายทอด  เสียงเพลงที่ สามารถถ่ายทอดความสมจริงและเป็็นธรรมชาติ  ที่จะสะกดผู้ฟังได้ คงจะหนีไม่พัน ระบบเสียงที่มีตู้ลำโพงซับอย่างแน่นอน ในระบบเสียงทุกวันนี้ตู้ซับคือส่วนเติมเต็ม ในช่วงของความมีมิติและบรรยากาศ ของเสียงดนตรีหรือการแสดงดนตรี ชนิดที่ว่าขาดไม่ได้ โดยส่วนใหญ่ตู้ลำโพงซับก็จะออกแบบให้ตอบสนองความถี่ต่ำ คลอบคลุมความถี่ ตั้งแต่20-200hz ซึ่งก็มีอยู่หลายแบบหลายสูตรให้เลือกใช้งาน 
ซึ่งเป็นความถี่ที่เราสามารถเลือกจุดตัด ที่ครอสโอเวอร์เพื่อแบ่งการทำงานระหว่างลำโพง mid hi และซับวูฟเฟอร์ ให้สอดคล้องกันที่สุด หลายคนชอบถาม ว่า ตัดความถี่เท่าไหร่ดี เสียงถึงจะดี หรือบางคนฟันธงว่าตรงนั้นตรงนี้ดี แต่ทำไมเราฟังแล้วมันไม่จุกอก ขออีกนิดหน่อยได้ไหม นานาจิตตัง มาวันนี้ผมจะมาให้แนวคิดกับทุกคนครับหวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการรเลือกจุดตัดความถี่ในการใช้งาน แสดงบนเวทีแบบต่างต่าง และการวางลำโพงซับแบบที่หลายท่านอาจยังไม่เคยเห็น มาดูกันครับ
    ดอกลำโพงซับก็มีให้เลือกอยู่หลายแบบในบ้านเราครับ ตั้งแต่ 10 นิ้ว 15 18 21  นิ้ว แล้วแต่การใช้งานในลักษะต่างต่าง ยิ่งดอกใหญ่ยิ่งลงความถี่ต่ำได้ลึกกว่า แต่ขนาดที่นิยมในระบบเสียงกลางแจ้งก็คือขนาด 18 นิ้ว ส่วนใหญ่ใช้งานทั่วไปจุดตัดความถี่ก็จะอยู่ในช่วง 20-200hz สำหรับการฟังเพลงทั่วไป แล้วแต่สไตล์และความชอบของผู้ควบคุมระบบขณะนั้น 
แต่ในงานแสดงดนตรีสด ที่มีะบบไมค์โครโฟนหลายตัวบนเวทีสำหรับถ่ายทอดเสียงจากเครื่องดนตรีต่างต่าง จะปรับจุดตัดที่100hz ลงไป แต่สำหรับโฮมเธียเตอร์จุดตัด อยู่ ที่80 hz ลงมา เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในการกระจายเสียง กับลำโพง midhi อย่างสมดุล ไม่คลุมคลือ สอดคล้องและมีมิติ 
ในข้างต้น ตู้ลำโพง ดอกลำโพงทุกอย่างมีส่วนในการถ่ายทอดเสียงย่านคามถี่ำต่ำ ปริมาตร การออกแบบ ตัวตู้ต้องแข็งแรงไม่รั่ว ทนต่อแรงอัดภายใน ไม่กระพือ สิ่งต่างต่างเหล่านี้มีผลโดยตรงในการลดค่าเรโซแนนซ์ ที่เกิดจากตัวตู้ ที่จะมาหักล้างทางเฟส กับเสียงจริงที่ออกจากตัวตู้ ไม้จึงเป็นวัสดุที่นิยมมากสำหรับการทำตู้ sub 
ในบ้านเราก็จะนิยมใช้ตู้ sub หลายแบบแต่แบ่งได้เป็น2 แบบหลักหลักเลยคือ แบบหนึ่งตู้มีดอกเดียว และ หลายดอก ในตู้เดียง เป็นความจริงที่ตู้ลาโปพงที่มีหลายดอกในตู้เดียว เสียงเบสจะลงได้ลึกกว่าเดิม ติต่าง ว่าดอกลำโพงแบบเดียว กัน 12 นิ้ว ลงต่ำสุดได้ 40 hz แต่ถ้าดอกแบบเดียวกัน ตู้เดียวที่มีดอก 12นิ้ว 4 ดอกจะลงได้ต่ำกว่าถึง 30 hz อีกทั้งความดังโดยรวม ก็ดังกว่าตามลำดับ
สำหรับขนาดตู้ที่นิยมใช้ในแบบต่างต่าง ก็จะออกแบบให้รองรับการใช้งานได้ ตามลักษะของงานนั้นนั้น
แต่สำหรับผู้เริ่มต้นในงานระบบเสียง pa ก็จะนิยมเลือกใช้ ขนาด18 นิ้วเป็นหลัก ซึ่งเป็นขนาดที่พอเพียงในการกระจายเสียงความถี่ต่ำ ในระบบเสีบงกลางแจ้ง และเหมาะสำหรับการจัดระบบเสียง รองรับช่วงควาถี่ได้กว้าง เสียงใหญ่หนา และมีแรงปะทะ ใช้งานในขนาดงานหรือการแสดง ที่มีผู้คนเป็จำนวนมากได้เป็นอย่างดี 
ในตอนนี้ตู้ซับมีให้เลือกทั้งแบบมีแอมป์ฺและไม่มีแอมป์ในตัว
แบบมีแอมป์ในตัวเรียกว่าแบบแอคทีฟ บางรุ่นก็จะมีทั้งครอสโอเวอร์ เบสบูส แม้กระทั่ง limiter ในตัว ต่อสายสัญญาณ เสียบปลั๊กก็ใช้ได้เลย ตูแบบนี้เหมาะกับงานขนาดกลาง งานในสถานที่ หรือกึ่งสถานที่เช่นหน้าห้าง งานเปิดตัว เล็กเล็ก คาราโอเกะในโรงแรม ตู้พวกนี้ดอกลำโพงด้านในมักเป็นดอก4 โอมห์ และเป็นตู้หน้าเปิดเพราะจะไม่กินวัตต์และสามารถทำซาวด์ได้ง่าย แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในสถานที่เปิดโล่ง คอนเสริท์ที่มีผู้คนจำนวนมาก จะได้ความดังของเสียงที่ไม่พอกับการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบที่มีข้อจำกัดนั่นเอง แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องใช้จำนวนมาก และไม่สบายเงินในกระเป๋าแน่นอน ส่วนแบบที่ไม่แอมป์ในตัว หรือแบบพาสซีฟ  นี้จะนิยมใช้กันมาในงานที่
มีลักษะงานที่อยู่ในที่เปิดโล่ง ลำโพงแบบนี้ครอสโอเวอร์ ภาคขยาย ลิมิเตอร์ จะอยู่ด้านนอกหมด ข้อดีก็คือ ลำโพงแบบนี้ได้เปรียบในส่วนของความดังอย่างล้นเหลือ เมื่อเทียบกับแบบที่มีแอมป์อยู่ในตัว เพราะผู้ใช้สามมารถ กำหนดอัตราการขยายเสียงได้จากกำลังของแอมป์ขยายเสียงที่เเอามาใช้งานร่วมกัน จึงทำให้สามารถทำงานใด้ดีกว่าในสถานที่ที่เปิดโล่งได้อย่างลงตัว แต่ถ้าเป็นตู้เสียงกลางแขวนแบบไลน์อาเรย์ อันนี้ขอยกเว้นนะครับ ตอนนี้ก็จะนิยมแบบ แอคทีฟ หรือมีแอมป์ในตัวเลยเพราะง่ายต่อการติดตั้งและสามารถติดตั้งภาคขยายที่เพียงพอกับการใช้งานในตู้ได้ เนื่องจากลำโพงเล็กกลางแหลมไม่ค่อยกินวัตต์ ชุดภาคขยายก็เลยเล็กตาม ก็ติดตั้งเข้าไปได้สบายครับ
แนวทางการปรับจุด ตัดความถี่ ของตู้ซับ ให้สอดคล้องสเมือนจริง กับ ตู้ กลาง และแหลม มีผลต่อคุณภาพเสียงที่ออกมา มีแนวทางในการพิจราณา ประกอบด้วย สถานที่ ตำแหน่งระยะความดเหลื่อมของระนาบ ระหว่างตู้เบสและตู้กลางแหลม ความชัดเจน ความดังของเสียง ขนาดงาน ความเหมาะสมของระดับเสียงของงานนั้นนั้น ความสามารถของการตอบสนองความถี่ อาการและความคงทนของดอกลำโพง จำนวนตู้ที่จะต้ิองใช้ให้พอดีกับงานจัดเซ็ตไปไม่ให่ตู้ลำโพงทำงานหนักเกินไป โดยใช้จำนวนตู้ที่ มากหน่อยเผื่อไว้
จุดตัดความถี่ ที่เหมาะสมขึ้นอยูกับลักษะการใช้งาน ระหว่างลำโพงซับและกลางแหลม เมื่อใช้งานร่วมกันแล้วทั้งระบบสามารถ ตอบสนองทุกย่านความถี่เสียงได้ครบ ตั้งแต่ต่ำถึงสูง อย่างครบถ้วนไม่มีช่วงความถี่ที่ล้นออกมา เสียงต้องครบเสียง สมดุล และเป็นกลางที่สุด ครบถ้วนตามธรรมชาติ เสียงจะมาจากแหล่งใดก็ตามเสียงที่ขยายออกลำโพงจะต้องเหมือนเสียงจริง จะแตกต่างได้ก็คือความดังเท่านั้นเพราะเสียงจากแหล่งกำเนิดถูกขยายสู่ลำโพง ต้องไม่โด่งในบางความถี่ การปรัจุดตัดคือการกำหนดค่าการทำงานระหว่างลำโพง ซับวูฟเฟอร์ และลำโพงเสียงกลางแหลม การกำหนดค่าเริ่มต้น ของจุดตัดแบ่งความถี่ให้ดูได้จาก สเป็คของตู้ลำโพงกลางแหลม ที่มากับตัวตู้ สมมุติว่าลำโพงกลางแหลมนี้สามารถตอบสนองความถี่ที่ 12k-80้hz ก็ใช้ค่าตอบสนองความถี่ต่ำสุดของลำโพงกลางแหลมเป็นค่าเริ่มต้น 
ตำแหน่งตรง 80 hz ลงไปคือช่วงการทำงานของตู้ซับวูฟเฟอร์ เลยจาก 80 hz -12k อันนี้คือช่วงที่ลำโพงกลางแหลมจะทำงาน ส่วนตู้เสียงกลางที่ประกอบเองหรือไม่ทราบสเป็คที่แน่ชัดก็ใช้ค่าจุดตัดตรงนี้เป็นค่าเริ่มต้นได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ ดอกลำโพงเสียงกลางก็สามารถลงได้ต่ำถึง 80 hz ได้อยู่แล้วไม่ต้องกังวลครับผู้ใช้ก็สามารถ ปรับเปลี่ยนจุดตัดขึ้นลงได้นิดหน่อย แต่ในงานแสดงดนตรีสดถ้าเป็นไปได้แนะนำจุดตัดให้อยู่ ระหว่าง 80hz ไม่เกิน 100hz นะครับ ถ้าจุดตัดเกิน นี้ จะเกิด การทับซ้อนการทำงานของลำโพงชุดกลางแหลมและลำโพง ซัฟวูฟเฟอร์ ทำให้เกิดเสียงโด่งในช่วงความถี่ที่ทับซ้อน หรือ อาการที่เรียกว่า คัลเลอร์ หรือการล่วงล้ำขอบเขตการทำงานของตู้ กลางแหลม ความถี่ที่เป็จุดตัดแบ่งการทำงานควรให้อยู่ระหว่าง 80hz บวกได้นิดหน่อย ตรงนี้ใช้หูฟังตามความเหมาะสมและดูได้จาก การเดินฟังสังเกตุ และลงมือทำซาวด์ไมค์ ที่ใช้จับเสียง ของเครื่องดนตรีแต่ละช่องดูถ้ามีอาการ คัลเลอร์ หรือล้นบางความถี่ อยู่ก็อาจปรับลดจุดตัดนิดหนึ่ง แต่ถ้าเสียงออกบางไปก็บวกได้นิดหน่อย ตามสถานที่ตำแหน่งการวาง และสภาวะแวดล้อมขณะนั้น
ถ้าจุดตัดความถี่สูงไป จะเห็นอาการของไมค์โครโฟนที่ใช้จ่อเครื่องดนตรีบนเวที ความถี่ทับซ้อนนี้ จะทำให้สภาพแลดล้อมทางเสียง ล้น บนเวทีการแสดง จะเป็นปัญหาที่จะทำให้ระบบไมค์บนเวที่ หอนระนาว นักร้องไม่ได้ยิน
โมนิเตอร์ ทำให้การปรับแต่งซาวด์ที่ใช้ไมค์จ่อเครื่องดนตรีชิ้นต่างต่างได้ยากจนต้องเอาบางความถี่ที่ต้องการออกจากแชแนบมิกนั้นนั้นและจะทำให้สภาเสียงที่ออกมาไม่สมจริง 
หลายคนอาจมองว่า การตัดความถี่ที 80 hz ฟังเเล้วเหมือนเสียงมันไม่พุ่ง ตัด ร้อยกว่า มัน แน่นดี จุกอก ว่างั้น สำหรับการปรับจุดตัดที่ 120-140 นั้นในการใช้งานถ้าเป็นงานแบบคาราโอเกะ อิเลคโทน งานรถแห่ หรือเปิดเพลงที่ได้ทำการบันทึกมาเรียบร้อยแล้ว หรืองานที่ไม่มีไมค์โครโฟนเข้ามาเกียวข้องมากนักอันนี้ทำได้ครับ แต่งานแสดงสดไม้ได้ครับเพราะมันจะเกิดการ ambain บนเวที ตรงความถี่ที่ทับซ้อนเข้ามากวนระบบไมค์บนเวที อธิบายง่ายง่ายคือซาวด์บนเวทีเบสจะลันมากจนไมค์หอนเนื่องจากต้องใช้ไมค์หลายตัวในการแสดงสด
  ฝากนิดหนึ่งครับอย่ามองข้าม จงให้ความสำคัญกับแอมป์ที่เอามาขับเสียงกลางด้วยนะครับ
 เพราะทุกวันนี้แอมป์ขับเสียงกลางแหลมก็ทำงานหนักไม่แพ้เบสเลย ยิ่งปรับจุดตัดที่80hz 
เพราะต้องขับทั้งทวีตเตอร์
และลำโพงเสียงกลางอีกกรณีเล่นสองทางยิ่งหนักไปใหญ่ ถ้า สามทางก็ดีมาหน่อย
 ตรงนี้ควรเน้นมามากเลยนะครับ อีกทั้งถ้าแอมป์กลางแหลมไม่พอเสียงมันจะฟ้องให้เห็นชัดเลยครับเสียงมันจะออกบี้บี้ปลายแผ่ว หน้าลำโพงไม่นิ่ง ส่วนเบสถ้าไม่พอยังออกคลุมเครือ พอถูไถได้
เวลาปรับจุดตัดที่ ร้อยกว่า กับ ปรับที่ แปดสิบ เวลาอยู่หน้าตู้ เหมือนว่า ตัดที่ ร้อยกว่าดังดีแน่น กว่าปรับที่แปดสิบ จริง แล้ว ความจริงคือ ความถี่ที่ 80 hz จะมีช่วงความถี่ที่ มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่า ถ้าวัดระยะก็ ประมาณ 4.3 เมตร ดังนั้นเวลาอยู่หน้าตู้เสียงเลยเหมือนไม่ออก แต่เวลาปรับจุดตัดที่ 120-140 หน้าตู้แน่น แถมฟุ้งออกข้างเป็นของแถมเนื่องจากความแตกต่างของ ความยาวคลื่นนความถี่นั่นเอง มันเลยพังหน้าตู้แล้วดังดี หรือบางคนมีต้องตัดร้อยกว่าเพราะแอมป์ขับเสียงกลางขับออกมาไม่อิ่มเสียงพร่า เลยจำเป็นตัองปรับจุดตัดค่อนข้างสูงให้เสียงกลางแหลมทำงานน้อยลง เพื่อแก้ปัญหา เสริมอีกนิดครับ ถ้้าตัดที่ 80้hz ก็จะมีส่วนช่วยให้เสียงเบส ที่จะเข้ามากวนระบบไมค์ มอนิเตอร์ และการแสดง บนเวที น้อยลง ความยาวของคลื่นควาถี่นี้ เสียงเบสจะ ออกห่างเลยเวทีไปอีกตามกฏของความยาวคลื่น และเป็นความจริงที่คัทตรง 80hz เสียงจะเดินทางได้ไกลกว่าแน่นอน เสียงเคลีย์กว่า ถ้าแอมป์ขับเสียงกลางแรงเหลือเหลือจุดตัดตรงนี้มิดเบสจะดีมากและมีความเป็นดนตรีกว่า น่าฟังกว่า สมาชิกจะหลงไหลในรสชาติของความครบถ้วนของดนตรี ได้ยินเนื้อร้องชัดกว่าเก่า จัดซาวด์ได้ง่ายกว่า ซาวด์กระเดื่องจะเคลีย์กว่า ทำให้มีช่องว่างให้ได้ยินเสียงกีตาร์เบส กับกระเดื่องไปด้วยกันตามตัวโน๊ตอย่างชัดเจน คนฟังก็สบายหูครับ แน่นอน เพราะในอากาศมีช่องว่าให้แตละความถี่ไปได้อย่างราบรื่นตามหน้าที่ของลำโพงแต่ละเสียงไม่ทับซ้อนแย่งกันดังในบางความถี่ ตัดที่80Hz ยืนห่างหน้าตู้หน่อยแล้วลองฟังดูครับ เสียงมันจะดีเมื่อยืนห่างตู้หน่อยหนึ่ง เพราะค่าความยาวคลื่นที่ได้บอกไปข้างต้น ง่ายง่ายยกตัวอย่างเหมือนตู้ดับบริวไง หน้าตู้ไม่เท่าไหร่ ออกห่างหน่อยกลับดี ลองดูครับ การปรับจุดตัดตรงนี้ทั้งนี้ทั้งนั้น สำคัญที่สุดคือรูปแบบของงาน ถ้าเน้นดัง งานแห่ ยกใส่รถเปิดเพลง ตัดจุดตัดสูงได้ครับ เน้นแน่นหน้ารถ เต้นกระจาย อารมณ์แบบกระแทก ดูความพอใจของผู้จ้างงาน และ ตำแหน่งของคนฟัง อีกทั้งบริมาณอัตราส่วนจำนวนตู้ ของลำโพงกลางแหลม กับลำโพงซับ และขนาด ของดอกลำโพงเสียงกลาง ทั้งนี้ทั้งนั้นการฟังเสียงที่ถูกต้องคือผู้ที่สนใจต้องมีประสบการณ์จากการที่เคยได้ยินเสียงที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจัดระบบเสียงที่ถูกต้อง และสามารถ เข้าใจในความต้องการของศิลปิน 
สื่อสารด้วยหลักความถูกต้อง อย่าหลงไหลในเสียงใดเสียงหนึ่ง อย่าเน้นดัง ครับเสียง เน้นชัด ถ้าซาวด์เป็นระเบียบ  ดังชัดเจน ไม่ต้องเปิดดังก็สนุกครับ ฟังได้นาน แต่ถ้าเสียงที่ออกมาล้น เกินไม่ป็นธรรมชาติ  ยิ่งเร่งยิ่งมั่วครับ ที่สำคัญปัจจัยทุกอย่างต้องทำให้เราปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น ถ้ามีปัญหาควรแก้ไขหรือตกลงกันก่อนด้วยเหตุผลก่อนที่งานจะเริ่มครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น