ขั้วต่อสาย Coaxial แบบต่าง ๆ
ขั้วต่อสายแบบ BNC
BNC (Bayonet Neill Concelman) Bayonet แปลว่า เขี้ยว หรือสลักขั้วต่อแบบ BNC เป็นที่นิยมใช้สำหรับ สัญญาณ RF ,วีดีโอ,ขั้วต่อสายอากาศ ,เครื่องมือทดลองต่าง ๆ และอื่น ๆนำมาใช้ทดแทนขั้วแต่แบบ RCA ขั้วต่อ BNC มี่ทั้งแบบ 75 และ 50 โอห์ม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในความถี่ได้สูงสุดถึง 4 GHz
แบบ | impedance | ความถี่สูงสุด | RF Peak | Peak Power | ราคา | รูป |
UHF | 50 | 300 MHz | 500 โวลต์ | 500 วัตต์ | ถูก | |
BNC | 50 หรือ 75 | 4 GHz | 1000 โวลต์ | 500 วัตต์ | ถูก | |
TNC | 50 | 10 GHz | 1000 โวลต์ | 1000 วัตต์ | ปานกลาง | |
N | 50 หรือ 75 | 11 GHz | 1000 โวลต์ | 1000 วัตต์ | ปานกลาง | |
C | 50 | 11 GHz | 1500 โวลต์ | - | - | |
SMA | 50 | 18 GHz | 1000 โวลต์ | 500 วัตต์ | ปานกลาง | |
F | 75 | 1 GHz | - | - | ถูก |
ขั้วต่อสายแบบ TNC
TNC (threaded Neill-Concelman) ดัดแปลงมาจาก ขั้วต่อแบบ BNC โดยเพิ่มเกลียวเข้าไป โดยมีค่า impedance เท่ากับ 50 โอห์ม สามารถใช้งานที่ความถี่สูงถึง 10 GHz คุณสมบัติดีกว่าขั้วต่อแบบ BNC ที่ย่านความถี่ไมโครเวพ ขั้วต่อ TNC สามารถนำไปใช้งานงานวิทยุได้อย่างกว้างขวางขั้วต่อสายแบบ UHF
ขั้วต่อ UHF ถูกนำมาใช้ในตอนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนำมาใช้ที่ความถี่สูงกว่า 30 MHz ในครั้งแรกใช้สำหรับเป็นขั้วต่อ วีดีโอ ในระบบเรดาห์ หลังจากนั้นได้นำมาใช้งาน RF ทั่วไป ขั้วต่อ UHF ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในย่าน HF และ VHF สามารถรองรับกำลังงานได้ถึง 1 กิโลวัตต์ แต่ขั้วต่อแบบนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในย่าน UHF หรือความถี่ที่สูงกว่าา 300 MHz ได้ (ชื่อ UHF จึงเป็นแค่ชื่อเรียกเท่านั้น)ขั้วต่อ UHF จะมีชื่อเรียกย่อยลงไปอีกคือ ถ้าเป็นตัวผู้จะเรียกว่า PL-259 (PL = Plug) ส่วนตัวเมียจะเรียกว่า SO-239 (SO = Socket)
PL-259
SO-239
ขั้วต่อสายแบบ N
ชื่อของขั้วต่อแบบนี้มาจากชื่อของผู้ประดิษฐ์ ซึ่งก็คือ Paul Neill เมื่อปี 1940 ขั้วต่อแบบ N จะมีทั้งแบบ 50 และ 75 โอห์ม แบบ 50 โอห์มจะนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สาย เช่น wireless LAN เป็นต้น ส่วนแบบ 75 โอห์มจะนิยมใช้ในวงการเคเบิ้ลทีวีขั้วต่อแบบ N แบบ 50 โอห์ม (ด้านล่าง) และแบบ 75 โอห์ม (ด้านบน)
ขั้วต่อสายแบบ C
ขั้วต่อแบบ C ถูกประดิษฐ์โดยนาย Carl Concelman ขั้วต่อแบบนี้จะมี เขี้ยวล็อกแบบ BNC มีขนาดปานกลางและป้องกันน้ำได้ขั้วต่อแบบ C ทั้งแบบ 75 โอห์มและ 50 โอห์ม
ขั้วต่อสายแบบ SMA
ขั้วต่อแบบ SMA (SubMiniature version A) ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี 1960 เป็นขั้วต่อที่มีขนาดเล็กมีค่า impedance 50 โอห์ม สามารถใช้ได้ในย่านความถี่ตั้งแต่ไฟ DC จนถึง 18 GHzSMA จะใช้สาร polytetrafluoroethylene (PTFE) เป็นฉนวน
ขั้วต่อสายแบบ F
ขั้วต่อแบบ F นิยมใช้งานสำหรับ ระบบทีวีรวม เคเบิ้ลทีวี ใช้คู่กับสาย RG-6 หรือใกล้เคียง ถูกประดิษฐ์โดย Eric E. Winston ตั้งแต่ปี 1950 ขั้วต่อ F จะมีค่า impedance 75 โอห์ม สามารถใช้งานในความถี่สูงถึงระดับ GHz ที่สำคัญคือราคาถูก การต่อใช้งานไม่จำเป็นต้องบัดกรีสายในการเลือกใช้ขั้วต่อสายแบบใดนั้น จะเริ่มต้นจากย่านความถี่ใช้งาน กำลังงานที่จะส่งผ่าน ต้องใช้งานกับปรีแอมป์ที่มีสัญญาณรบกวนต่ำหรือเปล่า ความต้องการถอดออกง่ายเพียงใด ขนาดของสาย Coaxial ใหญ่แค่ไหน บริเวณใช้งานมีสัญญาณรบกวนสูงมากหรือไม่
- สำหรับท่านที่ต้องการใช้งานกำลังส่งสูง ๆ ควรจะต้องพยายามเลือกขั้วต่อแบบที่มีการสูญเสียในตัวมันน้อยด้วย เช่นการสูญเสีย 0.1dB สำหรับกำลังส่ง 1,000 วัตต์ หมายความว่า จะมีกำลังสูญเสียในขั้วต่อสาย 2.25 % หรือ 22.5 วัตต์ ซึ่งมากพอที่จะทำลายขั้วต่อสาย
- PL - 259 ผลิตออกมาหลายคุณภาพ บางยีห้อวัสดุที่เป็นฉนวน คุณภาพต่ำ ราคาถูก ทำให้มีการสูญเสียมากในย่าน VHF ดั้งนั้นควรเลือกแบบที่มีคุณภาพดี ๆ หน่อย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น