วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

EMI (electromagnetic interference)

EMI (electromagnetic interference)


สัญญาณรบกวนจาก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเครื่องรับส่งวิทยุ
EMI สามารถแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ (source) ไปยังเครื่องเป้าหมาย (victim) ได้ 2 วิธีคือ conduction และ radiation ความแตกต่างของสองแบบนี้ก็คือ ถ้าสัญญาณรบกวน เดินทางผ่านทางสายจะเรียกว่า conduction แต่ถ้าสัญญาณรบกวนแพร่กระจายผ่านอากาศ เรียกว่า radiation

Radiation มักจะเกิดขึ้นที่ความถี่สูง (สูงกว่า 30 MHz)
การแพร่กระจาย Radiation มักจะเกิดขึ้นที่ความถี่สูง (สูงกว่า 30 MHz)
การนำ conduction ทางสาย มักจะเกิดขึ้นที่ความถี่ต่ำ (ต่ำกว่า 30 MHz)
การนำ conduction ทางสาย มักจะเกิดขึ้นที่ความถี่ต่ำ (ต่ำกว่า 30 MHz)
conduction from radiation เป็นการแพร่กระจายคลื่นจากระบบที่ 1 แล้วเหนียวนำเขาสู่สายนำสัญญาณ ไปยังระบบที่ 2
conduction from radiation เป็นการแพร่กระจายคลื่นจากระบบที่ 1 แล้วเหนียวนำเขาสู่สายนำสัญญาณ ไปยังระบบที่ 2
radiation from conduction. เป็นการส่งสัญญาณไปยังระบบที่ 2 แต่มีการแพร่กระจายคลื่นทางสายนำสัญญาณ
radiation from conduction. เป็นการส่งสัญญาณไปยังระบบที่ 2 แต่มีการแพร่กระจายคลื่นทางสายนำสัญญาณ

Electronic noise

สัญญาณรบกวนที่เข้ามากวนระบบของเรามีสองแบบคือ continuous และ transient โดยที่ transient จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น น้อยกว่า 1/60 วินาที หรือ 16.67 ms ส่วน continuous จะเกินขึ้นนานกว่านี้

รูปแบบของ EMI/RFI

EMI/RFI เราสามารถแบ่งแบบกว้าง ๆ ได้ 2 แบบก็คือ narrowband และ broadband ตัวอย่างของ Narrowband จะเกิดขึ้นจาก สถานีส่ง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งจะรบกวนแค่ช่วงความถี่แคบ ๆ ส่วนตัวอย่างของ broadband เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า thermostats หรืออุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบสวิทช์ ปิดเปิดอย่างรวดเร็ว แบบนี้จะมีแถบความถี่ในการรบกวนกว้าง ตั้งแต่ความถี่ต่ำ ๆ จนถึงความถี่สูง

EMI ภายในวงจรเอง

ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เอง สามารถที่จะแพร่กระจายคลื่น EMI ออกมาได้ ถึงแม้ว่าในระบบจะไม่มี "สายอากาศ" ก็ตาม มันจะแพร่กระจายคลื่นออกมาจากวัตถุที่มีขนาดใหญ่ ๆ ภายในวงจร เช่น แผ่นระบายความร้อน (heatsinks) สายไฟที่เดินภายในวงจร หรือแม้แต่แผ่นวงจรเองก็ตาม วิธีการลด EMI ภายในวงจรก็สามารถทำได้โดยการใช้ capacitors ต่อเป็นตัว bypass สัญญาณรบกวนลงกราวด์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น