วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไตวาย

ไตวาย


ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มี 2 ข้าง ลักษณะเป็นรูปถั่ว ขนาดในผู้ใหญ่ประมาณ 10-13 ซ.ม. ตำแหน่งอยู่ทางด้านหลังตรงบริเวณบั้นเอว ทั้งสองข้าง
ไตจะทำหน้าที่กรองเลือดที่มาเลี้ยงไตและนำของเสียและน้ำส่วนเกิน กรองและขับออกมา เป็นปัสสาวะ
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยจะรับเลือดจากหัวใจในปริมาณถึง 20% หรือ 1ใน 5 ของเลือดที่บีบตัวออกจากหัวใจแต่ละครั้ง รวมปริมาณเลือดถึงประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1400 ลิตร และนำมากรองขับออกมาเป็นปัสสาวะประมาณวันละ 1-2 ลิตรเท่านั้น


โดยสรุปหน้าที่ของไตจึงมีทั้งหมดดังนี้คือ
1.ขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆของร่างกายรวมทั้งสารพิษต่างๆที่ร่างกาย ได้รับออกมาเป็นปัสสาวะ

2.ขับน้ำส่วนเกินออกจาการ่างกาย

3.ควบคุมดุลย์ของน้ำและเกลือแร่ทีสำคัญของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ

4.ช่วยสร้างฮอร์โมนที่มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

5.ช่วยสร้าง วิตามินดี -3 ชนิดแอคทีพซึ่งจะมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตมากที่สุด 

ภาวะไตวาย
ภาวะไตวายคือภาวะที่มีการทำงานของไตลดลง จนเกิดมีการคั่งของของเสียประเภทยูเรียไนโตรเจน และของเสียอื่นๆเกิดขึ้น เราจะรู้ได้ด้วยการวัดค่าของเสียเหล่านี้คือค่า บียูเอ็น ( BUN, Blood urea nitrogen ) และค่า ครีอะตีนีน ( Cr, Creatinine ) ค่า BUN ปกติ มีค่าประมาณ 12-20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ( mg% ) ส่วนค่า Cr มีค่าประมาณ 0.6-1.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ถ้าทั้งสองตัวมีค่าสูงกว่านี้โดยไม่ใช่เกิดจากยาหรือภาวะบางอย่าง โดยทั่วไปจะถือว่า มีภาวะไตวายเกิดขึ้น ไตวายอาจจะเป็นแบบที่มีปัสสาวะมาก คือมากกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน หรือแบบมีปัสสาวะน้อย คือน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวันก็ได้
ถ้ามีปัสสาวะน้อยผู้ป่วยมักจะบวมเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ จากการมีสารน้ำคั่งจนหัวใจวาย แต่ถ้าเป็นไตวายแบบมีปัสสาวะมากผู้ป่วยจะไม่เหนื่อยหอบเร็วนัก อาจจะไม่มีอาการจนกระทั่งค่า BUN ในเลือดถึงประมาณ 80-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเกิดภาวะของเสียคั่งที่เรียกว่า ยูรีเมีย ซึ่งมักจะมีอาการ สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผิวแห้ง อาจมีหัวใจวายหรือเจ็บหน้าอก จากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และถ้าไม่รักษาจะซึม ชักหมดสติและเสียชีวิตได้
ในทางการแพทย์แบ่งไตวายเป็น 2 แบบคือ
ไตวายฉับพลัน
ไตวายเรื้อรัง


โดย น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์ อายุรแพทย์โรคไต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น