วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Sound check

Sound check  ย้อนยุคไปเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนสมัยที่หลวงพี่ หลวงลุงนุ่งสบงตัวเดียวปืนบันไดขึ้นไปแขวนลำโพง “ปากแตร” บนเสาแล้วลากสายไฟมาต่อเข้ากับ “แอมป์” ที่เต้นท์แล้วเสียบ “ไมค์” เข้าไปแล้วก็พูด “อะโหล..หนึ่ง..สอง..สาม..” ดังลั่นไปสามบ้านแปดบ้านเป็นอันเสร็จพิธีติดตั้ง”งานวัด ซาวด์ซิสเต็ม” คำว่า  Sound Reinforcement  หรือ Public Address เป็นระบบอย่างไรไม่มีใครรู้จัก มาจนถึงปัจจุบันระบบเสียงโดยเฉพาะระบบ Sound Reinforcement – S.R. มีการพัฒนาขึ้นไปมาก อุปกรณ์ไฮเทคไม่ว่าจะมาจากต่างประเทศหรือผลิจตากภูมิปัญญาชาวบ้าน (หม้อ) ถูกนำมาใช้กันเพียบงานวัดเล็กๆ ต่างจังหวัดบางงาน บางที่ติดระบบเสียงกันเป็นหมึ่นวัตต์ก็มีอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นระบบเสียง ลูกทุ่งไม่กี่ร้อยวัตต์ในอดีต หรือระบบที่สลับซับซ้อนหลายหมื่นวัตต์ในปัจจุบัน ตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่กำหนดคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบเสียงนอกเหนือไป จากการออกแบบและปรับแต่งก็คือการทดสอบระบบเสียง หรือ Sound Check นั้นเอง

    อะไรคือ Sound Check? หลายท่านอาจจะเพิ่งรู้จักกับคำๆนี้ซึ่งความจริง Sound Check ไม่ใช่ศัพท์เทคนิคอะไร เพียงแต่เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเสียงทั้งหมด ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นต่อพ่วงเข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบมา และแต่ละตัวสามารถทำงานได้จามปรกติอย่างที่ควรจะเป็น เสียงจากลำโพงชุดซ้ายซึ่งจะต้องมีความดังเสียง (Equalization) แต่เป็นการเตรียมการก่อนจะทำการปรับแต่งคุณภาพเสียงซึ่งจะเป็นลำดับขั้นตอน ถัดไป มีหลายๆ ครั้งที่ผมเห็นพ่อหนุ่ม Sound Man รุ่นใหม่ไฟแรงเวลาทำ S.R. พี่ท่านก็จะไม่ฟังอีร้าค่าอีรมเดินรี่ตรงมายัง Mixer สั่งเด็กเปิดเบรกเกอร์เครื่องสียงทุกชิ้นพร้อมกัน แล้วได้ยินเสียงลำโพงดัง “ตุ๊บ” สนั่นหวั่นไหว จากนั้นก็คว่าไมโครโฟนขึ้นมาพูด “โท้ด...ชอบ...หนึ่ง..สอง...สาม...” แล้วก็ปรับ Equalizer ยังดีที่รู้จัก PAN ซ้ายที่ ขวาที ก่อนจะปรับระบบโดยรวม จนเป็นที่พอใจของหูดกก็เป็นอันเสร็จพิธี หารู้ไม่ว่า Mixer ช่องที่ไมโครโฟนใช้ทดสอบเสียงนั้น ในช่วงของ EQ ไม่โครโฟนตัวนั้นถูกเร่งความพี่สูง กลางและต่ำไว้จนสุด คุณคงเดาออกได้ว่าหลังจากนั้นเมื่อตอนออกงานแสดงจริงเสียงจะเป็นอย่างไร นี่เป็นตัวอย่างของการขาดความรู้ในขั้นตอนปรับระบบให้ Flat เบื้องต้นระหว่างการ “Sound Check” ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอนแต่ว่าสำคัญ ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันต่อไป

ในการต่อ อุปกรณ์ในระบบเสียงทั่วไปซึ่งเป็นจริงและมีการใช้งานกันมาเป็นสิบปีแล้ว โดยสัญญาณเขาเข้าจะไล่จากซ้ายสุดเข้าไมโครโฟน ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปยังลำโพงซึ่งอยู่ขวาสุด ปรกติผู้ทำการต่อพ่วงระบบที่ผู้มีประสบการณ์จะมีผังการต่ออุปกรณ์นี้อยู่ใน ใจแล้ว การต่อพ่วงรวมถึงการตรวจสอบระบบก็จะไล่จากซ้ายไปขวาเช่นเดียวกัน

 1.ตำแหน่งพักอุปกรณ์ การเตรียมตำแหน่งพักอุปกรณ์หรือ Preset ก่อนทำการต่อพ่วงและหลังเลิกใช้งานเพื่อทำการถอดเก็บดูเหมือนจะไม่มีอะไรแต่ ความจริงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ทำระบบเสียงมืออาชีพมักจะ Preset อุปกรณ์ทุกชิ้นเสมอทั้งนี้มีเหตุผลเพื่อป้องกันความเสียหายอันที่จะเกิดขึ้น กับอุปกรณ์ทุกชิ้นเสมอ ทั้งนี้มีเหตุผลเพื่อป้องกันความเสียหายอันที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพงจากการที่บางครั้งผู้ติดตั้งควบคุมอาจมีการผิดพลาด พลั้งเผลอในการปรับแต่ง สิ่งที่ต้องคำนึงในการ Preset ส่วนใหญ่ได้สุดที่รัก

อุปกรณ์ทุกชนิด
Power อุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟ จะต้อง Preset Power Switch ไว้ที่ตำแหน่ง “OFF” เสมอ การทิ้ง Switch ไว้ที่ตำแหน่ง “ON” ก่อนต่อพ่วง จะทำให้เกิดไปกระโชกในเครื่องเมือเสียบปลั๊กทำให้เสียกายได้ MIXING CONSOLE: ปุ่มหลักๆ ที่ควรคำนึงถึงในการทำ Preset ได้สุดที่รัก

-MIC/LINE GAIN หรือ ATTENUATOR ของทุก Channel ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาไปบจนสุด มีผลเหมือนกับการปิดไม่ให้สัญญาณผ่านเข้า Mixers โดยที่เราไม่ตั้งใจ

-PHANTOM เครื่อง Mixer บางรุ่นจะมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงย้อนกลับไปยังไมโครโฟนชนิด Condensor แต่ส่วนใหญ่เราจะใช้โมโครโฟนชนิด Dynamic ซึ่งไม่ต้องการๆเลี้ยงเช้าไประหว่างการใช้งานจะไม่เป็นผลดีนัก ดังนั้นตำแหน่งนี้ให้ Preset ไว้ที่ “OFF”


-MUTE เป็นปุ่มเปิด/ปิดสัญญาณในแต่ละช่อง จำแหน่ง “ON” แปลว่าปิดไม่ให้สัญญาณผ่านปุ้มนี้ ปุ่มนี้ขึ้นอยู่กับความเคยชินของผู้ควบคุมแต่ละคนสองคน

-PHASE REVERSE ให้ Preset ไว้ที่ตำแหน่ง “OFF”


-LO-CUT, HI-CUT FILTER เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับติดสัญญาณเสียงย่านความถี่มากๆ และช่วงสูงมากๆ ตามลำดับโดยทั่วไปจะไม่กดคือ จะตั้งไว้ที่ตำแหน่ง “OFF”

-EQUALIZER ไม่ว่าจะเป็นชนิดแบ่งความถี่คงที่เป็น Low, Mid, High หรือชนิดปรับความถี่ได้ ให้ตั้งปุ่ม Gain ของทุกความพี่ไว้ที่ 0 dB และถ้ามีปุ่ม EQ IN ให้ตั้งตำแหน่งไว้ที่ “OFF” คือยกปุ่มขึ้น –AUX,EFFECT SEND/RETURN  คือปุ่มส่งและปรับสัญญาณ Auxiliary และสัญญาณ Effect เพ่อทำลูกเล่นต่างๆ ในระบบไม่ว่าจะมีกี่ Send หรือ Return ก็ตามให้หมุนทวนเข็มนาฬิกามาจนสุดคือ “ปิด”ไว้

-PRT/POST เป็นตำแหน่งที่ความดังของปุ่มควบคุมนั้นๆ เช่น AUX หรือ EQ จะขึ้นอยู่กับ Fader ของแต่ละช่อง PRE คือ Pre Fader ไม่ขึ้นกับ Fader ส่วน POST คือ Post Fader คือขึ้นอยู่กับการเลือน Fader ให้ตั้งไว้ตำแหน่ง “PRE”

-PAN ชื่อเต็มคือ Panoramic Potentio Meter คือปรับความดังเสียงช่องนั้นๆ ไว้ที่ซ่าน (L) หรือ (R)ให้ตั้งไว้ที่ตำแหน่งกลาง (C) เครื่องยางรุ่นจะไม่มีตัวหนังสือ C กำกับไว้ตำแหน่งไว้ แต่จะมีล็อกเล็กๆ ที่เรารู้สุกได้ไว้เมื่อหมุนปุ่มไปที่ล็อคนั้นเสียงก็จะอยู่ตรงกลาง

-PFL Pre Fader Listening เมื่อกดปุ่มนี้คือตำแหน่ง”ON” สัญญาณของช่องนั้นๆ จะไปทีหูฟัง Phone หรือ Monitor โดยจะทับสัญญาณอื่นๆที่ไม่ได้กดแม้แต่สัญญาณจาก Masterก็ตาม ดังนั้นเราจะไม่กด PFL คือตั้งไว้ที่ “OFF”

-FADER คือปุ่มเลื่อนสำหรับปรับความดังของช่อง ปุ่มนี้จะอยู่ล่างสุด และเช่นเดียวกันให้เลื่อนปุ่มลงมาจนสุดคือ “OFF”

-ปุ่ม ควบคุมอื่นๆ Mixing Console แต่ละรุ่นมี่ลูกเล่นแตกต่างกัน การ Preset ทั่วไปถ้าเป็นปุ่มหมุนให้หมุนทวนเข็มจนสุดถ้าเป็นปุ่มที่เกี่ยวกับความถี่ ให้ตั้งความดังของความถี่นั้นๆไว้ที่ 0dB

-EQUALIZER : หลักๆ ใช้กันอยู่ 2 แบบ คือชนิด Graphics

    และ Parametric ชนิดแรกแบ่งความถี่เป็นช่วงๆคงที่แต่ละช่วงมีปุ่มเลื่อนหรือ Slider ไว้ให้เพิ่มหรือลดความแรงของสัญญาณความถี่นั้นๆ การ Preset Graphic Equalizer มีอยู่สองแนวความคิด แบบแรก Preset ไว้ที่ตรงกลาง หรือ 0dB เพื่อให้ไม่มีการปรับแต่งสัญญาณใดๆในขณะที่แบบหลังลด Slider ลงมาตำแหน่งล่างสุดโดยมีเหตุผลด้านการรักษาอายุการใช้งานของ Slider Equalizer ชนิดที่สองคือ แบบ Parametric โดยมากจะเป็นปุ่มหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด Equalizer ทั้ง 2 ชนิดให้ปรับปุ่ม Gain ไว้ที่จำแหน่งลดสุดส่วนปุ่ม Bypass ให้ “ON” คือไม่ให้ Equalizer มีการปรับแต่งสัญญาณใดๆ COMPRESSOR/LIMITER เป็นเครื่องควบคุมความดังสัญญาณอัตโนมัติ ไม่ให้มีความแรงเกนกว่าที่เราตั้งไว้โดยทั่วไปจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่มคือ
Ratio, Threshold และ Gain ทุกปุ่มให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาไปจนสุด

    ACTIVE (ELECTRONIC) CROSSOVER: เป็นเครื่องมือตัดแบ่งย่านความถี่เสียงทั้งย่านออกเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ 2 ถึง 5 ช่วงหรือมากกว่าแล้วแต่รุ่นและยี่ห้อแต่ละช่วงมีปุ่มปรับความแรงของสัญญาณ เพื่อป้อนเข้าเครื่องขยายเสียง การใช้ Active Crossover กับ เครื่องขยายเสียงและลำโพงหลายชุด มีเหตุผลทางด้านประสิทธิภาพในการส่งพลังงานสู่ลำโพง เพราะการใช้ Crossover ชนิด Passive ซึ่งประกอบด้วยขดลวดและคาปาซิเตอร์จะมีการสูญเสียกำลังงานมากโดยเฉพาะเมื่อ ต้องการพลังงานเสียงสูงๆ ปุ่มควบคมของ Crossover ชนิดนี้โดยมาจะเป็นปุ่มปิด และเช่นเคย ทุกปุ่มให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด

    AMPLIFIER: เครื่องขยายเสียงระดับอาชีพสมัยก่อนโดยมากจะไม่มี Volume หรือ Gain Control ถือว่าเมื่อสัญญาณ Input เป็น 0 dBm เครื่องขยายจะส่งกำลังงานสู่ลำโพงเต็ม 100 % ตามคุณสมบัติที่กำหนด สำหรับเครื่องที่มีปุ่ม Volume Control ให้หมุนทวนเข็มนาฤาไปจนสุด

    อุปกรณ์อื่นๆ : ทั่วไปเรียก Effect Equipment ก็ให้ Preset ในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับอุปกรณ์ร่นใหม่ๆ ที่เป็น Digital มี Processor พร้อม Display Menu แถมไม่มีปุ่มให้เลื่อนหรือหมุนถ้ามี Function Bypass ให้เลือก Menu นี้ ถ้าไม่มีจริงก็เลือกที่ Default ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและรุ่นของอุปกรณ์นั้นๆ

2.การตรวจเช็คลำโพง
ระบบ เสียงกำลังขับสูงๆ ที่ใช้ใน S.R. ส่วนใหญ่จะใช้ลำโพงหลายๆตู้ ยิ่งเมื่อสมัยก่อนจะแยกตู้ลำโพงเป็นเสียงสูง ตู้เสียงกลาง ตู้เสียงต่ำ และตู้ Sub-Woofer ปัจจุบันจะรวมลำโพงเสียงสูง กลางและต่ำไว้ในตู้เดียวกันเรียกว่า Composite Speaker Cabinet หรือ Composite Box ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกับ Sub-Woofer อีกทีหนึ่ง การใช้ลำโพงหลายๆตู้ บ้างครั้งเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผสมหลายรุ่นหลายยี่ห้อ ซึ่งออกแบบมาไม่เหมือนกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องเฟสของลำโพง โดยเฉพาะเสียงกลาง ต่ำ และ Sub-Woofer การติดตั้งลำโพงลูกผสมที่สลับเฟสกัน บางครั้งหมายถึงความหายนะของงานนั้นๆอย่างเบาะๆ เสียงที่ได้จะฟังแปลกและขาดพลังอย่างไม่น่าเป็นไปได้


ผมเคยมีประสบการณ์กับผู้ติดตั้งระบบโดยไม่คำนึงถึงเฟสของลำโพงซึ่งผสมกัน หลายตู้หลายยี่ห้อรวมๆ ประมาณ 6,000 RRms เพ่อจัดการแสดงให้วงดนตรีร็อกจากเอมริกาวงหนึ่ง ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนการแสดง มีการซ้อมหรือ Rehearsal จากผู้ควบคุมเสียงประจำวง ปรากฏว่าเสียง Bass ไม่แน่นยิ่งเร่งยิ่งหลวมพี่ Sound Man ฝรั่งเลยอัดเสียงเต็มเหนี่ยวเกิดพิกัดแถมแอบปลดการทำงานของ Compressor/Limiter เสียอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการแสดงประมา 10 นาที ความล่มจมของผู้จัดเป็นไรคงไม่ต้องพูดถึงกัน
ตู้ลำโพงถึงแม้จะเป้ฯยี่ห้อ เดียวกันก็ตาม บางครั้งช่างอานมีกาเกิดซ้อมบำรุง แล้วมีการ “วางเพลิง” กันเองด้วยการสลับขั้วลำโพงไว้โยไม่ได้ตั้งใจ การเช็คเฟสก่อนใช้งานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ลำโพงโดยทั่วไป สมมุติเราเอาถ่านไฟฉาย 1.5 โวลท์ มาต่อสายเข้า เมื่อต่อขั้วบอกของถ่านไฟฉายเข้าขั้วสีแดงและขั้วลงเข้าขั้วสีดำลำโพง กรวยของลำโพงจะดันออกมาข้างหน้า แต่ก็มีอยู่เหมือนกันที่บางยี่ห้อกลับดึงเข้าไป ในการเช็คเฟสของตู้ลำโพงทั้งระบบนักติดตั้งมืออาชีพจริงๆ จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Speaker Phase Checker ไว้ตรวจสอบ สำหรับเราๆท่านๆสามารถทำง่ายๆ โดยใช้โอห์มมิเตอร์ตั้ง Scale ไว้ที่ RX1 แตะขั้วแดงของมิเตอร์ที่ขั้วของลำโพง และดำเข้าที่ดำ ใช้สายตาและมือสัมผัสดูลำโพงทั้งระบบจะต้องดึงเข้าหรือผลักออกเหมือนๆ กัน ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งผิดกับชาวบ้าน แปลว่าตัวนั้นกลับเฟส ให้ทำการแก้ไขก่อนที่จะทากร Sound Check ขั้นต่อไป

3.การเกิดใช้งานระบบ
ขั้น ตอนในการเปิดปิดระบบเสียงที่มีกำลังขับสูงๆ เป็นเรื่องสำคัญในความไม่น่าจะมีอะไร แต่ว่าการละเลยในลำดับก่อนหลังของการเปิด-ปิดลำโพงราคาเป็นหมื่นหลายๆ ตัว หรือไม่ก็ทำให้เกิดเสียงดัง “ตุ๊บ”หนักๆ ให้ได้ยินแล้วเป็นที่น่าหวาดเสียวก่อนจะเปิดใช้งานระบบควรเช็คไฟที่ปลั๊ก ก่อนว่าเป็น 220 ไวล์ท หรือไม่เพราะเคยมีประสบการณ์ที่หอประชุมสถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่ง Bus Bar ที่ Main เป็น 2 ระบบคือ “วาย” กับ “เดลต้า” แล้วใช้ Cut Out เป็นตัวตัวโยกเลือกระบบ มีอยู่งานหนึ่งคนต่อไฟเข้าระบบโยก Cut Out ผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นคือปลั๊กไฟบนเวทีแทนที่จะจ่ายไฟ 220 โวล์ท กลับจ่ายไฟ 380 โวล์ทแทน เมื่อ Power On อุปกรณ์ทุกชิ้นไฟได้สักพักหนึ่ง เครื่องบางเครื่องถูกออกแบบมาดีก็มีอาการฟิวส์ขาด อุปกรณ์บางตัวฟิวส์ไม่ยอมขาด ก็เปลี่ยนหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดควันไป กว่าจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นก็เกือบจะสายเกิดแก้การเสียวเวลาไม่ถึง 15 วินาทีเพื่อวัดแรงดันไฟโดยทำให้เป็นนิสัยย่อมดีกว่าเสียของแพงๆ อย่างไม่น่าเสีย  อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับระบบไฟสำหรับเครื่อง S.R. มืออาชีพคือ ปลั๊กไฟมักจะมี 3 ขาได้สุดที่รัก Live, Neutral และ Ground แรงดันระหว่าง Neutral กับ Ground ไม่ควรเกิด 1.5โวลท์ ถ้าเกินหมายถึงเสียงฮัม เสียงจี่และ
เสียงรบกวนอีกสารพัด วิธีแก้ไขคือ เดินสายดินหรือ Ground ใหม่โดยเปลี่ยนจุดลงดินถ้าทำไม่ได้จริง ก็รวบสาย Ground กับ Neutral จากต้นทางจะจ่ายไฟก็พอจะกล้อมแกล้มไปได้

4.การ เปิดสัญญาณเสียงของระบบ เช่นเดียวกับการเปิดใช้งานระบบหลังจาก Power On อุปกรณ์ทุกชิ้นแล้วเราจะเริ่มต้นที่ Mixer โดยป้อนสัญญาณเช้าสู่ Input Channel ของ Mixer แหล่งกำเนิดสัญญาณบางคนใช้ Pink Noise บางคนใช้เทป Cassette หรือสัญญาณที่ง่ายที่สุดคือการใช้ไมโครโฟนส่วนตัวเป็นพิเศษในการทำงาน Sound Check หลังจากได้แหล่งกำเนิดสัญญาณแล้วให้ตรวจเช็คว่าปุ่มต่างๆใน Mixer ช่องนั้นอยู่ในลักษณะ Preset จากนั้นค่อยปรับแต่งความแรงของสัญญาณให้อยู่แถวๆ O dBm โดยประมาณสังเกตได้จาก VU หรือ Volume Unit ประจำช่อง Mixer บางรุ่นอาจไม่มี VU แต่จะมี LED หนึ่งดวงที่กำกับคำว่า “CLIP” หรือ “PEAK” ก็ปรับความดังให้ LED  นั้นกระพริบเป็นครั้งคราวไม่ใช่ติดค้างหรือไม่ติดเลยเมื่อปรับปุ่มต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการแล้วและแน่ใจว่า flat ก็ส่งสัญญาณไปยัง Group (ถ้ามี) และ Master L. R ตามลำดับ เร่งความดังที่ Master L, R ให้อยู่แถว ๆ OdBm ในลักษณะเดียวกันกับสัญญาณประจำช่อง Mixer ก่อนที่จะปรับแต่งอุปกรณ์ชิ้นถัดไป ในภาพ 1 ซึ่งก็คือ Equalizer

    ที่ Equalizer ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปุ่มควบคุมความแรงของทุกความถี่อยู่ในตำแหน่ง O dB เพ่อตั้งตำแหน่ง “Flat” ปุ่ม “EQ” ให้อยู่ในตำแหน่ง “ON” ถ้าเป็นปุ่ม “BYPASS” ให้อยู่ในตำแหน่ง “OFF” ปุ่ม “GAIN” ให้ดังประมาณ O dB ในลักษะเดียวกันบางเครื่องอาจจะไม่มี LED แสดงสัญญาณ “CLIP” หรือ “PEAK”  แต่จะมีขีด OdB ไว้ให้ก็ให้เลื่อนไปที่ขีดขั้น ถ้าไม่มีอะไรแสดงจริงๆ ก็ให้หมุนหรือเลื่อนไปประมาณ 75 % ช่องการหมุนหรือเลื่อนนั้น

    Compressor/Limiter เป็นอุปกรณ์ตัวถัดไปที่ปุ่ม Thresh Old ให้ปรับไว้ที่ค่าประมาณกลางๆ ปุ่ม Ratio ตั้งไว้ที่ 1:1 และ Gain ตั้ง OdBm ลักษณะนี้ทำไว้เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องสามารถทำงานได้แต่ยังไม่มีการ Compress สัญญาณใดๆ เนื่อง Ratio ตั้งไว้ที่ 1:1 คล้ายๆกับเป็นการ Bypass สัญญาณผ่านไปเฉยๆ

    Electronic Crossover ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งของระบบ ไม่ว่าจะเป็น 2 ทาง, 3 ทางหรือมากกว่าก็ตามสิ่งที่จะต้องคำนึงที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้คือการตั้ง ความถี่ จุดตัด Crossover frequency ผู้ทำ Sond Check ตะต้องตั้งความถี่จุดตัดให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางเทคนิคของลำโพง สูง, กลาง และต่ำตามลำดับ การปรับแต่งความถี่จุดตัดที่ไม่ถูกต้องมีผลต่อคุณสภาพของเสียงและ ประสิทธิภาพของลำโพง แม้แต่ขั้นรุนแรงคือความเสียหายของลำโพงนั้นเอง

    ขั้นตอนสำคัญสุดคือ การตรวจสอบสัญญาณจากเครื่องขยายเสียงหลังจากที่เราส่งสัญญาณเสียงจาก Mixer ผ่าน EQ, Compressor/Limiter นั้นแล้ว ให้ตรวจสอบเครื่องขยายเสียงและลำโพงที่ละตัวโดยเริ่มจากเสียงสูงก่อนทั้งนี้ ก็เพราะเครื่องขยายเสียงและลำโพงสำหรับความถี่สูงจะมีกำลังน้อยที่สุดเมื่อ เทียบ กลาง และ ต่ำ โอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายจึงน้อยกว่าใน กรณีที่ต่อสายผิด การตรวจสอบทำได้โดยการเปิด Volume ของเครื่องขยายเสียงของความถี่สูง ที่ละตัวโดยใช้ความดังประมา 10 ถึง 25% ของ volume จากนั้นให้ฟังเสียงจากลำโพงว่าดังหรือไม่ถ้าไม่ดังให้จรวจสอบแก้ไข ถ้าเรียบร้อยดีให้ลด Volume ทวนเข็มกลับไปจนสุด ระบบเสียงกำลังสูงๆ มักจะมีเครื่องขยายและโพงสำหรับความพี่ต่างๆ หลายขุดให้เลือกทดสอบที่ละเครื่องในแต่ละความถี่ จากสูงม กลาง และต่ำ ทั้งซ้ายและขวาจนครบทุกตัว

    หลังจากตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายเสร็จแล้วให้ลด Slider ของแหล่งสัญญาณ Mixer Input, Group, Master L, R ลงมาจนสุด Gain ของ Equalizer, Compressor/limiter, Electronic Crossover ตั้งไว้ประมาณ O  dBm ความแรงของย่านความถี่แต่ละย่านที่ Crossover ให้หมุนทาวนเข็มนาฬิกาจนสุดปุ่ม Volume ของเครื่องขยายเสียงทุกตัวในระบบเร่งสุดตามเข็มนาฬิกาลักษณะนี้เป็นอันเสร็จ สิ้นกระบวนการ Sound Check

จะเห็นได้ว่าการทำ Sound Check ไม่ใช่เป็นการปรับแต่งเสียงแต่เป็นการตรวจสอบระบบว่าพร้อมจะให้งานด้วย ประสิทธิภาพสูงสุดและมีการต่อพ่วงถูกต้องตามี่ควรจะเป็นผู้ควบคุมเสียงซึ่ง จะเป็นคนเดียวกันกับผู้ทำ Sound Check หรือไม่ก็ตามจะมาทำ Equalization ระบบต่อตากนี้โดยมีขั้นต่างๆอีกเช่น อย่างไรก็ตามการละเลยความสำคัญของ Sound Check จะสร้างปัญหาอย่างมากต่อการ Equaliazation ตลอดจนควบคุมระบบ S.R. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงสด เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนมีการจัดคอนเสิร์ตที่ In Door Stadium หัวหมาก ให้กับวงดนตรีต่างประเทศ 2 วง ด้วยเวทีและระบบเสียงชุดเดียวกัน วันแรกเป็นการแสดงของวง Boom Town Rats ผู้จัดชาวไทยใช้ฝรั่งพัฒน์พงษ์ มาดูแลการติดตั้งระบบเสียงและทำ Sound Check ให้ Sound Man ของวงทำการปรับแต่งและควบคุมเสียงโดย Sound Man คนนี้ชะล่าใตและวางใจในระบบเกินไป เลยใช้เวลาปรับแต่งและซ่อมหรือ Rehearsal ไม่ถึง 2 ชั่วโมงก่อนการแสดง ปรากฎว่ากว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ก็สายเกิดแก้เสียแล้วเพราต้องปล่อยผู้ชมเจ้างานและ “the Show Must Go On” เสียงจากการแสดงล่ม
ไม่เป็นท่าถูกด่าไม่มีดี วันถัดมาเป็นคิวของวง Chiff Richard ด้วยตัวเองพบว่าที่ฝรั่งพัฒน์พงษ์ต่อระบบผิด
โดย ใช้ลำโพงเสียงสูงบางตัวไปต่อในย่านเสียงกลาง. ตู้เสียงกลางบางตู้มั่วนิ้มลงไปอยู่ที่ความถี่ต่ำ  Sound Man ของวงเลยใช้เวลาชั่วโมงกว่ารื้อระบบและทำ Sound Check ใหม่ก่อนทำ Equalization และ Rehearsal การแสดงคืนนั้นเรียกว่าสมบูรณ์แบบเสียงที่ได้ต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือ ผู้จัดการวงดนตรีวงแรกที่เข้าชมอยู่ด้วยดี
พูดกับผู้จัดการชาวไทยหลังงานเลิกด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า “You Kill Me Yesterday”

เรื่อง ที่เล่าเป็นอุทาหรณ์สำหรับ “มือใหม่หัด Mix” ให้คำนึงถึงความสำคัญของชั้นตอนธรรมดา๐ ที่เรียกว่า “Sound Check” นี้ไว้ไม่เช่นนั้นอาจต้องเตรียมสโลแกนจำตัวในการปรับแต่งระบบไว้ได้เลย “We do the loudest Feedback!
ขอบคุณเจ้าของบทความครับ

เคดิต...นักรบกีนิว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น