เทคนิคการผจญเพลิงที่สำคัญที่สุดก็คือ การเข้าถึงจุดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อช่วยผู้ที่อาจติดค้างอยู่ภายในอาคาร และป้องกันการติดต่อลุกลามให้ได้ผล
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงผู้ปฏิบัติ นอกจากจะเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติการเป็นนักผจญเพลิงที่ดีแล้ว ยังจะต้องรู้จักใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ประจำตัว ประจำรถ และอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ จากรถกู้ภัย พร้อมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และทางเคมีของสิ่งที่ไหม้นั้นๆ ด้วย
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้ประสบการณ์ และความร้ายแรงของเพลิงที่กำลังลุกไหม้อยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฉีดน้ำด้วยความดันเพียงเพื่อให้น้ำถึงไฟ และหรือ ในบางกรณี เพื่อใช้น้ำที่มีความดันสูงพังทำลาย หรือฉีดให้ทะลุเข้าไปถึงเนื้อของสิ่งที่ไหม้ให้กระเด็นออก
หลักการดับเพลิงที่จะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ
1. อย่าเพิ่งจัดการระบายอากาศ นอกจากจะมีหัวสูบพร้อมจะฉีดน้ำได้ทันที ที่เปิดหรือเจาะอาคารให้โล่งออก
2. อย่าฉีดน้ำดับเพลิงพุ่งเข้าหากัน
3. ให้ฟังคำสั่งของหัวหน้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ว่าหัวสูบสายใดจะทำการเข้า หรือ ถอนออก ไม่ใช่จะตลลงกันเอง และ
4. คำสั่งต้องเป็นคำสั่ง
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการพังของอาคาร ซึ่งในบางครั้งไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าจะเกิดอันตรายเมื่อใด นอกเสียจากว่าใช้ความสังเกตที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตเท่านั้น และต้องระวังเกี่ยวกับ - การเข้าไปในอาคารที่ยังไม่ได้ตัดกระแสไฟฟ้า
- การฉีดน้ำผ่านสายไฟฟ้าแรงสูงที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
- การระเบิดของก๊าซ น้ำมัน และสารไวไฟต่างๆ
- การติดต่อลุกลามอย่างรวดเร็วของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ หรือ อากาศ
- การระมัดระวังควันเพลิงที่เกิดจากการเผาไหม้ของสารเคมีที่เป็นพิษ
- การระมัดระวังเกี่ยวกับ ภยันตรายที่อาจเกิดจากเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานที่มีการประกอบกิจการพิเศษขนาดใหญ่ ที่ใช้หม้อน้ำ สตีม และพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ
- การรับน้ำหนักของน้ำที่ฉีดใช้ และวัสดุอุ้มน้ำ ซึ่งจะทำให้พื้นอาคารยุบพังลงมา
- การรับน้ำหนักของบุคคลภายนอกที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยไม่ได้ร้องขอ
- การใช้เครื่องจักรกลกู้ภัยโดยไม่รอบคอบ หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น
- การพลัดตกลงในหลุมไฟบนพื้นที่อาคารในที่มือ
- การเข้าไปในที่อับอากาศ
- การหลงทางในอากาศที่ไม่คุ้นกับสถานที่
ฯลฯ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น