วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกเชิกกรานหัก

การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกเชิกกรานหัก


          กระดูกเชิงกรานหัก ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน และตกจากที่สูง ในรายผู้สูงอายุการหักของกระดูกชนิดนี้มีอันตรายมาก ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น มีการบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้ และอวัยวะสืบพันธ์

อาการและอาการแสดง
     ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหลังจากได้รับอุบัติเหตุ มีอาการเคล็ดหรือรอยฟกช้ำบริเวณเชิงกราน ยกขาข้างที่กระดูกเชิงกรานหักไม่ได้ขณะนอนหงาย ขาและเท้าข้างที่หักจะแบะออกข้างๆและอาจจะสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาด้วย

การปฐมพยาบาล
     1. เข้าเฝือกชั่วคราวป้องกันไม่ให้บริเวณกระดูกเชิงกรานเคลื่อนไหว ด้วยการวางผ้านุ่มๆ ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันไขว้กันเป็นเลข 8 บริเวณเท้าและพันเข่าทั้ง 2 ข้างให้ชิดกัน
     2. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ในท่านอนหงาย
                                   การเข้าเฝือกกระดูกเชิงกรานหัก                                                                       ภาพที่ 4 การเข้าเฝือกกระดูกเชิงกรานหัก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น