ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุคมนาคม
วิทยุคมนาคม หรือที่นิยมเรียก วิทยุสื่อสาร ทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กแบ่งเป็นภาครับ
และภาคส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ
คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อสามร้อยกว่า
ปีมาแล้ว(ปี ค.ศ.1864) ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) เป็นผู้ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็น
พลังงานที่ใช้ได้จริง ในปี ค.ศ.1887
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อีกนัยหนึ่งก็คือคลื่นวิทยุมีความเร็วสามร้อยล้านเมตรต่อวินาที (300,000,000 เมตร/วินาที)
หรือเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นวิทยุ เกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในสายอากาศ แล้วแผ่กระจายไปในอากาศลักษณะเดียวกับคลื่น
ในน้ำ เป็นลูกคลื่น มียอดคลื่นและท้องคลื่น การเคลื่อนตัวหนึ่งรอบคลื่น หมายถึง
จากผิวน้ำ-ขึ้นไปถึงยอดคลื่น-ตกลงที่ท้องคลื่น-และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำ ความถี่ของคลื่นวิทยุมีหน่วยต่อวินาที
(CPS : Cycle Per Second) ต่อมาเพื่อให้เกียรติต่อผู้ค้นพบไฮริชเฮิรตซ์จึงเรียก "หน่วยต่อวินาที" ว่า "เฮิรตซ์"
1,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า 1 กิโลเฮิรตซ์ 1 kHz.
1,000,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า 1 เมกะเฮิรตซ์ 1 MHz.
ความยาวคลื่นวัดความยาวจากยอดคลื่นถึงยอดคลื่นหรือระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่นวัดกันเป็นเมตร
เวลาที่คลื่นเดินทางวัดกันเป็นวินาที
ระดับคลื่นความถี่วิทยุ
ความถี่ต่ำมาก VLF 10 kHz. - 30 kHz.
ความถี่ต่ำ LF 30 kHz. - 300 kHz.
ความถี่กลาง MF 300 kHz. - 3,000 kHz.
ความถี่สูง HF 3 MHz. - 30 MHz.
ความถี่สูงมาก VHF 30 MHz. - 300 MHz.
ความถี่สูงยิ่ง UHF 300 MHz. - 3,000 MHz.
ความถี่สูงยอด SHF 3 GHz. - 30 GHz.
ความถี่สูงยิบ EHF 30 GHz. - 300 GHz.
หมายเหตุ ชื่อความถี่อาจไม่ตรงกับศัพท์ทางราชการ
วิทยุสื่อสารซีบี 245 เมกะเฮิรตซ์ [CB 245 MHz.]
วิทยุสื่อสาร มีใช้ในประเทศไทยเกือบร้อยปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในราชการทหาร นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 1-2 และ
สงครามมหาเอเชียบูรพา หลังภาวะสงคราม กิจการวิทยุสื่อสารมีใช้ภายในกิจการราโดยเฉพาะฝ่ายปราบปรามและปกครอง
และแพร่หลายมากข้นในหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ พลเรือน ในช่วง 40 ปีย้อนหลังจากนี้
สำหรับประชาชนทั่วไป วิทยุสื่อสารที่มีใช้ได้ชนิดแรก คือ วิทยุอาสาสมัครหรือวีอาร์ (Voluntary Radio)โดยกำหนด
ให้ผู้ประสงค์มีใช้ต้องสอบความรู้ขออนุญาตซื้อขาย พกพาตัวเครื่องมือถือ ติดรถติดบ้านอาศัย จากทางราชการ ด้วย
ระเบียบข้อกำหนดกรมไปรษณีย์โทรเลข และเหตุผลความมั่นคงแห่งชาติต่อมาบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น มีการลงทุนข้าม
ชาติโลกาภิวัตน์ (Globalization) เทคโนโลยีรุดหน้าทางราชการโดยกรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นเหมาะสมต่อกาลเวลาว่า
ประชาชนมีความจำเป็นต่อการมีวิทยุใช้สื่อสารเพื่อพัฒนาบ้านเมือง และสวัสดิ์ภาพความปลอดภัย จึงอนุญาตให้ประชาชน
มีใช้วิทยุสื่อสาร "ความถี่ประชาชน" หรือ CB (Citizen Band)
ได้โดยเริ่มจากคลื่น 27 เมกะเฮิรตซ์ (MHz.), 78 เมกะเฮิรตซ์, 422 เมกะเฮิรตซ์ และล่าสุด คือ 245 เมกะเฮิรตซ์ ปัจจุบัน
วิทยุซีบี 422 เมกะเฮิรตซ์ยกเลิกการนำเข้า ผู้ที่มีใช้อยู่ก่อนหน้าก็สามารถใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วิทยุคลื่นความถี่ประชาชน [Citizen Band]:
27 เมกะเฮิรตซ์ 27 MHz.
78 เมกะเฮิรตซ์ 78 MHz.
422 เมกะเฮิรตซ์ 422 MHz.
245 เมกะเฮิรตซ์ 245 MHz.
ปัจจุบันวิทยุ CB 245 MHz. นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็วเพราะประสิทธิภาพในการส่งกระจายคลื่นได้ไกลสุด
(สายอากาศสูง 30 เมตรจากพื้นดิน ส่งไกลไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร) รับส่งได้ชัดเจนกว่าวิทยุสื่อสารทุกความถี่ คลื่นแรง
ละลุทะลวงผ่านกระจกอาคารบ้านเรือนลิฟท์ และชั้นใต้ดินได้ดีกว่า ปรับกำลังส่งได้ 2-3 ระดับ อาทิ 1 วัตต์ 2.5 วัตต์
และ 5 วัตต์ เป็นต้นมีอุปกรณ์ส่วนควบและเครื่องอะไหล่อีกมากมาย
นอกนั้นกรมไปรษณีย์อนุญาตให้ตั้งสถานี (ตั้งสาย / เสาอากาศสูง 60 เมตร) แลติดในรถยนต์ได้ เช่น CB อื่น และคลื่นแฮม
**สรุปได้ว่า วิทยุ CB 245 MHz. ใช้งานได้ดีกว่า เพราะประสิทธิภาพส่งได้ไกล ชัดเจนทะลุทะลวงได้ดี ราคา ปานกลาง
เครื่องอุปกรณ์อะไหล่ครบครัน ไม่รบกวนคลื่นอื่น!**
ภาคผนวก
ข้อกำหนดทางวิชาการของเครื่องวิทยุคมนาคม สำหรับประชาชน
1. ลักษณะทั่วไป
1.1 โครงสร้างวิทยุคมนาคม (Case) จะต้องเป็นสีแดง
1.2 เครื่องวิทยุคมนาคมทำงานเฉพาะในย่านความถี่วิทยุ 245MHz. และมีช่องความถี่วิทยุใช้ งานเริ่มต้นคือ 245.00 MHz.
จำนวนไม่เกิน 80 ช่อง ดังนี้
245.000 245.0125 245.0250 245.0375 245.0500 245.0625 245.0750 245.0875 245.1000
245.1125 245.1250 245.1375 245.1500 245.1625 245.1750 245.1875 245.2000 245.2125
245.2250 245.2375 245.2500 245.2625 245.2750 245.2875 245.3000 245.3125 245.3250
245.3375 245.3500 245.3625 245.3750 245.3875 245.4000 245.4125 245.4250 245.4375
245.4500 245.4625 245.4750 245.4875 245.500 245.5125 245.5250 245.5375 245.5500
245.5625 245.5750 245.5875 245.6000 245.6125 245.6250 245.6375 245.6500 245.6625
245.5750 245.6875 245.7000 245.7125 245.7250 245.7375 245.7500 245.7625 245.7750
245.7875 245.8875 245.9000 245.9125 245.9250 245.9375 245.9500 245.9625 245.9750
245.9875 MHz.
1.3 มีความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ (Channel Spacing) 12.5 หรือ 25 kHz.
1.4 กำเนิดความถี่วิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) โดยผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอก
เครื่องวิทยุคมนาคม และไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขโดยวิธีใดๆ เพื่อให้เครื่องวิทยุคมนาคมสามารถรับหรือส่งความ
ถี่วิทยุนอกย่านความถี่วิทยุ 245 MHz.
1.5 การผสมคลื่นเป็นแบบ Frequency Modulation (FM)
2. ภาคเครื่องส่ง
2.1 กำลังส่ง (Power) ไม่เกิน 10 วัตต์
2.2 ความกว้างแถบคลื่น (Necessary Bandwidth) กรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ
12.5 kHz. ไม่เกิน 8 kHz. และกรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ 25 kHz ไม่เกิน 16 kHz
2.3 เสถียรภาพความถี่ (Frequency Stability) + 0.005%
2.4 แพร่กระจายคลื่นความถี่วิทยุที่ไม่ต้องการ (Spurious & Harmonics) 43+10Log Power(W)dBc
2.5 การเบี่ยงเบนความถี่ (Frequency Deviation) กรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่ 12.5 kHz สูงสุด
ไม่เกิน + 2.5 kHz และกรณีใช้ความห่างระหว่างช่องความถี่วิทยุ 25 kHz สูงสุดไม่เกิน + 5 kHz
3. ภาคเครื่องรับ
3.1 ความไวในการรับสัญญาณ(Sensitivity) 0.5 mV ที่ 20dB Quieting
3.2 การเลือกรับสัญญาณ (Selectivity) -70 dB
3.3 เสถียรภาพความถี่ (Frequency Stability) + 0.0005%
3.4 การจัดสัญญาณที่ไม่ต้องการและสัญญาณแปลกปลอม (Spurious and image Rejection)-50 dB
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูล: คู่มือสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร 245 MHz
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น