วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำเสริมเส้นใยธรรมชาติ 2

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ
เสริมเส้นใยธรรมชาติ 2 

Kevlar4 rainforced rod มีค่าการรับแรงดึงต่ำสุด (Minimum tenseil load) ประมาณ 22,700 กิโลกรัมนิวตัน ค่าโมดูลัสของการยืดหยุ่น (Young’s Modulus) อยู่ที่ประมาณ 68.6 กิโลนิวตันต่อตารางเซนติเมตร และเมื่อนำไปเปรียบเทียบหน่วยน้ำหนัก (Unit weight) ระหว่าง Carbon fiber rainforced rods กับ Kevlar49 rainforced rod จะมีหน่วยน้ำหนักที่น้อยกว่า Carbon fiber rainforced rods อยู่ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ในปัจุจบันวัสดุKevlar49 นิยมถูกนำไปใช้เป็นวัสดุสำคัญในการทอเสื้อเกราะกันกระสุนปืน 


ในการก่อสร้างมีการนำ Kevlar49 มาใช้แทนเหล็กเสริม เนื่องจากคณสมบัติที่มีความสามารถต้านทานแรงดัดได้ดี มีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังทนทานต่อการกัดกร่อนของสารประเภทซัลเฟตได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม Kevlar49 ยังมีราคาค่อนข้างสูง และโรงงานที่สามารถผลิตได้ยังมีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเที่ยมกับเหล็กทั่วไปจึงเป็นผลทำให้ยังไม่ได้รับความนิยมนัก จากการนำเส้นใยที่มีความต่อเนื่อง และสามารถควบคุมการจัดเรียงตัวของเส้นใยนาโนได้ อย่างแม่นยำมาใช้ในการเสริมแรงจะได้ คอนกรีตมวลเบาที่มีแนวเส้นใยอยู่ในโครงสร้างคล้ายกับคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำปกติที่อุณหภูมิ 180 – 195 องศาเซลเซียส ไม่ทำให้โครงสร้างของอารามิดแตกสลาย เพราะอารามิดจะเริ่มสลายตัวที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส จึงไม่มีผลกระทบในการเชื่อมต่อพันธะระหว่าง Fiberglasses-Aramid-Tobermcrite



การรับแรงดัดที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามระยะที่เพิ่มขึ้นการทดสอบแรงดัดกำลังการรับน้ำหนักที่จุดกึ่งกลางจะทำให้มีการกระจายกำลังไปที่เส้นใยส่วนหนึ่งและเนื้อคอนกรีตมวลเบาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัตืของเส้นที่มีความยืดหยุ่นการกระจายแรง ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการวิจัยนี้คือ ทำให้วัสดุมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

การเสริมด้วยเหล็ก เสริมลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากการใช้เหล็กเส้นในการเสริมแรงนั้น ตอนที่ยุ่งยากและใช้วัสดุหลายชนิดเช่น เหล็กเส้น, สารกันสนิม และวัสดุประกอบอื่นต่างจากการใช้เส้นใยเพียงอย่างเดียว การเสริมแรงด้วยเส้ยใยจะทำให้คอน กรีตมีน้ำหนักเบาขึ้นกว่า การเสริมแรงด้วยเหล็กเส้นส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 


เนื่องจากผนังที่เสริมแรงด้วยเส้นใยนั้น จะเป็นฉนวนกันความร้อนดีกว่าเหล็กเส้น จึงช่วยในการประหยัดพลังงานในการลดอุณหภูมิอาคาร และจะเป็นสิทธิบัตรที่เกิดจากการคิดค้นของนักวิจัยไทยที่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างด้วยการผลิตระบบนาโนเมตร การนำไปก่อสร้างอาคาร เช่น การเสริมแรงผนังตำแหน่งช่องเปิด ประตู หน้าต่าง แทนการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก แผ่นคอนกรีตสำเร็จสำหรับผนังบังแสงภายนอกอาคารโครงสร้างคอนกรีตมวลเบาขนาดแผ่นใหญ่ที่นำไปประยุกต์ใช้งานแทนการก่อสร้างด้วยไม้ เนื่องจากน้ำหนักเบา และแข็งแรงเช่นเดียวกับไม้สักสามารถติดตั้งได้ในลักษณะเดียวกับงานไม้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น