วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ

นวัตกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ
เสริมเส้นใยธรรมชาติื 1
 


สำหรับ ”นวัตกรรมนวัตกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำเสริมเส้นใยธรรมชาติ “ นั้นผ่านการค้นคว้าวิจัย มาเป็นแรมปีที่จะมาปฏิวัติงานก่อสร้างรูปแบบใหม่ มีคุณสมบัติเด่นดังนี้

จากการศึกษาวิจัย: การนำเส้นใยมาประยุกต์ใช้ในการเสริมแรงคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำโดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วยดร.บวร อิศรางกูล ณ อยุธยา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หัวหน้าคณะวิจัยดร.โยธิน อึ่งกูล และนางสาววันวิสาข์ เจดีย์-ภัทรนาท ฝ่ายวิจัยพัฒนา บริษัท ซุปเปอร์บล็อก จำกัด (มหาชน) นักวิจัย

งานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และมหา วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เพื่อนำคุณสมบัติการยืดหยุ่นของเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใย สังเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการเสริมแรงคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแทนโลหะ

โดยมีเป้าหมายคือ การนำเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะมาใช้ในการเสริมแรงของคอน กรีตมวลเบาอบไอน้ำ (Aerated autoclaved concrete, AAC) แทนเหล็กเส้น โดยอาศัยทฤษฏีการสร้างพันธะระหว่างกันด้วยพันธะอิออนิก ที่มีความแข็งแรงเนื่องจากคอนกรีตมวลเบาอบ ไอน้ำมี โครงสร้างของผลึกเทอเบอเมอร์ไรท์ (Tobermerite) ที่เกิดจากการนำเข้าวัสดุเช่นเดียวกับคอนกรีตโครงสร้างอาคารนำมาบดละเอียดให้มีขนาดโมเลกุล 60 – 90 ไมครอน หรือ 60,000 – 90,000 นาโนเมตร


ทำให้โครงสร้างเกิดฟองอากาศจกการทำปฏิกิริยาของปูนขาว และผงปูนมิเนี่ยมเป็นฟองอากาศขนาดเล็กแบบปิดในลักษณะของช่องว่างขนาดเล็ก (Micro Pore) สังเคราะห์ด้วยกระบวนการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส แรงดัน 12 บาร์ จึงเกิดคุณสมบัติใหม่ขึ้นมาคือ ผลึกคริสตัลของแคลเซี่ยมซิลิเกตมีโมเลกุลเล็กกว่า 100 นาโนเมตร โดยวัสดุคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำนี้ มีคุณสมบัติเป็นอิออนบวกในขณะเดียวกันก็มีเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์หลายชนิดที่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอิออนลบได้ ทำให้โครงสร้างมีความเป็นเนื้อเดียวกัน แข็งแรงตามมาตรฐานคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำชนิดเสริมใยเหล็ก ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าการนำความร้อน น้ำหนักเบา

โครงสร้างทางเคมีของเส้นใยประเภท พาราอารามิค (Para-aramid) ที่ใช้เป็นสารเสริมแรงแทนเหล็กเสริมตัวอย่างเช่น ตาข่ายแบบเส้นทอเคลือบอารามิคสีขาว ความทนต่อแรงดึงนิวตันต่อ 25 มิลลิเมตร



Carbon fiber reinforced rods ซึ่งมีค่ารับแรงดึงต่ำสุด (Minimum Tenseil strength)ประมาณ 30,000 กิโลกรัมนิวตันและค่าโมดูลัสของการยือหยุ่น (Young’s Modulus) อยู่ที่ประมาณ 156.8 กิโลนิวตันต่อตารางเซนติเมตร วัสดุประเภทนี้มีคุณสมบัติต้านทานแรงดึงได้สูง และยังมีน้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กเสริมที่มีขนาดเดียวกัน ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ในงานก่อสร้างโดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อต้องการเสริมความแข็งแรงโครงสร้างอาคารที่ไม่ต้องการให้เกิดการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าผ่านเหล็กเสริมเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือฟ้าผ่าโดยเฉพาะอาคาร หรือห้องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือแม้แต่เสาไฟฟ้า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น