วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รู้ทันมะเร็งช่องปาก กับตัวการ "เชี่ยนหมาก" ของคุณยาย

รู้ทันมะเร็งช่องปาก กับตัวการ "เชี่ยนหมาก" ของคุณยาย

แม้ว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการ "เคี้ยวหมากเคี้ยวพลู" ของผู้เฒ่าผู้แก่จะมีให้เห็นน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ สมัยก่อน เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีคุณตาคุณยายบางบ้านที่ยังต้องมี "เชี่ยนหมาก" ไว้ข้างกายตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นภาพความทรงจำในวัยเด็กของใครหลายคน ที่มักจะนั่งเล่นอยู่ข้างๆ ยามที่คุณตาคุณยายท่านกำลังเคี้ยวหมากจนปากแดง บางคนก็เคยทำหมากให้ท่านกิน แต่ก็หารู้ไม่ว่าสิ่งที่คุณกำลังทำมันเป็นการหยิบยื่ นโรคภัยให้กับคุณตาคุณ ยายอย่างไม่รู้ตัว
กับเรื่องนี้ "พญ. สมจินต์ จินดาวิจักษณ์" หัวหน้ากลุ่มงาน โสต ศอ นาสิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวให้ความรู้ว่า โดยทั่วไป "มะเร็งช่องปาก" จะ เป็นมะเร็งของเยื่อบุในช่องปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชนิด squamous cell carcinoma โดยมะเร็งชนิดนี้จะมีกลไกในการเกิดโรคจากการได้รับสา รก่อมะเร็งเป็นเวลานานๆ และมักพบในกลุ่มคนช่วงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามการเกิดมะเร็งในตำแหน่งของช่องปากก็ม ีโอกาสพบได้เกือบทุกเพศ ทุกวัย แต่จะเป็นมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
"การ สูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมถึงการเคี้ยวหมากของผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งช่องปากมาก ถึง 15 เท่า นอกจากนี้หากผู้สูงอายุและสมาชิกในบ้านมีสุขภาพช่องป ากที่ไม่ดีอยู่แล้วเช่น การมีฟันแหลมคมหรือการใส่ฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดีกับ ช่องปาก อาจส่งผลให้เกิดเป็นแผลอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นมะเร็งในช่องปากได้ นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นพบว่า ในผลหมากมีสารก่อมะเร็ง หากมีการเคี้ยวหมากร่วมกับยาเส้นที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่เป็น เวลานาน ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในช่องปากไ ด้มากถึง 9.9 เท่าของผู้ที่ไม่เคี้ยวหมากหรือสูบบุหรี่"
สำหรับอาการโดยทั่วไปของโรคนี้ ในระยะเริ่มต้น คุณหมอบอกว่า อาจจะแผลในช่องปากปากที่รักษาไม่หายยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ โดยสังเกตได้ง่ายๆ ว่าจะมีรอยฝ้าขาวหรือฝ้าแดง ตุ่ม ก้อน ที่รักษาไม่หาย จากนั้นตุ่มและก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ มีเลือดปนน้ำลาย ทำให้การกลืนอาหารหรือเคี้ยวอาหารลำบาก เนื่องจากอาจมีฟันโยกหรือหลุด บางรายไม่สามารถใส่ฟันปลอมได้เหมือนเดิมจากการที่มีร อยของโรค บางกรณีที่ร้ายแรงจะมีก้อนบริเวณลำคออีกด้วย
"หาก บ้านไหนมีผู้สูงอายุหรือสมาชิกคนอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งในช่องปา ก ควรหมั่นสังเกตและสำรวจภายในช่องปากเพื่อตรวจหามะเร็ งช่องปากด้วยตนเอง โดยอ้าปากที่หน้ากระจกและใช้ไฟฉายส่อง เพื่อตรวจดูบริเวณด้านข้างลิ้น กระพุ้งแก้ม พื้นปาก เหงือกบนล่าง ริมฝีปาก หากมีแผลที่รักษาไม่หายเกิน 3 สัปดาห์ควรต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่ างเร่งด่วน โดยการวินิจฉัยของแพทย์ จะใช้หลักฐานจากการซักประวัติผู้ป่วยว่ามีปัจจัยเสี่ ยงหรือไม่ จากนั้นก็ตรวจร่างกาย ว่ามีรอยโรคหรือไม่ และเมื่อแพทย์ตรวจพบรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งจะทำ การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำ ไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา" พญ. สมจินต์อธิบายเมื่อตรวจพบความเสี่ยงต่อโรคฯ

ทั้งนี้ หลังจากที่แพทย์ได้ทำการตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยาแล้ วว่าเป็นมะเร็ง แพทย์ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อทำการประเมินระดับอ าการของโรค โดยการตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และวางแผนการรักษา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้มีการศึกษามาแล้ว โดยใช้การรักษาหลักๆ คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยที่เป็นในระยะเริ่มแรกจะใช้วิธีการรักษาโดยกา รผ่าตัด หรือการฉายรังสีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หากเป็นในระยะลุกลาม จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัด และการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดในภายหลัง
อย่างไรก็ดี พญ. สมจินต์ แนะนำว่า การ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการเคี้ยวหมาก โดยหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพในช่องปากของตัวเอง นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน ประเภทผักผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือแดง เช่น มะเขือเทศ แครอท และฟักทองก็สามารถลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งในช่องปาก ได้ รวมถึงการปฎิบัติตัวที่ดีหมั่นออกกำลังกายและคอยสังเ กตความเปลี่ยนแปลงของ ตัวเอง หากพบอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์ก่อนที่มะเร็งจะลุ กลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น