วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถนอมหลัง ช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด

 เทคนิคถนอมหลัง ช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด


ด้วย ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ อยู่กับคอมพิวเตอร์ ขับรถ โหนรถเมล์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่อาการปวดหลังได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการสุขภาพเสื่อมถอยที่พบในประชากรวัยผู้ให ญ่มากถึง 4 จาก 5 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80 โดยประมาณครึ่งหนึ่ง สามารถหายจากความไม่สบายกายนี้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 90 จะหายภายใน 3 เดือน
แต่ สำหรับคนที่ปวดหลัง ร้อยละ 5-10 จะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และก้าวไปถึงขั้นเส้นประสาทถูกทำลาย มีอาการแสดงให้เห็น 2 ด้านชัดๆ ได้แก่ กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่อยู่ และแขนขาอ่อนแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นก่อนที่อาการทรมานจะมาถึง ลองอ่านเทคนิคจากแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ที่ทีมงานนำมาฝากกันดู เชื่อว่าจะช่วยให้คุณ และคนในครอบครัวห่างไกลจากอาการปวดหลังได้ไม่น้อย
เทคนิคจัดท่วงท่าให้เข้าที่
การ นั่งหรือยืนให้ถูกท่าเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องทุกว ันไปจนตลอดชีวิต เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง รวมทั้งความเสื่อมของข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ
ท่ายืน ควรจะยืนตัวตรงหลังไม่โก่งหรือคด แนวติ่งหู ไหล่ และข้อสะโพกควรเป็นแนวเส้นตรง ไม่ควรยืนนานเกินไป ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้น ควรจะมีเบาะรองฝ่าเท้า อย่างไรก็ตาม หากต้องยืนนานๆ ควรมีที่พักเพื่อสลับเท้าพัก หรือมีเก้าอี้หรือโต๊ะเล็กไว้วางเท้าข้างหนึ่ง
การนั่ง เป็นการเพิ่มแรงกดต่อกระดูกหลังมากที่สุด ควรมีพนักพิงหลังบริเวณเอว เลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่นั่งสบายหมุนได้เพื่อป้องกัน การบิดของเอว และมีที่พักแขนขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระ ดับข้อสะโพกเล็กน้อย รวมทั้งมีเบาะรองเท้า และหมอนเล็กๆ รองบริเวณเอว เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก โดยอาจหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง
การขับรถ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล ควรเลื่อนเบาะนั่งให้ใกล้เพื่อป้องกันการงอหลัง หลังส่วนล่างควรจะพิงกับเบาะ เบาะไม่ควรเอียงเกิน 30 องศา เบาะนั่งควรจะยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย หากขับรถทางไกลควรจะพักเดินทุกชั่วโมง และไม่ควรยกของหนักทันทีหลังหยุดขับ
การนอน ที่นอนไม่ควรจะนุ่มหรือแข็งเกินไป ควรจะวางไม้หนา 1/4 นิ้ว ระหว่างสปริงและฟูก ท่าที่ดีคือให้นอนตะแคงและก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายโดยมีหมอนรองที่ข้อเข่า ไม่ควรนอนหงายโดยที่ไม่มีหมอนหนุน หรือนอนตะแคงโดยไม่มีหมอนข้างหรือนอนคว

อย่างไรก็ดี หลักการป้องกันโรคปวดหลังดีที่สุด คือ การออกกำลังกายและป้องกันหลังมิให้ได้รับอุบัติเหตุ โดยการบริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้าม เนื้อหลัง เพราะหากไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเน ื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยๆ สร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด โดยการออกกำลังกายอาจจะทำได้โดยการเดินการขี่จักรยาน หรือการว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรงอีกสิ่งหนึ่งที่ต้อ งทำควบคู่กันไปก็คือ รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การวิ่ง ขี่จักรยาน เป็นต้น
เชื่อหรือไม่? เดินโทรฯ กระทบสันหลัง!
มีผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวีนสแลน ด์ ในออสเตรเลีย ระบุหากคุยโทรศัพท์ขณะเดินอยู่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากวิธีในการหายใจของเรานั่นเป็นเพรา ะร่างกายมนุษย์ถูกออก แบบมาให้หายใจออกเวลาเท้าแตะพื้น ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันการกระแทกของกระดูกสันหลัง ดังนั้น การพูดและเดินไปพร้อมๆ กันจะทำให้รูปแบบการหายใจนี้เสีย และส่งผลต่อกระดูกสันหลังของเราได้
คณะวิจัยได้ทำการวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำตัว ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องกระดูกสันหลังในอาสาสมัครแต่ละ คน พบว่า กล้ามเนื้อส่วนลำตัวจะทำงานได้อย่างเหมาะสมในคนที่เด ินเฉยๆ แต่คนที่เดินไปพูดไปจะมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบ ริเวณนี้น้อยกว่าปกติ และจะเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง
"ปัญหา นี้เกิดขึ้นเนื่องจากวิธีในการสั่งงานของสมอง โดยกล้ามเนื้อจะมีหน้าที่หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และถูกสั่งการโดยสมองตามลำดับความสำคัญ ดังนั้น ขณะที่คุยโทรศัพท์และเดินไปในเวลาเดียวกัน สมองก็จะให้ความสำคัญกับการคุยโทรศัพท์มากกว่า และทำให้เสี่ยงต่อการปวดหลังได้มากขึ้น" คณะวิจัยกล่าวในการนำเสนอผลวิจัยนี้ต่อที่ประชุมสมาค มประสาทวิทยาสหรัฐอเมริกา
สำหรับ การเดินคุยกับคนอื่นๆ นั้น ก็จัดว่าเสี่ยงต่อการปวดหลังด้วยเช่นกัน แต่การคุยโทรศัพท์มือถือขณะเดินจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นพ ิเศษ เพราะมักใช้เวลากับการเดินและคุยมากกว่าปกติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น