องค์ประกอบของไฟ
1. เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดการลุกไหม้มาจากสารเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์เคมี และอินทรีย์เคมี
** สารอนินทรีย์เคมี เป็นสารที่เป็นพวกแร่ธาตุที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งมีชีวิต และไม่มีส่วนประกอบของคาร์บอน เช่น โปรตัสเซียมไนเตรท โซเดียม กรดต่าง ๆ เป็นต้น
** สารอินทรีย์เคมี เป็นสารที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต มีส่วนประกอบของธาตุคาร์บอน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน กาซธรรมชาติ เป็นต้น
2. ความร้อน เป็นสิ่งที่ทำให้อุณหภูมิของเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง จุดติดไฟทำให้องค์ประกอบของการเกิดไฟ หรือเรียกว่า ปฏิกิริยาการสันดาป เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมจะมีจุดติดไฟไม่เหมือนกัน
3. ออกซิเจน บรรยากาศทั่ว ๆ ไปมีไนโตรเจน 79.04 % ออกซิเจน 20.93 % และคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03 % โดยออกซิเจนจะเป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้ การเผาไหม้แต่ละครั้งต้องการออกซิเจนประมาณ 16 % เท่านั้น ถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 16 % ก็จะไม่ช่วยให้เกิดการเผาไหม้ต่อไป ไฟจึงจะมอดดับลงได้ ดังนั้น จะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดถูกล้อมรอบไปด้วยออกซิเจนอย่างเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ ยิ่งมีออกซิเจนมากเชื้อเพลิงก็ยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองลุกไหม้ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนที่อยู่โดยรอบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น