ฟังดนตรีก่อนเล่นเครื่องเสียงเมื่อพูดถึง "เครื่องเสียง" ก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง ไม่ค่อยจะเข้าใจความหมายของคำคำนี้กันนัก ทั้งๆที่ชีวิตประจำวันของผู้คนนั้น หาได้หลีกพ้นจากเครื่องเสียงไม่ บางทีก็มีการเข้าใจไขว้เขวไปหลายเรื่อง บ้างนึกถึงเครื่องเสียงในบาร์ ผับ ดิสโก็เธค หรือไม่ก็นึกถึง เครื่องเสียงอิเล็กทรอนิกส์แถวบ้านหม้อ ส่วนกลุ่มที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงในบ้านที่เรียกว่าโฮมออดิโอ (HOME-AUDIO) นั้น มีความเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ความคลุมเครือของเครื่องเสียงนั้น เกิดจากมีวิทยาการหลายๆแขนง เข้าไปผสมผลานในตัวของมันเกิดจากมีวิทยาการหลายๆ แขนง เข้าไปผสมผสานในตัวของมัน เลยดูยุ่งยากเกินกว่าที่คนไม่สนใจด้านนี้จะทำความเข้าใจได้ แท้จริงแล้ว การออกแบบเครื่องเสียงให้นำมาใช้ในบ้าน เนื่องด้วยจุดประสงค์หลักก็คือ คืนเสียงดนตรีธรรมชาติมาสู่ผู้นิยมฟังดนตรีเพลง !! มีจำนวนมากมายเหลือจะนับได้ เมื่อพูดถึงคนที่จ่ายสตางค์ซื้อเครื่องเสียง 1 ชุด แล้วต้องทนทุกข์อยู่กับระบบเครื่องเสียงที่ไม่เข้าท่าตลอดเวลา อย่างนี้เขาเรียกฟังเพลงด้วยความเป็นทุกข็ เครื่องเสียงประเภทคอมโปเนนท์ที่วางขายเกลื่อนตลาดอยู่นั้น เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ ดีแต่สวย ส่วนเสียงนั้นยังห่างความเป็นดนตรีอีกแยะ ซึ่งในการเล่นเครื่องเสียงแบบที่นักเล่นเครื่องเสียงเขาเล่นกัน คนพวกนี้จะมีศัพท์เฉพาะกลุ่ม ที่เขาเรียกกันว่า พวกออดิโอไฟล์ (AUDIOPHILE) หรือนักเลงเครื่องเสียง (พวกคลั่นเครื่องเสียงนั่นแล้ว) ดูๆ ไปก็เหมือนพวกนักเลงพระเครื่อง นักเล่นปืน ซึ่งมีเทคนิคพิเศษเฉพาะกลุ่ม ทั้งคำศัพท์เฉพาะและวิธีการเล่น ทีนี้พอคนที่อยากจะมีชุดเครื่องเสียงไว้ฟัง ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงถึงจะเป็นไปได้อย่างพวกออดิโอไฟล์ ก็เลยเล่นมันง่ายๆ ซื้อมินิคอมโปเนนท์ซะชุดหนึ่งก็หมดเรื่อง ก็หมดเรื่องจริงๆแหละ คือเสียงที่ได้มักจะไม่ได้เรื่องไปด้วยละครับ เอาละ.....ถ้าเราจะเริ่มต้นเล่นเครื่องเสียงกัน จะต้องมีการติววิชานี้กันแบบเรียนลัดสักเล็กน้อย ขอให้ยึดปรัชญาหลักเอาไว้เสมอ เรียกว่าท่องให้ขึ้นใจเอาไว้ว่า ไฮฟิเอลิตี้ (HIFIDELITY) นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่แม้แต่นักเล่นเซียนเครื่องเสียงยังเลือนลืมเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็เลยเข้าทำนองนักขี่ม้าตกม้าตาย คำที่ว่านี้ หมายถึง "ความสมจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงอย่างยิ่ง" นั่นก็คือ การเล่นเครื่องก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงดนตรีธรรมชาติแท้จริง ด้วยการย่อส่วนเวทีคอนเสิร์ตมาอยู่ในห้องฟังหรือในบ้านอย่างเหมาะสมเอากันแค่ใกล้เคียงที่สุด อย่างไปหวังให้มันเหมือนดนตรีจริง เพราะชุดเครื่องเสียงราคา 3 ล้านบาท ยังทำไม่ได้เลย การเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้แกล้เคียงดนตรีจริงๆ นี้แหละทำให้เราต้องแสวงหาเครื่องเสียงที่ดีกันตลอดเวลาไม่มีทางหยุดนิ่ง ความสนุก มันอยู่ตรงนี้เอง ได้สนุกับความขาดๆ เกินๆ ของการเล่นเครื่องเสียง แต่อย่างไรก็ตาม จะเล่นเครื่องเสียงกันทั้งที ถ้ายังไม่เคยสัมผัสดนตรีจริงๆ ละก็ หนทางมันย่อมอยู่ห่างไกล เมื่อเล่นถึงจุดหนึ่งคุณอาจเป็น "นักฟังเครื่อง" ไม่ใช่นักฟังเสียงดนตรีก็ได้ ดังนั้นของให้เริ่มต้นด้วยการหัดฟังดนตรีจริง จากวงออร์เคสตร้าบ้างซึ่งจะมีการเปิดแสดงอยู่เสมอที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยหรือที่หอประชุมเอยูเอ (ขอรายการล่วงหน้าจากเจ้าของสถานที่ได้) ถ้าคิดว่าการไปฟังดนตรีพวกนี้จะต้องปีนบันไดฟังละก็ ให้ตั้งต้นคิดเสียใหม่ เริ่มจากการชมฟังดนตรีคลาสสิกง่ายๆ อย่างเช่น สตริงควอเต็ต หรือ แชมเบอร์มิวสิกที่มีนักดนตรีบรรเลงเพียง 4-5 คน เป็นการเริ่มต้น แล้วเค้าฟังอย่างหละ? การนั่งฟังดนตรีประเภทนี้เป็นที่รู้กันว่า เสียงรบกวนต่างๆ แทบจะไม่มี เพราะห้องแสดงดนตรีที่พื้นผิวอะคูสติกดีเยี่ยม เหมาะสมและมารยาทในการฟังเขาจะไม่มีการพูดคุยกันจ้อกแจ้กจอแจ หรือฟังดนตรีไปเคี้ยวข้าวโพดคั่วไปเหมือนคนดูหนัง เลือกที่นั่งตรงกลางได้ยิ่งดี คือนั่งให้บาลานซ์ระหว่างเวทีซ้ายขวาฟังดนตรี แล้วลองหลับตาในบางช่วงบางขณะ พอมีสมาธิสักหน่อยคุณจะพบว่า แม้กระทั่งเราจะมองไม่เห็นชิ้นดนตรีบนเวที แต่เราจะได้รับรู้ว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่เล่นอยู่ตรงหน้า โสตและสมองจะแยกแยะได้ออก ข้อดีของดนตรีคลาสสิกแบบนี้ก็คือ ไม่มีการใช้เครื่องเสียง ซึ่งมักเป็นตัวทำให้เสียงดนตรีแท้นั้นเพี้ยนหรือเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงได้ ตอนนี้เรามาสมมติกันว่ามีโอกาสไปฟังดนตรีเครื่องสายแบบตะวันตกบรรเลงในรูปแชมเบอร์มิวสิก คำว่าแชมเบอร์มิวสอกคือ ดนตรีที่เล่นผสมกันแบบง่าย 4-5 ชิ้น เล่นในห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนัก เมื่อก่อนคือการเล่นของนักดนตรีเอกของโลก เมื่อมาพบปะกันก็เลยถือโอกาสเอาเครื่องดนตรีของตนออกมาแจมกัน มันก็ได้กลายมาเป็นดนตรีแบบแชมเบอร์มิวสิกในเวลาต่อมา ซึ่งดนตรีชุดนี้จะประกอบด้วย (ไวโอลิน 2,วิโอลา 1,เชลโล 1) ไวโอลินจะให้เสียงพื้นฐานของมันในทางแหลมหวาน วิโอลาจะให้เสียงแหลมหวานที่ดูห้าวหรือนุ่มขึ้นมานิดหนึ่ง ในขณะที่เสียงทุ้มก็จะได้จากเชลโลที่จะเป็นเครื่องสีที่ให้เสียงความถี่ต่ำๆ เมื่อไปฟังดนตรีประเภทนี้ คุณลองดูวิธีการจัดวงว่าเขาเรียงกันอย่างไร ตามปกติจะเรียงไวโอลินจากซ้ายไปหาวิโอลาตรงกลาง และเชลโลอยู่ขวามือสุดของเวทีดนตรี เมื่อทำการบรรเลง การประสานกันของดนตรีแต่ละชิ้นนั้นแม้จะผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว แต่คุณลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น จะมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่ คือ ไอเวอร์โทนของเครื่องดนตรีจะบอกให้เราทราบว่า นั่นเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด เป็นไวโอลิน วิโอลา หรือเชลโล หลับตาบ้าง เพื่อสังเกตว่าตอนที่มองเห็นกับการไม่มองดูบนเวทีดนตรี เรายังได้เห็นเสียงดนตรีครบขึ้นหรือไม่ พิจารณาความกว้างลึกของเวทีดนตรี (SOUND STAGE) ลักษณะการก้องสะท้อนที่เกิดจากการเล่นดนตรีในห้องโถงนั้น (หอประชุม,คอนเสิร์ตฮอลล์) ว่ามีการก้องสะท้อน (ECHO) การหน่วงเวลา (DELEY) สภาพความเป็นจริงตรงนั้น เมื่อฟังอย่างตั้งใจ เราจะเริ่มเรียนรู้ขั้นต้นว่าดนตรีบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปนเป็นอย่างนี้นะ แล้วค่อยๆ ขยับเกรดไปฟังดนตรีที่วงใหญ่ๆ ต่อไป และอาจจะก้าวไปจนถึงการแสดงสดของดนตรีที่มีการขยายเสียงด้วยเครื่องดนตรี พี.เอ. (PUBLIC ADDRESS = เครื่องเสียงในงานอาชีพ) ดูความแตกต่างดนตรีประเภท JAZZ, POP, ROCK, LIGHTMUSIC,COUNTRY รวมถึง CLASSIC ที่แนะนำข้างต้นนั้น พิจารณาความแตกต่างหาสิ่งที่คุณชอบฟังด้วย เพราะมันจะกลายเป็นที่มาของสไตส์เฉพาะตัวของคุณเอง นั่นเป็นข้อแนะนำแบบที่ง่ายอย่างยิ่งไม่ลำบากในการถือปฏิบัติ และจะมาเอื้อประโยชน์ให้เราวันข้างหน้า ดีกว่าการหลับหูหลับตาเดินเข้าไปในร้านเครื่องเสียง ไปถูกร้านค้าเชือดเอา บางทีห่างเหินการฟังดนตรีคลาสสิกแบบบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าไปนานเกือบปี เพราะไปมัวแต่หลงทางหาซื้อเครื่องเสียงลำโพง ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุดมาฟังการเดี่ยวไวโอลินของนักดนตรีมือหนึ่ง แล้วเสียงติดหูมาจนถึงบ้าน กลับมาถึงรีบมาเปิดชุดเครื่องเสียงฟัง โอ้ว...พระเจ้าจอร์จอะไรกันนั่น เสียงไวโอลินจากลำโพงที่แพงๆ เรือนแสนทำไมมันผิดความเป็นจริงขนานนั้น พอไปยกลำโพงราคาสามหมื่นบาทมาเปลี่ยนเป็นลำโพงที่เคย "เซ็ง" กับมันมาตลอด ค่าที่ว่าเสียงมันออกจืดๆ เรียบๆ ปรากฏว่าลำโพงคู่ นี้กลับให้เสียงที่เหมือนดนตรีจริงๆ อย่างที่ฟังในเวทีคอนเสิร์ตมากกว่า ดังนั้นใครที่คิดว่าของแพงแล้วจะดีหรือถูกต้องนั้นไม่จริงเสมอไป บางทีมันก็ลากหูเราไปตามใจอยากมากกว่าแสวงหาความจริง การเล่นเครื่องเสียงนั้น บางคนอาจจะควักกระเป๋าสตางค์สักเท่าไรๆ ก็ไม่เดือนร้อน แต่เครื่องเสียงนี่มันไม่เหมือนซื้อข้าวปลาอาหารหรือของอุปโภคบริโภคอื่นๆ ซื้อหมูหนึ่งกิโล ราคา 70 บาท ซื้อสองกิโลมันก็ 140 บาท ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัดๆ แต่การเปลี่ยนเครื่องเสียง ถ้าจะให้เสียงดีกว่าชุดเดิม สมมติหนึ่งเท่าตัวอาจจะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น 10-20 เท่า อย่าได้เอาสูตรคณิตศาสตร์มาใช้กับการเล่นเครื่องเสียงเด็ดขาดทีเดียว เพราะเครื่องเสียงไม่สามารถคำนวณด้วยสูตรตัวเลข และเรื่องราวที่เขียนบอก เล่ามาข้างต้นจนถึงบรรทัดนี้ ก็จะเป็นการพิสูจน์ว่าเครื่องเสียงประเภทมินิคอมโปเนนท์นั้นไม่มีวันเป็นชุดเครื่องเสียงชุดหลักในอุดมคติได้เด็ดขาด เป็นได้อย่างดีก็เพียงชุดเครื่องเสียงชุดที่สองของบ้านเท่านั้น เพราะความห่างไกลจากคำว่า ไฮ-ฟิเดลิตี้นั่นเอง(ฟังจนหนวดหวอก เสียงก็ไม่สมจริงสักที) ศัพท์คำว่าไฮไฟ (HIFI) นั้น เรามักจะพบกันค่อนข้างบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในการเล่นเครื่องเสียงที่เป็นเรื่องที่พบเสมอๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะในการเล่นเครื่องเสียงที่เป็นเรื่องที่พบเสมอๆ อยู่แล้ว เพราะได้มาจากคำว่า HIGH FIDELITY หรือ HIFI-DELITY นั่นเอง ส่วนศัพท์อีกคำหนึ่งที่ว่า สเตอริโอ (STEREO) ก็มักจะอยู่เคียงข้างกันเสมอคำนี้หมายถึงการรับรู้ด้วยประสาทการรับฟังทั้งคู่มีซ้าย-ขวา คนที่เริ่มในใจเครื่องเสียงใหม่ๆ มักจะเรียกการเล่นเครื่องเสียงว่าเล่นเครื่องสเตอริโอแล้วก็เข้าใจว่า สเตอริโอคือ เสียงทุ้มที่ดังตูมๆ นั่นเอง ก็เลยหลงทิศผิดทางกันมาได้เรื่อยๆ เป็นเหยือให้ผู้ขายบางกลุ่มเข้าปล้นเงินในกระเป๋าทางอ้อม บางคนตามเล่นเครื่องเสียงไม่ไหวเพราะมีรุ่นใหม่เรื่อยๆ พาลท้อใจเลิกเล่นมันไปเสียเลยก็มี หันไปฟังซาวด์อะเบาท์มันกว่า ว่างั้นเถอะ ที่จริงการเล่นเครื่องเสียง ขอให้หาโอกาส มีประสบการณ์ฟังดนตรีจริงๆ เทียบกับเครื่องเสียงที่ดีๆ ขึ้นเรื่อยๆ จะค่อยๆ เข้าใจเองแล้วจะหายข้องใจว่า ทำไมคนเล่นระดับออดิโอไฟล์เขาถึงต้องเล่นเครื่องเสียงแยกชิ้น แทนที่จะเล่นคอมโปรวมชิ้น (ทุกอย่างครบในเครื่องเดียว) และทำไมเครื่องเสียงยี่ห้อดังๆ แพงๆ อย่าง มาร์ค ลีวินสัน,เชลโล,แม็คอินทอช,แอคคิวเฟส ฯลฯ (MARK LEVINSON,CELLO,McINTOSH,ACCUPHASE) จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและปรารถนากันนักถึงจะแพงแค่ไหนก็พยายามกัดฟันซื้อหามาเล่น แน่นอนว่า เครื่องเสียงประเภทแยกชิ้นนั้น เมื่อจัดผสมกันจนครบสูตรแล้ว แสียงที่ได้มันจะเข้าข่ายไฮฟิเดลิตี้ค่อนข้างแน่นอน แต่วิธีการผสมชุดนี่แหละเป็นเรื่องยากต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไห เรื่องของระดับความดัง ในเล่นเครื่องเสียง ซึ่งอย่ากให้ทำความเข้าใจกันก่อนที่จะก้าวไปเรียนรู้เรื่อนอื่นๆ เมื่อเราฟังดนตรีจริงๆ นั้น แต่สมมารถจัดชุดเครื่องเสียงให้มีเสียงเครื่องเสียง จะดีกว่าของจริงก็ตรงที่สมารถฟังในระดับความดังขนาดไหนก็ได้ ตามความพอใจ เปิดให้มันเบาๆ หรือฟังแบบยกวงดนตรีมาวางตรงหน้าก็เร่งระดับความดังขึ้นไปมากๆ จะเอาให้ถึงกับเพื่อนบ้านเจริญพรก็ยังได้ ขึ้นกับว่าจะฟังเครื่องเสียงแบบพักผ่อนหรือแบบหาเรื่อง แบบที่วัยรุ่นเขาแต่งรถซิ่งกัน ก็ยัดเครื่องเปิดอัดแข่งกันให้มันหนวกหูตายกับไปข้างหนึ่ง ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะการฟังเพื่อไโฟิเดลิตี้เท่านั้น ในตารางประกอบนี้คือระดับความดังที่นักเล่นเครื่องเสียงควรทราบเอาไว้ เรื่องของระดับความดังนี้ หน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ เดซิเบล (DB=DECIBLE) ซึ่งวิธีการวัดระดับความดังนี้ ที่ระดับศูนย์ดีบี (0 DB) นั้น มาจากการวัดที่ความเข้มของเสียงขนาด 0002 ไดน์ ต่อตารางเซนติเมตร ระดับความดังสูงๆ ขนาดที่ทำให้แก้วหูแตกหรือพิการ อย่างเช่นเสียงระเบิดที่ดังขึ้นใกล้ๆหูนั้น จะมีความดังถึง 140 เดซิเลบ เป็นความดังที่ทำให้หูพิการตลอดชาติ และเรื่องที่น่าตกใจ คือ ปัจจุบันสถานบันเทิงจำพวกดิสโก้เธค ผับบางแห่ง มีความดังที่ใกล้เคียงจะทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน แม้กระทั่งความดังในท้องถนนของกรุงเทพมหานครก็เริ่มอยู่ในระดับอันตรายสูงสุดแล้ว ระดับความดัง จะเป็นเครื่องกำหนดให้คนเล่นเครื่องเสียงต้องทราบว่า เสียงรบกวนในธรรมชาติทั่วไปนั้น มีระดับความดังอยู่ขนาดหนึ่งแล้ว การเปิดเครื่องเสียงให้มีความดังนั้น จะต้องดังมากกว่าระดับเสียงรบกวนในธรรมชาติ เช่นในห้องฟังทั่วไปมีเสียงรบกวน 50 ดีบีอยู่แล้ว คุณต้องเปิดเครื่องเสียงดังถึง 60 ดีบี จึงได้ยินเสียงเพลงจากเครื่องอย่างนี้ เป็นต้น 140dB ระดับความดังที่ทำให้หูพิการถาวร 130 dB ระดับที่ทำให้หูพิการได้ 120 dB เสียงปืนใหญ่ที่ดังใกล้ๆ 110 dB เสียงดังที่เฉลี่ยในดิสโก้เธค 100 dB เสียงภายในไนท์คลับ,บาร์,แจ๊ชผับ 90 dB เสียงดังของรถสิบล้อ 80 dB เสียงดังจากรถเมล์ 70 dB เสียงวิทยุทั่วๆไป 60 dB เสียงรบกวนการพูดคุย ภายในสำนักงานทั่วไป 50 dB เสียงรบกวนในห้องพักผ่อน 40 dB ห้องพักยามดึก 30 dB ดึกสงัด 20 dB เสียงภายในห้องบันทึกเสียงเกรดเยี่ยม 10 dB ห้องแล็ป 0 dB เงียบสนิท ในเรื่องการตอนสนองความถี่ และการแยกธาตุเครื่องเสียงนั้น อาจกล่าวได้ว่าหูของมนุษย์นั้น มิใช่เพียงแค่จะฟังเสียงที่มีระดับความดังต่ำสุด จนถึงดัง (แรง)สูงสุดเท่านั้น เครื่องมือพิเศษชิ้นนี้ติดมากับร่างกายของเรามาตั้งแต่อ้อนแต่ออกสามารถฟังอะไรได้ละเอียดลออมากกว่าที่เราคิดกันมากนัก บางทีเครื่องมือจับวัดค่าต่างๆ ยังสู้หูมนุษย์ไม่ได้ด้วยซ้ำ ความถี่เสียงที่จะพูดถึงจากนี้ไป ก็คือเสียงที่เราได้ยินกันเป็นประจำนั้น จะมีตั้งแต่ความถี่ต่ำมากๆ จนหูมไม่สมารถรับรู้ได้ไปจนถึงความถี่แหลมสุดๆ จนกระทั่งหูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินในเรื่องของความถี่เสียงนี้สมมติให้เห็นง่ายๆ ว่าเสียงแหลมของนกหวีดกับเสียงเครื่องยนต์มีความแตกต่างกันคนละความถี่ หรือเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นนั้นก็ครอบคลุมความถี่ไม่เท่ากันด้วย การจำแนกแจกแจงความถี่เสียงจะเริ่มกันตั้งแต่ 20 เฮิรตช์ ถึง 20,000 เฮิรตช์ (20-20,000 Hz) อันเป็นความถี่ที่หูมนุษย์สามารถได้ยิน หรือสามารถตอบสนองความถี่ต่างๆ เหล่านี้ได้จากต่ำสุดไปจนถึงสูง (แหลม) สุด ถ้าจะพูดกันอย่างรวบรัดไม่เยิ่นเย้อ ความถี่ขนาด 20 เฮิรตช์นั้น ก็คือการสั่นสะเทือนของวัตถุใดๆก็ตาม ที่เกิดความถี่เป็นรูปคลื่นไชน์เวฟ 20 คลื่นใน 1 วินาที ก็จะเรียกว่าความถี่ 20 เฮิรตช์ และถ้ามีการสั่นสะเทือนมากกว่านี้ขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 1 วินาที ความถี่นั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป คลื่นไชน์เวฟที่ว่านี้เกิดขึ้นได้ถึง 20,000 คลื่นใน 1 วินาที ก็เรียกว่าขนาดคลื่นความถี่จาก 20-20,000 เฮิรตช์นี้แหละที่มนุษย์เราสามารถได้ยินและรับรู้ได้ด้วยหู ถ้าหากความถี่ที่ต่ำกว่านี้หรือสูงกว่านี้ หูคนเราจะไม่ได้ยิน แต่โสตสัมผัส ทางอื่นจะสัมผัสรับรู้ได้ เช่น ทางผิวหนัง วิธีการวัดความคลื่นความถี่โดยเครื่องมือก็จะออกมาเป็นคลื่นความถี่ในลักษณะไซน์เวฟ (SINEWAVE) คำว่า คลื่นความถี่ครบ 1 ไซเคิล (CYCLE) หรือ 1 รอบ ภายใน 1 วินาที จะมีครบทั้งคลื่นบวก (นูนขึ้นจากแกน 0-0) และคลื่นลบ (ต่ำลงจากแกน 0-0) ซึ่งเขียนภาพประกอบให้ดูง่ายๆ (ดังภาพประกอบที่ 1) ให้ถือว่าแกนมาตรฐาน 0-0 เป็นช่วงระยะเวลา 1 วินาทีเท่ากัน แต่คลื่นความถื่จะเกิดในแต่ละภาพสมมติไม่เท่ากัน (1 เฮิรตช์, 2 เฮิรตช์, และ 5 เฮิรตช์) ให้ลองหลับตานึกภาพดูซิคครับว่าถ้าหากความถี่ขนาด 20,000 เฮิรตช์นั้นจะมีคลื่นเกิดถึง 20,000 ไชเคิล มันจะมากมายขนาดไหนในระยะเวลาที่เท่าๆกัน เรื่องของการตอบสนองความถี่นั้น จะเป็นการบ่งบอกสถานะของเครื่องเสียงด้วยว่าถ้าเครื่องเสียงชุดใดมีความเป็นไฮ-ไฟมาก จะต้องตอบสนองความถี่ครบถ้วนตั้งแต่ 20-20,000 เฮิรตช์ หรืออาจเกินไปจากนี้ความสามารถในการตอบสนองความถี่ที่เป็นไฮ-ไฟ นั้น เขายอมรับกันตั้งแต่ 20-15,000 เฮิรตช์ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงเอฟ-เอ็มสเตอริโอ จะกระจายเสียงระบบใดสามารถให้การตอบสนองความถี่ในการกระจายเสียงได้สูงถึงความถี่ 20,000 เฮิรตช์ ยกเว้นระบบกระจายเสียงเอฟเอ็มอิจิตอลที่อยู่ในระหว่างการทดลอง ระบบเอฟเอ็มดิจิตอลอาจจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ของการกระจายเสียงในอนาคต ในไม่ช้าไม่นานนัก! บทสรุปในช่วงนี้ ที่ท่านผู้อ่านควรทราบก็คือ ดนตรีรวมทั้งวง ตามปกติจะให้การตอบสนองความถี่ได้ครบถ้วน จากต่ำสุดถึงสูงสุด 20-20,000 เฮิรตช์ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เครื่องเสียงซึ่งมีหน้าที่ในการถ่ายทอดเสียงดนตรีให้เราฟัง จะต้องมีความสามารถในการตอบสนองความถี่ต่างๆ ครบถ้วนด้วย จรงอยู่ว่าถ้าเราแยกเอาเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาจากกันแล้วให้มีการเดี่ยวเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก็จะพบว่ามีเครื่องดนตรีแค่ชิ้นเดียวเท่านั้นที่ให้ความถี่ครบถ้วนจาก 20-20,000 เฮิรตช์ คือ ออร์แกนท่อ นอกจากนั้น สังเกตดูนะครับว่า ฟลุตจะให้ความถี่เสียงของมันออกมาอยู่ในช่วง 260 เฮิรตช์ไปจนถึงประมาณ 3,000 เฮิรตช์ ขณะที่เปียโนจะตอบสนองความถี่ได้กว้างกว่าคือจาก 30-4,200 เฮิรตช์โดยประมาณ นอกจากเครื่องดนตรีจะให้ค่าความถี่ที่แตกต่างจากกันแล้ว ยังมีลักษณะเสียงที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งภาษาเทคนิคเขาเรียกว่ามี โอเวอร์โทน ต่างกัน เช่น ไวโอลินกำลังสีที่ความถี่ 1,000 เฮิรตช์ เปียโนก็กำลังบรรเลงที่ความถี่เดียวกัน 1,000 เฮิรตช์ แต่เราก็สามารถฟังออกว่ามีเครื่องดนตรี 2 ชิ้นบรรเลงอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะเครื่อง ดนตรีจะมีโอเวอร์โทนหรือลักษณะเสียงต่างกันไป เมื่อจับเอาเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ มาประสมวงเราจึงได้ยินการไต่บันไดโน้ต การสอดประสาน ลูกล้อ ลูกขัด การผสม กลมกลืนกันได้หลายแบบ หลายอารมณ์ เป็นที่มาแห่งบทเพลงและดนตรีนั่นเอง การสัมผัสเรียนรู้เบื้องต้นเหล่านี้ เอาไว้เป็นกำไรเมื่อตอนคุณเลือกซื้อเครื่องเสียงในวันหน้า เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระดับความดัง การตอบสนองความถี่ การรับฟัง เสียงดนตรีจริงจากวงคอนเสิร์ต ฯลฯ จะมีประโยชน์อย่างมาก เรียกว่าจะได้เลือกซื้อเครื่องเสียงกันอย่างมีภูมิรู้หน่อยละครับ หลังจากทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มาพอสังเขป แล้ว ก็จะให้ลองพิจารณาดูตัวตนจริงๆ ของเครื่องเสียงกันว่า ถ้าหากจะแยกส่วนของเครื่องเสียงซึ่งทำหน้าที่ให้มีเสียงเพลงดังอย่างมีคุณภาพในบ้านของคุณ มีการแบ่งออกเป็นภาคๆ พอให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้ครับ หลังจากทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มาพอสังเขปแล้ว ก็จะให้ลองพิจารณาดูตัวตนจริงๆ ของเครื่องเสียงกันว่า ถ้าหากจะแยกส่วนของเครื่องเสียง ซึ่งทำหน้าที่ให้มีเสียงเพลงดังอย่างมีคุณภาพในบ้านของคุณ มีการแบ่งออกเป็นภาคๆ พอให้เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้ครับ ภาคของแหล่งโปรแกรม ภาคปรับแต่และซีเล็คเตอร์เลือกสัญญาณ ภาพขยายเสียงภาคแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นพลังเสียง นี่คือเรื่องของเครื่องเสียงแยกชิ้น ไม่ใช่ประเภทรวมชิ้นแบบมินิคอมโปเนนท์ ถึงกระนั้นเครื่องจำนวกมินิคอมโปเนนท์ ถ้าเรานำเครื่อง ทั้งชุดมาจำแนก ก็จะได้แต่ละส่วนหรือแต่ละภาพออกมาได้เท่าๆกับเครื่องเสียงแยกชิ้น (ภาพประกอบที่ 3) และเพื่อให้มีความเข้าใจง่ายถึงลักษณะการแบ่งประเภทของเครื่องเสียงแยกชิ้นขอได้ดู (ภาพประกอบที่ 4) ด้วยจะเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องเสียงแยกชิ้นมีการแบ่งออกเป็นภาพเป็นส่วนอิสระก่อนจะนำมารวมผสมเป็นชุดๆเดียวกัน เพื่อใช้งาน เมื่อดูจากภาพประกอบแล้ว คุณจะพบว่าในเครื่องเสียงประเภทแยกชิ้นนั้น แหล่งโปรแกรมจะมีจำนวนเครื่องแต่ละประเภทให้เลือกใช้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฟังเทปคาสเช็ตกับคาสเช็ตเด็ค ฟังคอมแพ็กดิสก์จากเครื่องเล่นคอมแพ็กดิสก์ ฟังเสียงจากแผ่นเสียงด้วยเทอร์นเทเบิ้ล หรือรับวิทยุด้วยจูนเนอร์ทุกเครื่องต่างเป็นเครื่องที่มีสัญญาณเอาท์พุท (ขาออก) เพียงประมาณเล็กน้อย ไม่สามารถนำไปขับเสียงลำโพงโดยตรงได้ จำเป็นต้องต่อเข้าปรีแอมปลิไฟร์เออร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นภาคขยายเบื้องต้น ขยายสัญญาณ จากเครื่องแหล่งโปรแกรมทั้งหลายให้มีความดังในปริมาณพอสมควรและปรีแอมป์ ยังมีภาคซีเล็คเตอร์เลือกเล่นหรือเลือกฟังจากแหล่งโปรแกรมเครื่องใดๆ ได้ด้วย ถ้าคุณเล่นแหล่งโปรแกรมดังกล่าวนี้ครบทั้ง 4 เครื่อง ก็ต้องเลือกซีเล็คเตอร์ว่าจะฟังจากเครื่องใด เรื่องที่จะฟังพร้อมๆ กันทุกเครื่องน่ะชวนเป็นโรคประสาทมากกว่าสบายหูสบายใจเสียงจะตีกันมั่วไปหมด หลังจากนั้นปรีแอมป์จะเลือกแหล่งโปรแกรมที่ต้องการ คุณก็ทำการส่งต่อสัญญาณจากปรีแอมป์นี้ไปสู่เพาเวอร์ แอมป์เพื่อขยายสัญญาณให้แรกขึ้นสัญญาณที่ว่านี้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้ายังเป็นเพลงเป็นอะไรไปไม่ได้ ต้องส่งให้ลำโพงเป็นผู้แปลงสัญญาณให้เป็นเสียงจริงๆ ที่เราจะได้ฟังกันอีกครั้งหนึ่ง เครื่องทุกเครื่องรวมทั้งลำโพง จะออกแบบมามีสัดส่วนสัมพันธ์กันตลอดและมีมาตรฐานสากลของสัญญาณอินพุท (ขาเข้า) กับสัญญาณเอาท์พุท (ขาออก) สัมพันธ์กับค่าความต้านทานของเครื่องเสียงเพื่อให้เป็นฟอร์แมตสากล ไม่เช่นนั้นการผสมข้ามยี่ห้อ (ข้ามพันธุ์) จะทำไม่ได้ แล้วถ้าจะถามว่า ทำไมนักเล่นระดับผู้สั่งเครื่องเสียงทั้งหลาย (ออดิโอไฟล์) จึงต้องเล่นผสมข้ามรุ่นข้ามยี่ห้อ ทำไมไม่เล่นสินค้าจากผู้ผลิตเดียวกันทั้งหมด เหตุผลก็เพราะผู้ผลิตทุกรายไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง บางบริษัททำคอมแพ็กดิสก์ได้ดี แต่ผลิต แอมปลิไฟร์ไม่เก่ง บริษัทผลิตลำโพงก็มักจะผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้เรื่องได้ราวนัก เป็นต้น เครื่องแยกชิ้นเหล่านี้บางทีผู้ผลิตก็จะจับมารวมกัน คือนำแหล่งโปรแกรมมารวมกับภาคปรีแอมป์บ้าง นำภาพปรีแอมป์ไปผสมภาคเพาเวอร์แอมป์ก็มีบางครั้งก็นำภาคปรีแอมป์-เพาเวอร์แอมป์ไปรวมกับภาครับวิทยุที่หนักกว่านั้นเอาไปรวมกันทุกอย่างเลย ตัวอย่างเห็นชัดๆ คือ เครื่องสเตอริโอราคาถูก หรือเครื่องประเภทมินิคอมโปเนนท์นั่นเอง เรื่องของการขยายเสียง การที่จะยกเอาวงดนตรีทั้งวงมาไว้ในบ้าน ด้วยลักษณะการฟังที่เหมือนจริงหรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดนั้น ระดับความดังเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้คือจะต้องมีระดับความดังที่พอเพียงแก่การรับฟังอย่างมีคุณภาพ การที่จะให้มีแต่ระดับความดังแรกขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ดังและมีคุณภาพดีด้วยนี่สิ ผู้คิดค้นระบบเครื่องเสียงจะต้องค้นหาวิธีออกแบบเครื่องกันเต็มความสามารถผลจากการพัฒนาค้นคว้าออกแบบเครื่องเสียง ทำให้เกิดวงจรสำหรับขยายเสียงมากมายหลายรูปแบบ จดจำกันแทบไม่หวาดไหว แต่โดยพื้นฐานทางความคิดของการออกแบบอย่างง่ายที่สุด คือการขยายสัญญาณให้มีความเที่ยงตรงปราศจากความผิดเพี้ยน เบี่ยงเบน อันเป็นเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดของการออกแบบเครื่องเสียงภาคแอมปลิไฟร์ (หรือภาคขยายเสียง) ภาพสมมติถึงการเปรียบเทียบการขยายเสียงที่ดี กับเครื่องขยายเสียงที่มีปัญหาในเรื่องความเพี้ยน ขอจะแสดงให้เห็นในภาพ 6A และ 6B ดังต่อไปนี้ และ ภาพที่ 6C นั้นคือภาพสมมติที่ตรงต้องต่อความจริงทางหลักวิชาการมากที่สุด ได้แก่ การขยายสัญญาณในรูปของไชน์เวฟ (SINE WAVE) ที่ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่มีความผิดเพี้ยนเจือปน วิธีการออกแบบแอมปลิไฟร์นั้น ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญเป็นระบบวงจรเครื่องเสียงเลยทีเดียว เครื่องแยกชิ้นออกแบบวงจรมาอย่างดีเลิศจึงมีความผิดเพี้ยนสูงมากบางทีมากถึง 10% จึงไม่น่าแปลกใจว่าเกณฑ์มาตรฐานคำว่า "ไฮฟิดดลิตี้" จึงยังอยู่อีกไกล เสียงที่ได้จะยังไม่สมบูรณ์ใกล้เคียงของดนตรีแท้ๆ ลักษณะการออกแบบวงจรเครื่องเสียงปัจจุบันมักจะนิยมวงจรแบบ OCL หรือ Output Condenser Less ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่มีคาปาชิเตอร์ขวางกั้นวงจร เพียงแต่จะใช้วงจรป้องกันไฟ DC รั่วออกสู่ลำโพง เป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด คือคิดกันอย่างเบสิกวงจรขยายสัญญาณจะต้องไม่มีอุปกรณ์คาปาซิเตอร์ขวางกันวงจรอันเป็นเหตุให้มีเสียงอับทึบผิดเพี้ยนจากสัญญาณจริงๆ ที่ต้องการส่วนอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือวงจรชนิด OTL หรือ Output Transformer Less เป็นวงจรที่ปรับปรุบมาจากวงจรหลอดสูญญากาศจำเป็นต้อง มีตัวคาปาชิเตอร์ขวางกั้นวงจร ปัจจุบันแทบไม่มีใครผลิตออกมาแล้ว สภาวะการทำงานของอุปกรณ์ขยายเสียง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คำนึงถึงกัน การนำอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำ (ทรานชิสเตอร์) มาต่อใช้งานย่อมจะต้องคำนึงถึงเรื่องขอบเขตการทำงานของมันให้เหมาะสมด้วยสาเหตุที่ทรานชิสเตอร์รูปแบบต่างๆ สามารถนำมาขยายเสียงได้ก็เพราะมันเป็นอุปกรณ์ อย่างหนึ่งที่อนุญาติให้กระแสไหลผ่านเป็นปริมาณมากน้อยตามผู้ออกแบบ ถ้าต้องการปล่อยให้มีกระแสไหลผ่านทรานชิสเตอร์มากๆ เสียงก็จะดังที่ลำโพงมากขึ้นไปตามลำดับซึ่งในระบบการออกแบบ จะต้องใช้ทราบชิสเตอร์ทำงานทั้งการขยายคลื่นบวกกับคลื่นลบ และวิธีการต่อทราบชิสเตอร์แบบต่างๆ จึงก่อกำเนิดวงจรหลายๆ คลาสขึ้นมาที่เรียกว่า CLASS A, CLASS B, CLASS C, CLASS D, CLASS A-B ล้วนมีที่มาทั้งสิ้น |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น