Compressor ในงานเครื่องเสียง
Compressor (คอมเพรสเซ่อร์) ทำหน้าที่ช่วยปรับระดับความคงที่ของสัญญาณที่เข้ามามีค่าคงระดับความดังเบาตามต้องการ
วิธีการต่อมีสองแบบคือ 1.ต่อแบบผ่าน In/Out 2.ต่อแบบ Insert
-คำต่างๆใน Compressor และหน้าที่
-Threshold (เทรชโฮลด์) มีหน้าที่กำหนดสัญญาณขาเข้า(Input) ที่จะให้คอมเพรสเซ่อร์เริ่มทำงานเช่นตั้งค่าไว้ที่ -10dB เมื่อสัญญาณที่เข้ามาถึง -10dB คอมฯจะเริ่มทำงาน ถ้าสัญญาณต่ำกว่า-10dB คอมฯจะไม่ทำงาน สังเกตุที่สัญญาณไฟ(LED) อย่าให้ขึ้นเกินสามเม็ด ตรงไฟแสดงสัญญาณเข้า(Input)และสัญญาณออก(Output) เราเรียกว่า GR/Gain Reduction (เกนรีดั๊คชั่น) ไฟสีแดงคือจำนวนค่าสัญญาณที่ถูกกด ส่วนสีเขียวคือสัญญาณที่ถูกคอมฯแล้ว
-Ratio (เรโช) มีหน้าที่ปรับอัตราส่วนการบีบอัดสัญญาณให้นิ่ง เช่นตั้งค่าไว้ที่ 2:1 สัญญาณเข้าไป 2dBจะถูกบีบให้เหลือ 1dB สม่ำเสมอ สำหรับการตั้งค่าให้หมุนไปขวามือสุดแล้วค่อยๆหมุนกลับมาทางขวา ฟังสังเกตุดูอย่าให้เสียงแบนเกินไป จนฟังแล้วอึดอัด ค่าโดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 1:1,2:1,3:1,5:1,8:1 ค่าคอมฯที่10:1หรือมากกว่า 10:1 จะเป็น Compressor/Limiter(คอมเพรสเซ่อร์/ลิมิตเตอร์)
-Attack (แอ๊ตแท็ค) มีหน้าที่ใช้กดหรือหน่วงสัญญาณที่เป็นเสียงกระแทกหนักๆเช่นเสียงของหัว กระเดื่อง(Kick) ให้เข้ามาเร็ว(Fast)หรือช้า(Slow) ซึ่งในทางดนตรีนั้นจะให้ความรู้สึกอาการบีบอัดและให้น้ำหนักของหัวโน๊ตเสียง
-Release (รีลีส) คือ เมื่อสัญญาณเพิ่มขึ้นเหนือค่า Threshold ที่ตั้งไว้ และเริ่มอ่อนลง คอมฯจะใช้ช่วงเวลาในการเพิ่มค่าสัญญาณให้ตรงตามที่กำหนดเราเรียกว่า Release ซึ่งจะมีค่าเวลาที่มากกว่า Attack ประมาณ 1-2 วินาทีและสามารถปรับค่าระยะเวลาได้ จะให้ความรู้สึกว่าตัวโน๊ตมีความยาว(หนืด)ขึ้น
-Solf Knee/Hard Knee (ซ๊อฟนี/ฮาร์ดนี) คือเมื่อใช้ Solf Knee จะรู้สึกถึงสัญญาที่ถูกคอมน้อยมากแต่คอมฯยังทำงานอยู่ มักใช้กับเสียงดนตรีและในทางตรงข้ามเมื่อใช้ Hard Knee เราจะรู้สึกได้ถึงแรงบีบอัดของคอมฯมากกว่า มักใช้กับเสีงพูด เสียงร้อง
-Output Gain/Make Up Gain (เอ้าท์พุทเกนหรือเม๊คอัพเกน) คือ สัญญาณที่ได้ถูกคอมฯแล้ว สามารถเร่งสัญญาณให้ดังขึ้นได้
-Peak Limitee/Limiter (พีคลิมิตเตอร์หรือลิมิตเตอร์) มีหน้าที่เอาไว้ควบคุมสัญญาณขาออกไม่ให้เกินกำหนด เช่นถ้าตั้งไว้ที่ 3dB สัญญาณที่เกินกว่า 3dB จะถูกกดไม่ให้ผ่านออกไป
COMPRESSOR/LIMITER เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน
การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR
การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้
1. การต่อแบบ Channel Insert
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน
2. การต่อแบบ Group Insert
การ ต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch> ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด
3. การต่อแบบ Mix Insert
การ ต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง [2Ch> ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ
4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่อง คอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์
การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น