HD-DVD และ Blu-ray Talk ปรับภาพไปมา แม้จะพอใจกับภาพ 720p,1080i แต่มิวายตะขิดตะขวงใจตรงที่ไม่สามารถเล่นภาพไฮเดฟได้สุดๆ เท่ากับแผ่น HD-DVD แท้ๆ และถึงแม้จะหาเครื่องเล่นดีวีดีแปลงสัญญาณภาพในฟอร์แมต 1080p ได้ แต่ก็ยังไม่ใช่สัญญาณไฮเดฟแท้อยู่ดี เพราะอัตราการทรานเฟอร์สัญญาณแผ่นไฮเดฟแท้นั้นสูงกว่าแผ่นดีวีดีปกติมากโดยอยู่ที่ 36 Mbps ทำให้อยู่ในภวังค์อยากเล่น อยากลองเครื่องเล่น HD-DVD หรือบลูเรย์ในเร็ววัน Test Talk ในคราวนี้ จึงมาว่ากันถึงเรื่องราวของ HD-DVD และ Blu-Ray ด้วยประการฉะนี้ ทิศทางตลาดไฮเดฟ ผมเคยเจอคำถามจากเพื่อนฝูงว่า จะซื้อเครื่องเล่นดีวีดีที่มีสเกลเลอร์แปลงสัญญาณไฮเดฟได้ในราคาระดับไฮเอ็นด์ หรือจะรอเครื่องเล่น HD-DVD ไปเลย ผมตอบอย่างไม่ลังเลใจเลยว่า ให้เลือกรอดีกว่า อย่างน้อยผมคนหนึ่งล่ะที่ขอรอซื้อเครื่องเล่นไฮเดฟแท้ เพราะทั้งจอภาพแอลซีดี พลาสม่า โปรเจ็คเตอร์เพลเยอร์และแผ่นซอฟท์แวร์ ล้วนผลิตและวางจำหน่ายเพื่อรองรับกับภาพไฮเดฟฟินิชั่นที่ 1080p กันไปเสียหมด และราคาก็ไม่ได้ห่างกันมากนัก หากพิจารณาถึงตลาดไฮเดฟ ดูเหมือนว่าฮาร์ดแวร์จะออกตัวเร็วกว่าซอฟท์แวร์อยู่หลายสเต็ป เหตุผลสำคัญเป็นเพราะความไม่ชัดเจนของฟอร์เมตการต่อสู้กันของฟอร์แมตระหว่างสองขั้ว ได้แก่ แผ่นดิสก์บลูเรย์ นำโดย Sony, Philips และแผ่น HD-DVD มี Toshiba เป็นแกนหลัก และดูเหมือนจะเป็นสงคราม ที่ไม่จบง่ายๆ เหตุผลอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะค่ายหนังสตูดิโอฮอลลีวูดยังไม่ค่อยวางใจเรื่องระบบก๊อบปี้ โพรเทคชั่น ทำให้ผลิตภาพยนตร์ออกมาช้ากว่ากำหนด กระทั้งในญี่ปุ่นเอง ก็ยังไม่ค่อยมีแผ่น HD-DVD หรือบลูเลย์ออกมามากนัก และแม้ซอฟท์แวร์ทั้งสองแบบจะยังไม่ได้กระเตี้องมากนัก ยังดีที่ว่าเครื่อง HD-DVD และ Blu-Ray ออกแบบมาให้เครื่องสามารถเล่นกับแผ่น DVD ธรรมดาได้ หากแผ่นหนังไฮเดฟ มีปริมาณไม่มากพอ HD-DVD มีกลุ่มผู้สนับสนุนเป็นทางการจาก Universal Studios,Warner Brothers,Intel,Microsoft ของบิลเกตล์ ส่วนบลูเรย์ คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยสมาคมบลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray Disc Association (BDA)) มีสมาชิกที่เป็นกรรมการแบ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องฮาร์แวร์ 14 ราย และเป็นสตูดิโอของฮอลลีวู้ด 3 ราย ได้แก่ Apple,Dell,Hitachi,HP,LG,Mitsubishi,Panasonic,Pioneer ,Philips,Samsung, Sharp,Sony,TDK, Thomson,Warners Bros Entertainment,Walt Disney และ 20th Century Fox หากจะถามว่าเทคโนโลยีใดเหนือกว่ากันในแง่ของภาพคงฟันธงได้ยาก แม้ว่าจะมีเครื่องเล่น HD-DVD และเครื่องเล่นบลูเรย์ออกมาจำหน่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเจเนอเรชั่นแรกๆ หากจะตัดสินว่าฝ่ายใดจะครองใจผู้บริโภค น่าจะอยู่ที่ว่าความพร้อมของเครื่องและแผ่นมากกว่า ในเชิงพาณิช์ ดูเหมือนว่า HD-DVD จะช่วงชิงความได้เปรียบด้วยการนำเครื่องเล่นออกมาจำหน่ายก่อนเครื่องเล่นบลูเรย์โตชิบานำเอาเครื่องเล่น HD-DVD รุ่นแรกของโลย คือ Toshiba HD-A1 ราคา 499 ดอลลาร์ หรือใกล้ๆสองหมื่นบาท และรุ่นที่วางจำหน่ายรุ่นแรกในญี่ปุ่นเป็นรุ่น HD-AX1 ราคา 930 ดอลลาร์สหัรัฐหรือเกือบสี่หมื่นบาท ต่อด้วยเครื่องเล่น HD-DVD เจเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่งก็คือ HD-A2 และ HD-AX2 เปิดตัวครั้งแรกในงาน CES 2007 ที่ลาสเวกัส สเป็คของ Toshiba HD-A1 คล้ายกับเครื่องเล่นดีวีดีธรรมดาที่สามารถเล่นแผ่นได้ครบทุกประเภทรวมถึงแผ่นดีวีดีปกติ ฟีเจอร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ แน่นอนเป็นเรื่องของภาพและระบบเสียงในแบบไฮเดฟฟินิชั่น Dolby True HD และ DTS-HD ว่ากันตามจริง ราคาของเครื่องเล่น HD-DVD นับว่าไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับเครื่องเล่นดีวีดีไฮเอนด์ในปัจจุบัน ส่วนทางโซนี่ได้วางตลาดเครื่องเล่นบลูเรย์ รุ่น SONY BDP-S1 ราคาอยู่ในระดับสี่หมื่นกว่าบาท ออกวางจำหน่ายหลังเครื่อง HD-DVD ของโตชิบาพร้อมทั้งยังวางตลาดเครื่องบลูเรย์เรคคอร์ดเดอร์ หรือเครื่องบันทึกบลูเรย์ BDZ-V9 ความจุฮาร์ดดิสก์ 250 GB ราคา 300,000 เยนหรือประมาณ 90,000 บาทสูงกว่าเครื่องเล่น HD-DVD เท่าตัว ทั้งโตชิบาและโซนี่ ผู้นำของทั้งสองฟอร์แมต ยังมีการขยายตลาดบลูเรย์และ HD-DVD ไปสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ โซนี่วางแผนที่จะออกเครื่องบันทึก Blu-Ray Rom Drive ส่วนโตชิบาได้บรรจุ HD-DVD Rom Drive ไว้ในโน้ตบุ๊ค พร้อมเครื่อง HD-DVD Rom Drive แบบ External เชื่อมต่อด้วยสาย USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์มองว่า ผู้ผลิตทั้งสองฟอร์เมตพยายามขยายฐานการตลาดของตนให้ได้มากที่สุด การขยายไปหาตลาดคอมพิวเตอร์ แน่นอนย่อมเพิ่มยอดขายได้มากกว่าตลาดโฮมเอวีเพราะมีจำนวนผู้บริโภคมากกว่า ที่สุดแห่งเทคโนโลยี HD-DVD และบลูเรย์ (BD) แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ต่างกัน แต่ทั้งสอบประเภทมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ใช้เทคโนโลยี Blue Laser ที่เหมือนกัน มีขนาดแผ่น 12 เซนติเมตรเท่ากัน และมีโครงสร้างของแผ่น รวมถึง Protection Layer 0.1 มิลลิเมตรแบบเดียวกัน สิ่งที่ต่างกันเป็นในเรื่องของการแปลงสัญญาณ (Data Transfer Rate) ระบบการบันทึกร่องเสียง (Recording Track System) ระบบจัดการคลื่นความถี่ (Modulation System) และระบบแก้ไขความผิดพลาด (Error Correction System) ด้วยเหตุที่ใช้เทคโนโลยี Blue Laser ที่เหมือนกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ในงาน CES 2007 LG ได้เปิดตัวเครื่องเล่นยูนิเวอร์แซลรุ่นแรกของโลกที่สามารถเล่นได้ทั้ง HD-DVD และแผ่นบลูเรย์ ภายใต้รหัสรุ่น BH 100 ด้วยราคาที่น่าสนใจสุดๆ 1,199 เหรียญสหรัฐหรือเพียงสี่หมื่นกว่าบาท ทางด้านภาพ LG BH100 สามารถปล่อยสัญญาณภาพระดับ 1080p และสัญญาณเสียง Dolby Digital Plus,DTS HD และ Dolby True HD แผ่นดิสก์บลูเรย์ เป็นแผ่นดิสก์ฟอร์แมตใหม่ในการอ่านบันทึก และเล่นกลับในรูปแบบไฮเดฟฟินิชั่นโดยแผ่น BD แบบชั้นข้อมูลเดียว (Single-Layer disc) สามารถบันทึกหรือเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 23.3 GB (กิกะไบต์),25 GB ถึง 27GB มากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปของการบันทึกในฟอร์แมตของ HDTV หรือมากกว่า 13 ชั่วโมงของการบันทึกในฟอร์แมต SDTV (Standdard Definition TV) คิดเป็นมากกว่า 6 เท่าของ HDTV แผ่นแบบข้อมูลสองชั้น (Double-layer disc) สามารถบันทึกหรือเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 46.6 GB, 50GB จนกระทั้งถึง 54GB โดยยังสามารถเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลอย่างไม่จำกัด (Unlimited Disc Storage) ถึง 100-200GB เพียงแต่เพิ่มจำนวนชั้นข้อมูล โดย 1 ชั้น = 25 GB แผ่นบลูเรย์ ออกแบบเพื่อซัพพอร์ตการบันทึกฟอร์แมต MPEG-2 TS (Transport Stream) ที่ใช้กับการแพร่สัญญาณภาพดิจิตอล และเพื่อให้สามารถคอมแพตติเบิ้ลกับมาตรฐานดิจิตอลทีวี ทำให้การออกอากาศของระบบ HDTV สามารถบันทึกลงบนแผ่น โดยปราศจาคุณภาพที่สูญเสียไปและให้ได้มาซึ่งปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นของระบบ High Definition แผ่นบลูเรย์ ใช้อัตราการทรานสเฟอร์สัญญาณ 36 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) ซึ่งมากพอที่จะบันทึกและเล่นกลับภาพในฟอร์แมต HDTV ด้วยคุณภาพของสัญญาณที่ไม่สูญเสียไป แผ่นออพติคัลดิสก์ทั่วไปใช้ Red Laser ความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร (nm) ในการอ่านและเขียนข้อมูล ขณะที่แผ่นบลูเรย์อาศัย Blue-Violet Laser ความยาวคลื่น 405 nm ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นกว่าถึง 250 nm หัวอ่านมีรูเปิดของเลนส์ (Numerical Aperture (N.A)) เท่ากับ 0.85 เท่า (N.A เป็นอัตราส่วนการแผ่รัศมีของเลนส์ต่อความยาวจุดรวมแสง หรือระยะโฟกัสของลำแสงเลเซอร์) อัตราส่วน NA ที่มากขึ้นหมายถึง แผ่นบลูเรย์ใช้พลังงานในการบันทึกที่น้อยกว่าแผ่นดีวีดีปกติและแผ่น HD-DVD ทำให้มีอัตราการถ่ายโอนสัญญาณที่รวดเร็วมาตรฐาน Blu-ray Disc กำหนดความเร็ว 1 เท่า = 36 Mbps (Megabit per second) หากแผ่นภาพยนตร์ BD-ROM มีอัตราการถ่ายโดยสัญญาณ 54Mpbs จะใช้ความเร็ว 2 เท่า หรือเท่ากับ 72Mbps Blu-ray Disc Association (BDA) วางแผนที่จะเพิ่มอัตราความเร็วเป็น 8 เท่า หรือมากกว่าในอนาคต N.A ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลายของลำแสงลดลงและด้วยความยาวคลื่นที่สั้นกว่า ทำให้ไปเพิ่มเรซูลูชั่นได้ละเอียดยิ่งขึ้น ข้อมูลจึงถูกจัดเก็บได้อย่างอัดแน่นและใช้พื้นที่ในการจัดเก็บที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 50GB แม้ว่าขนาดของแผ่นจะเท่ากับแผ่น CD หรือ DVD แผ่นบลูเรย์ จะใช้ลำแสงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 ใน 5 ของการเล่นและการบันทึกดีวีดีทั่วไป ปกติแล้ว เส้นผ่าศูนย์กลางของลำแสง จะมีสัดส่วนเหมาะสมกับความยาวของคลื่นและจะแปรผกผันกับขนาด NA ของเลนส์ ดังนั้น การลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลายของลำแสง หมายถึงความยาวคลื่นที่สั้นลงเท่ากับเป็นการเพิ่ม NA ของเลนส์ด้วย การที่ NA เพิ่มขึ้นจะทำให้ความเอียง (Tilt Margin) น้อยลง ความเอียงในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนสำคัญในการป้องกันสัญญาณรบกวน Crosstalk ที่เกิดจากความเบี่ยนเบนของแกนที่ตั้งฉากกับพื้นผิวของแผ่น ความเบี่ยงเบนนี้ เกิดขึ้นจากความเอียงของแผ่น ดังนั้น ขนาด NA ที่เพิ่มขึ้น ต้องสัมพันธ์กับขนาด Tilt Margin ที่ใหญ่ขึ้นด้วย ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการลดความหนาของขั้นโพรเทคชั่นลง ด้วยความหนาของชั้นโพรเทคชั่นเพียง 0.1 มิลลิเมตร ทำให้แผ่นบลูเรย์มีโอกาสเปรอะเปื้อนจากรอยนิ้วมือ และฝุ่นผงได้ง่าย แผ่นบลูเรย์จึงต้องอาศัยระบบแก้ไขความถูกต้องในการอ่านแผ่น (Error Correction System) โดยบันทึก Code เรียกว่า Burst Indicator Subcode (BIS) ลงไปทั้วแผ่น เพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนของข้อมูล นอกจากนี้ แผ่น BD ยังเคลือบด้วยเทคโนโลยี Hard-Coating เพื่อให้ทนทานต่อรอยขีดข่วนและรอยนิ้วมือ ทำให้ดีกว่าแผ่นดีวีดีในปัจจุบัน แม้ว่ารูปร่างและขนาดของแผ่น จะไม่ได้แตกต่างกัน ทั้งยังทกให้ผู้ผลิตสามารถลดรูปของข้อมูลและลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย หมายเหตุBD-R / HD-DVD-R เป็นฟอร์แมตที่สามารถบันทึกได้เพื่อบันทึกข้อมูลวิดีโอและข้อมูลคอมพิวเตอร์ BD-ROM / HD-DVD-ROM เป็นฟอร์แมตของแผ่นที่อ่านอย่างเดียว สำหรับเป็นซอฟท์แวร์แผ่นเกมและแผ่นภาพยนตร์ BD-RE / HD-DVD-RW เป็นแผ่นประเภท Rewritable format ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ (รวบรวมข้อมูลบางส่วนจาก www.blu-ray.com) |
ที่มา : นิตยสาร GM2000 Vol.11 No.124 |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น