ข้อควรปฎิบัติในการดำน้ำ (อสท)
"การดำน้ำ" ถือเป็นกิจกรรมทางน้ำที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะเสมือนได้เปิดโลกกว้างไปยลโฉมความงดงามใต้ท้องท ะเล จึงไม่ต้องแปลกใจหากในปี ๆ หนึ่ง จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปดำน้ำในสถานที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งทะเลไทย ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งอันดามันหรืออ่าวไทย ก็จัดได้ว่าสวยงามจนติดอันดับโลกหลายที่ แต่กิจกรรมการดำน้ำต้องยึดเอาความปลอดภัยเป็นเรื่องท ี่สำคัญ เพราะฉะนั้น วันนี้เรามีข้อควรปฎิบัติในการดำน้ำมาบอกกันด้วยค่ะ
1. ความปลอดภัย
ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนการดำน้ำตื้ นและดำน้ำลึก
รับประทานอาหารในระดับที่เหมาะสม ไม่ควรรับประทานแบบอิ่มจัดก่อนการดำน้ำตื้นและดำน้ำล ึก
ให้ว่ายน้ำใกล้ท่าเทียบเรือ ใกล้เรือที่จอดอยู่ หรือบริเวณที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยอยู่
มีการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักดำ น้ำ บริเวณชายฝั่ง บนท่าเทียบเรือ หรือบนเรือ
ควรดำน้ำเป็นคู่ หรือมีเพื่อนดำน้ำด้วย
หาก ประสบปัญหาในขณะดำน้ำ ให้ยกมือข้างหนึ่งข้างโบกไปมาเหนือศรีษะ และให้ฟังข้อแนะนำจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่ างระมัดระวัง ในขณะที่ได้รับความช่วยเหลือ
ไม่ดำน้ำในบริเวณเข้า-ออกของเรือ หรือบริเวณจุดจอดเรือ
ขณะ ไปดำน้ำ สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ โดนเรือชน หรือถูกใบพัดเรือฟัน นักดำน้ำจึงควรป้องกันระวังตัวเองด้วยการไม่ว่ายเข้า ใกล้เรือ ขณะเรือวิ่งเป็นอันขาด หากว่าเรือวิ่งเข้าให้เงยหน้ามองเรือ ผู้ขับเรือจะเห็นได้ชัดเจน
ควรดำน้ำในช่วงเวลาและสถานที่ซึ่งผู้ควบคุมกำหนดให้ หลีกเลี่ยงช่วงที่มีคลื่น หรือกระแสน้ำแรง
การดำน้ำลึกแบบสกูบาต้องมีบัตรดำน้ำ ควรปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด และอย่าเรียนด้วยตัวเอง
คำ เตือนของเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล และลูกเรือ เป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้ดำน้ำจึงควรรับผิดชอบตัวเองและปฏิบัติตามกฎหมายอย ่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
2. การเตรียมอุปกรณ์ในการดำน้ำลึก
ใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนักให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันการจมลงไปกระแทกแนวปะการัง เราสามารถควบคุมการลอยตัวได้ โดยการใช้ตะกั่วน้ำหนักที่สมดุลกับร่างกาย และควบคุมลมหายใจ
ควรตรวจให้แน่ใจว่าอุปกรณ์มีขนาดพอดีกับตัวเอง เพราะหากอยู่ในน้ำจะปรับหรือเปลี่ยนได้ยาก
ควรสวมชูชีพขณะดำน้ำไว้ตลอดเวลา
ระหว่างอยู่ใต้น้ำหรือผิวน้ำ ควรตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอว่ายังอยู่กับตัวตลอดเวลา และใช้งานได้ดี
อุปกรณ์การถ่ายภาพอาจมีผลต่อการดำน้ำในเรื่องการลอยต ัว และเคลื่อนที่ในน้ำ อย่าวางอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือของแปลกปลอมลงบนปะการังเมื่อต้องการถ่ายภาพ
เก็บอุปกรณ์ที่เป็นสายระโยงระยางให้เรียบร้อย สายอากาศสำรอง หรือสายวัดอากาศมักลากไปเกี่ยวกับปะการังอยู่เสมอ
รัดเข็มขัดตะกั่วให้เรียบร้อย เพราะถ้าหากเข็มขัดตะกั่วตกลงไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ปะการังได้
3. การเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำตื้น
หน้ากาก (Mask) ช่วยไม่ให้น้ำสัมผัสกับหน้าและจมูกของคุณ หน้ากากทำจากยางซิลิโคนนิ่ม ๆ มีสายรัดหน้ากากที่สามารถปรับแต่งให้กระชับได้ กระจกเป็นชนิดที่ทนต่อแรงดันของน้ำ และในบางรุ่นจะมีวาล์วระบายน้ำ เวลาที่น้ำเข้าหน้ากาก
เสื้อชูชีพ ต้องรัดสายทุกเส้นถูกต้องและกระชับ โดยเฉพาะสายรัดเป้า ปัญหาที่พบเมื่อไม่รัดให้ถูกต้อง เวลาลงน้ำชูชีพจะลอยขึ้นมาดันคอหรือท่อหายใจ และที่สำคัญเสื้อชูชีพควรมีนกหวีด เพื่อไว้ใช้ในกรณีขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ห่างจากท่ าเรือ หรือเกิดกรณีฉุกเฉิน
ท่อหายใจ (Snorkel) ช่วยให้คุณก้มหน้ากับผิวน้ำได้เป็นเวลานาน โดยไม่ต้องเงยหน้าขึ้นมาหายใจ ท่อหายใจมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบธรรมดาและชนิดที่มีวาล์วระบายน้ำ เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำออก เมื่อมีน้ำเข้าท่อหายใจ
ตีบกบ (Fins) ช่วยทำให้เคลื่อนไหวสะดวกเวลาอยู่ในน้ำ เพราะในน้ำเราใช้เท้าเคลื่อนไหวมากกว่ามือ เมื่อใส่ตีนกบแล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ได้เร็วขึ้น ซึ่งตีนกบมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบเปิดส้น (Open-heel fins) ซึ่งต้องสวมบูตก่อนแล้วจึงสวมตีนกบ และแบบปิดส้น (Full-heel fins) ซึ่งสามารถสวมตีนกบได้เลย เหมือนสวมรองเท้าปกติ ในการดำน้ำตื้นนิยมใช้แบบปิดส้นมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น