ระบบรักษาความปลอดภัย
แบบใช้ ระบบกันขโมย
ความมั่นคงปลอดภัย เป็นสิ่งที่คนเราทุกคนต้องการ นอกเหนือไปจากความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ ความมั่นคงปลอดภัย ที่แต่ละคน ต้องการอาจมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะห่วงในด้านของ สุขภาพและชีวิต ในขณะที่บางคน อาจจะเป็นห่วงไกลออกไปถึง ฐานะความเป็นอยู่และความมั่นคงใน อนาคตแต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ คงจะเห็นพ้องต้องกัน และยอมรับว่า เป็นความมั่นคงปลอดภัย พื้นฐานที่คน เราต้องการ นั่นก็คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และหนึ่งในบรรดาทรัพย์สินที่อาจถือ ได้ว่า มีค่าที่สุด และ ผูกพันกับชีวิต ความเป็นอยู่ของแต่ละคนในครอบครัวก็คือ บ้าน และทรัพย์สินต่างๆ ภายในบ้าน และเนื่องจาก สภาพความเป็นอยู่ ของคนในสังคมปัจจุบัน มีความกดดันทาง ด้านเศรษฐกิจ และ สภาวะความเป็นอยู่สูง ปัญหาทางด้านสังคม และ ภัยอันตราย จากโจร ผู้ร้าย จึงมีสูงตามไปด้วย ผู้คนจำนวนมาก จึงเริ่มให้ความสำคัญ และหาทางป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงต่อภัยอันตรายดังกล่าว ด้วย เหตุนี้เอง สัญญาณกันขโมย จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท ในการปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยใน บ้านจากบรรดาโจรผู้ร้าย หรืออย่างน้อย ก็เพิ่มความอบอุ่นใจ ให้แก่ผู้ใช้ได้ เพราะถึงแม้ว่าการ ติดตั้งสัญญาณกันขโมย จะไม่สามารถรับประกัน ความปลอดภัยได้เต็มที่ แต่ก็น่าจะทำให้โจรผู้ร้าย ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น และลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง สัญญาณกันขโมย หรือบางครั้งอาจเรียกว่า เครื่องกันขโมย หรือเครื่องเตือนภัยอัตโนมัติ สามารถ แบ่งชนิดตามระบบของการทำงานออกได้เป็น 2 ระบบ คือระบบใช้สายไฟและระบบไร้สาย
1. สัญญาณกันขโมยระบบใช้สายไฟ
สัญญาณกันขโมย แบบนี้ เป็นระบบที่ใช้ สายไฟเป็นตัวเชื่อมต่อ การทำงานระหว่างอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม และ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง ระบบนี้มี ข้อดีคือ ให้ความแน่นอนในการส่งสัญญาณ เนื่องจากเชื่อมต่อด้วยระบบสายไฟ การติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ สามารถวางได้ทุกตำแหน่ง โดยปราศจากอุปสรรค หรือสัญญาณรบกวนต่างๆ บำรุง รักษาง่าย ราคาไม่แพงมาก แต่มีข้อเสียคือ การติดตั้งยุ่งยาก เพราะต้องมีการเดินสายไฟ ยิ่งถ้า เป็นการเดินสายไฟแบบฝังภายในผนัง หรือ อยู่เหนือฝ้าเพดานแล้ว เวลาเกิดปัญหาขึ้น การตรวจสอบ และ แก้ไขจะทำได้ยาก แต่ถ้าเป็นการเดินสายไฟ แบบเดินสายลอย ภายนอก เวลาเกิดปัญหาขึ้นการตรวจ สอบแก้ไขก็สามารถทำได้ไม่ยาก การทำงานของสัญญาณกันขโมย ในระบบนี้ ค่อนข้างเชื่อถือ ได้จึงมีผู้นิยมใช้
2. สัญญาณกันขโมยระบบไร้สาย
สัญญาณกันขโมยระบบนี้มีระบบการทำงานพื้นฐาน และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ คล้าย คลึงกับระบบใช้สายไฟ เพียงแต่ การเชื่อมต่อ การทำงานระหว่าง อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ และ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม นั้น จะใช้ระบบคลื่นวิทยุแทนเท่านั้น โดยอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณจะทำหน้าที่เป็นเครื่องส่ง คลื่นวิทยุไปด้วยในตัว เพื่อกระตุ้นให้เครื่องรับสัญญาณ ทำงานเมื่อ มีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น ระบบนี้มีข้อดีคือ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับ บ้าน หรือห้องพักอาศัยที่ต้องการ ความสะดวกรวดเร็วและเรียบร้อย แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียคือมีข้อ จำกัดในการวางตำแหน่งของตัวอุปกรณ์ต่างๆ เพราะถ้าวางใน ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมการส่งและ การรับสัญญาณคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ต่างๆ อาจถูกรบกวน หรือบดบังทำให้การทำงาน ในบางจุดไม่ ได้ผล ระบบนี้จึงไม่เหมาะสำหรับบ้านขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีหลายชั้น ซึ่งต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อย่างกระจัดกระจาย การบำรุงรักษาก็ยากกว่า ระบบใช้สาย ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งใช้เป็น พลังงานในการส่งคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ตามระยะ เวลาที่กำหนด เพราะถ้าเกิดลืม เปลี่ยนปล่อยให้แบตเตอรี่หมดหรืออ่อนกำลังลง เครื่องก็จะไม่ทำงาน อีกทั้งระบบนี้ มีราคา ค่อนข้างสูง จึงมีผู้นิยมใช้สัญญาณกันขโมยระบบนี้ในวงจำกัด
1. เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องควบคุม ( Receiver or Control unit )
เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุมนี้ถือเป็นหัวใจ ในการทำงานของระบบ เพราะจะทำ หน้าที่รับสัญญาณ จาก อุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณ ทุกจุด ควบคุม และประสานการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน และ ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้ดังขึ้น เมื่อมีสิ่งผิดปกติ เกิดขึ้น การกดรหัสเพื่อปิดหรือเปิด เครื่องตลอดจน การเลือกรูปแบบของการทำงานต่างๆ จะต้องทำที่ส่วนนี้
เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม ที่มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ ได้มากจุด และหลากหลาย รูปแบบ นอกเหนือจาก อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณหลัก ที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น สามารถใช้กับ เครื่องตรวจจับความร้อน และ ควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัย สามารถ ใช้กับ เครื่องควบคุมระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน สามารถใช้งานร่วมกับ เครื่องควบคุมระยะไกล สามารถตั้ง เวลาการทำงานของ เครื่องได้โดยอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งสามารถส่งสัญญาณแจ้งเหต ุไปยังสถานี ตำรวจเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ดังนั้น มูลค่า หรือราคาของ ระบบสัญญาณกันขโมย จึงมักอยู่ที่เครื่องควบคุม นี้เป็นหลัก เวลาจะเลือกซื้อ จึงควรศึกษา และให้ความสนใจ เกี่ยวกับประสิทธิภาพและการทำงานของ ระบบควบคุมนี้เป็นพิเศษ
2. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ( Sensor )
อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ และส่งสัญญาณไปยัง เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุม เพื่อทำการเตือนภัยโดยมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ สวิตช์มารดาเหล็ก ( magnetlc contact ) ซึ่งจะติดตั้งบริเวณประตู หรือหน้าต่าง เมื่อเวลาประตูหรือ หน้าต่างถูกงัดหรือเปิดออกสัญญาณ ก็จะดังขึ้น อุปกรณ์ป้องกันการทุบกระจก ( glass break detector ) ซึ่งจะติดตั้งกับกระจกประตู หรือหน้าต่าง การทำงานจะอาศัยการตรวจจับความสั่นสะเทือน เมื่อมี การทุบหรือกรีดกระจก สัญญาณก็จะดังขึ้น เครื่องตรวจจับด้วยแสงอินฟราเรด ( infrared detector ) ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณห้อง การทำงาน จะอาศัย การตรวจจับ การเคลื่อนไหว ที่ตัดผ่านลำแสงที่เกิดขึ้น ในบริเวณห้องนั้น เป็นต้น
นอกจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ พื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำเอาอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณชนิดอื่น เข้ามาใช้ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในด้านอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะ กรณีและความสามารถของระบบ ที่จะยอมรับได้ เช่น เครื่องตรวจจับความร้อนและควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัยขึ้น เครื่องควบคุมการเปิดและปิดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เป็นต้น
3. ลำโพงสัญญาณเตือนภัย ( Siren )
ลำโพงสัญญาณเตือนภัยหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไซเรน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ เสียง เพื่อเตือนภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ ผิดปกติขึ้น การทำงานของไซเรนนี้ จะรับสัญญาณมาจาก เครื่องควบคุม อีกทีหนึ่ง การทำงานของ ไซเรน ที่จะให้ได้ผลดีนั้น ควรอยู่ในตำแหน่งที่ ไซเรน ทำงานแล้ว สามารถ ส่งเสียงดังให้ได้ยินไปไกล และติดตั้งไว้ในจุดที่ผู้บุกรุกจะเข้าไปตัดสายได้ยาก ส่วนการจะเลือก ไซเรน ให้มีความดังระดับใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับทำเล สถานที่ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย ซึ่งอาจมีการทด สอบก่อนเพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม
4. แบตเตอรี่สำรอง ( Backup Battery )
โดยอาศัยอุปกรณ์หลัก 3 อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระบบสัญญาณกันขโมยก็สามารถ ทำงานได้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ ที่เป็นส่วน ควบคุม ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้สายไฟหรือ ระบบไร้สาย จะต้อง ใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพื่อเลี้ยงวงจร ในการทำงาน ถ้าไฟฟ้าดับเครื่อง ก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น ระบบสัญญาณกันขโมย โดยทั่วไป จึงจำเป็นต้องมี แบตเตอรี่สำรอง ไว้ ซึ่งจะเป็น แบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์จไฟได้ ในตัวเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือผู้บุกรุกตัดกระแสไฟฟ้าในบ้านสัญญาณกัน ขโมยก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ
ในบางครั้ง การดูแลรักษา ของเจ้าของบ้าน อาจไม่เพียงพอและทั่วถึง จำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ มาช่วยทั้ง ในรูปแบบของ ยามรักษาการณ์ หรือ ระบบอัตโนมัติอื่น ๆ
วิธีการเดินสายไฟฟ้า
ประเภทแรกคือ การเดินสายไฟบนผนังหรือที่เรียกว่า เดินลอย วิธีนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่จะมองเห็นสายไฟบนผนัง ไม่ค่อยเรียบร้อย การตกแต่งห้องลำบากกว่า แต่สามารถตรวจ สอบความเสียหายได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนสายไฟก็ง่าย เพราะมองเห็น
ประเภทที่สองคือ การเดินผ่านท่อซึ่งฝังในผนังอาคารหรือที่เรียกว่า เดินร้อยสายผ่านท่อ วิธีนี้จะได้งานที่เรียบร้อย เพราะมองไม่เห็น จากภายนอก ท่อสายไฟจะฝังอยู่ในผนัง ต้อง ทำพร้อมการก่อสร้างอาคาร การตกแต่งห้องจะง่ายกว่าและมีท่อป้องกันสายไฟไว้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า แบบแรก การติดตั้งก็ยุ่งยากกว่ารวมถึงการตรวจสอบและการเปลี่ยนภายหลังก็ทำได้ ลำบากกว่าแบบแรก
- ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรแยกวงจรเป็นส่วนๆ ไว้ เช่น แยกตามชั้นต่างๆ หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องขึ้นที่ชั้นไหน ก็ สามารถสับคัตเอาท์ ปิดไฟเฉพาะส่วนชั้นนั้น เพื่อซ่อมแซมได้ และที่สำคัญส่วน ห้องครัว ควรแยกวงจรไว้ต่างหาก ด้วย เวลาไม่อยู่บ้านนานๆ จะได้ปิดไฟทั้งหมด เหลือเฉพาะ ส่วนครัวไว้ตู้เย็นในครัวจะใช้งานได้ อาหารต่างๆ จะได้ไม่เสีย
- ปัญหาของสายไฟฟ้า
ตามปกติทั่วไปสายไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7-8 ปี แต่เมื่อมีการตรวจเช็ค และพบว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟ เริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองและเริ่มกรอบแตก ก็สมควรที่จะ เปลี่ยนสายไฟใหม่ โดยไม่ต้องรอให้หมดอายุก่อน เพราะ อาจลัดวงจร และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
สายไฟฟ้าควรเดินอยู่ในท่อร้อยสายไฟ เพื่อป้องกัน ฉนวนที่หุ้มสายไฟไม่ให้ขีดข่วนชำรุด โดยเฉพาะสายไฟที่เดิน อยู่ภายนอกบ้าน เช่น ไฟรั้ว สนาม หรือกระดิ่งที่ติดอยู่หน้า บ้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีท่อหุ้ม เมื่อโดนแดดโดนฝนนานๆ ก็จะ รั่วได้ เป็นอันตรายมาก ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ หรือถ้า เปลี่ยนเป็นแบบเดินท่อก็จะปลอดภัยกว่า ที่สำคัญเวลามีปัญหา อย่าซ่อมไฟฟ้าเอง ควรตามผู้รู้หรือช่างมาซ่อมจะดีกว่า
- ชนิดของหลอดไฟ
หลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
หลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือหลอดแบบมีไส้ ทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟเข้าสู่ขดลวด เพื่อให้เกิดความร้อน แล้วเปล่งแสงออกมา หลอดชนิดนี้จะกินไฟมาก มีอายุการ ใช้งานประมาณ 750 ชม.
หลอดอีกประเภท คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะมี ประสิทธิภาพสูง มีราคาสูง (การทำงานซับซ้อนกว่าจะได้แสง มา) มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000ชม.
- ชนิดของโคมไฟ
ชนิดของโคมไฟแบ่งตามชนิดของการใช้งานได้ ดังนี้
โคมส่องห้องโดยทั่วไป จะเป็นโคมที่ติดบนฝ้าเพดาน หรือผนังก็ได้ ความสว่างจะปานกลาง เพื่อให้เห็นห้องโดยทั่ว ไปรวมถึงทางเดินและบันไดด้วย
โคมส่องเฉพาะจุด จะมีความสว่างมากกว่า จะใช้ส่อง เฉพาะจุดที่จะเน้นความสำคัญ เช่น รูปภาพ ต้นไม้ หรือจุดที่ ต้องทำงานเป็นพิเศษ เช่น มุมอ่านหนังสือ ส่วนทำงาน หรือ เตรียมอาหาร
โคมสำหรับตั้งพื้น จะมีความสว่างน้อยที่สุด จะใช้เพื่อ นั่งพักผ่อน ดูทีวี ฟังเพลง ห้องนอน เพื่อบรรยากาศที่ดี ไม่ ต้องการแสงสว่างมารบกวนมากจนเกินไป
- ระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ
สำหรับห้องน้ำขนาดกลางโดยทั่วๆไป จะมีขนาด ประมาณ 4-6 ตารางเมตร ควรจะมีไฟส่องสว่างประมาณ 2 จุด จุดแรกที่หน้ากระจกติดกับอ่างล้างหน้า ส่วนที่สอง ควรอยู่กลางห้องบริเวณส่วนที่อาบน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้ต่ำ ลงมาจนถูกน้ำกระเด็นโดนได้ ส่วนปลั๊กควรอยู่ในระดับที่ สูงพอจะใช้งานได้สะดวก เช่น ใช้สำหรับที่เป่าผม หรือที่ โกนหนวด และควรจะใช้ชนิดมีฝาปิด เพื่อไม่ให้โดนน้ำ และที่สำคัญสวิทซ์ปิด-เปิดควรอยู่นอกห้อง และระบบวงจร ไฟฟ้าของห้องน้ำควรมีเบคเกอร์ตัด เมื่อเกิดไฟฟ้าช็อตด้วย
- หลอดไฟฟ้า "ฮาโลเจน"
หลอดไฟแบบ "ฮาโลเจน" จะให้แสงสีขาวนวล มี ความสว่างมากกว่าหลอดแบบอินแคนเดสเซนต์ในกำลังวัตต์ ที่เท่ากัน จึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่า แต่หลอดฮาโล- เจนจะมีราคาสูงกว่า ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับหลอด ประภทนี้ได้แก่ ใช้ไฟส่องที่โต๊ะทำงาน ปฏิมากรรม และภาพ เขียนประดับผนังต่างๆ ทำให้งานดูโดดเด่นขึ้น
- ประโยชน์และชนิดของ "ฟิวส์"
"ฟิวส์"เป็นเครื่องป้องกันกำลังของกระแสไฟฟ้าที่เกินขนาดหรือเกิดการลัดวงจร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
แบบที่ 1 ฟิวส์เส้น จะมีลักษณะเป็นเส้นเปลือยใช้ต่อ เชื่อมในวงจร เมื่อเกิดการลัดวงจร ฟิวส์เส้นนี้จะขาด
แบบที่ 2 ฟิวส์หลอด จะมีลักษณะเป็นหลอดกระเบื้อง เมื่อเกิดการช็อตจะทำให้เกิดประกายไฟ ภายในบรรจุสารเคมี เพื่อป้องกันการสปาร์ค จะดีกว่าแบบแรก
แบบที่ 3 ปลั๊กฟิวส์ จะมีลักษณะคล้ายหลอดเกลียว ใช้โดยวิธีหมุนเกลียวเข้าไป มีลักษณะการทำงานเหมือนแบบที่ 2 แต่จะไม่เกิดประกายไฟ
- วิธีการประหยัดไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้ามี ดังนี้
1. ปิดสวิทซ์เมื่อไม่ใช้งาน หรือเมื่อออกจากห้องถึงแม้ ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม
2. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ ควรตรวจดูความเหมาะสม ของห้อง เช่น ห้องกว้างควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ หรือห้องเล็กก็ใช้ 18 วัตต์ ควรใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น
3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่ เสมอ เพราะละอองฝุ่นที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง และอาจเป็นสาเหตุให้ท่านต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้แสง สว่างพอเพียง สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีขายในท้อง ตลาด ปัจจุบันมีชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากับหลอดอินแคนเดสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์ แต่กินไฟน้อยกว่า
การป้องกันอัคคีภัย
ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้น ได้อย่างเด็ดขาดและเสมอไปเพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน "ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ" และความประมาท เลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมากยย่อม" จะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัย
ในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ
1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย
2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น
3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น
(1) อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
(2) อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้
(3) อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
(4) อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้เสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
(5) อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิดปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน
(6) อาจมีเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์ แล้วลืมปิด
(7) วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น
( อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น บางครั้ง สัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม้ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไออุ่นอาจเกิดการคุไหม้ขึ้น
(9) อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับ หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
(10) อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลมพัด คุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้
(11) อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้
(12) อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราแลเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
(13) อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ
(14) ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและ ถังแก๊สให้เรียบร้อย
(15) เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบาง ๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้
(16) ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด
(17) เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
(18) เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้อง เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้อย่างแน่นอน
(19) เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว
(20) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำมันเบนซิน เกิดการรั่ว ไหลก็น่าเกิด อัคคีภัยขึ้นได้
(21) ในสถานที่บางแห่งมีการเก็บรักษาเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย อาจ คุไหม้ขึ้นได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและน้ำมันลินสีด เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของ โรงเรียน เคยมีเหตุเกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัด ตกลงมา เกิดแตกลุกไหม้ขึ้น
(22) ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟ การตัดเชื่อมโลหะด้วย แก๊สหรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วยความระมัดระวัง อาจเกิดไฟ คุไหม้ขึ้นได้
4. ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ให้ไว้ และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วางไว้เพื่อความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ
5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมีไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะ ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิงสถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
(2) ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
(3) หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อ ทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย
ข้อควรปฏิบัติ
(1) ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปอยู่ที่ปลอดภัย
(2) อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหตุ
(3) ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกองรวมอย่าให้ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก
ข้อควรระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว
(1) เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที
(2) เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง
(3) ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว
(4) ใช้ไม้กวาดกวาดแก๊สออกทางประตู
(5) ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที
(6) หากถังแก๊สมีรอยรั่วให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย
(7) ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ
( ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอ
ทำอย่างไรให้เกิดเพลิงไหม้มีน้อยที่สุด
จากเบื้องต้นที่กล่าวมาได้เน้นถึงลักษณะและหลักการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น แต่ทั้งนี้จะเป็นการดีมากหากเราสามารถป้องกันมิให้
เกิดเพลิงไหม้ขึ้นเลย เพราะไม่ว่าเพลิงไหม้ จะเกิดขึ้นเล็กน้อยก็ จะนำมาซึ่งความเสียหายทาง ทรัพย์สินเงินทอง เวลา หรือ แม้กระทั่ง
สุขภาพจิต ในที่นี้ขอเน้นถึงหลักการปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะแบ่งการปฏิบัติไว้เป็น
2 บริเวณ คือ บริเวณที่มีการผลิตและที่ใช้ในการเก็บสินค้า บริเวณที่มีการผลิต
(1) ด้านเครื่องจักร
- ควรมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดี
(2) ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและได้รับการตรวจเช็คเป็นประจำ
- ควรหลีกเลี่ยงการต่อสายไฟฟ้าโดยใช้ผ้าเทปพันหรือการต่อแบบชั่วคราว
- หลังเลิกงานควรปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมนใหญ่
(3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ
- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการผลิต
- ความสะอาดเป็นหลักเบื้องต้นของการป้องกันอัคคีภัย บริเวณที่มีการผลิตควรมีถัง หรือ ถาดไว้รองรับเศษของการผลิต
หรือ เศษของอื่น ๆ และหลังเลิกงานต้องนำไปทิ้งทุกวัน
- กรรมวิธีใดที่มีความอันตรายในการก่อให้เกิดอัคคีภัยสูงควรจะแยกออกจากส่วนต่าง ๆ และจัดให้มีการป้องกันเฉพาะขึ้น
(4) การจัดเก็บสินค้า
- สินค้าไม่ว่าวัตถุดิบหรือสำเร็จรูปควรอยู่ในบริเวณการผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
- วัตถุไวไฟที่ใช้ในการผลิตต้องถูกจำกัดเพียงเพื่อพอใช้ในหนึ่งวัน หลังเลิกงานต้องนำวัตถุไวไฟนั้นไปเก็บยังที่จัดไว้เฉพาะ
(5) การปฏิบัติหลังเลิกงาน
- หลังเลิกงานทุกวันควรมีการเดินตรวจดูความเรียบร้อย เช่น วัตถุไฟฟ้าได้นำไปเก็บในที่จัดเก็บไว้โดยเฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้า
ทุกชิ้นได้ปิดสวิตซ์เรียบร้อยหรือยัง และรวมถึงการทำความสะอาดด้วย บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า
(5.1) ด้านการจัดเก็บ
- การเก็บสินค้าควรเก็บอย่างมีระเบียบ ภายในบริเวณจัดเก็บต้องมีช่องทางเดินสินค้า ควรจัดเก็บเป็นล็อก ๆ ในแต่ละเลือกต้องมีช่อง
ทางเดินและปริมาณสินค้าไม่มากเกินไปความสูงไม่เกิน 6 เมตร หรือ 1 เมตร จากเพดานถึงหลังคาและสินค้าควรอยู่ลมงจากแสงไฟ
- สินค้าควรอยู่บนที่รองรับหรือชั้นวางของ
- ควรเว้นและมีการขีดเส้นกำหนดแนววางสินค้า
(5.2) การจับยกสินค้า
- ของเหลวไวไฟ แก๊สหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ ควรเก็บแยกต่างหากจากสินค้าอื่น ๆ และสามารถทำได้ควรแยกห้องเก็บวัตถุไวไฟ
(5.3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ
- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บสินค้า
- ไม่ควรมีการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ ในบริเวณที่เก็บสินค้า เช่น การอัดแบตเตอรี่
- ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บสินค้าเป็นประจำ เช่น จากเศษกระดาษที่ใช้ห่อสินค้า
(5.4) การตรวจเช็คดูแลและความปลอดภัย
- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณที่เก็บสินค้าควรได้รับการตรวจ เช็คเป็นประจำ
- บริเวณที่เก็บสินค้าควรปิดล็อคไว้เสมอเมื่อไม่ได้ใช้และห้ามบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับอนุญาติเข้าไป
- อุปกรณ์ดับเพลิงควรติดตั้งบริเวณทางเข้าออก
พ.ร.บ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2535
1. อำนาจหน้าที่นายตำรวจ
1.1. หน้าที่ ตรวจดูว่ามีสิ่งใดบ้างอยู่ในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ตรวจตราดูบุคคลต่างๆ ผู้มีหน้าที่
ต้องปฏิบัติการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายนี้ได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
1.2. อำนาจ เข้าไปในอาคารระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก แนะนำเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
1.3. การปฏิบัติ แสดงเครื่องหมายประจำตัว ชี้แจงเหตุผลในการเข้าไปในอาคาร หรือ การแนะนำ การปฏิบัติ
รายงานผลต่อเจ้าหน้าที่
2. ประชาชนปฏิบัติร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการป้องกันอัคคีภัย
2.1. ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจ
2.2. ปฏิบัติตามคำแนะนำ ปฏิบัติไม่ได้ให้อุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน
2.3. เก็บรักษา มีไว้ หรือใช้ซึ่งสิ่งที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ปฏิบัติตามกฎกระทรวง
2.4. ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายต้องมีสิ่งจำเป็นในการป้องกันฯ หรือระงับอัคคีภัย กำหนดในกฎกระทรวง
3. บทกำหนดโทษ พ.ร.บ. ป้องกันฯ หมวด 4 ม. 27-32 เป็นบทกำหนดโทษผู้ขัดขืนฝ่าฝืน ละเลย ไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้
ในบทบัญญัติหรือกระทำโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งในด้านป้องกันและระงับอัคคีภัย
3.1 การป้องกันอัคคีภัย
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมให้นายตรวจเข้าไปในอาคารเมื่อมีผลอันแสดงให้เห็นว่า มีสิ่งใดอยู่ข้างในภาวะอันอาจทำให้เกิดอัคคภัยได้ง่าย
คำว่าผู้ใด คือ จะเป็นก็ได้ตามเหตุผลดังกล่าวย่อมมีความผิดต้องวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ. นี้มีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นคำสั่งโดยลายลักษณ์อักษร ต้องมีความผิดวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลให้ขนย้าย เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำลายสิ่งอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได
้ง่าย ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอีก จำเป็นต้องออกค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อกระทำการนั้นเอง
3.2 การระงับอัคคีภัย
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งอาศัยอยู่ละเลยไม่ปฏิบัติทำการดับเพลิง และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ วางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ
ไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษา มีความผิด เช่นเดียวกัน
ผู้ใดพบเพลิงไหม้ ละเลยไม่แจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ดับ หรือไม่สามารถดับเพลิงได้ แล้วไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ มีโทษปรับ 50 บาท
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ปิดกั้นทางเข้าออกของเจ้าหน้าที่ในการดับเพลิงและซ่อมการดับเพลิง มีโทษปรับ 1,000 บาท
4. เกี่ยวกับเครื่องแบบเครื่องหมาย
4.1 ผู้ใดแต่งเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีอำนาจหน้าที่จะแต่งหรือประดับได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.2 ผู้ใดอวดอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ มีความผิดเช่นข้อที่ 1
4.3 ผู้ใดแจ้งเหตุหรือแกล้งให้อาณัติสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการป้องกัน หรือระงับอัคคีภัย มีความผิดเช่นข้อที่ 1
การป้องกันอัคคีภัยในโรงงาน
ทุกครั้งที่เกิดอัคคีภัยขึ้นไม่ว่าจะสร้างความสูญเสียมากหรือน้อย ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะ โรงงาน
อุตสาหกรรม เป็นสถานที่หนึ่งที่มักเกิดอัคคีภัยบ่อยครั้ง ซึ่งบางครั้งความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะทรัพย์สินเท่านั้น ยังรวม
ถึงชีวิตของ พนักงาน อีกด้วย กรมป้องกัน และ บรรเทาสาธารณภัย จึงขอแนะนำถึง วิธีการป้องกันอัคคีภัยในโรงงาน ให้แก่ผู้
ประกอบการเจ้า ของ โรงงานอุตสาหกรรม และ พนักงานในโรงงาน ได้เรียนรู้ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น จาก การเกิด
เหตุอัคคีภัย ดังนี้
- เจ้าของโรงงาน
ควรจัดระบบ และ แผนผังโรงงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยหากเกิดอัคคีภัยขึ้น และควรกำหนดพื้นที่ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่
อาจเกิดอัคคีภัย และ แผนการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน และ ปลอดภัยจากอัคคีภัย รวมทั้ง ควบคุมสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
เช่น การใช้ไฟ , การก่อเกิดไฟ , เปลวไฟ , ไฟฟ้า , ความร้อน , ไฟฟ้าสถิตย์ และ การทำงานที่ อาจทำให้เกิด อัคคีภัย ได้
เช่น การเชื่อมโลหะ , การตัด , การขัดท่อร้อนต่างๆ , สารไวไฟ ควรจัดระเบียบความเรียบร้อย โดยขจัดสิ่งรกรุงรัง ภายใน -
อาคารให้หมดไป , ตรวจสอบสายไฟฟ้า , เครื่องจักรกล , เครื่องทำความร้อน , ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และ ปลอดภัย หาก
พบว่าชำรุดให้รีบ ซ่อมแซมแก้ไข ทันที ควรวางแผนระยะยาว เกี่ยวกับ การป้องกันอัคคีภัย เช่น ติดตั้ง ระบบสัญญาณเตือนภัย
ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ในจุดที่มี สารไวไฟ หรือ สารติดไฟได้ง่าย ภายในโรงงาน และ อาคารสำนักงาน ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่
ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งสายล่อฟ้าที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากนายตรวจป้องกันอัคคีภัย
และปฏิบัติตามข้อห้ามที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของสถาบันต่างๆ และฝึกซ้อมแผนหนีภัยร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
- พนักงาน
ควรมีส่วนร่วมในการป้องกัน โดยปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ การไม่ก่อกองไฟ , ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่
ทำการซ่อมแซมเครื่องจักร หรือ เครื่องมือ ในบริเวณที่มี สารไวไฟ หรือ ในบริเวณที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ พนักงาน ควร
กำจัดขยะ หรือ เศษวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งต่อกะ หากพนักงานใส่เสื้อที่เปียกเปื้อน ด้วยสารไวไฟให้เปลี่ยน
เสื้อผ้าทันที และ เมื่อต้องขนถ่ายสิ่งของในบริเวณที่มี สารไวไฟ และ ถังแก๊ส จะต้อง ระมัดระวัง การชน และ การกระแทก หรือ
การก่อให้เกิดอัคคีภัย ช่วยกันตรวจสอบ สายไฟฟ้า , หลอดไฟ , สวิทซ์มอเตอร์ไฟฟ้าพัดลม , เครื่องมือเครื่องจักร ที่ใช้ไฟฟ้า หากพบว่าชำรุดควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ เพื่อทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที และ เมื่อพบสิ่งที่อาจก่อให้เกิด เพลิงไหม้ ให้
รีบรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันที
เมื่อทั้งเจ้าของสถานประกอบการ และ พนักงาน ในโรงงานร่วมกันป้องกันอัคคีภัยเป็นอย่างดีแล้ว เชื่อได้แน่ว่า อัคคีภัยคงไม่เกิด
ขึ้นได้ง่ายอย่างแน่นอน
มาตรฐาน วสท.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มีดำริที่จะจัดทำมาตรฐานระบบเครื่องกลในอาคารเมื่อต้นปี 2538 ที่ผ่านมา โดยมีมาตรฐานที่
เกี่ยวข้องกับชีวิตสุขภาพ และความปลอดภัย ในที่นี้มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยรวมอยู่ด้วย มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยฉบับใหม่ จะเป็นฉบับที่พัฒนาเพิ่มเติมต่อจากมาตรฐานเดิม ฉบับปี พ.ศ. 2536 โดยมีการจัดหมวดหมู่ใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานเครื่องกลใน
อาคารฉบับอื่นๆ พร้อมทั้งยังมีการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยเดิมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมาตรฐานเดิมได้จัดทำ
ไว้นานแล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น