ความรู้เกี่ยวกับ วิทยุสมัครเล่น
ความรู้เกี่ยวกับ วิทยุสมัครเล่น
ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุโทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติยังไม่มั่นใจว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการควบคุมจะทำได้เพียงใด
เพื่อเป็นการส่งสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกทางหนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการทดลองให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่ายวิทยุอาสามัครขึ้นโดยจัดตั้งเป็นชมรมนักวิทยุอาสาสมัคร มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นคณะกรรมการชมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นประธานชมรมฯ ผู้ที่จะเป็นสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติและจากกรมตำรวจ ว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วกรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาตมีและใช้ เครื่องวิทยุโทรคมนาคมและอนุญาตให้เป็นนักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ให้
สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับก่อนหลัง
เพื่อให้การกำกับดูแลการใช้วิทยุคมนาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม" ขึ้นที่บริเวณภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและอนุญาตให้ใช้ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ 144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz
ในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คน การใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสารเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุโดยศูนย์สายลมทำหน้าที่ประสานงานให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำความผิด ก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้วจะทำหน้าที่กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้น ให้เป็นไปตามหลักการของการส่งข่าวที่ถูกต้องก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ในทางกลับกันเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่นช่วยสังเกตผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนีตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ
เพื่อกระจายข่าว ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกตและติดตามเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการสายตรวจร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ
และความถี่วิทยุในย่านของกิจการวิทยุสมัครเล่น ในการติดต่อประสานงานและใช้ยานพาหนะของนักวิทยุสมัครเล่นออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืนโดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเห็นประโยชน์ ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่นในรูปของนักวิทยุอาสาสมัครได้รับการยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น
เป็นกิจการที่มีประโยชน์
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบนี้ทำให้ต้องมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็นตามสากล
เช่น VR001 เป็น HS1BA และ VR คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมีสัญญาณเรียกขานสากล
ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทย ตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขานนั้นจะแสดงให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนั้นอยู่ในเขตใด เช่น HS1 และ HS0 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น
และตามด้วยอักษร 2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับ
ปัจจุบันมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแล้วจำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต
มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คน จำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มขึ้นเต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป
กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติในการช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูงและสายอากาศวิทยุถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของทางราชการถูกตัดขาด
ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือนักวิทยุสมัครเล่นให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความเดือดร้อนและความเสียหายของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลได้เห็นประโยชน์ของนักวิทยุเป็นอย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มีความสำคัญ ควรได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุสมัครเล่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เสริมสร้างประโยชน์ต่อสังคมและความปลอดภัยของชาติ
2.ใช้เป็นข่ายสื่อสารสาธารณะสำรองในยามฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ
3.พัฒนาความรู้ด้านวิชาการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
4.ฝึกฝนพนักงานวิทยุให้มีความรู้ความชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
5.เพิ่มพูนจำนวนพนักงานวิทยุสำรองไว้ใช้ประโยชน์ยามฉุกเฉิน
6.สร้างชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงการวิทยุระหว่างประเทศ
คุณสมบัติของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่กรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) กำหนด
2. ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งกรมไปรษณีโทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) ออกให้ หรือประกาศนียบัตรซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า
ประเภทของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
2. พนักงานวิทยสมัครเล่นขั้นกลาง
3. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ผู้ที่ประสงค์จะเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภท ต่าง ๆ จะต้องสอบได้ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทนั้น ๆ หรือ มีประกาศนียบัตรที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า และยื่นขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากกรมไปรษณีย์โทรเลข
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้ก่อน
และ ผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นต้นได้แล้ว
ซึ่งทางกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทต่าง ๆ โดยใช้หลักสูตรตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด และกรมไปรษณีย์โทรเลขจะเป็นผู้ออกประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแก่บุคคลบางประเภทตามที่ตามที่คณะกรรมการจะกำหนด
ความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้เริ่มด้วยกลุ่มผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น รวมตัวก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 และได้พยายามขออนุญาต มีและใช้เครื่องวิทยุโทรคมนาคม สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติยังไม่มั่นใจว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นจะได้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ และการควบคุมจะทำได้เพียงใด
เพื่อเป็นการส่งสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกทางหนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้มีโครงการทดลองให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในรูปของ นักวิทยุอาสาสมัคร หรือ VR ขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปิดข่ายวิทยุอาสามัครขึ้นโดยจัดตั้งเป็นชมรมนักวิทยุอาสาสมัคร มีผู้อำนวยการกองต่าง ๆ สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นคณะกรรมการชมรมฯ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นประธานชมรมฯ ผู้ที่จะเป็นสมาชิกจะต้องได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น และต้องผ่านการสอบประวัติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติและจากกรมตำรวจ ว่าไม่เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วกรมไปรษณีย์โทรเลขจะออกใบอนุญาตมีและใช้ เครื่องวิทยุโทรคมนาคมและอนุญาตให้เป็นนักวิทยุอาสาสมัครหรือ VR โดยการกำหนดสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ให้
สัญญาณเรียกขานที่กำหนดขึ้น จะขึ้นต้นด้วย VR และตามด้วยตัวเลขจาก VR001 ไปตามลำดับก่อนหลัง
เพื่อให้การกำกับดูแลการใช้วิทยุคมนาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมข่ายมีสัญญาณเรียกขานว่า "ศูนย์สายลม" ขึ้นที่บริเวณภายในกรมไปรษณีย์โทรเลขและอนุญาตให้ใช้ความถี่ได้เพียง 3 ช่องคือ 144.500 - 144.600 และ 144.700 MHz
ในการเปิดสอบรุ่นแรกมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จำนวน 312 คน การใช้ช่องความถี่ในการติดต่อสื่อสารเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เพิ่มความถี่ให้อีกหนึ่งช่องคือ 145.000 MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุโดยศูนย์สายลมทำหน้าที่ประสานงานให้ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ โดยนักวิทยุสมัครเล่นทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ ในกรณีที่นักวิทยุสมัครเล่นพบเห็นผู้กระทำความผิด ก็จะแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ เมื่อศูนย์สายลมรับข่าวแล้วจะทำหน้าที่กลั่นกรองเรียบเรียงข่าวนั้น ให้เป็นไปตามหลักการของการส่งข่าวที่ถูกต้องก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป ในทางกลับกันเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการให้นักวิทยุสมัครเล่นช่วยสังเกตผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น คดีรถหายหรือคดีชนแล้วหนีตำรวจแจ้งให้ศูนย์สายลมทราบ
เพื่อกระจายข่าว ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ช่วยสังเกตและติดตามเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการสายตรวจร่วมระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ใช้เครื่องวิทยุ
และความถี่วิทยุในย่านของกิจการวิทยุสมัครเล่น ในการติดต่อประสานงานและใช้ยานพาหนะของนักวิทยุสมัครเล่นออกตรวจตามถนนสายต่าง ๆ ในตอนกลางคืนโดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเห็นประโยชน์ ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในปีพ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครขึ้น เพื่อให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จากผลงานที่นักวิทยุสมัครเล่นในรูปของนักวิทยุอาสาสมัครได้รับการยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่น
เป็นกิจการที่มีประโยชน์
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น
ในประเทศไทยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ซึ่งออกเป็นระเบียบของคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ
ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 ผลของระเบียบนี้ทำให้ต้องมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้เป็นตามสากล
เช่น VR001 เป็น HS1BA และ VR คนสุดท้ายคือ VR2953 ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะต้องมีสัญญาณเรียกขานสากล
ที่ขึ้นต้นด้วย HS ซึ่งหมายถึงประเทศไทย ตามด้วยเลข 1 ถึง 0 โดยตัวเลขในสัญญาณเรียกขานนั้นจะแสดงให้ทราบว่านักวิทยุสมัครเล่นคนนั้นอยู่ในเขตใด เช่น HS1 และ HS0 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นภาคกลาง HS9 หมายถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ภาคใต้ เป็นต้น
และตามด้วยอักษร 2 ตัว และ 3 ตัวตามลำดับ
ปัจจุบันมีผู้สอบได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแล้วจำนวนมากกว่า 160,000 คน และผู้ได้รับอนุญาต
มี CALL SIGN แล้วจำนวนมากกว่า 92,000 คน จำนวนช่องความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มขึ้นเต็มย่านVHF จำนวน 81 ช่อง และเพื่อความรอบคอบในกรณีที่สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS จัดให้หมดแล้ว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ขอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดอักษรสำหรับ CALL SIGN ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นใหม่ ITU ได้กำหนดให้ใช้ E2 ซึ่งจะใช้แทน HS ต่อไป
กิจการวิทยุสมัครเล่นไทยได้สร้างเกียรติประวัติในการช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งข่าว เมื่อเกิดพายุเกย์พัดเข้าบริเวณจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงปลายปี พ.ศ. 2532 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เสาไฟฟ้าแรงสูงและสายอากาศวิทยุถูกพายุพัดล้ม เสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งระบบสื่อสารของทางราชการถูกตัดขาด
ไม่สามารถติดต่อกันได้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือนักวิทยุสมัครเล่นให้ช่วยติดต่อรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้น ให้รัฐบาลได้ทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รัฐบาลสามารถทราบถึงความเดือดร้อนและความเสียหายของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐบาลได้เห็นประโยชน์ของนักวิทยุเป็นอย่างดียิ่ง และยอมรับว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มีความสำคัญ ควรได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุสมัครเล่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เสริมสร้างประโยชน์ต่อสังคมและความปลอดภัยของชาติ
2.ใช้เป็นข่ายสื่อสารสาธารณะสำรองในยามฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ
3.พัฒนาความรู้ด้านวิชาการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
4.ฝึกฝนพนักงานวิทยุให้มีความรู้ความชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
5.เพิ่มพูนจำนวนพนักงานวิทยุสำรองไว้ใช้ประโยชน์ยามฉุกเฉิน
6.สร้างชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงการวิทยุระหว่างประเทศ
คุณสมบัติของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นที่กรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) กำหนด
2. ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งกรมไปรษณีโทรเลข (สำนักงาน กทช.ในปัจจุบัน) ออกให้ หรือประกาศนียบัตรซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า
ประเภทของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
2. พนักงานวิทยสมัครเล่นขั้นกลาง
3. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ผู้ที่ประสงค์จะเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภท ต่าง ๆ จะต้องสอบได้ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทนั้น ๆ หรือ มีประกาศนียบัตรที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเทียบเท่า และยื่นขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากกรมไปรษณีย์โทรเลข
สำหรับผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้ก่อน
และ ผู้ที่ประสงค์จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง จะต้องสอบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นต้นได้แล้ว
ซึ่งทางกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นประเภทต่าง ๆ โดยใช้หลักสูตรตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนด และกรมไปรษณีย์โทรเลขจะเป็นผู้ออกประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นแก่บุคคลบางประเภทตามที่ตามที่คณะกรรมการจะกำหนด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น