วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรื่องกันขโมยและการเลือกซื้อ

บทความวิจารณ์เรื่องกันขโมยและการเลือกซื้อ

ระบบกันขโมย หรือ ระบบป้องกันการบุกรุกโจรกรรม
คือ ระบบที่ใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ในการทำงานป้องกันสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ
ระบบกันขโมย จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆในการทำงานร่วมกัน ดังนี้
1. ชุดควบคุมระบบกันขโมย จะประกอบไปด้วย
1.1. ตู้ควบคุมระบบกันขโมย เป็น อุปกรณ์ตัวหลักของระบบกันขโมยที่ต้องมีในทุกๆยี่ห้อ จะทำหน้าที่
ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ รวมถึงเป็นที่รวมฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆในระบบไว้ที่นี่
อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์แบบเดินสายทั้งหมดที่ต่อเข้ากันในระบบ

การเลือกซื้อตู้ควบคุมระบบกันขโมย ควรดูคุณสมบัติดังนี้
- ดูจำนวนโซนของตู้ควบคุมให้เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้ง เพื่อความสะดวกในการป้องกันและง่าย
ต่อการตรวจสอบภายในสถานที่ติดตั้ง ส่วนใหญ่ก็จะมีตู้ควบคุมแบบ 6 โซน 8 โซน 16 โซน -
24 โซน 32 โซน และ 100 กว่าโซนขึ้นไป ซึ่งสิ่งนี้จะมีความจำเป็นมากในการเลือกซื้อ

- ดูว่ามีฟังก์ชั่นในการทำงานยังไงบ้าง เช่น
รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเหตุบุกรุก ได้ทุกประเภทหรือไม่
รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตรวจจับเหตุอัคคีภัย ได้ทุกประเภทหรือไม่
มีระบบหมุนโทรศัพท์อัตโนมัติออกไปแจ้งเหตุหรือไม่
มีระบบป้องกันการเปิดทำลายตู้ควบคุมหรือไม่
มีระบบป้องกันการตัดสายหรือทำรายอุปกรณ์ตรวจจับทุกๆตัวที่ติดตั้งในระบบหรือไม่
มีระบบแยกรหัสผ่านของผู้ใช้งานแต่ละคนหรือไม่
มีระบบเรียกดูเหตุการณ์ระบบการทำงานย้อนหลังหรือไม่
มีระบบโทรศัพท์มาสั่งเปิด - ปิดระบบหรือไม่
มีระบบตรวจสอบความผิดพลาดในการทำงานหรือไม่
มีระบบตั้งเวลาเปิด - ปิดระบบตามวัน และ เวลา ที่กำหนดได้หรือไม่
มีระบบแบ่งโซนการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆได้หรือไม่
สามารถรองรับการต่ออุปกรณ์ Keypad ควบคุมการเปิด-ปิดระบบได้เท่าไหร่
สามารถใช้รีโมทไร้สายสั่งการเปิด-ปิดระบบการทำงานได้หรือไม่
มีระบบควบคุมเปิด-ปิดดวงไฟอัตโนมัติ กรณีมีผู้บุกรุกในสถานที่ติดตั้งหรือไม่
ตู้ควบคุมมีรูปทรงอย่างไร และมีความแข็งแรงทนทานหรือไม่
ระบบจ่ายไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์และระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าของตู้ควบคุมดีหรือไม่
มีระบบสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าในสถานที่ติดตั้งดับหรือไม่
มีระบบโปรแกรมการใช้งานสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้งานหรือไม่
ระยะเวลาการรับประกันตู้ควบคุม และ เงื่อนไขของการรับประกันเป็นอย่างไร
หมายเหตุ การเลือกซื้อตู้ควบคุมระบบกันขโมย ควรเลือกจากแบรนด์สินค้าที่เชื่อถือได้ และมีฟังก์ชั่นใน
การใช้งานเหมาะกับสถานที่ติดตั้ง 


1.2 อุปกรณ์แบตเตอรี่ เป็น อุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับตู้ควบคุมกันขโมยของทุกๆยี่ห้อ สำหรับจ่ายไฟเลี้ยง
อุปกรณ์ และสำรองไฟฟ้าไว้ใช้หากไฟฟ้าของสถานที่ติดตั้งเกิดดับ เพื่อให้ระบบกันขโมยยังคงทำ
งานต่อเนื่องแม้ไฟฟ้าจะดับ แบตเตอรี่ของระบบกันขโมยที่ติดตั้งในตู้ควบคุมจะมีอยู่ 2 ประเภท

- แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Sealed Lead-Acid) รีชาร์จได้ ขนาด 12 โวลล์ 7 แอมป์อาว์ขึ้นไป
- แบตเตอรี่แบบถ่าน AA (แบบแพ็ค 4 ก้อนรวมกันที่ใช้ในรถบังคับวิทยุทั่วไป) รีชาร์จได้ 12 โวลล์
หมายเหตุ
ควรเลือกซื้อที่เป็นแบบ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด เพราะการใช้งานจะดีกว่าและมีอายุการใช้มากกว่า


1.3 อุปกรณ์หมุนโทรศัพท์แจ้งเหตุอัตโนมัติ Auto Dialer ซึ่งจะสามารถเสริมการทำงานในการโทรศัพท์
ออกไปแจ้งเหตุของตู้ควบคุมระบบกันขโมยได้ โดยจะเพิ่มเบอร์โทรศัพท์ให้มากขึ้นในการแจ้งเหตุ กับ
สามารถบันทึกข้อความเสียงพูดบันทึกลงไปในระบบการแจ้งเหตุได้ด้วย หรือ จะโทรศัพท์เข้ามาฝาก
ข้อความได้อีกด้วย

หมายเหตุ จะซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการทำงานของตู้ควบคุมระบบกันขโมย และ ขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ซื้อเอง และควรซื้อกับแบรนด์สินค้าที่น่าเชื่อถือ


1.4 อุปกรณ์ควบคุมการโทรศัพท์แบบไร้สาย โดยใช้ซิมการ์ดของโทรศัพท์มือถือใช้ได้ทั้งแบบเสียรายเดือน
และ แบบซื้อบัตรเติมเงิน (Wireless GSM/GPRS Modules) เหมาะสำหรับสถานที่ติดตั้งที่ยังไม่มี
เบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน หรือ สำหรับเจ้าของสถานที่ติดตั้งที่ต้องการความปลอดภัยสูงๆในการติดตั้งเข้ากับ
ระบบตู้ควบคุมระบบกันขโมย เพื่อป้องกันกรณีผู้บุกรุกตัดสายสัญญาณโทรศัพท์ของสถานที่ติดตั้ง ระบบ
ก็จะเปลี่ยนไปใช้การโทรศัพท์แบบไร้สายด้วยซิมการ์ดแทนทันที ทำให้ลดช่องโหว่ของการโทรแจ้งเหตุ
ของตู้ควบคุมระบบกันขโมยได้เป็นอย่างดี จะซื้อมาใช้หรือไม่ซื้อมาใช้ก็ได้ เพราะปกติปัญหานี้จะไม่คอย
เกิดขึ้น หากการเดินสายเมนโทรศัพท์เข้าไปที่สถานที่ติดตั้งอยู่ระดับสูงกว่าที่ผู้บุกรุกจะกระโดดตัดถึง

หมายเหตุ จะซื้อเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการทำงานของตู้ควบคุมระบบกันขโมย และ ขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ซื้อเอง และควรซื้อกับแบรนด์สินค้าที่น่าเชื่อถือ


1.5 อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดระบบ (Keypad)
จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิด - ปิดระบบกันขโมย และยังใช้โปรแกรมการทำงานของระบบกันขโมย
กับยังใช้ดูผลการทำงานของระบบได้จากหน้าจอของอุปกรณ์ จะมีทั้งแบบหน้าจอเป็น LED และแบบ
หน้าจอ LCD รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่แบรนด์ของสินค้า ในการติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ควรติดตั้งใน
ตำแหน่งที่สะดวกต่อการใช้งานเปิด-ปิดระบบ


2. ชุดอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ ของระบบกันขโมย จะมีดังนี้
2.1 อุปกรณ์ตรวจจับแบบมารดาเหล็กไฟฟ้า (Magntic Switch) ใช้ป้องกันตาม ประตู หรือ หน้าต่าง
จะใช้การดูดของมารดาเหล็กไฟฟ้าในการป้องกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่ฝังรีดสวิทซ์ ในการทำกระแสไฟฟ้าเป็น
คลื่นมารดาเหล็ก และจะมีตัวอุปกรณ์ที่ฝังเหล็กในการดูดเข้ากับตัวที่ฝังรีดสวิทซ์ จะมีทั้งแบบอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
ลอยกับวงกบและติดลอยกับบานประตู หรือบานหน้าต่างจะเห็นอุปกรณ์ในการติดตั้ง และ มีแบบฝังเข้าไป
ในโครงวงกบ และฝังเข้าไปในบานประตู หรือบานหน้าต่าง อุปกรณ์ตรวจจับชนิดนี้จะมีราคาถูกที่สุด ของ
ระบบกันขโมย แบบเดินสาย

หลักการทำงานก็ คือ เมื่อผู้บุกรุกงัดบานประตู หรือบานหน้าต่าง เข้ามาในสถานที่ติดตั้ง ระบบกันขโมยก็
จะทำงานแจ้งเตือนในทันที ซึ่งเป็นการป้องกันส่วนกรอบนอกบ้านทั้งหมด

ข้อดีของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ราคาจะถูกที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ตรวจจับทั้งหมด ของระบบกันขโมยแบบเดินสาย
- สามารถติดอุปกรณ์ป้องกันได้ทุกๆบานประตู และบานหน้าต่าง
- สามารถรู้ได้เลยว่าก่อนออกจากบ้านท่านลืมปิดประตูบานไหน หรือหน้าต่างบานไหน ที่ติดอุปกรณ์นี้
ทราบโดยตอนที่ท่านจะเปิดระบบกันขโมยจากอุปกรณ์ Keypad
- สามารถเปิดระบบอุปกรณ์นี้ป้องกันได้ทั้งมีคนอยู่ในสถานที่ หรือไม่มีคนอยู่ในสถานที่ หากมีการแบ่ง
โซนตรวจจับไว้เป็นสัดส่วนก็เลือกเปิด หรือ ปิดระบบป้องกันเป็นโซนๆได้

ข้อเสียของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ราคาค่าติดตั้งเดินท่อ เดินสายสัยญาณ จะแพงถ้าท่านติดตั้งอุปกรณ์นี้หลายๆประตู หลายๆหน้าต่าง
- ไม่สามารถป้องกันการทุบกระจก กรีดกระจก หรือ งัดบานกระจก ของบานประตู และ บานหน้าต่าง
ได้ เพราะอุปกรณ์จะติดอยู่แค่ที่กรอบวงกบ กับ กรอบบาน ประตูหรือหน้าต่างเท่านั้น ทำให้ในการ
ออกแบบวางระบบติดตั้งอุปกรณ์ระบบกันขโมย ควรจะต้องติดอุปกรณ์นี้คู่ กับอุปกรณ์ตรวจจับการ
เคลื่อนไหวภายในสถานที่ติดตั้งทุกๆที เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของสถานที่ติดตั้ง

การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ก่อนติดตั้งควรดูระยะลมงของกรอบวงกบ กับกรอบบาน ประตูหรือหน้างต่างเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์นี้
จะมีขีดจำกัดในการติดตั้งอยู่ว่าสามารถติดตั้งลมงจากกันได้กี่เซ็นติเมตร
- ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มียี่ห้อน่าเชื่อถือ และดูมาตรฐานที่ตัวอุปกรณ์ว่ามีมาตรฐาน CE , UL หรือไม่
- ในการเชื่อมสายนำสัญญาณที่เดินจากตู้ควบคุมมาที่ตัวอุปกรณ์ Magnetic นี้ควรจะบักกรีด้วยตะกั่ว
ในการเชื่อสายเข้ากัน และใส่ท่อหดหุ้มช่วงที่บักกรีไว้ เพื่อความสเถียรของอุปกรณ์ และอายุการใช้
งานที่ยาวนาน

หมายเหตุ
ยังมีอุปกรณ์ตรวจจับที่มีการทำงานตรวจจับคล้ายๆกับ อุปกรณ์ตรวจจับ Magnetic คือ

- Heavy Duty Magnetic Contact Switch เหมือนกับ Magnetic แต่ตัวอุปกรณ์จะทำ
จากอลูมิเนียม กับมีขนาดใหญ่กว่า และมีแก็บระยะลมงของอุปกรณ์ในการติดตั้งมากกว่า

- Roller Shutter Sensor รูปทรงต่างกับ Magnetic แต่หลักการทำงานเหมือนกัน ส่วนใหญ่
จะติดประตูแบบม้วน หรือประตูโรงงาน และประตูโกดังต่างๆ จะมีอยู่ 2 แบบ แบบห้อยติดเหนือ
บานประตู กับ แบบติดกับพื้นตรงบานประตู และมีแก็บระยะลมงของอุปกรณ์ในการติดตั้งมากกว่า


2.2 อุปกรณ์ตรวจจับ แบบตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detector) สำหรับติดตั้งภายในสถานที่ติดตั้ง
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี PIR (Passive Infrared คือ การตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงภายใน
สถานที่ติดตั้ง) ในการตรวจจับ ซึ่งเทคโนโลยีตรวจจับแบบ PIR นี้เป็นเทคโนโลยีหลัก ของระบบอุปกรณ์
ตรวจจับการเคลื่อนไหว ของทุกๆยี่ห้อที่มีจำหน่ายทั่วโลก แต่เทคโนโลยี แบบ PIR นี้จะมีปัญหาอยู่มาก
ในการตรวจจับภายในสถานที่ติดตั้ง เพราะไม่สามารถจะแยกแยะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในสถานที่
ติดตั้งที่ตรวจจับได้ เช่น ลมพัดเข้ามาในช่องบานเกล็ดแล้วทำให้ผ้าม่านไหว หรือ แสงแดดส่องเข้ามาที่
บานกระจกของประตู หรือหน้าต่าง ของภายในสถานที่ติดตั้งนานๆ เทคโนโลยี PIR นี้ก็อาจตรวจจับว่าเป็น
ผู้บุกรุกได้ง่ายๆ ที่เขาเรียกกันว่า False Alarms คือ การแจ้งเตือนการตรวจจับที่ผิดพลาดของระบบ แม้
ช่างเทคนิคของหลายๆยี่ห้อ จะหาวิธีแก้ไขโดยการหลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไม่ให้ส่องไปทางประตู หรือ
หน้าต่างของสถานที่ติดตั้ง แต่ให้ส่องไปในทางตรงกันข้ามแทนแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถช่วยลดปัญหา
Flase Alarms ได้มากเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการคิดค้น เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ เช่น

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ PIR II หรือ Dual PIR หรือ Microprocessor หรือ Quad PIR
แล้วแต่ระบบกันขโมยยี่ห้อไหนจะตั้งชื่อเรียก เป็นการเพิ่มการตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงเป็น 2 ชั้น
ในการตรวจจับ โดยการกำหนดคลื่นลำแสงเพิ่มจากเดิม และเพิ่มเลนส์กรองคลื่นลำแสงเป็น 2 ชุด ระบบ
เทคโนโลยี นี้ถึงแม้จะดีกว่าระบบเทคโนโลยี PIR แบบเดิม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดปัญหา False Alarms
ซึ่งเท่าทีซื้อมาติดตั้งดูก็พบว่ายังต้องใช้การติดตั้งไม่ให้หันไปส่องทางประตูหรือหน้าต่าง ช่วยอยู่ดี และ
การตรวจจับก็ยังมี False Alarms อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยอมรับว่าน้อยกว่า เทคโนโลยี PIR แบบเดิม

- เทคโนโลยี PET Friendly หรือ PET Immunity หรือ PET Immune แล้วแต่จะเรียก เป็นระบบ
แยกแยะอุณหภูมิของคน กับ สัตว์เลี้ยง ในการตรวจจับ โดยมีน้ำหนักของ สัตว์เลี้ยง เป็นตัวที่ไปชี้วัดว่า
น้ำหนักขนาดเกินเท่าใดจะตรวจจับและไม่ตรวจจับ การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ก็ดูจะเสริมความน่าเชื่อ
ถือให้เทคโนโลยี PIR แบบเดิมๆได้บ้าง แต่ดันมีข้อกำหนดของน้ำหนักสัตว์เข้ามาเกี่ยวเลยไม่ชัวร์เท่าไหร่

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ Microwave เป็นการใช้คลื่นความร้อนไมโครเวฟในการตรวจจับ โดย
หากมีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ แล้วคลื่นไมโครเวฟกระทบกับความร้อนในร่างกายของผู้บุกรุก ระบบ
ก็จะทำการตรวจจับได้ทันที เพราะความร้อนในร่างกายของมนุษย์จะมีความร้อนเฉพาะแตกต่างจาก
ความร้อนของ แสงแดด หรือสัตว์บางประเภท หรือแมลงต่างๆ ทำให้ระบบกันขโมยบางยี่ห้อจึงได้นำ
เทคโนโลยีนี้ใส่รวมไปกับเทคโนโลยี่ PIR แบบเดิมในการทำงานตรวจจับที่ดีกว่า และคลื่นไมโครเวฟ
ของเทคโนโลยีนี้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์แม้แต่น้อย ส่วนเทคโนโลยี PIR + Microwave นี้ช่วยลด
ปัญหาการ False Alarms ได้ดีแค่ไหน ขอตอบจากประสบการณ์ที่ได้ทดสอบมาแล้วว่าดีกว่าระบบ
เทคโนโลยี PIR แบบเดิม และแบบ PIR II อยู่มากถึงจะมี False Alarms อยู่บ้างก็ตามที

- เทตโนโลยี่การตรวจจับ แบบ TriTech เป็นระบบการตรวจจับแบบอัฉริยะ ที่รวมเอาระบบที่ดีที่สุดใน
การตรวจจับการเคลื่อนไหวไว้รวมกันในอุปกรณ์ตัวเดียว ซึ่งเทคโนโลยี TriTech นี้ประกอบไปด้วย
เทคโนโลยี PIR (Passive Infrared) แบบ Dual PIR ทำงานร่วมกับ เทคโนโลยี Microwave
ในการตรวจจับผู้บุกรุก และมีเทคโนโลยี A.I.(Artificial Intelligence) เป็นตัวที่จะวิเคราะห์และ
ประมวลผลสิ่งที่ PIR กับ Microwave ตรวจจับได้ว่าสิ่งที่ทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ ตรวจจับได้นั้นเป็น
มนุษย์ หรือ สัตว์เลี้ยง หรือ การเคลื่อนไหวจากสิ่งอื่นๆ เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วถึงจะแจ้งระบบทำการ
ตรวจจับหากสิ่งที่วิเคราะห์ได้เป็นผู้บุกรุกจริงๆ และระบบนี้ยังสามารถแยกแยะการตรวจจับสิ่งมีชีวิต
ว่า เลือดอุ่น หรือ เลือดเย็น ได้อีกด้วย และมีระบบ Pattern Recognition Technology [PRT]
จดจำสัญญาณที่เป็นรูปแบบซ้ำๆ เช่น พัดลมหมุน หรือ มีสิ่งใดเคลื่อนไหวอยู่ เมื่อเริ่มทำการเปิดระบบ
ทำให้ระบบจะยังไม่ทำการตรวจจับเหตุการณ์นั้นๆ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง และจะไม่ส่งสัญญาณ
แจ้งเตือน แต่จะไม่ลดทอนประสิทธิภาพในการตรวจจับสัญญาณจากผู้บุกรุกแม้แต้น้อย ทำให้ระบบ
เทคโนโลยี TriTech นี้ช่วยลดปัญหาของการเกิด False Alarms ได้เป็นอย่างดี และจากที่ได้ทำ
การติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี TriTech นี้ ผลสรุปว่าปัญหา Flase Alarms แทบ
จะไม่มีเลยครับ ซึ่งจากการสอบถามผู้ใช้จริงๆ กว่า 10 รายก็ตอบเหมือนกันว่ายังไม่เคยเห็นว่าระบบ
อุปกรณ์นี้มัน False Alarms เลย แต่เท่าที่ผมซื้อมาทดสอบเองก็พบว่ามีบ้างนะแต่ก็เพิ่งเจอ 1 ครั้ง
เท่านั้นจากการทดสอบมา 9 เดือนกว่าๆ


หลักการทำงานก็ คือ เมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาในบริเวณพื้นที่ๆติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวไว้ ระบบก็จะ
ทำการตรวจจับผู้บุกรุกในทันที จำเป็นต้องติดตั้งคู่กับอุปกรณ์ Magnetic เพราะหาก
ผู้บุกรุกทุบหรือกรีดกระจกบานประตูหรือบานหน้าต่างเข้ามา หรือเปิดหลังคาและโรย
ตัวทีบฝ้าเพดานลงมา ก็จะมีอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวนี้ช่วยตรวจจับได้

ข้อดีของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เป็นการป้องกันที่ได้ผลดีกว่าอุปกรณ์ตรวจจับทุกๆประเภทของระบบกันขโมย เพราะแม้แต่ช่างติดตั้งระบบ
กันขโมยเองก็เข้ามาไม่ได้หากการออกแบบวางระบบอุปกรณ์ไว้รัดกุมดีพอ
- ป้องกันการเข้ามาของผู้บุกรุกได้ทุกๆช่องทางของการเข้ามา
- นอกจากจะป้องกันการบุกรุกจากผู้บุกรุกภายนอกแล้ว ยังป้องกันผู้บุกรุกภายในสถานที่ติดตั้งเองได้อีกด้วย
- อุปกรณ์ 1 ตัวสามารถป้องกันครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างมากและไกลมาก

ข้อเสียของการติดอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- จะมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ตรวจจับแบบ Magnetic ถึง 10 เท่าตัว สำหรับระบบกันขโมยแบบเดินสาย
- ปัญหาของการ False Alarms ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุปกรณ์ชนิดนี้ เวลาเลือกซื้อจึงควรเลือกเทคโนโลยี
ของการตรวจจับที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นสำคัญ เพราะจะช่วยลดปัญหาการเกิด False Alarms ได้มาก

การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ควรติดตั้งที่ความสูงและข้อกำหนดการติดตั้ง ตามที่สเปคของอุปกรณ์กำหนดไว้เท่านั้น
- ไม่ให้นำอุปกรณ์ชนิดนี้ไปติดตั้งภายนอกสถานที่ติดตั้ง เพราะระบบไม่ได้ทำมาสำหรับติดตั้งภายนอกสถานที่
- ไม่ควรติดตั้งตัวอุปกรณ์หันหน้าออกไปทางประตูหรือหน้าต่างที่เป็นกระจก ถึงแม้อุปกรณ์ชนิดนี้จะตรวจจับไม่
ทะลุผ่านกระจกใสหรือผนังกำแพง แต่ก็ไม่ควรหันออกไปรับแสงแดดมากเพราะจะเกิด False Alarms ได้

หมายเหตุ การเลือกซื้ออุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว นอกจากจะดูเทคโนโลยีของการตรวจจับแล้ว ต้องดู
รัศมีของการตรวจจับแบบใด และ ระยะความไกลในการตรวจจับ เช่น รัศมีทำมุม 90 องศา หรือ
360 องศา และ ระยะความไกล 11x11 เมตร หรือ 15x15 เมตร หรือ 18x18 เมตร และแบบ
21x21 เมตร หรือ 21x360 องศา เป็นต้น ระยะความไกลให้ดูพื้นที่ติดตั้งเป็นหลัก


2.3 อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว (Outdoor Motion Detector) สำหรับติดตั้งภายนอกสถานที่ติดตั้ง
หลักการตรวจจับ และเ ทคโนโลยีตรวจจับ จะคล้ายๆกับ อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในสถานที่
จะต่างกันก็ตรงทีจะเพิ่มเทคโนโลยีในการตรวจจับให้วิเคราะห์มากขึ้น มีระยะรัศมีของการตรวจจับที่มาก
ขึ้นกว่าแบบติดตั้งภายในสถานที่ แต่จะมีไม่กี่ยี่ห้อที่ทำแบบตรวจจับภายนอกสถานที่ เท่าทีได้ทดสอบดู
โดยนำแบบของเทคโนโลยี PIR II กับของ เทคโนโลยี TriTech มาทดสอบติดตั้งตรวจจับภายนอกตัว
บ้านของผมพบว่าแบบ เทคโนโลยี TriTech มีการเกิดปัญหา False Alarms น้อยกว่า แบบ PIR II
มากเลยครับ ซึ่งผมติดตั้งตามสเปคที่อุปกรณ์แต่ละเทคโนโลยีกำหนดไว้ทุกอย่าง และได้ติดตั้งในสภาพ
แวดล้อมแบบเดียวกัน พื้นที่นอกบ้านเดียวกัน แต่ติดต่างฝั่งกัน ระยะเวลาทดสอบ 6 เดือนเท่ากัน

หลักการทำงาน ข้อดีในการติดอุปกรณ์นี้ ข้อเสียในการติดอุปกรณ์นี้ การติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ ก็จะคล้าย
กับอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในสถานที่ แต่เรื่องปัญหาการเกิด False Alarms ของอุปกรณ์
ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายนอกสถานที่ จะมีมากกว่าอุปกณณ์ภายในสถานที่มาก ทางที่ดีที่สุดหากท่าน
ต้องการจะติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้จริงๆก็ควรเลือกเทคโนโลยีการตรวจจับที่ดีๆ และเวลาติดให้หันหน้า ของ
ตัวอุปกรณ์ยิงเข้าหาตัวอาคารสถานที่จึงจะดี อาจจะช่วยลดการ False Alarms ได้มากขึ้น


2.4 อุปกรณ์ตรวจจับด้วยการยิงลำแสงป้องกันแนวตรง (Beam Photoelectric Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีการยิงสำแสงป้องกัน โดยจะมีอุปกรณ์ตัวส่งลำแสงในการยิงลำแสงออกไป
กับ มีอุปกรณ์ตัวรับเป็นที่พักลำแสงจากอุปกณณ์ตัวส่ง จะใช้คู่กันในการติดตั้งป้องกันผู้บุกรุก ส่วนมาก
อุปกรณ์ชนิดนี้ผู้ขายและผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนำมาติดตั้งป้องกันบริเวณภายนอกสถานที่อาคาร เช่น จะนำไป
ติดบนกำแพงรั้วป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกกระปีนเข้ามา หรือ ติดรอบๆตัวอาคารป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาในตัว
อาคารสถานที่ แต่จริงๆแล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ยังสามารถติดตั้งภายในอาคารสถานที่ได้ดียิ่งกว่าติดภายนอก
อาคารสถานที่มาก อุปกรณ์ชนิดนจะมีอยู่ 3 แบบคือ

- แบบ Sigle Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 1 ลำแสง ในการตรวจจับ

- แบบ Dual Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 2 ลำแสง ในการตรวจจับ

- แบบ Quad Beam Photoelectric Detector คือ
จะใช้การยิงลำแสงจากอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง จำนวน 4 ลำแสง ในการตรวจจับ


หลักการทำงาน คือ เมื่อมีวัตถุใดๆมาตัดบังลำแสงระหว่างอุปกรณ์ตัวส่งลำแสง กับ อุปกรณ์ตัวรับลำแสง
ระบบตรวจจับก็จะทำการตรวจจับทันที

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ควรเลือกที่ระยะความไกลในการยิงลำแสง โดยเอาจุดตำแหน่งที่เราจะ
ติดตั้งอุปกรณ์นี้เป็นระยะในการกำหนดซื้อ เช่น ถ้าติดที่กำแพงรั้วก็ให้
ดูว่าระยะกำแพงรั้ว 1 ฝั่งของท่านยาวเท่าไหร่ก็เอาความยาวนี้ตั้งระยะ
ในการบอกผู้ขาย และให้ดูรัศมีความกว้างของลำแสงของอุปกรณ์ว่ามี
รัศมีความกว้างเท่าไหร่ในการยิงลำแสงจาก อุปกรณ์ตัวส่ง ถึง ตัวรับ

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายในสถานที่ติดตั้ง
- เป็นการป้องกันจากผู้บุกรุกตั้งแต่ต้นก่อนจะเข้ามาถึงตัวอาคารสถานที่ติดตั้ง

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ถ้าติดตั้งแนวรั้วกำแพงทั้ง 4 ด้านราคาก็จะแพงมากทั้งค่าติดตั้งและค่าอุปกรณ์ทั้งหมด
- ถ้าติดตามแนวกำแพงรั้วของสถานที่ ต้องระวังใบไม้มาตัดลำแสง นกบินมาเกาะกำแพงตัดลำแสง
แมวกระโดดบนกำแพงตัดลำแสง และ กระแสลมแรงที่พัดตัดลำแสง หรือ มีรถใหญ่วิ่งผ่านทำให้เกิด
การสั่นสะเทือนไปทำให้อุปกรณ์ตัวส่งลำแสงสั่นจึงยิงลำแสงไม่ตรง กับอุปกรณ์ตัวรับลำแสง ปัญหา
ต่างๆเหล่านี้ก็ทำให้ระบบการตรวจจับผิดพลาดได้ง่ายๆ และจะบ่อยครั้งมากจนผู้ใช้ที่ซื้ออุปกรณ์ชนิด
นี้ไปติดตั้งหลายๆรายได้เลิกใช้ไปเลย และยังไม่มีทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้


2.5 อุปกรณ์ตรวจจับการทุบกระจกแตก (Glass Break Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับเสียงของการทุบกระจกแตก โดยใช้เทคโนโลยีแบบ Microprocessor-based
Sound Analysis Technology (SAT) สำหรับติดตั้งป้องกันการทุบกระจกบานประตู บานหน้าต่าง
เพื่อเข้ามาในสถานที่โดผู้บุกรุก อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีหลายแบบเช่น แบบติดตั้งใต้ฝ้าเพดาน แบบติดผนัง
กำแพง แบบติดกับบานกระจก หรือแบบติดตั้งที่ประตู หน้าต่าง แบบติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch
ซึ่งใช้แทนอุปกรณ์ Magnetic Switch ได้เลย

หลักการทำงาน คือ หากมีผู้บุกรุกทุบกระจกของบานประตู หรือบานหน้าต่างเข้ามา ระบบจะทำการตรวจ
จับเสียงกระจกแตกที่เกิดขึ้น และ จะส่งสัญญาณตรวจจับผู้บุกรุกในทันที

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- ติดตั้งป้องกันการทุบกระจกแตกของผู้บุกรุก ได้กับทุกๆสถานที่

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- มีราคาแพงหากจะติดตั้งป้องกัน ประตูบานกระจก หรือ หน้าต่างบานกระจก ทุกๆบานในสถานที่ เพราะ
อุปกรณ์นี้ 1 ตัว จะมีข้อกำหนดอยู่ว่าครอบคลุมตรวจจับได้พื้นที่แค่ไหน หรือบางรุ่นได้แค่ 1 บาน
- จะเกิดการ False Alarms ได้ง่ายสำหรับชนิดติดกับ บานกระจก หรือ ชนิดติดแบบ Magnetic โดย
สิ่งที่จะทำให้เกิด False Alarms ก็คือ ฝนตกและฟ้าร้องทำให้บานประตู หน้าต่าง สั่นสะเทือน หรือ
มีรถใหญ่วิ่งผ่านสถานที่ติดตั้งจนเกิดการสั่นสะเทือนของ บานประตู บานหน้าต่าง ส่วนชนิดที่ติดตั้งบน
ผนังกำแพง หรือ ใต้ฝ้าเพดาน จะมีปัญหาที่กล่าวไปน้อยกว่า แต่ระบบอุปกรณ์ชนิดนี้หากเราเปิดระบบ
และเปิดหนังภาพยนตร์ดูในสถานที่แบบใช้ชุดโฮมเธียเตอร์ราคาแพงๆ ระบบ THX แล้วเปิดฉากของ
หนังที่มีการทุบหรือเสียงแตกของกระจก ระบบอุปกรณ์นี้บางยี่ห้อที่มีเทคโนโลยีวิเคราะห์เสียงดีๆ ใน
การตรวจจับก็จะแยกเสียงกระจกแตกจากหนังได้ แต่ยี่ห้อที่มีเทคโนโลยีไม่ได้จะตรวจจับเสียงหนังที่
ว่าทันที แม้แต่เสียงแก้วแตกก็ยังตรวจจับเลยครับ

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เลือกแบรนด์ยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ
- ดูเทคโนโลยีในการตรวจจับเสียง ว่าเป็นแบบใด
- ควรติดเฉพาะบานกระจกที่จำเป็นจริงๆ จะได้ประหยัดราคา

หมายเหตุ
- หากการออกแบบวางระบบอุปกรณ์กันขโมย ได้มีการออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch กับ
อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว Motion Detector ไว้ อุปกรณ์ Glass Break Detector นี้ก็ไม่มี
ความจำเป็นต้องติดครับ เพราะติดไปก็มีค่าเท่าเดิมถ้าผู้บุกรุกทุบกระจกเข้ามาอุปกรณ์ Motion ก็ยังคง
ตรวจจับได้อยู่ดี

2.6 อุปกรณ์ป้องกันการเปิดตู้เซฟ หรือ ตู้เอทีเอ็มของธาคาร (Save Sensor หรือ Seismic Detector)
เป็นอุปกรณ์แบบใช้คลื่นมารดาเหล็กไฟฟ้า และ เพิ่มระบบการตรวจจับการสั่นสะเทือนเข้ามาด้วย ในการใช้
งานติดตั้งป้องกันตู้เซฟแบบต่างๆ หรือตู้เอทีเอ็ม ของธนาคาร

หลักการทำงาน คือ จะติดอุปกรณ์ชนิดนี้ไว้ที่ ตู้เซฟ และ ตู้เอทีเอ็ม และโปรแกรมระบบการทำงานของตัว
อุปกรณ์ให้ทำงานตรวจจับตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อมีผู้บุกรุกมาเปิดตู้เซฟ หรือตู้เอทีเอ็ม โดยที่ไม่ได้ปิดระบบ
การทำงานของอุปกรณ์ก่อน ระบบก็จะแจ้งเตือนทันที อุปกรณ์นี้ยังตรวจจับการเจาะตู้เซฟและตู้เอทีเอ็ม ได้
อีกด้วย

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้คือ เลือกแบรนด์ยี่ห้อระบบกันขโมยที่น่าเชื่อถือ เลือกชนิดอุปกรณ์ให้เหมาะ
กับตู้เซฟ และ ตู้เอทีเอ็ม ที่ท่านใช้

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เหมาะกับสถานที่ที่มีคนอยู่ภายในบริเวณตลอด 24 ชั่วโมง แต่มีตู้เซฟใส่สินค้ามีค้าไว้ เช่น ปั๊มน้ำมันทั่วไป
โรงพยาบาลในห้องการเงิน ตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- จะมีราคาแพงมากถ้าเปรียบเทียบความคุ้มค่า กับอุปกรณ์ระบบกันขโมยทุกๆประเภท
- ถ้าติดตั้งอุปกรณ์ Magnetic Switch และ Motion Detector ในห้องที่มีตู้เซฟ แล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ก็
ไม่จำเป็นต้องซื้อติดตั้ง

ยกเว้น ตู้เอทีเอ็ม ที่ไม่สามารถติด อุปกรณ์ Magnetic Switch และ อุปกรณ์ Motion Detector ในที่
ตั้งบริเวณนั้นๆได้

2.7 อุปกรณ์ตรวจจับเหตุอัคคีภัย สำหรับต่อกับตู้ควบคุมระบบกันขโมย
จะมีทั้งแบบตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ แบบตรวจจับความร้อน (Heat Detector) โดย
ทีอุปกรณ์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะทำการตรวจจับเหตุอัคคีภัยเหมือนกัน แต่จะติดตั้งในห้องของสถานที่ๆต่างกัน คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะติดตั้งในห้องต่างได้ ยกเว้น ห้องครัวที่มีการทำอาหาร
ที่มีควันมากๆ และ ห้องพระของสถานที่ติดตั้ง หรือ ห้องเครื่องที่มีความร้อนกับมีควันมาก
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะติดตั้งในห้องต่างได้กับทุกๆห้องของทุกๆสถานที่

หลักการทำงาน คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เกิดควันไฟที่มีความร้อนสูง
ตามที่สเปคอุปกรณ์ได้กำหนดไว้
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ เมื่อความร้อนของเปลวไฟร้อน
เกินกว่าที่สเปคอุปกรณ์ได้กำหนดไว้

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) จะตรวจจับควันไฟก่อนที่เปลวไฟจะ่เริ่มลุกลามมากขึ้น
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ช้ากว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
แต่ก็ทดแทนอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟได้ในห้องที่อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟไม่สามารถติดตั้งได้
- ติดเพื่อความปลอดภัยของสถานที่ติดตั้ง เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ให้น้อยลงได้

ข้อเสียของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) ไม่เหมาะกับห้องที่มีควันมากๆ และมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์
ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ช้ากว่า อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ

การเลือกซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้ คือ
- เลือกที่แบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่น่าเชื่อถือ และมีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก
- เลือก อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
ที่สามารถเทสทดสอบการทำงานของตัวอุปกรณ์ได้
- เลือก อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
ที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายๆ และ มีสเปคการทำงานในการตรวจจับที่ได้มาตรฐาน UL , CE

2.8 อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Switch หรือ Panic Button Switch)
เป็นอุปกรณ์ปุ่มกด สำหรับกดปุ่มแจ้งขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือแจ้งเหตุการณ์เร่งด่วน ทันทีทันใด อุปกรณ์
นี้เวลาท่านกดปุ่มแจ้งขอความช่วยเหลือแล้วปุ่มที่กดจะแช่ค้างไว้ตลอด หากจะปลดคลายไม่ให้ปุ่มค้างก็ต้องใช้
กุญแจที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ไขปลดล็อคถึงจะได้ เหมาะสำหรับติดในห้องการเงิน ธนาคาร โรงรับจำนำ หรือติด
ในห้องที่มีผู้สูงอายุ แต่สำหรับสถานที่ติดตั้งระบบกันขโมย ที่ไม่ต้องการซื้่ออุปกรณ์ชนิดนี้ก็สามารถกดปุ่มแจ้ง
ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้จากอุปกรณ์ Keypad แต่มันต้องกดแล้วปล่อยอาจจะไม่ต้องกับวัตถุประสงค์ของ
การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือสักเท่าไหร่


3. ชุดอุปกรณ์แสดงผล หรือ ชุดอุปกรณ์ขับไล่
3.1 อุปกรณ์ขับไล่ด้วยเสียง สำหรับระบบสัญญาณกันขโมย จะมีอยู่ 4 แบบ
- Indoor Siren with Square Housing เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับ
สเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 12 โวลล์ในการทำงาน
- Horn Siren เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละ ยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์ก็ขึ้นอยู่แต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 12 โวลล์ในการทำงาน
- Horn Siren เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละ ยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์ก็ขึ้นอยู่แต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ 24 โวลล์ในการทำงาน
- Motor Bell 6" เป็นอุปกรณ์แบบใช้เสียงกระดิ่งขับไล่ ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ
รูปทรงของอุปกรณ์จะเป็นทรงกลม มีสีแดง ใช้ไฟฟ้าแบบ 24 โวลล์ในการทำงาน

หมายเหตุ อุปกรณ์ชนิดนี้จะติดตั้งภายนอกหรือภายในสถานที่ติดตั้งก็ได้ ควรเลือกซื้อที่รูปทรง และความดังของ
เสียงขับไล่ ให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้ง

3.2 อุปกรณ์ขับไล่ด้วยเสียงและแสงไฟกระพริบ สำหรับระบบสัญญาณกันขโมย
- Outdoor Siren with Strobe Light เป็นอุปกรณ์ไซเรนแบบใช้เสียงขับไล่ พร้อมกับ มีแสงไฟกระพริบ
ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อ รูปทรงของอุปกรณ์ก็แล้วแต่ละยี่ห้อ ใช้ไฟฟ้าแบบ
12 โวลล์ในการทำงาน และสีของแสงไฟกระพริบก็มีทั้งแบบสีแดง และสีน้ำเงิน

หมายเหตุ
- อุปกรณ์ชนิดนี้จะติดตั้งภายนอกหรือภายในสถานที่ติดตั้งก็ได้
- ควรเลือกซื้อที่รูปทรง และความดังของเสียงขับไล่ ให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้ง
- ส่วนแสงไฟกระพริบจะมีประโยชน์ในการระบุตำแหน่งของสถานที่ติดตั้ง เวลาเกิดเหตุบุกรุกหรือเหตุอัคคีภัย


4. การติดตั้งระบบอุปกรณ์สัญญาณกันขโมย
- ควรจะเลือกบริษัทฯ ติดตั้งที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญสูงในการติดตั้งระบบกันขโมยโดยเฉพาะ
- ในการติดตั้งเดินท่อที่ใช้ร้อยใสสายนำสัญญาณของระบบกันขโมย ควรเลือกใช้ท่อ PVC สีเหลือง หรือ
สถานที่ๆมีงบประมาณสูงก็ให้เลือกใช้ท่อเหล็ก EMT ในการติดตั้ง
- การเลือกสายนำสัญญาณกันขโมยในการติดตั้งให้อุปกรณ์ต่างๆในระบบ ควรที่จะเลือกใช้สายนำสัญญาณ
ประเภท 20 หรือ 22 หรือ 24 AWG Multicore Cable แบบ 2 เส้นใน - 4 เส้นใน และ 6 เส้นใน
แบบสายทองแดงฝอย เพราะจะมีการเหนี่ยวนำสัญญาณได้ดีและสายจะไม่หักใน หรือขาดในสายได้ง่ายๆ
- ในการติดตั้งเดินท่อร้อยสายนำสัญญาณของระบบกันขโมย ควรวางแผนในการซ่อมแซมสายนำสัญญาณ
ไว้ด้วย เผื่อการแก้ไขการระบบสายที่ติดตั้งเกิดมีปัญหา
- จุดติดตั้งตำแหน่งไหนที่ต้องมีการเชื่อมสายจากตู้ควบคุมไปเข้ากับสายของอุปกรณ์ ต้องทำการเชื่อมสาย
ให้ถูกต้อง และต้องบักกรีสายตรงจุดเชื่อมต่อด้วยการไร้ตะกั่ว และใช้ท่อหดหุ้มใสจุดที่บักกรีตะกั่วไว้ด้วย
- ควรให้บริษัทฯ ที่ติดตั้งเทสและทดสอบการทำงานของสายนำสัญญาณที่ติดตั้งไว้ทุกจุดว่าใช้งานได้ก่อน
ติดตั้งต่อกับตัวอุปกรณ์ต่างๆในระบบ
- ควรให้บริษัทฯ ที่ติดตั้งเทสและทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบทุกจุดให้ครบ และทำงาน
ได้จริงตามความสามารถของอุปกรณ์นั้นๆ
- ก่อนรับส่งมอบงานจากบริษัทฯผู้ขายและติดตั้ง ควรให้เขาสอนการใช้งานของระบบให้คล่องก่อน
- เมื่อรับส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว ก่อนชำระเงินให้ข้อคู่มือการใช้งาน และเอกสารใบรับประกัน กับชื่อช่าง
ที่สามารถติดต่อได้หากระบบเกิดมีปัญหา หรือมีปัญหาในการใช้งาน


5. บทสรุปของการเลือกซื้อระบบกันขโมย มาติดตั้งป้องกันในสถานที่
5.1 ควรเลือกจาก แบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก กับแบรนด์สินค้าเป็นที่รู้จัก และน่าเชื่อถือ
5.2 แบรนด์ยี่ห้อสินค้า ของระบบกันขโมย จะมีมาจากหลายๆประเทศ และประเทศที่ผลิตสินค้า อาจจะ
ไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าก็ได้ เช่น แบรนด์สินค้าอเมริกา แต่ผลิตสินค้าในประเทศจีน เป็นต้น
ถ้าแบนด์สินค้าที่ท่านเลือกเป็นอย่างนี้ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าสินค้าที่ผลิตจาก จีน จะไม่ดี เพราะเท่าที่
ได้ทดสอบด้วยตัวเอง และ ศึกษาจากผู้ใช้จำนวนมาก ก็พบว่าสินค้าแบรนด์ดัง แต่ผลิตสินค้าใน จีน
กับมีคุณภาพดีและมีมาตรฐานกว่า แบรนด์สินค้าที่ผลิตในเป็นเทศของเจ้าของแบรนด์สินค้าเอง เสีย
อีก ผมว่ายิงแบรนด์สินค้าเขามีชื่อเสียงดีเท่าไหร่ แม้จะผลิตสินค้าในประเทศจีน เขาก็ยังคงรักษาให้
สินค้าเขามีมาตรฐานที่ดีอยู่ตลอด เพื่อไม่ให้ชื่อเสียงของสินค้าเขาดูไม่มีคุณภาพ เพราะมันคงจะไป
กระทบกับแบรนด์สินค้าเขาอย่างมากหากผลิตในประเทศจีน แล้วสินค้าไม่มีคุณภาพ

5.3 ควรเลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจจับให้เหมาะกับการป้องกันภายในสถานที่ของท่าน
5.4 ราคาของระบบอุปกรณ์ที่จะซื้อ ควรจะเปรียบเทียบจากคุณสมบัติในการทำงานของระบบอุปกรณ์เป็น
หลัก และ เปรียบเทียบจากแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงเทียบเท่ากัน สินค้าที่ราคาถูกกว่ายี่ห้ออื่นมากๆ
ในจำนวนอุปกรณ์ที่เท่าๆกันอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อให้ดูสเปคสินค้าก่อนและศึกษาว่ามีผู้ใช้มากเท่าไร

5.5 ควรเลือกบริษัทฯ ที่จำหน่ายและติดตั้ง ที่มีประสบการณ์มายาวนานและมีการบริการหลังการขายที่ดี
5.6 การหาซื้อสินค้าระบบกันขโมย ควรหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Google ในการค้นหา โดยให้
พิมพ์คำค้นหาว่า กันขโมย หรือ กันขโมยแบบเจาะจงยี่ห้อ เข่น กันขโมย Bosch , กันขโมย Ness
ถ้าจะหาระบบกันขโมยแบบไร้สายก็พิมพ์คำค้นหาว่า กันขโมยไร้สาย หรือ กันขโมย Bosch หรือให้
ไปสอบถามกับผู้ที่เคยซื้อระบบกันขโมยมาติดตั้งและใช้งานมาแล้ว ว่าแบรนด์ยี่ห้อสินค้าที่เขาใช้เป็น
อย่างไรบ้าง แต่อย่าเพิ่งเชื่อเขาทั้งหมดให้เสริท์หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วย

5.7 การเลือกซื้อระบบกันขโมยมาติดตั้งเป็นการป้องกันปัญหาของการ ถูกบุกรุก-โจรกรรม ได้ดีที่สุด
ถ้าหากจะเปรียบกับการซื้ออุปกรณ์ป้องกันแบบอื่นๆ หรือ ซื้อการประกันภัย เช่น

5.7.1 ซื้อ เหล็กดัด มาติดตั้ง ใส่ครอบประตู และ หน้าต่าง ทุกๆบาน
ข้อดีของการติดเหล็กดัด คือ
- ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากเสียเงินแล้วเขาก็มาติดตามจำนวนที่ต้องการ
- ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก ถ้าใช้ไปนานๆเก่าแล้วหก็ทาสีใหม่
- ให้ความรู้สึกว่ามั่นคง และ แข็งแรง เวลาติดตั้งป้องกันที่ ประตู และ หน้าต่าง


ข้อเสียของการติดเหล็กดัด คือ
- ทำให้บ้านที่มีบานประตู บานหน้าต่าง แบบเป็นกระจกรอบบ้าน ติดตั้งเหล็กดัดเข้าไปทำให้หมด
ความสวยงาม ถ้าเป็นแบบบ้านสมัยใหม่ที่ติดประตู หน้าต่าง ที่เป็นบาน Winsor หรือ UPVC
เวลาติดเหล็กดัดเข้าไปยิ่งทำให้ไม่สวยงามมากกว่าเดิม

- สิ่งที่คิดว่าติด เหล็กดัด แล้วแข็งแรง แน่หนา อาจจะใช้ไม่ได้กับขโมยในยุกต์สมัยนี้ เพราะพวก
ขโมยรุ่นใหม่นี้ มีวิธีการงัดทำลายเหล็กดัดได้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง หรือใช้น้ำกรดหยดตามรูน็อต
ที่ยึดโครงเหล็กดัดกับวงกบประตู หน้าต่าง ไม่กี่จุดก็หลุดออกมาทั้งโครงเหล็กแล้ว ในเวลาอันสั้น

- การติดเหล็กดัด ก็อาจเป็นดาบ 2 คมสำหรับสถานที่ติดตั้งได้เช่นเดียวกัน เช่น เกิดเหตุไฟไหม้
แล้วหนีออกมาจากสถานที่ไม่ได้เพราะติดเหล็กดัด หรือ เกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านแล้วคนอื่นเข้ามา
ช่วยจะใช้เวลานานมากกว่าปกติเพราะต้องงัดทำลายเหล็กดัดก่อนถึงจะเข้ามาได้

- การติดเหล็กดัด หากสถานที่ติดตั้งติดที่ประตู และหน้าต่าง ทั้งหมดในสถานที่ ราคาก็ไม่ได้ถูกไป
กว่าการติดตั้งระบบกันขโมยเลย อาจจะแพงกว่าด้วยซ้ำไป แต่กับได้ประโยชน์ในการป้องกันน้อย
กว่าการติดตั้งระบบกันขโมยมาก เพราะระบบกันขโมยนอกจากจะป้องกันได้ทุกๆจุดภายในสถานที่
แล้ว ยังมีระบบขับไล่ผู้บุกรุกด้วยเสียงไซเรนดัง และ ยังมีระบบโทรศัพท์อัตโนมัติโทรออกไปแจ้ง
เหตุร้ายให้เจ้าของสถานที่ทราบอีกด้วย เป็นทั้งระบบป้องกัน ขับไล่ และแจ้งเหตุร้ายเพื่อให้ลดความ
สูญเสียภายในสถานที่ได้อย่างครบวงจร


5.7.2 ซื้อระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด มาติดตั้ง
ข้อดีของการติดระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด คือ
- ได้เห็นภาพรอบสถานที่ของเราทั้งในเวลาอยในสถานทีู่่ หรือ ออกไปอยู่นอกสถานที่
- ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆในสถานที่ของเราตามจุดต่างๆที่ได้ติดตั้งตัวกล้องไว้
- หากเกิดมีการบุกรุกขึ้นในสถานที่ของเรา ก็สามารถจะมาย้อนภาพจากเครื่องบันทึกภาพดูได้ว่ามี
เหตุการอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ข้อเสียของการติดระบบอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด คือ
- หากเกิดมีการบุกรุกขึ้นในสถานที่ของเรา แล้วมาย้อนภาพจากเครื่องบันทึกภาพดูว่ามีเหตุการอะไร
เกิดขึ้นบ้างนั้น หมายความว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินภายในสถานที่
และตัวสถานที่ ได้เกิดการสูญหาและเสียหายไปแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันภายหลังการเกิดเหตุ ไม่ใช่
การป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุเหมือนระบบกันขโมย เพราะระบบกันขโมยจะเป็นการป้องกันสถานที่
ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการบุกรุก-โจรกรรม โดยมีอุปกรณ์ตรวจจับป้องกันทั่วทุกพื้นที่ของภายในสถานที่
และมีไซเรนเสียงขับไล่ผู้บุกรุกในเบื้องต้น พร้อมกับระบบยังโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุร้านให้กับทางเจ้า
ของสถานที่ทราบในทันที ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียให้กับสถานที่ได้น้อยที่สุด

- ผู้บุกรุกสามารถทำลายตัวกล้องได้อย่างง่ายได้ โดยจะใช้การเข้าไปทำลายตรงมุมอับของตัวกล้อง
ต่างจากระบบอุปกรณ์กันขโมย หากผู้บุกรุกทำลาย อุปกรณ์ตรวจจับ หรืออุปกรณ์ขับไล่ หรือตัดไฟ
สถานที่ หรือตัดสายโทรศัพท์ ระบบก็จะยังคงทำงานตรวจจับและร้องเตือนขับไล่ได้ตามปกติ

- ราคาของชุดระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพร้อมติดตั้ง กับราคาของระบบกันขโมยพร้อมติดตั้ง ถ้า
เจ้าของสถานที่เลือกแบบดีๆราคาก็จะพอๆกันไม่ต่างกัน แต่ประโยชน์ของระบบกันขโมยจะมากกว่า


5.7.3 ซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม จากบริษัทฯประกันภัยทั่วๆไป
ข้อดีของการซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม คือ
- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่

- มีบริษัทฯ รับทำประกันภัยคุ้มครองให้เลือกมากมายหลายบริษัทฯ
ข้อเสียของการซื้อประกันภัยคุ้มครองการถูกบุกรุก-โจรกรรม คือ
- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่ นั้นหมายถึงได้เกิดความเสียหายและสูญ
เสีย กับสถานที่นั้นๆแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันหลังเกิดเหตุ ไม่ใช่การป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุร้าย
เหมือนระบบกันขโมย ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียได้มากกว่าและดีกว่ามาก

- หากในสถานที่เกิดถูกคนร้ายบุกรุกเข้ามา แล้วกวาดทรัพย์สินไปได้ บริษัทผู้รับทำประกันก็จะจ่าย
ตามเงื่อนไขของการรับทำประกันให้กับเจ้าของสถานที่ ส่วนใหญ่เวลาเกิดเหตุแล้วการเรียกเอา
เงินประกันความเสียหาย จะยุ่งยากและมีขั้นตอนมากตามเงื่อนไขของการขอรับเงินประกันความ
เสียหาย และเงื่อนไขของบริษัทที่รับทำประกันท่านควรอ่านรายละเอียดให้ดีๆ เพราะจะเป็นเงื่อน
ไขที่เอาเปรียบผู้ทำประกันซะเป็นส่วนใหญ่ และมีข้อกำหนดมากว่ารับประกันอะไรบ้าง และไม่รับ
ประกันทรัพย์สินอะไรบ้าง

- ราคาค่าเริ่มต้นของการขอรับทำประกัน และค่าเบี้ยทำประกัน ก็มีข้อกำหนดและระยะเวลาต่อเนื่อง
ถ้าเจ้าของสถานที่ที่เกิดหยุดส่งหรือขาดส่ง เงินต้นและเบี้ยประกันที่เคยส่งมาก็สูญไม่ได้อะไรเลย
ซึ่งเป็นวิธีป้องกันสถานที่ๆคิดๆแล้วมีแต่เสียเงินเปล่าประโยชน์ และเงินชดเชยหากเกิดความเสีย
แล้วอาจจะได้ไม่เท่ากับที่สูญเสียไปก่อมีให้เห็นอยู่มาก

- ถ้าจะเปรียบซื้อกรรมธรรพ์ประกันภัย กับ ติดตั้งระบบกันขโมย สำหรับป้องกันสถานที่ต่างๆ มันคง
จะเห็นประโยชน์ได้ชัดเลยว่าแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน ป้องกันหลังเกิดความเสียหายและสูญเสีย
ไปแล้ว กับ ป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดความเสียหาย และสูญเสีย ท่านก็คิดง่ายๆเอาเองนะครับว่าควร
จะเลือกแบบไหน และราคาก็ไม่ต่างกันเลยถ้าเปรียบเทียบในระยะยาวเท่าๆกัน ระบบกันขโมย
จะถูกและคุ้มค่ากว่ามากด้วยซ้ำไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น