ปัญหาที่มาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของการวางแท็งค์น้ำ
ยังมีสาเหตุอีกหลากหลายประการที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่ออาคารบ้านเรือนซึ่งถือว่าเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของวิศวกรหรือสถาปนิกที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นเพราะจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมาก เช่น การนำแท็งค์น้ำไปวางบนพื้นที่ไม่ได้ถูกออกแบบให้รับน้ำหนักเอาไว้ นำตู้หนังสือหลาย ๆ ชั้นไปวางในห้อง การเสริมชั้นลอย ตัดเสา เหล่านี้เป็นต้นครับ
โดยทั่วไปแล้วอาคารต่าง ๆ จะถูกออกแบบเพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นที่อยู่อาศัย เป็นสำนักงาน อาคารจอดรถ หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งอาคารแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันไป อีกทั้งความแข็งแรงของวัสดุที่เลือกใช้ก็มีความแตกต่างกันด้วย อย่างเช่น ในการออกแบบพื้นบ้านเพื่อเป็นที่พักอาศัยนั้นจะเน้นที่ความแข็งแรง ทนทานเช่นกันแต่ก็น้อยกว่าพื้นของโรงงาน เพราะพื้นของโรงงานจะมีรูปแบบสำหรับใช้งานเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกมากกว่า อีกทั้งขนาดเสา คาน หรือโครงสร้างก็จะต้องมีขนาดใหญ่กว่าบ้านพักอาศัย
นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากในการออกแบบหรือการก่อสร้างไม่ได้คำนึงถึงวัสดุในการก่อสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน หรือ อาคารเพื่อการประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตามแล้วผลกระทบที่ตามมาก็ย่อมก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเพื่อความสมบูรณ์แบบต่อไป เช่น การดัดแปลงอาคารพาณิชย์สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยให้เป็นที่เก็บของโดยไม่มีการปรึกษาวิศวกรหรือผู้ที่มีความชำนาญเสียก่อน เช่น การเสริมชั้นลอย ตัดเสา (อันตรายมากอย่ากระทำโดยพลการอย่างเด็ดขาด) การใช้พื้นสำเร็จรูปทำเป็นพื้นห้องน้ำ พื้นดาดฟ้าซึ่งเป็นพื้นถ่ายน้ำหนักทางเดียวแทนที่พื้นหล่อในที่ซึ่งเป็นการออกแบบให้กระจายน้ำหนักทุกทิศทางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นผลให้โครงสร้างอาคารที่ออกแบบไว้นั้นถูกเปลี่ยนแปลง โดยอาจจะต้องรับน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ออกแบบไว้เป็นผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบของอาคารได้
ตัวอย่างของการนำแท็งก์น้ำไปไว้บนบ้าน หรือ ดาดฟ้าโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง เพราะปกติน้ำ 1 ลบ.ม. หรือ คิวนั้น จะหนักมากถึง 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) ถ้าเรานำแท็งก์น้ำขนาด 1x1x1 ม. ซึ่งหนักถึง 1,000 กิโลกรัมไปวางไว้ ในขณะที่พื้นบ้านหรือดาดฟ้าโดยทั่วไปนั้น ถูกออกแบบให้รับน้ำหนักได้เพียง 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร เท่านั้นก็เท่ากับว่าน้ำหนักของน้ำนั้นเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เมื่อน้ำหนักของน้ำนั้นมีมากเกินมาตรฐานที่ออกแบบไว้ ทำให้พื้นคานและเสา ต้องรับน้ำหนักมากผิดปกติ เกิดการแตกร้าวเกิดเป็นช่องว่างให้ความชื้นสามารถเข้าได้ หรือน้ำซึมผ่านถึงพื้น คานโก่ง เกิดปัญหาเรื่องสนิมของเหล็ก และปัญหาท่อรั่วตามมาอีกมาก ถ้าเป็นพื้นดาดฟ้าอาจจะทำให้พื้นเป็นแอ่งได้ และเนื่องจากดาดฟ้าจะต้องโดนทั้งแดดและฝน ซึ่งกลางวันแดดจะเผาทำให้คอนกรีตขยายตัวที่ผิวบน ตกกลางคืน อากาศเย็นตัวลงคอนกรีตจะหดตัวกลับ ผ่านการใช้งานที่อยู่ในอาการเช่นนี้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานคอนกรีตที่ผิวบนก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง แตกเป็นลายงา น้ำจะซึมตามรอยแตกไปถึงเนื้อเหล็กเสริมได้ ก่อให้เกิดสนิมจนพังทลายลงมาได้ในที่สุด
ก็ลองกลับไปสำรวจที่บ้านของท่านดูนะครับว่า กำลังมีการต่อเติมหรือปรับปรุงบ้านที่ผิดประเภทอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจก็รีบให้สถาปนิกหรือวิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญมาตรวจสอบดูแลความถูกต้องให้ อย่าให้ความโลภหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาทำลายบ้านอันเป็นทั้งที่รักและที่พักของท่านเลยนะครับ
โดยทั่วไปแล้วอาคารต่าง ๆ จะถูกออกแบบเพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นที่อยู่อาศัย เป็นสำนักงาน อาคารจอดรถ หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งอาคารแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันไป อีกทั้งความแข็งแรงของวัสดุที่เลือกใช้ก็มีความแตกต่างกันด้วย อย่างเช่น ในการออกแบบพื้นบ้านเพื่อเป็นที่พักอาศัยนั้นจะเน้นที่ความแข็งแรง ทนทานเช่นกันแต่ก็น้อยกว่าพื้นของโรงงาน เพราะพื้นของโรงงานจะมีรูปแบบสำหรับใช้งานเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกมากกว่า อีกทั้งขนาดเสา คาน หรือโครงสร้างก็จะต้องมีขนาดใหญ่กว่าบ้านพักอาศัย
นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากในการออกแบบหรือการก่อสร้างไม่ได้คำนึงถึงวัสดุในการก่อสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน หรือ อาคารเพื่อการประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตามแล้วผลกระทบที่ตามมาก็ย่อมก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเพื่อความสมบูรณ์แบบต่อไป เช่น การดัดแปลงอาคารพาณิชย์สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยให้เป็นที่เก็บของโดยไม่มีการปรึกษาวิศวกรหรือผู้ที่มีความชำนาญเสียก่อน เช่น การเสริมชั้นลอย ตัดเสา (อันตรายมากอย่ากระทำโดยพลการอย่างเด็ดขาด) การใช้พื้นสำเร็จรูปทำเป็นพื้นห้องน้ำ พื้นดาดฟ้าซึ่งเป็นพื้นถ่ายน้ำหนักทางเดียวแทนที่พื้นหล่อในที่ซึ่งเป็นการออกแบบให้กระจายน้ำหนักทุกทิศทางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นผลให้โครงสร้างอาคารที่ออกแบบไว้นั้นถูกเปลี่ยนแปลง โดยอาจจะต้องรับน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่ออกแบบไว้เป็นผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบของอาคารได้
ตัวอย่างของการนำแท็งก์น้ำไปไว้บนบ้าน หรือ ดาดฟ้าโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง เพราะปกติน้ำ 1 ลบ.ม. หรือ คิวนั้น จะหนักมากถึง 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) ถ้าเรานำแท็งก์น้ำขนาด 1x1x1 ม. ซึ่งหนักถึง 1,000 กิโลกรัมไปวางไว้ ในขณะที่พื้นบ้านหรือดาดฟ้าโดยทั่วไปนั้น ถูกออกแบบให้รับน้ำหนักได้เพียง 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร เท่านั้นก็เท่ากับว่าน้ำหนักของน้ำนั้นเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เมื่อน้ำหนักของน้ำนั้นมีมากเกินมาตรฐานที่ออกแบบไว้ ทำให้พื้นคานและเสา ต้องรับน้ำหนักมากผิดปกติ เกิดการแตกร้าวเกิดเป็นช่องว่างให้ความชื้นสามารถเข้าได้ หรือน้ำซึมผ่านถึงพื้น คานโก่ง เกิดปัญหาเรื่องสนิมของเหล็ก และปัญหาท่อรั่วตามมาอีกมาก ถ้าเป็นพื้นดาดฟ้าอาจจะทำให้พื้นเป็นแอ่งได้ และเนื่องจากดาดฟ้าจะต้องโดนทั้งแดดและฝน ซึ่งกลางวันแดดจะเผาทำให้คอนกรีตขยายตัวที่ผิวบน ตกกลางคืน อากาศเย็นตัวลงคอนกรีตจะหดตัวกลับ ผ่านการใช้งานที่อยู่ในอาการเช่นนี้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานคอนกรีตที่ผิวบนก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง แตกเป็นลายงา น้ำจะซึมตามรอยแตกไปถึงเนื้อเหล็กเสริมได้ ก่อให้เกิดสนิมจนพังทลายลงมาได้ในที่สุด
ก็ลองกลับไปสำรวจที่บ้านของท่านดูนะครับว่า กำลังมีการต่อเติมหรือปรับปรุงบ้านที่ผิดประเภทอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจก็รีบให้สถาปนิกหรือวิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญมาตรวจสอบดูแลความถูกต้องให้ อย่าให้ความโลภหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาทำลายบ้านอันเป็นทั้งที่รักและที่พักของท่านเลยนะครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น