วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้องติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้

ทำไมต้องติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้

1. เหตุเพลิงไหม้ เป็นภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้กับ ทุกๆสถานที่ และทุกๆเวลา
2. เหตุเพลิงไหม้ เป็นภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาอันสั้นเพียงไม่กี่นาที
3. หากเกิดเหตุเพลิงไหม้มากกว่า 4 นาที ก็อยากที่จะระงับเหตุได้ทันการณ์
4. เพราะท่านไม่รู้ว่าสถานที่ของท่านจะเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นเมื่อไหร่ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด เกิดขึ้นเวลาใด
5. ค่าของความเสียหายที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ นอกจากอาคารสถานที่จะเสียหายแล้ว ยังมีทรัพย์สินมีค่า
ต่างๆภายในอาคาร และอาจจะร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียชีวิตของผู้ที่อยู่ภายในอาคารสถานที่อีกด้วย


มาทำความรู้จัก "ไฟ" กันก่อน
ไฟ เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล เพราะไฟเป็นต้นกำเนิดของพลังงานต่างๆ
ที่มนุษย์นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ "ไฟ" ก็อาจก่อให้เกิดภัยอย่างมหันต์ได้ หากขาดความรู้ หรือ ขาดความระมัด
ระวังในการใช้ และการควบคุม ดูแลแหล่งกำเนิดไฟ ประชาชนทั่วไปควรรู้ภยันตรายจากไฟไหม้ เพื่อจะได้มีแผนการ
ควบคุมการใช้ไฟ การใช้ความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย พร้อมทั้งเรียนรู้ถึงวิธีการป้องกัน และระงับเหตุ
การเกิดอัคคีภัย เพื่อลดภยันตรายที่จะเกิดขึ้น
สิ่งที่ควรรู้ได้แก่
- ภยันตรายจากไฟไหม้
- การป้องกัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย
- ระงับเหตุอัคคีภัย เช่น วิธีใช้เครื่องดับเพลิง , จดเบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิงที่ใกล้ที่สุดเก็บไว้
- บัญญัติ 10 ประการในอาคารสูง
- ความรู้เบื้องต้นเพื่อพ้นอัคคีภัย และ ใช้แก๊สปลอดภัย 10 วิธี


ขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อมีไฟไหม้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1 ไฟไหม้จะมีความมืดปกคลุม ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ ความมืดนั้นอาจเนื่องจาก อยู่ภายในอาคารแล้ว
กระแสไฟฟ้าถูกตัด หมอกควันหนาแน่น หรือเป็นเวลากลางคืน
วิธีแก้ไข
- ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ทราบเหตุตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ และแจ้งเตือนได้ทัน
- ติดตั้งถังดับเพลิง และเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ถูกวิธี
- ติดตั้งอุปกรณ์ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ( Emergency Light ) ซึ่งทำงานได้ด้วยแบตเตอรี่ทันที ที่กระแส
ไฟฟ้าถูกตัด
- ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกตัด
- เตรียมไฟฉายที่มีกำลังส่องสว่างสูง ไว้ให้มีจำนวนเพียงพอในจุดที่สามารถนำมาใช้ได้สะดวก
- ฝึกซ้อมหนีไฟ เมื่อไม่มีแสงสว่าง ด้วยตนเองทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ในโรงแรม หรือแม้แต่ในโรงพยาบาล
โดยอาจใช้วิธีฝึกหลับตาเดิน ( ครั้งแรกๆ ควรให้เพื่อนจูงไป ) และควรจินตนาการด้วยว่าขณะนี้กำลังเกิด
เหตุเพลิงไหม้


2 ไฟไหม้ จะมีแก๊สพิษและควันไฟ ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุเพลิงไหม้ประมาณ ร้อยละ 90 % เป็นผลจากควันไฟ
ซึ่งมีทั้งก๊าซพิษ และทำให้ขาดออกซิเจน
วิธีแก้ไข
- ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ทราบเหตุตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ และแจ้งเตือนได้ทัน
- ติดตั้งถังดับเพลิง และเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ถูกวิธี
- จัดเตรียม หน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน (Emergency smoke mask)
- ใช้ถุงพลาสติกใส ขนาดใหญ่ตักอากาศแล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควัน (ห้ามฝ่าไฟ)
- คืบ คลานต่ำ อากาศที่พอหายใจได้ยังมีอยู่ใกล้พื้น สูงไม่เกิน 1 ฟุต แต่ไม่สามารถ ทำได้เมื่ออยู่ในชั้นที่สูงกว่า
แหล่งกำเนิดควัน


3 ไฟไหม้ จะมีความร้อนสูงมากหากหายใจเอาอากาศที่มีความร้อน 150 องศาเซลเซียส เข้าไปท่านจะเสียชีวิตทันที
ในขณะที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วประมาณ 4 นาทีอุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่า 400 องศาเซลเซียส
วิธีแก้ไข
- ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ทราบเหตุตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุ และแจ้งเตือนได้ทัน
- ติดตั้งถังดับเพลิง และเรียนรู้วิธีการใช้งานที่ถูกวิธี
- ถ้าทราบตำแหน่งต้นเพลิงและสามารถระงับเพลิงได้ ควรระงับเหตุเพลิงไหม้ ด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 4 นาที
หลังจากเกิดเปลวไฟ ควรหนีจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด ไปยังจุดรวมพล (Assembly Area)


4 ไฟไหม้ลุกลามรวดเร็วมาก เมื่อเกิดเปลวไฟขึ้นมาแล้ว ท่านจะมีเวลาเหลือ ในการเอาชีวิตรอดน้อยมาก
ระยะการเกิดไฟไหม้ มี 3 ระยะ ดังนี้
4.1 ไฟไหม้ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟ จนถึง 4 นาที สามารถที่จะดับได้ โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น แต่
ผู้ใช้จะต้องเคยฝึกอบรมการใช้เครื่องดับเพลิงมาก่อน จึงจะมีโอกาส ระงับเหตุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ไฟไหม้ขั้นปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ไปแล้ว 4 นาที ถึง 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า
400 องศาเซลเซียส หากจะใช้เครื่องดับเพลิง เบื้องต้น ต้องมีความชำนาญ และ ต้องมีอุปกรณ์จำนวนมาก
เพียงพอ จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จึงจะมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากกว่า
4.3 ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และ ยังมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิ
จะสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟจะลุกลามขยายตัวไป ทุกทิศทาง อย่างรุนแรง และ รวดเร็ว
การดับเพลิง จะต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี พร้อมมีอุปกรณ์ในการระงับเหตุที่ดี และเพียงพอ
กับการระงับเหตุ ขั้นรุนแรง




สรุปการป้องกันเหตุ เพลิงไหม้ ที่ดีที่สุดคือ
- ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันเหตุเพลิงไหม้
- หมั่นตรวจสอบ แหล่งจ่ายไฟต่างๆในสถานที่ และตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
- ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของทาง NFPA และ ว.ส.ท. กำหนดไว้
- ติดตั้งถังดับเพลิง และศึกษาวิธีใช้งานอย่างถูกต้อง
- ติดตั้งอุปกรณ์ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ( Emergency Light ) ซึ่งทำงานได้ด้วยแบตเตอรี่ทันที ที่กระแสไฟฟ้าถูกตัด
- ฝึกซ้อมการอพยพ ออกจากสถานที่ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
- เก็บทรัพย์สินมีค่า และเอกสารสำคัญ ไว้รวมกัน เมื่อเกิดเหตุจะได้เอาออกมาได้โดยง่าย


การดับไฟในครัวที่เกิดจากตั้งน้ำมันทิ้งไว้จนร้อนเกินไปในกระทะ หรือ ในหม้อ พอน้ำมันร้อนก็จะเกิด ไอน้ำมัน ขึ้น
ซึ่งถ้ามันระเหยไปสัมผัสกับ ไฟก้นกระทะ หรือ ไฟก้นหม้อ มันก็จะทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นมาใน กระทะ หรือ หม้อ
ดูตัวอย่างจาก คลิปวีดีโอ ด้านบน การเกิดเหตุอัคคีภัยในรูปแบบนี้ จะเกิดได้ทั้งไม่มีคนอยู่ และมีคนอยู่ ในที่เกิดเหตุ


วิธีดับไฟที่ดีที่สุดในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม่แบบนี้ก็ คือ
1. อย่าตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ให้รีบตั้งสติให้เร็วที่สุด เวลาเจอเหตุการณ์ไฟไหม้แบบนี้
2. อย่าเอาน้ำไปสาดดับไฟที่เกิดขึ้น ในกระทะ หรือ ในหม้อ เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะเป็นแบบใน คลิปวีดีโอ
ด้านบน คือ เปลวไฟจะพุ่งสูงขึ้น และ ไฟจะยิ่งลุกแรงขึ้นกว่าเดิม
3. ให้รีบไป ปิดวาล์ว ที่ เตาแก๊ส หรือ ถังแก๊ส ก่อนเป็นอันดับแรก
4. ให้หา ผ้าอะไรก็ได้ที่ผืนใหญ่หน่อย ไปชุบน้ำ แล้วรีบไปวางปิดคลุมที่ หม้อ หรือ กระทะ ที่เกิดไฟลุกไหม้
โดยจะต้องคลุมปิดให้มิดเลยนะครับ ดูภาพได้จาก คลิปวีดีโอ ด้านบน
5. ให้รอจนกว่า เปลวไฟ จะดับสนิทไปเอง
6. เปิดประตู และ หน้าต่าง ในห้องครัวให้หมด เพื่อไล่ควันที่อบอยู่ในห้องครัวออกไป
7. รีบไปแจ้งเพื่อนบ้านข้างเคียงให้ทราบเหตุ จะได้ไม่ตกใจไปกันใหญ่จนถึงขั้นเรียก รถดับเพลิง มาดับไฟ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น