คำจำกัดความสั้น ๆ ของ QRPer หรือ QRP Operator ก็คือกลุ่มนักวิทยุผู้พยายามจะจำกัดตัวเอง ไว้ด้วยกำลังส่งต่ำ ๆ เพื่อหันมาพัฒนาระบบการกระจายคลื่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
คำว่า กำลังส่งต่ำ ๆ นั้นมีเกณฑ์ทั่วไปที่ 5 วัตต์ และ เขาใช้ความถี่ย่าน HF ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง Base ทั่ว ๆ ไปแล้ว ถือว่าน้อยมาก แม้กระนั้นก็ยังมีผู้ตั้งกลุ่ม ย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นพวก 1 Watter ที่ตั้งปณิธานกันแน่วแน่ว่าไม่ว่าอย่างไร ก็จะไม่ยอมออกอากาศเกิน 1 วัตต์เป็นต้น
นักวิทยุกำลังส่งต่ำเหล่านี้ได้ประโยชน์อะไรกัน ?
เท่าที่ประมวลกันมาได้ ...พวก QRPer นี้จะ1.จะพยายามสร้างอุปกรณ์ทุกอย่างแม้แต่เครื่อง รับ - ส่ง ด้วยตัวเอง เพราะกำลังส่งขนาดนี้หาอุปกรณ์ได้ไม่ยาก และอุปกรณ์ประกอบสถานี เช่น SWR Meter ,RF Meter ก็ล้วนสร้างง่ายกว่าพวกวัตต์สูง ๆ
2. เขาจะพยายามทุกวิถีทางที่จะพัฒนาระบบการกระจายคลื่น อันประกอบด้วย สายนำสัญญาณสายอากาศ การหาทิศทางที่ถูกต้องแม่นยำ การเลือก Propagation ให้ให้ได้รับผลตอบสนองสูงสุด
3. ประหยัดมาก ในขณะที่พวก วัตต์สูง ต้องตั้งสถานีกันหลายหมื่น (บาทไทย) หรือเป็นเรือนแสน พวก QRPer เขาเล่นกันด้วยงบ "a few dollas" ต่อเครื่องมือแต่ละชิ้นเท่านั้น
4. เขาใช้เวลาของเขาได้คุ้มค่ามาก เพราะ การนั่งสร้าง นั่งทดลองอะไร ไม่ว่าจะเป็นคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม ล้วนนำมาซึ่งทักษระและความรู้ ความชำนาญ เขาไม่ยอมเสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระเลย
5. ได้รับความภูมิใจสูงสุดใน การติดต่อกับสถานีที่ไกลขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนั่นคือความสำเร็จที่แท้จริง เป็นการได้มาด้วยทักษะและความพยายาม QSL Card แต่ละใบที่ได้มาคือคะแนนวัดความสามารถที่แท้จริง มิใช่ได้มาด้วยการทุ่มทัน เพิ่มกำลังส่ง อย่างที่พวก QRPer เขากระทบพวกวัตต์สูงว่า "Put the Fire in to the Line"
6. ได้รับความสามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้น เพระาเขารักในสิ่งนี้จริง ๆ พวกเขานั่งคีย์ออกอากาศด้วยเครื่องเท่าฝ่ามือ ที่เพียรสร้างขึ้นมาเอง ซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นสิบ ๆ เทียว เพื่อได้รับคำตอบแผ่ว ๆ จาก เพื่อนที่ไม่เคยเห็นหน้า อยู่ห่างไกลกันออกไปค่อนประเทศ และเมื่อพวกเขามาพบกัน แน่นอนเขาย่อมมีเรื่องเล่า สู่กันฟังมากมายมหาศาล เมื่อเทียบกับคำถาม จืด ๆ ที่คุ้นเคย เช่น คุณใช้เครื่องยีห้ออะไร ? ชื้อเครื่องมาเท่าไร? ของพวกวัตต์สูง ที่เรียกปุ๊บติดปับ
ในการรวมตัวของนัก วิทยุที่มีความเห็นตรงกัน ว่า Small is Beauty นี้ ขอแนะนำผู้นำบางกลุ่มบางท่านคือ Mr.Doug De Mew (W1FB) และ Mr.Adrian Weiss (W0RSP) ท่านแรกได้เขียนหนังสือ QRP Notebook ขึ้นมาเพื่อแนะนำการสร้างเครื่องมือต่าง ๆ อันเป็นส่วน "บู๊" ส่วนท่านหลังเขียนหนังสือเรื่อง The Joy of QRP อันนี้เรียกว่าส่วน "ปุ๋น" ถ้าใครสนใจน่าจะหามาอ่าน แล้วคุณจะได้ Idea ไปอีกมากมาย อย่างน้อยก็หายงงว่า ไอ้พวกนักวิทยุนี่ มันทำอะไรของมัน วัน ๆ เอาแต่คว้าไมค์ขึ้นมา พูดคุยกันแต่คำถามซ้ำซากอยู่แต่ว่า
"เป็นไงวันนี้รับได้ดีกว่าเมื่อวานเท่าไร ?" ทั้ง ๆ ที่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้ตื่นเต้นเลย ไม่นานก็หงอย และทิ้งสถานีราคาหลายหมื่นให้กลายเป็นห้องเก็บของ เหลือแต่นักเจรจาต่อความยาวสาวความยืดกันเต็มความถี่ไปหมด
อย่าง ที่เรียนให้ทราบในตอนต้นว่า กลุ่ม QRPer นี้เมื่อใช้กำลังส่ง 5 วัตต์ ไปได้ระยะหนึ่งก็จะ "ทะลุ" ความต้องการ จึงบีบตัวเองลงมาเป็นกลุ่ม 1 Watter เพื่อหาโจทย์ใหม่ ๆ ที่ท้าทายมากขึ้น และแน่นอนพวกเขาย่อมได้ความรู้มากขึ้นด้วย
ลองมาดูข้อกำหนดของกลุ่ม QRPer นี้กันดีกว่าครับ
- 1. หากมีใครติติงมาว่า "สัญญาณของคุณอ่อนจัง" อะไรทำนองนี้ อย่าไปต่อความยาว เพราะเมื่อเล่น QRO เราก็ต้องอ่อนกว่าเขาอยู่ดี
- 2. เมื่อ CQ ให้หาดูก่อนว่าความถี่นั้นว่างจริง ๆ และถ้าจะให้ดีควรดูความถี่ข้างเคียงด้วย ว่าไม่มีใครใช้จริง ๆ ก่อนจะออกอากาศ มิฉนั้นอาจจะถูกความถี่ข้างเคียงของพวกวัตต์สูง บี้เอาได้
- อย่า ลาก CQ ยาว ๆ (ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง) คนที่รอฟังคุณอยู่ เขาต้องการฟัง Call Sign ของคุณมากกว่า จึงควร CQ สัก 3 ครั้งแล้วตามด้วย Call Sign ของคุณ 2 ครั้ง สั่งสัญญาณนี้ไป 2 ชุด แล้วรอฟังคำตอบ (อย่างใจจดใจจ่อ)
- ใช้ สายอากาศที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยามตั้งไว้ให้สูง ๆ ค่า SWR ต้องต่ำเพื่อให้สัญญาณไปดีที่สุด (ประเภทว่า มีวัตต์น้อยใช้สอบอย่างประหยัด)
พวกนักวิทยุกลุ่ม QRPer นี้มีความเชื่อว่าแค่ 5 วัตต์ หรือน้อยกว่า ก็สามารถครองโลกได้แล้ว หรือพูดอีกแบบได้ว่า การใช้กำลังส่งสูง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะเอามาทดแทนทักษะของนักวิทยุได้ การติดต่อด้วยกำลังส่ง 1 วัตต์ จากเครื่องที่คุณสร้างเองไปไกลครึ่งค่อนประเทศ น่าจะเป็นรางวัลแก่ชีวิตพอ ๆ กับการอัด 1 กิโลวัตต์เพียงเพื่อจะข้ามโลกไปยังดินแดนที่ติดต่อยากทั้งหลาย
ตัวอย่าง รางวัล DXCC ประเภท QRP ของ HS2JFW
ข้อความจาก HS2JFW
สำหรับ QRPDXCC ก็เป็นรางวัลที่ออกให้ผู้ที่ติดต่อกับสถานีต่างๆ ได้ครบ 100 ประเทศ ด้วยกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ ใน Mode CW และ 10 วัตต์ ใน Mode SSB ที่ผมติดต่อนั้นผมใช้ CW ทั้งหมดครับ ติดต่อด้วยเครื่อง MFJ9020 ที่มีเฉพาะความถี่ 14MHz เท่านั้น ช่วงเวลานั้นที่ผมส่ง Log ไปจะอยู่ในช่วงปี 1996 - 1998 ครับ แล้วก็ส่งไปขอ Award ในปี 2002 ครับ |
วิทยุรับส่ง CW ของ MFJ รุ่น MFJ-9020 ย่านความถี่ 14 MHz
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น