วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สภาพอากาศต่อการแพร่กระจายคลื่นย่าน VHF

สภาพอากาศต่อการแพร่กระจายคลื่นย่าน VHF


ผลของสภาพอากาศต่อการแพร่กระจายคลื่น เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ดูเหมือนจะลึกลับเอาการ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่ ทำไมบางครั้งยิ่งดึกยิ่งรับสัญญาณได้ดียิ่งขึ้น ? ทำไมตอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นสัญญาณที่รับได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็ว ? ทำไมเดือนนั้นเดือนนี้จึงรับสัญญาณทางไกลได้ดี ขณะที่บางเดือนรับสัญญาณได้แย่ลง ?
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความชื้นของอากาศและความแรงของสัญญาณที่รับได้
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความชื้นของอากาศและความแรงของสัญญาณที่รับได้
จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าความชื้นของสายอากาศในเส้นทางผ่าน ระหว่าง เครื่องรับและเครื่องส่ง มีค่าน้อยลงสัญญาณที่ได้จะแรงขึ้น ถ้าวันที่ฝนตก สัญญาณที่ได้จะลดลง
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความสูงของเมฆและความแรงของสัญญาณที่รับได้
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความสูงของเมฆและความแรงของสัญญาณที่รับได้
จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าระดับความสูงของเมฆสูงขึ้น สัญญาณจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งจะขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่า ถ้าเมฆอยู่ต่ำจะทำหน้าที่เหมือนท่อนำคลื่น ทำให้สัญญาณไปได้ไกล และแรงขึ้น ผลการทดลองนี้จะสอดคล้องกับรูปแรก คือในตอนที่ฝนตกเมฆจะลอยลงมาต่ำ
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความแรงของสัญญาณที่รับได้
รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความแรงของสัญญาณที่รับได้
จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าอุณหภูมิในช่วงเส้นทางผ่านของสัญญาณลดลง สัญญาณจะแรงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเดิมที่ว่า สัญญาณจะแรงขึ้นในหน้าหนาวและ ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส

การทดลองแบบง่าย ๆ ของผมเอง


การทดลองรับสัญญาณ ระหว่างวันที่ฝนตก และวันที่ฝนไม่ตก ท้องฟ้าโปร่ง โดยอาศัยสถานีวิทยุ ของเพื่อนสมาชิก "อาสารวมใจท่าชนะ " ที่ความถี่ 144.400 MHz จะมีการทดสอบสัญญาณ ตอนประมาณ 20.00 น. ของทุกวัน
ถ้าวัดระยะทางอากาศจาก Google Earth ก็ประมาณ 170 กิโลเมตร
ถ้าวัดระยะทางอากาศจาก Google Earth ก็ประมาณ 170 กิโลเมตร
ข้อมูลสถานีของผมคือ
  • เครื่องวิทยุ ICOM IC-2100T
  • สายอากาศรอบตัว V2 3 ชั้น
  • สายอากาศวางบนชั้น 2 ของบ้าน (ส่วนฐานของสายอากาศสูงกว่าหลังคาบ้านประมาณ 3-4 เมตร)
  • การทดลองนี้ใช้เวลาภายในเดือนเดียวกัน แต่นำไฟล์วีดีโอมาลงแค่ 2 ไฟล์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น