RTTY BASIC
RTTY หรือ Radioteletype บางครั้งอาจจะอ่านออกเสียงว่า ritty ใช้ในการการรับส่งข้อมูล ระบบ RTTY จะมีส่วนที่คล้าย CW คือมีการรับส่งข้อมูลแบบ TWO STATES สำหรับระบบ CW จะใช้การปิด - เปิด ของคีย์ แต่สำหรับ RTTY จะใช้การสลับไปมาของความถี่ 2 ความถี่ เราเรียกการสลับไปมานี้ว่าการ Shift ความถี่ต่ำจะเรียกว่า SPACE (SPACE frequency) และความถี่สูงเรียกว่า MARK (MARK frequency) สำหรับ นักวิทยุสมัครเล่น ความถี่ ของ SPACE กับ MARK จะห่างกัน 170 Hz ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออกอากาศด้วยความถี่ 14080.00 kHz นั่นหมายความว่า ความถี่ของ MARK จะเท่ากับ 14080.00 kHz ส่วนความถี่ของ SPACE จะต่ำกว่า 170 Hz ก็คือ 14079.83 kHz
ลองรับ RTTY โดยโปรแกรม MMTTY
MMTTY เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายตัวนึง และที่สำคัญคือ เป็นโปรแกรม ฟรี สามารถ Download ได้ที่นี่ http://mmhamsoft.amateur-radio.ca/เมื่อ Download และทำการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็จะได้ โปรแกรม หน้าตาดังรูป
สำหรับการรับ RTTY ให้เอาสัญญาณเสียงจากวิทยุต่อเข้า Line in ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย จากนั้นให้เปิดเครื่องวิทยุ และสังเกตระดับเสียงมีการเปลียนแปลงหรือเปล่า
กรณีมีสัญญาณเสียงเข้ามา แบบนี้ถือว่าพร้อมที่จะใช้งาน
แต่ถ้าภาพออกมาเป็นแบบนี้ แสดงว่ายังไม่มีสัญญาณเสียงเข้ามา ให้ไปตั้งค่า ตามนี้เลยครับ การตั้งค่า Sound Card สำหรับเล่นโหมด Digital พอตั้งค่าเสร็จแล้วก็เริ่มลงมือหาสัญญาณ RTTY กันเลย อาจจะลองเริ่มที่ความถี่ 14080 ถึง 14090 kHz หรือ 21080-21090 kHz ดูก่อน เพราะหาง่าย ค่อย ๆ จูนความถี่ช้า ๆ ครับ พอเจอเสียงของ RTTY หน้าจอภาพก็จะเปลี่ยนเป็นแบบนี้ครับ
สำหรับแถวสีเขียว ๆ ตัวนี้เป็นการบอกระดับสัญญาณ ที่เข้ามา ส่วนเส้นตรง สีดำแนวดิ่ง จะเป็นระดับของ squelch (squelch threshold) เราสามารถเปลี่ยนระดับได้ โดยการคลิกไปบนแถบสีเขียว ๆ
สำหรับระบบ RTTY ยังมีโปรแกรมอีกหลายโปรแกรม ลักษณะการใช้งานไม่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่นโปรแกรม MixW สามารถ download ได้ที่ http://www.mixw.net/
รูปร่างของโปรแกรม MixW โปรแกรมนี้สามารถใช้โหมดอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น PSK31, AMTOR, MFSK,SSTV,Fax,BPSK31 และอื่น ๆ ลูกเล่นมากแบบนี้ แน่นอนครับ โปรแกรมนี้ไม่ใช่โปรแกรมฟรี แต่สามารถโหลดมาทดลองใช้ได้
ตัวอย่างที่รับได้โดยโปรแกรม MixW
ข้อดีอีกอย่าง โปรแกรมนี้จะมีการเน้นสี ที่ CallSign ของแต่ละสถานี เมื่อเอาเมาส์ไปชี้ ก็จะบอกตำแหน่ง และรายละเอียดต่าง ๆ ของสถานี ลูกเล่นนี้ ถือว่าน่าใช้มากเลยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น